Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Comparative Literature

Chulalongkorn University

Articles 61 - 79 of 79

Full-Text Articles in Arts and Humanities

ประมวลศัพท์เรื่องระบบส่งกำลังรถยนต์, พัชรี มณีเนตร Jan 2017

ประมวลศัพท์เรื่องระบบส่งกำลังรถยนต์, พัชรี มณีเนตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีและกระบวนการทางศัพทวิทยา ตลอดจนระเบียบวิธีการประมวลศัพท์ และนำความรู้ที่ได้รับมาจัดทำประมวลศัพท์เรื่องระบบส่งกำลังรถยนต์ ประมวลศัพท์อันเป็นผลจากการวิจัยนี้มุ่งให้เกิดประโยชน์ในฐานะเครื่องมือสำหรับนักแปลในแวดวงยานยนต์ รวมทั้งเป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไป ในการประมวลศัพท์ครั้งนี้ ผู้จัดทำได้นำเอาทฤษฎีและแนวทางในการจัดทำประมวลศัพท์ที่นักศัพทวิทยาได้เสนอไว้มาประยุกต์ใช้ โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 6 ขั้นตอน คือ (1) กำหนดหัวข้อ วัตถุประสงค์ และขอบเขตในการจัดทำประมวลศัพท์ (2) ศึกษาทฤษฎี และระเบียบวิธีการทำประมวลศัพท์ (3) สร้างคลังข้อมูลภาษา ดึงและคัดเลือกศัพท์จากคลังข้อมูลภาษา (4) กำหนดมโนทัศน์สัมพันธ์ของศัพท์ทั้งหมด (5) จัดทำบันทึกข้อมูลศัพท์เบื้องต้น (6) จัดทำบันทึกข้อมูลศัพท์ ประมวลศัพท์เรื่องระบบส่งกำลังรถยนต์นี้ ประกอบด้วยศัพท์จำนวน 31 คำ โดยนำเสนอศัพท์ตามกลุ่มมโนทัศน์สัมพันธ์ ประกอบด้วยคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ศัพท์เทียบเคียงภาษาไทย ประเภททางไวยากรณ์ หมวดเรื่อง คำนิยาม บริบท หมายเหตุ รูปศัพท์อื่น ๆ และข้อมูลอ้างอิง


การแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในบทคัดสรรจากเรื่อง Politically Correct Bedtime Stories ของ James Finn Garner, กมลสรร ทวีวงษ์ Jan 2017

การแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในบทคัดสรรจากเรื่อง Politically Correct Bedtime Stories ของ James Finn Garner, กมลสรร ทวีวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นศึกษาการแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในตัวบทคัดสรรจากเรื่อง Politically Correct Bedtime Stories ของ เจมส์ ฟินน์ การ์เนอร์ สมมติฐานในการวิจัยคือ นอกจากทฤษฎีการแปลที่เกี่ยวข้องแล้ว การแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในตัวบทคัดสรรจากเรื่อง Politically Correct Bedtime Stories ของ เจมส์ ฟินน์ การ์เนอร์ ควรอาศัยทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์ (Discourse Analysis) ของ ปีเตอร์ นิวมาร์ค ทฤษฎี Interpretive Approach ของ ฌอง เดอลีล แนวทางการแปลทางสตรีนิยมของ มาซาดิเออร์-เคนนี่, ลูอีส ฟอน โฟลโทว์, เชอร์รี ไซมอน, แนวคิดเสียดสีของ พอล ซิมป์สัน, แนวคิดแฝงนัยของ ลินดา ฮัตเชิน เพื่อแปลตัวบทคัดสรรจำนวน 26 หน้า ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่พบในการแปลวาทกรรมความถูกต้องเชิงการเมืองในตัวบทมีดังนี้ (1) การแปลคำสร้างใหม่ (2) การแปลคำเป็นกลางทางเพศสภาพ (3) การแปลคำคุณศัพท์ที่ไม่ใส่อคติ (4) การแปลข้อความเสียดสีที่อยู่ในทำเนียบภาษา (register) ที่เป็นทางการ ผิดจากบริบท กลวิธีการแปลที่ผู้วิจัยใช้ คือ (1) แปลการเสียดสี คำแฝงนัย ให้แปลกแยกชัดเจน โดดเด่นออกมาจากตัวบทตามแนวคิดของ พอล ซิมป์สัน และ ลินดา ฮัตเชิน (2) ใส่คำนำผู้แปล ตามกลวิธีของ ลูอีส ฟอน โฟลโทว์


การแปลนิยายภาพ : กรณีศึกษาเรื่องการแปล Saga ของ Brian K. Vaughan และ Fiona Staples จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย, สุทธิณี เทพพันธ์กุลงาม Jan 2017

การแปลนิยายภาพ : กรณีศึกษาเรื่องการแปล Saga ของ Brian K. Vaughan และ Fiona Staples จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย, สุทธิณี เทพพันธ์กุลงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหากลวิธีการแปลนิยายภาพเรื่องซากา (Saga) ของ ไบรอัน เค วอว์น (Brian K. Vaughan) และฟิโอนา สเตเปิลส์ (Fiona Staples) เนื่องจากนิยายภาพ แตกต่างจากการแปลหนังสือทั่วไปตรงที่นอกจากการถ่ายทอดความหมายโดยคำนึงถึงความแตกต่างด้านสำนวนภาษาหรือวัฒนธรรมแล้ว ภาพก็เป็นองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งนักแปล ต้องพิจารณาด้วย จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนคำในบทแปลให้สอดคล้องกับภาพที่ปรากฎเพื่อให้ฟังดูเป็นธรรมชาติในภาษาปลายทาง ไม่ขัดกับสิ่งที่เห็นในภาพหรือสีหน้าของตัวละคร ความท้าทายอีกประการหนึ่งคือการจัดวางจำนวนคำในบทแปลให้พอดีกับกรอบคำพูดซึ่งมีขนาดจำกัดในต้นฉบับ ด้วยเหตุนี้ ผู้แปลจึงสนใจศึกษาประเด็นดังกล่าวโดยอาศัยทฤษฏีการแปลที่เกี่ยวข้องคือกรอบการวิเคราะห์และแปลนิยายภาพของเคลาส์ ไคน์เดิล (Klaus Kaindl) และใช้ทฤษฏีการวิเคราะห์หลากรูปแบบ (Multimodal Theory) ตามหลักการและแนวทางของมิคัล โบโรโด (Michal Borodo) ปรับเปลี่ยนวัจนภาษาจากต้นฉบับให้ได้บทแปลซึ่งเหมาะสมกับอวัจนภาษาที่ปรากฎเพื่อให้ได้บทแปลที่เหมาะสมกับภาพที่ปรากฎ ผลการวิจัยคือเมื่อปรับเปลี่ยนคำที่เป็นประเด็นในภาษาปลายทางตามประเภทการปรับเปลี่ยนที่โบโรโดได้แบ่งไว้ก็ทำให้ได้บทแปลที่เข้ากับทั้งภาพและบริบทในหน้านั้น อีกทั้งได้รับการปรับให้เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้และวัฒนธรรมของผู้อ่านชาวไทย


การแปลหนังสือสำหรับเด็กแระเภทหนังสือภาพเปิด-ปิด เรื่อง Stephen Biesty's Giant Vehicles ของ Rod Green และ Stephen Biesty, ช่อแก้ว ดะห์ลัน เช็ค Jan 2017

การแปลหนังสือสำหรับเด็กแระเภทหนังสือภาพเปิด-ปิด เรื่อง Stephen Biesty's Giant Vehicles ของ Rod Green และ Stephen Biesty, ช่อแก้ว ดะห์ลัน เช็ค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการแปลตัวบทที่เป็นหนังสือสำหรับเด็ก ประเภทหนังสือภาพที่มีแผ่นเปิด-ปิด เรื่อง Stephen Biesty's Giant Vehicle เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและค้นหาแนวทางการแปลที่เหมาะสม และให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร อันเป็นการทำให้ตัวบทแปลมีอรรถรสที่สามารถเทียบเคียงกับตัวบทต้นฉบับได้ ความรู้และทฤษฎีที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมเด็กที่ใช้รูปภาพ ความรู้เกี่ยวกับหนังสือภาพที่มีแผ่นเปิด-ปิด ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย การวิเคราะห์ตัวบทของคริสติอาเน นอร์ด และทฤษฎีหลากรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการแปลสื่อที่เป็นหนังสือภาพ ผลการศึกษาพบว่า ความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ ที่นำมาใช้ข้างต้นได้ช่วยให้ผู้วิจัยมีความเข้าใจในตัวบทต้นฉบับ รวมทั้งมองเห็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข ทำให้ผู้วิจัยสามารถแปลหนังสือเล่มนี้ออกมาโดยใช้ภาษาที่เหมาะสม จัดเรียงเนื้อหาบนหน้ากระดาษโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างรูปภาพและตัวหนังสือ เพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ผู้จัดทำตั้งเอาไว้


การแปลนวนิยายเรื่อง Beloved : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข, ประภาศรี เจตทรงกุล Jan 2017

การแปลนวนิยายเรื่อง Beloved : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข, ประภาศรี เจตทรงกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการแปลนวนิยายซึ่งใช้รูปแบบการนำเสนอเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดสารในต้นฉบับ โดยนำนวนิยายเรื่อง Beloved มาเป็นกรณีศึกษา เพื่อแสวงหาแนวทางการแปลและวิธีการแก้ปัญหาในการแปลที่เหมาะสมกับตัวบทลักษณะดังกล่าว กรอบทฤษฎีหลักซึ่งนำมาใช้ในการศึกษาตัวบทต้นฉบับ ได้แก่ การแปลวรรณกรรมตามแนวคิดของฟอร์ตูนาโต อิสราแอล และทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้นำเอาทฤษฎีการแปลพื้นฐานอื่นๆ มาประกอบการศึกษาตัวบทต้นฉบับด้วย ซึ่งได้แก่ ทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์ ทฤษฎีการแปลแบบยึดความหมาย การแปลวรรณกรรมตามแนวคิดของวัลยา วิวัฒน์ศร และทฤษฎีวัจนกรรม หลังจากที่ได้นำทฤษฎีข้างต้นมาประยุกต์ใช้แล้ว พบว่า แนวทางการแปลวรรณกรรมของฟอร์ตูนาโต อิสราแอลและทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันในการแปลและแก้ปัญหาที่พบในตัวบทประเภทนี้ได้เป็นอย่างดี


Effects Of Different First-Person Pronouns And Politeness Sentence-Ending Particles In English-To-Thai Consecutives Interpretation : A Case Study, Thornwarat Laojariyakun Jan 2017

Effects Of Different First-Person Pronouns And Politeness Sentence-Ending Particles In English-To-Thai Consecutives Interpretation : A Case Study, Thornwarat Laojariyakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

With various first-person pronouns to choose from, interpreters who render English into Thai language sometimes find themselves struggling to determine the most suitable pronoun, especially when they and their speakers are of the opposite sex. This is because the limitations of each pronoun concerning genders of word and the level of formality. Conducted in Le Cordon Bleu Dusit Culinary School (LCBD), this pilot case study explored whether different first-person pronouns as well as presence and absence of politeness sentence-ending particles, a characteristic of Thai language, affected Thai users' preference in consecutive interpreting from English into Thai. Three experiments in cooking …


Assessing The Quality Of English-To-Thai Machine Interpreting : Translating Google Translate, Pira Pewnim Jan 2017

Assessing The Quality Of English-To-Thai Machine Interpreting : Translating Google Translate, Pira Pewnim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to assess the quality and potential of Google Translate when used as an English-to-Thai Machine Interpreting (MI) tool. The paper explores MI’s distinct definitions and terminology as well as its relationship to other relevant technologies, i.e. Machine Translation (MT), Automatic Speech Recognition (ASR), and Text-to-Speech (TTS). Four five-minute English-language recordings from the European Commission's Directorate General for Interpretation Speech Repository were selected as samples for the MI to interpret. Human evaluation was used to evaluate the Comprehensibility, Accuracy, and Usability of MI with five final-year interpreting students and six professional interpreters performing as judges. Results show that …


ตัวละครหญิงกับปิตาธิปไตยในนวนิยายสืบสวนสอบสวนร่วมสมัยของอเมริกา, สุทัตตา พาหุมันโต Jan 2017

ตัวละครหญิงกับปิตาธิปไตยในนวนิยายสืบสวนสอบสวนร่วมสมัยของอเมริกา, สุทัตตา พาหุมันโต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนตามขนบมักนำเสนออาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสังคมควบคู่ไปกับการนำเสนอภาพลักษณ์ของตัวละครนักสืบชายผู้ชาญฉลาดและตัวละครอาชญากรชายผู้ร้ายกาจ ในขณะที่ตัวละครหญิงมักได้รับบทบาทเหยื่อผู้อ่อนแอซึ่งเป็นเสมือนการขับเน้นให้เห็นถึงอำนาจของตัวละครชายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องความแตกต่างทางเพศที่นำไปสู่การกดทับผู้หญิงไว้ภายใต้อำนาจของผู้ชายนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปและถูกนำเสนอให้เห็นได้อย่างชัดเจนผ่านนวนิยายสืบสวนสอบสวนร่วมสมัย จากการศึกษานวนิยายสืบสวนสอบสวนร่วมสมัยของอเมริกาเรื่อง เดอะ เซอร์เจียน (The Surgeon, 2001) ของเทสส์ เกอร์ริตเซ่น (Tess Gerritsen) อโลน (Alone, 2005) และ ไฮด์ (Hide, 2007) ของลิซ่า การ์ดเนอร์ (Lisa Gardner) ฮาร์ทซิก (Heartsick, 2007) ของเชลซี เคน (Chelsea Cain) สเตรนเจอร์ส อิน เดธ (Strangers In Death, 2008) ของเจ ดี ร็อบบ์ (J.D.Robb) ชาร์ป ออปเจ็คส์ (Sharp Objects, 2006) และดาร์ก เพลสเซส (Dark Places, 2009) ของจิลเลียน ฟลินน์ (Gillian Flynn) ผู้วิจัยพบว่าตัวละครหญิงต้องเผชิญกับความรุนแรงอันเนื่องมาจากการกดขี่ทางเพศสภาพในสังคมปิตาธิปไตยที่กีดกันและแบ่งแยกให้ผู้ชายมีสถานะเหนือกว่าผู้หญิง อาทิ การกระทำความรุนแรงทางเพศที่ไม่เพียงแต่เป็นความรุนแรงทางกายแต่ยังสร้างบาดแผลไว้ในจิตใจของตัวละครหญิง และการกีดกันทางเพศในพื้นที่การทำงานที่เกิดขึ้นกับตัวละครนักสืบหญิง อย่างไรก็ตามผู้ประพันธ์ได้นำเสนอให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวละครหญิงเพื่อต่อรองกับแนวคิดดังกล่าว อาทิ ตัวละครเหยื่อผู้หญิงที่ตระหนักรู้คุณค่าในตนเองและพร้อมจะลุกขึ้นต่อกรกับอาชญากรเพื่อปกป้องตนเอง อาชญากรหญิงผู้กระทำความรุนแรงเพื่อเติมเต็มความปรารถนาในจิตใจ และนักสืบหญิงที่พิสูจน์ความสามารถของตนเองจนประสบความสำเร็จในการทำงาน บทบาทที่หลากหลายและซับซ้อนเหล่านี้สื่อให้เห็นอย่างชัดเจนว่านวนิยายสืบสวนสอบสวนร่วมสมัยของอเมริกาไม่ได้ถูกจำกัดให้เป็นพื้นที่ของตัวละครชายเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ตัวละครหญิงก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นตัวละครสำคัญหรือแม้แต่ตัวละครเอกของเรื่องได้


เดอะ มอร์ทอล อินสตรูเมนตส์ ในฐานะบทวิจารณ์พระคัมภีร์ไบเบิล: การกีดกัน ความรุนแรง และการเยียวยา, แพรพลอย ณ เชียงใหม่ Jan 2017

เดอะ มอร์ทอล อินสตรูเมนตส์ ในฐานะบทวิจารณ์พระคัมภีร์ไบเบิล: การกีดกัน ความรุนแรง และการเยียวยา, แพรพลอย ณ เชียงใหม่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วรรณกรรมแนวฮีโรอิกแฟนตาซีชุด เดอะ มอร์ทอล อินสตรูเมนตส์ ของคาสซานดรา แคลร์ ซึ่งเป็นวรรณกรรมนำเสนอการวิจารณ์แนวคิดที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิล คือการกีดกันด้านเผ่าพันธุ์ ชนชั้น และเพศ อันเป็นแนวคิดที่นำมาสู่การสร้างความรุนแรงในสังคม โดยการใช้ลักษณะของแฟนตาซีสะท้อนให้เห็นถึงการวิจารณ์แนวคิดดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมชุด เดอะ มอร์ทอล อินสตรูเมนตส์ สร้างโลกสมมติเพื่อแสดงให้เห็นถึงการกีดกันและการใช้ความรุนแรงด้านเผ่าพันธุ์ ชนชั้น และเพศ ผ่านตัวละครหลากหลายเผ่าพันธุ์ที่มีสถานะเป็นตัวแทนของคนในสังคม ซึ่งความรุนแรงจากการกีดกันดังกล่าวสร้างบาดแผลทั้งทางกายและจิตใจให้แก่คนในสังคม ซึ่งเป็นบาดแผลจากการสูญเสียคนในครอบครัวและการสูญเสียตัวตน ขณะเดียวกัน วรรณกรรมชุดดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเยียวยาบาดแผล อาทิ การเรียนรู้ที่จะยอมรับตัวตนของตนเอง การมอบความรัก ความอบอุ่นแก่คนในคนครอบครัว การสร้างความเข้าใจถึงความแตกต่างในสังคมเพื่อสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมและยอมรับความแตกต่าง


แนวคิดนิเวศสำนึกในวรรณกรรมของนิรันศักดิ์ บุญจันทร์, ศุภิสรา เทียนสว่างชัย Jan 2017

แนวคิดนิเวศสำนึกในวรรณกรรมของนิรันศักดิ์ บุญจันทร์, ศุภิสรา เทียนสว่างชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์งานเขียนของนิรันศักดิ์ บุญจันทร์ ภายใต้กรอบแนวคิดนิเวศสำนึก โดยมุ่งศึกษาบทบาทและภาพแทนของธรรมชาติและมนุษย์ที่ผู้เขียนใช้นำเสนอ เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่ดำเนินไปภายใต้บริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในด้านต่างๆ จากการศึกษาพบว่า วรรณกรรมของนิรันศักดิ์ บุญจันทร์นำเสนอแนวคิดนิเวศสำนึกที่แสดงให้เห็นปัญหาทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ที่ตั้งอยู่บนความเหลื่อมล้ำภายใต้โลกที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งภาพแทนของธรรมชาติมักจะถูกนำเสนอให้มีลักษณะเป็นคู่ตรงข้ามกับแนวคิดหรือวิวัฒนาการทางด้านต่างๆ ของมนุษย์ และมีการปฏิสัมพันธ์ในเชิงอำนาจอยู่ตลอดเวลา ภาพแทนของธรรมชาติมักถูกทำให้อ่อนแอและยอมจำนนเพื่อแสดงให้เห็นบทบาทของมนุษย์ในฐานะผู้ควบคุม เปลี่ยนแปลง กำหนดคุณค่าและความหมายให้กับธรรมชาติ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและวิกฤตสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ที่ไม่สมดุลและความเพิกเฉยของมนุษย์ที่ยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ งานเขียนของนิรันศักดิ์ยังนำเสนอแนวคิดเชิงอนุรักษ์ที่อยู่ภายใต้กระบวนทัศน์แบบองค์รวม นำเสนอให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของธรรมชาติผ่านผลกระทบจากวิกฤตสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ฉากโลกที่ล่มสลายและหายนะที่ตกสู่มนุษย์ แสดงให้เห็นสถานะของธรรมชาติที่อยู่ในบทบาทของผู้ควบคุมการดำรงอยู่ของมนุษย์ ในขณะเดียวกัน พื้นที่ธรรมชาติยังเป็นพื้นที่แห่งการเยียวยาฟื้นฟูชีวิตและสภาพจิตใจของมนุษย์และสังคมให้หลุดพ้นจากการครอบงำของความเจริญ รวมไปถึงการตระหนักถึงตัวตนแห่งธรรมชาติที่ธรรมชาติมีบทบาทสำคัญในการประกอบสร้างตัวตนและจิตวิญญาณของมนุษย์ แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติที่เชื่อมโยงกันทั้งทางกายภาพและทางจิตวิญญาณ เป็นการแสดงแนวคิดการมองธรรมชาติแบบองค์รวมเพื่อกระตุ้นให้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันนำไปสู่การปลูกฝังแนวคิดเชิงอนุรักษ์และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสันติ


การศึกษาเปรียบเทียบตัวบทที่มีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจกับบทแปล : กรณีศึกษาเรื่องIt's Not About You (ยิ่งให้ยิ่งชนะ), ดิษยา สิริกิตติกร Jan 2017

การศึกษาเปรียบเทียบตัวบทที่มีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจกับบทแปล : กรณีศึกษาเรื่องIt's Not About You (ยิ่งให้ยิ่งชนะ), ดิษยา สิริกิตติกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจที่พบในหนังสือเรื่อง It’s Not About You ของ บ๊อบ เบิร์ก และ จอห์น เดวิด มานน์ โดยรวบรวมรูปคำแสดงอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจในต้นฉบับเพื่อทำการศึกษา 50 ตำแหน่งแล้วเปรียบเทียบต้นฉบับภาษาอังกฤษกับบทแปลภาษาไทยในหนังสือ ยิ่งให้ยิ่งชนะ ซึ่งแปลโดย อมรรัตน์ ศรีสุรินทร์ เพื่อพิจารณาว่าในบทแปลยังพบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์หรือไม่ อย่างไร ผลการวิเคราะห์อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจที่พบในตัวบทต้นฉบับ พบว่าสะท้อนอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ 4 ประเภทได้แก่ 1) A BUSINESS IS A HUMAN 2) A BUSINESS IS AN OBJECT 3) A BUSINESS IS A JOURNEY และ 4) BUSINESS IS WAR เมื่อเปรียบเทียบต้นฉบับที่มีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจกับบทแปล พบว่าบทแปลสะท้อนอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ 47 ตำแหน่ง แบ่งเป็นบทแปลซึ่งรักษากรอบมโนทัศน์ของอุปลักษณ์เดียวกันกับต้นฉบับ 46 ตำแหน่ง และบทแปลซึ่งเปลี่ยนกรอบมโนทัศน์ของอุปลักษณ์ไปจากต้นฉบับ 1 ตำแหน่ง ส่วนอีก 3 ตำแหน่งไม่พบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ใน บทแปล การที่อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ซึ่งพบในบทแปลส่วนใหญ่ยังคงเป็นประเภทเดียวกันกับต้นฉบับสะท้อนให้เห็นว่าอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจค่อนข้างเป็นสากล นอกจากนี้ การที่บทแปลยังคงรักษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เดียวกันกับต้นฉบับ 46 ตำแหน่งจาก 50 ตำแหน่งอาจเป็นเพราะผู้แปลใช้วิธีการแปลเชิงอรรถศาสตร์ (Semantic Translation) ตามทฤษฎีการแปลของ Newmark (1988) ทำให้ถ่ายทอดความหมายและอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ได้อย่างครบถ้วน ส่วนการที่บทแปลอีก 4 ตำแหน่งจาก 50 ตำแหน่งสะท้อนอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่ต่างไปจากต้นฉบับ หรือไม่สะท้อนอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์อาจเป็นเพราะผู้แปลใช้วิธีการแปลเชิงสื่อสาร (Communicative Translation) ตามทฤษฎีการแปลของ Newmark (1988) จากผลการศึกษาประกอบกับสมมติฐานการแปลเชิงปริชาน (Cognitive Translation Hypothesis, CTH) ของ Mandelblit (1995) ผู้วิจัยเสนอแนวทางการแปลตัวบทที่มีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์สองแบบ ได้แก่ ใช้วิธีการแปลเชิงอรรถศาสตร์ตามทฤษฎีการแปล ของ Newmark (1988) …


การแปลคำซ้ำในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เล่ม 1, พรชัย เสรีมงคลผล Jan 2017

การแปลคำซ้ำในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เล่ม 1, พรชัย เสรีมงคลผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาการแปลคำซ้ำ ที่พบในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เล่ม 1 ประพันธ์โดย ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้ต้นฉบับ 10 บทเป็นกรณีศึกษา ปัญหาการแปลคำซ้ำยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างจริงจังเมื่อเทียบกับปัญหาการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษด้านอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม้ยมกเป็นเครื่องหมายกำกับคำซ้ำที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในภาษาไทยมาอย่างช้านาน นอกจากนี้กระบวนการซ้ำคำเพื่อสร้างคำใหม่ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ภาษา และทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็มีการซ้ำคำเช่นกัน สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนในการแปล วิเคราะห์ปัญหาในการแปล ตลอดจนนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหานั้นเพื่อให้ได้บทแปลที่มีความสละสลวยทางภาษาและได้อรรถรสทัดเทียมกับต้นฉบับ ผู้วิจัยศึกษาทฤษฎีการแปลและแนวคิดต่าง ๆ อันได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับคำซ้ำภาษาไทย แนวคิดเกี่ยวกับคำซ้ำภาษาอังกฤษ ประเภทของความหมายของคำซ้ำภาษาไทย ประเภทของความหมายของคำซ้ำภาษาอังกฤษ แนวคิดเกี่ยวกับการแปลคำซ้ำ ทฤษฎีการแปลแบบยึดความหมาย ทฤษฎีสโคพอส และการวิเคราะห์วาทกรรม เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาที่พบในการแปล และค้นหาแนวการทางแก้ไขการแปลคำซำ หลังจากที่ได้ศึกษาทฤษฎีและแนวคิดข้างต้น ตลอดจนลงมือแปลบทที่เลือกมาศึกษาโดยยึดทฤษฎีการแปลแบบยึดความหมายเป็นสำคัญ ผู้วิจัยพบว่า แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของคำซ้ำและแนวทางการแปลคำซ้ำของอาจารย์และผู้รู้หลาย ๆ ท่าน มีประโยชน์อย่างยิ่งในการพิจารณาคำซ้ำในแง่มุมทางโครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงทางความหมายต่าง ๆ จนสามารถนำไปสู่การแปลคำซ้ำได้จริง


ข้อดีข้อด้อยจากนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการล่ามในที่ประชุมของประชาคมอาเซียนเมื่อเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรป, ณุพัฒน์ คู่ศรีบรรจง Jan 2017

ข้อดีข้อด้อยจากนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการล่ามในที่ประชุมของประชาคมอาเซียนเมื่อเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรป, ณุพัฒน์ คู่ศรีบรรจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประชุมในบริบทของประชาคมอาเซียนทวีจำนวนตามการพัฒนาและกรอบความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้ แต่อุปสรรคในการสื่อสารภาษาอังกฤษยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ลดประสิทธิภาพการประชุม งานวิจัยนี้ได้เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในการประชุมในบริบทอาเซียน พบว่าการกำหนดให้ใช้เฉพาะภาษาอังกฤษในที่ประชุม บ่อยครั้งกระทบต่อความเข้าใจเนื้อหาการประชุมและการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมจากแต่ละประเทศ โดยเฉพาะการประชุมในระดับปฏิบัติการมักได้รับผลกระทบมากที่สุดเพราะต้องเผชิญปัจจัยที่ทำให้การสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นอุปสรรค เช่น ปัจจัยด้านงบประมาณจ้างล่ามที่มีจำกัด ความสามารถใช้ภาษาอังกฤษของผู้เข้าร่วมประชุมที่หลากหลาย เป็นต้น ผลการวิเคราะห์บทสัมภาษณ์ยังชี้ว่าการจัดจ้างล่ามเพื่อลดอุปสรรคด้านการสื่อสารในที่ประชุมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประชาคมอาเซียนคือใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการล่ามสู่ภาษาอื่นๆ ถึงกระนั้นก็ยังติดประเด็นเรื่องนโยบายของประชาคมอาเซียนเองที่กำหนดให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการภาษาเดียว ไม่สนับสนุนให้มีการจ้างล่าม ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากสหภาพยุโรปที่สนับสนุนหลักพหุภาษานิยมหรือนโยบายภาษาทางการและภาษาปฏิบัติการที่หลากหลาย ปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้เกี่ยวข้องในการประชุมในบริบทอาเซียนต้องหาทางออกให้การสื่อสารในที่ประชุมเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีต่างๆ ตามอัตภาพ นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้น้อยมากที่ประชาคมอาเซียนจะจัดตั้งหน่วยงานอำนวยการล่ามในที่ประชุมเหมือนที่สหภาพยุโรปมี


ความขัดแย้งในบทบาทและจรรยาบรรณของล่ามในคดีแพ่ง : กรณีคู่ความเป็นผู้ว่าจ้างล่าม, มัตถกา สุดทางธรรม Jan 2017

ความขัดแย้งในบทบาทและจรรยาบรรณของล่ามในคดีแพ่ง : กรณีคู่ความเป็นผู้ว่าจ้างล่าม, มัตถกา สุดทางธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ล่ามคู่ความมีความสำคัญอย่างมากในฐานะผู้อำนวยความสะดวกในการสื่อสารในการดำเนินคดีหรือระงับข้อพิพาทตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันซึ่งการประกอบธุรกิจสามารถทำได้อย่างไรพรมแดนระหว่างผู้ที่ใช้ภาษาแตกต่างกัน เมื่อล่ามคู่ความเป็นผู้ที่ได้รับการว่าจ้างโดยตรงโดยคู่ความฝ่ายหนึ่ง ล่ามคู่ความย่อมต้องคำนึงถึงผลของคดีที่ผู้ว่าจ้างคาดหวังและการรักษาผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้างในขณะปฏิบัติหน้าที่ งานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาบทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของล่ามคู่ความและความจำเป็นในการต้องปฏิบัติหน้าที่เกินขอบเขตเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง รวมถึงมุมมองของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายต่อการปฏิบัติหน้าที่ของล่ามคู่ความ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 13 ท่าน ซึ่งประกอบไปด้วยล่ามคู่ความและผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายและใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ ซึ่งผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทำหน้าที่เป็นล่ามคู่ความโดยไม่ปฏิบัติตนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยและไม่ปฏิบัติหน้าที่เกินขอบเขตนั้นเป็นสิ่งที่ต้องกระทำในทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งสอดคล้องกับหลักการทั่วไปและจรรยาบรรณของล่ามที่จะต้องสื่อสารความหมายของต้นฉบับเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยไม่มีการตัดทอนต่อเติม เปลี่ยนแปลง


การแปลศัพท์ทางจิตเวชศาสตร์ในตำรา Psychodynamic Psychiatry In Clinical Practice, Fifth Edition ของ Glen O. Gabbard, ปิยดิถิ์ เจริญสุข Jan 2017

การแปลศัพท์ทางจิตเวชศาสตร์ในตำรา Psychodynamic Psychiatry In Clinical Practice, Fifth Edition ของ Glen O. Gabbard, ปิยดิถิ์ เจริญสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาและหาแนวทางการแปลศัพท์ทางจิตเวชศาสตร์ในตำรา Psychodynamic Psychiatry in Clinical Practice, Fifth Edition ของ Glen O. Gabbard จากคำศัพท์ที่คัดสรรทั้งสิ้น 30 คำ โดยมีสมมติฐานของการวิจัยว่า แนวทางการวิเคราะห์ตัวบทของคริสติอาเน นอร์ด แนวทางการแปลแบบตีความและยึดความหมายของฌอง เดอลิล แนวทางการสร้างคำในภาษาอังกฤษของอิงโก แพลก แนวทางการแปลคำสร้างใหม่ของปีเตอร์ นิวมาร์ก และหลักเกณฑ์การบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานของมงคล เดชนครินทร์ จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการแปลคำศัพท์ทางจิตเวชศาสตร์ที่คัดสรร เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความหมายของคำศัพท์ได้อย่างถูกต้อง มีลักษณะของความเป็นศัพท์เฉพาะทาง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แนวทางการวิเคราะห์ตัวบท แนวทางการแปลแบบตีความและยึดความหมาย แนวทางการสร้างคำในภาษาอังกฤษ แนวทางการแปลคำสร้างใหม่ และหลักเกณฑ์การบัญญัติศัพท์ สามารถนำมาใช้เพื่อแปลคำศัพท์ทางจิตเวชศาสตร์ได้ตามสมมติฐาน


ข้อบกพร่องด้านภาษาที่พบในการแปลป้ายข้อมูลของพิพิธภัณฑ์และวิธีการแก้ไข : กรณีศึกษาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ), กุลธิดา บุญญวนิช Jan 2017

ข้อบกพร่องด้านภาษาที่พบในการแปลป้ายข้อมูลของพิพิธภัณฑ์และวิธีการแก้ไข : กรณีศึกษาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ), กุลธิดา บุญญวนิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาข้อบกพร่องที่พบในการแปลป้ายข้อมูลของพิพิธภัณฑ์และวิธีการแก้ไข โดยคัดสรรบทแปลจากป้ายข้อมูลนิทรรศการของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) เพื่อให้ได้บทแปลที่สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ มีอรรถสาระและเนื้อหาเหมาะสมกับผู้รับสารปลายทาง ผู้ศึกษาได้ดำเนินการวิจัยโดยค้นคว้าแนวคิดเกี่ยวกับการแปลตัวบทพิพิธภัณฑ์ (Guillot, 2014; Neather, 2005; Sturge, 2007) แนวทางการวิเคราะห์ตัวบทประเภทสารคดีของคริสติอาเน นอร์ด (2005) แนวคิดการจำแนกหมวดหมู่ของข้อบกพร่องในการแปลโดยคริสติอาเน นอร์ด (1997) กลวิธีการแก้ไขงานแปลที่เกี่ยวข้อง (วัลยา วิวัฒน์ศร, 2547; มกุฏ อรฤดี, 2560; Mossop, 2007) ทฤษฎีสโคพอส (Skopostheorie) นำเสนอโดยฮันส์ แฟร์เมียร์ (1996) แนวคิดเรื่อง Scene-and-Frames Semantics นำเสนอโดยชาร์ลส ฟิลล์มอร์ (1977) แนวทางการแปลแบบตีความและยึดความหมาย (Interpretive Approach) นำเสนอโดยฌอง เดอลิลส์ (1988) และความรู้ว่าด้วยไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อบกพร่องในการแปลที่พบ ผลการศึกษาพบว่าการนำทฤษฎีและแนวคิดต่างๆ ข้างต้นมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน สามารถระบุข้อบกพร่องในบทแปลและแก้ไขข้อบกพร่องได้


การแปลนวนิยาย เรื่อง Room ของ Emma Donoghue, ชญาดา บินหะซัน Jan 2017

การแปลนวนิยาย เรื่อง Room ของ Emma Donoghue, ชญาดา บินหะซัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาทฤษฎีการแปลและแนวทางการแปลวรรณกรรม เพื่อถ่ายทอดวัจนลีลาของตัวละครเอกในเรื่อง Room ของเอ็มมา โดโนฮิว ผู้วิจัยมีจุดประสงค์ที่จะถ่ายทอดบทแปลที่มีสมมูลภาพทางความหมายและอรรถรสเทียบเคียงกับต้นฉบับ และหาวิธีการแก้ไขปัญหาการแปลลักษณะภาษาและวัจนลีลาที่ผิดแปร่ง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตัวละครเอกในเรื่อง จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า แนวทางการวิเคราะห์ตัวบทของคริสติอาเน นอร์ด และแนวทางการวิเคราะห์องค์ประกอบนวนิยายของ คาร์ล เอ็ม ทอมลินสัน และแครอล ลินช์-บราวน์ ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ตัวบทต้นฉบับได้ละเอียดและครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้วิจัยเข้าใจสารที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อก่อนทำการถ่ายทอดไปสู่บทแปลในภาษาปลายทาง แนวทางการแปลแบบตีความของฌอง เดอลีล ช่วยให้ผู้วิจัยเข้าใจความหมายที่แท้จริงในวาทกรรมนั้นๆ ซึ่งทำให้ถ่ายทอดความหมายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีความสำคัญมากในการตรวจสอบบทแปล ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของ ชอง เพียเจต์ ในขั้นก่อนปฏิบัติการคิด ของเด็กตั้งแต่อายุ 2-7 ปี ช่วยให้ผู้วิจัยเข้าใจสภาพอปกติของตัวละครที่สื่อออกมาผ่านทางภาษาและลักษณะความคิด ซึ่งช่วยในการถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ เป็นภาษาปลายทางได้เหมาะสมยิ่งขึ้น และทฤษฎีวัจนลีลาของ อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ ช่วยให้ผู้วิจัยถ่ายทอดอรรถรสและความหมายของบทแปลให้เทียบเคียงและมีสมมูลภาพกับต้นฉบับมากที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความรู้ แนวทาง และทฤษฎีข้างต้น เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการสร้างงานแปลที่มีคุณภาพมากที่สุดและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยตั้งไว้


User Expectations Of Interpreters : A Qualitative Study Of Three User Groups In Thailand ; Patent Litigation, Public Health, And Cultural Heritage, Patricka Chulamokha Jan 2017

User Expectations Of Interpreters : A Qualitative Study Of Three User Groups In Thailand ; Patent Litigation, Public Health, And Cultural Heritage, Patricka Chulamokha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research is an explorative study into the user expectations of interpreters in the domains of Patent Litigation, Public Health, and Cultural Heritage in Thailand. The study attempts to determine the importance of the accurate interpretation of terms in these highly-specialized fields with specific technical (in the case of court and medical interpreting) and cultural terminology. The researcher also attempts to identify user preferences for extra-linguistic features in interpreters. Results show that participants rated the delivery of the key message as higher priority than the translation of terminology. In some instances, the user preference was for terminology to be retained …


เรือนร่างในอาชญนิยายร่วมสมัยแนวฆาตกรต่อเนื่องของอเมริกาและญี่ปุ่น, ปราง ศรีอรุณ Jan 2017

เรือนร่างในอาชญนิยายร่วมสมัยแนวฆาตกรต่อเนื่องของอเมริกาและญี่ปุ่น, ปราง ศรีอรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นเรื่องเรือนร่างที่ปรากฏในอาชญนิยายร่วมสมัยแนวฆาตกรต่อเนื่องของประเทศอเมริกาและญี่ปุ่นตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 2000 ถึงปัจจุบัน อาชญนิยายของอเมริกาที่คัดสรรมาศึกษาได้แก่เรื่องเดอะ เดธ คอลเลคเตอร์ส์ (The Death Collectors, 2006) ของแจ็ค เคอร์เลย์ (Jack Kerley) มือเพชฌฆาต (The Executioner, 2010) ของคริส คาร์เตอร์ (Chris Carter) และซีรีส์เรื่องฮันนิบาล ปี 1 (Hannibal Season 1, 2013) ของไบรอัน ฟุลเลอร์ (Bryan Fuller) ส่วนอาชญนิยายของญี่ปุ่นได้แก่เรื่องโกธ คดีตัดข้อมือ (2005) ของโอสึอิจิ ราตรีสีเลือด (2008) ของฮนดะ เท็ตสึยะ เลสซัน ออฟ ดิ อีวิล (Lesson of the Evil, 2012) ของมิอิเคะ ทาคาชิ และมิวเซียมเล่ม 1-3 (Museum: The serial killer is laughing in the rain, 2014) ของเรียวสุเกะ โทโมเอะ จากการศึกษาพบว่าตัวบทคัดสรรทั้ง 7 เรื่องได้บรรยายถึงเรือนร่างของตัวละครฆาตกร นักสืบและเหยื่ออย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบรรยายถึงเรือนร่างของเหยื่อนั้นเผยให้เห็นร่างกายที่ถูกกระทำความรุนแรงอย่างน่าสะพรึงกลัวและน่าขยะแขยง ซึ่งแตกต่างจากอาชญนิยายในอดีตที่มักไม่นำเสนอเรือนร่างในลักษณะดังกล่าว การนำเสนอเรือนร่างที่น่ากลัวและน่าขยะแขยงในตัวบทคัดสรรนี้สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างลักษณะของอาชญนิยายกับลักษณะของวรรณกรรมแนวโกธิค ซึ่งชี้ให้เห็นประเด็นเกี่ยวกับเรือนร่าง 3 ประเด็นหลักด้วยกัน ได้แก่ประเด็นเรื่องสังคมเมือง ศาสนา และการบริโภค การศึกษาเรือนร่างใน 3 ประเด็นดังกล่าวนี้เผยให้เห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างตัวบทของอเมริกาและญี่ปุ่น กล่าวคือตัวบทของทั้งสองประเทศนำเสนอประเด็นเรื่อง "การล่วงล้ำ" (Transgression) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการทลายเส้นแบ่งและกรอบเกณฑ์ต่าง ๆ อันเป็นแนวคิดสำคัญอย่างหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึงในอาชญนิยาย และเปิดเผยให้เห็น "ความไร้ระเบียบ" (Chaos) อันเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของวรรณกรรมแนวโกธิค โดยการล่วงล้ำดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ด้านด้วยกันได้แก่ การล่วงล้ำระหว่างเพศชายกับหญิง การล่วงล้ำระหว่างภายนอกกับภายในเรือนร่าง และการล่วงล้ำกฎเกณฑ์ของสังคม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงมุมมองเกี่ยวกับเรือนร่างในสังคมอเมริกาและญี่ปุ่นที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต