Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2014

Nursing

Chulalongkorn University

การดูแลระยะยาว;ผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง;ความต้องการของญาติผู้ดูแล

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

บริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและความต้องการของญาติผู้ดูแล สำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของจังหวัดภูเก็ต, ชญานิศ ลือวานิช, รัตนา ลือวานิช, จิตร โรมินทร์ May 2014

บริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและความต้องการของญาติผู้ดูแล สำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของจังหวัดภูเก็ต, ชญานิศ ลือวานิช, รัตนา ลือวานิช, จิตร โรมินทร์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาบริการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวและความต้องการของญาติผู้ดูแล สําหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของจังหวัดภูเก็ต\n\n รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ\n\n วิธีดําเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติผู้ดูแล บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัคร สาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) บุคลากรในสังกัดศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการ สังคมผู้สูงอายุ จังหวัดภูเก็ต และบุคลากรสถานบริบาล รวมจํานวน 43 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการ สัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบอย่างต่อเนื่อง\n \nผลการวิจัย: พบว่า จังหวัดภูเก็ตมีบริการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 5 ลักษณะ คือ การดูแลโดย ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ โดยญาติผู้ดูแล โดยบุคลากรสาธารณสุขจากโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ (รพ.สต.) โดย อสม. /อผส. และโดยสถานบริบาล สิ่งที่ญาติผู้ดูแลมีความต้องการใน การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวประกอบด้วย รพ.สต. ควรมียาสํารอง ให้การสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ และต้องการการช่วยเหลือด้านการเงิน ผู้ให้ข้อมูลหลักได้เสนอแนะบริการการดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิง ดังนี้ 1) ควรมีสถานที่ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนหรือคนพิการในชุมชน โดยเฉพาะให้การดูแลผู้สูงอายุ ที่ไม่มีญาติ ญาติทํางานนอกบ้าน 2) ควรมีผู้มีจิตอาสา / บุคลากรสาธารณสุขไปดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน 3) ควรมี Day care สําหรับดูแลผู้สูงอายุโดยบริหารจัดการในรูปจิตอาสา และ 4) ควรมีแหล่งให้คําปรึกษา ในการดูแลผู้สูงอายุแก่ญาติผู้ดูแล\n \nสรุป: ปัจจุบันการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวนับเป็นสิ่งจําเป็น หน่วยบริการปฐมภูมิจะต้องได้รับการพัฒนา ศักยภาพในด้านการให้บริการ ผู้กําหนดนโยบายด้านสาธารณสุขของจังหวัดภูเก็ตจะต้องมีนโยบายที่ ชัดเจนในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน อีกทั้งควรจัดให้มีหน่วยงานให้คําแนะนํา ปรึกษาในการ ดูแลผู้สูงอายุแก่ญาติผู้ดูแล\n