Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Comparative Literature

Chulalongkorn University

Articles 31 - 60 of 79

Full-Text Articles in Arts and Humanities

การต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษานวนิยายร่วมสมัยที่มีสัตว์เป็นผู้เล่าเรื่อง, กิตติกานต์ หะรารักษ์ Jan 2020

การต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษานวนิยายร่วมสมัยที่มีสัตว์เป็นผู้เล่าเรื่อง, กิตติกานต์ หะรารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางของนวนิยายที่เล่าผ่านมุมมองของสัตว์สามเรื่อง ได้แก่ อะ ด็อกส์ เพอร์โพส โดย ดับเบิลยู. บรูซ แคเมอรอน, เดลตา เดอะ แดนซิง เอลิเฟนท์ : อะ เมมมัวร์ โดย เค. เอ. มอนโร. และ เดอะ ทราเวลลิง แคต ครอนิเคิลส์ โดย ฮิโระ อะริกะวะ ผลการศึกษาพบว่านวนิยายทั้งสามเรื่องเสนอให้สัตว์ต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางในมิติเรื่อง ภาษา เหตุผล และจริยธรรม สำหรับในมิติของภาษา นวนิยายทั้งสามเรื่องเสนอให้เห็นว่าสัตว์ต่อรองกับคุณค่าที่มนุษย์กำหนดให้กับพวกมัน เช่น การเป็นสินค้าหรือการเป็นภาพแทนของสิ่งที่มนุษย์ปรารถนา โดยตัวละครสัตว์สามารถวิพากษ์วิจารณ์หรือชี้แจงต่อการถูกกำหนดนิยามดังกล่าว ต่อมาในมิติเรื่องเหตุผล นวนิยายทั้งสามเรื่องเสนอให้เห็นความสามารถในการคิดและการตระหนักรู้ของสัตว์ สิ่งที่ถูกเสนอในมิตินี้นำไปสู่การปลูกฝังให้มนุษย์เกิดความเห็นอกเห็นใจต่อสิ่งมีชีวิตอื่นเพราะมนุษย์เล็งเห็นคุณสมบัติที่สายพันธุ์มนุษย์มีร่วมกับสายพันธุ์เหล่านั้น สำหรับมิติด้านจริยธรรม นวนิยายสะท้อนให้เห็นว่าสัตว์สามารถแสดงออกในเชิงจริยธรรมได้ แม้ว่าการแสดงออกดังกล่าวจะถูกขับเคลื่อนด้วยสัญชาตญาณ นอกจากนี้ การพิจารณาสัตว์อย่างใคร่ครวญยังอาจทำให้มนุษย์ตระหนักรู้ถึงแง่มุมด้านจริยธรรมของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายทั้งสามเรื่องข้างต้นยังไม่สามารถก้าวข้ามแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากตัวละครสัตว์ยังคงถูกมนุษย์ควบคุมผ่านการทำให้ตัวละครสัตว์เหล่านี้ต้องพึ่งพิงมนุษย์ หรือทำให้มนุษย์ยอมรับ


การนำเสนอความเป็นอื่น: นักแสดงตัวประหลาดในนวนิยายอเมริกันร่วมสมัย, วิริยา ด่านกำแพงแก้ว Jan 2020

การนำเสนอความเป็นอื่น: นักแสดงตัวประหลาดในนวนิยายอเมริกันร่วมสมัย, วิริยา ด่านกำแพงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์การนำเสนอภาพความเป็นอื่นของนักแสดงตัวประหลาดในนวนิยายอเมริกันร่วมสมัยคัดสรร โดยเรื่องเล่าดังกล่าวเผยให้เห็นอิทธิพลของวาทกรรมกระแสหลักที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอื่นทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นวาทกรรมทางการแพทย์และทางเชื้อชาติที่ประกอบสร้างแนวคิดขั้วตรงข้ามเกี่ยวกับความปกติ/ความประหลาด ตลอดจนศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของการแสดงตัวประหลาดและนักแสดงตัวประหลาดในช่วงเวลาที่ถูกนำเสนอในนวนิยายคัดสรร เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์กระบวนการสร้างความหมายของความปกติ/ความประหลาดซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ผลการศึกษาสรุปได้ว่างานเขียนนวนิยายอเมริกันร่วมสมัยคัดสรรที่นำเสนอภาพนักแสดงตัวประหลาด แสดงให้เห็นถึงการใช้วาทกรรมความพิการประกอบกับวาทกรรมการแสดงตัวประหลาดในการประกอบสร้างความเป็นอื่นของนักแสดงตัวประหลาด ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามกลุ่มหรือประเภทที่ตัวละครนักแสดงตัวประหลาดแต่ละตัวถูกพิจารณาจัดวางให้เป็น เช่น ความเป็นอื่นทางด้านเรือนร่างและความเป็นอื่นทางด้านเชื้อชาติ โดยที่จากการวิเคราะห์การสร้างอัตลักษณ์ของตัวละครนักแสดงตัวประหลาดผ่านความสัมพันธ์กับตัวละครอื่น ๆ ที่ปรากฏในนวนิยายคัดสรรพบว่า นวนิยายคัดสรรบางเรื่องแสดงให้เห็นถึงการวิพากษ์และโต้กลับของตัวละครเหล่านี้ต่อแนวคิดเรื่องสภาวะความปกติและอคติทางด้านเชื้อชาติผ่านการใช้ร่างกายทั้งบนและภายนอกเวที อย่างไรก็ตาม ในนวนิยายคัดสรรบางเรื่องยังคงแสดงให้เห็นถึงการผลิตซ้ำการสร้างภาพลักษณ์แบบเหมารวมของบุคคลที่มีร่างกายที่ถูกมองว่า “เบี่ยงเบน” จากบรรทัดฐานและตีตราพวกเขาเหล่านั้นอีกครั้งโดยไม่ตั้งใจ


การแปลนิทานร้อยกรองสำหรับเด็กเรื่อง The Everywhere Bear ของ Julia Donaldson เป็นร้อยกรองภาษาไทย, เอกชัย วังประภา Jan 2020

การแปลนิทานร้อยกรองสำหรับเด็กเรื่อง The Everywhere Bear ของ Julia Donaldson เป็นร้อยกรองภาษาไทย, เอกชัย วังประภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลหนังสือนิทานร้อยกรองสำหรับเด็กเรื่อง The Everywhere Bear ของ จูเลีย โดนัลด์สัน จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ต้นฉบับเป็นตัวบทสื่อผสมระหว่างเนื้อความกับภาพประกอบซึ่งไม่สามารถแยกเป็นเอกเทศได้ ผู้วิจัยจึงศึกษาทฤษฎีการแปลที่เกี่ยวข้องโดยกำหนดแนวทางการแปลเป็นแบบสื่อสารความหมาย ประยุกต์ใช้แนวทางการแปลบทร้อยกรองของเลอเฟอแวร์ วิเคราะห์ตัวบทที่มีสื่อผสมหลายรูปแบบตามแนวคิดของนอร์ดและดิเซอร์โต ประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเกี่ยวเนื่องของกุตต์ และทฤษฎีการสื่อสารรูปแบบผสมของเครสในการแก้ปัญหาการแปล สารนิพนธ์นี้มุ่งเน้นเสนอวิธีการแปลเพื่อสื่อความหมาย ดังนั้นทุกองค์ประกอบในสารนิพนธ์ ตั้งแต่การกำหนดแนวทางการแปล การวิเคราะห์ตัวบทต้นฉบับ การแปลตัวบท จนถึงการแก้ปัญหาการแปล ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ ทฤษฎี และแนวคิดต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นช่วยให้ผู้วิจัยเข้าใจต้นฉบับ แก้ปัญหาการแปล และแปลตัวบทออกมาเป็นบทร้อยกรองภาษาไทยได้อย่างเหมาะสมและมีความสอดคล้องกันระหว่างบทแปลภาษาไทยกับภาพมากที่สุด


การแปลบทร้อยกรองอิสระจากหนังสือเรื่อง Ceremony ของ Leslie Marmon Silko, นิดา สุสัณฐิตพงษ์ Jan 2020

การแปลบทร้อยกรองอิสระจากหนังสือเรื่อง Ceremony ของ Leslie Marmon Silko, นิดา สุสัณฐิตพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการแปลบทร้อยกรองจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ซึ่งผู้วิจัยได้หยิบยกบทร้อยกรองอิสระจากหนังสือเรื่อง Ceremony ของ Leslie Marmon Silko มาเป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีการแปลและแนวทางการแปลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวทางการวิเคราะห์ตัวบทประเภทบทร้อยกรองอิสระซึ่งมีลักษณะเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ ควบคู่ไปกับการศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภาษาถิ่นและความเชื่อของชนพื้นเมืองอเมริกันอินเดียน เพื่อให้สามารถแปลส่วนหนึ่งของตัวบทที่คัดสรรจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้อย่างเหมาะสม สำหรับแนวทางการวิเคราะห์ตัวบท ผู้วิจัยได้เลือกใช้แนวทางการวิจารณ์วรรณกรรมอเมริกันร่วมสมัยผ่านมุมมองวรรณกรรมเชิงนิเวศ ของดารินทร์ ประดิษฐทัศนีย์ เพื่อวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติที่ได้ถ่ายทอดผ่านเนื้อหาและกลวิธีการประพันธ์ นอกเหนือจากนั้น ผู้วิจัยยังได้ใช้ประยุกต์ใช้แนวทางการวิเคราะห์องค์ประกอบแปดประการของกวีนิพนธ์ ของจอห์น แมกเร เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะและรูปแบบการประพันธ์ของบทร้อยกรองแต่ละบท ในส่วนของแนวทางการถ่ายทอดบทร้อยกรองอิสระจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ผู้วิจัยได้เลือกใช้กลวิธีการแปลแบบตีความตามแนวทางการแปลกวีนิพนธ์ของอังเดร เลอเฟอแวร์ ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้รูปแบบและลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมมุขปาฐะที่พบในวัฒนธรรมไทย โดยมีจุดประสงค์ที่จะถ่ายทอดบทร้อยกรองอิสระซึ่งสามารถรักษาความหมายได้อย่างครบถ้วนและสามารถสร้างผลกระทบทางอารมณ์แก่ผู้อ่านได้อย่างทัดเทียมและสอดคล้องกับหน้าที่ของตัวบทต้นฉบับ


การถ่ายทอดความเป็นสมัยใหม่นิยม (Modernism) ในบทกวีนิพนธ์เรื่อง “The Love Song Of J. Alfred Prufrock” โดย ที.เอส. เอเลียต (T.S. Eliot), มิรา อุไรกุล Jan 2020

การถ่ายทอดความเป็นสมัยใหม่นิยม (Modernism) ในบทกวีนิพนธ์เรื่อง “The Love Song Of J. Alfred Prufrock” โดย ที.เอส. เอเลียต (T.S. Eliot), มิรา อุไรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการถ่ายทอดความเป็นสมัยใหม่นิยม (Modernism) ในบท กวีนิพนธ์เรื่อง “The Love Song of J. Alfred Prufrock” โดย ที.เอส. เอเลียต จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแนวคิดสมัยใหม่นิยมในบริบทของโลกตะวันตกและบทวิเคราะห์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการประพันธ์กวีนิพนธ์ของที.เอส. เอเลียต เพื่อนำมาใช้เป็น แนวทางการวิเคราะห์ตัวบท พร้อมทั้งศึกษาแนวคิดสมัยใหม่นิยมที่เกี่ยวข้องกับการประพันธ์ กวีนิพนธ์ในประเทศไทย แนวทางการประพันธ์กวีนิพนธ์ของกวีไทยร่วมสมัย ตลอดจนทฤษฎีการแปลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แนวทางการแปลกวีนิพนธ์ของฟรานซิส อาร์. โจนส์ (Francis R. Jones) รวมถึงแนวคิดเรื่องสัมพันธบท (Intertextuality) และกลวิธีการแปลของลอว์เรนซ์ เวนูติ (Lawrence Venuti) เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการแปลเพื่อถ่ายทอดความเป็นสมัยใหม่นิยมอันเป็นแนวคิดสำคัญของกวีนิพนธ์เรื่องนี้ ผลการวิจัยพบว่า การแปลเพื่อถ่ายทอดความเป็นสมัยใหม่นิยมอันเป็นเป้าหมายหลักของสารนิพนธ์ฉบับนี้ ทำได้ด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์คุณลักษณะต่าง ๆ ที่สะท้อนความเป็นสมัยใหม่นิยมภายในตัวบทต้นฉบับ โดยประยุกต์ใช้โครงสร้างกวีนิพนธ์แบบผิดแผกจาก ขนบของกวีไทยในยุคร่วมสมัย และให้ความสำคัญกับความหมายเป็นหลัก ซึ่งสามารถสะท้อนความเป็นสมัยใหม่นิยมที่ตั้งคำถามต่อขนบ ทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาในการวิจัย และนำไปสู่บทแปลที่สามารถสะท้อนตัวบทต้นฉบับได้อย่างใกล้เคียง


การถ่ายทอดภาพพจน์ประเภทบุคคลวัตและอุปลักษณ์ในการแปลกวีนิพนธ์ เรื่อง Il Penseroso ของ John Milton, ปิยธิดา คำพิพจน์ Jan 2020

การถ่ายทอดภาพพจน์ประเภทบุคคลวัตและอุปลักษณ์ในการแปลกวีนิพนธ์ เรื่อง Il Penseroso ของ John Milton, ปิยธิดา คำพิพจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการแปลบุคคลวัตและอุปลักษณ์ ในบทกวีนิพนธ์ เรื่อง Il Penseroso จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีการกระทำการแปลของคริสติอันเน นอร์ด ทฤษฎีสโคโพสของคาทารินา ไรส์และฮานส์ แฟร์เมีย หลักการแปลกวีนิพนธ์ของอองเดร เลอเฟอแวร์ หลักการแปลกวีนิพนธ์และหลักการแปลอุปมาโวหารของสัญฉวี สายบัว หลักการแปลกวีนิพนธ์ของปราณี บานชื่น และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นแนวทางการแปลเพื่อรักษาสุนทรียภาพและความหมายเดิมในตัวบทต้นฉบับ และถ่ายทอดการใช้ภาพพจน์ที่สะท้อนความเชื่อและความสามารถทางกวีนิพนธ์ของกวี ผลการวิจัยพบว่า การแปลบุคคลวัตและอุปลักษณ์ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของสารนิพนธ์จำเป็นต้องใช้แนวทางการแปลมากกว่าหนึ่งแนวทางเพื่อให้การแปลสัมฤทธิ์ผล โดยในการแปลบุคคลวัตด้านธรรมชาติสามารถใช้การแปลแบบตรงตัวได้ แต่ในการแปลบุคคลวัตด้านวรรณคดีจำเป็นต้องใช้การแปลแบบกึ่งตรงตัวควบคู่ไปกับการแปลเทียบเคียงและการขยายความเพื่อความเข้าใจของผู้อ่าน โดยแนวทางการแปลที่กล่าวถึงนี้สามารถรักษาสุนทรียภาพและความหมายเดิมในตัวบทต้นฉบับไว้ได้ และช่วยแก้ไขปัญหาการแปลจนนำไปสู่การถ่ายทอดการใช้ภาพพจน์ตามต้นฉบับได้อย่างใกล้เคียง


การศึกษาขนบในการแปลชื่อภาพยนตร์บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ (Science Fiction Movies), ณพัฐธิกา จุลเด็น Jan 2020

การศึกษาขนบในการแปลชื่อภาพยนตร์บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ (Science Fiction Movies), ณพัฐธิกา จุลเด็น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาขนบในการแปลชื่อภาพยนตร์บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ (Science Fiction: Sci-fi) ระหว่างช่วงพ.ศ. 2541-2555 และช่วงพ.ศ. 2556-2563 เพื่อค้นหาว่าในยุคหลังการแปลชื่อภาพยนตร์บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์มีขนบการแปลอย่างไร และสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคืออะไร นอกจากนี้ผู้วิจัยยังต้องการศึกษาว่าประเภทย่อยของภาพยนตร์นั้นจะมีผลต่อขนบในการแปลภาพยนตร์หรือไม่ โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกชื่อภาพยนตร์ไซไฟทั้งหมดจำนวน 229 รายชื่อ และได้จำแนกประเภทย่อยของภาพยนตร์ในทั้งสองช่วงเวลาออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ภาพยนตร์ไซไฟ-แอ็คชั่น ภาพยนตร์ไซไฟ-ระทึกขวัญ ภาพยนตร์ไซไฟ-ผจญภัย ภาพยนตร์ไซไฟ-ตลก และภาพยนตร์ไซไฟ-โรแมนติก จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่า ในยุคหลังนั้น กลุ่มภาพยนตร์ที่มีแนวโน้มของขนบในการแปลโดยเคลื่อนเข้าหาวัฒนธรรมปลายทาง ได้แก่ กลุ่มภาพยนตร์ไซไฟ-ตลก โดยสะท้อนผ่านการใช้กลวิธีการแปลแบบตั้งชื่อใหม่ และกลุ่มภาพยนตร์ไซไฟ-โรแมนติก โดยสะท้อนผ่านการใช้กลวิธีการแปลความ ทั้งนี้การใช้กลวิธีการแปลความและการตั้งชื่อใหม่อาจทำให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์และอาจทำให้ผู้ชมตัดสินใจรับชมภาพยนตร์ สำหรับกลุ่มภาพยนตร์ที่มีแนวโน้มของขนบในการแปลเเบบประนีประนอมระหว่างการเคลื่อนเข้าหาวัฒนธรรมต้นทางและปลายทาง ได้แก่ กลุ่มภาพยนตร์ไซไฟ-แอ็คชั่น กลุ่มภาพยนตร์ไซไฟ-ระทึกขวัญ และกลุ่มภาพยนตร์ไซไฟ-ผจญภัย โดยสะท้อนผ่านกลวิธีการแปลแบบทับศัพท์โดยการขยายความเพิ่มเติม ซึ่งการทับศัพท์เป็นการรักษาชื่อในภาษาต้นทาง และการขยายความเพิ่มเติมเป็นการสะท้อนเนื้อหาของภาพยนตร์เพื่อให้ผู้ชมเกิดความสนใจที่จะรับชมภาพยนตร์ดังกล่าว


ประมวลศัพท์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ, ศิริพร เพียรชอบธรรม Jan 2020

ประมวลศัพท์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ, ศิริพร เพียรชอบธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีและกระบวนการจัดทำประมวลศัพท์ และนำความรู้ที่ได้มาสร้างประมวลศัพท์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งประกอบด้วยศัพท์ที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และความเท่าเทียมทางเพศในมิติของการทำงาน สารนิพนธ์ฉบับนี้ยังมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ นักแปล ล่าม ตลอดจนผู้ที่สนใจในประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในการใช้เป็นเอกสารอ้างอิง สารนิพนธ์ฉบับนี้ประยุกต์ใช้ทฤษฎี แนวทาง และหลักการตามกระบวนการจัดทำประมวลศัพท์ที่นักศัพทวิทยาหลายๆ ท่านได้นำเสนอไว้ และจัดทำเป็นประมวลศัพท์ที่ประกอบด้วยศัพท์จำนวนทั้งสิ้น 30 คำ ซึ่งแต่ละคำจะประกอบด้วยข้อมูลศัพท์ภาษาอังกฤษ ศัพท์เทียบเคียงภาษาไทย ประเภทไวยากรณ์ ขอบเขตข้อมูล นิยาม บริบทการใช้ศัพท์ รูปศัพท์อื่นที่เกี่ยวข้อง และหมายเหตุแสดงข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์


โครงการวิจัยแนวทางการแปลถ้อยคำที่สะท้อนอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในตัวบทโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบนเว็บไซต์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย, อรสุรางค์ แสงสมสุรศักดิ์ Jan 2020

โครงการวิจัยแนวทางการแปลถ้อยคำที่สะท้อนอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในตัวบทโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบนเว็บไซต์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย, อรสุรางค์ แสงสมสุรศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในตัวบทโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รวมถึงศึกษากลวิธีการถ่ายทอดอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์จากต้นฉบับไปยังฉบับแปล การวิจัยนี้รวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอางสำหรับตกแต่งทั้งหมด 240 ผลิตภัณฑ์จากเว็บไซต์ตราสินค้าที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยศึกษาแนวคิดอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ตามแนวภาษาศาสตร์ปริชานของ Lakoff และ Johnson (2003) แนวทางการระบุรูปภาษาแสดงอุปลักษณ์จากกลุ่มนักวิชาการ Pragglejaz Group (2007) และการจัดประเภทกลุ่มคำศัพท์ตามวงความหมายจากงานวิจัยเกี่ยวกับอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในตัวบทประเภทต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาลักษณะภาษาโฆษณาและประเภทอุปลักษณ์ที่พบในโฆษณาเครื่องสำอางในภาษาอังกฤษและภาษาไทย และจากการศึกษาแนวทางการแปลอุปลักษณ์ตามแนวคิดแบบดั้งเดิมและตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน ผู้วิจัยได้เลือกใช้กรอบการวิเคราะห์กลวิธีการแปลที่ผสมผสานกันของ Deignan et al. (1997) Schäffner (2004) และ Toury (1995) ผลการวิจัยพบว่า ในตัวบทโฆษณาเครื่องสำอางภาษาอังกฤษที่คัดเลือกมามีอุปลักษณ์ทั้งหมด 29 ประเภท มีจำนวนรูปภาษาที่แสดงอุปลักษณ์ทั้งหมด 1,391 ตัวอย่าง ผู้วิจัยเลือกอุปลักษณ์ที่พบสูงสุดใน 10 อันดับแรก ได้แก่ อุปลักษณ์สงคราม แสง มนุษย์ สุขภาพ พืชและการเพาะปลูก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องจักร ศิลปะ อาหารและโภชนาการ และภาชนะ ซึ่งจำนวนรูปภาษาที่แสดงอุปลักษณ์ทั้งหมด 1,166 ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์อุปลักษณ์ที่พบในฉบับแปลและกลวิธีการแปล พบว่าภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีอุปลักษณ์ทั้งหมดนี้เหมือนกัน ผลการวิเคราะห์กลวิธีการแปลเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวคือ พบว่ากลวิธีการแปลที่พบมากที่สุดคือ 1) การแปลโดยรักษามโนทัศน์เดิม แต่รูปภาษาแสดงอุปลักษณ์ต่างจากต้นฉบับ ร้อยละ 51.41 ตามด้วย 2) การแปลโดยรักษามโนทัศน์เดิม และรูปภาษาแสดงอุปลักษณ์ตรงตามต้นฉบับ ร้อยละ 26.90 3) การแปลโดยไม่รักษามโนทัศน์ (ไม่มีรูปภาษาแสดงอุปลักษณ์) ร้อยละ 12.93 4) การแปลโดยใช้มโนทัศน์ที่แตกต่างกัน ร้อยละ 4.62 และ 5) การละไม่แปล ร้อยละ 4.11 นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการเพิ่มมโนทัศน์ที่ไม่ปรากฏในต้นฉบับเข้ามาในฉบับแปลด้วย โดยสรุป การถ่ายทอดอุปลักษณ์เชิง มโนทัศน์ในตัวบทโฆษณาเครื่องสำอางจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทแทบไม่พบปัญหาในการแปลที่มาจากปัจจัยทางวัฒนธรรมซึ่งอาจเป็นเพราะวัฒนธรรมปลายทางรับค่านิยมและวัฒนธรรมจากต่างชาติโดยเฉพาะเรื่องความงามมาอย่างยาวนาน จึงสามารถรักษามโนทัศน์เดิมในต้นฉบับได้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนกลวิธีการแปลอื่น ๆ แสดงให้เห็นการปรับบทแปลในตัวบทโฆษณาเครื่องสำอาง


การแปลมนต์คาถาในนิยายภาพเรื่อง Zatanna ของ Paul Dini, ธัญจิรา จันทร์ประสิทธิ์ Jan 2020

การแปลมนต์คาถาในนิยายภาพเรื่อง Zatanna ของ Paul Dini, ธัญจิรา จันทร์ประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เรื่องนี้มุ่งหาแนวทางการแปลมนต์คาถาซึ่งเป็นศิลปะการเล่นทางภาษาแบบร่ายกลับหลังและพาลินโดรมในนิยายภาพเรื่อง ซาแทนน่า (Zatanna) ของ พอล ดินี (Paul Dini) ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการแปลไว้ 3 แนวทาง ได้แก่ 1. การประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องขนบการแปลของ กิเดียน ทูรี (Gideon Toury) ร่วมกับทฤษฎีวัจนกรรมของ เจ. แอล. ออสติน (J. L. Austin) และกระบวนการภารตานุวาทของ อัสนี พูลรักษ์ เพื่อเป็นแนวทางที่จะทำให้ผู้อ่านบทแปลภาษาไทยยอมรับได้ตามขนบภาษาเวทมนตร์ของไทย 2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีประเด็นสัมพันธ์ของ เออร์เนสต์ ออกัส กัตต์ (Ernest – August Gutt) ร่วมกับกลวิธีการแปลการเล่นคำของ เดิร์ก เดอลาบาสติตา (Dirk Delabastita) เพื่อทดแทนการเล่นทางภาษาของต้นฉบับและสร้างผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุดทั้งในแง่ของความหมายและการเล่นทางภาษา ซึ่งศิลปะการเล่นทางภาษาของไทยที่ผู้วิจัยเลือกใช้ คือ การเล่นคำผวนและฉันทลักษณ์ของกลบท และ 3. การปรับใช้กลวิธีการแปลการ์ตูนของ มิฮาล โบโดโร (Michal Borodo) เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาและวัจนลีลาของต้นฉบับภาษาอังกฤษออกมาเป็นบทแปลภาษาไทยได้อย่างสมจริงที่สุด ผลการศึกษาพบว่า การใช้คำยืมภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตตามกระบวนการภารตานุวาทสามารถช่วยยกระดับภาษาของมนต์คาถาให้มีความศักดิ์สิทธิ์ตามขนบการใช้ภาษาเวทมนตร์ของไทย การเล่นคำผวนและฉันทลักษณ์ของกลบทเป็นกลวิธีที่สามารถสร้าง ผลลัพธ์ (Effect) ที่มีความใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุดและเป็นการเล่นคำที่ผู้ใช้ภาษาไทยส่วนใหญ่คุ้นเคย จึงไม่ต้องใช้ความพยายามในการทำความเข้าใจ (Effort) เกินความจำเป็น และการปรับใช้กลวิธีการแปลการ์ตูน ซึ่งประกอบด้วย การแปลแบบเพิ่ม (Addition) การแปลแบบลด (Condensation) และการแปลแบบแปลง (Transformation) ก็เป็นประโยชน์ต่อการแปลมนต์คาถาและข้อความทั้งหลายเช่นกัน


ตุ๊ดทะลุมิติ (พิภพจอมนาง): การยั่วล้อแบบเควียร์ในฐานะบทวิพากษ์บรรทัดฐานของสังคมรักต่างเพศ, คณิน ฉัตรวัฒนา Jan 2020

ตุ๊ดทะลุมิติ (พิภพจอมนาง): การยั่วล้อแบบเควียร์ในฐานะบทวิพากษ์บรรทัดฐานของสังคมรักต่างเพศ, คณิน ฉัตรวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยการยั่วล้อแบบเควียร์ในฐานะบทวิพากษ์บรรทัดฐานของสังคมรักต่างเพศ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ เพื่อศึกษาการนำเสนอภาพของกลุ่มเควียร์ในนวนิยายแฟนตาซีชุด ตุ๊ดทะลุมิติ (พิภพจอมนาง) จำนวน 6 เล่ม ของ นปภา จากการศึกษาพบว่าการใช้องค์ประกอบของความเป็นแฟนตาซีในการพากลุ่มตัวละครเอกเควียร์เดินทางทะลุมิติไปยังดินแดนเสมือนจีนโบราณและเข้าไปสวมบทบาทอยู่ในร่างของอิสตรี ไม่ใช่การสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของกลุ่มเควียร์ในลักษณะที่สยบยอมต่อขนบโดยดุษณี หากแต่เป็นการแสดงให้สมบทบาทเพื่อสร้างการยอมรับในสังคม อีกทั้งการแสดงตัวตนภายนอกโดยสวมใส่เรือนร่างสตรีตามขนบนิยมรักต่างเพศที่สวนทางกับตัวตนภายในของกลุ่มตัวละครเอกเควียร์ สอดคล้องกับการยั่วล้อแบบเควียร์แคมป์ (camp) ซึ่งเป็นการยั่วล้อที่มุ่งวิพากษ์บรรทัดฐานสังคมรักต่างเพศผ่านการแสดง โดยการยั่วล้อบรรทัดฐานสังคมรักต่างเพศที่ปรากฏอยู่ในนวนิยายชุดนี้ ไม่เพียงเผยให้เห็นข้อจำกัด ความคับแคบ และความรุนแรงของบรรทัดฐานรักต่างเพศ แต่ยังนำเสนอให้เห็นถึงการฉวยใช้ช่องโหว่ของกรอบกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนด เพื่อเอื้อประโยชน์ให้เกิดแก่ตนเองและพวกพ้องเควียร์อีกด้วย


ประมวลศัพท์เรื่องกฎหมายการแข่งขันทางการค้า, กาญจนาภรณ์ พ่วงสุวรรณ Jan 2019

ประมวลศัพท์เรื่องกฎหมายการแข่งขันทางการค้า, กาญจนาภรณ์ พ่วงสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประมวลศัพท์เรื่องกฎหมายการแข่งขันทางการค้า ประกอบด้วยคำศัพท์ในส่วนที่เป็นลักษณะทั่วไป หลักเกณฑ์การพิจารณาการกำหนดตลาด ผู้ที่มีส่วนในตลาด โครงสร้างตลาด และพฤติกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้า โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงและแหล่งที่รวบรวมความรู้ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจศึกษากฎหมายฉบับนี้ ในการจัดทำประมวลศัพท์ฉบับนี้ ได้ศึกษาและนำทฤษฎีและแนวทางการจัดทำประมวลศัพท์ของนักศัพทวิทยาและสำนักต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ โดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้ 1) การกำหนดหัวข้อ ขอบเขตการศึกษา แลวัตถุประสงค์ในการจัดทำประมวลศัพท์ 2) การศึกษาทฤษฎีและระเบียบวิธีในการจัดทำประมวลศัพท์ 3) การรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำคลังข้อมูลภาษา และการดึงคำศัพท์เฉพาะทาง 4) การสร้างมโนทัศน์สัมพันธ์ 5) การจัดทำบันทึกข้อมูลศัพท์เบื้องต้นและบันทึกข้อมูลศัพท์เพื่อกำหนดนิยามและคำศัพท์เทียบเคียงในภาษาไทย ประมวลศัพท์เรื่องกฎหมายการแข่งทางการค้านี้ประกอบด้วยคำศัพท์ทั้งหมด 36 คำ ซึ่งนำเสนอตามการจัดกลุ่มและลำดับของมโนทัศน์สัมพันธ์ การนำเสนอคำศัพท์แต่ละคำนั้น ประกอบด้วยคำศัพท์ภาษาอังกฤษ คำศัพท์เทียบเคียงในภาษาไทย คำนิยาม ประเภททางไวยากรณ์ หมวดหมู่ บริบทอ้างอิงที่พบคำศัพท์ รูปทางภาษาอื่นของคำศัพท์ ความสัมพันธ์กับคำศัพท์อื่น เป็นต้น


การศึกษากลวิธีการแปลคำนามและวลีที่ใช้เรียกสตรีเพศ ในสำนวนแปลเรื่อง ห้องส่วนตัว โดย มาลินี แก้วเนตร จากความเรียงแนวสตรีนิยมเรื่อง A Room Of One's Own ของ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ, เยาวลักษณ์ กงษี Jan 2019

การศึกษากลวิธีการแปลคำนามและวลีที่ใช้เรียกสตรีเพศ ในสำนวนแปลเรื่อง ห้องส่วนตัว โดย มาลินี แก้วเนตร จากความเรียงแนวสตรีนิยมเรื่อง A Room Of One's Own ของ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ, เยาวลักษณ์ กงษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปลคำนาม และวลีที่ใช้เรียกสตรีเพศ ในสำนวนแปลเรื่อง ห้องส่วนตัว โดย มาลินี แก้วเนตร จากความเรียงแนวสตรีนิยมเรื่อง A Room of One’s Own ของ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมคำนาม และวลีที่ใช้เรียกขานหรือกล่าวถึงสตรีเพศ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 33 คำ เช่น คำว่า feminist, girl, female, wife, lady, woman/women, harlot, courtesan เป็นต้น โดยที่ผู้วิจัยต้องการพิสูจน์สมมติฐานที่ว่า ในการแปลคำนาม และวลีที่ใช้เรียกสตรีเพศ ในสำนวนแปลเรื่อง ห้องส่วนตัว นี้ มีการใช้ 3 กลวิธี ได้แก่ การแปลตรงตัว การแปลแบบตีความ และการแปลแบบทับศัพท์ ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ในสำนวนแปลดังกล่าวพบว่ามีการใช้ทั้ง 3 กลวิธีดังกล่าวจริง โดยกลวิธีที่ปรากฏมากที่สุดคือการแปลแบบตรงตัว คิดเป็นร้อยละ 55.06 เพื่อให้ผู้อ่านได้รับสารจากผู้เขียนครบถ้วน และตรงตามเจตนาของผู้เขียน รองลงมาเป็นการแปลแบบตีความ คิดเป็นร้อยละ 42.69 เพื่อให้บทแปล มีความกระจ่างชัด สละสลวย เป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ยังพบว่า ในบางบริบทจะมีการเพิ่มคำ และละคำไม่แปล ทั้งในกลวิธีการแปลตรงตัว และการแปลแบบตีความ เพื่อให้บทแปลเป็นธรรมชาติ และเนื้อความไม่ซ้ำซ้อน กลวิธีสุดท้ายที่ปรากฏว่ามีการใช้น้อยที่สุดคือการแปลแบบทับศัพท์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2.25 เท่านั้น โดยการแปลแบบ ทับศัพท์ พบได้ใน 2 กรณี ได้แก่ 1. คำภาษาอังกฤษคำนั้นเป็นคำที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี และ 2. คำนั้นเป็นชื่อเรียกตัวละคร ซึ่งมีการใช้การทับศัพท์อย่างกว้างขวางในวงการวรรณกรรม


การถ่ายทอดวัจนลีลาในหนังสือเรื่อง The Seven Lamps Of Architecture ของ John Ruskin, นัทธมน ตั้งตรงมิตร Jan 2019

การถ่ายทอดวัจนลีลาในหนังสือเรื่อง The Seven Lamps Of Architecture ของ John Ruskin, นัทธมน ตั้งตรงมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และคิดค้นกลวิธีการถ่ายทอดวัจนลีลาของตัวบทประเภทอรรถสารที่ประพันธ์ด้วยรูปแบบรจนาสารในตัวบทคัดสรรของหนังสือเรื่อง The Seven Lamps of Architecture ของ John Ruskin เพื่อนำไปสู่บทแปลซึ่งมีอรรถรสเทียบเคียงกับต้นฉบับ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าแนวทางการวิเคราะห์ตัวบทของคริสติอาเน นอร์ด (Christiane Nord) ทฤษฎีสโกพอส (Skopostheorie) ของแคธารินา ไรส์ และ ฮานส์ เจ แฟร์เมียร์ (Katharina Reiss & Hans J. Vermeer) ทฤษฎีการแปลของปีเตอร์ นิวมาร์ก (Peter Newmark) และแนวทางการแปลวัจนลีลา (Stylistic Approaches) ของจีน โบแอส-เบเออร์ (Jean Boase-Beier) รวมถึงความรู้ทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิกในยุควิกตอเรียนของประเทศอังกฤษเพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ตัวบทการวิเคราะห์ปัญหาในการถ่ายทอดวัจนลีลา การวางแผนการแปล และการแก้ปัญหาในการถ่ายทอดวัจนลีลาดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิดต่าง ๆ ข้างต้นโดยยึดกลวิธีการแปลแบบสื่อความ (Communicative Translation) และการแปลแบบครบความ (Semantic Translation) ตามทฤษฎีการแปลของ นิวมาร์กเป็นหลัก ร่วมกับการปรับบทแปลทั้งในระดับคำ วลี และโครงสร้างประโยค จะช่วยแก้ไขปัญหาการแปลตัวบทที่มีการใช้วัจนลีลาโดดเด่นได้ในระดับดี โดยสามารถรักษารูปแบบวัจนลีลาและวรรณศิลป์ดั้งเดิม รวมทั้งสามารถคงอรรถรสเทียบเคียงต้นฉบับไว้ได้


การศึกษาการแปลเทพนิยาย Oscar Wilde เรื่อง The Fisherman And His Sould : เปรียบเทียบสำนวนของ อ.สนิทวงศ์ และสำนวนของ วลัยภรณ์ นาคพันธุ์, ภูษณิศา เขมะเสวี Jan 2019

การศึกษาการแปลเทพนิยาย Oscar Wilde เรื่อง The Fisherman And His Sould : เปรียบเทียบสำนวนของ อ.สนิทวงศ์ และสำนวนของ วลัยภรณ์ นาคพันธุ์, ภูษณิศา เขมะเสวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้ศึกษาการแปลเทพนิยายเรื่อง The Fisherman and His Soul ของออสการ์ ไวลด์ โดยเปรียบเทียบระหว่างสำนวน วิญญาณของชาวประมง ของอ.สนิทวงศ์ และสำนวน ชาวประมงกับจิตวิญญาณ ของวลัยภรณ์ นาคพันธุ์ ผู้วิจัยศึกษาทบทวนทฤษฎีต่างๆ เพื่อหาเกณฑ์ที่เหมาะในการเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างและวิเคราะห์ตัวบทต้นฉบับก่อนลงมือเปรียบเทียบ การศึกษาเปรียบเทียบยืนยันสมมติฐานการวิจัยว่าสำนวนแปลทั้ง ๒ สำนวนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ กล่าวคือ สำนวนของ อ.สนิทวงศ์ เก็บเนื้อหาสำคัญ วรรณศิลป์ นัยยะซ่อนเร้น ตลอดจนวัฒนธรรมต้นทางไว้ค่อนข้างครบถ้วน ทำให้สำนวนของ อ.สนิทวงศ์มีมิติและน่าสนใจกว่าสำนวนของวลัยภรณ์ที่แปลโดยปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของผู้อ่านปลายทาง ซึ่งทำให้นัยยะซ่อนเร้น ความคิด ความเชื่อ ถ้อยคำประชดประชัน อันเป็นเอกลักษณ์ของออสการ์ ไวลด์ไม่ปรากฏเด่นชัด ผลก็คือ สำนวนของ อ.สนิทวงศ์เก็บรักษา “สาร” (message) ของผู้ประพันธ์ เมื่อแปลเป็นภาษาปลายทาง ผู้อ่านชาวไทยจึงได้รับ “สาร” ซึ่งรักษา "รหัสวัฒนธรรม" (culture code) ต้นฉบับได้ครบถ้วน งานวิจัยช่วยให้ได้ข้อสรุปว่า การแปลเทพนิยายที่ดี คือการแปลโดยถ่ายทอดวรรณศิลป์ให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับ และแปลโดยถ่ายทอดวัฒนธรรมต้นฉบับมากกว่าปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมปลายทาง


ประมวลศัพท์เรื่องดัชนีสมรรถนะโรงไฟฟ้า, รังสีนี บัวทอง Jan 2019

ประมวลศัพท์เรื่องดัชนีสมรรถนะโรงไฟฟ้า, รังสีนี บัวทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประมวลศัพท์เรื่องดัชนีสมรรถนะโรงไฟฟ้าซึ่งประกอบด้วยศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะโรงไฟฟ้าด้านความพร้อมเดินเครื่อง ความเชื่อถือได้ และการบำรุงรักษา โดยใช้ทฤษฎีและกระบวนการทางศัพทวิทยาในการจัดประมวลศัพท์อย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้ศัพท์เทียบเคียงภาษาไทยซึ่งเป็นผลผลิตสุดท้ายของการทำประมวลศัพท์ที่มีความเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มผู้ใช้งาน และเป็นประโยชน์ในฐานะเครื่องมือสำหรับนักแปล รวมทั้งเป็นแหล่งอ้างอิงการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับดัชนีสมรรถนะโรงไฟฟ้าแก่วิศวกรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีสมรรถนะโรงไฟฟ้า ระเบียบวิธีการจัดทำประมวลศัพท์นี้ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดหัวข้อและขอบเขตของประมวลศัพท์ กลุ่มเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการจัดทำประมวลศัพท์ 2) การศึกษาและรวบรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับดัชนีสมรรถนะโรงไฟฟ้า 3) การสร้างคลังข้อมูลภาษาจากเอกสารดัชนีสมรรถนะโรงไฟฟ้าที่คัดเลือกไว้ 4) การคัดเลือกศัพท์จากคลังข้อมูลภาษา 5) การกำหนดรูปแบบของมโนทัศน์และมโนทัศน์สัมพันธ์ 6) การจัดทำบันทึกข้อมูลศัพท์เบื้องต้น บันทึกข้อมูลศัพท์ พร้อมนิยามและศัพท์เทียบเคียงภาษาไทย ประมวลศัพท์เรื่องดัชนีสมรรถนะโรงไฟฟ้าประกอบด้วยศัพท์ทั้งหมด 39 คำ โดยจัดเรียงตามกลุ่มมโนทัศน์สัมพันธ์และได้รวบรวมไว้ในดัชนีค้นคำศัพท์ท้ายเล่มตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ บันทึกข้อมูลศัพท์ประกอบด้วย ศัพท์ภาษาอังกฤษ ศัพท์เทียบเคียงภาษาไทย ประเภททางไวยากรณ์ บริบทที่พบศัพท์ นิยาม ข้อมูลทางภาษา เช่น คำเหมือน คำตรงกันข้าม และข้อมูลอ้างอิง


การถ่ายทอดวัจนลีลาในนวนิยายเรื่อง Days Without End ของ เซบาสเตียน แบร์รี่, ณัฐกรณ์ อังสิริเสณี Jan 2018

การถ่ายทอดวัจนลีลาในนวนิยายเรื่อง Days Without End ของ เซบาสเตียน แบร์รี่, ณัฐกรณ์ อังสิริเสณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของวัจนลีลา วิเคราะห์ปัญหา การแปล รวมถึงแก้ปัญหาโดยการหาแนวทางการแปล เพื่อถ่ายทอดวัจนลีลาในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง Days Without End ของเซบาสเตียน แบร์รี อันไม่เป็นไปตามขนบการประพันธ์นวนิยายบางส่วน ให้ได้บทแปลที่ทำหน้าที่ทั้งสื่อความหมาย และให้อรรถรสแก่ผู้อ่านได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับ การถ่ายทอดวัจนลีลาเริ่มจากการศึกษาแนวคิดและระเบียบวิธีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวัจนลีลาประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ทฤษฎีวัจนลีลา ของ พอล ซิมป์สัน (Paul Simpson) ทฤษฎีวัจนลีลาเชิงวจนปฏิบัติศาสตร์ ของ เอลิซาเบธ แบล็ค (Elizabeth Black) และแนวทางการแปลวัจนลีลา ของ ฌ็อง โบส-ไบเออร์ (Jean Boase-Beier) รวมถึงลักษณะการประกอบสร้างทางภาษาเพื่อสร้างความ โดดเด่นให้กับวัจนลีลา และผลงานด้านการแปลวัจนลีลาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอันปรากฎในวรรณกรรมเรื่องอื่น หลังจากที่ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวคิด ระเบียบวิธี และทฤษฎีข้างต้นแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และการแปลเพื่อถ่ายทอดวัจนลีลา พบว่าความรู้ที่ได้จากการศึกษาเหล่านั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาการถ่ายทอดวัจนลีลาจากภาษาของต้นฉบับให้เป็นภาษาปลายทางได้เป็นผลสาเร็จ อย่างไรก็ตาม ยังต้องอาศัยองค์ประกอบด้านความรู้ทางประวัติศาสตร์และบริบททางสังคมที่เป็นฉากหลังของ นวนิยายอย่างละเอียดลึกซึ้ง เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจเนื้อหาและสารของผู้ประพันธ์อันสะท้อนผ่านวัจนลีลาเหล่านั้นให้ได้ดียิ่งขึ้น


การแปลมุกตลกในการ์ตูนเรื่อง พีนัทส์ ของชาลส์ เอ็ม ชูลซ์, ชณิชชา พนาวัฒนวงศ์ Jan 2018

การแปลมุกตลกในการ์ตูนเรื่อง พีนัทส์ ของชาลส์ เอ็ม ชูลซ์, ชณิชชา พนาวัฒนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เล่มนี้เป็นการศึกษาการแปลมุกตลกในตัวบทที่คัดสรรจากการ์ตูนเรื่อง พีนัทส์ ของ ชาลส์ เอ็ม ชูลซ์ สมมติฐานในการวิจัยคือ การแปลมุกตลกในตัวบทที่คัดสรรอาจใช้แนวทางของเคลาส์ ไคน์เดิล (Klaus Kaindl) เพื่อวิเคราะห์ตัวบทตามลักษณะสำคัญและโครงสร้างของการ์ตูนช่อง แนวคิด Visual Narrative Grammar ของ นีล โคห์น (Neil Cohn) เพื่อวิเคราะห์ลำดับการเล่าเรื่อง รายงานการวิจัยการนำเสนอความตลกที่รวบรวมโดย นารีรัตน์ บุญช่วย และทฤษฎีอารมณ์ขัน 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีข่มท่าน (Disparage Theory) ของ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ทฤษฎีผิดฝาผิดตัว (Incongruity Theory) ของ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant) และทฤษฎีปลดปล่อย (Release Theory) ของ ซีคมุนท์ ฟร็อยท์ (Sigmund Freud) เพื่อศึกษาลักษณะและกลวิธีการสร้างมุกตลกและวิเคราะห์มุกตลก รวมทั้งกลวิธีการแปล แบบตีความ (Interpretive Approach) และแนวทางการจัดการทางภาษา (Language Manipulation) ของฌอง เดอลิล (Jean Delisle) เพื่อแปลตัวบทให้เกิดสมมูลภาพเทียบเท่ากับตัวบทต้นฉบับทั้งในด้าน โครงสร้างและความหมาย ผลการศึกษาคือ แนวทางของเคลาส์ ไคน์เดิล และ Visual Narrative Grammar ของ นีล โคห์น สามารถใช้วิเคราะห์ตัวบทโดยรวมและลำดับการเล่าเรื่องของตัวบทที่คัดสรรได้ตามลำดับ และการ วิเคราะห์มุกตลกในตัวบทที่คัดสรรนั้นสามารถใช้การนำเสนอความตลกที่รวบรวมโดย นารีรัตน์ บุญช่วย และ ทฤษฎีอารมณ์ขัน 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีข่มท่าน ของ โทมัส ฮอบส์ ทฤษฎีผิดฝาผิดตัว ของ อิมมานูเอล คานต์ และทฤษฎีปลดปล่อย ของ ซีคมุนท์ ฟร็อยท์ ได้ …


กลุ่มการเมืองในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตร, บัญชา คามิน, และเซีย ระหว่าง พ.ศ.2550-2558, กรวุฒิ นิยมศิลป์ Jan 2018

กลุ่มการเมืองในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตร, บัญชา คามิน, และเซีย ระหว่าง พ.ศ.2550-2558, กรวุฒิ นิยมศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาและกลวิธีการเสียดสีในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตร, บัญชา คามิน, และเซีย ระหว่าง พ.ศ. 2550-2558 และเพื่อศึกษาบริบททางการเมืองและสังคมที่เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองเสื้อเหลืองกับกลุ่มการเมืองเสื้อแดง ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นประเด็นให้นักเขียนแต่ละคนสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กลุ่มการเมืองที่ตนสนับสนุน และเสียดสีกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม ในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตรมีการเสียดสีผ่านโครงสร้างการ์ตูนการเมืองและกลวิธีทางภาษา โครงสร้างการ์ตูนการเมืองมีลักษณะคล้ายกับมุกตลก ส่วนกลวิธีทางภาษา คือ การใช้ภาษาที่ผิดจากขนบหรือมาตรฐานทางภาษา กลวิธีการเสียดสีในการ์ตูนการเมืองของชัย ราชวัตรมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์เชิงลบของกลุ่มการเมืองเสื้อแดง ในฐานะผู้ทุจริตและก่อความวุ่นวายให้กับประเทศ ขณะเดียวกันมีการนำเสนอภาพลักษณ์เชิงบวกให้กลุ่มการเมืองเสื้อเหลืองในฐานะผู้ใช้สันติวิธี ในการเรียกร้องความยุติธรรม ในการ์ตูนการเมืองของบัญชา คามินมีการเสียดสีผ่านภาพล้อตัวละครซึ่งเป็นกลวิธีที่บิดเบือนเรือนร่างและพฤติกรรมของตัวละครนักการเมืองให้มีความผิดเพี้ยน กลวิธีการเสียดสีในการ์ตูนการเมืองของบัญชา คามินมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์เชิงลบให้กับกลุ่มการเมืองเสื้อแดงในฐานะผู้ที่มีความโลภ และตกเป็นทาสประชานิยม ขณะเดียวกันมีการนำเสนอภาพลักษณ์เชิงบวกให้กลุ่มการเมืองเสื้อเหลืองในฐานะผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในการ์ตูนการเมืองของเซียมีการเสียดสีผ่านการใช้สัญลักษณ์ เซียมักจะใช้สัญลักษณ์สองลักษณะ คือ สัญลักษณ์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เพื่อสื่อถึงพฤติกรรมการเมืองที่เป็นไปตามมาตรฐานของสังคม และสัญลักษณ์ที่เฉพาะของเซีย สื่อให้เห็นพฤติกรรมที่ก่อความวุ่นวายให้กับประเทศชาติ กลวิธีการเสียดสีในการ์ตูนการเมืองของเซียมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์เชิงลบให้กับกลุ่มการเมืองเสื้อเหลืองในฐานะผู้สนับสนุนให้ทหารมีอำนาจในการบริหารประเทศ ส่วนกลุ่มการเมืองเสื้อแดงมีภาพลักษณ์เชิงบวกในฐานะผู้ตกเป็นเหยื่อทางการเมืองของรัฐบาลทหาร


การศึกษากลวิธีการแปลประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม "It" ประเภท Dummy Subject ในนวนิยายเรื่อง The Murder Of Roger Ackroyd ของอกาธา คริสตี้ : กรณีศึกษาสำนวนแปลของพิรุณรัตน์, สุนันทา ชัยณรงค์เดชากุล Jan 2018

การศึกษากลวิธีการแปลประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม "It" ประเภท Dummy Subject ในนวนิยายเรื่อง The Murder Of Roger Ackroyd ของอกาธา คริสตี้ : กรณีศึกษาสำนวนแปลของพิรุณรัตน์, สุนันทา ชัยณรงค์เดชากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปลประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม ‘it’ ประเภท Dummy subject ในตัวบทนวนิยาย จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และเพื่อประมวลกลวิธีการแปลจากกรณีศึกษาเรื่อง The Murder of Roger Ackroyd ของอกาธา คริสตี้ และหนังสือแปลเรื่อง คดีฆาตกรรมโรเจอร์ แอ็กครอยด์ โดยพิรุณรัตน์ เนื่องจากภาษาไทยไม่มีโครงสร้างประโยคที่เทียบเท่ากันทางความหมายกับโครงสร้างประโยคเคล็ฟต์ จึงอาจเป็นปัญหาการแปลที่สำคัญได้ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่ประโยคเคล็ฟต์ที่ใช้สรรพนาม ‘it’ ประเภท Dummy subject จานวน 63 ประโยค และกลวิธีการแปลสองระดับ ได้แก่ ระดับโครงสร้างประโยคและระดับคำ ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณสรุปได้ว่า กลวิธีการแปลระดับโครงสร้างประโยคใช้การปรับโครงสร้างประโยคใหม่จำนวน 60 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 95.24 และใช้การรักษาโครงสร้างประโยคตามต้นฉบับจำนวน 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 4.76 ในการปรับโครงสร้างประโยคใหม่พบว่าผู้แปลใช้การหาประธาน หรือการปรับส่วนใด ส่วนหนึ่งของประโยคเป็นประธานมากที่สุด จำนวน 44 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 73.33 รองลงมาได้แก่การเปลี่ยนประโยคเป็นวลี ส่วนกลวิธีการแปลระดับคำใช้การเติมคำเน้นมากที่สุด จำนวน 17 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 26.98 รองลงมาได้แก่การเติมลักษณนาม ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพสรุปได้ว่า การแปลประโยคเคล็ฟต์ในนวนิยายเรื่องนี้ นักแปลใช้กลวิธี การปรับบทแปลระดับโครงสร้างประโยคและระดับคำร่วมกัน โดยไม่รักษารูปแบบโครงสร้างประโยคเคล็ฟต์เสมอไป แต่ยังคงรักษาหน้าที่และเจตนาในการสื่อสารของโครงสร้างประโยคเคล็ฟต์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวทาง การแปลที่นักแปลอาศัยการตีความและทำความเข้าใจความหมายโดยนัยที่สื่อผ่านการใช้ประโยคเคล็ฟต์เป็นหลักก่อน แล้วจึงถ่ายทอดความหมายนั้นเป็นภาษาปลายทางอย่างเป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับแนวทางการแปลแบบตีความที่เดอลีลส์ (1988) นำเสนอ ทฤษฎี Skopostheorie ที่ไร้ส์และแฟร์เมียร์ (1984) นำเสนอ และทฤษฎีวัจนกรรมที่เฮอนิกช์และคุสเมาล์ (1982) นำมาใช้ในการแปล


วรรณศิลป์ อำนาจ และการต่อสู้ทางการเมืองในวรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริท, สุพัชรี เมนะทัต Jan 2018

วรรณศิลป์ อำนาจ และการต่อสู้ทางการเมืองในวรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริท, สุพัชรี เมนะทัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง"วรรณศิลป์ อำนาจและการต่อสู้ทางการเมืองในวรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริท" มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางวรรณศิลป์ในวรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริทที่สัมพันธ์กับการสร้างอำนาจและการต่อสู้ทางการเมือง และศึกษาบริบททางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับวรรณกรรมดังกล่าว กะต่าย โดนสะโสริท (1904-1959) เป็นนักต่อสู้กู้ชาติลาวในช่วงอาณานิคมฝรั่งเศส เป็นผู้บุกเบิกวงการวรรณกรรมสมัยใหม่ของลาวโดยใช้ภาษาฝรั่งเศสเขียนบันเทิงคดี สารคดีและงานเชิงวิชาการ ผลการวิจัยได้ข้อสรุปสามประการดังนี้ ประการแรก วรรณกรรมของกะต่ายมีวรรณศิลป์โดดเด่นเฉพาะตน ได้แก่การเสียดสียั่วล้อ การแฝงนัย การเล่นคำเล่นสำนวน เพื่อโจมตีเจ้าอาณานิคมและศัตรูทางการเมืองผ่านวรรณกรรมประเภทสารคดี อีกทั้งผสมผสานรูปแบบนิทานพื้นบ้านกับวรรณศิลป์ตะวันตกเพื่อประกอบสร้างความเป็นลาว นอกจากนี้ยังเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ตามรูปแบบตะวันตกเพื่อตอบโต้การเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวของชาวตะวันตก ประการที่สอง กะต่ายใช้วรรณกรรมเพื่อแสดงอำนาจและการตอบโต้ทางการเมืองกล่าวคือในยุคต่อสู้กู้ชาติกะต่ายใช้วรรณกรรมเพื่อวิพากษ์วิจารณ์เจ้าอาณานิคม อีกทั้งในเวลาเดียวกันก็เสนอแนวคิดโจมตีขั้วตรงข้ามทางการเมืองด้วย ประการที่สาม วรรณกรรมของกะต่าย โดนสะโสริท ปัญญาชนลาวผู้ได้รับการศึกษาในระบบฝรั่งเศส ใช้ภาษาและรูปแบบวรรณศิลป์รวมถึงแนวคิดแบบฝรั่งเศส ในขณะเดียวกันก็ผสมผสานความเป็นตะวันตกเข้ากับความเป็นพื้นบ้านลาว วรรณกรรมของเขาจึงมีลักษณะพันทางและใช้วรรณศิลป์ในรูปแบบนี้เพื่อโจมตีเจ้าอาณานิคมด้วยเช่นกัน


การศึกษากลวิธีและแนวทางการแปลคำสร้างใหม่ในวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮรร์รี่ พอตเตอร์ โดยเจ.เค. โรว์ลิ่ง (J.K.Rowling) กรณีศึกษาจากสำนวนแปลของสุมาลี บำรุงสุข วลีพร หวังซื่อกุล และงามพรรณ เวชชาชีวะ, นภกาญจน์ เชาวลิต Jan 2018

การศึกษากลวิธีและแนวทางการแปลคำสร้างใหม่ในวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮรร์รี่ พอตเตอร์ โดยเจ.เค. โรว์ลิ่ง (J.K.Rowling) กรณีศึกษาจากสำนวนแปลของสุมาลี บำรุงสุข วลีพร หวังซื่อกุล และงามพรรณ เวชชาชีวะ, นภกาญจน์ เชาวลิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีและแนวทางการแปลคำสร้างใหม่จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ประพันธ์โดยเจ.เค. โรว์ลิ่ง และศึกษาเปรียบเทียบคำแปลคำสร้างใหม่ที่พบในฉบับแปลของสุมาลี บำรุงสุข วลีพร หวังซื่อกุล และงามพรรณ เวชชาชีวะ รวมถึงศึกษาลักษณะและแนวทางการสร้างสรรค์คำสร้างใหม่ในวรรณกรรมชุดนี้ ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องการสร้างและการแปลคำสร้างใหม่ของปีเตอร์ นิวมาร์กเป็นเกณฑ์ในการคัดสรรรวบรวมคำสร้างใหม่ จัดแบ่งประเภทคำสร้างใหม่ในต้นฉบับ และเป็นแนวทางในการวิเคราะห์คำแปล คำสร้างใหม่ในฉบับแปล ควบคู่ไปกับแนวทางการสร้างคำในภาษาไทย แนวคิดสมมูลภาพในการแปล แนวคิดบริบทในการแปล และแนวคิดเรื่องลักษณะของวรรณกรรมเยาวชนแนวแฟนตาซี ผลการวิจัยพบว่าคำสร้างใหม่ในต้นฉบับมี 5 ประเภทคือ คำเดิมที่สื่อความหมายใหม่ คำที่ร้อยเรียงขึ้นมาใหม่ คำที่แปรมาจากรากคำอื่นรวมทั้งการสนธิคำ คำปรากฏร่วมใหม่ และคำสร้างใหม่จากอักษรย่อ และพบกลวิธีการแปลคำสร้างใหม่ในฉบับแปล 6 กลวิธีคือ การทับศัพท์ การแปลตรงตัว การแปลตรงตัวประกอบทับศัพท์ การแปลตรงตัวประกอบตีความ การแปลตรงตัวและใช้อักษรย่อตามคำแปล และการตีความและ สรุปเก็บใจความ ในการเปรียบเทียบกลวิธีการแปลของนักแปลพบว่านักแปลใช้ทุกกลวิธีในการแปล คำสร้างใหม่ไปในทิศทางเดียวกันโดยพิจารณาจากลักษณะเด่นในองค์ประกอบของคำควบคู่ไปกับการพิจารณาบริบท และในการแปลคำสร้างใหม่แต่ละประเภท นักแปลใช้กลวิธีในการแปลที่หลากหลายโดยจะมีอย่างน้อยหนึ่งกลวิธีที่นักแปลใช้เหมือนกัน นอกจากนั้นเป็นการใช้กลวิธีที่เหมือนกันระหว่างสุมาลีกับวลีพร และ สุมาลีกับงามพรรณ เนื่องมาจากพบคำสร้างใหม่ในฉบับแปลของสุมาลีมากที่สุด


การศึกษาแนวทางการแปลข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามในวรรณกรรมเรื่อง "A Series Of Unfortunate Events" ของ Lemony Snicket แปลโดย อาริตา พงศ์ธรานนท์, ณัฐชนน หนูแดง Jan 2018

การศึกษาแนวทางการแปลข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามในวรรณกรรมเรื่อง "A Series Of Unfortunate Events" ของ Lemony Snicket แปลโดย อาริตา พงศ์ธรานนท์, ณัฐชนน หนูแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาแนวทางการแปลข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามในนวนิยายชุด A Series of Unfortunate Events เขียนโดย Lemony Snicket แปลโดย อาริตา พงศ์ธรานนท์ โดยศึกษาจากข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามที่มี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การอธิบายความหมายแบบตรงตัว 2) การอธิบายความหมายตามสถานการณ์ 3) การอธิบายความหมายด้วยการใช้ความหมายมากกว่าหนึ่งความหมาย และ 4) การอธิบายด้วยการหลากคำหรือการใช้คำที่ง่ายกว่าหรือซับซ้อนน้อยกว่า ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ใช้ประกอบการศึกษา ได้แก่ ทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์ของ Christiane Nord ทฤษฎี Scene-and-frame Semantics ของ Charles J. Fillmore และแนวทางการแปลแบบตีความ (Interpretative Approach) ของ Jean Delisle โดยผู้วิจัยใช้ทฤษฎีดังกล่าวในการวิเคราะห์แนวทางการแปลข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามว่าผู้แปลใช้วิธีการใดในการเลือกแปลข้อความลักษณะดังกล่าว หลังจากที่ได้นำทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นมาวิเคราะห์แนวทางการแปลพบว่า ผู้แปลจำเป็นต้องวิเคราะห์ภาพ (Scene) ของต้นฉบับเพื่อให้เห็นภาพและความหมายที่ชัดเจนตามที่ผู้ประพันธ์ต้องการสื่อสาร ก่อนถ่ายทอดฉบับแปลโดยใช้รูปแบบ (Frame) ที่ทำให้เห็นภาพเช่นเดียวกันกับต้นฉบับ ซึ่งในการแปลข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามทั้ง 4 รูปแบบ บางครั้งผู้แปลไม่สามารถแปลตรงตัวได้ จึงจำเป็นต้องปรับรูปแบบทางภาษาให้แตกต่างจากต้นฉบับโดยยึดความหมายเป็นหลักเพื่อให้ผู้อ่านฉบับแปลเห็นภาพเช่นเดียวกับผู้อ่านต้นฉบับ กรณีที่ผู้แปลไม่สามารถแปลแบบตรงตัวได้ ผู้แปลจึงใช้วิธีอื่นในการแก้ปัญหาการแปล เช่น การแปลโดยการอธิบายขยายความ หรือการเลือกที่จะตัดเนื้อความบางส่วนเพื่อให้ข้อความที่มีลักษณะการให้คำนิยามเป็นเหตุเป็นผลในภาษาไทย


การแปลป้ายพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร, ณัฐสุดา แก่นน้อย Jan 2018

การแปลป้ายพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร, ณัฐสุดา แก่นน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการแปลตัวบทในพิพิธภัณฑ์ และแปลตัวบทต้นฉบับบางส่วนในพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร โดยผู้วิจัยเลือกแปลป้ายพิพิธภัณฑ์บรรยายวัตถุที่นำมาจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร รวมทั้งหมด ๑๙๗ ป้าย คือป้ายพิพิธภัณฑ์บริเวณชั้น ๑ ของนิทรรศการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวสวนของชุมชนวัดหนังในอดีต และป้ายพิพิธภัณฑ์บริเวณชั้น ๒ ของนิทรรศการซึ่งจัดแสดงเรื่องยาแผนโบราณของวัดหนัง ผลการศึกษา พบว่าการแปลป้ายแสดงคำบรรยายวัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ นอกจากจะต้องพิจารณาเลือกใช้คำศัพท์ที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่านในวัฒนธรรมปลายทางแล้ว ยังต้องพิจารณาวัตถุที่นำมา จัดแสดงประกอบด้วย เนื่องจากวัตถุที่นำมาจัดแสดงบางชิ้นแม้จะมีชื่อเรียกเหมือนกับคำในวัฒนธรรมปลายทาง แต่ลักษณะเฉพาะของวัตถุชิ้นนั้นไม่เหมือนกับวัตถุในวัฒนธรรมปลายทาง และวัตถุที่นำมา จัดแสดงบางชิ้นไม่พบในวัฒนธรรมปลายทาง โดยผู้วิจัยพบว่าการใช้แนวทางในการวิเคราะห์ตัวบทต้นฉบับ ของคริสติอาเน นอร์ด ทฤษฎีของปีเตอร์ นิวมาร์ก ทฤษฎีหลากรูปแบบ ทฤษฎีเกี่ยวกับการแปลพิพิธภัณฑ์ (Museum Translation) และความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการแปลพิพิธภัณฑ์ สามารถนำมาใช้ในการศึกษาตัวบทและวิเคราะห์ปัญหาที่พบในการแปลป้ายของพิพิธภัณฑ์เพื่อวัดหนังฯ นำไปสู่แนวทางการแปลป้ายพิพิธภัณฑ์ซึ่งผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนคำศัพท์ และโครงสร้างประโยคในภาษาปลายทางที่ใช้ในการแปลใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุที่นำมาจัดแสดง และจะสามารถทำให้ผู้อ่านได้รับความเข้าใจที่ถูกต้องมากที่สุด


ปัญหาเยาวชนและปัญหาสังคมในวรรณกรรมเยาวชนไทยร่วมสมัย, รังสินี หลักเพชร Jan 2018

ปัญหาเยาวชนและปัญหาสังคมในวรรณกรรมเยาวชนไทยร่วมสมัย, รังสินี หลักเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนอปัญหาเยาวชนและปัญหาสังคมในวรรณกรรมเยาวชนไทยร่วมสมัยระหว่าง พ.ศ. 2550 - 2559 ได้แก่ บ้านต่างสายเลือด (2552), ปลายฝน (2553), หัวใจของช้าง (2557) ของอรเกษม รอดสุทธิ, โรงเรียนริมทะเล (2553) ของสาคร พูลสุข, ตามหาโจตัน (2554) ของคามิน คมนีย์, เอ้อระเหยลอยคอ (2555) ของจันทรา รัศมีทอง, เซนในสวน (2557) ของจักษณ์ จันทร, ร่มไม้หนึ่งซึ่งเราตัวเล็ก (2557) ของปันนารีย์ และ เสียงเดือนในเสียงหวูดรถไฟ (2557) ของกร ศิริวัฒโน โดยวิเคราะห์ผ่านองค์ประกอบวรรณกรรม อาทิ ตัวละคร ฉาก แก่นเรื่อง โครงเรื่อง และศึกษาบริบททางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กับการสะท้อนประเด็นปัญหา จากการศึกษาพบว่าผู้ประพันธ์ตัวบทคัดสรรนำเสนอภาพเยาวชนผู้เป็นตัวละครเอกที่ประสบปัญหาจากครอบครัวและสังคมโดยปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาในลักษณะที่รุนแรงหรือคุกคามชีวิตของตัวละคร อาทิ ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง ปัญหาความอ้างว้าง ปัญหาความยากจน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาบริโภคนิยม ปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมในบริบทสังคมไทยร่วมสมัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของครอบครัว ภาพความไม่สมบูรณ์ของครอบครัว อาทิ ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวต่างสายเลือด และครอบครัวอุปถัมภ์ ส่งผลให้เยาวชนผู้เป็นตัวละครเอกได้รับผลกระทบจากปัญหาผ่านความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครเอกกับตัวละครอื่นๆ รอบตัว ได้แก่ พ่อแม่ เพื่อน และครู แสดงให้เห็นอิทธิพลของสังคมที่มีต่อเยาวชนผู้เป็นตัวละครเอก ทั้งนี้ผู้ประพันธ์นำเสนอแนวทางออกของปัญหาโดยนำเสนอให้เยาวชนผู้เป็นตัวละครเอกเรียนรู้และปรับตัว อาทิ การยอมรับและเผชิญหน้ากับความเป็นจริง การให้ความสำคัญกับการศึกษา การประนีประนอม และการปลูกฝังแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้กับผู้อ่าน


ความย้อนแย้งแห่งเสรีภาพในนวนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดง และนวนิยายของมั่วเหยียน, นัยน์พัศ อธิษฐ์พัส Jan 2018

ความย้อนแย้งแห่งเสรีภาพในนวนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดง และนวนิยายของมั่วเหยียน, นัยน์พัศ อธิษฐ์พัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเสรีภาพที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดง และนวนิยายของมั่วเหยียนทั้งหมด 7 เรื่อง ได้แก่ ตำนานรักทุ่งสีเพลิง ลำนำกระเทียม อกโตสะโพกใหญ่ ป่าชายเลน ทัณฑ์ไม้จันทน์ ความเหนื่อยล้าแห่งชีวิตและความตาย และกบ และเพื่อศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมจีนที่สัมพันธ์กับแนวคิดเสรีภาพในวรรณกรรมดังกล่าว ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความย้อนแย้งของเสรีภาพเกิดขึ้นจากเสรีภาพที่มีความหลากหลายและเลื่อนไหลแตกต่างกันในแต่ละยุค กล่าวคือ นวนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดง นำเสนอเสรีภาพของสังคมในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อาทิ เสรีภาพการประกอบอาชีพ เสรีภาพทางการศึกษา เสรีภาพในการสมาคม และเสรีภาพการแต่งงาน เป็นต้น และอุดมการณ์ "เบญจสัมพันธ์" ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเจ้ากับข้า พ่อกับลูก สามีกับภรรยา พี่กับน้อง และเพื่อนกับเพื่อน พันธนาการความสัมพันธ์นอกจากสร้างภาวะความย้อนแย้งของเสรีภาพแล้ว ยังเป็นสาเหตุของการเรียกร้องเสรีภาพ ส่วนนวนิยายของมั่วเหยียนนำเสนอเสรีภาพในบริบทสังคมนิยมที่ตั้งอยู่บนรากฐานความเท่าเทียมตามกฎหมาย อาทิ เสรีภาพการประกอบอาชีพ เสรีภาพการแต่งงาน เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และสิทธิความเท่าเทียม เป็นต้น แต่อิทธิพลของอุดมการณ์ "เบญจสัมพันธ์" และระบบทุนนิยมที่ยังคงฝั่งแน่นอยู่ในสังคม เป็นปัจจัยให้วิถีชีวิตของชาวจีนยังคงดำเนินไปตามครรลองแบบเก่า การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงไปตามกรอบเสรีภาพและแสดงการต่อสู้และต่อรอง จึงนำมาซึ่งภาวะความย้อนแย้งของเสรีภาพ


วิกฤตอัตลักษณ์ความเป็นชายในวรรณกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่สองของคะวะบะตะ ยะซุนะริ, มัทนา จาตุรแสงไพโรจน์ Jan 2018

วิกฤตอัตลักษณ์ความเป็นชายในวรรณกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่สองของคะวะบะตะ ยะซุนะริ, มัทนา จาตุรแสงไพโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิกฤตอัตลักษณ์ความเป็นชายในวรรณกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่สองของคะวะบะตะ ยะซุนะริ โดยศึกษานวนิยายจำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ นวนิยายเรื่อง เสียงแห่งขุนเขา 『山の音』(1954)นวนิยายเรื่อง นิทราเทวี『眠れる美女』(1961)นวนิยายขนาดสั้นเรื่อง แขนข้างเดียว『片腕』(1964)และนวนิยายเรื่อง ดอกแดนดิไลออน『たんぽぽ』(1968)และศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับวรรณกรรมดังกล่าว ผลการวิจัยสรุปได้ว่าวรรณกรรมของคะวะบะตะที่เขียนขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมในช่วงเวลาดังกล่าว การนำเสนอวิกฤตอัตลักษณ์ความเป็นชายในนวนิยายได้แสดงให้เห็นถึงภาพของสังคมญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1950 และทศวรรษ 1960 ซึ่งได้รับผลกระทบจากการพ่ายแพ้สงครามและถูกยึดครองโดยสหรัฐอเมริกา นักเขียนได้ตระหนักถึงสภาวะในขณะนั้นและนำเสนอผ่านตัวละครเอกในนวนิยายที่เป็นตัวเอกปฏิลักษณ์ (antihero) ไร้สมรรถภาพทางเพศ มีความโดดเดี่ยวแปลกแยกจากสังคม ตัวละครได้สะท้อนให้เห็นถึงภาวะไร้ซึ่งอำนาจของเพศชาย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นวิกฤตอัตลักษณ์ความเป็นชายอย่างชัดเจน กล่าวคือ นักเขียนนำเสนอภาพของตัวละครชายที่ล้มเหลวในฐานะผู้นำครอบครัว ปฏิเสธหลีกหนีการเป็นพ่อและสามีที่ดีตามบทบาททางเพศภายใต้ระบบครอบครัวซึ่งผู้ชายถูกกำหนดให้เป็นเพศที่เข้มแข็งและผูกพันกับภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะพ่อและสามี นักเขียนนำเสนอภาพของตัวละครชายที่ประสบกับภาวะโดดเดี่ยวแปลกแยกในสังคมเมืองอันสืบเนื่องจากปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยเฉพาะความสัมพันธ์ชายหญิงที่เป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ตัวละครเหล่านี้จึงเลือกวิธีการต่อรองเพื่อยืนยันความเป็นชายของตนด้วยการแสดงออกถึงความปรารถนาทางเพศในรูปที่บิดเบี้ยวหรือมีรูปแบบพฤติกรรมทางเพศที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤตดังกล่าว ความปรารถนาทางเพศในรูปที่บิดเบี้ยวดังกล่าวถูกนำเสนอผ่านความสัมพันธ์ในลักษณะต้องห้ามที่ถูกกดทับไว้ในระดับจิตไร้สำนึก ซึ่งเผยให้เห็นถึงความวิตกกังวลในบทบาททางเพศหรือความไม่เป็นชายของตัวละคร การนำเสนอวิกฤตอัตลักษณ์ความเป็นชายในวรรณกรรมได้สะท้อนให้เห็นถึงภาพของผู้ชายที่มีความสับสนภายในจิตใจระหว่างความเป็นปัจเจกบุคคลกับโครงสร้างทางสังคมญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าว


Preference In Hiring Interpreters- An Insight Into Recruiters' Persective A Case Study On Recruiters In A German Internatinal Organisation In Thailand, Nalina Hiranprueck Jan 2017

Preference In Hiring Interpreters- An Insight Into Recruiters' Persective A Case Study On Recruiters In A German Internatinal Organisation In Thailand, Nalina Hiranprueck

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research seeks to build upon the issue of recruiter's expectation toward interpreters, which is the realm less explored. As evident in previous research, criteria and expectations towards interpreters deviate among different stakeholders and user groups with different backgrounds. Though the major findings remained quite similar when it comes to the main criteria, the level of expectations is largely less among users of interpreting services, when compared to the interpreters. Thus, one can expect that recruiters are likely to anticipate differently than other stakeholders. This study is designed to understand the underlying rationality of interpreter recruiters in their choice of …


การถ่ายทอดความหมายของอวัจนภาษาโดยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์หลากรูปแบบ (Multimodal Analysis) เพื่อสร้างทางเลือกในการแปลหนังสือการ์ตูน เรื่องอะเวนเจอร์ส : สการ์เลต วิช, เอกเทศ อินทกาญจน์ Jan 2017

การถ่ายทอดความหมายของอวัจนภาษาโดยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์หลากรูปแบบ (Multimodal Analysis) เพื่อสร้างทางเลือกในการแปลหนังสือการ์ตูน เรื่องอะเวนเจอร์ส : สการ์เลต วิช, เอกเทศ อินทกาญจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลตัวบทที่คัดสรรจากหนังสือการ์ตูนเรื่อง อะเวนเจอร์ส : สการ์ เลต วิช (Avengers: Scarlet Witch) โดยเน้นที่การถอดความหมายของอวัจนภาษาโดยใช้การ วิเคราะห์หลากรูปแบบ (multimodal analysis) ร่วมกับกลวิธีการแปลตัวบทชนิดหนังสือการ์ตูนที่ เสนอโดยมิฮาล โบโรโด (Michał Borodo) 3 แบบ กล่าวคือ กลวิธีการแปลแบบลด (condensation) กลวิธีแบบเพิ่ม (addition) และกลวิธีแบบแปลง (transformation) ทั้งนี้เพื่อสร้างทางเลือกในการแปล สำหรับแก้ปัญหาด้านเทคนิคและการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดของการ วิเคราะห์หลากรูปแบบและกลวิธีการแปลดังกล่าวช่วยให้แปลตัวบทที่คัดสรรได้สำเร็จ มีกรอบ ข้อความที่ใช้กลวิธีการแปลแบบลด 92 กรอบ แบบเพิ่ม 49 กรอบ แบบแปลง 104 กรอบ และที่ใช้ กลวิธีแบบตรงตัวหรือตีความ (ไม่ใช่กลวิธีแบบลด เพิ่ม หรือ แปลง) 339 กรอบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในบรรดา 3 กลวิธีการแปลที่เสนอไปนั้น มีการใช้แบบแปลงมากที่สุด เพราะเป็นการผสมผสานกัน ระหว่างกลวิธีแบบลดและแบบเพิ่ม ไม่เน้นไปในทิศทางใดเพียงทิศทางเดียว มีความยืดหยุ่น เอื้อให้ ผู้แปลลดหรือเพิ่มบทแปลได้ตามความประสงค์ แม้ว่าการแปลตัวบทที่คัดสรรนี้จะสำเร็จและ ได้ผลดีเป็นส่วนใหญ่ ทว่ายังมีเนื้อหาในต้นฉบับบางส่วนที่แนวคิดและกลวิธีดังกล่าวยังไม่สามารถ แก้ปัญหาที่พบได้ทั้งหมด เช่นปัญหาทางเทคนิค เพราะยังได้บทแปลที่มีความยาวมาก ยังไม่สามารถ บรรจุลงในกรอบข้อความได้ อีกทั้งการแปลโดยใช้การวิเคราะห์หลากรูปแบบนั้นมีความเป็นอัต วิสัยทำให้การถอดความหมายจากต้นฉบับเดียวกันนั้นมีความเป็นไปได้หลากหลาย


การศึกษาแนวทางการทำบทบรรยายใต้ภาพสองภาษาเพื่อการสอนภาษาอังกฤษผ่านทางเว็บไซต์ Youtube กรณีศึกษา : รายการ Sacross Peachii รายการ Loukgolf's English Room และรายการ Hello English, ณัฐกุล อินทร์มีสุข Jan 2017

การศึกษาแนวทางการทำบทบรรยายใต้ภาพสองภาษาเพื่อการสอนภาษาอังกฤษผ่านทางเว็บไซต์ Youtube กรณีศึกษา : รายการ Sacross Peachii รายการ Loukgolf's English Room และรายการ Hello English, ณัฐกุล อินทร์มีสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการทำบทบรรยายใต้ภาพสองภาษาเพื่อการสอนภาษาอังกฤษผ่านทางเว็บไซต์ Youtube และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อการจัดทำบทบรรยายใต้ภาพในรายการต่าง ๆ ต้นฉบับที่นำมาศึกษาคือรายการ ภายใต้ช่องรายการ Sacross Peachii รายการ Loukgolf’s English Room (ผ่านทางช่อง GMM25) และรายการ Hello English (ผ่านทางช่อง NJ Digital) จำนวน 30 ตอนซึ่งออกอากาศในพ.ศ. 2560 การวิจัยฉบับนี้ได้นำบทบรรยายใต้ภาพของทั้งสามรายการมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์รูปแบบบทบรรยายใต้ภาพซึ่งทำโดยมือสมัครเล่น การใช้บทบรรยายใต้ภาพในการช่วยสอนภาษา และการทำหน้าที่สื่อพลเมืองของรายการ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการจัดทำบทบรรยายใต้ภาพ อันได้แก่ ทัศนคติของผู้ผลิต กลุ่มผู้ชม แนวโน้มและกระแสของสังคม และ ผลตอบรับและข้อเสนอแนะของผู้รับชมรายการ ผลการวิจัยพบว่า ทั้งสามรายการนั้นมีการจัดทำบทบรรยายใต้ภาพในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ โดยทั้งสามรายการมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของบทบรรยายใต้ภาพ สี ขนาด การเพิ่มข้อมูลและการใช้เครื่องหมายต่าง ๆ ภายในบทบรรยายใต้ภาพ โดยมีเป้าหมายหลักในการเพิ่มบทบาทและหน้าที่ของบทบรรยายใต้ภาพให้เป็นเครื่องมือในการสอนภาษาเพิ่มเติมโดยไม่ยึดตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับปัจจัยอื่นที่มีผลต่ออการจัดทำบทบรรยายใต้ภาพนั้น จากการศึกษาพบว่า ทั้งสามรายการต่างมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนทัศนคติของคนทั่วไปในเรื่องการเรียนภาษา รวมทั้งทำให้ภาษาอังกฤษนั้นเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยมีกลุ่มผู้ชมเป้าหมายเหมือนกัน คือการเข้าถึงคนหมู่มากให้ได้มากที่สุดและหยิบยกประแสสังคมในขณะนั้นขึ้นมาใช้ อีกทั้งยังมีการเปิดรับผลตอบรับและความคิดเห็นของผู้ชมผ่านทางช่องทางต่าง ๆ การศึกษายังค้นพบอีกว่า ทั้งสามรายการมีรายละเอียดของรูปแบบรายการที่แตกต่างกันออกไปตามเงื่อนไขและเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย