Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2014

Nursing

Chulalongkorn University

การคุมกําเนิด;นักเรียนอาชีวศึกษาหญิง;พฤติกรรมทางเพศ

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย, บุษบา ทับทิมสวน, รัตน์ศิริ ทาโต May 2014

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย, บุษบา ทับทิมสวน, รัตน์ศิริ ทาโต

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด ทัศนคติต่อ การคุมกําเนิด ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ ความเชื่อที่เป็นมาตรฐานทางสังคม ความต้องการมีบุตรของคนรัก กับพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตภาคเหนือตอนบน และศึกษาปัจจัย ทํานายพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิง\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทํานาย\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษาหญิงอายุไม่เกิน 18 ปี ที่กําลังศึกษาในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพในเขตภาคเหนือตอนบน ที่ระบุว่ามีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จํานวน 280 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูล ส่วนบุคคล การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด ทัศนคติต่อการคุมกําเนิด ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ ความเชื่อที่เป็นมาตรฐานทางสังคม ความต้องการมีบุตรของคนรัก และพฤติกรรมการคุมกําเนิด ผ่าน การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84, .81, .85, .82, .80 และ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคํานวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ แบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด ทัศนคติต่อการคุมกําเนิด และความเชื่อที่เป็น มาตรฐานทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิง (r = .40, .13 และ .37, p < .05) ความต้องการมีบุตรของคนรักมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการ คุมกําเนิด (r = -.16, p < .05) และทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิง (r = -.003, p > .05) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด (β = .31) ความเชื่อที่เป็นมาตรฐานทางสังคม (β = .28) และความต้องการมีบุตรของคนรัก (β = -.16) สามารถร่วมกันทํานายพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงได้ร้อยละ 25.5\n \nสรุป: ควรมีการส่งเสริมพฤติกรรมการคุมกําเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ด้วย การส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกําเนิด สร้างกลุ่มเครือข่ายเพื่อนที่สนับสนุนการคุมกําเนิด รวมถึงการกระตุ้นบทบาทของคนรักในการมีส่วนร่วมในการคุมกําเนิดก็จะส่งผลให้นักเรียนอาชีวศึกษา หญิงมีการคุมกําเนิดมากขึ้น \n