Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2014

Nursing

Chulalongkorn University

การเสริมสร้างพลังอํานาจ;การรับรู้ความสามารถ;ปริมาณน้ำนมแม่;ทารกเกิดก่อนกําหนด

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการให้นมแม่ต่อการรับรู้ความสามารถของมารดา ปริมาณน้ำนมแม่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวในทารกเกิดก่อนกำหนด, ปิยาพร สินธุโครต, วีณา จีระแพทย์ Jan 2014

ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการให้นมแม่ต่อการรับรู้ความสามารถของมารดา ปริมาณน้ำนมแม่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวในทารกเกิดก่อนกำหนด, ปิยาพร สินธุโครต, วีณา จีระแพทย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอํานาจในการให้นมแม่ ต่อการรับรู้ความสามารถ ของมารดา ปริมาณน้ำนมแม่ และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวในทารกเกิดก่อนกําหนด\n\n รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาและทารกจํานวน 40 คู่ โดยเป็นมารดาหลังคลอดทาง ช่องคลอดครรภ์แรก และทารกเกิดก่อนกําหนดที่รับไว้ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คู่ โดยจับคู่อายุครรภ์ น้ำหนักแรกเกิดของทารก และความตั้งใจในการ ให้นมแม่ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอํานาจใน การให้นมแม่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมเสริมสร้างพลังอํานาจในการให้นมแม่ แบบบันทึก ปริมาณน้ำนมแม่และน้ำหนักตัวของทารก แบบสอบถามพลังอํานาจในการให้นมแม่และการรับรู้ความ สามารถของมารดา ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา แบบสอบถามพลังอํานาจในการให้นมแม่ และแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของมารดามีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และ .85 ตามลําดับ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติทดสอบค่าที\n \nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถของมารดาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถของมารดากลุ่มทดลองสูง\nกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) 3) ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนมแม่ที่มารดาบีบเก็บได้ของ กลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) และ 4) ค่าเฉลี่ยของร้อยละของ น้ำหนักตัวหลังเกิดที่ลดลงของทารกเกิดก่อนกําหนดในมารดากลุ่มทดลองแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่าง ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (p> .05)\n \nสรุป: ควรนําโปรแกรมเสริมสร้างพลังอํานาจในการให้นมแม่ไปใช้ในการจัดบริการพยาบาลเพื่อเพิ่มการ รับรู้ความสามารถของมารดาและปริมาณน้ำนมแม่ในมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกําหนด\n