Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2014

Nursing

Chulalongkorn University

Keyword

Articles 1 - 30 of 35

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกายของ, ณีรนุช เกาะกายสิทธิ์, มยุรี นิรัตธราดร, คมสันต์ สุวรรณฤกษ์ Sep 2014

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกายของ, ณีรนุช เกาะกายสิทธิ์, มยุรี นิรัตธราดร, คมสันต์ สุวรรณฤกษ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกกําลังกายของสตรีก่อนวัยทอง\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\n วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีก่อนวัยทองอายุ 30-45 ปี ที่มีคุณสมบัติตามกําหนด จํานวน 66 คน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 33 คน กลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน ประกอบด้วย คู่มือการดูแลตนเองสําหรับ สตรีก่อนวัยทอง แผนการสอน และคู่มือการดําเนินกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกําลังกาย มีค่า CVI เท่ากับ .80 และ .87 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient)\nเท่ากับ . 80 และ . 84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที่ ผลการวิจัย: 1) สตรีก่อนวัยทองที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน มีคะแนนพฤติกรรม การบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกกําลังกาย สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) สตรีก่อนวัยทองที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน มีคะแนน พฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกกําลังกาย สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ .01\n\nสรุป: โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนส่งผลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและพฤติกรรม การออกกําลังกายในสตรีก่อนวัยทอง ทําให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางบวก โดยมีพฤติกรรมการ รับประทานอาหารและพฤติกรรมการออกกําลังกายที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น\n


ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกำเริบของเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด, ปริศนา แผ้วชนะ, วีณา จีระแพทย์ Sep 2014

ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกำเริบของเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด, ปริศนา แผ้วชนะ, วีณา จีระแพทย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกําเริบของเด็กวัยเรียน โรคหอบหืด ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการวางแผนจําหน่าย และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรม การจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกําเริบของเด็กวัยเรียนโรคหอบหืดระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม การวางแผนจําหน่ายกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด จํานวน 40 คน อายุ 7-12 ปี ที่มา รับการรักษาแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง 20 คนแรก เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง 20 คนหลัง เป็นกลุ่มทดลอง จับคู่ให้เหมือนกันด้าน อายุ และเพศ เครื่องมือที่ใช้ในการ ทดลองประกอบด้วย โปรแกรมการวางแผนจําหน่าย สถานการณ์จําลอง และสมุดพกแนวทางปฏิบัติตัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหา และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที\n \nผลการวิจัย: 1) พฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกําเริบของเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด หลังได้รับโปรแกรมการวางแผนการจําหน่าย ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2) พฤติกรรมจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกำเริบของเด้กวัยเรียนโรคหอบหืด กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนการจําหน่าย ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: การวางแผนจําหน่ายที่ใช้สถานการณ์จําลองและสมุดพกแนวทางปฏิบัติตัว เป็นกิจกรรมการ พยาบาลที่มีประสิทธิภาพต่อการเสริมสร้างพฤติกรรมการจัดการตนเองในเด็กวัยเรียน\n


ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรี, สายใหม ตุ้มวิจิตร, นาถสุดา โชติวัฒนากุลชัย, ฉวี มากพุ่ม, สุลี ทองวิเชียร Sep 2014

ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรี, สายใหม ตุ้มวิจิตร, นาถสุดา โชติวัฒนากุลชัย, ฉวี มากพุ่ม, สุลี ทองวิเชียร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรี \n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรี จํานวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับแผ่นพับวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยจับคู่ ระดับความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม และการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วย ตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ .83 ตรวจสอบความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)\n\nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับ โปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่าก่อน ได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการตรวจเต้านม ด้วยตนเองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n \nสรุป: โปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่งผล ให้นักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรีมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพิ่มขึ้นและเพิ่มมากกว่าการ ให้ความรู้ทางแผ่นพับ\n


ผลของการใส่เสื้อกระชับแผลและประคองทรงต่อความสุขสบายและภาพลักษณ์ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมออก, เบญจรัตน์ ธรรมปรีชาพงศ์, กนกพร นาคะรัต, รุ่งนภา ศรีสังข์, อพัชชา อิทธิยาวุฒิ Sep 2014

ผลของการใส่เสื้อกระชับแผลและประคองทรงต่อความสุขสบายและภาพลักษณ์ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมออก, เบญจรัตน์ ธรรมปรีชาพงศ์, กนกพร นาคะรัต, รุ่งนภา ศรีสังข์, อพัชชา อิทธิยาวุฒิ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความสุขสบายและภาพลักษณ์ระหว่างผู้ป่วยที่ใส่เสื้อกระชับแผลและ ประคองทรงหลังผ่าตัดเต้านมออกกับผู้ป่วยที่ได้รับการปิดแผลด้วยวัสดุปิดแผลตามปกติ\n\n รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อรับการผ่าตัดเต้านมออก จํานวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 15 ราย กลุ่มทดลองได้รับการใส่เสื้อกระชับแผล และประคองทรงหลังผ่าตัด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการปิดแผลด้วยวัสดุปิดแผลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ ในการทดลอง คือ เสื้อกระชับแผลและประคองทรง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ ประเมินความสุขสบายและแบบประเมินภาพลักษณ์ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยและผ่านการตรวจสอบความ ตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ นํามาหาดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้ค่า CVI เท่ากับ .86 และ .86 ตาม ลําดับ หาความเที่ยงโดยคํานวณสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ .62 และ .77 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที\n \nผลการวิจัย: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ใส่เสื้อกระชับแผลและประคองทรงหลังผ่าตัดเต้านมมีคะแนนเฉลี่ย ความสุขสบายและภาพลักษณ์สูงกว่ากลุ่มที่ปิดแผลด้วยวัสดุปิดแผลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05\n\nสรุป: การสวมใส่เสื้อกระชับแผลและประคองทรงส่งผลให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายมากขึ้นและมีภาพลักษณ์ ที่ดีขึ้น พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมจึงควรนําเสื้อกระชับแผลและประคองทรงไปใช้เพื่อให้ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมมีความสุขสบายและมีภาพลักษณ์ที่ดี\n


สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู, อนัญญา คะสะติ, กัญญดา ประจุศิลป Sep 2014

สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู, อนัญญา คะสะติ, กัญญดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้เทคนิค EDFR\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู จํานวน 21 คน ประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย จํานวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญ จากชมรมพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟแห่งประเทศไทย จํานวน 11 คน ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับ หัวหน้าแผนกพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู จํานวน 4 คน และอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรเฉพาะทางพยาบาล เวชศาสตร์ฟื้นฟู จํานวน 3 คน วิธีดําเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ เกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู ขั้นตอนที่ 2 นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนํามาสร้าง แบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสําคัญของข้อรายการแต่ละข้อและ ขั้นตอนที่ 3 นําข้อมูลที่ได้มาคํานวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และส่งแบบสอบถามไปให้ ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคําตอบ หลังจากนั้น นําข้อมูลที่ได้มาคํานวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย\n\n ผลการวิจัย: สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู ประกอบด้วย 7 ด้าน มีจํานวนทั้งหมด 57 ข้อ ได้แก่ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูมีจํานวน 21 ข้อ 2) ด้านการป้องกันภาวะแทรกซ้อนมีจํานวน 7 ข้อ 3) ด้านการสอนและให้คําปรึกษามีจํานวน 5 ข้อ 4) ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมีจํานวน 5 ข้อ 5) ด้านวิชาการและการวิจัยมีจํานวน 6 ข้อ 6) ด้านการประสานงานและการดูแลอย่างต่อเนื่องมีจํานวน 4 ข้อและ 7) ด้านการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตมีจํานวน 9 ข้อ\n \nสรุป: สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูประกอบด้วยสมรรถนะ 7 ด้าน ผู้บริหารทางการพยาบาล สามารถนํามาเป็นแนวทางในการพัฒนา และประเมินพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูได้\n


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ, อมราพร นาโควงค์, สุชาดา รัชชุกูล Sep 2014

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ, อมราพร นาโควงค์, สุชาดา รัชชุกูล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ\n\nรูปแบบการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือ\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาล จํานวน 8 คน กลุ่ม พยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย จํานวน 408 คน และหัวหน้างานและรองหัวหน้างานของพยาบาลผู้ทําหน้าที่ ไกล่เกลี่ย จํานวน 60 คน ดําเนินการสร้างแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยโดย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาแบบประเมินฯ ประกอบด้วย 1) กําหนดคํานิยามเชิงปฏิบัติการ โดยทบทวนวรรณกรรมและบูรณาการร่วมกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาล 2) สร้างข้อคําถามตามคํานิยามที่ได้ 8 มิติ จํานวนทั้งหมด 89 ข้อ 3) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของ แบบประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 7 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .85 โดยถูกตัดออก 3 ข้อ คงเหลือ 86 ข้อ 4) หาความเที่ยงโดยนําไปทดลองใช้กับพยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย จํานวน 30 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .92 และ 5) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) โดย ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor analysis) สกัดตัวประกอบหลักของแบบประเมินที่นําไปใช้ กับพยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย จํานวน 408 คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินฯ ประกอบด้วย 1) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยวิธี Known-groups 2) หาความเที่ยงโดย คํานวณค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าของครอนบาค และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของการประเมินโดยใช้สถิติ Interclass correlation coefficient\n\nผลการวิจัย: แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย โรงพยาบาลรัฐ มีองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน รวม 53 ข้อ คือ 1) …


ความพึงพอใจของผู้ประกันตนที่มีต่อบริการของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร, ไพลิน สันติวรนันท์, กฤตกรณ์ ประทุมวงษ์, จีรนันท์ แกล้วกล้า Sep 2014

ความพึงพอใจของผู้ประกันตนที่มีต่อบริการของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร, ไพลิน สันติวรนันท์, กฤตกรณ์ ประทุมวงษ์, จีรนันท์ แกล้วกล้า

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคสูงอายุต้อหิน, หทัยกาญจน์ เชาวกิจ, จิราพร เกศพิชญวัฒนา Sep 2014

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคสูงอายุต้อหิน, หทัยกาญจน์ เชาวกิจ, จิราพร เกศพิชญวัฒนา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนจากครอบครัว ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคต้อหินทั้งชายและหญิง ที่เข้ารับการรักษาในคลินิก โรคต้อหิน แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คัดเลือกตามเกณฑ์ที่กําหนด จํานวน 60 ราย แบ่ง เป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย กลุ่มควบคุม 30 ราย โดยจับคู่ด้าน เพศ ระดับการศึกษา รายได้ และโรคประจําตัว กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนจากครอบครัว ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินทางสภาพสรีรวิทยาและ การกระตุ้นทางอารมณ์ 2) การให้คําแนะนําหรือการใช้คําพูดชักจูง 3) การเรียนรู้ผ่านตัวแบบหรือ ประสบการณ์ของผู้อื่น และ 4) ประสบการณ์ที่กระทําสําเร็จได้ด้วยตนเอง และการสนับสนุนจากครอบครัว ใน 4 ด้าน คือ ด้านอารมณ์ ด้านการประเมินค่า ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านทรัพยากร เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน มีค่าดัชนีความตรงเชิง เนื้อหา เท่ากับ .80 มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired-t test และสถิติ One-way ANOVA\n \nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหินหลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน หลังได้รับโปรแกรมฯสูงกว่าผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหินที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n \nสรุป: โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนจากครอบครัวส่งผลให้ผู้สูงอายุโรคต้อหิน มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพดีขึ้นและดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n


ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย, สุขิตา มาศขาว, รัตน์ศิริ ทาโต Sep 2014

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย, สุขิตา มาศขาว, รัตน์ศิริ ทาโต

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมทางเพศ \nที่ปลอดภัยของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษาชายที่กําลังศึกษาหลักสูตร ปวส. ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี จากโรงเรียน 2 แห่ง ที่มีลักษณะคล้ายกันในจังหวัดน่าน โดยสุ่มโรงเรียนเพื่อจัดเป็นกลุ่ม ทดลองหรือควบคุม แล้วคัดเลือกโรงเรียนละ 2 ห้อง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จํานวน 30 คน และกลุ่ม ทดลอง จํานวน 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับความรู้จากหลักสูตรการเรียนการสอนตามปกติ กลุ่มทดลองได้ รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การใช้คําพูดชักจูง 2) การได้เห็นตัวแบบหรือประสบการณ์ของผู้อื่น 3) ประสบการณ์ที่กระทําสําเร็จด้วยตนเอง และ 4) สภาวะด้านร่างกายและอารมณ์ โดยมีสื่อประกอบการดําเนินกิจกรรม คือ แผนการสอน ภาพสไลด์ วีดิทัศน์ และคู่มือ "อาชีวะยุคใหม่ ทันสมัย ไม่เข้าใกล้เอดส์" ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงของ เนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 คน เครื่องมือกํากับการทดลอง ได้แก่ แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะ ของตนเองในการมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย มีค่าความเที่ยง .81 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที่\n\nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยของนักเรียนอาชีวศึกษาชายหลังได้รับ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (x̄ = 66.40, SD = 2.43) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ (x̄ = 55.77, SD = 6.09) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01) และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศ ที่ปลอดภัยของนักเรียนอาชีวศึกษาชายในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (x̄ = 66.40, SD = 2,43) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับความรู้ตามปกติ (x̄ = 57.30, SD = 5.36) อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (p < .01)\n \nสรุป: โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนส่งผลให้นักเรียนอาชีวศึกษาชายมีพฤติกรรมทางเพศ ที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นและเพิ่มมากกว่านักเรียนอาชีวศึกษาชายที่ได้รับความรู้ตามปกติ\n


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, ยุวดี บาคาล, สุวิณี วิวัฒน์วานิช Sep 2014

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, ยุวดี บาคาล, สุวิณี วิวัฒน์วานิช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพและปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคกลาง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทํานาย (Descriptive predictive research)\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคกลาง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 347 คน ทําการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะองค์การ แบบสอบถามการจัดการสถานที่ทํางานที่เอื้อต่อสุขภาพ และ แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามการจัดการสถานที่ทํางานที่เอื้อต่อสุขภาพ และ แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เท่ากับ .89 และ 1.00 ตรวจสอบสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ของแบบสอบถามทั้งสอง ได้เท่ากับ .93 และ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ\nขั้นตอน\n \nผลการวิจัย: 1) พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคกลาง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.02, SD = 0.31)\n2) ปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ การจัดโครงการสถานที่ทํางานน่าอยู่น่าทํางาน (β = .366) ประสบการณ์ปฏิบัติงาน (β = .176)\nโรงพยาบาลขนาดเล็ก (β = .133) การนําองค์การและการบริหาร (β = .128) ได้รับการอบรมด้านส่งเสริม สุขภาพ (β = .108) ผ่านการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (β = .-131) และช่วงอายุ 30-39 ปี (β = .-128) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ได้ ร้อยละ 22.3 (R² = …


การพัฒนาแบบวัดการสื่อสารระหว่างผู้ปกครอง และบุตรสาวเรื่องการละเว้นเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน, จรรยา เจริญสุข, รุจา ภู่ไพบูลย์ Sep 2014

การพัฒนาแบบวัดการสื่อสารระหว่างผู้ปกครอง และบุตรสาวเรื่องการละเว้นเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน, จรรยา เจริญสุข, รุจา ภู่ไพบูลย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบวัดการสื่อสารระหว่างผู้ปกครองและบุตรสาวเรื่องการละเว้นเพศสัมพันธ์ \nในวัยเรียน\n\nรูปแบบการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือ\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นหญิงที่กําลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จํานวน 261คน ดําเนินการสร้างแบบวัดการสื่อสารระหว่างผู้ปกครองและบุตรสาวเรื่อง การละเว้นเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียน ตามขั้นตอนดังนี้ 1) กําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ จากการศึกษาแนวคิดและการสนทนากลุ่ม กับวัยรุ่นหญิงที่กําลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จํานวน 9 คน 2) สร้างข้อคําถามตามคํานิยาม เชิงปฏิบัติการที่ประกอบด้วย 3 มิติ จํานวน 25 ข้อ ลักษณะคําตอบเป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ตั้งแต่ เป็นประจํา (5 คะแนน) ถึง ไม่เคยเลย (1 คะแนน) 3) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบวัด โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .95 โดยไม่มีข้อใดถูกตัดออก 4) หาความเที่ยงโดยนํา ไปทดลองใช้กับวัยรุ่นหญิงที่กําลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จํานวน 30 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .94 และ 5) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) โดย การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) ของแบบวัดฯ ในนักเรียนหญิงจํานวน 261 คน\n\nผลการวิจัย: แบบวัดการสื่อสารระหว่างผู้ปกครองและบุตรสาวเรื่อง การละเว้นเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ รวม 24 ข้อ คือ 1) ผลเสียของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ประกอบ ด้วยข้อคําถาม จํานวน 8 ข้อ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 22.67, 2) การหลีกเลี่ยงโอกาส เสี่ยง / สถานการณ์ที่นําไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ ประกอบด้วยข้อคําถาม จํานวน 8 ข้อ …


สมรรถนะพยาบาลหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, สุจารี บัวเจียม, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร Sep 2014

สมรรถนะพยาบาลหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, สุจารี บัวเจียม, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้เทคนิค EDFR\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 18 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการหลักสูตร ฝึกอบรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จํานวน 4 คน แพทย์เฉพาะทางด้านประสาทวิทยา หรือประสาทศัลยศาสตร์ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จํานวน 1 คน หัวหน้าหอผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง จํานวน 6 คน และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ / พยาบาลชํานาญการด้านการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จํานวน 7 คน การดําเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ขั้นตอนที่ 2 นํา ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนํามาสร้างแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 18 คน แสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสําคัญของข้อคําถามแต่ละข้อ ขั้นตอนที่ 3 นําข้อมูลที่ได้มาคํานวณหา ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคําตอบ หลังจาก นั้นนําข้อมูลที่ได้มาคํานวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ โดยพิจารณาค่ามัธยฐานมากกว่า 3.50 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50\n\nผลการวิจัย: สมรรถนะพยาบาลหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) สมรรถนะ ด้านความรู้เรื่องโรค (6 ข้อ) 2) สมรรถนะด้านการประเมินและการจัดการในภาวะเร่งด่วน (7 ข้อ) 3) สมรรถนะด้านการให้ยาละลายลิ่มเลือด (5 ข้อ) 4) สมรรถนะด้านการพยาบาลในหอผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมอง (7 ข้อ) 5) สมรรถนะด้านการพยาบาลเพื่อวางแผนการจําหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง (5 ข้อ) และ 6) สมรรถนะด้านการสื่อสารและประสานงาน (5 ข้อ)\n\nสรุป: สมรรถนะพยาบาลหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ซึ่งสามารถใช้ …


ผลของโปรแกรมการสร้าเสริมพลังอำนาจต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเอง ของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, เสาวลักษณ์ สุขพัฒนศรีกุล, วิไลวรรณ ทองเจริญ, จันทนา รณฤทธิวิชัย, วิชชุดา เจริญกิจการ May 2014

ผลของโปรแกรมการสร้าเสริมพลังอำนาจต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเอง ของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, เสาวลักษณ์ สุขพัฒนศรีกุล, วิไลวรรณ ทองเจริญ, จันทนา รณฤทธิวิชัย, วิชชุดา เจริญกิจการ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอํานาจต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแล ตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง\n\n รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงจํานวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรม การสร้างเสริมพลังอํานาจตามแนวคิดของ Gibson ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 5 สัปดาห์ เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเอง มีค่า ดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .95 และสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงบรรยาย สถิติไค-สแควร์ และสถิติที\n\n ผลการวิจัย: 1) ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงหลังได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอํานาจมีคะแนน การรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001\n2) ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอํานาจมีคะแนน การรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .001\n \nสรุป: โปรแกรมการสร้างเสริมพลังอํานาจส่งผลให้การรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรค ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และเพิ่มสูงกว่าผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n


การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ด้านพฤติกรรมในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย, เอกชัย แดงสอาด, นันทิยา วัฒายุ, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร May 2014

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ด้านพฤติกรรมในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย, เอกชัย แดงสอาด, นันทิยา วัฒายุ, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย, บุษบา ทับทิมสวน, รัตน์ศิริ ทาโต May 2014

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย, บุษบา ทับทิมสวน, รัตน์ศิริ ทาโต

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด ทัศนคติต่อ การคุมกําเนิด ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ ความเชื่อที่เป็นมาตรฐานทางสังคม ความต้องการมีบุตรของคนรัก กับพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคเหนือตอนบน และศึกษาปัจจัย ทํานายพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิง\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทํานาย\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษาหญิงอายุไม่เกิน 18 ปี ที่กําลังศึกษาในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพในเขตภาคเหนือตอนบน ที่ระบุว่ามีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จํานวน 280 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูล ส่วนบุคคล การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด ทัศนคติต่อการคุมกําเนิด ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ ความเชื่อที่เป็นมาตรฐานทางสังคม ความต้องการมีบุตรของคนรัก และพฤติกรรมการคุมกําเนิด ผ่าน การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84, .81, .85, .82, .80 และ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคํานวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ แบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด ทัศนคติต่อการคุมกําเนิด และความเชื่อที่เป็น มาตรฐานทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิง (r = .40, .13 และ .37, p < .05) ความต้องการมีบุตรของคนรักมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการ คุมกําเนิด (r = -.16, p < .05) และทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิง (r = -.003, p > .05) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด (β = .31) ความเชื่อที่เป็นมาตรฐานทางสังคม (β = .28) และความต้องการมีบุตรของคนรัก (β = -.16) สามารถร่วมกันทํานายพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงได้ร้อยละ 25.5\n \nสรุป: ควรมีการส่งเสริมพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ด้วย การส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด สร้างกลุ่มเครือข่ายเพื่อนที่สนับสนุนการคุมกําเนิด รวมถึงการกระตุ้นบทบาทของคนรักในการมีส่วนร่วมในการคุมกําเนิดก็จะส่งผลให้นักเรียนอาชีวศึกษา หญิงมีการคุมกําเนิดมากขึ้น \n


ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย การสนับสนุนจากองค์การกับประสิทธิผลของทีมการพยาบาลตามการรับรู้ ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร, เจริญขวัญ เส็นสด, สุชาดา รัชชุกูล May 2014

ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย การสนับสนุนจากองค์การกับประสิทธิผลของทีมการพยาบาลตามการรับรู้ ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร, เจริญขวัญ เส็นสด, สุชาดา รัชชุกูล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของทีมการพยาบาล การสนับสนุนจากองค์การ การบริหารแบบ มีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้า หอผู้ป่วย การสนับสนุนจากองค์การ กับประสิทธิผลของทีมการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลประจําการ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลประจําการ จํานวน 307 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย การสนับสนุนจากองค์การ และประสิทธิผลของทีมการพยาบาล ได้รับการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกแบบสอบถามได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ความเที่ยงโดยสูตร สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .88, .96 และ .94 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย: 1) ประสิทธิผลของทีมการพยาบาล การบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย พบว่า อยู่ ในระดับสูง (x̄ = 3.61, SD = .47 และ x̄ = 3.70, SD = .62) และการสนับสนุนจากองค์การ พบว่า อยู่ใน ระดับปานกลาง (x̄ = 3.30, SD =.67) 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย และการสนับสนุนจากองค์การมีความ สัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับประสิทธิผลของทีมการพยาบาลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .50 และ t = .52) สรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถใช้เป็นข้อมูลสําหรับวางแผนในการพัฒนางาน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพของทีมการพยาบาลต่อไป\n


การมีชีวิตอยู่กับภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นของผู้สูงอายุ: การศึกษารายกรณีเชิงคุณภาพ, นิตติยา น้อยสีภูมิ, ศิริพันธุ์ สาสัตย์ May 2014

การมีชีวิตอยู่กับภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นของผู้สูงอายุ: การศึกษารายกรณีเชิงคุณภาพ, นิตติยา น้อยสีภูมิ, ศิริพันธุ์ สาสัตย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการมีชีวิตอยู่กับภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นของผู้สูงอายุ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาหลายกรณี (Multiple case studies)\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กรณีศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น มี ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตหลังจากที่ทราบว่าตนเองได้รับการวินิจฉัยโรค จํานวนทั้งหมด 7 ราย ที่เข้า รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมศัลยกรรม คลินิกผู้สูงอายุ และคลินิกความทรงจําของโรงพยาบาล 3 แห่ง โดยเลือกกรณีศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกรายกรณี ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการวิเคราะห์แบบ ข้ามกรณี\n \nผลการวิจัย: ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นบอกเล่าประสบการณ์ของตนเองที่มีชีวิตอยู่กับภาวะ สมองเสื่อมใน 5 ประเด็น คือ 1) การรับรู้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากอาการที่เปลี่ยนแปลงไป 2) ผลกระทบ ที่ได้รับจากการมีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น 3) การทําใจยอมรับกับเหตุการณ์โดยใช้ศาสนา 4) การ จัดการกับอาการสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น และ 5) ความคาดหวังการได้รับการดูแล\n \nสรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้ บุคลากรทางสุขภาพสามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผน ให้การพยาบาลผู้ป่วยสมองเสื่อมในระยะเริ่มต้นและผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วย ให้สามารถเผชิญและจัดการกับอาการและผลกระทบที่เกิดขึ้นตอบสนองความต้องการและให้การดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อมจนกระทั่งเสียชีวิต\n


ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพ ของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน, นันทยา เสนีย์, สุนิดา ปรีชาวงษ์, วรวรรธน์ ลิ้มทองกุล May 2014

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพ ของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน, นันทยา เสนีย์, สุนิดา ปรีชาวงษ์, วรวรรธน์ ลิ้มทองกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพ ของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน เข้ารับ การรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลศูนย์ตรัง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวกตาม คุณสมบัติที่กําหนด จํานวน 50 คน โดยผู้ป่วย 25 คนแรก เป็นกลุ่มควบคุม และ 25 คนหลัง เป็นกลุ่ม ทดลอง จับคู่กลุ่มตัวอย่างทั้งสองให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในด้าน เพศ อายุ และระดับการศึกษา กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการฟื้นฟูสภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับ การพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ซึ่งนําแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ Bandura (1997) มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมจํานวน 4 ครั้ง โดยใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 8 สัปดาห์ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่ใส่โลหะยึดตรึงภายใน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 5 คน มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .87 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาค เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (Independent t-test)\n \nผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยกระดูกขาหักที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถเพิ่มพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย กระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายในได้ จึงควรนําไปเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย กระดูกขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน และใช้เป็นมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ระยะ แรกหลังการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน\n


ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, ปานใจ กันยะมี, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ May 2014

ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, ปานใจ กันยะมี, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยง ต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ใน ชุมชนเขตเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก จํานวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน โดยจับคู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน ในด้าน เพศ อายุ และระยะเวลาการเจ็บป่วย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับ โปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยง ต่อโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และทดสอบ ความเที่ยงของแบบวัดพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองด้วย Cronbach's alpha coefficient ได้ ค่าเท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบด้วยสถิติที\n \nผลการวิจัย: 1) คะแนนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่ม ทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.01) นั่นคือ หลังได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ และ 2) คะแนนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มที่เข้าร่วม โปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคม สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.01) นั่นคือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และการ สนับสนุนทางสังคม การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n\n สรุป: โปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมมีประสิทธิผลในการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีประโยชน์ในการป้องกันภาวะเสียงของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง\n\n\n


ความสัมพันธ์ระหว่างอาการ การสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะ และคอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษา, สุชาดา ธราพร, สุรีพร ธนศิลป์ May 2014

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการ การสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะ และคอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษา, สุชาดา ธราพร, สุรีพร ธนศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอาการ กลวิธีการจัดการกับอาการ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและ คอเพศชายขณะได้รับรังสีรักษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการ การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอเพศชายขณะได้รับรังสี\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอเพศชายขณะได้รับรังสีรักษา ณ ศูนย์มะเร็ง สุราษฎร์ธานี คัดเลือกตามสะดวก จํานวน 130 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วน บุคคล แบบสอบถามอาการแบบสอบถามกลวิธีการจัดการกับอาการ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา มีค่าดัชนีความตรงเชิง เนื้อหาเท่ากับ .80, .87, .80, และ .81 ตามลําดับ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .80, .75, .80, และ .71 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n \nผลการวิจัย: 1) อาการน้ำลายเหนียว/คอแห้ง มีความถี่และความรุนแรงของอาการมากที่สุด โดยจัดการ กับอาการด้วยการใช้น้ำยาบ้วนปาก การใช้ยาแก้ปวด และการใส่สายให้อาหาร มากที่สุด 2) คุณภาพ\nชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษาอยู่ในระดับสูง (x̄ = 2.90, SD = 0.52) 3) ความถี่และความรุนแรงของอาการมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำและระดับปานกลางกับคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษา (r = -.28, = -.38, p<.05) และ 4) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและ คอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษา (r=.13, p<.05)\n \nสรุป: อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในด้านร่างกายมากที่สุด ดังนั้นพยาบาล จึงควรมีการพัฒนากลวิธีการจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม โดยส่วนใหญ่เกิดในช่องปากที่มีทั้ง ความรุนแรงและความถี่ โดยให้สมาชิกในครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม โดยเริ่มตั้งแต่ก่อน ขณะ และหลัง สิ้นสุดการรักษา เพื่อให้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง\n


บริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและความต้องการของญาติผู้ดูแล สำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของจังหวัดภูเก็ต, ชญานิศ ลือวานิช, รัตนา ลือวานิช, จิตร โรมินทร์ May 2014

บริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและความต้องการของญาติผู้ดูแล สำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของจังหวัดภูเก็ต, ชญานิศ ลือวานิช, รัตนา ลือวานิช, จิตร โรมินทร์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาบริการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวและความต้องการของญาติผู้ดูแล สําหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของจังหวัดภูเก็ต\n\n รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ\n\n วิธีดําเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติผู้ดูแล บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัคร สาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) บุคลากรในสังกัดศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการ สังคมผู้สูงอายุ จังหวัดภูเก็ต และบุคลากรสถานบริบาล รวมจํานวน 43 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการ สัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบอย่างต่อเนื่อง\n \nผลการวิจัย: พบว่า จังหวัดภูเก็ตมีบริการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 5 ลักษณะ คือ การดูแลโดย ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ โดยญาติผู้ดูแล โดยบุคลากรสาธารณสุขจากโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ (รพ.สต.) โดย อสม. /อผส. และโดยสถานบริบาล สิ่งที่ญาติผู้ดูแลมีความต้องการใน การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวประกอบด้วย รพ.สต. ควรมียาสํารอง ให้การสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ และต้องการการช่วยเหลือด้านการเงิน ผู้ให้ข้อมูลหลักได้เสนอแนะบริการการดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิง ดังนี้ 1) ควรมีสถานที่ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนหรือคนพิการในชุมชน โดยเฉพาะให้การดูแลผู้สูงอายุ ที่ไม่มีญาติ ญาติทํางานนอกบ้าน 2) ควรมีผู้มีจิตอาสา / บุคลากรสาธารณสุขไปดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน 3) ควรมี Day care สําหรับดูแลผู้สูงอายุโดยบริหารจัดการในรูปจิตอาสา และ 4) ควรมีแหล่งให้คําปรึกษา ในการดูแลผู้สูงอายุแก่ญาติผู้ดูแล\n \nสรุป: ปัจจุบันการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวนับเป็นสิ่งจําเป็น หน่วยบริการปฐมภูมิจะต้องได้รับการพัฒนา ศักยภาพในด้านการให้บริการ ผู้กําหนดนโยบายด้านสาธารณสุขของจังหวัดภูเก็ตจะต้องมีนโยบายที่ ชัดเจนในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน อีกทั้งควรจัดให้มีหน่วยงานให้คําแนะนํา ปรึกษาในการ ดูแลผู้สูงอายุแก่ญาติผู้ดูแล\n


ผลของการใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร ต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยและความพึงพอใจของพยาบาล, ปนัฐดา ชาติสุวรรณ, กัญญดา ประจุศิลป May 2014

ผลของการใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร ต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยและความพึงพอใจของพยาบาล, ปนัฐดา ชาติสุวรรณ, กัญญดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสนับสนุน ข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลต่อการ ใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบก่อนทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร จํานวน 20 คน และพยาบาลผ่าตัด จํานวน 23 คน ที่ได้จากการคัดเลือกตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการสนับสนุน ข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความวิตกกังวล ของผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้รูปแบบการ สนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาความเที่ยงด้วยการคํานวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .86 และ .87 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที \nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยหลังใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารต่ำกว่าก่อนการใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลฯ อย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พยาบาลมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาล ผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารในระดับมาก (x̄ = 4.02, SD = .64)\n \nสรุป: การใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารส่งผลให้ความวิตก กังวลของผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารลดลง และพยาบาลมีความพึงพอใจ จึงควรนํารูปแบบการสนับสนุน ข้อมูลฯ ไปใช้ตั้งแต่วันแรกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าต้องเข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหาร\n


การพัฒนาแบบประเมินศักยภาพพยาบาลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, สุรีย์ ธรรมมิกบวร, ชลิยา วามะลุน, นงค์นุช จิตภิรมย์ศักดิ์, โสภิต ทับทิมหิน, ทิพาพร บุญมานะ, อาภาเพ็ญ ทำนุ May 2014

การพัฒนาแบบประเมินศักยภาพพยาบาลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, สุรีย์ ธรรมมิกบวร, ชลิยา วามะลุน, นงค์นุช จิตภิรมย์ศักดิ์, โสภิต ทับทิมหิน, ทิพาพร บุญมานะ, อาภาเพ็ญ ทำนุ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบประเมินศักยภาพพยาบาลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม\n \nรูปแบบการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือ\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลที่มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยคัดเลือก จากพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จํานวน 120 คน ดําเนินการสร้างแบบประเมินศักยภาพ พยาบาล ตามขั้นตอนดังนี้ 1) กําหนดคํานิยามเชิงปฏิบัติการ จากการศึกษาแนวคิดและทําการ สนทนากลุ่มกับพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จํานวน 19 คน 2) สร้างข้อคําถามตามคํานิยาม ที่ได้ 6 มิติ จํานวนทั้งหมด 30 ข้อ ลักษณะคําตอบเป็นมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ตั้งแต่ ปฏิบัติประจํา (5 คะแนน) ถึง ไม่เคยปฏิบัติ (1 คะแนน) 3) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .93 โดยไม่มีข้อใดถูกตัดออก 4) หาความเที่ยงโดยนําไปทดลองใช้กับ พยาบาลผู้ให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จํานวน 30 คน ได้สัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .80 และ 5) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) โดยการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) ของแบบประเมินที่นําไปใช้กับพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จํานวน 120 คน\n\nผลการศึกษา: พบว่า แบบประเมินศักยภาพพยาบาลมีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ รวม 30 ข้อ คือ 1) ศักยภาพการดํารงตน ประกอบด้วยข้อคําถาม จํานวน 20 ข้อ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 67.14 2) ศักยภาพการดูแลวิถีสุขภาพของตนเอง ประกอบด้วยข้อคําถาม จํานวน 5 ข้อ สามารถ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.53 และ 3) ศักยภาพการดูแลปัญหาเฉพาะโรค ประกอบด้วยข้อคําถาม …


ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำบารมีของหัวหน้าหอผู้ป่วย สภาพแวดล้อมในการทำงาน กับผลผลิตของงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, นิตยา พิทักษ์โกศล, กัญญดา ประจุศิลป Jan 2014

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำบารมีของหัวหน้าหอผู้ป่วย สภาพแวดล้อมในการทำงาน กับผลผลิตของงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, นิตยา พิทักษ์โกศล, กัญญดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะผู้นําบารมีของหัวหน้าหอผู้ป่วย สภาพแวดล้อมในการทํางานและผลผลิต ของงาน ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ ผู้นําบารมีของหัวหน้าหอผู้ป่วย สภาพแวดล้อมในการทํางาน กับผลผลิตของงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ จํานวน 382 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอนจากโรงพยาบาล 5 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามภาวะผู้นํา บารมีของหัวหน้าหอผู้ป่วย แบบสอบถามสภาพแวดล้อมในการทํางาน และแบบสอบถามผลผลิตของ งานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .93, .93 และ .94 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน\n \nผลการวิจัย: 1) ภาวะผู้นําบารมีของหัวหน้าหอผู้ป่วย สภาพแวดล้อมในการทํางาน และผลผลิตของ งานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ อยู่ในระดับดี (x̄ = 3.91 ± .48, 3.83 ± .44, และ 4.07 ± .40)\n2) ภาวะผู้นําบารมีของหัวหน้าหอผู้ป่วย (r = .44) และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (r = .70) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลผลิตของงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: ผู้บริหารการพยาบาลควรส่งเสริมภาวะผู้นําบารมีของหัวหน้าหอผู้ป่วย และสภาพแวดล้อมในการ ทํางาน ควบคู่กันไปเพื่อให้บุคลากรพยาบาลสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ก่อให้เกิดผลผลิตของงานเพิ่มมากขึ้น\n


ผลของโปรแกรมป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศต่อความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรม ป้องกันตนเองของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษา, ศิรินทร์ณา ทัศนียรัตน์, ประนอม รอดคำดี Jan 2014

ผลของโปรแกรมป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศต่อความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรม ป้องกันตนเองของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษา, ศิรินทร์ณา ทัศนียรัตน์, ประนอม รอดคำดี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความตั้งใจในการกระทําพฤติกรรมป้องกันตนเองของนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาระหว่างก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม หลังสิ้นสุดโปรแกรมทันที และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ \n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อายุ 9-12 ปี ที่ศึกษาอยู่ใน โรงเรียนสหศึกษาแห่งหนึ่ง จํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมป้องกันการถูกล่วง ละเมิดทางเพศ ที่พัฒนาจากแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองของ Bandura มีการดําเนินกิจกรรม 3 ครั้ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความตั้งใจในการกระทําพฤติกรรมป้องกันตนเองจากการถูกล่วง ละเมิดทางเพศ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .85 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .77 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Repeated Measure ANOVA \nผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยคะแนนความตั้งใจในการกระทําพฤติกรรมป้องกันตนเองจากการถูกล่วงละเมิด ทางเพศของกลุ่มตัวอย่างภายหลังสิ้นสุดโปรแกรมทันทีและระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ สูงกว่าก่อนเข้า ร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ส่งผลให้ความตั้งใจในการกระทําพฤติกรรมป้องกัน การถูกล่วงละเมิดทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มคงอยู่ในระยะ 4 สัปดาห์\n


คุณลักษณะของโรงพยาบาลรัฐที่น่าอยู่น่าทำงาน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, นงลักษณ์ จิรประภาพงศ์, สุชาดา รัชชุกูล Jan 2014

คุณลักษณะของโรงพยาบาลรัฐที่น่าอยู่น่าทำงาน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, นงลักษณ์ จิรประภาพงศ์, สุชาดา รัชชุกูล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณลักษณะของโรงพยาบาลรัฐที่น่าอยู่น่าทํางาน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้เทคนิค EDFR\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญจํานวน 24 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มผู้บริหาร กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มนักวิชาการด้านการศึกษาองค์การ กลุ่มนักบริหารทรัพยากรบุคคล กลุ่ม ผู้บริหารโรงพยาบาล กลุ่มผู้บริหารการพยาบาล และกลุ่มพยาบาลด้านการปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย รอบแรกเป็นแบบสัมภาษณ์ รอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามคุณลักษณะของ โรงพยาบาลรัฐที่น่าอยู่น่าทํางาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ คัดเลือกคุณลักษณะของโรงพยาบาลรัฐที่น่าอยู่น่าทํางานจากค่าพิสัยที่มีความเห็นสอดคล้องกัน (IR ≤ 1.50) และค่ามัธยฐานที่มีระดับมากขึ้นไป (Median > 3.50)\n \nผลการวิจัย: คุณลักษณะของโรงพยาบาลรัฐที่น่าอยู่น่าทํางาน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย คุณลักษณะย่อย 64 ข้อ ซึ่งอยู่ในระดับความสําคัญ มาก ถึง มากที่สุด จําแนกได้เป็น 7 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการที่ดี จํานวน 18 ข้อ 2) ด้านการมีความสุขในการทํางานและผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากร จํานวน 5 ข้อ 3) ด้านการให้ความสําคัญกับบุคลากร จํานวน 16 ข้อ 4) ด้านการมีภาวะ ผู้นําของผู้บริหาร จํานวน 10 ข้อ 5) ด้านการสื่อสารที่เปิดเผยและชัดเจน จํานวน 5 ข้อ 6) ด้านความ สามารถในการปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลง จํานวน 5 ข้อ และ 7) ด้านการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม จํานวน 5 ข้อ\n \nสรุป: ผลการวิจัยที่ได้สามารถนําไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโรงพยาบาลให้น่าอยู่น่าทํางานต่อไป \n


การพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดของมารดาวัยรุ่นในชุมชน จังหวัดนครปฐม, ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, วิไล ตาปะสี Jan 2014

การพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดของมารดาวัยรุ่นในชุมชน จังหวัดนครปฐม, ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, วิไล ตาปะสี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมการดูแลทารกแรกเกิดของพยาบาลวิชาชีพ ความสามารถ ในการดูแลทารกแรกเกิดและความต้องการการช่วยเหลือของมารดาวัยรุ่น และพัฒนารูปแบบการดูแล ทารกแรกเกิดในชุมชน จังหวัดนครปฐม\n \nรูปแบบการวิจัย: การศึกษาและการพัฒนา\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในคลินิกฝากครรภ์และหอผู้ป่วยหลังคลอด จํานวน 90 คน และกลุ่มมารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่มีอายุ 17 ปีและต่ำกว่า ที่มาฝากครรภ์และคลอดบุตร โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม จํานวน 40 คน รวบรวมข้อมูลโดย พยาบาลวิชาชีพตอบแบบสอบถามการเตรียมความพร้อมการดูแลทารกแรกเกิดแก่มารดาวัยรุ่นและมารดา วัยรุ่นหลังคลอดตอบแบบสอบถามความสามารถในการดูแลทารกแรกเกิดและความต้องการการช่วยเหลือ ของมารดาวัยรุ่นจากพยาบาลวิชาชีพ ขั้นตอนที่ 2 นําข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาสร้างและพัฒนาเป็น นวัตกรรมสู่การปฏิบัติ\n \nผลการวิจัย: ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อมของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลทารกแรกเกิดแก่มารดา วัยรุ่น พบประเด็นที่สําคัญ คือ พยาบาลวิชาชีพไม่สามารถสอน แนะนํา และสาธิตเกี่ยวกับการดู ทารกแรกเกิดที่จําเป็นในช่วงหลังคลอดได้ครบทุกด้าน มีสื่อเอกสารการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดเป็นแผ่นพับ หน้าเดียวแจกมารดาวัยรุ่นทุกโรงพยาบาล มีสื่อวีดิทัศน์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่อัดสําเนามาจาก โรงพยาบาลอื่น มารดาวัยรุ่นหลังคลอดมีความสามารถในการดูแลทารกแรกเกิดเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านด้านการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ การดูแลทารกแรกเกิดที่มีอาการผิดปกติ และการให้อาหารเสริมบุตร ใน ระดับปานกลางเท่านั้น ส่วนการดูแลทารกแรกเกิดประจําวันและการให้วัคซีนบุตร มีความสามารถใน ระดับมาก และมารดาวัยรุ่นหลังคลอดต้องการความช่วยเหลือจากพยาบาลวิชาชีพ ในการสอนแนะนํา และสาธิตการดูแลทารกแรกเกิดในระดับมากที่สุดและมากทั้ง 5 ด้านที่กล่าวมาข้างต้น ขั้นตอนที่ 2 ผู้วิจัยและผู้ใช้ ได้แก่ แพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัด นครปฐม ได้สร้างและพัฒนานวัตกรรมสื่อวีดิทัศน์ชื่อ ดูแลลูกน้อยอย่างไร..ดูแลตัวเองอย่างไร สําหรับ ให้พยาบาลวิชาชีพใช้เป็นสื่อการสอน แนะนํา และสาธิต และแจกมารดาวัยรุ่นหลังคลอดเพื่อใช้ทบทวน ความรู้ด้วยตนเองที่บ้าน\n \nสรุป: พยาบาลวิชาชีพไม่สามารถสอน แนะนํา และสาธิตการดูแลทารกแรกเกิดแก่มารดาวัยรุ่นหลังคลอด ได้ครบทุกเรื่อง การสร้างนวัตกรรมสื่อวีดิทัศน์สําหรับพยาบาลเพื่อใช้เป็นสื่อการสอนจึงเป็นอีกแนวทาง หนึ่งในการพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดของมารดาวัยรุ่น\n


อิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพและการสนับสนุน จากครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, สมฤทัย เพชรประยูร, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์ Jan 2014

อิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพและการสนับสนุน จากครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, สมฤทัย เพชรประยูร, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพ และการ สนับสนุนจากครอบครัว ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทํานาย\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จํานวน 85 ราย ที่มารับการตรวจ รักษาที่หน่วยตรวจโรคอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูล ส่วนบุคคล การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน การสนับสนุนจากครอบครัว และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แบบสอบถามทุกชุดได้รับการตรวจความตรง เชิงเนื้อหา ได้ค่า CVI เท่ากับ .82, .81, .95 และ .75 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .77, .85, .97 และ .73 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหคุณ\n\nผลการวิจัย: ตัวแปรทั้งหมดร่วมกันทํานายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ร้อยละ 31.6 (R2 = 316, p < .001) โดยตัวแปรทํานายที่มีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ การสนับสนุนจาก ครอบครัว (β = .40) สามารถทํานายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากที่สุด รองลงมา คือ ความแตกฉานด้านสุขภาพ (β = .26) ส่วนการรับรู้ความรุนแรงของโรค (β = -.05) ไม่ สามารถทํานายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ\n \nสรุป: พยาบาลควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความแตกฉานด้านสุขภาพในการดูแลตนเองโดยให้ความ รู้หรือข้อมูลในรูปแบบต่างๆ มีสื่อการสอนที่หลากหลาย จัดให้มีประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้ป่วยสามารถ นําไปปฏิบัติได้จริง และสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เพื่อให้เกิดความ ยั่งยืนในการดูแลตนเอง\n


ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการให้นมแม่ต่อการรับรู้ความสามารถของมารดา ปริมาณน้ำนมแม่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวในทารกเกิดก่อนกำหนด, ปิยาพร สินธุโครต, วีณา จีระแพทย์ Jan 2014

ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการให้นมแม่ต่อการรับรู้ความสามารถของมารดา ปริมาณน้ำนมแม่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวในทารกเกิดก่อนกำหนด, ปิยาพร สินธุโครต, วีณา จีระแพทย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอํานาจในการให้นมแม่ ต่อการรับรู้ความสามารถ ของมารดา ปริมาณน้ำนมแม่ และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวในทารกเกิดก่อนกําหนด\n\n รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาและทารกจํานวน 40 คู่ โดยเป็นมารดาหลังคลอดทาง ช่องคลอดครรภ์แรก และทารกเกิดก่อนกําหนดที่รับไว้ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คู่ โดยจับคู่อายุครรภ์ น้ำหนักแรกเกิดของทารก และความตั้งใจในการ ให้นมแม่ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอํานาจใน การให้นมแม่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมเสริมสร้างพลังอํานาจในการให้นมแม่ แบบบันทึก ปริมาณน้ำนมแม่และน้ำหนักตัวของทารก แบบสอบถามพลังอํานาจในการให้นมแม่และการรับรู้ความ สามารถของมารดา ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา แบบสอบถามพลังอํานาจในการให้นมแม่ และแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของมารดามีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และ .85 ตามลําดับ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติทดสอบค่าที\n \nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถของมารดาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถของมารดากลุ่มทดลองสูง\nกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) 3) ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนมแม่ที่มารดาบีบเก็บได้ของ กลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) และ 4) ค่าเฉลี่ยของร้อยละของ น้ำหนักตัวหลังเกิดที่ลดลงของทารกเกิดก่อนกําหนดในมารดากลุ่มทดลองแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่าง ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (p> .05)\n \nสรุป: ควรนําโปรแกรมเสริมสร้างพลังอํานาจในการให้นมแม่ไปใช้ในการจัดบริการพยาบาลเพื่อเพิ่มการ รับรู้ความสามารถของมารดาและปริมาณน้ำนมแม่ในมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกําหนด\n


สมรรถนะพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป, วราภรณ์ ศิลป์สวัสดิ์, กัญญาดา ประจุศิลป Jan 2014

สมรรถนะพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป, วราภรณ์ ศิลป์สวัสดิ์, กัญญาดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้เทคนิค EDFR\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญจํานวน 18 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางการบริหาร ในองค์กรวิชาชีพ 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพยาบาลจากสมาคมพยาบาลเวชปฏิบัติ 5 คน คณาจารย์ ในสถาบันการศึกษาที่จัดหลักสูตรฝึกอบรมพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็น แพทย์จากสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป 3 คน การดําเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป รอบที่ 2 นําข้อมูลจากรอบที่ 1 มาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างแบบสอบถามสมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสําคัญของข้อรายการสมรรถนะแต่ละด้าน และรอบที่ 3 นําข้อมูล ที่ได้จากรอบที่ 2 มาคํานวณหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อส่งให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน คําตอบเพื่อสรุปผลการวิจัย\n \nผลการวิจัย: สมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป ประกอบด้วย 3 ด้าน มีจํานวนทั้งหมด 34 ข้อ ดังนี้ 1) ด้านการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค มีจํานวน 16 ข้อ 2) ด้านการพยาบาลในชุมชน มีจํานวน 10 ข้อ และ 3) ด้านการจัดการภาวะสุขภาพ มีจํานวน 8 ข้อ\n \nสรุป: ผู้บริหารการพยาบาลสามารถนําผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการมอบหมายงานให้สอดคล้องกับ สมรรถนะของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป\n