Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Other Mental and Social Health Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

1,170 Full-Text Articles 2,322 Authors 900,548 Downloads 189 Institutions

All Articles in Other Mental and Social Health

Faceted Search

1,170 full-text articles. Page 33 of 55.

ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อม, นันทกานต์ ชุมภูพันธ์ 2019 คณะแพทยศาสตร์

ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อม, นันทกานต์ ชุมภูพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ฃ่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเลือกตามเกณฑ์ (Purposive sampling) จำนวน 343 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน สิงหาคม – ตุลาคม พ.ศ.2562 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะการติดการออกกำลังกาย (Exercise Addiction Inventory; EAI) ฉบับภาษาไทย แบบสอบถาม Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทย (Thai HADS) แบบสอบถามประเมินข้อเข่า Knee and Osteoarthritis Outcome Score (KOOS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน จากนั้นหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมานได้แก่ Chi-square, Fisher’s exact test การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ใช้ Pearson’s correlation Coefficiency และใช้ Linear Regression วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมีความชุกของภาวะวิตกกังวลเพียงอย่างเดียว คิดเป็นร้อยละ 13.1 ภาวะซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว คิดเป็นร้อยละ 8.5 ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 26.8 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา โรคประจำตัว (โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอื่น ๆ) ระดับอาการปวดทุกข์ทรมาน การรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีการทำกายภาพบำบัด การนวดแผนไทย พฤติกรรมการออกกำลังกาย ออกกำลังกายด้วยการเดิน การบริหารข้อเข่า การเต้นแอโรบิคแดนซ์ ปั่นจักรยาน การอบอุ่นร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกาย ปัจจัยด้านความรุนแรงของข้อเข่า (ด้านอาการ ด้านอาการปวด ด้านกิจวัตรประจำวัน ด้านการเคลื่อนไหวในการออกกำลังกายและการทำกิจกรรมอื่น ๆ ด้านคุณภาพชีวิต)


คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโรคใหลตาย (Brugada Syndrome Type 1) ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, บุษมาส สัจจาภรณ์ 2019 คณะแพทยศาสตร์

คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโรคใหลตาย (Brugada Syndrome Type 1) ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, บุษมาส สัจจาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคใหลตายเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้ยาก โดยโรคนี้เพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นอย่างกะทันหันได้ ซึ่งผู้ป่วยไม่เคยมีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ ลักษณะอาการทางคลินิกที่พบ คือ ไม่เคยมีอาการแสดงของโรคมาก่อน, เคยมีประวัติเป็นลมหมดสติ, เคยมีประวัติหายใจเฮือก ๆ ขณะนอนหลับและภาวะหัวใจหยุดเต้นอย่างเฉียบพลันหรือเสียชีวิตอย่างกะทันหัน โรคใหลตายมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเนื่องจากผู้ป่วยโรคใหลตายต้องเข้ารับการตรวจติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ : การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคใหลตายที่ยังมีชีวิตอยู่ วิธีการวิจัย : ผู้ป่วยโรคใหลตายจำนวน 29 คนที่เข้ารับบริการในเดือน สิงหาคม พ.ศ.2562 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2563 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยทำการเก็บข้อมูลทั่วไป, แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต โดยใช้แบบสอบถาม MacNew และ SF-36, แบบสอบถาม HADS ฉบับภาษาไทยและแบบทดสอบภาวะการรู้คิด คือ Grooved Pegboard, Trail A-B และ CERAD การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์แบบพรรณณาและการวิเคราะห์สถิติถดถอยเชิงเส้น ผลการวิจัย : ผู้ป่วยโรคใหลตายเป็นเพศชายร้อยละ 96.60 อายุเฉลี่ย 45.17±13.83 ปี, คะแนนเฉลี่ยโดยรวมแบบสอบถาม MacNew 5.62±0.75 คะแนน, แบบสอบถาม SF-36 ด้านร่างกาย คะแนนเฉลี่ย 49.84±6.42 คะแนนและด้านจิตใจคะแนนเฉลี่ย 52.90±6.31 คะแนน, คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลและความซึมเศร้า คือ 4.41±2.92 และ 3.34±3.30 คะแนนตามลำดับ, การทดสอบภาวะการรู้คิดมี 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง การทดสอบ Grooved Pegboard มือข้างที่ถนัดและมือข้างที่ไม่ถนัด ใช้เวลาเฉลี่ย 78.41±27.87 วินาทีและ 84.52±25.97 วินาที ส่วนที่สอง การทดสอบ Trail A และ B ใช้เวลาเฉลี่ย 53.69 ± 20.65 และ 181.00 ± 80.91 วินาที ในส่วนสุดท้าย การทดสอบ the Word …


ความบกพร่องของทักษะทางสังคมและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ปิติมา คูริโมโตะ 2019 คณะแพทยศาสตร์

ความบกพร่องของทักษะทางสังคมและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ปิติมา คูริโมโตะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความบกพร่องของทักษะทางสังคมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องของทักษะทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาในแบบผู้ป่วยนอกแผนกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ความรุนแรงของโรคซึมเศร้า ความพึงพอใจต่อการได้รับแรงสนับสนุนของครอบครัว ความภาคภูมิใจในตนเอง และประเภทบุคลิกภาพ วิธีการศึกษา : ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาในแบบผู้ป่วยนอกแผนกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทุกรายที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและได้รับการวินิจฉัยจากอาจารย์จิตแพทย์หรือแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยจากคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 4 ฉบับปรับปรุงครั้งย่อย หรือ จากคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ฉบับที่ 5 ว่าเป็นโรคซึมเศร้าหลัก หรือโรคซึมเศร้าเรื้อรัง หรือ โรคซึมเศร้า 2 ชนิดซ้อนทับกัน จำนวน 150 คน ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงหรือแบบตามเกณฑ์ ผู้เข้าร่วมวิจัยต้องตอบแบบสอบถามรวมทั้งหมด 6 ชุด 160 ข้อ ด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 10 ข้อ 2) แบบประเมินอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย จำนวน 21 ข้อ 3) แบบสอบถามทักษะทางสังคม จำนวน 66 ข้อ 4) แบบสอบถามแอปการ์ของครอบครัว จำนวน 5 ข้อ 5) แบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองของโรเซนเบิร์กฉบับปรับปรุง จำนวน 10 ข้อ และ 6) แบบทดสอบบุคลิกภาพ จำนวน 48 ข้อ นำเสนอความชุกของความบกพร่องของทักษะทางสังคม ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ข้อมูลทักษะทางสังคม ความภาคภูมิใจในตนเอง บุคลิกภาพ และความพึงพอใจต่อครอบครัวในด้านต่าง ๆ เป็นค่าสัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังจากนั้น ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องของทักษะทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ ในกรณีที่ข้อมูลเป็นเชิงลักษณะ และใช้สถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ในกรณีที่ข้อมูลเป็นเชิงปริมาณ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์หาปัจจัยทำนายความบกพร่องทางทักษะทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยอาศัยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา : ความชุกของความบกพร่องของทักษะทางสังคมในผู้ป่วยซึมเศร้าเท่ากับร้อยละ 46.7 …


การเห็นคุณค่าในตนเองและความวิตกกังวลในการหางานทำ ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พนิตนาฏ เทียนศิริฤกษ์ 2019 คณะแพทยศาสตร์

การเห็นคุณค่าในตนเองและความวิตกกังวลในการหางานทำ ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พนิตนาฏ เทียนศิริฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเอง ความวิตกกังวลในการหางานทำ และปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลในการหางานทำของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 296 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ.2563 ด้วยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น ชั้นปีละ 74 คนเท่าๆกัน และใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายในการเลือกผู้เข้าร่วมวิจัยของแต่ละชั้นปี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความวิตกกังวลในการหางานทำ แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามบุคลิกภาพ (BFI) และแบบวัดการเผชิญปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมานได้แก่ Chi-square และใช้ Pearson’s correlation coefficient ในการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนความวิตกกังวลในการหางานทำ และคะแนนปัจจัยด้านต่างๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลในการหางานทำ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเห็นคุณค่าในตนเองระดับปานกลางร้อยละ 56.4 ระดับต่ำร้อยละ 25 ระดับสูงร้อยละ 18.6 และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความวิตกกังวลในการหางานทำอยู่ในระดับสูงร้อยละ 35.5 ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลในการหาทำเท่ากับ 66.69 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 16.1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลสูงในการหางานทำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่การมีโรคประจำตัว รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวไม่เกินหนึ่งแสนบาท ลักษณะงานที่สนใจทำ ด้านนักเขียน นักประพันธ์ บรรณาธิการ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล การมีทัศนคติต่อสถานการณ์ในการหางานที่คิดว่าหางานได้ยาก การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ การมีบุคลิกภาพด้านความไม่มั่นคงทางอารมณ์สูง การมีบุคลิกภาพด้านการเปิดตัวต่ำ การมีบุคลิกภาพด้านความเป็นมิตรต่ำ การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหาต่ำและการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีสูง ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้เรียนเพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมสุขภาพจิตและเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับความวิตกกังวลในการหางานทำอย่างเหมาะสมต่อไป


ความตั้งใจมีบุตร และความเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพและการเผชิญปัญหาในผู้ที่มาจดทะเบียนสมรสใหม่ ณ สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร, พิชญา วัฒนวิทูกูร 2019 คณะแพทยศาสตร์

ความตั้งใจมีบุตร และความเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพและการเผชิญปัญหาในผู้ที่มาจดทะเบียนสมรสใหม่ ณ สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร, พิชญา วัฒนวิทูกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาความชุกของความตั้งใจไม่มีบุตร และความเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพและการเผชิญปัญหา ในผู้ที่มาจดทะเบียนสมรสใหม่ ณ สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มาจดทะเบียนสมรสเพศชายและหญิงจำนวน 380 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบทดสอบบุคลิกภาพ MPI (The Maudsley Personality Inventory) และแบบวัดการเผชิญปัญหา ใช้ Univariate analysis (ได้แก่ T-Test และ Chi-Square) เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจไม่มีบุตร และใช้ Multivariate Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายของความตั้งใจไม่มีบุตรในผู้มาจดทะเบียนสมรสกลุ่มนี้ ผลการศึกษาพบว่าความชุกของความตั้งใจไม่มีบุตรในผู้มาจดทะเบียนสมรสมีอัตราร้อยละ 13.7 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่าบุคลิกภาพ มิติที่ 1 ด้านพฤติกรรม (Scale E – extraversion) มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจไม่มีบุตรอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว (Introvert) มีความตั้งใจไม่มีบุตรสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบแสดงตัว (Extravert) นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหา (1.8 - การแสวงหาการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความตั้งใจไม่มีบุตรอย่างมีนัยสำคัญ และการใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี การใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี (3.4 - การเก็บความรู้สึกไว้คนเดียว) และการใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี (3.2 - การไม่แสดงออกทางพฤติกรรม) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตั้งใจไม่มีบุตรในผู้มาจดทะเบียนสมรสอย่างมีนัยสำคัญ


ภาวะติดงาน ความเครียดจากงานและภาวะหมดไฟในครูโรงเรียนเตรียมทหาร, สุนันท์ษา นิธิวาสิน 2019 คณะแพทยศาสตร์

ภาวะติดงาน ความเครียดจากงานและภาวะหมดไฟในครูโรงเรียนเตรียมทหาร, สุนันท์ษา นิธิวาสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันภาระงานของครูที่ต้องรับผิดชอบมีหลายด้าน จึงใช้เวลาทำงานมากกว่าปกติซึ่งนำไปสู่ภาวะติดงาน และภาวะหมดไฟได้ ในขณะที่ขณะที่ประเทศไทยยังไม่เคยศึกษาภาวะติดงานและภาวะหมดไฟของครู วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวของภาวะติดงานและภาวะหมดไฟ โดยประชากรคือ ครูโรงเรียนเตรียมทหาร ในปี พ.ศ. 2561-2562 มีจำนวน 113 คน ประเมินภาวะติดงานโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนามาจาก Bergen Work Addiction ประเมินภาวะหมดไฟ โดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนามาจาก Maslach และ Jackson วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน และปัจจัยด้านความเครียดจากการทำงาน ซึ่งใช้แบบสอบถามความเครียดของคนไทยจากการทำงาน โดยใช้สถิติ multiple logistic regression ผลการศึกษา พบว่า ความชุกของภาวะติดงานในครูโรงเรียนเตรียมทหาร ร้อยละ 11.50 ความชุกของภาวะหมดไฟในครูโรงเรียนเตรียมทหาร ร้อยละ 30.09 และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะติดงานได้แก่ ข้อเรียกร้องจากงานทางจิตใจ โดยผู้ที่มีข้อเรียกร้องจากงานทางจิตใจระดับสูงมีภาวะติดงานเป็น 5.92 เท่า (95% CI = 1.26-29.23) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีข้อเรียกร้องจากงานทางจิตใจระดับต่ำ ขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการทำงานไม่มีผลต่อภาวะติดงาน สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหมดไฟ ได้แก่ 1) ความเครียดจากการทำงานด้านอิสระในการตัดสินใจ โดยผู้ที่มีความเครียดจากงานด้านความอิสระในการตัดสินใจระดับสูงมีภาวะหมดไฟเป็น 0.31 เท่า (95% CI= 0.10-0.93) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีความเครียดจากงานด้านความอิสระในการตัดสินใจระดับต่ำ 2) ความเครียดจากงานด้านความมั่นคงในหน้าที่การงาน โดยผู้ที่มีความเครียดจากงานด้านความมั่นคงในหน้าที่การงานระดับสูงมีภาวะหมดไฟเป็น 0.20 เท่า (95% CI = 0.06 - 0.62) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีความเครียดจากงานด้านความมั่นคงในหน้าที่การงานระดับต่ำ โดยสรุปพบว่า ความชุกของภาวะติดงานไม่สูงมาก แต่ความชุกของภาวะหมดไฟค่อนข้างสูง ดังนั้นควรมีการคัดกรองค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยง และควรดำเนินการวางแนวทางในการป้องกันภาวะหมดไฟ เช่น มีการประเมินความสุขในที่ทำงานเป็นระยะ ตลอดจน มีกิจกรรมที่ผ่อนคลายระหว่างช่วงพัก เช่น การออกกำลังกาย และสร้างทัศนคติเชิงบวกเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ให้ครูเห็นถึงผลดีของการอิสระในการตัดสินใจ และมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน


การตัดสินใจคงอยู่ในองค์กรของรัฐ หลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร, อนุกูล หุ่นงาม 2019 คณะแพทยศาสตร์

การตัดสินใจคงอยู่ในองค์กรของรัฐ หลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร, อนุกูล หุ่นงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากปัญหาความขาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาลในภาครัฐ ส่งผลให้การบริการด้านสุขภาพไม่ทั่วถึง และเกิดอุปสรรคในการทำงาน นักศึกษาพยาบาล เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกผลิตเพื่อเป็นบุคลากรในอนาคต ที่มีอิทธิพลในการคงอยู่ในองค์กรของรัฐ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาอัตราของการตัดสินใจคงอยู่ในองค์กรของรัฐ หลังสำเร็จการศึกษา ของนักศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจคงอยู่ในองค์กรของรัฐ หลังสำเร็จการศึกษา ของนักศึกษาพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 226 คน แบบวัดที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลด้านบุคคล ด้านครอบครัว สังคม และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการตัดสินใจคงอยู่ในองค์กร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สถิติถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า องค์กรที่นักศึกษาตัดสินใจเลือกหลังจบการศึกษาคือ องค์กรราชการ มีอัตราการคงอยู่ ร้อยละ 65.9 และปัจจัยด้านองค์กรมีผลต่อความคิดเห็นด้านการคงอยู่ในองค์กรรัฐอยู่ในระดับสูง (= 3.84, SD = 0.35) โดยเฉพาะในด้านองค์กรที่ตัดสินใจเลือกต้องก่อให้เกิดการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ (OR = 1.70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านครอบครัวมีผลต่อความคิดเห็นด้านการคงอยู่ในองค์กรรัฐอยู่ในระดับสูง (= 3.78, SD = 0.63) โดยปัจจัยในภาพรวมด้านครอบครัว (OR = 2.02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยด้านเพื่อนมีผลต่อความคิดเห็นด้านการคงอยู่ในองค์กรรัฐอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.24, SD = 0.55) จะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากและเห็นได้ชัดเจน ที่มีผลต่อการคงอยู่ในองค์กรของรัฐ คือ ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านองค์กร ตามลำดับ


ทรรศนะด้านจิตวิญญาณของจิตแพทย์ไทยต่อสุขภาพจิต, วศิน โกศลศักดิ์ 2019 คณะแพทยศาสตร์

ทรรศนะด้านจิตวิญญาณของจิตแพทย์ไทยต่อสุขภาพจิต, วศิน โกศลศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผลเชิงบวกของมิติด้านจิตวิญญาณต่อสุขภาพจิตได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้นจากการศึกษาและงานวิจัยต่าง ๆ แต่เนื่องด้วยลักษณะเฉพาะที่แตกต่างของความเชื่อและวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ทำให้การศึกษาเรื่องจิตวิญญาณเป็นเรื่องที่ท้าทาย การวิจัยนี้มุ่งหวังที่จะศึกษาทรรศนะด้านจิตวิญญาณและผลกระทบของมิติด้านจิตวิญญาณต่อสุขภาพจิตในกรอบทรรศนะของจิตแพทย์ไทย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative study) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง (semi-structured in-depth interview) อ้างอิงคำถามสัมภาษณ์จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจิตแพทย์จากทุกภูมิภาคของประเทศไทยจำนวน 20 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) จากการถอดคำสัมภาษณ์แบบคำต่อคำ (verbatim) ผลการศึกษาพบว่าจิตแพทย์ไทยให้นิยามคำว่า ‘จิตวิญญาณ’ เป็นเรื่องของความเชื่อ สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ความหมายของชีวิต เรื่องเหนือตัวตน และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในบริบทของศาสนา โดยจิตแพทย์ใช้ประเด็นด้านจิตวิญญาณในการวิเคราะห์และการดูแลรักษาผู้ป่วยใน 5 ด้านหลัก คือ 1) เรื่องความปกติ 2) เรื่องการทำหน้าที่ 3) เรื่องความสงบสุขทางใจ 4) เรื่องวิธีการคิด 5) เรื่องจริยธรรม จิตแพทย์ไทยมีทรรศนะเชิงบวกต่อมิติด้านจิตวิญญาณในบริบทของจิตเวชศาสตร์ โดยพบทั้งผลเชิงบวกและผลเชิงลบของมิติด้านจิตวิญญาณที่มีต่อสุขภาพจิต ซึ่งผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับบุคคลและบริบทที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางจิตวิญญาณนั้น ๆ จิตแพทย์ไทยใช้เกณฑ์ในการประเมินผลของมิติด้านจิตวิญญาณแบบเดียวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช ซึ่งพิจารณาจากผลกระทบที่มีต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และความเครียดที่เกิดขึ้นเป็นหลัก และมีความเห็นว่าบุคลากรด้านสุขภาพจิตควรให้ความใส่ใจกับมิติด้านจิตวิญญาณ การนำมิติทางด้านจิตวิญญาณมาใช้อย่างระมัดระวังและรอบคอบจะช่วยให้เกิดประโยชน์อย่างมากในการดูแลทางสุขภาพจิตทั้งต่อผู้ป่วย บุคคลทั่วไป และต่อตัวบุคลากรด้านสุขภาพจิตเองด้วย


แนวโน้มของภาวะเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ด้วยการเจ็บป่วยเฉียบพลัน, รัตนาภรณ์ ชำนิศาสตร์ 2019 คณะแพทยศาสตร์

แนวโน้มของภาวะเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ด้วยการเจ็บป่วยเฉียบพลัน, รัตนาภรณ์ ชำนิศาสตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุก แนวโน้ม และปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยด้วยอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Studies) โดยเป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross sectional descriptive design) กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่พาผู้สูงอายุเข้ารักษาตัว ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไป โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2562 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2663 จำนวนทั้งสิ้น 100 คน โดยผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล 2 ส่วน คือ 1) ผู้ดูแล ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป, แบบประเมินภาวะเครียดในผู้ดูแล(Caregiver Strain Index: CSI), แบบวัดคุณภาพชีวิต (SF-36) 2) ผู้สูงอายุ ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินผู้สูงอายุตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living: ADL) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา หาความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ด้วย สถิติ Chi-square, t-test, Fisher’s exact สถิติ Pearson’s Correlation และสถิติ Logistic regression analysis ผลการศึกษา : พบว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับความเครียดปกติ โดยจากการเก็บทั้ง 3 ครั้ง พบว่าครั้งที่ครั้งที่ 1 พบจำนวนผู้ที่มีระดับความเครียดสูงกว่าปกติมากที่สุด (26 ราย) และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงสุด (4.72 คะแนน) ส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกด้าน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความเครียดของผู้ดูแล ได้แก่อายุของผู้ดูแล และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 โดยความสัมพันธ์แบบคนในครอบครัวมีคะแนนความเครียดสูงที่สุด เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรวมของแบบประเมินCSI แต่ละครั้ง กับคะแนนรวมของแบบประเมินSF-36 พบว่ามีความสัมพันธ์กันในทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = <0.001) เช่นเดียวกับเมื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างแบบประเมินSF-36ของผู้ดูแลผู้สูงอายุในแต่ละด้านกับคะแนนความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุพบว่าคะแนนความเครียดของผู้ดูแล มีความสัมพันธ์ทางลบกับค่าคะแนนแบบประเมินSF-36เกือบทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจากการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายคะแนนความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ คะแนนรวมของแบบประเมินSF-36 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ -0.088 (p-value <0.001) สรุปคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับความเครียดปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเครียดของผู้ดูแล คืออายุของผู้ดูแลและการที่ผู้ดูแลเป็นบุคคลในครอบครัว


การประเมินตนเสมือนวัตถุ ความผิดปกติในการกิน และสุขภาพจิตของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร, กันต์ชานนท์ ขาวดา 2019 คณะแพทยศาสตร์

การประเมินตนเสมือนวัตถุ ความผิดปกติในการกิน และสุขภาพจิตของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร, กันต์ชานนท์ ขาวดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินตนเสมือนวัตถุ ความผิดปกติในการกิน และสุขภาพจิตของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 395 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการศึกษานี้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการประเมินตนเสมือนวัตถุ แบบประเมินทัศนคติและพฤติกรรมการกินฉบับภาษาไทย และแบบประเมินดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 17.65 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53) ส่วนใหญ่มีระดับสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป ร้อยละ 39.7 ค่าเฉลี่ยของการประเมินตนเสมือนวัตถุเท่ากับ 3.64 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51) ความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติในการกิน (EAT ≥ 12) พบร้อยละ 23.8 การประเมินตนเสมือนวัตถุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ การเฝ้าสำรวจภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง (r = 0.847) ความรู้สึกอับอายในภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง (r = 0.673) ความเชื่อเรื่องการควบคุมภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง (r = 0.647) และความผิดปกติในการกิน (r = 0.340) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) และการประเมินตนเสมือนวัตถุมีความสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.153, p < 0.01) ปัจจัยทำนายโอกาสเกิดความผิดปกติในการกินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีประวัติโรคทางจิตเวช (ORadj = 7.01, 95% CI 1.11-44.35) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของบิดาที่มากกว่า 15,000 บาท (ORadj = 1.80, 95% CI 1.03-3.14) ระดับการศึกษาของมารดาที่สูงกว่าหรือเท่ากับปริญญาตรี (ORadj = 1.91, 95% CI 1.16-3.14) และการเฝ้าสำรวจภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเองในระดับสูง (ORadj = 3.13, 95% CI 1.72-5.73) สรุปได้ว่าการประเมินตนเสมือนวัตถุและด้านย่อยทั้ง 3 ด้าน อันได้แก่ การเฝ้าสำรวจภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง ความรู้สึกอับอายในภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง และความเชื่อเรื่องการควบคุมภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผิดปกติในการกินและสุขภาพจิตที่ต่ำลง ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับการประเมินตนเสมือนวัตถุในกลุ่มวัยรุ่นผู้หญิงซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติในการกินและปัญหาสุขภาพจิตได้


ภาวะวิตกกังวล ความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมารดาของผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังผ่าตัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ญาดาพร ยอดสวัสดิ์ 2019 คณะแพทยศาสตร์

ภาวะวิตกกังวล ความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมารดาของผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังผ่าตัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ญาดาพร ยอดสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย : จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่ามารดาที่ดูแลบุตรในโรคต่าง ๆ มีภาวะวิตกกังวลแต่การศึกษาโดยตรงถึงภาวะวิตกกังวลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในมารดาของกลุ่มผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังผ่าตัด ยังไม่ค่อยมีในประเทศไทย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะวิตกกังวลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมารดาของผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังผ่าตัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง สถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากมารดาของผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังได้รับการผ่าตัดแก้ไขทั้งแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่เข้ารับการรักษาในกุมารศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 105 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบ ด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลข้อมูลส่วนบุคคล (สำหรับมารดา) 2. แบบสอบถามประวัติของเด็ก 3. แบบวัดภาวะวิตกกังวล ใช้ของ STAI Form-Y1,Y2 4. แบบวัดความเครียดของมารดาใช้ของ The Parental Stress Scale: Pediatric Intensive Care Unit, PSS:PICU วิเคราะห์ข้อมูลใช้ Univariate analysis (ได้แก่ T-test และ Chi-Square) เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและใช้ Multivariate Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะวิตกกังวลในมารดากลุ่มนี้ ผลการศึกษา : พบความชุกของภาวะวิตกกังวลภาวะวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 63.5 มีพื้น นิสัยวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 53.3 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิตกกังวลจากการวิเคราะห์โดยวิธี multivariate analysis พบว่ามี 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) จำนวนสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 4 คน 2) การผ่าตัดชนิดผ่าตัดใหญ่ 3) พื้นนิสัยวิตกกังวลระดับในปานกลาง-รุนแรง 4) ความเครียดด้านการตอบสนองทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของลูก สรุป : ภาวะวิตกกังวลของมารดาในการศึกษาครั้งนี้มีผลการศึกษาใกล้เคียงกับการศึกษาในโรคอื่นๆ โดยผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ตระหนักถึงความสำคัญในการคัดกรองและให้การช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป


Implicit Attitudes Of Asian American Older Adults Toward Aging, Anita Ho 2019 Claremont Colleges

Implicit Attitudes Of Asian American Older Adults Toward Aging, Anita Ho

Scripps Senior Theses

Greenwald, McGhee, and Schwartz (1998) developed the Implicit Association Test (IAT), a measure of mental associations between target pairs and positive or negative attributes. Highly associative categories yield faster responses than the reverse mental associations, which is thought to reflect implicit attitudes toward stereotypes. The present study investigated the effect of ethnic group on one’s implicit attitudes toward aging and gender stereotypes by comparing two groups of older adults, Asian Americans and Caucasian Americans, that likely hold different culture values. Past qualitative studies have established the existence of mental health stigma in Asian American populations, including negative Asian American perceptions …


A Survey Of Providers And Patients Assessing The Need For And Use Of Prevention Practitioners To Combat Obesity In The Primary Care Setting, Amanda R. Lyons 2019 University of Kentucky

A Survey Of Providers And Patients Assessing The Need For And Use Of Prevention Practitioners To Combat Obesity In The Primary Care Setting, Amanda R. Lyons

DNP Projects

Purpose: The overall aim of this project was to gather information from two groups of stakeholders, providers and patients, on the feasibility of implementing prevention practitioners in the primary care system to address overweight and obesity.

Methods: This study utilized a quantitative descriptive design through the use of electronic surveys. Provider surveys were explained and presented during a monthly provider meeting. Patient flyers were posted in exam rooms and surveys were accessible through a provided link and QR code.

Results: Providers (N=10) agreed that they saw a need for the use of a prevention practitioner (Mean=4.44, SD=.88) as well as …


The Effects Of Compassion Fatigue On Burnout Among Inpatient Psychiatric And Intensive Care Unit Nurses, Amita Madan Neidlinger 2019 University of Kentucky

The Effects Of Compassion Fatigue On Burnout Among Inpatient Psychiatric And Intensive Care Unit Nurses, Amita Madan Neidlinger

DNP Projects

PURPOSE: This DNP project is relevant to nurses of the psychiatric and Intensive Care Unit (ICU) setting, as high stress environments may produce higher rates of compassion fatigue and burnout. Investigation of these areas may help illuminate unnecessary healthcare costs that are associated with these phenomena. This DNP project is important to the University of Kentucky’s healthcare system, its patients, and nurses. Increased absenteeism and increased medication errors are positively associated with the prevalence of compassion fatigue and burnout in nurses. Outcomes from this project will allow identification of unnecessary healthcare costs and encourage administrators to focus on reducing nurse …


The Holistic Self: A Visual Analysis Of Carl Jung's The Red Book, Emma Lindsay Klement 2019 Bard College

The Holistic Self: A Visual Analysis Of Carl Jung's The Red Book, Emma Lindsay Klement

Senior Projects Spring 2019

This senior project will look at Carl Jung’s The Red Book and how it’s creation was the process by which he healed from his psychotic break, or “deep-sea voyage.” Through the exploration of various other texts by Carl Jung this thesis will endeavor to understand Jung’s psyche during this time of deep turmoil by analyzing the images that he creates and the way in which he creates them. Jung was deeply molded by both Christian doctrine as well as Alchemy and the Occult, thus this project will take into account the specific Christian and alchemical meanings of particular motifs within …


Empathy Heals: The Effects Of Patient-Centered Communication On Women Oncology Patients In Gender-Discordant Dyads, Emily Cooper 2019 Regis University

Empathy Heals: The Effects Of Patient-Centered Communication On Women Oncology Patients In Gender-Discordant Dyads, Emily Cooper

Regis University Student Publications (comprehensive collection)

Patient-centered communication (PCC) is an important component of healthcare. It is defined as a version of healthcare that is both respectful and responsive to the patient’s needs, values, and preferences while encouraging shared clinical decision-making between a patient and their physician. PCC has numerous benefits for the patient, including but not limited to increases in trust, social support, self-care skills, emotional management, and reduced suffering. However, there are populations that face substantially reduced quality of PCC, such as cancer patients. This may be due to circumstances unique to cancer diagnoses, such as the nature of the disease itself, particular difficulty …


An Analysis And Critique Of Mental Health Treatment In American State Prisons And Proposal For Improved Care, Shelby Hayne 2019 Claremont Colleges

An Analysis And Critique Of Mental Health Treatment In American State Prisons And Proposal For Improved Care, Shelby Hayne

Scripps Senior Theses

Mental health treatment in state prisons is revealed to be highly variable, under-funded, and systematically inadequate. Existing literature exposes this injustice but fails to provide a comprehensive proposal for reform. This paper attempts to fill that gap, outlining a cost-effective, evidence-based treatment proposal, directly addressing the deficits in care revealed through analysis of our current system. In addition, this paper provides historical overviews of the prison system and mental health treatment, utilizing theoretical perspectives to contextualize this proposal in the present state of affairs. Lastly, the evidence is provided to emphasize the potential economic and social benefits of improving mental …


Processing Youth Adventure Wellness Experiences: Poetic Representations Of Youth’S Peace Bus Experiences, Ty TH Nguyen 2019 Wilfrid Laurier University

Processing Youth Adventure Wellness Experiences: Poetic Representations Of Youth’S Peace Bus Experiences, Ty Th Nguyen

Theses and Dissertations (Comprehensive)

This narrative inquiry explored how youth are processing their Peace Bus program experiences two and a half years after program completion. The purpose was to gain an understanding of (1) what program components the participants reflect on, (2) how they conceptualize their program experiences, and (3) what factors contribute to their reflection processes. This research sought to address the gap in literature where little is understood about the ongoing experiences of program participants of adventure wellness programs and the processes that lead to positive changes. As the researcher, I conducted a qualitative study using narrative inquiry and poetic representation methods. …


ภาวะการติดการออกกำลังกาย ภาวะข้อเข่าและสุขภาวะทางจิต ในผู้ใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายแห่งจุฬาลงกรณ์, ชญามนต์ รัตนวิจารณ์ 2019 คณะแพทยศาสตร์

ภาวะการติดการออกกำลังกาย ภาวะข้อเข่าและสุขภาวะทางจิต ในผู้ใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายแห่งจุฬาลงกรณ์, ชญามนต์ รัตนวิจารณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่อาจจะส่งผลที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจเมื่อเกิดอาการเสพติดขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาของภาวะการติดการออกกำลังกายมากนักในสังคมไทย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีความสนใจศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะการเสพติดการออกกำลังกาย ภาวะข้อเข่า และสุขภาวะทางจิต การวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาในกลุ่มผู้ใช้บริการของศูนย์ออกกำลังกายแห่งจุฬาลงกรณ์ ผู้วิจัยทำการคัดเลือกผู้เข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 386 คน โดยใช้แบบประเมินภาวะการติดการออกกำลังกาย (Exercise Addiction Inventory; EAI) แบบสอบถามประเมินข้อเข่า (Knee and Osteoarthritis Outcome Score; KOOS) และแบบสอบถามสุขภาวะทางจิต (The Questionnaire for Eudaimonic Well-Being; QEWB) จากการวิเคราะห์ผลกระทบของภาวะการติดการออกกำลังกายต่อสุขภาวะทางจิตและอาการของภาวะข้อเข่า นอกจากนี้ใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นหลายตัวแปร เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกาย สุขภาวะทางจิต และภาวะอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม จากการศึกษา พบภาวะการติดการออกกำลังกายร้อยละ 9.1 ภาวะข้อเข่าในช่วงคะแนน 76-100 ตามด้านดังนี้ ด้านอาการ ร้อยละ 75.9 ด้านอาการปวด 90.4 ด้านกิจวัตรประจำวัน 94.6 ด้านการเคลื่อนไหวในการออกกำลังกายและการทำกิจกรรมอื่น ๆ 75.9 และด้านคุณภาพชีวิต 69.2 และส่วนใหญ่สุขภาวะทางจิตดีในระดับปานกลาง ร้อยละ 75.4 ของกลุ่มตัวอย่าง และจากการวิเคราะห์ทำนายโอกาสเกิดภาวะการติดการออกกำลังกายโดยใช้สถิติ Logistic regression พบว่า ตัวแปรที่สามารถทำนายการเกิดภาวะการติดการออกกำลังกาย คือ เพศชาย โดยมีแนวโน้มการเกิดภาวะการติดการออกกำลังกายมากกว่าเพศหญิง เป็น 2.65 เท่า (p<0.05) การศึกษาเชิงปริมาณนี้ พบว่า การเสพติดการออกกำลังกายขึ้นอยู่กับความถี่และการใช้เวลาในการออกกำลังกาย นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างที่รักษาสุขภาพ มักหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหวานและดื่มน้ำเปล่าแทน รวมถึงค่า BMI ได้รับผลกระทบจากภาวะการติดการออกกำลังกายด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การศึกษาในอนาคต ควรศึกษาถึงความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะการติดการออกกำลังกาย และอธิบายความสัมพันธ์เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า หรือปัญหาสุขภาพจิตโดยเฉพาะในกลุ่มของประชากรไทย


The Effects Of Mindfulness Practice With Music Listening On Working Memory, Emily Irene Messick 2019 University of the Pacific

The Effects Of Mindfulness Practice With Music Listening On Working Memory, Emily Irene Messick

University of the Pacific Theses and Dissertations

The purpose of this experimental study was to investigate mindfulness strategies and their influence on working memory. The potential role of music in facilitating mindfulness practice is explored. Various listening exercises were investigated along with their influence on working memory (i.e. attention control). Thirty-four individuals were randomly assigned to participate in one of four listening groups: 1) mindfulness with music, 2) mindfulness without music, 3) music only, and 4) silence. Thirty-four participants engaged in a computerized digit-span task before and after the listening exercise to assess pre- and post-test working memory performance. Thirty participants were included in data-analysis due to …


Digital Commons powered by bepress