Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 61 - 90 of 3469

Full-Text Articles in Education

การเปรียบเทียบระบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูในประเทศไทยและต่างประเทศ, ธีรภัทร กุโลภาส, ปัญญา อัครพุทธพงศ์ Jan 2023

การเปรียบเทียบระบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูในประเทศไทยและต่างประเทศ, ธีรภัทร กุโลภาส, ปัญญา อัครพุทธพงศ์

Journal of Education Studies

ประเทศไทยยังคงประสบปัญหาเกี่ยวกับระบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อคุณภาพครูที่เข้าสู่วิชาชีพ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบระบบดังกล่าวของประเทศไทยและประเทศคัดสรร ได้แก่ ญี่ปุ่น ไอร์แลนด์ และออสเตรเลีย ซึ่งมีผลการประเมิน PISA อยู่ในระดับสูง อยู่ต่างภูมิภาคของโลก และมีข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ ผู้วิจัยใช้ผ่านระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์เนื้อหาโดยอาศัยมโนทัศน์และข้อมูลเป็นฐาน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และการให้ข้อมูลย้อนกลับของระบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของไทยและประเทศคัดสรรมีความแตกต่างกันบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทดสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู การจำแนกประเภทและระดับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ระเบียบการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และการให้ข้อมูลย้อนกลับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องของไทย ควรมีการแบ่งประเภทและจำแนกระดับคุณภาพของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ปรับปรุงเกณฑ์การต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แก้ไขกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียน และพัฒนาการตรวจสอบสมรรถนะ การสอนของผู้ถือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู


ความเที่ยงภายใต้เงื่อนไขการทดสอบที่ต่างกันของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง, ภัคจิรา จงสุกใส, กมลวรรณ ตังธนกานนท์ Oct 2022

ความเที่ยงภายใต้เงื่อนไขการทดสอบที่ต่างกันของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง, ภัคจิรา จงสุกใส, กมลวรรณ ตังธนกานนท์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์และวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) ตรวจสอบคุณภาพวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นในแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ (3) เปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 90 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ และวิธีการตรวจให้คะแนน สถิติที่ใช้ คือ Cronbach’s alpha, Pearson’s Product Moment Correlation และ G-Coefficient ผลการวิจัย พบว่า (1) แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณ ทางคณิตศาสตร์แต่ละข้อสอดคล้องกระบวนการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ และวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้น ชั้นที่ 1 ประเมินข้อรายการย่อย ชั้นที่ 2 แปลงคะแนนชั้นที่ 1 (2) วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นมีความตรงเชิงเนื้อหาสอดคล้องกับแนวคำตอบความเที่ยงการตรวจให้คะแนนภายในผู้ประเมินและระหว่างผู้ประเมินมีค่าสูง และ (3) วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นมีความเที่ยงสูงกว่าวิธีตรวจให้คะแนนวิเคราะห์ย่อยและวิธีตรวจให้คะแนน Knox อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 ตามลำดับ


การฝึกอบรมทักษะด้านมิติสัมพันธ์แบบสามมิติบนเทคโนโลยีเมตาเวิร์ส, ภาวพรรณ ขําทับ Oct 2022

การฝึกอบรมทักษะด้านมิติสัมพันธ์แบบสามมิติบนเทคโนโลยีเมตาเวิร์ส, ภาวพรรณ ขําทับ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการฝึกอบรมทักษะด้านมิติสัมพันธ์แบบสามมิติ 2) พัฒนากิจกรรมฝึกอบรมทักษะบนเทคโนโลยีเมตาเวิร์ส 3) ศึกษาผลการฝึกอบรมทักษะด้านมิติสัมพันธ์แบบสามมิติบนเทคโนโลยีเมตาเวิร์ส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้เข้ารับการฝึกอบรมการสร้างสื่อดิจิทัลแบบเสมือนจริง จำนวน 15 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการฝึกอบรมทักษะด้านมิติสัมพันธ์แบบสามมิติ มีการกำหนดลำดับเป็นขั้นตอนตามระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่มีจุดเน้นในการช่วยเหลือชี้แนะผู้เรียนอย่างเต็มที่ในช่วงแรก และลดระดับความช่วยเหลือลงเมื่อผู้เรียนเกิดความชำนาญ ก่อนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง 2) กิจกรรมฝึกอบรมทักษะบนเทคโนโลยีเมตาเวิร์ส ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นจุดที่เป็นสาระสำคัญที่เน้นเด่นชัด สมจริง 360 องศา โดยมีจุดสังเกตจากการใช้เส้นประ แสงเงา และสี เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้ชัดเจนยิ่งขึ้น 3) ผลการฝึกอบรมทักษะ พบว่า ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถด้านการสร้างวัตถุสามมิติของผู้เรียน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดี (M = 4.13, SD = 0.60) และพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.31, SD = 0.61)


แนวทางการออกแบบบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้สะตีมศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และเครื่องมือวางแผนการออกแบบบอร์ดเกมการศึกษา, ณัชชา เจริญชนะกิจ, โสมฉาย บุญญานันต์ Oct 2022

แนวทางการออกแบบบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้สะตีมศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และเครื่องมือวางแผนการออกแบบบอร์ดเกมการศึกษา, ณัชชา เจริญชนะกิจ, โสมฉาย บุญญานันต์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมสะตีมศึกษาตามแนวทางการเรียนรู้โดยใช้ เกมเป็นฐาน สำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระดับประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการออกแบบบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้สะตีมศึกษาที่มีประสิทธิภาพ 2) พัฒนาเครื่องมือวางแผนการออกแบบบอร์ดเกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์บอร์ดเกม 15 ชิ้น เก็บข้อมูลโดยใช้ 1) matrix analysis 2) image scale และ 3) ตารางวิเคราะห์กระบวนการออกแบบบอร์ดเกม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ การวิเคราะห์เนื้อหา แล้วจึงนำมาสังเคราะห์เป็นผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการออกแบบบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้สะตีมศึกษา ควรส่งเสริมทักษะ 4 ด้าน ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การร่วมมือ และ ความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ ระยะเวลาที่เหมาะสม คือ 60-90 นาที จำนวนผู้เล่นสูงสุดควรมากกว่า 4 คนขึ้นไป ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ควรระบุในตำแหน่งระหว่าง กลุ่มที่ 2 สร้างทักษะ และ กลุ่มที่ 4 ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา 2) เครื่องมือวางแผนการออกแบบบอร์ดเกมการศึกษา มีหัวข้อดังนี้ 1) การค้นคว้า แบ่งเป็น 1.1) เนื้อหา 1.2) แนวคิด 1.3) ผู้เล่น 1.4) การศึกษาตลาด 1.5) ประสบการณ์ที่ได้ 2) การออกแบบ แบ่งเป็น 2.1) แนวเรื่อง 2.2) กลไกวิธีเล่น 2.3) องค์ประกอบ 2.4) รูปลักษณ์และความรู้สึก 2.5) ผังสรุปการเล่น 3) การพัฒนา แบ่งเป็น 3.1) การทดลองเล่น


กลยุทธ์การบริหารกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น, จอมไตร ทันโส, ดาวรุวรรณ ถวิลการ Oct 2022

กลยุทธ์การบริหารกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น, จอมไตร ทันโส, ดาวรุวรรณ ถวิลการ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และนำเสนอกลยุทธ์การบริหารกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 79 คน ครู จำนวน 406 คน รวม 485 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.901 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก มีค่าเฉลี่ย 3.83 อยู่ในระดับมาก สภาพพึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก มีค่าเฉลี่ย 4.74 อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นของการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างพลเมืองโลก (PNlModified= 0.305) และพบว่า กลยุทธ์การบริการกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ (1) กลยุทธ์การส่งเสริมให้นักเรียนดำเนินกิจกรรมในโรงเรียน (2) กลยุทธ์เปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้ผู้เรียนสะท้อนผลการทำงาน แก้ไขปัญหาเพื่อให้สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 (3) กลยุทธ์พลิกโฉมพัฒนาผู้เรียน ตอบสนองความต้องการของชุมชนความเป็นพลเมืองโลก (4) กลยุทธ์การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บูรณาการท้องถิ่น


ความคาดหวังทางการศึกษาของนักศึกษาบริหารธุรกิจเพื่อการประกอบอาชีพธุรกิจการขนส่งทางอากาศในประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์โควิด - 19, ทัศนาวดี ไพโรจน์บริบูรณ์, พาริส หงษ์สกุล Oct 2022

ความคาดหวังทางการศึกษาของนักศึกษาบริหารธุรกิจเพื่อการประกอบอาชีพธุรกิจการขนส่งทางอากาศในประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์โควิด - 19, ทัศนาวดี ไพโรจน์บริบูรณ์, พาริส หงษ์สกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้การเปลี่ยนแปลงทักษะการทำงานในธุรกิจการขนส่งและ ความคาดหวังทางการศึกษาภายใต้สถานการณ์โควิด-19 เพื่อการประกอบอาชีพธุรกิจการขนส่งทางอากาศ ของนักศึกษาบริหารธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา 2 สาขาวิชา คือการจัดการธุรกิจการบิน และการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จำนวน 305 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความคิดเห็นด้วยการวิเคราะความแปรปรวนทางเดียวและ t-test ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาทั้งสองหลักสูตร มีความสนใจทำงานในธุรกิจขนส่งทางอากาศ แต่เลือกเรียนสาขาวิชาที่แตกต่าง โดยนักศึกษาการจัดการธุรกิจการบิน ต้องการทำงานด้านบริการ ส่วนนักศึกษาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ต้องการทำงานด้านธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ส่วนการรับรู้การเปลี่ยนแปลงทักษะการทำงานในธุรกิจการขนส่งภายใต้สถานการณ์โควิด-19 พบว่า นักศึกษา ทั้ง 2 หลักสูตร มีระดับการรับรู้ไม่แตกต่างกัน โดยอยู่ในระดับมากทุกประเด็น ได้แก่ ทักษะการจัดการทั่วไป ความรู้ เชิงพาณิชย์ในธุรกิจการขนส่ง ทักษะเกี่ยวกับคน และ ทักษะเทคโนโลยี ส่วนผลการศึกษาความคาดหวังทางการศึกษาภายใต้สถานการณ์โควิด-19 เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติใน 2 ด้าน คือ ความคาดหวังด้านเนื้อหาสาระวิชาที่มีส่วนต่อการจ้างงานในอนาคต และความน่าเชื่อถือของผู้สอน


บทบรรณาธิการ, ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ Oct 2022

บทบรรณาธิการ, ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


นวัตกรรมชุดการสอนเพื่อส่งเสริมการพูดภาษาไทย สำหรับนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์, พงศกร สมมิตร Oct 2022

นวัตกรรมชุดการสอนเพื่อส่งเสริมการพูดภาษาไทย สำหรับนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์, พงศกร สมมิตร

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างนวัตกรรมชุดการสอน “หนังสือเสียง สำเนียงภาษาไทย”เพื่อส่งเสริมการพูดภาษาไทย สำหรับนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ 2) ศึกษาผลการใช้นวัตกรรม ฯ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ต่อการใช้นวัตกรรมฯ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีปัญหาการพูดภาษาไทย จำนวน 20 คน ประกอบด้วย นักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ล่าหู่ อาข่า ปกาเกอะญอ และม้ง กลุ่มชาติพันธุ์ละ 5 คน โดยแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์เป็นตัวแทนของผู้ที่มีปัญหาด้านการออกเสียงพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้าย วรรณยุกต์ และพยัญชนะ ควบกล้ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบความสามารถในการพูดภาษาไทย 2) นวัตกรรมชุดการสอน “หนังสือเสียง สำเนียงภาษาไทย” และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ต่อนวัตกรรมฯ ผลการวิจัย ทำให้ได้นวัตกรรม“หนังสือเสียง สำเนียงภาษาไทย” ที่ประกอบด้วยชุดฝึก 5 ชุด คือ (1) ชุดฝึกอวัยวะใน การออกเสียงภาษาไทย (2) ชุดฝึกพูดภาษาไทยจากคำ (3) ชุดฝึกพูดภาษาไทยจากประโยค (4) ชุดฝึกพูดภาษาไทยจากเรื่องเล่าในท้องถิ่น และ (5) ชุดประเมินการพูดภาษาไทย โดยพบว่า 1) นวัตกรรมฯ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.80/86.00 2) ความสามารถในการพูดภาษาไทยของนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หลังใช้นวัตกรรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 25.75 3) นักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์มีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมฯ ในระดับมากที่สุด


การวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์และการบริหารจัดการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมและนวัตกรรม, ปิยมาภรณ์ ภูหนองโอง, ปิยพงษ์ คล้ายคลึง, ขจีพร วงศ์ปรีดี Oct 2022

การวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์และการบริหารจัดการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมและนวัตกรรม, ปิยมาภรณ์ ภูหนองโอง, ปิยพงษ์ คล้ายคลึง, ขจีพร วงศ์ปรีดี

Journal of Education Studies

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความคิดเห็นและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียน การสอนของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมและนวัตกรรม 2) พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเรียนการสอนและวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการจัดการเรียนการสอนก่อนและหลังการทดลองใช้ และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะการบริหารจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 18 คน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยเก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการหลักสูตร อยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการเรียนการสอนและผลเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนก่อนและหลังการทดลองใช้ พบว่า การจัดรายวิชาเลือก ทำให้นิสิตได้เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญและสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้กับหัวข้อปริญญานิพนธ์และโครงการวิจัย รวมถึงการจัดทำขั้นตอนการสอบปริญญานิพนธ์ นิสิตได้นำขั้นตอนการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ก่อนนำส่งไปยังบัณฑิตวิทยาลัย ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในติดต่อสื่อสาร ส่งงานทันเวลา 3) ข้อเสนอแนะสำหรับการบริหารจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร ควรจัดการเรียนการสอนรายวิชาพื้นฐานในเทอมที่ 1 และจัดรูปแบบการสอนโดยใช้โจทย์/ ปัญหาและความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความพร้อมของเด็กที่กำลังขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, ยศวีร์ สายฟ้า Oct 2022

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความพร้อมของเด็กที่กำลังขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, ยศวีร์ สายฟ้า

Journal of Education Studies

รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับเด็ก การสนับสนุนการปรับตัวที่ราบรื่นสำหรับเด็กในช่วงการเปลี่ยนผ่านนี้จึงมีความสำคัญมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบความพร้อมของเด็กที่กำลังจะขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตัวอย่างวิจัยคือครูประจำชั้นอนุบาล 3 (อายุ 5 – 6 ปี) ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 3 (อายุ 5 – 6 ปี) และผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามความคาดหวังที่มีต่อความพร้อมของเด็กที่กำลังจะขึ้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบความพร้อมทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การเจริญเติบโตและการใช้งานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทักษะทางวิชาการขั้นต้น ทักษะทางสังคม ทักษะการดูแลและช่วยเหลือตนเอง คุณลักษณะและพื้นนิสัยส่วนบุคคล และการควบคุมกำกับตนเอง ได้รับการยืนยันในกลุ่มครูว่ามีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยเมตริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมของข้อมูลเชิงประจักษ์สอดคล้องกับทฤษฎี (c2 (8, N=204)= 14.690, p=.0655, (c2/df = 1.836, RMSEA=0.085, SRMR=0.004) เช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้ปกครองที่เมตริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมของข้อมูลเชิงประจักษ์สอดคล้องกับทฤษฎี (c2(5, N=2,861) = 19.582, p = .002, c2/df = 3.916, RMSEA = 0.032, SRMR = 0.001


Teaching Techniques For Designing Physics Learning Activities During The Covid-19 Pandemic: Analysis Of Pre-Service Teachers' Lesson Plans, Atsawanonthapakorn Thanetweeraphat Oct 2022

Teaching Techniques For Designing Physics Learning Activities During The Covid-19 Pandemic: Analysis Of Pre-Service Teachers' Lesson Plans, Atsawanonthapakorn Thanetweeraphat

Journal of Education Studies

This research had two aims: first, to analyze research articles on physics instruction during the COVID-19 crisis and determine teaching techniques that enhanced upper secondary students’ physics concept understanding, science process skills and five key competencies; second, to analyze the teaching techniques selected by pre-service physics teachers and how they applied them in lesson plans in an online context. A content analysis and an inductive coding were conducted on 79 selected research articles and 85 lesson plans in this study. The results showed that smartphone application, simulation and online clip video were the most frequently used to develop students during …


ครุศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม, นันท์นภัส แสงฮอง Oct 2022

ครุศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม, นันท์นภัส แสงฮอง

Journal of Education Studies

บทความนี้ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับครุศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมโดยมุ่งเน้นกรณีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประวัติอันยาวนานในการพัฒนาครุศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมทั้งในด้านทฤษฎีและในทางปฏิบัติ เริ่มต้นด้วยการนำเสนอ คำจำกัดความและพัฒนาการโดยย่อของครุศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม ตามด้วยการอภิปรายเกี่ยวกับกระบวนทัศน์ครุศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมที่เป็นที่แพร่หลาย ได้แก่ ครุศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมแบบอนุรักษ์นิยม ครุศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมแบบเสรีนิยม และครุศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมแบบวิพากษ์นิยม หัวข้อสุดท้ายของบทความจะนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวในครุศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเพิ่งเริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับครุศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม


การพัฒนาการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แอปพลิเคชัน Quizlet ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร, วิทวัส ขาวประเสริฐ, ธิติยา พิศสุวรรณ, จิตรรัตน์ เรืองคำ, นวพร วรรณทอง Jul 2022

การพัฒนาการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แอปพลิเคชัน Quizlet ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร, วิทวัส ขาวประเสริฐ, ธิติยา พิศสุวรรณ, จิตรรัตน์ เรืองคำ, นวพร วรรณทอง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ผ่านแอปพลิเคชัน Quizlet กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ปีการศึกษา 2564 ห้อง ม.2/4 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ร้อยละ (%) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้แผนการจัดการการเรียนรู้ มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการใช้แอปพลิเคชัน Quizlet ในการพัฒนาการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ มีระดับพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37


โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมคุณภาพ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3, อภิสิทธิ์ โคสาดี, ดาวรุวรรณ ถวิลการ, วัลลภา อารีรัตน์ Jul 2022

โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมคุณภาพ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3, อภิสิทธิ์ โคสาดี, ดาวรุวรรณ ถวิลการ, วัลลภา อารีรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ศึกษาอิทธิพลภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาและ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 240 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.832 – 0.844 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ SEM 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 = 20.955, df = 30, p-value = 0.889, CFI = 1.000 , TLI = 1.0001 , RMSEA = 0.000 , SRMR = 0.029) 2) ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารมีอิทธิพลเชิงบวกต่อวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษามีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.807 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) แนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาประกอบด้วยรายการปฏิบัติตามองค์ประกอบของวัฒนธรรมคุณภาพ จำนวน 17 รายการ ซึ่งอยู่ในลักษณะข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและมีผลการประเมินแนวทางในระดับมากที่สุด


บทบรรณาธิการ, ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ Jul 2022

บทบรรณาธิการ, ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การสอบเทียบวัดระดับความสามารถทักษะการบรรเลงฟลูตของสถาบันดนตรีสหราชอาณาจักรในระดับอุดมศึกษา, จิรายุ เตชะมานะพงษ์, สยา ทันตะเวช Jul 2022

การสอบเทียบวัดระดับความสามารถทักษะการบรรเลงฟลูตของสถาบันดนตรีสหราชอาณาจักรในระดับอุดมศึกษา, จิรายุ เตชะมานะพงษ์, สยา ทันตะเวช

Journal of Education Studies

บทความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสอบเทียบวัดระดับความสามารถทักษะการบรรเลงฟลูตในระดับอุดมศึกษาของสถาบันดนตรีสหราชอาณาจักรซึ่งได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยทำการศึกษาเอกสารประมวลการสอบของสถาบันดนตรีสหราชอาณาจักรในส่วนของลักษณะของการจัดสอบ เกณฑ์การประเมิน บทเพลงที่ใช้ในการสอบ และทักษะหลักที่ใช้ในการวัดประเมินทักษะการบรรเลงฟลูตในระดับอุดมศึกษา เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลสำคัญของการประเมินทักษะการบรรเลงฟลูตในระดับอุดมศึกษา และต่อยอดไปสู่การนำองค์ความรู้ที่ได้ศึกษามาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนทักษะฟลูตในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย จากการศึกษา พบว่า สถาบันดนตรีสหราชอาณาจักรแต่ละแห่งมีเอกลักษณ์ในการวัดประเมินผลทักษะการบรรเลงฟลูตเฉพาะตัว ทั้งนี้ การสอบเทียบวัดระดับความสามารถทักษะการบรรเลงฟลูตในระดับอุดมศึกษาจะเน้นไปที่การประเมินทักษะการบรรเลง ทักษะการสื่อสาร ทักษะการประเมินตนเอง และทักษะการจัดการ ผ่านการจัดแสดงบรรเลงเดี่ยวฟลูต


การตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทย: การประยุกต์ใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์, ภูรินท์ เทพสถิตย์, กมลวรรณ ตังธนกานนท์ Jul 2022

การตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทย: การประยุกต์ใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์, ภูรินท์ เทพสถิตย์, กมลวรรณ ตังธนกานนท์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยโดยใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ ตัวอย่างวิจัย คือ 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่บรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี 4 ชนิด ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก จำนวน 84 คน และ 2) ผู้ประเมินทักษะดนตรีไทยที่มีความเชี่ยวชาญและผ่านการอบรม จำนวน 6 ท่าน เครื่องมือวิจัย คือ รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทย ประกอบด้วยเกณฑ์ 8 ด้าน 12 ข้อรายการประเมิน โดยแต่ละข้อรายการประเมินจะประกอบไปด้วยระดับคุณภาพ 5 ระดับ วิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติโดยใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ผ่านฟาเซตที่เกี่ยวข้อง 4 ฟาเซต ประกอบด้วย ฟาเซตนักเรียน ฟาเซตผู้ประเมิน ฟาเซตเครื่องดนตรี และฟาเซตข้อรายการประเมิน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลความสอดคล้องกลมกลืนกับโมเดลของฟาเซตทั้ง 4 ฟาเซต ดัชนีคุณภาพฟาเซตผู้ประเมินและข้อรายการประเมิน ค่า point-measure correlation ของฟาเซตข้อรายการประเมิน และดัชนีประสิทธิผลระดับคุณภาพ แสดงถึงความตรงเชิงโครงสร้างของรูบริก และ 2) ผล Chi-square ฟาเซตนักเรียนและผู้ประเมิน และดัชนีคุณภาพฟาเซตนักเรียน แสดงถึงความเที่ยงของรูบริก


ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดรวบยอดสำหรับเด็กอนุบาล, ศศิญา สุจริต, ศิรประภา พฤทธิกุล, เชวง ซ้อนบุญ Jul 2022

ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดรวบยอดสำหรับเด็กอนุบาล, ศศิญา สุจริต, ศิรประภา พฤทธิกุล, เชวง ซ้อนบุญ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กอนุบาลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาล อายุ 5-6 ปี จำนวน 20 คน ใช้เวลาในการทดลองครั้งละ 60 นาที ติดต่อกันสัปดาห์ละ 4 ครั้ง รวม 6 สัปดาห์ ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มี 3 ระยะ ได้แก่ 1) เตรียมการก่อนการจัดประสบการณ์ 2) ดำเนินการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย 5 ขั้นย่อย ได้แก่ เตรียมความพร้อม นำเสนอมโนทัศน์ จัดระเบียบข้อมูล สรุปมโนทัศน์ และสร้างสรรค์ผังกราฟิกรายบุคคล และ 3) ประเมินหลังการจัดประสบการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีค่าเท่ากับ 0.8511 แสดงว่า เด็กอนุบาลมีการพัฒนาความสามารถในการคิดรวบยอดเพิ่มขึ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 85.11 2) เด็กอนุบาลมีความสามารถในการคิดรวบยอด หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกสามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างความสามารถในการคิดรวบยอดสำหรับเด็กอนุบาลได้


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันวัฒนธรรมดิจิทัลของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์, นิรุต เต้นปักษี, ดาวรุวรรณ ถวิลการ Jul 2022

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันวัฒนธรรมดิจิทัลของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์, นิรุต เต้นปักษี, ดาวรุวรรณ ถวิลการ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ 1) องค์ประกอบวัฒนธรรมดิจิทัล และ 2) ระดับวัฒนธรรมดิจิทัลของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 340 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.60- 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สถิติอ้างอิงโดยการทดสอบค่า Bartlett’s Test of Sphericity และค่าดัชนี KMO และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ผลการวิจัย พบว่า1) วัฒนธรรมดิจิทัลของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ มี 6 องค์ประกอบหลัก 17 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) กรอบความคิดดิจิทัลมี 3 องค์ประกอบย่อย (2) การพร้อมรับความเสี่ยงทางดิจิทัล มี 3 องค์ประกอบย่อย (3) การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล มี 2 องค์ประกอบย่อย (4) ความคล่องตัวทางดิจิทัล มี 3 องค์ประกอบย่อย (5) ค่านิยมการทำงานแบบร่วมมือกัน มี 3 องค์ประกอบย่อยและ (6) การมุ่งเน้นผู้รับบริการเป็นสำคัญ มี 3 องค์ประกอบย่อย 2) โมเดลการวัดองค์ประกอบวัฒนธรรมดิจิทัลของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งมีค่า X2 = 82.129, df = 63, P-Value = 0.0532, RMSEA = 0.030, SRMR = 0.021, CFI = 0.996, TLI = 0.991


ปัญหาในการจัดการเรียนรู้และความคาดหวังของครูต่อผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) แพร่ระบาด, พลพีระ วงศ์พรประทีป Jul 2022

ปัญหาในการจัดการเรียนรู้และความคาดหวังของครูต่อผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) แพร่ระบาด, พลพีระ วงศ์พรประทีป

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูในช่วงสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่ระบาด 2) ศึกษาความคาดหวังของครูต่อผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่ระบาด ตัวอย่าง คือ ครูที่ได้รับการนิเทศในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนแห่งหนึ่งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่ระบาด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านผู้เรียน พบปัญหามากที่สุด ส่วนด้านแหล่งเรียนรู้พบปัญหาน้อยที่สุด 2) ความคาดหวังของครูต่อผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่ระบาด พบว่า ครูมีความคาดหวังต่อผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 4 กลุ่มบริหารงาน ประกอบด้วย กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารทั่วไป โดยมีความคาดหวังต่อกลุ่มบริหารวิชาการมากที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับตัวครูผู้สอน ผู้เรียน และผู้ปกครองโดยตรง


Lexical Analysis Based On The Corpus Of Huawen Kebena, Junxi Zhang, Chatuwit Keawsuwan, Kanokporn Numtong Jul 2022

Lexical Analysis Based On The Corpus Of Huawen Kebena, Junxi Zhang, Chatuwit Keawsuwan, Kanokporn Numtong

Journal of Education Studies

This paper takes the vocabulary of 12 volumes of Huawen Keben compiled in Thailand in the 1960s as the research object. At that time, the author did not find any vocabulary compilation standards for Chinese textbooks in Thailand. So, this paper has to reluctantly use modern theoretical standard The Graded Syllables, Characters and Words for the Application of Teaching Chinese to the Speakers of Other Languages as the research base, even though they are in different eras, but it has the same purpose that using for Oversea Chinese. This paper mainly adopts a combination of quantitative and qualitative research methods. …


Remote Labs For Automation Engineering And Technical And Vocational Education: Proposing A New Training Model, Ye Naung, Athipat Cleesuntorn Jul 2022

Remote Labs For Automation Engineering And Technical And Vocational Education: Proposing A New Training Model, Ye Naung, Athipat Cleesuntorn

Journal of Education Studies

This research intended to explore the existing skill of automation, develop and implement a new online training model for automation engineering students who are working in the industrial automation engineering field to improve their professional skills, and lastly to evaluate the learning outcomes. This was quasi-experimental research. Two groups were performed with the use of a pre-test and post-test to compare the results of skill evaluation tests of two groups of students. Twenty working persons who have been working in the industrial automation-engineering field in Singapore were selected as samples and were grouped into two groups: the control group and …


ผลการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมทางสังคมของเด็กอนุบาลในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม, ณัฐรุจา ท่าโทม, สุกัลยา สุเฌอ, เชวง ซ้อนบุญ Jul 2022

ผลการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมทางสังคมของเด็กอนุบาลในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม, ณัฐรุจา ท่าโทม, สุกัลยา สุเฌอ, เชวง ซ้อนบุญ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กอนุบาลในห้องเรียนพหุวัฒนธรรมก่อนและหลังการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ ประชากร คือ เด็กอนุบาล อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มสหเมืองชลบุรี 1 ประกอบด้วย 3 โรงเรียน จำนวน 3 ห้องเรียน รวม 36 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยวิธีการจับฉลากมา 1 โรงเรียน และกำหนดให้สมาชิกในห้องเรียนดังกล่าวทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดประสบการณ์การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ และแบบประเมินพฤติกรรมทางสังคมของเด็กอนุบาลในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัย พบว่า 1) ดัชนีประสิทธิผลของการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ มีค่าเท่ากับ 0.9318 หรือคิดเป็นร้อยละ 98.13 แสดงว่า เด็กอนุบาลมีพฤติกรรมทางสังคมในห้องเรียนพหุวัฒนธรรมสูงขึ้น 2) เด็กอนุบาลมีพฤติกรรมทางสังคมในห้องเรียนพหุวัฒนธรรมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติสามารถเสริมสร้างพฤติกรรมทางสังคมของเด็กอนุบาลในห้องเรียนพหุวัฒนธรรมได้


บทบรรณาธิการ, ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ Apr 2022

บทบรรณาธิการ, ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนามโนทัศน์หลักการใช้ภาษาไทยและความผูกพันในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน, จุฬาลักษณ์ พัฒนมาศ, พิณพนธ์ คงวิจิตต์ Apr 2022

การพัฒนามโนทัศน์หลักการใช้ภาษาไทยและความผูกพันในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน, จุฬาลักษณ์ พัฒนมาศ, พิณพนธ์ คงวิจิตต์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบมโนทัศน์หลักการใช้ภาษาไทยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน และ 2) เปรียบเทียบความผูกพันในการเรียนภาษาไทยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดมโนทัศน์หลักการใช้ภาษาไทย และแบบสอบถามความผูกพันในการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) มโนทัศน์หลักการใช้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความผูกพันในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การไม่อดทนต่อความไม่แน่นอน และสุขภาวะทางจิตของนิสิตนักศึกษาในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019, อารยา ปิยะกุล Apr 2022

การไม่อดทนต่อความไม่แน่นอน และสุขภาวะทางจิตของนิสิตนักศึกษาในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019, อารยา ปิยะกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการไม่อดทนต่อความไม่แน่นอนและสุขภาวะทางจิตของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี และความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสองตัวแปร ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 584 คน ที่อาสาเข้าร่วมตอบแบบสอบถามออนไลน์ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการไม่อดทนต่อความไม่แน่นอนฉบับสั้น (IUS-12) และแบบประเมินสุขภาวะทางจิตของ Ryff (RSPWB) ที่ประเมิน 6 มิติ ได้แก่ การยอมรับตนเอง ความเจริญส่วนบุคคลเป้าหมายในชีวิต ความสัมพันธ์ทางบวกกับผู้อื่น การจัดการสภาพแวดล้อม และมิติอิสระแห่งตน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า การไม่อดทนต่อความไม่แน่นอนมีคะแนนรวมเฉลี่ยระดับปานกลาง สุขภาวะทางจิตมีคะแนนรวมเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละมิติ พบว่า มิติการยอมรับตนเอง มิติความเจริญส่วนบุคคล มิติเป้าหมายในชีวิตมิติความสัมพันธ์ทางบวกและมิติการจัดการสภาพแวดล้อมมีคะแนนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ในขณะที่มิติอิสระแห่งตนมีคะแนนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า การไม่อดทนต่อความไม่แน่นอนมีความสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เฉพาะสุขภาวะทางจิตมิติเป้าหมายในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางลบกับการไม่อดทนต่อความไม่แน่นอนในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลของการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อสนเทศที่สำคัญในการตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาวะทางจิตของนิสิตนักศึกษาโดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่และบนโลกแห่งความผันผวน


ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะออนไลน์ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, ปลายฝัน รักษ์รงค์, ทฤฒมน บรรจงรอด, ช่อเอื้อง อุทิตะสาร Apr 2022

ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะออนไลน์ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, ปลายฝัน รักษ์รงค์, ทฤฒมน บรรจงรอด, ช่อเอื้อง อุทิตะสาร

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาระดับพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 11 แผน มีระดับคุณภาพเหมาะสมมากที่สุด แบบฝึกทักษะออนไลน์ จำนวน 9 แบบฝึก มีระดับคุณภาพเหมาะสมมากที่สุด และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 คะแนน (M = 4.25) และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.08 คะแนน (SD = 2.08) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.35 คะแนน (M = 10.35) และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.60 คะแนน (SD = 2.60) และมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์เฉลี่ยเป็นร้อยละ 57.14 อยู่ในเกณฑ์พัฒนาการระดับสูง


การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านจังหวะของแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันสำหรับผู้เรียนเปียโนระดับกลาง, ชยธร สระน้อย, ณัฐวุฒิ บริบูรณ์วิรีย์ Apr 2022

การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านจังหวะของแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันสำหรับผู้เรียนเปียโนระดับกลาง, ชยธร สระน้อย, ณัฐวุฒิ บริบูรณ์วิรีย์

Journal of Education Studies

การอ่านโน้ตฉับพลันเป็นความสามารถในการอ่านและเล่นเมื่อแรกเห็น เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของนักดนตรี และเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการประเมินทักษะทางดนตรีของสถาบันการสอบทรินิตี้และเอบีอาร์เอสเอ็ม สำหรับนักเรียนดนตรีจำนวนมากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในการอ่านโน้ตฉับพลันมักมีสาเหตุจากองค์ประกอบด้านจังหวะ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบองค์ประกอบด้านจังหวะจากบทเพลงในแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันของสถาบันการสอบทรินิตี้และเอบีอาร์เอสเอ็มระดับกลางระดับเกรด 4 และ 5 ใน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ค่าโน้ต 2) อัตราจังหวะ 3) เครื่องหมายกำหนดอัตราความเร็ว 4) รูปแบบจังหวะ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเตรียมตัวสอบทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันของสถาบันการสอบทรินิตี้และเอบีอาร์เอสเอ็ม รวมถึงมาตรฐานการสอบดนตรีอื่น ๆ ต่อไป ผลการศึกษา พบว่า แบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันของสถาบันการสอบทรินิตี้และเอบีอาร์เอสเอ็มมีองค์ประกอบพื้นฐานด้านจังหวะที่สอดคล้องกัน แต่ทั้งนี้แบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันของสถาบันการสอบเอบีอาร์เอสเอ็มจะมีความหลากหลายของการใช้สัญลักษณ์ด้านจังหวะที่หลากหลายมากกว่า แม้ว่ากลุ่มสัญลักษณ์ดังกล่าวมีความถี่ของการใช้งานน้อยแต่ผู้สอบจำเป็นต้องมีความเข้าใจเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง


ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้กลวิธี Star ร่วมกับสื่อประสม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, ชลดา ปานสมบูรณ์, น้ำผึ้ง ชูเลิศ, ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์ Apr 2022

ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้กลวิธี Star ร่วมกับสื่อประสม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, ชลดา ปานสมบูรณ์, น้ำผึ้ง ชูเลิศ, ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม 1 ห้องเรียน จำนวน 34 คน ผู้วิจัยสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับสื่อประสม จำนวน 5 แผน มีระดับคุณภาพเหมาะสมมากที่สุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัย พบว่า ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับสื่อประสม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารสำหรับเด็กอนุบาลในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร, นิศารัตน์ ชูชาญ, ภานุวัฒน์ นิ่มนวล Apr 2022

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารสำหรับเด็กอนุบาลในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร, นิศารัตน์ ชูชาญ, ภานุวัฒน์ นิ่มนวล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารสำหรับเด็กอนุบาลในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิด Precede Framework ประกอบด้วย กิจกรรม 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เสริมสร้างความรู้ ระยะที่ 2 ปรับสภาพแวดล้อมสร้างทัศนคติ ระยะที่ 3 ส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทาน ตัวอย่าง คือ ผู้ปกครอง จำนวน 32 คน และเด็กอนุบาล อายุ 5-6 ปี จำนวน 32 คน ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตดุสิต จากการเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกเด็กที่มีภาวะโภชนาการขาด หรือ ภาวะโภชนาการเกินตามกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต ไม่มีปัญหาด้านการสื่อสาร ไม่เป็นโรคที่แพทย์ให้จำกัดอาหารบางประเภท และมีผู้ปกครองเป็นผู้ดูแลด้านอาหาร เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบความรู้เรื่องโภชนาการสำหรับเด็กอนุบาลของผู้ปกครอง และแบบบันทึกพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการใช้โปรแกรมฯ ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องโภชนาการสำหรับเด็กอนุบาลของผู้ปกครองสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กอนุบาลสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารสำหรับเด็กอนุบาล สามารถส่งเสริมเด็กอนุบาลให้มีพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์มากขึ้น