Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2014

Keyword

Articles 1 - 30 of 81

Full-Text Articles in Education

ผลกระทบจากการเปิดปิดภาคเรียนตามประชาคมอาเซียนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย, บรรจบ ภิรมย์คำ, สุมิตร สุวรรณ, ชูวิทย์ รัตนพลแสนย์, ฐณัฐ วงศ์สายเชื้อ, กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล, พินดา วราสุนันท์ Oct 2014

ผลกระทบจากการเปิดปิดภาคเรียนตามประชาคมอาเซียนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย, บรรจบ ภิรมย์คำ, สุมิตร สุวรรณ, ชูวิทย์ รัตนพลแสนย์, ฐณัฐ วงศ์สายเชื้อ, กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล, พินดา วราสุนันท์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดปิดภาคเรียนในกลุ่มประเทศอาเซียนและในภูมิภาคต่างๆ 2) วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย ปัญหา-อุปสรรค และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และ 3) ศึกษาการเตรียมความพร้อม ความสนใจ และข้อเสนอแนะจากการเปิดปิดภาคเรียนตามประชาคมอาเซียนของสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสำรวจความคิดเห็น และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้ใช้บัณฑิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยในประเทศกลุ่มทวีปอเมริกาส่วนใหญ่จะเปิดภาคเรียนแรกในเดือนกันยายนและภาคเรียนที่สองกลางเดือนมกราคม ในทวีปยุโรปจะเปิดเรียนแรกช้ากว่าเล็กน้อย ขณะที่ประเทศในทวีปเอเชียและอาเซียนมีความหลากหลายและแตกต่างกัน 2) การเลื่อนเปิดภาคเรียนมีประโยชน์หรือข้อดี ได้แก่ ความเป็นสากลสอดคล้องกับประชาคมอาเซียน การจัดกิจกรรมทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนอาจารย์หรือนักศึกษา แต่อาจมีข้อเสียหรือปัญหาอุปสรรค ได้แก่ สภาพอากาศช่วงฤดูร้อนไม่เหมาะสมกับการเรียนการสอน ต้องใช้เครื่องปรับอากาศและเสียค่าไฟฟ้ามากกว่าปกติ รวมทั้งการฝึกงานหรือการฝึกสอนของนิสิตนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต และการวิจัยทางเกษตร 3) สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีการเตรียมความพร้อมหรือดำเนินการใดๆ แต่บางสถาบันได้ดำเนินการ เช่น การเลื่อนเวลาการเปิดภาคเรียนให้ช้าลง การประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรและนักศึกษาได้ทราบ ข้อเสนอแนะรัฐบาลควรกำหนดเวลาในการเปิดปิดภาคเรียนให้สอดคล้องกันทั้งระบบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครองและนักเรียนได้ทราบเพื่อจะได้วางแผนการดำเนินชีวิตให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สอาดลักษณ์ จงคล้ายกลาง, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2014

การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สอาดลักษณ์ จงคล้ายกลาง, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 396 โรงเรียน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และเทคนิค PNIModified ตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การบริหารแบบเพื่อนร่วมงาน (3.50) และค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การบริหารแบบการเมือง (3.25) สภาพที่พึงประสงค์ พบว่า การบริหารแบบเพื่อนร่วมงาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (4.19) และค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การบริหารแบบการเมือง (3.91) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นด้านการบริหารแบบเพื่อนร่วมงาน มีค่าสูงสุด (PNI modified =0.22) และต่ำที่สุดคือ รูปแบบ การบริหารแบบการเมือง (PNI modified =0.17) 2) รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น คือ รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเพื่อนร่วมงานโดยใช้วัฒนธรรมและการเมืองเป็นฐาน มีองค์ประกอบที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 รายละเอียดของรูปแบบ ส่วนที่ 2 ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้


หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์เป็นฐาน : การวิเคราะห์วาทกรรมหลักสูตร โดยใช้กระบวนทัศน์ยุคหลังสมัยใหม่นิยม, ออมสิน จตุพร, อมรรัตน์ วัฒนาธร Oct 2014

หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์เป็นฐาน : การวิเคราะห์วาทกรรมหลักสูตร โดยใช้กระบวนทัศน์ยุคหลังสมัยใหม่นิยม, ออมสิน จตุพร, อมรรัตน์ วัฒนาธร

Journal of Education Studies

บทความฉบับนี้มุ่งนำเสนอประเด็นเชิงวิพากษ์ในศาสตร์ด้านหลักสูตร ได้แก่ ๑) หลักสูตรคือ ผลลัพธ์การเรียนรู้: มุมมองหลักสูตรตามกระบวนทัศน์ยุคสมัยใหม่นิยม และ ๒) ประเด็นเชิงวิพากษ์หลักสูตร ที่เน้นผลลัพธ์เป็นฐานและแนวทางใหม่ของการวิจัยในศาสตร์ด้านหลักสูตร การนำกระบวนทัศน์ยุคหลัง สมัยใหม่นิยมมาใช้วิเคราะห์วาทกรรมหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์เป็นฐานเพื่อให้นักวิชาการด้านหลักสูตรและ นักการศึกษาเกิดมุมมองเชิงวิพากษ์และมองเห็นแนวทางการศึกษาวิจัยในศาสตร์ด้านหลักสูตรที่มี ความหมายครอบคลุมและสัมพันธ์กับความหมายของคำว่า ?การศึกษา? และที่สำคัญศาสตร์ด้านหลักสูตร ในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนถ่ายกระบวนทัศน์ จากที่เคยถูกครอบงำโดยกระบวนทัศน์การบริหารจัดการทาง วิทยาศาสตร์ ซึ่งให้ความสำคัญกับกระบวนทศั นก์ ารพัฒนาหลักสูตรกลายเปน็ กระบวนทัศนท์ ี่มีความสำคัญ น้อยลง โดยกระบวนทัศน์การทำความเข้าใจหลักสูตรกลายเป็นกระบวนทัศน์ที่เข้ามาแทนที่ในฐานะที่เป็น วาทกรรมหลักสูตรร่วมสมัย ซึ่งส่งผลต่อแนวทางใหม่ของการวิจัยในศาสตร์ด้านหลักสูตร ได้แก่ การศึกษา อัตชีวประวัติและการวิจัยแนวเรื่องเล่า


รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กร โดยใช้บทเรียน ๑ ประเด็น, สักรินทร์ อยู่ผ่อง Oct 2014

รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กร โดยใช้บทเรียน ๑ ประเด็น, สักรินทร์ อยู่ผ่อง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กรโดยใช้เทคนิคบทเรียน 1 ประเด็น ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ วิศวกร ช่างเทคนิค หัวหน้างาน ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต จำนวน 10 คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิธีการดำเนินการวิจัย มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การศึกษาความต้องการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบทเรียน 1 ประเด็น ขั้นที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ขั้นที่ 3 การนำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้ฝึกอบรมกับกลุ่มตัวอย่าง และขั้นที่ 4 การประเมินติดตามผลหลังการฝึกอบรม ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กรมีความต้องการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบทเรียน 1 ประเด็น อยู่ในระดับมากที่สุด (X ?= 4.67, S.D.= 0.38) รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กร โดยใช้เทคนิคบทเรียน 1 ประเด็นที่พัฒนาขึ้น นำไปสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลจากการสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ารูปแบบการเรียนรู้ฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ?= 4.70, S.D.= 0.51) การนำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้ พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนจากภาคปฏิบัติการทำบทเรียน 1 ประเด็น โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 93.99 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 และการติดตามผลการจัดทำบทเรียน 1 ประเด็น ของหัวหน้างานหลังจากที่ผ่านการฝึกอบรมไปแล้ว 1 เดือน มีผลการประเมินในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 91.66 และการติดตามจากผู้บริหาร หัวหน้างาน และฝ่ายทรัพยากรบุคคล ในสถานประกอบการ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ?= 3.84, S.D.= 0.78) และทุกรายการอยู่ในระดับมาก


ภูมิปัญญาไทยกับการส่งเสริมการเรียนรู้และการสร้างอาชีพ, สุมาลี สังข์ศรี Oct 2014

ภูมิปัญญาไทยกับการส่งเสริมการเรียนรู้และการสร้างอาชีพ, สุมาลี สังข์ศรี

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการถ่ายทอดความรู้และการส่งเสริมอาชีพของครูภูมิปัญญาไทย 2) ศึกษารูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมให้ครูภูมิปัญญาไทยร่วมส่งเสริมการเรียนรู้และการประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชน กลุ่มตัวอย่างได้จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศประกอบด้วย 1) ภูมิปัญญาไทยที่มีความเชี่ยวชาญใน 9 ด้าน จำนวน 36 คน 2) ครูการศึกษาในระบบ 216 คน 3) ครูการศึกษานอกระบบ 180 คน 4) ประชาชนผู้มารับบริการจากครูภูมิปัญญาไทย 360 คน และ 5) ผู้เชี่ยวชาญ 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ครูภูมิปัญญาไทยและประชาชนผู้รับบริการ และแบบสอบถามครูการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยในประเด็นหลัก สรุปได้ดังนี้ 1) ครูภูมิปัญญาไทยทั้ง 9 ด้าน ได้มีส่วนส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ การช่วยเป็นวิทยากร เป็นแหล่งศึกษาดูงาน ส่งเสริมการประกอบอาชีพได้แก่ ช่วยฝึกอบรมอาชีพและช่วยแนะนำการหารายได้เสริม 2) รูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย มีหลายลักษณะ หลายวิธีการผสมผสานกันได้แก่ การอธิบาย สาธิต และ ฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง 3) แนวทางเพื่อให้ครูภูมิปัญญาไทยได้ส่งเสริมการเรียนรู้ในระบบ การเรียนรู้นอกระบบ การเรียนรู้ตามอัธยาศัยได้แก่ กำหนดให้มีหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย และส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนโดยช่วยฝึกอบรมอาชีพในหลายด้าน เป็นแหล่งความรู้ด้านอาชีพ และเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ


คิดนอกกรอบ, กนก จันทรา Oct 2014

คิดนอกกรอบ, กนก จันทรา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


รูปแบบการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาล, สุภัค โอฬาพิริยกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ชญาพิมพ์ อุสาโห Oct 2014

รูปแบบการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาล, สุภัค โอฬาพิริยกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ชญาพิมพ์ อุสาโห

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบการบริหารวิชาการของโรงเรียนอนุบาล ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหาร/ครูของโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาล จำนวน ๓๖,๑๙๒ โรง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร/ครูของโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาล จำนวน ๓๙๖ โรง โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้าระดับปฐมวัย/ครู ได้รับข้อมูลกลับคืนจำนวน ๓๗๑ โรง รวม ๑,๑๑๒ ชุด คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๖๙ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาล โดยภาพรวมของการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล พบว่า รูปแบบการบริหารงานแบบเพื่อนร่วมงานมีมากที่สุด คือ ร้อยละ ๕๘.๓๓ รองลงมามีค่าเท่ากัน คือ รูปแบบการบริหารแบบทางการและการบริหารแบบการเมือง ร้อยละ ๒๐.๘๓


เปิดประเด็น, ออมสิน จตุพร, แสงแข คงห้วยรอบ Oct 2014

เปิดประเด็น, ออมสิน จตุพร, แสงแข คงห้วยรอบ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


มุมห้องเรียน, สันติ ศรีประเสริฐ Oct 2014

มุมห้องเรียน, สันติ ศรีประเสริฐ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน, สิรินพร วิทิตสุภาลัย, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2014

การพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน, สิรินพร วิทิตสุภาลัย, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับรูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน (๒) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนที่มีการปฏิบัติที่ดี (๓) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชน ประชากรคือ โรงเรียนเอกชนในระบบทั่วประเทศจำนวน ๓,๐๔๙ โรง กลุ่มตัวอย่างจำนนวน ๓๔๖ โรง โดยวิธีสุ่มแบบเป็นกลุ่ม จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น ๑,๗๓๐ คน (๑ โรง ต่อผู้ให้ข้อมูล ๕ คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามประมาณค่า ๕ ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อยกร่างรูปแบบและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๒๔ ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ๑. ปัจจุบันโรงเรียนเอกชน ใช้รูปแบบเชิงเหตุผลแบบเข้มงวดอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรูปแบบเชิงผลสำเร็จแบบยืดหยุ่น ปัจจุบันมีการใช้อยู่ระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการบริหารการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติระดับปานกลาง ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงเป็นลำดับแรก และสภาพพึงประสงค์อยู่ระดับมากที่สุดทุกด้าน ๒. โรงเรียนเอกชนที่มีการปฏิบัติที่ดี ผลการวิจัย พบว่า ปัจจุบันใช้ทั้งรูปแบบเชิงเหตุผลแบบเข้มงวดและรูปแบบเชิงเหตุผลแบบยืดหยุ่นอยู่ในระดับมากตามลำดับ สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง ๒ รูปแบบ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการบริหารการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติระดับมาก ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงเป็นลำดับแรก และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ระดับมากที่สุดทุกด้านเช่นเดียวกัน ๓. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนคือ ?รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการเพื่อความสำเร็จของโรงเรียนเอกชน? ลักษณะสำคัญของรูปแบบคือ ๑. บูรณาการการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยยึดเป้าหมายของโรงเรียนและบุคลากรเพื่อความสำเร็จร่วมกัน ๒. วางแนวปฏิบัติที่มีความต้องการจำเป็นในประเด็นต่างๆ ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Oct 2014

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


แนะนำหนังสือ, ปะราลี ปาละสุวรรณ Oct 2014

แนะนำหนังสือ, ปะราลี ปาละสุวรรณ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การนำเสนอกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม ของสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล, เกวลิน วิรัชนิดากุล, มนัสวาสน์ โกวิทยา Oct 2014

การนำเสนอกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม ของสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล, เกวลิน วิรัชนิดากุล, มนัสวาสน์ โกวิทยา

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล 2) เพื่อเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลสู่ชุมชน กลุ่มทดลองในครั้งนี้ คือ สมาชิกสภาเด็กและเยาวชนตำบลพระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของสมาชิกสภาเด็กและเยาวชน จำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนตำบลดำเนินการตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยมีเนื้อหาครอบคลุม 11 ด้าน คือ 1. ความรู้เรื่องบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนตำบล 2. ภาวะผู้นำ 3. การสื่อสาร 4. คุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ 5. มารยาทในที่ประชุม 6. การศึกษาชุมชน 7. แผนที่เดินดิน 8. การจัดการความรู้ 9. การเขียนโครงการ 10. การติดต่อประสานงาน และ11. การประชาสัมพันธ์ โดยหลังการทดลอง พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ ทักษะ และทัศนคติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) แนวทางในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลสามารถมีเนื้อหาออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านแผนกิจกรรม โดยควรมีการสำรวจความต้องการของผู้เรียนก่อนการจัดกิจกรรม 2. ด้านผู้เรียน ต้องเป็นผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจและมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 3. ด้านผู้สอน ต้องเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ที่ดี รู้จักการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น 4. ด้านการจัดกิจกรรม รูปแบบกิจกรรมสามารถจัดได้อย่างหลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน 5. ด้านสื่อการเรียนการสอน เน้นการใช้สื่อภายในท้องถิ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม 6. ด้านสถานที่ที่ใช้จัดกิจกรรม เป็นสถานที่ที่ก่อให้เกิดสมาธิในการเรียนรู้


กลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ, กนกวรรณ ศุภสิริโรจน์, ชญาพิมพ์ อุสาโห Oct 2014

กลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ, กนกวรรณ ศุภสิริโรจน์, ชญาพิมพ์ อุสาโห

Journal of Education Studies

กลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ


การศึกษานอกระบบและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : บริบทที่แตกต่างสู่เป้าหมายการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ปิยะ ศักดิ์เจริญ Oct 2014

การศึกษานอกระบบและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : บริบทที่แตกต่างสู่เป้าหมายการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ปิยะ ศักดิ์เจริญ

Journal of Education Studies

การศึกษานอกระบบ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่างก็มีความเกี่ยวข้องกันในหลายประเด็นในฐานะศาสตร์แห่งการพัฒนาเหมือนกัน เน้นการเรียนรู้ของมนุษย์เช่นกัน แต่ในความเหมือนก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ทั้งในเรื่องกลุ่มเป้าหมายและเนื้อหาสาระในการจัดประสบการณ์ ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอแนวคิดของทั้งสองศาสตร์นี้เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่านถึงบริบทของความแตกต่างในความคล้ายคลึงกันของทั้งการศึกษานอกระบบในฐานะศาสตร์ทางด้านการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในฐานะศาสตร์ทางด้านบริหารองค์กร


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2014

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยเพื่อสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 3) ขยายผลการวิจัยให้รูปแบบใช้ได้กับการสอนสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั่วไป พัฒนารูปแบบโดยวิเคราะห์สังเคราะห์แนวคิดและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นรูปแบบฉบับร่าง ได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิและทดลองใช้เพื่อปรับปรุง ก่อนนำไปใช้ทดลองสอน10 สัปดาห์ ในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงเรียนพุทธจักรวิทยา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีขั้นตอนการเรียนการสอน 8 ขั้น 2) กลุ่มทดลองทั้ง 2 โรงเรียน มีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 3 ด้านหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) รูปแบบสามารถขยายผลให้ใช้ได้กับการสอนสุขศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั่วไป


การพัฒนาแนวทางการรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู, จอมพงศ์ มงคลวนิช Oct 2014

การพัฒนาแนวทางการรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู, จอมพงศ์ มงคลวนิช

Journal of Education Studies

การพัฒนาแนวทางการรับรองมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู


การเปรียบเทียบผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบสำหรับแบบสอบรูปแบบผสม : วิธีการประมาณค่าภาวะน่าจะเป็นสูงสุดชายขอบและวิธีการปรับเรียบเคอร์เนล, นัยนา จันตะเสน, ศิริชัย กาญจนวาสี, กมลวรรณ ตังธนกานนท์ Jul 2014

การเปรียบเทียบผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบสำหรับแบบสอบรูปแบบผสม : วิธีการประมาณค่าภาวะน่าจะเป็นสูงสุดชายขอบและวิธีการปรับเรียบเคอร์เนล, นัยนา จันตะเสน, ศิริชัย กาญจนวาสี, กมลวรรณ ตังธนกานนท์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เปรียบเทียบผลการประมาณค่า พารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบสำหรับแบบสอบรูปแบบผสม ระหว่างวิธีการประมาณค่าภาวะ น่าจะเป็นสูงสุดชายขอบ (MML) และวิธีการปรับเรียบเคอร์เนล (KS) ๒) วิเคราะห์สัดส่วนของขนาด ตัวอย่าง ความยาวของแบบสอบ และเปอร์เซนต์ของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ ภายใต้เงื่อนไขการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นด้านการเลือกใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบ ในการประมาณ ค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบระหว่างวิธี MML และวิธี KS ที่ส่งผลต่อค่าประมาณพารามิเตอร์ ความสามารถของผู้สอบ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้ข้อมูลจำลองภายใต้การเขียนคำสั่งการจำลอง ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรม R จากเงื่อนไขในการศึกษา ๒๗ เงื่อนไข ดังนี้ [ขนาดตัวอย่าง ๓ เงื่อนไข ได้แก่ ๓๐๐ ๕๐๐ และ ๑,๐๐๐ แทนตัวอย่างขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ตามลำดับ) x (ความยาวของ แบบสอบ ๓ เงื่อนไข ได้แก่ ๑๐ ๒๐ และ ๔๐ ข้อ แทนความยาวของแบบสอบสั้น ปานกลางและยาวตาม ลำดับ) x (เปอร์เซนต์ของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบภายใต้เงื่อนไขการฝ่าฝืน ข้อตกลงเบื้องต้นด้านการเลือกใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบ ๓ เงื่อนไข ได้แก่ ๑๐ ๒๐ และ ๓๐ เปอร์เซนต์) ผลการวิจัยในภาพรวมสรุปได้ว่า ๑) ผลการวิเคราะห์ เปรียบเทียบค่าประมาณพารามิเตอร์ ความสามารถของผู้สอบ สำหรับแบบสอบรูปแบบผสม ระหว่างวิธี MML และวิธี KS กรณีข้อสอบ ที่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ การประมาณค่าความสามารถของผู้สอบโดยรวมด้วยวิธี MML มีค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (AMSE) น้อยกว่าวิธี KS และกรณีข้อสอบ ที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบภายใต้เงื่อนไขการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นด้านการเลือกใช้ โมเดลการตอบสนองข้อสอบ การประมาณค่าความสามารถของผู้สอบโดยรวมด้วยวิธี MML มีค่า AMSE มากกว่าวิธี KS ๒) ผลการวิเคราะห์สัดส่วนของขนาดตัวอย่าง ความยาวของแบบสอบ และเปอร์เซนต์ของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง พบว่า …


กระบวนทัศน์และองค์ความคิดสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร: จากกระบวนทัศน์การบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์สู่กระบวนทัศน์เชิงปลดปล่อย, ออมสิน จตุพร, อมรรัตน์ วัฒนาธร Jul 2014

กระบวนทัศน์และองค์ความคิดสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร: จากกระบวนทัศน์การบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์สู่กระบวนทัศน์เชิงปลดปล่อย, ออมสิน จตุพร, อมรรัตน์ วัฒนาธร

Journal of Education Studies

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนทัศน์การพัฒนาหลักสูตรในปัจจุบัน โดยทฤษฎี หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตรสามารถจำแนกออกเป็น ๓ กระบวนทัศน์ ได้แก่ ๑) กระบวนทัศน์ เชิงเทคนิค/กระบวนทัศน์เชิงวิทยาศาสตร์ ๒) กระบวนทัศน์เชิงปฏิบัติ และ ๓) กระบวนทัศน์เชิงปลดปล่อย แม้ว่าทั้ง ๓กระบวนทัศน์จะมีวิวัฒนาการทางความคิดและฐานทางทฤษฎีโดยทั่วไปแตกต่างกัน แต่ก็มิได้ แยกขั้วออกจากกันอย่างเด็ดขาดชัดเจน กระบวนทัศน์การพัฒนาหลักสูตรนั้นสามารถบ่งบอกถึงลักษณะ ของวิธีวิทยาการวิจัยที่เริ่มต้นจากกระบวนทัศน์ที่เน้นระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณไปสู่ระเบียบวิธีวิจัยเชิง คุณภาพ นอกจากนั้นความแตกต่างอันเป็นพื้นฐานสำคัญของทั้ง ๓ กระบวนทัศน์ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผล ให้นักวิจัยและนักวิชาการด้านหลักสูตรดำเนินการพัฒนาหลักสูตรตามกระบวนทัศน์ที่ตนเองยึดถือ แตกต่างกัน การศึกษาทฤษฎีหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตรจึงควรให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ กระบวนทัศน์พื้นฐานที่ส่งผลให้ศาสตร์ด้านหลักสูตรมีพลวัตและการเปลี่ยนแปลงบนฐานทฤษฎีมากกว่า การวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนต่างๆ เพราะจุดอ่อนเหล่านั้นมิใช่อุปสรรค หากแต่เป็นการเสริมพลังให้ศาสตร์ ด้านหลักสูตรมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไป


มุมห้องเรียน, กวิสรา รัตนากร Jul 2014

มุมห้องเรียน, กวิสรา รัตนากร

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนารูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล สำหรับประเทศไทย, เกศกนก ณ พัทลุง, ชญาพิมพ์ อุสาโห, ศิริเดช สุชีวะ Jul 2014

การพัฒนารูปแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล สำหรับประเทศไทย, เกศกนก ณ พัทลุง, ชญาพิมพ์ อุสาโห, ศิริเดช สุชีวะ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๑, สุรพล พิมพ์สอน, สมชัย วงษ์นายะ, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม Jul 2014

กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๑, สุรพล พิมพ์สอน, สมชัย วงษ์นายะ, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพ ปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา คุณภาพผู้เรียน ๒) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๑ และ ๓) ประเมินกลยุทธ์ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการ สถานศึกษา และชุมชนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๑ จำนวน ๑,๗๒๗ คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ เนื้อหาจากการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ ประชุมเชิงปฏิบัติการ และตรวจสอบร่างกลยุทธ์โดยการสัมมนา อิงผู้เชี่ยวชาญ ๘ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑) มีสภาพการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการเป็นคนดีมากกว่าด้านอื่น มีปัญหา การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง มีปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกเกี่ยวข้องอยู่ในระดับ มาก ๒) กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๑ ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์หลัก ๑๑ กลยุทธ์รอง ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ (๑)พัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับชาติ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (๒) พัฒนาศักยภาพ ครูผู้สอนในการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ (๓) ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยี และเสริมสร้างบรรยากาศ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ ๒๑ และ (๔) สร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสถานศึกษา ในการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนสู่มาตรฐานการศึกษาระดับชาติ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ๓)กลยุทธ์มีความสอดคล้อง เหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก


การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา, ชนิตา รักษ์พลเมือง Jul 2014

การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา, ชนิตา รักษ์พลเมือง

Journal of Education Studies

นานาชาติให้การยอมรับว่าการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผลจากความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกระตุ้นความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม ของโลกในศตวรรตที่ ๒๑ ที่เน้นการเป็นสังคมฐานความรู้ หลายประเทศจึงได้กำหนดนโยบายส่งเสริม สถาบันการศึกษาในฐานะกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของวงจรทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งประกอบด้วยการ สร้างสรรค์ การป้องกัน และการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำในด้านการ ส่งเสริมบทบาทสถาบันการศึกษาในด้านนี้นับตั้งแต่มีการปฏิรูปกฎหมายเพื่อส่งเสริมทรัพย์สินทาง ปัญญาซึ่งได้ประกาศใช้กฎหมายสำคัญโดยเฉพาะ ?Bayh-Dole Act? ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ กฎหมายดังกล่าว ส่งผลต่อความสำเร็จของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี อาทิ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งก่อตั้งซิลิคอน แวลเลย์ เป็นต้น รัฐบาลของหลายประเทศจึงได้หันมาให้ความสำคัญกับการถ่ายทอด เทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่นที่ได้มีการประกาศกฎหมาย ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ และกฎหมาย พิเศษเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่เรียกกันว่ากฎหมาย ?Bayh-Dole ภาคญี่ปุ่น? เป็นต้น ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๕ มีการประกาศนโยบายมุ่งสู่ ?การเป็นประเทศที่สร้างบนฐาน ทรัพย์สินทางปัญญา? พร้อมกับตรากฎหมายพื้นฐานว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนสาธารณรัฐเกาหลี ก็ได้ประยุกต์รูปแบบการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐอเมริกาโดยมีการตรากฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ และกฎหมายเพื่อส่งเสริมการศึกษา และความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๔๖ ผลจากการประยุกต์ใช้รูปแบบของสหรัฐอเมริกาทำให้ ทั้งสองประเทศต่างประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยทำบทบาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อพิจารณาจากจำนวนสิทธิบัตรที่จดทะเบียนและมูลค่าจากการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา ในเชิงพาณิชย์ การศึกษาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกาจึงเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับ การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากงานสร้างสรรค์ นวัตกรรม และสิทธิบัตร


คิดนอกกรอบ, ภคนันท์ อุ่นแจ่ม Jul 2014

คิดนอกกรอบ, ภคนันท์ อุ่นแจ่ม

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เปิดประเด็น, อรนุชา อัฏฏะวัชระ Jul 2014

เปิดประเด็น, อรนุชา อัฏฏะวัชระ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


แนะนำหนังสือ, บุษกร เลิศวีระศิริกุล Jul 2014

แนะนำหนังสือ, บุษกร เลิศวีระศิริกุล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


รอยเชื่อมต่อการเรียนรู้ระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา: ก้าวย่างที่สำคัญของเด็กประถมศึกษา, ยศวีร์ สายฟ้า Jul 2014

รอยเชื่อมต่อการเรียนรู้ระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา: ก้าวย่างที่สำคัญของเด็กประถมศึกษา, ยศวีร์ สายฟ้า

Journal of Education Studies

การก้าวเข้าสู่การเรียนรู้ในระบบโรงเรียนเป็นการเปลี่ยนแปลงเกิดที่ขึ้นกับเด็กทุกคน ซึ่งถือ เป็นประสบการณ์สำคัญสำหรับเด็กที่จะเรียนรู้และปรับตัวเพื่อก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงนี้ไปได้ การ เปลี่ยนแปลงในที่นี้เรียกว่า ?รอยเชื่อมต่อ (transition)? เด็กทุกคนมักจะเผชิญรอยเชื่อมต่อ ๓ ระยะ คือ รอยเชื่อมต่อระหว่างบ้านและสถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาล รอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นเรียนอนุบาล และประถมศึกษา และรอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา บทความนี้มี วัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสำคัญของรอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา และ นำเสนอแนวปฏิบัติสำหรับครูประถมศึกษาในการจัดการศึกษาในรอยเชื่อมต่อดังกล่าว เมื่อเด็กอยู่ใน รอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและประถมศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายเป็นผลมาจาก ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัว แต่เนื่องจากพัฒนาการของเด็กวัยนี้ ยังไม่เอื้อต่อการยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นง่ายนัก การปรับตัวของเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อเป็น สิ่งสำคัญซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่เหมาะสมจากครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Jul 2014

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาบทบาทสถาบันอุดมศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม, สุมิตรา วิริยะ, อัจฉรา ไชยูปถัมภ์ Jul 2014

การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาบทบาทสถาบันอุดมศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม, สุมิตรา วิริยะ, อัจฉรา ไชยูปถัมภ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2) วิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และ3)กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาด้านการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 12 คน ผู้ปฏิบัติงาน 240 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ข้อคิดเห็นในการดำเนินการและการพัฒนาบทบาทด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษา และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และการ วิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันองค์กรด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษา เป็นศูนย์ที่มหาวิทยาลัยจัดตั้ง เพื่อเป็นห้องปฏิบัติงานด้านวิถีชีวิตชุมชน ปัญหาที่พบ คือ ขาดความสนใจจาก ผู้นำรัฐบาล ขาดบุคลากร ขาดงบประมาณ ส่วนบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาต้องสอดคล้องกับนโยบาย ระดับชาติ และเป็นภารกิจที่สำคัญเท่าเทียมกับด้านอื่นๆ 2) ปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อประสิทธิผลการ ดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทั้ง 36 ปัจจัย ส่งผลต่องานในระดับปานกลาง ( x 3.35 , S.D. 1.207) ถึงระดับมาก ( x 4.43, S.D. 1.207) ด้านนโยบายส่งผลมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านบุคลากร และวิเคราะห์องค์ประกอบได้ 10 องค์ประกอบที่อธิบายความแปรปรวนร่วม (Eigenvalues) ได้ร้อยละ 89.107 3) กลยุทธ์การพัฒนาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จำนวน 13 กลยุทธ์ 4 ด้าน คือ 1) ด้านนโยบาย 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านการพัฒนา 4) ด้านการนำกลยุทธ์ลงสู่ การปฏิบัติ


กลยุทธ์การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์: แผนที่มโนทัศน์, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ Jul 2014

กลยุทธ์การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์: แผนที่มโนทัศน์, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ

Journal of Education Studies

บริบทการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษามีความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ผู้สอนในสถาบัน อุดมศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัว และพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันต้องมุ่งเน้นในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้และและทักษะที่จำเป็นในการ เตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกของการทำงานในอนาคต ทักษะการคิดวิเคราะห์เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของ ผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ที่สถาบันการศึกษาทุกระดับควรต้องปลูกฝัง เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาเนื่องจากการเรียนในระดับอุดมศึกษาเป็นด่านสุดท้ายของ การเตรียมบัณฑิตเข้าสู่โลกของการทำงานจริง แผนที่มโนทัศน์เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการพัฒนา ทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับผู้เรียนได้อย่างน่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถ นำไปปรับใช้เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือ ในการประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งช่วยให้ผู้สอนสามารถวางแผน ในการพัฒนาผู้เรียนตลอดจนการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ