Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

กลยุทธ์

Articles 1 - 16 of 16

Full-Text Articles in Education

กลยุทธ์การบริหารกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น, จอมไตร ทันโส, ดาวรุวรรณ ถวิลการ Oct 2022

กลยุทธ์การบริหารกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น, จอมไตร ทันโส, ดาวรุวรรณ ถวิลการ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และนำเสนอกลยุทธ์การบริหารกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 79 คน ครู จำนวน 406 คน รวม 485 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.901 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก มีค่าเฉลี่ย 3.83 อยู่ในระดับมาก สภาพพึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก มีค่าเฉลี่ย 4.74 อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นของการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างพลเมืองโลก (PNlModified= 0.305) และพบว่า กลยุทธ์การบริการกิจการนักเรียนเพื่อความเป็นพลเมืองโลก ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ (1) กลยุทธ์การส่งเสริมให้นักเรียนดำเนินกิจกรรมในโรงเรียน (2) กลยุทธ์เปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้ผู้เรียนสะท้อนผลการทำงาน แก้ไขปัญหาเพื่อให้สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 (3) กลยุทธ์พลิกโฉมพัฒนาผู้เรียน ตอบสนองความต้องการของชุมชนความเป็นพลเมืองโลก (4) กลยุทธ์การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บูรณาการท้องถิ่น


กลยุทธ์การบริหารองค์กรวิชาชีพครูตามแนวคิดการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพและคุณภาพครู, พรทิพย์ ธีรภานนท์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, วลัยพร ศิริภิรมย์ Jan 2020

กลยุทธ์การบริหารองค์กรวิชาชีพครูตามแนวคิดการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพและคุณภาพครู, พรทิพย์ ธีรภานนท์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, วลัยพร ศิริภิรมย์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม และพัฒนากลยุทธ์การบริหารองค์กรวิชาชีพครูตามแนวคิดการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพและคุณภาพครู ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะกรรมการคุรุสภาและคณบดีคณะครุศาสตร์ จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ฯ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) จุดแข็ง คือ การบริหารการออกใบอนุญาตฯ จุดอ่อน คือ การบริหารการต่อใบอนุญาตฯ การพักใช้ใบอนุญาตฯ การเพิกถอนใบอนุญาตฯ และการบริหารการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู โอกาส คือ นโยบายรัฐบาลและสภาพเทคโนโลยีและภาวะคุกคาม คือ สภาพเศรษฐกิจและสังคม และ 3) กลยุทธ์การบริหารฯ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ ปฏิรูปการบริหารใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และปรับปรุงการบริหารมาตรฐานวิชาชีพครูเพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพและคุณภาพครู


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์, นันทรัตน์ เจริญกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jul 2019

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์, นันทรัตน์ เจริญกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบแนวคิด สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม และพัฒนาเป็นกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานใช้การศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ และสังเคราะห์กรอบแนวคิด จากนั้นเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ยกร่างกลยุทธ์ และจัดประชุมสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 397 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินกรอบแนวคิดแบบสอบถาม สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของกลยุทธ์
ผลการวิจัยพบว่า (1) กรอบแนวคิดกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนฯ ประกอบด้วยแนวคิดหลัก 3 เรื่อง ได้แก่ การบริหารวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ วิธีเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (2) สภาพที่พึงประสงค์ด้านการจัดการเรียนการสอนและสภาพเทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุดอยู่ในระดับมาก (3) จุดแข็งของการบริหารโรงเรียน คือ การจัดการเรียนการสอน ส่วนจุดอ่อนคือ การพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินผลการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาส ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ ส่วนภาวะคุกคาม ได้แก่ นโยบายของรัฐบาล สภาพสังคม และสภาพเทคโนโลยี (4) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนฯ มี 4 กลยุทธ์หลัก 11 กลยุทธ์รอง


กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8, วิศนี ใจฉกาจ, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง Jan 2019

กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8, วิศนี ใจฉกาจ, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของความต้องการในการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ (2) สภาพพึงประสงค์และสภาพแวดล้อมของ (3) ศึกษาสภาพแวดล้อมของการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ (4) นําเสนอกลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ ประชากร คือ ครูโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 จํานวน 2,683 คน กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 335 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แล้วเลือกการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสํารวจฉบับร่างและแบบประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (X = 3.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การสอนคิดวิเคราะห์เนื้อหา มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (X = 3.93) สภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาครูในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (X = 4.32) พิจารณา รายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสอนคิดวิเคราะห์เนื้อหา มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (X= 4.35) ผลการทดสอบค่าดัชนีจัดเรียงลําดับความสําคัญความต้องการจําเป็น ในภาพรวมมีค่า PNImodified เท่ากับ 0.116เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การสอนคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ มีค่า PNImodified เท่ากับ 0.120 เป็นลําดับที่หนึ่ง ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า 1) จุดแข็ง (S) มีทั้งหมด 3 ประเด็น 2) จุดอ่อน (W)มีทั้งหมด 5 ประเด็น 3) โอกาส (O) มีทั้งหมด 9 ประเด็น 4) ภาวะคุกคาม (T) มีทั้งหมด 3 ประเด็น กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ โรงเรียนมัธยมศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8ประกอบด้วย …


กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก, ปรตี ประทุมสุวรรณ์, บัญชา ชลาภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก, ปรตี ประทุมสุวรรณ์, บัญชา ชลาภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจําเป็นและพัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก ดําเนินการวิจัยโดยใช้วิธีแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลจากโรงเรียนมาตรฐานสากลจํานวน 226 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางและสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเรียงลําดับความต้องการจําเป็นด้วยดัชนี PNIModified ได้เป็น 1) การกําหนดวัตถุประสงค์ 2) การระบุความเสี่ยง 3) การประเมินความเสี่ยง 4) การจัดการและจัดทําแผน และ 5) การรายงานและติดตามผล สําหรับกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก ประกอบไปด้วยกลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์รอง 12 กลยุทธ์ และวิธีการดําเนินงาน 37 วิธี


กลยุทธ์การกำกับผลลัพธ์การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธนภัทร พงษ์อร่าม, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Jan 2019

กลยุทธ์การกำกับผลลัพธ์การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธนภัทร พงษ์อร่าม, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสําคัญ กําหนดกลยุทธ์ และประเมินกลยุทธ์ การกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อํานวยการสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมจํานวน 464 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามองค์ประกอบการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา 3) แบบสอบถามเพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา 4) แบบประเมินโอกาสและอุปสรรคของการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา และ5) แบบประเมินแผนกลยุทธ์เพื่อกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์ SWOT และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบสําคัญของการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาฯ ประกอบด้วย4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การจัดและใช้แหล่งเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลรวมทั้งสิ้น 22 องค์ประกอบ 2) กลยุทธ์การกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาฯประกอบด้วย กลยุทธ์การปฏิบัติ จุดมุ่งหมายเชิงกลยุทธ์ แนวทางการดําเนินการ และตัวชี้วัดความสําเร็จ3) กลยุทธ์การกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาฯ ในภาพรวมมีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย


การบริหารจัดการคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในทศวรรษหน้า, นิภาภรณ์ คำเจริญ, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ Jan 2017

การบริหารจัดการคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในทศวรรษหน้า, นิภาภรณ์ คำเจริญ, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์

Journal of Education Studies

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพ และปัญหาของการบริหารจัดการคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) นำเสนอกลยุทธ์ในการบริหารจัดการคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร 9 คน คณาจารย์ 300 คน นักศึกษา 398 คน และผู้ใช้บัณฑิต 115 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ผลการวิเคราะห์สภาพ และปัญหาในการบริหารจัดการที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด คือ ด้านระบบ พบว่า ควรมีการจัดการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด คือ ด้านรูปแบบการบริหาร พบว่า ผู้บริหารควรมีความเสียสละ ทุ่มเททำงานเพื่อคณะอย่างเต็มที่ ส่วนผลการประเมินความต้องการจำเป็นด้านการเรียนการสอนที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด คือ อาจารย์ผู้สอนต้องมีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาที่สอน และผลการประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด พบว่า บัณฑิตต้องมีความซื่อสัตย์ สำหรับด้านกลยุทธ์การบริหารจัดการนั้น พบว่า ควรมีกลยุทธ์ดังนี้คือ 1) ด้านโครงสร้าง ประกอบด้วยกลยุทธ์ในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของคณะ 2) ด้านกลยุทธ์ ประกอบด้วยการพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานของคณะ และการพัฒนาบุคลากร 3) ด้านระบบ ประกอบ ด้วยกลยุทธ์การส่งเสริมด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คุณภาพบัณฑิต และการประกันคุณภาพการศึกษา และ 4) ด้านบุคลากร ประกอบด้วยกลยุทธ์การบริหารงานบุคคล การสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และการพัฒนาศักยภาพ


Steam ศิลปะเพื่อสะเต็มศึกษา: การพัฒนาการรับรู้ความสามารถและแรงบันดาลใจให้เด็ก, วิสูตร โพธิ์เงิน Jan 2017

Steam ศิลปะเพื่อสะเต็มศึกษา: การพัฒนาการรับรู้ความสามารถและแรงบันดาลใจให้เด็ก, วิสูตร โพธิ์เงิน

Journal of Education Studies

STEAM เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่นำศิลปะมาบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ปัจจัยสำคัญในการนำแนวคิด STEAM มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ บริบท (Context) การออกแบบสร้างสรรค์ (Creative Design) และการสร้างความจับใจ (Emotional Touch) ในการออกแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญ 4-ประเด็น คือ 1) การบูรณาการ (Integration) 2) ความหลากหลาย (Variety) 3) ความลึก (Deep) และ4) ความเป็นพลวัต (Dynamic)


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษา, จันทร์ฤทัย พานิชศุภผล Jan 2016

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษา, จันทร์ฤทัย พานิชศุภผล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


กระบวนการเรียนรู้เพื่อการดำรงอยู่ของเครือข่ายอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืนของหมู่บ้านห้วยน้ำใส, เทพสุดา จิวตระกูล, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา Jan 2016

กระบวนการเรียนรู้เพื่อการดำรงอยู่ของเครือข่ายอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืนของหมู่บ้านห้วยน้ำใส, เทพสุดา จิวตระกูล, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


"If It Were A Team"-A Viewpoint To Institutional Teaching And Working Culture In Thailand, Jyrki Loima Jul 2015

"If It Were A Team"-A Viewpoint To Institutional Teaching And Working Culture In Thailand, Jyrki Loima

Journal of Education Studies

No abstract provided.


สภาพการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร, ดวงกมล บุญวาสนะนันท์, จุฑามาศ บัตรเจริญ, อัจฉรา เสาว์เฉลิม Apr 2015

สภาพการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร, ดวงกมล บุญวาสนะนันท์, จุฑามาศ บัตรเจริญ, อัจฉรา เสาว์เฉลิม

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่านพิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์เท่ากับ 0.84 ได้ค่า Reliability ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.97 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์และติดตามด้วยตนเองไปยังประชากรเป้าหมาย จำนวน 336 คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าด้านครูผู้สอนแต่ละโรงเรียนมีครูผู้สอนวิชาพลศึกษา 2-3 คนจบวุฒิการศึกษาด้านสาขาวิชาพลศึกษาโรงเรียนส่วนใหญ่จัดทำสาระหลักสูตรด้วยตัวเอง จัดให้มีการเรียนการสอนพลศึกษาทุกชั้นปีสถานที่ในการจัดการเรียนวิชาพลศึกษาเป็นสนามกลางแจ้งมีความปลอดภัยเพียงพอ เหมาะสม ถูกสุขลักษณะ โครงสร้างวิชาพลศึกษากำหนดเป็นสาระพื้นฐานเรียน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์เป็นส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์ในการตัดสินคะแนนประกอบด้วยด้านความรู้ ด้านเจตคติ ด้านทักษะ ด้านสมรรถภาพทางกายและด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ซึ่งกำหนดการให้คะแนนเท่ากับ 20, 20, 40, 20, 20 ตามลำดับ


รูปแบบการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาล, สุภัค โอฬาพิริยกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ชญาพิมพ์ อุสาโห Oct 2014

รูปแบบการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาล, สุภัค โอฬาพิริยกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ชญาพิมพ์ อุสาโห

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบการบริหารวิชาการของโรงเรียนอนุบาล ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหาร/ครูของโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาล จำนวน ๓๖,๑๙๒ โรง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร/ครูของโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาล จำนวน ๓๙๖ โรง โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้าระดับปฐมวัย/ครู ได้รับข้อมูลกลับคืนจำนวน ๓๗๑ โรง รวม ๑,๑๑๒ ชุด คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๖๙ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาล โดยภาพรวมของการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล พบว่า รูปแบบการบริหารงานแบบเพื่อนร่วมงานมีมากที่สุด คือ ร้อยละ ๕๘.๓๓ รองลงมามีค่าเท่ากัน คือ รูปแบบการบริหารแบบทางการและการบริหารแบบการเมือง ร้อยละ ๒๐.๘๓


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Oct 2014

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การศึกษานอกระบบและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : บริบทที่แตกต่างสู่เป้าหมายการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ปิยะ ศักดิ์เจริญ Oct 2014

การศึกษานอกระบบและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : บริบทที่แตกต่างสู่เป้าหมายการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ปิยะ ศักดิ์เจริญ

Journal of Education Studies

การศึกษานอกระบบ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่างก็มีความเกี่ยวข้องกันในหลายประเด็นในฐานะศาสตร์แห่งการพัฒนาเหมือนกัน เน้นการเรียนรู้ของมนุษย์เช่นกัน แต่ในความเหมือนก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ทั้งในเรื่องกลุ่มเป้าหมายและเนื้อหาสาระในการจัดประสบการณ์ ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอแนวคิดของทั้งสองศาสตร์นี้เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่านถึงบริบทของความแตกต่างในความคล้ายคลึงกันของทั้งการศึกษานอกระบบในฐานะศาสตร์ทางด้านการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในฐานะศาสตร์ทางด้านบริหารองค์กร


การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม, อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์, จารุวรรณ สกุลคู, สุชาดา สุธรรมรักษ์, จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ Jul 2013

การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม, อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์, จารุวรรณ สกุลคู, สุชาดา สุธรรมรักษ์, จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม ใน ๓ องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า ด้าน กระบวนการ และด้านผลผลิต ซึ่งมีกระบวนการวิจัย ๒ ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ ๑ การกำหนดองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้หลักของคุณภาพการจัดการศึกษา และขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนาตัวบ่งชี้ย่อยของคุณภาพการ จัดการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ๕ ท่าน คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๕๕ จาก จำนวน ๘๒ คน ร้อยละ ๘๒.๐๐ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบ สัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่า คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีกับเกณฑ์ที่กำหนด และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่าง ที่อิสระจากกัน ผลการวิจัย พบว่า ๑. องค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม มี ๓ องค์ประกอบ ๙ ตัวบ่งชี้หลัก และ ๑๗๑ ตัวบ่งชี้ย่อย องค์ประกอบหลักทั้งสามมีดังนี้ องค์ประกอบ ด้านปัจจัยนำเข้า มี ๕ ตัวบ่งชี้หลัก ๑๑๔ ตัวบ่งชี้ย่อย ได้แก่ คุณภาพของอาจารย์ ๒๓ ตัว คุณภาพของ นิสิตนักศึกษา ๑๘ ตัว คุณภาพของผู้บริหารหลักสูตร ๑๒ ตัว คุณภาพของหลักสูตร ๑๙ ตัว และคุณภาพ ของทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ ๔๒ ตัว องค์ประกอบด้านกระบวนการ มี ๒ ตัวบ่งชี้หลัก ๓๒ ตัวบ่งชี้ย่อย ได้แก่ คุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ ๑๗ ตัว …