Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2014

Nursing

Chulalongkorn University

โปรแกรมวางแผนการจําหน่าย;พฤติกรรมการจัดการตนเอง;เด็กวัยเรียนโรคหอบหืด

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกำเริบของเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด, ปริศนา แผ้วชนะ, วีณา จีระแพทย์ Sep 2014

ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกำเริบของเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด, ปริศนา แผ้วชนะ, วีณา จีระแพทย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกําเริบของเด็กวัยเรียน โรคหอบหืด ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการวางแผนจําหน่าย และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรม การจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกําเริบของเด็กวัยเรียนโรคหอบหืดระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม การวางแผนจําหน่ายกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด จํานวน 40 คน อายุ 7-12 ปี ที่มา รับการรักษาแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง 20 คนแรก เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง 20 คนหลัง เป็นกลุ่มทดลอง จับคู่ให้เหมือนกันด้าน อายุ และเพศ เครื่องมือที่ใช้ในการ ทดลองประกอบด้วย โปรแกรมการวางแผนจําหน่าย สถานการณ์จําลอง และสมุดพกแนวทางปฏิบัติตัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหา และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที\n \nผลการวิจัย: 1) พฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกําเริบของเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด หลังได้รับโปรแกรมการวางแผนการจําหน่าย ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2) พฤติกรรมจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกำเริบของเด้กวัยเรียนโรคหอบหืด กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนการจําหน่าย ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: การวางแผนจําหน่ายที่ใช้สถานการณ์จําลองและสมุดพกแนวทางปฏิบัติตัว เป็นกิจกรรมการ พยาบาลที่มีประสิทธิภาพต่อการเสริมสร้างพฤติกรรมการจัดการตนเองในเด็กวัยเรียน\n