Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

การจัดการเรียนรู้

Publication Year

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

ปัญหาในการจัดการเรียนรู้และความคาดหวังของครูต่อผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) แพร่ระบาด, พลพีระ วงศ์พรประทีป Jul 2022

ปัญหาในการจัดการเรียนรู้และความคาดหวังของครูต่อผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) แพร่ระบาด, พลพีระ วงศ์พรประทีป

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูในช่วงสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่ระบาด 2) ศึกษาความคาดหวังของครูต่อผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่ระบาด ตัวอย่าง คือ ครูที่ได้รับการนิเทศในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนแห่งหนึ่งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่ระบาด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านผู้เรียน พบปัญหามากที่สุด ส่วนด้านแหล่งเรียนรู้พบปัญหาน้อยที่สุด 2) ความคาดหวังของครูต่อผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่ระบาด พบว่า ครูมีความคาดหวังต่อผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 4 กลุ่มบริหารงาน ประกอบด้วย กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารทั่วไป โดยมีความคาดหวังต่อกลุ่มบริหารวิชาการมากที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับตัวครูผู้สอน ผู้เรียน และผู้ปกครองโดยตรง


การจัดการเรียนรู้ยุคใหม่, สุรภัฎ ธัญวงศ์ Jul 2021

การจัดการเรียนรู้ยุคใหม่, สุรภัฎ ธัญวงศ์

Journal of Education Studies

การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีดำเนินไปอย่างก้าวกระโดด ส่งผลถึงทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิต การบริการสาธารณสุข รวมถึงการศึกษา โจทย์สำคัญของการจัดการศึกษาไทยเพื่อไปให้ถึงนโยบายประเทศไทยยุค 4.0 คือ การสอนให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีทักษะชีวิต และแก้ปัญหาได้ บทความฉบับนี้นำเสนอโมเดลการเรียนรู้ยุคใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับเทคโนโลยีและสภาพสังคมปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับผู้เรียน โดยสร้างให้เกิดความสนใจในเนื้อหาสาระ ผ่านสื่อในรูปแบบเกมหรือโปรแกรมจำลองสถานการณ์ จากนั้นกระตุ้นจินตนาการ ผ่านการใช้คำถาม “ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วจะเป็นอย่างไร” และสร้างกลุ่มสังคมออนไลน์สำหรับกลุ่มเรียนรู้ในหัวเรื่องที่สนใจร่วมกัน นอกจากนี้ ใช้การสร้างข้อจำกัดหรือเงื่อนไขการเรียนรู้ ผ่านการกำหนดปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหาและเปิดความเป็นไปได้ในการมองมุมใหม่


การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติเพื่อพัฒนาความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 รายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน, อลงกรณ์ เกิดเนตร, สมยศ เผือดจันทึก Apr 2021

การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติเพื่อพัฒนาความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 รายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน, อลงกรณ์ เกิดเนตร, สมยศ เผือดจันทึก

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนและหลังการทดลอง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติ เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติ แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติสามารถพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมได้ในระดับดี (Mu = 4.42, Sigma = .13) 2. การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติสามารถพัฒนาความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง (d = +26.53) 3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติในระดับมากที่สุด (Mu = 4.70, Sigma = .31) โด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุดเท่ากัน 4 รายการ (Mu = 4.82, Sigma = .39) ได้แก่ 1) นักศึกษาได้รับการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ 2) ผู้สอนมีความสามารถในการอธิบายและถ่ายทอดความรู้ 3) ผู้สอนเปิดโอกาสให้สอบถามและแสดงความคิดเห็น 4) ผู้สอนมีเวลาให้เข้าพบหรือปรึกษานอกเวลา


เปิดประเด็น, รับขวัญ ภูษาแก้ว Jul 2016

เปิดประเด็น, รับขวัญ ภูษาแก้ว

Journal of Education Studies

No abstract provided.