Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2014

Nursing

Chulalongkorn University

คุณภาพชีวิต;ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม;วัยผู้ใหญ่

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยคัดสรรที่มีค่าสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่, ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง, สุรีพร ธนศิลป์ Jan 2014

ปัจจัยคัดสรรที่มีค่าสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่, ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง, สุรีพร ธนศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร คือ อาการปวดเข่า ความรุนแรงของโรค ภาวะซึมเศร้า ความสามารถในการดูแลตนเอง อายุ ดัชนีมวลกาย และการ สนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่ที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนด จํานวน 150 คน ที่เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกคลินิกโรคกระดูกและข้อของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โรงพยาบาลเลิดสิน และโรงพยาบาลศิริราช เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินอาการปวด แบบประเมินความรุนแรงของโรค แบบประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง แบบประเมินการ สนับสนุนทางสังคม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินคุณภาพชีวิต ตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 5 คน หาค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .76, .75, .92, .91, .92, และ .92 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n \nผลการวิจัย: 1) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมเฉลี่ยในระดับสูง (x̄ = 2.74, SD = .50) 2) ความสามารถในการดูแลตนเอง การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ\n.05 (r = .30, r = .36 ตามลําดับ) 3) อาการปวดเข่า ความรุนแรงของโรค และดัชนีมวลกาย มีความ สัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 05 (r = -.33, .34 และ -.18 ตามลําดับ) ส่วนภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงกับ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.65) และ 4) อายุไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่ (r = -.06)\n \nสรุป: …