Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architectural Technology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

774 Full-Text Articles 949 Authors 416,481 Downloads 67 Institutions

All Articles in Architectural Technology

Faceted Search

774 full-text articles. Page 12 of 38.

Vivienda Palafítica Para Entorno Inundable Proyecto De Vivienda Ccc Canal Del Dique Bolívar, Laura Sofia López Cerro, Diego Alejandro Jiménez Bonilla 2021 Universidad de La Salle, Bogotá

Vivienda Palafítica Para Entorno Inundable Proyecto De Vivienda Ccc Canal Del Dique Bolívar, Laura Sofia López Cerro, Diego Alejandro Jiménez Bonilla

Arquitectura

El presente trabajo de investigación y proyecto arquitectónico, surge en la oportunidad de plantear una solución para la vivienda en una zona con inundación moderada, en el cual se pueda generar un propicio para el desarrollo de la vida campesina.

Sustentada en dos partes fundamentales, la primera en el diagnostico y análisis del lugar frente a las condiciones ambientales, sociales y económicas existentes y los posibles cambios respecto a las propuestas de cambio y adaptación enfocadas en el sector; la segunda, surge del estudio de la familia Cerro, la cual, de acuerdo a unas necesidades específicas, propicia la creación de …


Urban Attraction Policies For Science And Technology Talent: Case Studies Of Chinese Cities, Yuxuan Shan 2021 Faculty of Architecture

Urban Attraction Policies For Science And Technology Talent: Case Studies Of Chinese Cities, Yuxuan Shan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the modern era of rapid socio-economic development, high-skill human resources, especially science and technology talents, have become pivotal to promoting urban development. For decades, there has been fierce competition among local governments in China to issue more competitive policies to attract talents to live and work in the cities. As China’s first-tier cities, Beijing, Shanghai, Guangzhou, and Shenzhen have tried to achieve the goal of becoming a scientific and technological innovation center with global influence. Thus, these cities have implemented their local policies on talents. This study adopts a case study research method to analyze the contexts of local …


การกัลปนาพระตำหนักจากพระบรมมหาราชวัง ในมิติการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม, ณัฐปภัสร์ นิยะเวมานนท์ 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การกัลปนาพระตำหนักจากพระบรมมหาราชวัง ในมิติการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม, ณัฐปภัสร์ นิยะเวมานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งเน้นในการศึกษาหาแนวความคิดการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมจากการกัลปนาเรือน อันเป็นความเชื่อและระเบียบปฏิบัติที่ทำต่อกันมาในสังคมไทย การกัลปนาเรือนเป็นการถวายเรือนพักอาศัยที่หมดหน้าที่ใช้สอยเพื่อการใช้ประโยชน์ทางศาสนา ผลคือทำให้เรือนนั้นถูกใช้งานถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลลัพธ์เช่นเดียวกับการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ทั้งนี้ การศึกษาได้เลือกกรณีศึกษาเป็นกลุ่มอาคารที่มาจากที่เดียวกัน สร้างในระยะเวลาใกล้เคียงกัน แต่กัลปนาออกไปต่างสถานที่และต่างสมัยกัน เพื่อให้เห็นแนวความคิดในการกัลปนาเรือนจากกลุ่มอาคารดังกล่าว โดยเลือกกรณีศึกษาเป็นหมู่พระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง 3 หมู่ที่สร้างสมัยรัชกาลที่ 1-2 ได้แก่ 1) หมู่พระตำหนักตึกพบ 1 หลัง กัลปนาสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นศาลาการเปรียญ วัดรัชฎาธิษฐาน 2) หมู่ตำหนักเขียวพบ 1-2 หลัง กัลปนาสมัยรัชกาลที่ 3 ไปเป็นกุฏิเจ้าอาวาสวัดอมรินทราราม และ 3) หมู่พระตำหนักแดงพบ 3 หลัง ได้แก่ พระตำหนักแดงกัลปนาไปเป็นกุฏิ วัดเขมาภิรตาราม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาคือพระที่นั่งมูลมณเฑียร กัลปนาไปเป็นโรงเรียนที่วัดเขมาภิรตาราม ในสมัยรัชกาลที่ 5 และสุดท้ายคือพระตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่ไม่ได้กัลปนาเพียงแต่มีการย้ายที่ตั้ง และปรับการใช้สอยในเวลาต่อมา วิธีวิจัยในการศึกษาใช้การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เรื่องการกัลปนา การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม และข้อมูลพระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นทำงานภาคสนามด้วยการรังวัดและทำโฟโตแกรมเมตรี เพื่อแสดงรูปทรง ร่องรอยต่าง ๆ นำมาทำแบบสถาปัตยกรรม จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลให้เกิดแบบทางการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเพื่อให้เห็นพัฒนาการ ความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวความคิดการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมกับการกัลปนาเรือน ซึ่งจากการศึกษาพิจารณาตามแนวทางการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับแนวทางการกัลปนาเรือนเบื้องต้น ได้แก่ คุณค่าและความแท้ การปรับการใช้สอยอาคาร และลำดับชั้นความเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบ พบว่าการกัลปนาเรือนเป็นแนวทางการอนุรักษ์แบบหนึ่งที่คำนึงถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณมากกว่าคุณค่าที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ จุดตั้งต้นแนวคิดในการอุทิศส่วนกุศล ส่งผลให้มีการย้ายที่ตั้งและปรับการใช้สอยสู่วัด การพิจารณาอาคารที่มีขนาด ผัง และฐานานุศักดิ์ที่มาใช้งานแทนกันได้แล้วจึงต่อเติมวัสดุเพื่อประโยชน์สูงสุดคืออาคารยังใช้งานได้สืบมา แต่ก็ยังคำนึงถึงประเด็นที่จะรักษาไว้อย่างแนบแน่น คือ เครื่องแสดงฐานานุศักดิ์และเครื่องแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของเรือนนั้นไว้ โดยจะสงวนรักษาองค์ประกอบเหล่านั้นไว้อย่างดี ทำให้ส่วนหลังคาและเรือนคงรูปแบบอย่างดีถึงปัจจุบัน แต่เมื่อมีการใช้งานใหม่จะนิยมต่อเติมในส่วนใต้ถุนของอาคารแทน ทั้งนี้ การศึกษาแนวความคิดการอนุรักษ์ผ่านกรณีศึกษายังทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการย้อนไปหาความดั้งเดิมของรูปแบบจนเกิดแนวทางการสันนิษฐานหมู่พระตำหนักที่กล่าวมาผ่านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม


การพัฒนาเครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อหาค่าแสงที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพสำหรับการออกแบบอาคารสำนักงานขั้นต้น, เจนจิรา เรืองทรัพย์เอนก 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การพัฒนาเครื่องมือเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อหาค่าแสงที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพสำหรับการออกแบบอาคารสำนักงานขั้นต้น, เจนจิรา เรืองทรัพย์เอนก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แสงธรรมชาติ (Daylight) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อวงจรการหลับ-ตื่น (Circadian rhythm) หากมีการใช้ร่วมกับแสงประดิษฐ์ (Artificial light) ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ใช้งานมีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาวิธีการคำนวณหาค่าปริมาณแสงที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพ เพื่อพัฒนาเครื่องมือแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling: BIM) ช่วยคำนวณให้ผู้ออกแบบ โดยใช้โปรแกรม Autodesk Revit (Revit) ร่วมกับการใช้เครื่องมือเสริม Autodesk Dynamo Studio (Dynamo) วิจัยเริ่มต้นโดยการหาค่า Melanopic Ratio: MR ของแสงธรรมชาติให้เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย สำหรับการคำนวณหาค่า Equivalent Melanopic Lux: EML และศึกษาการทำงานของแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อกำหนดข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาเครื่องมือเสริม และได้ทดลองใช้เครื่องมือที่พัฒนามาทำการเปรียบเทียบผลกับการคำนวณผ่านโปรแกรมอื่น โดยพบว่าเครื่องมือที่พัฒนาสามารถช่วยคำนวณหาค่าความส่องสว่างในแนวดิ่ง (Vertical illuminance: Ev) สำหรับให้ได้ค่า EML ที่ต้องการทั้งแสงสว่างจากแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ได้ เพื่อให้สถาปนิกผู้ออกแบบเปลือกอาคารโปร่งใสร่วมกับการใช้แสงประดิษฐ์ในอาคารสำนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะที่ดีต่อวงจรการหลับ-ตื่นของร่างกายมนุษย์


การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ “เซีย” ในเฮือนลาว: กรณีศึกษา บ้านหินสิ่ว เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว, ไพจิด ฟองคำแดง 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ “เซีย” ในเฮือนลาว: กรณีศึกษา บ้านหินสิ่ว เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว, ไพจิด ฟองคำแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการตั้งถิ่นฐาน การใช้พื้นที่ภายในเฮือนและการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่เซียของเฮือนลาวในเขตภาคใต้ ผ่านกรณีศึกษา บ้านหินสิ่ว เมืองโขงแขวงจำปาสัก สปป.ลาว โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสารเกี่ยวกับประวัติการตั้งถิ่นฐาน รูปแบบสถาปัตยกรรมเฮือนลาวในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการอ้างอิงลักษณะของเฮือนลาวในอดีต ร่วมกับการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาของชุมชน การตั้งถิ่นฐาน การดำรงชีวิต การใช้พื้นที่ในเรือนพักอาศัย และการสำรวจรังวัดเรือนกรณีศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ เรือนรูปแบบเก่า จำนวน 2 หลัง เรือนรูปแบบเก่าผสมใหม่ จำนวน 2 หลัง และเรือนรูปแบบใหม่ จำนวน 2 หลัง ผลการศึกษาพบว่า การตั้งถิ่นฐานของชุมชนมีความสัมพันธ์กับทิศทางของการสัญจรทั้งทางน้ำและทางบก รวมถึงทอละนีดินซึ่งส่งผลให้ตำแหน่งของเซียไม่มีทิศทางตายตัว แต่มักจะตั้งอยู่หน้าห้องนอนเสมอ เซียในเรือนรูปแบบดั้งเดิมเป็นพื้นที่อเนกประสงค์รองรับหลายกิจกรรม ต่อมาจึงมีการต่อเติมพื้นที่ซานหน้าเฮือนเพื่อรองรับการขยายตัวของครอบครัว กิจกรรมในชีวิตประจำวันบางส่วนในพื้นที่เซียถูกย้ายไปยังซานหน้าเฮือนส่งผลให้เซียเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ใช้อเนกประสงค์สู่การเป็นพื้นที่นอนหลักของสมาชิกในครอบครัวในเรือนรูปแบบเก่า จากการที่เซียทำหน้าที่เป็นส่วนนอนพื้นที่เซียจึงมีระดับการปิดล้อมที่มากขึ้นเพื่อรองรับความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย ส่งผลให้เกิดการดัดแปลงต่อเติมเฮือนเซียรูปแบบเก่าสู่เรือนรูปแบบเก่าผสมใหม่ที่มีพื้นที่ซานหน้าเฮือนและกั้นห้องนอนเพิ่มขึ้น และสู่เรือนรูปแบบใหม่ที่มีการแบ่งห้องให้เป็นสัดส่วนเพื่อรองรับกิจกรรมเฉพาะอย่าง ส่งผลให้องค์ประกอบในการใช้สอยพื้นที่เซียมีจำนวนลดลง พื้นที่เซียจึงถูกลดบทบาทกลายเป็นพื้นที่พักผ่อนและรับแขกในชีวิตประจำวันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เซียยังคงเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในด้านพิธีกรรมอยู่เสมอ


การประเมินผลมาตรการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมพักอาศัย ด้วยการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มสุทธิของการลดการปล่อยคาร์บอน, กันตพงศ์ ศรีเมือง 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การประเมินผลมาตรการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมพักอาศัย ด้วยการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มสุทธิของการลดการปล่อยคาร์บอน, กันตพงศ์ ศรีเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้พลังงานของอาคารในช่วงการก่อสร้างและช่วงใช้งานอาคาร เป็นปัจจัยสำคัญที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับชั้นบรรยากาศโลก งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อประเมินความคุ้มค่าของมาตรการที่มีในปัจจุบัน โดยทำการเก็บข้อมูลอาคารสำนักงานและอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัย เพื่อใช้เป็นแบบอาคารอ้างอิง และศึกษามาตรการในกลุ่มการออกแบบอาคารให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มวัสดุฉนวนผนัง กลุ่มวัสดุฉนวนหลังคา กลุ่มพลังงานทดแทน กลุ่มประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศ รวมถึงกลุ่มระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โดยศึกษาจากฐานข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ICE Version 2 และค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปี พ.ศ.2563 ของประเทศไทย จากองค์บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก นำเสนอด้วยการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มสุทธิของการลดการปล่อยคาร์บอน จากการศึกษาในช่วงอายุอาคาร 60 ปี พบว่า ในอาคารสำนักงาน การติดตั้งกระจกฉนวนกันความร้อน เป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากที่สุด เนื่องจากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 7.99% และมีค่าใช้จ่ายตลอดอายุอาคารลดลงร้อยละ 5.98% ในอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัย ทุกมาตรการมีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกเว้นกลุ่มวัสดุฉนวนหลังคา การใช้ระบบปรับอากาศประหยัดไฟเบอร์ 5 3 ดาว เป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากที่สุด เนื่องจากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 10.37 และมีค่าใช้จ่ายตลอดอายุอาคารลดลงร้อยละ 1.31


ลักษณะกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทยที่ก่อตั้งในช่วงปี พ.ศ.2527-2563: กรณีศึกษา 5 โรงพยาบาล, กมลพร สมคิด 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ลักษณะกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทยที่ก่อตั้งในช่วงปี พ.ศ.2527-2563: กรณีศึกษา 5 โรงพยาบาล, กมลพร สมคิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงพยาบาลเป็นอาคารทางสถาปัตยกรรมที่มีความซับซ้อนในการออกแบบ การก่อสร้างและการลงทุน โดยเฉพาะโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ นอกจากเป็นสถานที่ประกอบการรักษาพยาบาลแล้ว ยังใช้สำหรับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล และการค้นคว้าวิจัยต่างๆ จากเกณฑ์มาตรฐานการเปิดโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ โดยประกาศของแพทยสภาฉบับ พ.ศ.2555 ได้กำหนดจำนวนเตียงผู้ป่วยต้องไม่ต่ำกว่า 400 เตียง และมีประเภทงานบริการทางด้านการแพทย์ต่างๆ อย่างน้อย 14 สาขา โดยแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์มีความแตกต่างจากโรงพยาบาลทั่วไป เนื่องจากมีพื้นที่สำหรับการเรียนการสอนในเวลาเดียวกัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะกายภาพแผนกผู้ป่วยนอก และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกับลักษณะกายภาพแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ที่ก่อตั้งในช่วง พ.ศ.2527-2563 มีระเบียบวิธีการศึกษาคือ ทบทวนเอกสาร หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโรงพยาบาลและแผนกผู้ป่วยนอก ศึกษาและวิเคราะห์จากแบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมพื้นที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์จากกรณีศึกษา ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการศึกษาและอภิปรายผล ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ลักษณะกายภาพแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ทั้ง 5 แห่ง ในเรื่องการวางแผนกผู้ป่วยนอกสอดคล้องกับผังแม่บท (Master Plan) พบ 3 ประเด็น คือ ไม่มีผังแม่บทที่ชัดเจน ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล A มีผังแม่บทมหาวิทยาลัย แต่ไม่มีผังแม่บทโรงพยาบาล ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล C และมีผังแม่บทโรงพยาบาลโดยเฉพาะ ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล B, D, และ E สัดส่วนกลุ่มพื้นที่ใช้สอยในแผนกผู้ป่วยนอกทั้ง 8 กลุ่ม ทุกแห่งมีสัดส่วนพื้นที่พักคอยและเส้นทางสัญจรมากที่สุด รองลงมาเป็นห้องตรวจและห้องวินิจฉัย พื้นที่สนับสนุน ทางบริการด้านหลัง ห้องทำการพยาบาล ที่ทำการพยาบาล ห้องเครื่องมือพิเศษ ตามลำดับ มีการจัดรูปแบบพื้นที่พักคอย 2 แบบ คือ แบบรวมพื้นที่ ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล C ข้อดี คือ สามารถปรับเปลี่ยนการใช้ห้องตรวจได้อย่างเหมาะสม และแบบกระจายพื้นที่ ได้แก่ ผังของโรงพยาบาล A, B, D, และ E ข้อดี คือ ลดอัตราความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโรคได้ดี ขนาดและสัดส่วนของพื้นที่พักคอยต่อห้องตรวจทุกโรงพยาบาลมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 9 ตารางเมตรต่อห้องตรวจ ตามมาตรฐานกำหนด การจัดรูปแบบห้องตรวจสำหรับการตรวจทั่วไป / ห้องตรวจและวินิจฉัย ทุกโรงพยาบาลมีทั้งห้องตรวจเดี่ยวและห้องตรวจรวม ขนาดห้องตรวจของทุกโรงพยาบาลมีขนาดเฉลี่ยกว้าง x ยาว มากกว่า …


แนวทางการปรับปรุงอาคารคุ้มเจ้าสุริยา จังหวัดลำพูน, จตุรวิทย์ ใจนวล 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

แนวทางการปรับปรุงอาคารคุ้มเจ้าสุริยา จังหวัดลำพูน, จตุรวิทย์ ใจนวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากผลการสำรวจสถาปัตยกรรมในเขตเมืองเก่าลำพูนพื้นที่ถนนรถ ได้ทำการศึกษาคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์ คุ้มเจ้ายอดเรือน และคุ้มเจ้าสุริยา พบว่าคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์และคุ้มเจ้ายอดเรือนได้รับการปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ในขนะที่คุ้มเจ้าสุริยายังไม่ได้รับการปรับปรุงและเกิดความเสียหายทางสถาปัตยกรรม จึงต้องหาแนวทางวิธีการปรับปรุงอาคาร โดยการศึกษาวิธีการปรับปรุงจากอาคารอนุรักษ์ตัวอย่าง เพื่อให้อาคารสามารถใช้เป็นที่ศึกษาทางสถาปัตยกรรม วัตถุประสงค์ในการศึกษาได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแบบแผนในการปรับปรุงของคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์และคุ้มเจ้ายอดเรือน ทั้งก่อนและหลังการปรับปรุง 2) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงของคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์และคุ้มเจ้ายอดเรือน เปรียบเทียบเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงอาคารคุ้มเจ้าสุริยา โดยดำเนินการตามขึ้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลคุ้มเจ้าทั้ง 3 หลังจากงานวิจัย สื่อออนไลน์ การสำภาษณ์ และศึกษาแนวทางวิธีการปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ ขั้นตอนที่ 2 ลงพื้นที่สำรวจและจัดทำแบบสถาปัตยกรรมของคุ้มเจ้าสุริยา และเปรียบเทียบรูปแบบสถาปัตยกรรมของคุ้มเจ้าทั้ง 3 หลัง พบว่ารูปแบบผังอาคารของคุ้มเจ้าสุริยากับคุ้มเจ้ายอดเรือนเหมือนกันอย่างชัดเจน โดยทำการเปรียบเทียบเมื่อกลับด้านผังอาคาร ขั้นตอนที่ 3 จากการรวบรวมข้อมูลในการอ้างอิงการปรับปรุง พบแนวทางการปรับปรุง 3 แนวทาง ซึ่งสามารถนำไปประยุคใช้ในแต่ละส่วนดังนี้ ตำแหน่งที่มีข้อมูลชัดเจน ตำแหน่งที่ข้อมูลไม่ชัดเจนใช้แนวทางการปรับปรุงของคุ้มเจ้ายอดเรือน ตำแหน่งที่ไม่มีข้อมูล ปรับปรุงตามสภาพ โดยใช้แนวทางการปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ ผลการศึกษาหาความแท้ของคุ้มเจ้าสุริยา ประกอบด้วยวิธีการค้นหา 3 วิธี ซึ่งใช้ประกอบแนวทางวิธีการปรับปรุงในตำแหน่งความเสียหายตามลำดับความชัดเจนของข้อมูลทางสถาปัตยกรรม เพื่อเสนอทางเลือกแนวทางวิธีการปรับปรุง โดยการเปรียบเทียบนำเสนอคือ แบบสภาพปัจจุบัน/แบบดั้งเดิม/แบบที่สามารถปรับปรุงได้


การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้งานอาคารโรงพยาบาลเอกชนที่เพิ่งเปิดให้บริการ: โรงพยาบาลสินแพทย์, ธีรนุช ใจเมือง 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้งานอาคารโรงพยาบาลเอกชนที่เพิ่งเปิดให้บริการ: โรงพยาบาลสินแพทย์, ธีรนุช ใจเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารแต่ละอาคารเมื่อเวลาผ่านไปจะมีการเสื่อมสภาพ จึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แต่จากการศึกษาเบื้องต้น พบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้งานในโรงพยาบาลที่เพิ่งเปิดให้บริการ จึงมีวัตถุประสงค์จะศึกษารูปแบบและสาเหตุในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบผังพื้นที่ก่อสร้างจริง (As-built drawing) กับสภาพพื้นที่อาคารในปัจจุบัน และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร สถาปนิก และผู้ดูแลอาคาร เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ทั้งนี้เลือกโรงพยาบาลสินแพทย์ 3 สาขาเป็นกรณีศึกษา ได้แก่ เทพารักษ์ ศรีนครินทร์ และลำลูกกา ซึ่งทั้งหมดออกแบบโดยบริษัท เอ อาร์คิเทค จำกัด ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลที่เพิ่งเปิดให้บริการมีทั้ง พื้นที่ที่ใช้งานแล้ว และยังไม่ได้ใช้งาน พื้นที่ที่ใช้งานแล้วยังแบ่งเป็น ส่วนที่เปลี่ยนแปลง คือ เปลี่ยนการใช้งานแต่ไม่เปลี่ยนผังพื้น เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่คล้ายกัน และเปลี่ยนผังพื้นแต่ไม่เปลี่ยนการใช้งาน เพราะมีความต้องการการใช้พื้นที่ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ แผนงานให้บริการ หรือความต้องการจากบุคลากรที่ต่างไปจากเดิม สำหรับส่วนที่ไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากทางสัญจรทางตั้ง และทางสัญจรหลักในแต่ละชั้น ยังมีส่วนที่ยังไม่ได้ใช้งาน ที่มีทั้งพื้นที่ที่ตกแต่งแล้ว เนื่องมาจากไม่ต้องการให้ส่งผลกระทบกับการให้บริการ และพื้นที่ที่ยังไม่ได้ตกแต่ง เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อไป จึงสรุปได้ว่าโรงพยาบาลเก่าที่มีการเปลี่ยนแปลง จะมาจากความทรุดโทรมของอาคาร การพัฒนาของเทคโนโลยี และการขยายตัวของกิจการ แต่โรงพยาบาลใหม่จะมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความต้องการใช้พื้นที่มีลักษณะหรือปริมาณที่เปลี่ยนไป เป็นการใช้พื้นที่ชั่วคราว และการก่อสร้างเผื่อการใช้งานในอนาคต จึงมีข้อเสนอแนะว่า ในการออกแบบโรงพยาบาลควรคำนึงถึงส่วนที่จะไม่เปลี่ยนแปลง คือทางสัญจรทางตั้งและทางสัญจรหลัก ส่วนพื้นที่ใช้สอยควรออกแบบให้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น


การปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จากการเปลี่ยนแนวปฏิบัติทางทันตกรรม เพื่อรองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาคลินิกทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง, นรมน ปัญจปิยะกุล 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จากการเปลี่ยนแนวปฏิบัติทางทันตกรรม เพื่อรองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาคลินิกทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง, นรมน ปัญจปิยะกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลักษณะทางกายภาพของคลินิกทันตกรรมไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการรองรับโรคระบาดCOVID-19 จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงพื้นที่กายภาพและแนวปฏิบัติทางทันตกรรมระหว่างการเกิดโรคระบาด จึงเป็นที่มาวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ ศึกษาลักษณะทางกายภาพและการจัดการที่ปรับปรุงของคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพจากแนวปฏิบัติทางทันตกรรมในการรองรับไวรัสโคโรนา 2019 หรือสถานการณ์โรคระบาดอื่น ๆ และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาศึกษาพื้นที่ทางกายภาพ และการบริหารจัดการกายภาพของคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ในอนาคต โดยมีระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ การทบทวนวรรณกรรม การเก็บข้อมูลทั้งเอกสารแบบก่อสร้าง สัมภาษณ์และสำรวจพื้นที่จริง การวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ว่าการปรับปรุงคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มี 5 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ลักษณะและปีที่ก่อสร้างของอาคาร การออกแบบคลินิกทันตกรรม ลักษณะการใช้งานคลินิกทันตกรรม ลักษณะหัตถการ และงบประมาณ ดังนั้นในการออกแบบปรับปรุงกายภาพและการบริหารจัดการต้องพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ให้เหมาะสมรองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยทรัพยากรที่จำกัด คณะทันตแพทยศาสตร์ยังไม่มีแผนการรื้อถอนที่ปรับปรุงช่วงCOVID-19 เนื่องจากการปรับปรุงดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับมาตรฐานความปลอดภัยคลินิกทันตกรรมให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นแนวโน้มทิศทางนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงงบประมาณ วิธีการดูแลรักษาในอนาคต และแนวทางการออกแบบคลินิกทันตกรรมใหม่ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมี 2 ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงสำหรับการออกแบบในอนาคตคือการวางผังพื้นและการออกแบบพื้นที่สำหรับงานระบบในคลินิกทันตกรรม


ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศ ในพื้นที่กึ่งเปิดโล่งสาธารณะ ของศูนย์การค้าชุมชน, พลกฤต วิศิษฏ์ศาสตร์กุล 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศ ในพื้นที่กึ่งเปิดโล่งสาธารณะ ของศูนย์การค้าชุมชน, พลกฤต วิศิษฏ์ศาสตร์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คุณภาพอากาศ เป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คน ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 และฝุ่นละออง PM2.5 ทำให้ผู้คนหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด แล้วหันมาใช้บริการศูนย์การค้าชุมชนที่เป็นอาคารลักษณะกึ่งเปิดโล่งมากขึ้น ซึ่งผู้คนโดยทั่วไปจะรับรู้ได้ว่าความโปร่งของอาคารช่วยถ่ายเทอากาศได้ดี อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษารายละเอียดในเชิงกายภาพของอาคารที่สัมพันธ์กับปริมาณมลพิษในอากาศ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยทางกายภาพของศูนย์การค้าชุมชน ช่องโล่งและลานกึ่งเปิดโล่งของอาคาร กับทิศทางลมประจำ ที่สัมพันธ์กับคุณภาพอากาศ และชี้วัดด้วยมลพิษในอากาศ ผ่านการจำลองอาคารกรณีศึกษาศูนย์การค้าชุมชน 8 อาคารในกรุงเทพมหานคร ด้วยโปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหล ทดสอบในสภาวะที่มีฝุ่นละออง PM2.5 ในระดับมาตรฐานเฉลี่ยต่อปีที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีตัวแปรต้นเป็นจำนวนด้านเปิดของอาคารที่เปิดให้อากาศไหลผ่านได้ และขนาดของลานกึ่งเปิดโล่งของอาคาร และมีตัวแปรตามเป็นอัตราส่วนความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 ภายในต่อภายนอก ค่าอายุของอากาศ และอัตราการเปลี่ยนอากาศ จากการจำลองด้วยโปรแกรมพบว่า อาคารที่มีด้านเปิด 4 ด้าน จะมีอัตราส่วนความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 0.55 มีค่าอายุของอากาศเฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 24.18 วินาที และอัตราการเปลี่ยนอากาศสูงที่สุด 90.38 ACH หมายถึงการมีคุณภาพอากาศที่ดีกว่ารูปแบบอื่น ซึ่งมีอัตราส่วนความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ยใกล้เคียงหรือสูงกว่า 1 นอกจากนี้ขนาดของลานกึ่งเปิดโล่งส่งผลต่อคุณภาพอากาศเช่นกัน โดยพบว่าอาคารที่มีจำนวนด้านเปิดให้อากาศไหลผ่านได้เท่ากัน แต่มีขนาดของลานกึ่งเปิดโล่งที่กว้างกว่า จะทำให้เกิดการสะสมของมลพิษมากกว่า เนื่องจากอากาศเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่ได้ช้ากว่า อีกทั้งยังพบปัจจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการไหลของอากาศ คือ การวางแนวของอาคาร และอาคารโดยรอบ ก็ส่งผลต่อการไหลของลมและคุณภาพอากาศเช่นกัน ในงานวิจัยนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศมากที่สุดคือ ความพรุนหรือจำนวนด้านเปิดของอาคาร หากอาคารมีความพรุนที่มากจะทำให้ลมสามารถไหลผ่านอาคารได้ดี และไม่เกิดการสะสมของมลพิษ ทั้งหมดนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบอาคารศูนย์การค้าชุมชนเบื้องต้น หรืออาคารที่มีกายภาพกึ่งเปิดโล่งที่คล้ายคลึงกัน


แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์), ปฐมฤกษ์ วงศ์แสงขำ 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์), ปฐมฤกษ์ วงศ์แสงขำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์และอธิบายแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรม รวมถึงอิทธิพลที่ส่งผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) ผ่านการศึกษาภูมิหลัง แนวคิด แนวทางการศึกษา และผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม รวบรวมหลักฐาน ทั้งเอกสารข้อเขียน เอกสารราชการ แบบสถาปัตยกรรม และตัวสถาปัตยกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ โดยคัดเลือกอาคารกรณีศึกษา 24 หลัง ที่สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2463 – 2493 และนำไปวิเคราะห์หาลักษณะร่วมและความแตกต่างในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ผลการศึกษาชี้ชัดได้ว่า พระสาโรชรัตนนิมมานก์ได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมมาจากทั้งบริบทสถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตยกรรมตะวันตก โดยผสานความรู้ความเข้าใจในวิธีการออกแบบ กับรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกในแนวทางของโบซารต์และโรงเรียนลิเวอร์พูล จากพื้นฐานการศึกษา รูปแบบสถาปัตยกรรมอาร์ตเดโค อิตาเลียนฟาสซิสต์ และพีดับบลิวเอโมเดิร์น ในช่วงการประกอบวิชาชีพ ประกอบกับรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณี จากการทำงานร่วมกับสถาปนิกไทยที่ออกแบบในแนวทางดังกล่าว นอกจากนี้ การศึกษาค้นพบว่า พระสาโรชรัตนนิมมานก์ใช้แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบโบซารต์ตลอดช่วงการประกอบวิชาชีพ ทั้งการใช้ระบบกริด (grid) และระบบแกน (axis) ในการออกแบบผังพื้นและรูปด้านอาคาร การวางระบบทางสัญจรโดยใช้โถงและทางเดิน การกำหนดรูปทรงอาคารด้วยระบบฐาน – ตัว – หัว ระบบช่องเปิด ตลอดจนระบบมุขและปีกอาคาร แม้จะมีแนวทางในการออกแบบเดียว แต่ผลงานสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ ก็มีรูปแบบและรูปทรงที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองเหตุปัจจัย และบริบทของอาคารแต่ละหลัง เช่น แนวแกน และทางสัญจรในผังบริเวณ รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารข้างเคียง สภาพภูมิอากาศ ตลอดจนความเหมาะสมกับประเภทการใช้งานของอาคาร ด้วยแนวทางการออกแบบดังกล่าว ประกอบกับบทบาทสำคัญในวิชาชีพและวิชาการสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย พระสาโรชรัตนนิมมานก์จึงเป็นผู้กำหนดทิศทางของสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ หรือ “สถาปัตยกรรมแบบทันสมัย” ซึ่งงานศึกษานี้เสนอว่าน่าจะนิยามจากมิติทางสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อน ในบริบทจำเพาะของประเทศไทย มากกว่าการพยายามอธิบายภายในกรอบอันจำกัดของรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก หรืออุดมการณ์ทางการเมืองอย่างหนึ่งอย่างใด


การออกแบบการส่องสว่างเพื่อปรับปรุงระดับความส่องสว่างภายในห้องพักผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย, สุดารัตน์ มหตระกูลรังษี 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การออกแบบการส่องสว่างเพื่อปรับปรุงระดับความส่องสว่างภายในห้องพักผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย, สุดารัตน์ มหตระกูลรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบการส่องสว่างภายในห้องพักผู้ป่วยใน (in-patient room) มีความสำคัญ เนื่องจากต้องการค่าความส่องสว่างหลายระดับเพื่อรองรับกิจกรรมทางการแพทย์และกิจกรรมอื่น ๆ จากการสำรวจพบว่าปัจจุบันห้องพักผู้ป่วยในหลายแห่งมีระดับความส่องสว่างและการติดตั้งดวงโคมไม่ตอบสนองต่อกิจกรรม ซึ่งในประเทศไทยไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับระดับการส่องสว่างห้องพักผู้ป่วยในและสถานพยาบาล งานวิจัยนี้จึงต้องการเสนอแนวทางการออกแบบการส่องสว่างที่ให้ค่าความส่องสว่างในกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านเกณฑ์ต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้แก่ เกณฑ์ IESNA จากสหรัฐอเมริกา SLL และ EN 12464-1 จากยุโรป โดยใช้ห้องพักผู้ป่วยในของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นกรณีศึกษา จำลองการส่องสว่างโดยใช้แสงประดิษฐ์ในห้องพักผู้ป่วยใน 4 เตียงที่ความสูงระดับต่าง ๆ ด้วยโปรแกรม DIALux evo 9.1 ทำการเปลี่ยนคุณสมบัติดวงโคมและการจัดวางดวงโคมของดวงโคมเหนือเตียงตรวจรักษาซึ่งให้แสงเป็นหลัก โดยมี 2 แนวทางคือ 1.) การเปลี่ยนดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิมให้มีปริมาณแสงเพิ่มขึ้นจากดวงโคมเดิมใน 3 ระดับ เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ IESNA ที่ระบุค่าความส่องสว่างต่ำกว่าเกณฑ์จากยุโรป 2.) การเปลี่ยนดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิมและเพิ่มดวงโคมเพื่อให้มีแสงเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ SLL และ EN 12464-1 ที่ระบุค่าความส่องสว่างสูงกว่า โดยมีการเพิ่มดวงโคม 2 แบบ คือ เพิ่มดวงโคมชนิดเดียวกับดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิมติดตั้งต่อกันบริเวณเหนือเตียงตรงกลางและการติดตั้งดวงโคมยาวขนาบข้างดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิม ซึ่งมีปริมาณแสงเพิ่มขึ้นและมุมแสงแคบลง 3 ระดับ เมื่อทำการออกแบบปรับปรุงการส่องสว่างโดยการเปลี่ยนดวงโคมที่มีปริมาณแสงต่างกันเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้ค่าความส่องสว่างของห้องพักผู้ป่วยในกรณีศึกษาและห้องที่มีความสูงต่าง ๆ มีค่าความส่องสว่างผ่านเกณฑ์ IESNA ที่ระบุค่าความส่องสว่างต่ำ และเมื่อติดตั้งดวงโคมเพิ่มสามารถผ่านเกณฑ์ SLL และ EN 12464-1 ที่ระบุค่าความส่องสว่างสูงกว่าได้ แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงกว่าเพื่อให้ได้แสงมากขึ้นตามไปด้วย โดยทั้งสองแนวทางสามารถผ่านเกณฑ์กำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุด (LPD) ตามกฎกระทรวงการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (2563) และเกณฑ์ ASHRAE 90.1 (2010) จากการวัดทั้งอาคารได้ทั้งหมด สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ตามความสูงของห้องระหว่าง 2.40-3.60 เมตร และควรคำนึงถึงค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของพื้นผิวห้องด้วย


แนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรม ของพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์), ภูวดล ภู่ศิริ 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

แนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรม ของพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์), ภูวดล ภู่ศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวคิดและผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ผ่านการรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้นประเภทเอกสารราชการ ข้อเขียน บทความ ตำรา ประวัติการทำงาน ของพระพรหมพิจิตรและที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาศึกษาในประเด็นแนวคิด วิธีการทำงานออกแบบ และการรวบรวมผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมกรณีศึกษาจำนวน 32 หลัง ในช่วง พ.ศ. 2473 – 2504 นำมาจำแนกประเภทตามเกณฑ์รูปทรงรวมของอาคาร และรูปแบบสถาปัตยกรรม แล้วนำการศึกษาข้อมูลทั้งสองประเภทมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อหาลักษณะร่วมและความต่างของแนวคิดการออกแบบ กับผลงานสถาปัตยกรรม สู่คำอธิบายแนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตร ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตรอยู่บนหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่เรียกว่า หลักพื้นที่ รูปทรง และเครื่องประกอบ มีแนวทางหลักคือ การกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรมจากลักษณะของวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ ทรงไม้ ทรงปูน และทวิลักษณ์ ที่สัมพันธ์กับรูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารข้างเคียง สร้างรูปแบบ และรูปทรงอาคารที่หลากหลาย ด้วยระบบสัดส่วนในการกำหนดรูปทรงหลังคา และองค์ประกอบสถาปัตยกรรม การใช้รูปร่าง และรูปทรงเรขาคณิตในการออกแบบผังบริเวณ ผังพื้น ที่ว่างภายใน และลวดลายประดับตกแต่ง การกำหนดรูปทรงอาคารด้วยระบบมุข ระบบการลดทอนปริมาตรอาคาร และระบบการออกแบบรูปทรงหลังคา และการให้ความสำคัญกับโครงสร้างภาพในการออกแบบลวดลาย และที่ว่างในการออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายใน พระพรหมพิจิตรพัฒนาแนวทางการออกแบบดังกล่าวภายใต้ปัจจัยหลัก 4 ปัจจัย คือ (1) การช่วยงานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (2) การทำงานในระบบราชการ อันมีระเบียบการก่อสร้าง ฝีมือช่าง และงบประมาณ เป็นเงื่อนไขสำคัญในการออกแบบ (3) แนวคิดทางการเมืองของรัฐ ลัทธิชาตินิยม สร้างบทบาทหน้าที่ และความต้องการงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ในฐานะศิลปกรรมประจำชาติ ตลอดจน (4) การร่วมงานกับพระสาโรชรัตนนิมมานก์ ที่ส่งอิทธิพลทางแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบทันสมัยให้แก่พระพรหมพิจิตร เหตุปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว หล่อหลอมให้ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตรเป็น “สถาปัตยกรรมไทยแบบทันสมัย” คือ งานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่ผสานวิธีการออกแบบสมัยใหม่ ทั้งการกำหนดรูปแบบการใช้งานสมัยใหม่ มีระบบการวางผัง การออกแบบรูปแบบและรูปทรงอาคารที่เรียบง่าย และการใช้วัสดุสมัยใหม่อย่างคอนกรีต


Brutalism And The Public University: Integrating Conservation Into Comprehensive Campus Planning, Shelby Schrank 2020 University of Massachusetts Amherst

Brutalism And The Public University: Integrating Conservation Into Comprehensive Campus Planning, Shelby Schrank

Masters Theses

The University of Massachusetts Amherst, the Commonwealth’s flagship campus, is home to several Brutalist buildings. Similar to other buildings of this genre, they have gone unrecognized for their importance to the campus and their prominent architectural significance. Additionally, due to the ravages of close to 50 years of exposure coupled with limited maintenance and, in some instances, neglect they are now at a point where restorative maintenance is critical in ensuring their future contribution to the campus.

This thesis addresses the importance of creating a comprehensive, long-term plan for these buildings, by first looking to the University’s most prominent, yet …


Objetos Polivalentes De Arquitectura Efímera Sostenible Opaes Para El Espacio Público De Bogotá, Kevin Nicolas Chavarría Daza, Juan Diego Castillo Brochero 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

Objetos Polivalentes De Arquitectura Efímera Sostenible Opaes Para El Espacio Público De Bogotá, Kevin Nicolas Chavarría Daza, Juan Diego Castillo Brochero

Arquitectura

No abstract provided.


Ppmexplorer: Using Information Retrieval, Computer Vision And Transfer Learning Methods To Index And Explore Images Of Pompeii, Cindy Roullet 2020 University of Arkansas, Fayetteville

Ppmexplorer: Using Information Retrieval, Computer Vision And Transfer Learning Methods To Index And Explore Images Of Pompeii, Cindy Roullet

Graduate Theses and Dissertations

In this dissertation, we present and analyze the technology used in the making of PPMExplorer: Search, Find, and Explore Pompeii. PPMExplorer is a software tool made with data extracted from the Pompei: Pitture e Mosaic (PPM) volumes. PPM is a valuable set of volumes containing 20,000 historical annotated images of the archaeological site of Pompeii, Italy accompanied by extensive captions. We transformed the volumes from paper, to digital, to searchable. PPMExplorer enables archaeologist researchers to conduct and check hypotheses on historical findings. We present a theory that such a concept is possible by leveraging computer generated correlations between artifacts using …


Oceanside Transit Center Transit-Oriented Development (Otc Tod): Revisioning North San Diego's County Transit Hub, Chad Johnston 2020 California Polytechnic State University, San Luis Obispo

Oceanside Transit Center Transit-Oriented Development (Otc Tod): Revisioning North San Diego's County Transit Hub, Chad Johnston

City and Regional Planning

Many California coastal communities lack a supply of housing, produce high levels of greenhouse gas emissions by daily auto commuters but have existing local and commuter rail stations with large fields of parking surrounding it. Transit-Oriented Development (TOD) integrates the building of housing, retail, office, and public space together focused around transit stations. This infill of development locates people within comfortable walking distance, usually within a quarter-mile, of a public trail transit station reducing automobile dependence for local trips or commuting for work.

The Oceanside Transit Center (OTC) is a major railway interchange, serving as a gateway to the San …


Applied Studies On Enhancing Public Open Spaces Of The Coastal Cities: The Case Of Tripoli City_ Urban Community Of Al-Fayhaa, Nehmat K. Karim 2020 PhD Student, Faculty of Architecture – Design and Built Environment, Beirut Arab University, Beirut, Lebanon

Applied Studies On Enhancing Public Open Spaces Of The Coastal Cities: The Case Of Tripoli City_ Urban Community Of Al-Fayhaa, Nehmat K. Karim

BAU Journal - Creative Sustainable Development

Over the past three decades there has been a tremendous transformation in cultural heritage, both in terms of practices and in the understanding of cultural heritage. These changes are very much connected to wider changes in the very nature of culture and reflect major social and political transformation. They are also very much evident in the re-shaping of public space in more inclusive ways for diverse histories and experiences (Gerard Delanty). Furthermore, having cultural features in the public spaces of the cities contributes in bringing communities together and strengthening the local economy as well. Thence, enhancing heritage and innovations in …


Methods Of Adaptive Reuse In Alexandria’S Buildings With Heritage Values, Mina Nader MorKos 2020 Assistant Professor, Architectural Engineering Department, Faculty of Engineering, Pharos University

Methods Of Adaptive Reuse In Alexandria’S Buildings With Heritage Values, Mina Nader Morkos

BAU Journal - Creative Sustainable Development

Due to the rapid progress in the digital technology, using 3D modelling and augmented reality in architecture, now we can transform, create qualitative and sustainable changes in the interior architecture of our architectural heritage, to achieve sustainable cities, this study of the interior architectural solutions developed between architectural heritage, digital registration processes, and parametric construction and fabrication systems. Also using of Information Systems in recording and documenting buildings and archaeological areas.

It helps in designing through computer systems “Virtual Reality” to determine methods of conservation and dealing with archaeological areas and buildings. Using information networks to exchange information globally and …


Digital Commons powered by bepress