Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Comparative Literature

Chulalongkorn University

2021

Articles 1 - 16 of 16

Full-Text Articles in Arts and Humanities

The Use Of Asr-Cai Tool And Its Impact On Interpreters’ Performance During Simultaneous Interpretation, Pannapat Tammasrisawat Jan 2021

The Use Of Asr-Cai Tool And Its Impact On Interpreters’ Performance During Simultaneous Interpretation, Pannapat Tammasrisawat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ever since automatic speech recognition (ASR) was introduced as a means to improve the terminology lookup mechanism and reduce additional cognitive effort in performing a terminology query, many studies have been conducted to investigate the use of ASR-CAI tools in simultaneous interpretation (SI). However, few studies have implemented the process-oriented method in addition to the product-based method in analyzing how the use of ASR-CAI tools may affect the interpreting process. By using both product/process-oriented approaches, this paper set out to investigate the impact of ASR-CAI tool on interpreters’ overall performance. The results showed that the support of ASR-CAI tool led …


Investigation Of An Automatic Speech Recognition Software For Numbers Trigger Management In Remote Simultaneous Interpretation From English To Thai., Chirattikarn Kittimongkolmar Jan 2021

Investigation Of An Automatic Speech Recognition Software For Numbers Trigger Management In Remote Simultaneous Interpretation From English To Thai., Chirattikarn Kittimongkolmar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การศึกษากลวิธีการแปลข่าวออนไลน์เรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 59 จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ของสำนักข่าวไทย, อาณัติ ศักดารณรงค์ Jan 2021

การศึกษากลวิธีการแปลข่าวออนไลน์เรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 59 จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ของสำนักข่าวไทย, อาณัติ ศักดารณรงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษาแนวทางการแปลข่าวออนไลน์เกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 59 จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยของฝ่ายข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวไทย ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้กระบวนการแบบจำลองผู้เฝ้าประตูในการแก้ปัญหาการแปลข่าวตามแนวทางของ Erkka Vuorinen (1995) ที่ระบุว่า ผู้แปลใช้กระบวนการแบบจำลองผู้เฝ้าประตูทั้งสี่กระบวนการ ได้แก่ การเพิ่มข้อมูล การตัดข้อมูล การจัดเรียงข้อมูลใหม่ และการแทนที่ข้อมูลในการจัดการข้อมูลข่าว นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้เลือกใช้แนวทางการวางกรอบเรื่องเล่าในการแปลของ Baker (2006) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของผู้เรียบเรียงข่าวต่อการกำหนดกรอบความคิดของผู้รับสารอีกด้วย ผู้วิจัยคัดเลือกตัวอย่างข่าวเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 59 ซึ่งสำนักข่าวต่างประเทศเขียนเป็นภาษาอังกฤษ จำนวน 50 ข่าว และข่าวแปลเป็นภาษาไทยโดยฝ่ายข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวไทย 50 ข่าว ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 - มกราคม 2564 เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ด้วยกระบวนการแบบจำลองผู้เฝ้าประตูและแนวทางวางกรอบเรื่องเล่าในการแปล นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้สัมภาษณ์บรรณาธิการและผู้เรียบเรียงข่าวของฝ่ายข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวไทย จำนวน 2 คน เพื่อพิสูจน์สมมติฐานว่า ผู้เรียบเรียงข่าวของฝ่ายข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวไทย ได้นำกระบวนการแบบจำลองผู้เฝ้าประตูทั้งสี่กระบวนการมาประยุกต์ใช้ในการแปลข่าวเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และผู้เรียบเรียงข่าวมีบทบาทต่อการกำหนดกรอบความคิดของผู้รับสารตามแนวทางการวางกรอบเรื่องเล่าในการแปล ผลวิจัยพบว่า การแปลข่าวเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 59 จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ของฝ่ายข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวไทย ใช้กระบวนการแบบจำลองผู้เฝ้าประตูทั้งสี่กระบวนการตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวคือ พบการตัดข้อมูลมากที่สุด ร้อยละ 55 ตามด้วยการเพิ่มข้อมูล ร้อยละ 20 การจัดเรียงข้อมูลใหม่ ร้อยละ 18 และการแทนที่ข้อมูล ร้อยละ 7 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการสื่อสารข้อมูลข้ามวัฒนธรรมและทำให้ผู้รับสารเข้าใจบริบทแวดล้อมของสถานการณ์ต่าง ๆ ตามข้อจำกัดของข่าวออนไลน์ด้วยการจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาและทำให้ข้อมูลสั้นกระชับตามหลักการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ นอกจากนี้ ผู้วิจัยพบว่าผู้เรียบเรียงยังมีบทบาทต่อการกำหนดกรอบความคิดของผู้รับสารตามแนวทางการวางกรอบเรื่องเล่าในการแปล กล่าวคือ พบว่ามีการกำหนดกรอบโดยการเลือกสรรข้อมูลมากที่สุด ร้อยละ 47 ตามด้วยการกำหนดกรอบโดยการเลือกใช้ถ้อยคำตีตรา ร้อยละ 23 การกำหนดกรอบโดยการเปลี่ยนตำแหน่งผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ ร้อยละ 16 และการกำหนดกรอบโดยการใช้เงื่อนเวลาและสถานที่ ร้อยละ 14 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความเป็นกลาง หลีกเลี่ยงประเด็นละเอียดอ่อน และลดความเอนเอียงในการนำเสนอข่าว


การแปลศัพท์เฉพาะทางในข้อเสนอกฎหมายการบริการดิจิทัลและข้อเสนอกฎหมายการตลาดดิจิทัลของสหภาพยุโรป, นพรุจ พงษ์สิทธิถาวร Jan 2021

การแปลศัพท์เฉพาะทางในข้อเสนอกฎหมายการบริการดิจิทัลและข้อเสนอกฎหมายการตลาดดิจิทัลของสหภาพยุโรป, นพรุจ พงษ์สิทธิถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นวิจัยประเภทโครงการแปลในหัวข้อ ‘การแปลศัพท์เฉพาะทางในข้อเสนอกฎหมายการบริการดิจิทัลและข้อเสนอกฎหมายการตลาดดิจิทัลของสหภาพยุโรป’ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทฤษฎีและแนวทางด้านการแปลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาแนวทางการวิเคราะห์ตัวบทประเภทกฎหมาย 2) เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายการให้บริการดิจิทัลและกฎหมายการตลาดดิจิทัล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างคำศัพท์และบัญญัติศัพท์เฉพาะทาง 4) เพื่อแปลคำศัพท์เฉพาะทางเกี่ยวกับกฎหมายดิจิทัลจากข้อเสนอกฎหมายการให้บริการดิจิทัลและข้อเสนอกฎหมายการตลาดดิจิทัลในส่วนของบทนิยามและอภิธานศัพท์ที่คณะกรรมาธิการยุโรปจัดทำขึ้นในเว็บไซต์ของตน และ 5) เพื่อแปลตัวบทคัดสรรจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจากข้อเสนอกฎหมายทั้งสองฉบับ ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การแปลคำศัพท์เฉพาะทางเกี่ยวกับกฎหมายดิจิทัลและตัวบทคัดสรรในข้อเสนอกฎหมายการให้บริการดิจิทัลและกฎหมายการตลาดดิจิทัลให้สามารถถ่ายทอดความหมายได้ครบถ้วนและเหมาะสมนั้น จะต้องใช้วิธีการแปลบัญญัติศัพท์ทั้งหมดสามวิธี ได้แก่ 1) วิธีทาบเทียบ (mapping-matching) 2) วิธียืมตรง (direct borrowing) 3) วิธียืมตรงโดยมีคำอธิบายเสริมสั้น ๆ ผลการศึกษาในภาพรวมสนับสนุนสมมติฐานโดยพบว่า วิธีการแปลบัญญัติศัพท์ด้วยวิธีทาบเทียบ (mapping-matching) สามารถนำมาใช้ได้กับคำศัพท์ที่คัดสรรทั้งหมด 17 คำ เช่น Content moderation, Digital Services Coordinator, Very Large Online Platforms คำกลุ่มนี้จะเป็นคำที่ความหมายสามารถนำคำไทยที่มีอยู่แล้วมาแปลเทียบรายคำได้ เนื่องจากมีความหมายไม่ซับซ้อนหรือมีความหมายคนที่ภาษาไทยมีคำที่ใช้แทนความหมายได้อย่างตรงตัวอยู่แล้ว วิธีการแปลบัญญัติศัพท์ด้วยวิธียืมตรง (direct borrowing) สามารถนำมาไปใช้กับคำศัพท์ที่คัดสรรทั้งหมดสามคำ ได้แก่ online interface, cloud computing services, และ software application คำกลุ่มนี้จะเป็นคำที่มีใจความที่ใหม่สำหรับวัฒนธรรมไทย และมีความหมายค่อนข้างซับซ้อน ทำให้ไม่มีคำไทยเดิมที่เหมาะแก่การนำมาใช้เพื่อสื่อความได้อย่างสั้นและกระชับ วิธีการแปลบัญญัติศัพท์ด้วยวิธียืมตรงโดยมีคำอธิบายเสริมสั้น ๆ ไม่ปรากฏคำศัพท์คัดสรรที่ต้องใช้วิธีนี้ในการแปล นอกจากนี้ วิธีการแปลนอกเหนือจากสมมติฐานที่ผู้วิจัยนำมาใช้มีสามวิธี ได้แก่ 1) แปลโดยการใช้คำศัพท์ที่มีอยู่แล้วประกอบคำอธิบายเพิ่มเติมและใช้แนวทางการบัญญัติศัพท์ด้วยวิธีทาบเทียบ (mapping-matching) (8 คำ) 2) แปลแบบตีความและใช้แนวทางการบัญญัติด้วยวิธีแปลยืม (loan translation) ในส่วนหนึ่งของคำและแปลโดยใช้วิธียืมตรง (direct borrowing) ในอีกส่วนหนึ่ง (1 คำ) และ 3) แปลแบบตีความและใช้แนวทางการบัญญัติด้วยวิธีทาบเทียบ (mapping-matching) ในส่วนหนึ่งของคำและแปลโดยใช้วิธียืมตรง (direct borrowing) ในอีกส่วนหนึ่ง (1 คำ)


การแปลคำศัพท์ด้านวัฒนธรรมภาษาฟาร์ซี (อัฟกานิสถาน) ในนวนิยายเรื่อง A Thousand ​Splendid Suns ของ Khaled Hosseini, พนิตนุช สัจจมงคล Jan 2021

การแปลคำศัพท์ด้านวัฒนธรรมภาษาฟาร์ซี (อัฟกานิสถาน) ในนวนิยายเรื่อง A Thousand ​Splendid Suns ของ Khaled Hosseini, พนิตนุช สัจจมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษากลวิธีการแปล ลักษณะภาษาและระบบเสียงของภาษาฟาร์ซี ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศอัฟกานิสถานเพื่อทำความเข้าใจกลวิธีการแปล ลักษณะเสียงของภาษาฟาร์ซี ฉากของเรื่อง ความเป็นอยู่ของตัวละครและสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอัฟกันแล้วประยุกต์ใช้ในจัดการกับคำศัพท์ทางวัฒนธรรมภาษาฟาร์ซี (อัฟกานิสถาน) ในวรณกรรมเรื่อง A Thousand Splendid Suns ของคอลิด ฮุซัยนีย์ ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในการศึกษาเพื่อหาแนวทางการแปลคำศัพท์ทางวัฒนธรรมที่เป็นประเด็นวิจัย ได้แก่ ทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์ของคริสเตียอาเน่ นอร์ด แนวทางการวิเคราะห์ตัวบทประเภทวรรณกรรมของทอมลินสันและลินช์-บราวน์ แนวทางการศึกษาวรรณกรรมหลังยุคอาณานิคมของบิล แอชครอฟท์และคณะ การแปลแบบตีความของฌอง เดอลิล การศึกษารูปแบบการแก้ปัญหาในการแปลของแอนโทนี่ พิมประกอบกับนิยามและประเภทของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรมของประเทศอัฟกานิสถาน ลักษณะภาษาฟาร์ซี และการใช้คำทับศัพท์ ทั้งนี้ กรอบการวิเคราะห์ที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จะต้องนำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการวิเคราะห์ตัวบทต้นฉบับ และทฤษฎีการแปลเข้ามาช่วยให้สามารถถ่ายทอดบทแปลได้ใกล้เคียงหรือเทียบเท่าต้นฉบับ โดยเห็นว่าทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์ของคริสเตียอาเน่ นอร์ด แนวทางการวิเคราะห์ตัวบทประเภทวรรณกรรมของทอมลินสันและลินช์-บราวน์ แนวทางการศึกษาวรรณกรรมหลังยุคอาณานิคมของบิล แอชครอฟท์และคณะ การแปลแบบตีความของฌอง เดอลิล การศึกษารูปแบบการแก้ปัญหาในการแปลของแอนโทนี่ พิมประกอบกับนิยามและประเภทของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรมของประเทศอัฟกานิสถาน ลักษณะภาษาฟาร์ซีรวมทั้งจากเอกสารตัวอักษรและการสอบถามเจ้าของภาษาฟาร์ซี และการใช้คำทับศัพท์เพียงพอ ช่วยให้สามารถเลือกกลวิธีการแปลที่เหมาะสมกับการแปลตัวบทต้นฉบับ เพื่อถ่ายทอดจินตภาพและหน้าที่ในฐานะสื่อที่ผู้เขียนต้นฉบับต้องการสื่อไปยังผู้รับสารงานแปล จากการศึกษาทฤษฎีข้างต้นพบว่า การใช้ทฤษฎีต่าง ๆ ดังกล่าวช่วยให้สามารถนำมาประยุกต์สร้างหลักเกณฑ์การทับศัพท์คำศัพท์ทางวัฒนธรรมและเลือกใช้กลวิธีการแปลที่เหมาะสมกับตัวบทให้ถ่ายทอดความหมายและเจตนารมณ์ของผู้เขียนได้อย่างครบถ้วน แต่ด้วยข้อจำกัดทางความรู้ด้านสัทศาสตร์และอรรถศาสตร์ของภาษาฟาร์ซีทำให้ไม่สามารถสร้างหลักเกณฑ์การทับศัพท์จากภาษาฟาร์ซี (อัฟกานิสถาน) เป็นภาษาไทยได้แม่นยำสมบูรณ์


บาดแผลและความทรงจำ: เรื่องเล่าเหตุการณ์ 228 และ ไวต์ เทอร์เรอร์ (White Terror) ในไต้หวัน, รณฤทธิ์ มณีพันธุ์ Jan 2021

บาดแผลและความทรงจำ: เรื่องเล่าเหตุการณ์ 228 และ ไวต์ เทอร์เรอร์ (White Terror) ในไต้หวัน, รณฤทธิ์ มณีพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาการถ่ายทอดความทรงจำบาดแผลเหตุการณ์ 228 และไวต์ เทอร์เรอร์ของไต้หวันในกลุ่มตัวบทคัดสรร โดยมุ่งสำรวจให้เห็นบทบาทของบาดแผลที่เชื่อมร้อยคนระหว่างรุ่นเข้าด้วยกัน การจัดการกับอดีตที่ยังตามมาหลอกหลอนของผู้ที่เจ็บปวดจากความทรงจำบาดแผล และการปรับใช้อดีตเพื่อนิยามความเป็นไต้หวัน กลุ่มตัวบทคัดสรรดังกล่าวได้แก่ The Lost Garden (1991) ของ หลี่ อัง (Li Ang) ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในปีค.ศ.2015 The Third Son (2013) ของ จูลี่ หวู่ (Julie Wu) The 228 Legacy (2013) ของ เจนนิเฟอร์ เจ. โชว์ (Jennifer J. Chow) Green Island (2016) ของชอว์นา หยาง ไรอัน (Shawna Yang Ryan) และสื่อวิดีโอเกมสยองขวัญ Detention (2017) ของ เรด แคนเดิล เกมส์ (Red Candle Games) จากการศึกษากลุ่มตัวบทคัดสรรพบว่า ความทรงจำบาดแผลนั้นมิได้ทำให้ตัวตนหยุดนิ่งอยู่กับบาดแผล หากแต่ยังเปี่ยมล้นด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ผู้ประสบเหตุความทรงจำบาดแผลจะชะงักค้างติดอยู่ในอดีต แต่ก็ยังสามารถเปลี่ยนแปรประสบการณ์ความทรงจำบาดแผลไปสู่เรื่องเล่าอื่นใดได้หลากหลายรูปแบบ ดังนั้นเหตุการณ์ 228 และไวต์ เทอร์เรอร์ของไต้หวัน ในฐานะเหตุการณ์ความทรงจำบาดแผลจึงสามารถปรากฎในเรื่องเล่าหลากรูปแบบได้ เช่น นวนิยายโรแมนติคพาฝัน วิดีโอเกมสยองขวัญ นวนิยายก่อรูปอัตลักษณ์ นวนิยายชีวิตครอบครัวระหว่างรุ่น และนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ รูปแบบของเรื่องเล่าต่างๆดังเผยแสดงในตัวบทคัดสรรดังกล่าวสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจอดีตที่ยังคงหลอกหลอนไต้หวัน ตลอดจนวิธีการที่อัตลักษณ์ความเป็นไต้หวันก่อรูปปรากฎขึ้นมาจากประวัติศาสตร์อันหลอกหลอนนี้


บทบาทของผีไทยในสังคมเมืองร่วมสมัยในนวนิยายชุด ผีมหานคร, สุวภัทร ใจคง Jan 2021

บทบาทของผีไทยในสังคมเมืองร่วมสมัยในนวนิยายชุด ผีมหานคร, สุวภัทร ใจคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัย บทบาทของผีไทยในสังคมเมืองร่วมสมัยในนวนิยายชุด ผีมหานคร วัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ เพื่อศึกษาศึกษาการปรับเปลี่ยนของผีไทยในคติความเชื่อพื้นบ้านและคติทางพระพุทธศาสนามาสู่สังคมเมืองร่วมสมัย ซึ่งในที่นี้คือกรุงเทพมหานคร และศึกษาสภาพของสังคมเมืองร่วมสมัย ตลอดจนประสบการณ์ สภาวะ อารมณ์ความรู้สึกของคนเมืองในนวนิยายออร์บันกอทิกชุด ผีมหานคร จำนวน 4 เล่ม อันประกอบไปด้วย กระสือ ของ RabbitRose กระหัง ของ ทวิวัฒน์ ปอป ของ ธุวัฒธรรพ์ และ เปรต ของ ปราปต์ จากการศึกษาพบว่า แม้สังคมจะมีการพัฒนามาเป็นสังคมเมืองร่วมสมัยด้วยอิทธิพลจากความเป็นสมัยใหม่ แต่ความเชื่อเรื่องผีที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมก็ไม่เคยหายไปจากสังคมไทย ทั้งนี้เนื่องจากผีเป็นผลผลิตของสังคมแต่ละสมัย ดังนั้น ผีไทยทั้ง 4 ชนิดคือกระสือ กระหัง ปอป และ เปรตจึงมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับบริบทของสังคมเมืองร่วมสมัยโดยรับอิทธิพลจากการพัฒนาตามแบบสมัยใหม่และแนวคิดแบบสมัยใหม่ อาทิ ทุนนิยม บริโภคนิยม ปัจเจกนิยม ความเป็นเมือง เป็นต้น ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนของผีแต่ละชนิดยังคงมีรากฐานมาจากคติความเชื่อพื้นบ้านและคติทางพระพุทธศาสนาจึงยังคงเห็นร่องรอยเดิมของผีแต่ละชนิด การปรากฏของผีไทยในสังคมเมืองร่วมสมัยเป็นการมาเผยให้เห็นอีกด้านหนึ่งของสังคมเมืองร่วมสมัยที่เต็มไปด้วยความผิดปกติ ความรุนแรง ความเสื่อมโทรมถดถอยที่ถูกปกปิดด้วยความเป็นปกติจากกฎเกณฑ์ของสังคมเมือง และยังนำเสนอให้เห็นประสบการณ์ อารมณ์ความรู้สึกของคนเมืองในการใช้ชีวิตภายใต้กฎเกณฑ์ของสังคมเมืองที่ไม่อาจถ่ายทอดด้วยคำพูดหรือวิธีการตามปกติได้จึงต้องอาศัยผีที่เป็นสิ่งเหนือธรรมชาติในการช่วยถ่ายทอดประสบการณ์ อารมณ์ความรู้สึกดังกล่าว


A Study Of The Problems Encountered By Interpreters In Translating Criminal Case Examination Questions From Thai Into English, Brian Keith Cutshall Jan 2021

A Study Of The Problems Encountered By Interpreters In Translating Criminal Case Examination Questions From Thai Into English, Brian Keith Cutshall

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The official language used in the Thai judicial system is the Thai central dialect. All documentation and testimony must be submitted in this language. Because of this, all documentation in a foreign language that needs to be submitted to the court must first be translated into Thai. Additionally, non-proficient speakers of Thai (NPT’s) require the services of an interpreter to render their foreign language testimony into Thai during court proceedings. The goal of this research was to study and better understand the types of problems that interpreters in court have in interpreting criminal case examination questions from Thai into English. …


Automatic Subtitling And Machine Translation In Aiding English To Thai Simultaneous Interpretation, Nutdanai Sornchai Jan 2021

Automatic Subtitling And Machine Translation In Aiding English To Thai Simultaneous Interpretation, Nutdanai Sornchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

With the development of automatic speech recognition (ASR) and machine translation (MT) technology in recent years, their uses in simultaneous interpretation (SI) have been a subject of interest. This research, conducted to study these technologies in aiding the SI process, has four participants interpreted (English to Thai) three comparable speeches with automatic subtitling, with MT, and without subtitling. An audience then rated the interpretation renditions and answered a comprehension questionnaire. According to the participants, automatic subtitling allowed them to cross-check their translation, while MT provided a way to decrease the cognitive effort. According to the audience, automatic subtitling has a …


Smartphone-Tapping Vs Hand-Writing: A Comparative Study Of Note-Taking Alternatives For Consecutive Interpretation, Panuwat Sojaiwong Jan 2021

Smartphone-Tapping Vs Hand-Writing: A Comparative Study Of Note-Taking Alternatives For Consecutive Interpretation, Panuwat Sojaiwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tapping on a smartphone has expanded beyond texting, from interpersonal interaction to taking notes in an academic context. More specifically, consecutive interpreters, both novice and experienced, who are accustomed to smartphone tapping on a daily basis may be able to take notes on their smartphones. The study investigates the modern method of tapping on a smartphone as a note-taking alternative to the classic method of pen and paper. Six Thai interpreting students participated in a consecutive interpretation experiment. Participants were given the opportunity to practice both hand-writing and smartphone tapping for their consecutive interpretation tasks. The data was collected in …


User-Side Assessment On English To Thai And Thai To English Machine Interpreting: The Case Of Google Translate, Thatchaphon Silpi Jan 2021

User-Side Assessment On English To Thai And Thai To English Machine Interpreting: The Case Of Google Translate, Thatchaphon Silpi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to assess Google Translate´s effectiveness in English-Thai consecutive interpreting based on users' comprehension and to investigate users’ satisfaction with MI renditions. Ten native speakers of Thai and eight native speakers of English were asked to listen to the translated speeches and complete a questionnaire to assess the Adequacy and Fluency of the MI. The findings showed that in terms of Adequacy of the English to Thai MI participants’ comprehension scores ranged from 2.4 to 3.45 out of 5, while Fluency received less than half of the maximum scores in all areas. In comparison, for the direction of …


การแปลกริยานุเคราะห์ในข้อบังคับการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาและการประชุมคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภา, โกศล อุดมศิลป์ Jan 2021

การแปลกริยานุเคราะห์ในข้อบังคับการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาและการประชุมคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภา, โกศล อุดมศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อหาแนวทางการแปลกริยานุเคราะห์ Shall, May และ Will ในข้อบังคับการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาและข้อบังคับการประชุมคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยมีคำถามการวิจัยว่ากริยานุเคราะห์ทั้ง 3 คำดังกล่าวมีความหมายและหน้าที่ อย่างไรในบริบทกฎหมายและสามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ว่าอะไร ผลการวิจัยจากเอกสารและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องพบว่า กริยานุเคราะห์ Shall, May และ Will ที่ใช้ในข้อบังคับของสหภาพรัฐสภาที่คัดสรรนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของประโยค โดยเฉพาะในฐานะคำบอกทัศนะภาวะปริพัทธซึ่งเป็นเรื่องภาวะหน้าที่ การอนุญาต และการสั่งห้าม ในการแปลคำกริยานุเคราะห์ทั้ง 3 คำในตัวบทดังกล่าว ผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางการแปลซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ Shall เป็นเรื่องของพันธะหน้าที่ May เป็นเรื่องของการอนุญาตและดุลยพินิจ และ Will เป็นเรื่องพันธะหน้าที่ซึ่งเกี่ยวโยงกับอนาคตกาลหรือเงื่อนไข โดยรูปภาษาที่ใช้ขึ้นอยู่ลักษณะการใช้งานในแต่ละประโยคและบริบท โดยสามารถอ้างอิงคำที่ใช้ในข้อบังคับการประชุมของรัฐสภาไทยประกอบการแปลได้ ผลการวิจัยและบทแปลที่ได้จากสารนิพนธ์ฉบับนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกรัฐสภา เจ้าหน้าที่รัฐสภา และบุคคลในวงงานรัฐสภาในการนำไปใช้ในภารกิจด้านรัฐสภาระหว่างประเทศของรัฐสภาไทย รวมถึงต่อผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการแปลกริยานุเคราะห์ในบริบทต่าง ๆ ต่อไป


การแปลภาษาถิ่นจาเมกาในนวนิยายยุคหลังอาณานิคม เรื่อง The Book Of Night Women โดย มาร์ลอน เจมส์, หรรษา ต้นทอง Jan 2021

การแปลภาษาถิ่นจาเมกาในนวนิยายยุคหลังอาณานิคม เรื่อง The Book Of Night Women โดย มาร์ลอน เจมส์, หรรษา ต้นทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาแนวทางการแปลภาษาถิ่นจาเมกาในวรรณกรรมยุคหลังอาณานิคมเรื่อง The Book of Night Women ของ Marlon James ซึ่งเป็นนวนิยายที่สะท้อนถึงความหลากหลายทางภาษา ชาติพันธุ์และวัฒนธรรมในประเทศจาเมกาผ่านการใช้ภาษาของผู้เขียน ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดหลังอาณานิคม แนวคิดวรรณกรรมยุคหลังอาณานิคม ลักษณะภาษาถิ่นจาเมกา ลักษณะภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาไทยถิ่นโคราช ลักษณะภาษาเก่า รวมทั้งแนวทางการแปลภาษาถิ่นและภาษาต่างมาตรฐานอื่น ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการแปลที่รักษาความหลากหลายทางภาษาที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศจาเมกา ผลการวิจัยพบว่าการแปลเพื่อรักษาความหลากหลายทางภาษาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของสารนิพนธ์ฉบับนี้ทำได้โดยการวิเคราะห์ลักษณะภาษาที่ใช้ในตัวบทต้นฉบับและนำมาเทียบเคียงกับลักษณะของภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาไทยถิ่นโคราชเพื่อถ่ายทอดภาษาที่แตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของตัวละคร เกิดเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการแปลที่สามารถถ่ายทอดความหลากหลายทางภาษาจนนำไปสู่การถ่ายทอดต้นฉบับได้อย่างใกล้เคียง นอกจากนี้ แนวทางการแปลนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการต่อต้านอำนาจอาณานิคมและช่วยส่งเสริมการแสดงออกถึงอัตลักษณ์และตัวตนของคนที่ใช้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาศูนย์กลาง


การแปลบทสนทนาภาษาถิ่น Irish English ในนวนิยายเรื่อง The Commitments โดย Roddy Doyle, พิมพ์สุจี กิติโชตน์กุล Jan 2021

การแปลบทสนทนาภาษาถิ่น Irish English ในนวนิยายเรื่อง The Commitments โดย Roddy Doyle, พิมพ์สุจี กิติโชตน์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการแปลลักษณะภาษาถิ่น Irish English หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ภาษา Hiberno-English ในนวนิยายหลัง อาณานิคมเรื่อง The Commitments จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ซึ่งตัวบทมีการใช้ภาษาอังกฤษต่างมาตรฐาน รวมไปถึงคำหยาบและคำสแลงที่มีความแตกต่างจากภาษาปลายทางเป็นอย่างมาก ผู้วิจัยได้นำแนวทางการศึกษาวรรณกรรมยุคหลังอาณานิคมของบิล แอชครอฟท์และคณะ ลักษณะของภาษา Hiberno-English และทฤษฎีภาษาศาสตร์ระบบ-หน้าที่ของเอ็ม.เอ.เค. ฮัลลิเดย์ และคณะ มาใช้เป็นแนวทางการแปลเพื่อสร้างความหลากหลายทางภาษาและถ่ายทอดภาษา Hiberno-English ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชนชั้นแรงงานในไอร์แลนด์ยุคหลังอาณานิคม ผลการวิจัยพบว่า การแปลเพื่อรักษาความหลากหลายทางภาษาเป็นเป้าหมายหลักของสารนิพนธ์ฉบับนี้ ซึ่งทำได้โดยการแปลให้ความสำคัญกับตัวลักษณะภาษาที่ต่างมาตรฐานในตัวบทและประยุกต์ใช้ความต่างมาตรฐานของภาษาพูดในปลายทางผสมผสานกับภาษาถิ่นไทยกาญจนบุรี แนวทางการแปลเพื่อสะท้อนความหลากหลายทางภาษานี้สามารถสะท้อนการต่อต้านอำนาจอาณานิคม ช่วยแก้ปัญหาในการวิจัย และนำไปสู่การถ่ายทอดที่สะท้อนตัวบทต้นฉบับได้อย่างใกล้เคียง


ความขัดแย้งระหว่างศาสนานิยมกับฆราวาสนิยมในอาชญนิยายชุด 'โรเบิร์ต แลงดอน' ของ แดน บราวน์, เกศกนก เฮงจำรัส Jan 2021

ความขัดแย้งระหว่างศาสนานิยมกับฆราวาสนิยมในอาชญนิยายชุด 'โรเบิร์ต แลงดอน' ของ แดน บราวน์, เกศกนก เฮงจำรัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปมความขัดแย้งระหว่างศาสนานิยมและฆราวาสนิยมในอาชญนิยายชุด โรเบิร์ต แลงดอน ของแดน บราวน์ อาชญากรรมชุดดังกล่าวเรื่องแต่งที่นำเสนอการปะทะกันระหว่างผู้นิยมศาสนาอย่างสุดโต่งกับผู้คนในโลกฆราวาส โดยนำเสนอทั้งความรุนแรงที่ฝ่ายศาสนานิยมเป็นผู้ก่อและความรุนแรงที่ฝ่ายฆราวาสนิยมเป็นผู้ก่อผ่านอาชญากรรมที่ปรากฏในตัวบท นักสืบที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งและทำให้สังคมกลับสู่สภาพปกติอีกด้วย ผลการศึกษาพบว่าอาชญนิยายชุด โรเบิร์ต แลงดอน ใช้รูปแบบอาชญนิยายและการสืบสวนสอบสวนในการนำเสนอความขัดแย้งระหว่างศาสนานิยมและฆราวาสนิยมที่สะท้อนให้เห็นถึงความวิตกกังวลในสังคมปัจจุบัน โดยสาเหตุของความขัดแย้งที่ถูกนำเสนอ ได้แก่ การพยายามช่วงชิงพื้นที่ในสังคมคืนโดยฝ่ายศาสนานิยม การตีความพระคัมภีร์ที่ไม่ตรงกัน การพยายามครอบงำเรื่องเล่าศาสนาด้วยวิถีฆราวาส การใช้องค์ความรู้ทางฆราวาสอย่างสุดโต่ง และการพยายามกำจัดศาสนาออกจากโลกฆราวาส ในขณะเดียวกัน นักสืบของเรื่องที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางและผู้ไกล่เกลี่ย ก็สามารถเข้ามาประนีประนอมความขัดแย้งผ่านการทำความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างศาสนาและโลกฆราวาส จัดการอาชญากรรม และทำให้ผู้อ่านคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาที่ตัวบทนำเสนอได้


สัจนิยมมหัศจรรย์กับการนำเสนอความทรงจำบาดแผลในนวนิยายไทยร่วมสมัย, นภสร เสวกวัง Jan 2021

สัจนิยมมหัศจรรย์กับการนำเสนอความทรงจำบาดแผลในนวนิยายไทยร่วมสมัย, นภสร เสวกวัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์ในการนำเสนอความทรงจำบาดแผลในนวนิยายไทยร่วมสมัยคัดสรร ได้แก่ โลกประหลาดในประวัติศาสตร์ความเศร้า ฉบับปรับปรุงใหม่ (2555) ของศิริวร แก้วกาญจน์ พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ (2559) ของวีรพร นิติประภา และวายัง อมฤต (2561) ของอนุสรณ์ ติปยานนท์ ผลการศึกษาพบว่า การใช้องค์ประกอบสัจนิยมควบคู่ไปกับความมหัศจรรย์ภายใต้ตรรกะชุดเดียวกันในการนำเสนอประเด็นความทรงจำบาดแผล ส่งผลให้ความทรงจำบาดแผลซึ่งเป็นอัตวิสัยหรือปรากฏการณ์เชิงนามธรรมในโลกของปัจเจก สามารถปรากฏและดำรงอยู่ในฐานะความจริงอีกรูปแบบหนึ่งทัดเทียมกับความจริงเชิงประจักษ์ พื้นที่สัจนิยมมหัศจรรย์ช่วยให้ความทรงจำบาดแผลที่ไม่สามารถเล่าได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลไม่ถูกลดทอนลงไปเพียงภาพมายาส่วนบุคคล ทั้งยังเผยให้เห็นธรรมชาติที่สลับซับซ้อนและแปลกประหลาดของความทรงจำบาดแผล โดยไม่ตัดสินว่าเป็นเพียงความลวง เนื่องจากไม่สอดคล้องกับการนิยาม “ความจริง” แบบสัจนิยม นอกจากนี้ ลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์เผยให้เห็นว่า ความทรงจำบาดแผลเป็นความจริงอีกรูปแบบหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประสบเหตุและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างล้ำลึกและยาวนาน จนไม่อาจลดทอนให้เป็นเพียงสภาวะทางอารมณ์ของปัจเจกที่ไม่มีผลต่อการทำความเข้าใจสังคมโดยรวม ลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์เน้นย้ำให้เห็นว่า ความทรงจำบาดแผลมีความสำคัญเท่า ๆ กับข้อมูลเชิงประจักษ์ในการทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต อีกทั้งยังเป็นหลักฐานของความเลวร้ายที่ฉายให้เห็นผลกระทบที่ต่อเนื่องยาวนานของประวัติศาสตร์