Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2014

Nursing

Chulalongkorn University

ความแตกฉานด้านสุขภาพ;พฤติกรรมการดูแลตนเอง;ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

อิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพและการสนับสนุน จากครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, สมฤทัย เพชรประยูร, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์ Jan 2014

อิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพและการสนับสนุน จากครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, สมฤทัย เพชรประยูร, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพ และการ สนับสนุนจากครอบครัว ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทํานาย\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จํานวน 85 ราย ที่มารับการตรวจ รักษาที่หน่วยตรวจโรคอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูล ส่วนบุคคล การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน การสนับสนุนจากครอบครัว และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แบบสอบถามทุกชุดได้รับการตรวจความตรง เชิงเนื้อหา ได้ค่า CVI เท่ากับ .82, .81, .95 และ .75 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .77, .85, .97 และ .73 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหคุณ\n\nผลการวิจัย: ตัวแปรทั้งหมดร่วมกันทํานายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ร้อยละ 31.6 (R2 = 316, p < .001) โดยตัวแปรทํานายที่มีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ การสนับสนุนจาก ครอบครัว (β = .40) สามารถทํานายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากที่สุด รองลงมา คือ ความแตกฉานด้านสุขภาพ (β = .26) ส่วนการรับรู้ความรุนแรงของโรค (β = -.05) ไม่ สามารถทํานายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ\n \nสรุป: พยาบาลควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความแตกฉานด้านสุขภาพในการดูแลตนเองโดยให้ความ รู้หรือข้อมูลในรูปแบบต่างๆ มีสื่อการสอนที่หลากหลาย จัดให้มีประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้ป่วยสามารถ นําไปปฏิบัติได้จริง และสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เพื่อให้เกิดความ ยั่งยืนในการดูแลตนเอง\n