Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 43

Full-Text Articles in Entire DC Network

Innovation Process Of Amorphous Cellulose - Graphene Oxide Hybrid Structure For Water Treatment In A Shrimp Farm, Kongkiat Phuphantrakun Jan 2022

Innovation Process Of Amorphous Cellulose - Graphene Oxide Hybrid Structure For Water Treatment In A Shrimp Farm, Kongkiat Phuphantrakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Amorphous cellulose-graphene oxide bead composites are popularly employed in water purification. However, the existing fabrication methods of amorphous cellulose (AC) and amorphous cellulose-graphene oxide (ACGO) beads are complicated with many chemical use, multi-step, time and energy-consuming. In this research, we proposed an efficient method for fabricating amorphous cellulose-graphene oxide (ACGO) beads using less chemical under a simple 2-step approach. The production process of AC and ACGO beads was successfully fabricated via sulfuric acid (H2SO4) gelatinization and regeneration using eucalyptus paper as a raw material. The cellulose gel was droplet-extruded into deionized (DI) water and transformed into a solid bead via …


Improvement Of Hydrodynamics And Heat Transfer In Biomass Fluidized Bed Combustor With Immersed Tubes Using Cfd-Dem, Krittin Korkerd Jan 2022

Improvement Of Hydrodynamics And Heat Transfer In Biomass Fluidized Bed Combustor With Immersed Tubes Using Cfd-Dem, Krittin Korkerd

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Computational Fluid Dynamics coupled with Discrete Element Method (CFD-DEM) has been extensively utilized for studying hydrodynamics and heat transfer in fluidization processes. This study specifically focuses on improving hydrodynamics and heat transfer in a biomass fluidized bed combustor with immersed tubes. The investigation involves the use of mixed biomass, exploring the effects of biomass types, biomass loading, and blending ratios to propose criteria for selecting suitable biomass fuel for the system. Design parameters related to the immersed tubes, such as the angle between tubes, tube diameters, and distance between tubes, were also considered. A data-driven model was developed based on …


การแยกปรอทออกจากคอนเดนเสทด้วยเทคโนโลยีเมมเบรนเส้นใยกลวง, วรัญญา พูลแก้ว Jan 2022

การแยกปรอทออกจากคอนเดนเสทด้วยเทคโนโลยีเมมเบรนเส้นใยกลวง, วรัญญา พูลแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิธีการใหม่ในการแยกปรอทออกจากคอนเดนเสทโดยใช้ระบบเมมเบรนเส้นใยกลวงแบบคอนแทกเตอร์ ตามหลักการและพื้นฐานของการสกัดด้วยตัวทำละลาย โดยสารสกัดเสริมฤทธิ์ของกรดไฮโดรคลอริกและไทโอยูเรียเป็นสารสกัดที่ความเข้มข้น 0.5 โมลต่อลิตร และ 1.5 โมลต่อลิตร ตามลำดับ รูปแบบการไหลในลักษณะสารป้อนไหลผ่านและสารสกัดไหลวน อัตราการไหลที่ 1.67 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อวินาที ที่ อุณหภูมิ 323.15 เคลวิน ผลการศึกษาพบว่าประสบความสำเร็จในการแยกปรอทออกจากคอนเดนเสท ร้อยละการกำจัดปรอทสูงถึง 98.40 ซึ่งความเข้มข้นหลังกำจัดปรอทมีค่าต่ำกว่าค่าที่กำหนด สำหรับป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและโรงกลั่น คำนวณค่าการเปลี่ยนแปลงเอนทาลปีมาตรฐาน ค่าการเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีมาตรฐาน และค่าการเปลี่ยนแปลงพลังงานเสรีของกิ๊บส์มาตรฐานได้ 119.80 กิโลจูลต่อโมล 0.37 กิโลจูลต่อโมล และ -1.15 กิโลจูลต่อโมลตามลำดับ บ่งชี้ว่าปฏิกิริยาการแยกปรอทออกจากคอนเดนเสทเป็น ปฏิกิริยาดูดความร้อน ผันกลับไม่ได้ และสามารถเกิดขึ้นเองที่ 323.15 เคลวิน ปรอทในรูปฟีนิลเมอร์คิวรีคลอไรด์พบมากที่สุดในคอนเดนเสทจากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางเสปกโตรสโคปี การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ อันได้แก่ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ลักษณะการแพร่ และลักษณะปฏิกิริยาเพื่ออธิบายลักษณะการถ่ายเทมวลในระบบเมมเบรนเส้นใยกลวงแบบคอนแทกเตอร์ ผลการคำนวณพบว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ลักษณะปฏิกิริยาสอดคล้องกับผลการทดลอง และค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนมวลในเมมเบรน และด้านเปลือก คือ 7.45 × 10−6 เซนติเมตรต่อวินาที และ 2.09 × 10−5 เซนติเมตรต่อวินาทีตามลำดับ ซึ่งบ่งชี้ว่าการถ่ายโอนมวลในเมมเบรนเป็นขั้นตอนควบคุม


การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันกากกาแฟบดโดยเอทานอลภาวะเหนือวิกฤต, ณัฐกิตติ์ เจริญดี Jan 2022

การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันกากกาแฟบดโดยเอทานอลภาวะเหนือวิกฤต, ณัฐกิตติ์ เจริญดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไบโอดีเซล (Biodiesel) เป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกชีวภาพที่สามารถผลิตได้จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเช่น น้ำมันพืช และไขมันสัตว์ ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลพบปัญหาด้านราคาต้นทุนวัตถุดิบที่มีราคาสูงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของต้นทุนทั้งหมด กากกาแฟเป็นของเสียหลักจากกระบวนการผลิตกาแฟซึ่งมีองค์ประกอบของไขมันอยู่ร้อยละ 18 ถึง 20 ของน้ำหนัก ทำให้สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตไบโอดีเซลเพื่อลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง งานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันกากกาแฟบดด้วยเอทานอลภาวะเหนือวิกฤตในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ และแบบต่อเนื่อง และหาภาวะที่ให้ร้อยละกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์ (Fatty acid ethyl ester, FAEE) สูงสุด จากผลการทดลองพบว่าปริมาณน้ำมันกากกาแฟบดสูงสุดที่สามารถสกัดด้วยวิธีซอกห์เลตโดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลได้ปริมาณน้ำมันกากกาแฟบดร้อยละ 27.67 ของน้ำหนักกากกาแฟบด ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลด้วยเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ พบว่าปริมาณกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์จะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิและเวลาในการทำปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น โดยที่อุณหภูมิ 275 องศาเซลเซียส และเวลาในการทำปฏิกิริยา 40 นาที จะให้ปริมาณกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์สูงสุดร้อยละ 88.37 สำหรับกระบวนการผลิตไบโอดีเซลด้วยเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง พบว่าเมื่อเพิ่มอัตราการไหลจะทำให้เวลาของสารตั้งต้นในเครื่องปฏิกรณ์ลดลง ส่งผลทำให้ปริมาณกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์มีปริมาณลดลง ที่อุณหภูมิ 325 องศาเซลเซียส อัตราการไหล 2 กรัมต่อนาที และเวลาของสารตั้งต้นในเครื่องปฏิกรณ์ 25.16 นาที จะให้ปริมาณกรดไขมันเอทิลเอสเทอร์ที่สูงสุดร้อยละ 83.35


ผลของชาร์ที่กระตุ้นด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และไอน้ำต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพจากชานอ้อยโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, สราวรรณ ทรัพย์พันธ์ Jan 2022

ผลของชาร์ที่กระตุ้นด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และไอน้ำต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพจากชานอ้อยโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, สราวรรณ ทรัพย์พันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พลังงานจากชีวมวลเป็นพลังงานทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจเพื่อแก้ปัญหาและข้อจำกัดจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน (Hydrothermal liquefaction, HTL) เป็นกระบวนการแปรรูปชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงเหลว เนื่องด้วยกระบวนการนี้ยังสามารถปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันและปริมาณน้ำมันได้ด้วยการใส่ตัวเร่งปฏิกิริยาลงไปในกระบวนการ ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาที่น่าสนใจคือ ชาร์ เนื่องจากมีสมบัติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สามารถผลิตได้ง่ายจากชีวมวล และ ราคาถูก อีกทั้งยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาผลของชาร์ ที่ส่งเสริมการเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน งานวิจัยนี้จึงสนใจในการนำชานอ้อยและชาร์ มาเป็นสารป้อนร่วมในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน โดยใช้ชาร์มากระตุ้นด้วยไอน้ำและใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) เป็นตัวช่วยกระตุ้น เพื่อนำมาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพจากชานอ้อยโดยกระบวนการ HTL โดยขั้นตอนในงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ขั้นแรก ขั้นของการกระตุ้น เป็นการกระตุ้นถ่านชาร์ด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และไอน้ำ ซึ่งจะศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมและถ่านชาร์ที่ร้อยละ 2.5 และ 5 โดยน้ำหนัก และผลของอุณหภูมิในการกระตุ้นที่ 700, 800 และ 900 องศาเซลเซียส พบว่า เมื่อใช้อุณหภูมิในการกระตุ้นสูงขึ้น ร้อยละผลได้ของถ่านชาร์หลังการกระตุ้นจะลดลง ส่วนในขั้นที่ 2 เป็นการทำไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน โดยดำเนินการในเครื่องปฏิกรณ์ความดันสูงแบบแบตช์ที่อุณหภูมิ 300 และ 325 องศาเซลเซียส ที่ความดันเริ่มต้น 2 เมกะพาสคัล โดยใช้เวลาในการทำปฏิกิริยา 60 นาที พบว่า ร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบชีวภาพจะเพิ่มขึ้น เมื่อใช้ชานอ้อยร่วมกับชาร์ที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำและโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เนื่องจากชาร์มีผลในการเร่งปฏิกิริยาการแตกตัวของชีวมวล อีกทั้งโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ยังช่วยเสริมการทำงานร่วมกับชานอ้อยได้ดียิ่งขึ้น โดยให้ร้อยละน้ำมันดิบชีวภาพสูงถึง 29.91% ในส่วนของอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่ 300 และ 325 องศาเซลเซียส พบว่าเมื่อใช้อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่สูงขึ้นร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เมื่อใช้ชาร์ที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำและโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ร่วมในกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน จะส่งผลช่วยปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันชีวภาพ โดยพิจารณาจากค่าความร้อนสูง


ผงยางรถยนต์เหลือทิ้งดัดแปรด้วยแอมีนสำหรับการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์, ณภัสร์จิรา จารี Jan 2021

ผงยางรถยนต์เหลือทิ้งดัดแปรด้วยแอมีนสำหรับการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์, ณภัสร์จิรา จารี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมวัสดุดูดซับจากผงยางรถยนต์เหลือทิ้ง (WR) โดยการดัดแปรด้วยแอมีนเพื่อเพิ่มความจำเพาะต่อการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ศึกษาได้แก่ อัตราการไหลของแก๊สขาเข้า (50 70 และ 100 มิลลิลิตรต่อนาที) ขนาดอนุภาคของผงยาง (20 40 และ 60 เมช) ผงยางก่อนและหลังการบำบัดด้วยสารละลายกรด ชนิดของแอมีน (เตเตระเอทิลีนเพนตะแอมีนและพอลิเอทิลีนไดอิมีน) ความเข้มข้นของสารละลายแอมีน (ร้อยละ 2.5 5 และ 10 โดยน้ำหนัก) และอุณหภูมิในการดูดซับ (30 45 และ 60 องศาเซลเซียส) วัสดุดูดซับถูกพิสูจน์เอกลักษณ์ผ่านการวิเคราะห์ลักษณะพื้นที่ผิวจำเพาะ หมู่ฟังก์ชัน ร้อยละของธาตุ และลักษณะสัณฐานวิทยา ความสามารถการดูดซับของผงยางเหลือทิ้งถูกทดสอบโดยเครื่องปฏิกรณ์แสตนเลสภายใต้ภาวะอุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ผงยางเหลือทิ้งขนาดเมช 60 มีค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นหลังบำบัดด้วยสารละลายกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 1 โมลาร์ (WR60A) เทียบกับผงยางเหลือทิ้งขนาด 60 เมชก่อนบำบัดด้วยสารละลายกรด (WR60) โดยใช้อัตราการไหลของแก๊สขาเข้าในการดูดซับ 70 มิลลิลิตรต่อนาที เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณของแอมีนที่เหมาะสม ผงยางเหลือทิ้งขนาด 60 เมชก่อนการบำบัดด้วยสารละลายกรด (WR60) ถูกนำมาดัดแปรเพื่อทดสอบหาค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่า การดัดแปรด้วยเตเตระเอทิลีนเพนตะแอมีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนักช่วยเพิ่มค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับ WR60 ได้มากที่สุด (10.41 มิลลิกรัมต่อกรัม) หลังจากนั้นนำ WR60A ซึ่งเป็นวัสดุที่เตรียมจากผงยางเหลือทิ้งหลังบำบัดด้วยสารละลายกรดมาดัดแปรด้วยเตเตระเอทิลีนเพนตะแอมีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก (WR60A_10T) พบว่า ค่าการดูดซับมีค่าเพิ่มขึ้น (11.64 มิลลิกรัมต่อกรัม) ที่ภาวะอุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศโดยใช้อัตราการไหลของแก๊สขาเข้า 70 มิลลิลิตรต่อนาที ผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า WR60A_10T มีค่าความจุการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังได้ศึกษาความสามารถในดูดซับหลังจากการฟื้นฟูสภาพและจลนพลศาสตร์ของวัสดุดูดซับ พบว่า WR60A_10T มีค่าความจุในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงเพียงร้อยละ 4.02 หลังจากผ่านการดูดซับ-คายซับทั้งหมด 10 ครั้ง แบบจำลองจลนพศาสตร์แบบอาฟรามี (Avrami’s model) สามารถอธิบายกลไกการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้


Utilization Of Rain Tree (Samanea Saman) Residue As Modified Adsorbent To Treat Oil And Grease In Canteen Wastewater, Elga Riesta Puteri Jan 2021

Utilization Of Rain Tree (Samanea Saman) Residue As Modified Adsorbent To Treat Oil And Grease In Canteen Wastewater, Elga Riesta Puteri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The utilization of waste materials as adsorbent precursors is gaining intention to treat fats, oils, and greases (FOG), especially in wastewater treatment. Tree residue, an abundant waste, provides a potential feedstock to be converted into valuable materials. This research aimed to develop modified adsorbent prepared from rain tree (Samanea saman) residue for FOG treatment. The synthesis process of modified adsorbent was conducted by chemical pretreatment using different chemical agents (i.e., NaOH, ZnCl2, and H3PO4­). The pre-treated twigs and leaves (1:4 ratio) were continued by pyrolysis process at different temperatures (i.e., 350, 550, and 750oC) using a heating rate of 10oC …


Norfloxacin Adsorption By Activated Carbon From Turmeric Waste, Nuttamon Vanichsetakul Jan 2021

Norfloxacin Adsorption By Activated Carbon From Turmeric Waste, Nuttamon Vanichsetakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In recent years, extensive use of modern medicines and incompetency of conventional wastewater treatment systems have led to contamination of antibiotics in the environment especially in lower income countries. Antibiotics could interact with bacteria in the environment forming resistance to the medicine. Antibiotics also disrupt the balance of ecosystems affecting various lifeforms. Norfloxacin is a common antibiotic in Thailand with reported levels of contamination in Bang Pakong River. Adsorption process is a cheap and effective approach to remove antibiotics from wastewater effluent. Activated carbon is a common adsorbent in adsorption process due to its porous properties. Agricultural waste presents as …


Surface Activation Of Rice Husk-Derived Hydrochar As An Adsorbent For Atrazine And Ammonium, Kim Anh Phan Jan 2021

Surface Activation Of Rice Husk-Derived Hydrochar As An Adsorbent For Atrazine And Ammonium, Kim Anh Phan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to the agricultural intensity, studies of sustainable solutions for atrazine and nitrogen contamination have attracted more attention. This study is aimed to develop rice husk hydrochar as an adsorbent for atrazine and ammonium adsorption. Effects of microwave-assisted hydrothermal carbonization (MHTC) conditions including temperature (150 – 200°C), residence time (20 – 60 min), and liquid to solid ratio (5:1 – 15:1 mL/g) on the atrazine and ammonium adsorption capacity were investigated. Surface activation of rice husk hydrochar samples was synthesized using potassium hydroxide (KOH) and hydrogen peroxide (H2O2) with various concentrations. The results showed that higher MHTC temperature with higher …


Liquid-Phase Selective Hydrogenation Of Furfural To Furfuryl Alcohol Over Pt- And Ptfe-Incorporated Mesoporous Carbon, Sureeporn Saknaphawuth Jan 2021

Liquid-Phase Selective Hydrogenation Of Furfural To Furfuryl Alcohol Over Pt- And Ptfe-Incorporated Mesoporous Carbon, Sureeporn Saknaphawuth

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to investigate the liquid-phase selective hydrogenation of furfural to furfuryl alcohol in a batch reactor at 50ºC, 20 bar H2 using water and methanol as the solvent. This study has been divided into two sections. The characteristics and catalytic properties of OMC-supported Pt catalysts (Pt/OMC-one-pot) prepared by one-step modified soft-template self-assembly method were compared with the Pt impregnated on OMC, activated carbon (AC), and non-uniform meso/macroporous carbon (MC) in the first section. Larger Pt particle size (~4 nm) was obtained on the Pt/OMC-one-pot comparing to all the impregnated ones, in which the Pt particle sizes were in …


การเพิ่มประสิทธิภาพของผงเปลือกมะละกอด้วยสาร Pdtc เพื่อดูดซับตะกั่วออกจากน้ำเสียสังเคราะห์ และการทำนายค่าสภาวะการดูดซับที่เหมาะสมโดยใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนอง, วิลาวรรณ ใจหาญ Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพของผงเปลือกมะละกอด้วยสาร Pdtc เพื่อดูดซับตะกั่วออกจากน้ำเสียสังเคราะห์ และการทำนายค่าสภาวะการดูดซับที่เหมาะสมโดยใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนอง, วิลาวรรณ ใจหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการกำจัดตะกั่วในน้ำสังเคราะห์ที่ปนเปื้อนโดยใช้ตัวดูดซับชีวภาพจากเปลือกมะละกอ (PP) โดยใช้วิธีการพื้นผิวการตอบสนองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน ผลการทดลองพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับตะกั่วคือ ความเข้มข้นของตะกั่วเริ่มต้นในสารละลาย 96.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 4 ปริมาณตัวดูดซับ 0.73 กรัมต่อ 50 มิลลิลิตร และเวลาสัมผัสเท่ากับ 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ได้ทำการปรับปรุงพื้นผิวตัวดูดซับ PP ด้วย PDTC (PP-PDTC) เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซับ พบว่าผลการดูดซับตะกั่วสำหรับ PP และ PP-PDTC ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับร้อยละ 97.51 และ 99.12 ตามลำดับ ผลการศึกษาไอโซเทอมของ PP และ PP-PDTC สอดคล้องกับแบบจำลองของฟรุนดลิชและดูบินิน-ราดัชเควิช ตามลำดับ การศึกษาจลนพลศาสตร์ของทั้งสองตัวดูดซับสอดคล้องกับแบบจำลองอันดับสองเทียม การศึกษาอุณหพลศาตร์ของ PP และ PP-PDTC พบว่า เป็นกระบวนการดูดความร้อนและสามารถเกิดขึ้นได้เอง การวิเคราะห์ SEM/EDX พบว่าพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญหลังจากถูกปรับปรุงด้วย PDTC และหลังจากการดูดซับด้วยตะกั่ว การวิเคราะห์ FTIR พบว่ามีหมู่ฟังก์ชันที่สามารถทำปฏิกิริยากับตะกั่วบนตัวดูดซับ PP และ PP-PDTC และการวิเคราะห์ BET พบว่าปริมาตรรูพรุนและพื้นที่ผิวของตัวดูดซับ PP-PDTC มีขนาดมากกว่า PP การศึกษาค่าร้อยละของการคายซับโดยใช้กรดไนตริกบนตัวดูดซับ PP และ PP-PDTC มีค่าเท่ากับร้อยละ 75.16 และ 92.79 ตามลำดับ


Lamellar Inorganic Solids And Biochar Nanocomposites For Sorptive Removal Of Metal Ions And Nitrophenol, Sutasinee Sutthiklub Jan 2021

Lamellar Inorganic Solids And Biochar Nanocomposites For Sorptive Removal Of Metal Ions And Nitrophenol, Sutasinee Sutthiklub

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this research, the adsorbents of ternary-component composites were developed to remove various types of toxic chemicals. The selected three components are clay, MgAl-layered double hydroxide (MgAl-LDH) and biochar because they are nontoxic and low cost and also possess high adsorption capacity and high surface area. The composites were synthesized by the combination of post-pyrolysis and co-precipitation methods, and characterized by XRD and SEM-EDS. The result shows that clay and LDH particles distributed and deposited on the biochar matrix, confirming the coexistence of three phases in micrometer and nanometer scales. Ni2+, CrO42- and 4-Nitrophenol were chosen as the representatives of …


Health Risk Assessment Of Toxic Metals In Commonly Consumed Salad Leafy Vegetables In Bangkok, Zin Htoo Hlyan Jan 2021

Health Risk Assessment Of Toxic Metals In Commonly Consumed Salad Leafy Vegetables In Bangkok, Zin Htoo Hlyan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study were 1) to investigate concentrations of toxic metals including As, Cd, and Pb in the commonly consumed salad leafy vegetables which were sold in Bangkok, and 2) to assess potential human health risks of As, Cd, and Pb exposure via salad leafy vegetables consumption. A total of 120 samples were randomly collected from local fresh markets in Bangkok. The total concentrations of toxic metals were determined by an inductively coupled plasma mass spectroscopy (ICP-MS). Total concentrations of As, Cd and Pb in coral lettuce (CL), red coral (RC) and green oak (GO) for soil cultivation …


ผลของชาร์จากไม้ไผ่และกะลาปาล์มที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพจากชานอ้อยโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, ณัฐชนน นิลอ่อน Jan 2021

ผลของชาร์จากไม้ไผ่และกะลาปาล์มที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำต่อการผลิตน้ำมันดิบชีวภาพจากชานอ้อยโดยไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน, ณัฐชนน นิลอ่อน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันแหล่งพลังงานหลักคือก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบจากกระบวนการขุดเจาะน้ำมันของโลก การใช้วัสดุข้างต้นทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นจำนวนมาก และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน การลดการปล่อย CO2 ทำได้โดยการใช้ชีวมวลเป็นแหล่งพลังงานแทนการขุดเจาะน้ำมัน กระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันเป็นกระบวนการที่น่าสนใจที่สามารถแปลงชีวมวลเป็นผลิตภัณฑ์เหลวหรือผลิตภัณฑ์ชีวภาพ การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมในกระบวนการช่วยปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตของผลิตภัณฑ์ของเหลวจากกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน ชาร์ถือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการที่มีราคาถูกและสามารถผลิตได้ง่ายจากชีวมวล นอกจากนี้การกระตุ้นชาร์ด้วยไอน้ำยังช่วยเพิ่มสมบัติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้ดีขึ้น ในงานวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาผลของชาร์ที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำต่อผลผลิตและคุณภาพของน้ำมันดิบชีวภาพ โดยการทำไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันดำเนินการในเครื่องปฏิกรณ์ความดันสูงแบบแบตช์ที่อุณหภูมิ 300-350 องศาเซลเซียส ที่ความดันเริ่มต้น 2 เมกะพาสคัล โดยใช้เวลาในการทำปฏิกิริยา 60 นาที ชาร์ถูกกระตุ้นโดยไอน้ำที่อุณหภูมิ 800-900 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาในการกระตุ้น 120 นาที จากผลการทดลองพบว่า ร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ชาร์กะลาปาล์มและชาร์ไม้ไผ่ร่วมด้วย เนื่องจากชาร์มีผลในการเร่งปฏิกิริยาการแตกตัวของชีวมวล ในส่วนของอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่ 300 และ 350 องศาเซลเซียส พบว่าเมื่อใช้อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาที่สูงขึ้น ร้อยละผลได้ของน้ำมันดิบจะลดลงในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นแก๊สเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เมื่อใช้ชาร์ที่ถูกกระตุ้นด้วยไอน้ำร่วมในกระบวนการกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชัน จะส่งผลช่วยปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันชีวภาพโดยพิจารณาจากค่าความร้อนสูง


Tetracycline Sorption By Magnetic Biochar Derived From Watermelon Rind: Performance And Influential Factors, Phisit Thairattananon Jan 2021

Tetracycline Sorption By Magnetic Biochar Derived From Watermelon Rind: Performance And Influential Factors, Phisit Thairattananon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tetracycline (TC) antibiotic is one of emerging contaminants in water reservoirs that causes undesirable effects on environment and human health. Magnetic biochar (MBC) is considered a promising sorbent in adsorption process for removal of contaminants with highly efficient and facile operation. In this work, MBC was synthesized by pyrolysis of watermelon rind impregnated with FeCl3 at different pyrolysis temperatures in a range of 600-900 °C prior to applying for TC adsorption. Characteristics of MBC were analyzed by scanning electron microscopy, elemental analyzer, N2 adsorption/desorption, Fourier-transform infrared spectroscopy, Raman spectroscopy, vibrating sample magnetometry, and X-ray diffractometry. The adsorption kinetics, isotherm, effect …


การประยุกต์ใช้กากหม้อกรองเหลือทิ้งจากโรงงานน้ำตาลด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันเพื่อบำบัดน้ำเสียของโรงงาน, รัชมล วิธูวัฒนา Jan 2021

การประยุกต์ใช้กากหม้อกรองเหลือทิ้งจากโรงงานน้ำตาลด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันเพื่อบำบัดน้ำเสียของโรงงาน, รัชมล วิธูวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กากหม้อกรองเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานน้ำตาลซึ่งมีจำนวนมาก และมีปริมาณคาร์บอนที่สูง งานวิจัยนี้ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำกากหม้อกรอง มาผลิตเป็นวัสดุดูดซับด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน โดยศึกษาปัจจัยที่มีผล ได้แก่ อุณหภูมิ (200, 250, 300 °C) ระยะเวลาทำปฏิกิริยา (1, 2, 3 ชั่วโมง) และอัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำ (1:5, 1:10, 1:15) โดยผลผลิตที่ได้เรียกว่า ไฮโดรชาร์ และนำไฮโดรชาร์ที่ได้มาทดสอบการดูดซับสีในน้ำเสียจริงจากโรงงานน้ำตาลที่สภาวะค่าความเป็นกรด-ด่างจริง (pH = 4.18) และ ±2 จากค่าความเป็นกรด-ด่างจริง (pH = 6.18, 2.18) ผลการศึกษาพบว่า ไฮโดรชาร์ที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส เวลาทำปฏิกิริยา 1 ชั่วโมง และอัตราส่วนชีวมวลต่อน้ำกลั่น 1:10 สามารถใช้เป็นตัวดูดซับที่ดี โดยไฮโดรชาร์ดังกล่าวมีค่าผลผลิตที่ได้ร้อยละ 57.73 โดยน้ำหนัก ค่าไอโอดีนนัมเบอร์เท่ากับ 273.37 มิลลิกรัมต่อกรัม และค่าไอโอดีนนัมเบอร์สุทธิเท่ากับ 153.09 มิลลิกรัมต่อกรัม ในส่วนของการศึกษาการดูดซับ พบว่า เวลาเข้าสู่สมดุลการดูดซับสีของไฮโดรชาร์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (น้อยกว่า 1 นาที) และประสิทธิภาพในการกำจัดสีในน้ำเสียจริงจากโรงงานน้ำตาลในสภาวะปกติได้ร้อยละ 70.84 นอกจากนี้ได้ทำการทดลองในคอลัมน์จำลอง พบว่าปริมาตรน้ำเสียที่ไฮโดรชาร์สามารถดูดซับสีได้ค่าสีต่ำกว่ามาตรฐานน้ำทิ้งเท่ากับ 40 มิลลิลิตร ที่อัตราการไหล 0.5 มิลลิลิตรต่อนาที โดยมีค่าสีเท่ากับ 274 ADMI


บทความ: "ถ่านชีวภาพ (Biochar)" วัสดุปรับปรุงดินเพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย, บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Apr 2020

บทความ: "ถ่านชีวภาพ (Biochar)" วัสดุปรับปรุงดินเพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย, บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

Environmental Journal

No abstract provided.


การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพในการปลูกข้าวในพื้นที่เกษตรกรรมดินเค็ม, สิรภัทร ประเสริฐสุข Jan 2020

การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพในการปลูกข้าวในพื้นที่เกษตรกรรมดินเค็ม, สิรภัทร ประเสริฐสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่วิกฤตดินเค็มของประเทศไทย โดยสาเหตุสำคัญของดินเค็มในพื้นที่เกิดจากสภาพทางธรณีวิทยา และมีแนวโน้มการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มเพิ่มมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม โดยทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชลดลงอย่างมาก และบางพื้นที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ งานวิจัยนี้จึงมุ่งปรับปรุงดินเค็มด้วยถ่านชีวภาพแกลบเพื่อให้สามารถเพาะปลูกข้าวได้ โดยทำการทดลองปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มโซดิกที่มี pH เท่ากับ 10.6 ปริมาณโซเดียมทั้งหมดเท่ากับ 0.83 % ค่าการนำไฟฟ้าเท่ากับ 68.6 dS/m และ SAR เท่ากับ 11,707 และจำกัดปัญหาการระเหยของเกลือจากน้ำใต้ดินขึ้นมาสู่ผิวดินโดยทำการปลูกข้าว ในวงบ่อซีเมนต์ปิดก้นบ่อ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ถ่านชีวภาพแกลบสามารถปรับปรุงดินเค็มโซดิกได้ โดยสามารถลดความเค็มของดินได้ภายในรอบการปลูกข้าว (120 วัน) ซึ่งพบว่า การนำไฟฟ้า ปริมาณโซเดียม และค่า SAR ของดินมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นการใส่ถ่านชีวภาพยังช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งไนโตรเจน แคลเซียม และแมกนีเซียมได้ โดยเฉพาะการใส่ถ่านชีวภาพแกลบในอัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อวงบ่อซีเมนต์ร่วมกับปุ๋ยคอกในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อวงบ่อซีเมนต์ (ตำรับการทดลองที่ 3) มีค่าการนำไฟฟ้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (13.33 dS/m) เช่นเดียวกับปริมาณโซเดียมทั้งหมด (0.18 %) และค่า SAR (4,602) ของดินในตำรับการทดลองที่ 3 ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังให้ผลการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวดีที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อทำการปลูกข้าวรอบที่ 2 และรอบที่ 3 พบว่า ถ่านชีวภาพแกลบสามารถปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษายังพบว่า ตำรับการทดลองที่ใส่ถ่านชีวภาพ ให้ผลผลิตของข้าวในรอบการปลูกข้าวที่ 3 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (202.77-492.77 กรัม) จากรอบการปลูกที่ 1 อีกด้วย ในขณะที่ ตำรับการทดลองที่ไม่ใส่ถ่านชีวภาพ ให้ผลการเจริญเติบโตข้าวที่ดีในรอบการปลูกที่ 1 (15.55 กรัม) แต่ให้ผลการเจริญเติบโตต่ำที่สุดในรอบการปลูกที่ 3 (7.30 กรัม) ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงสรุปได้ว่า การใส่ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยคอกสามารถลดความเค็มในดินได้ดีกว่าการใส่ปุ๋ยคอกเพียงอย่างเดียว โดยการใส่ถ่านชีวภาพแกลบในอัตรา 1.5 และ 2 กิโลกรัมต่อวงบ่อซีเมนต์ เป็นอัตราการใส่ถ่านชีวภาพที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มโซดิกในวงบ่อซีเมนต์ เนื่องจากสามารถปรับปรุงดินเค็มโซดิกให้มีสมบัติที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวดีที่สุด


The Relationship Between Greenhouse Gas Emission And Rice Production In Thailand, Kitsada Vitidladda Jan 2020

The Relationship Between Greenhouse Gas Emission And Rice Production In Thailand, Kitsada Vitidladda

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Climate Change has been a global concern for decades. The phenomenon is mainly caused by human activities, including rice production. Although the agricultural activity can adversely emit greenhouse gas emission, it is also vital to Thai economy for a long time as well. This study has two objectives. The first objective is to examine the relationship between greenhouse gas emission and rice production in Thailand to evaluate the balance between economic and environmental aspects. The second objective is to study rice farming practices that can balance between greenhouse gas emission mitigation and rice farmers' income. For the first objective, secondary, …


Synthesis Of Nanoscale Zerovalent Iron (Nzvi) Derived From Lignin Containing Wastewater For Arsenic Removal, Phoomipat Jungcharoen Jan 2020

Synthesis Of Nanoscale Zerovalent Iron (Nzvi) Derived From Lignin Containing Wastewater For Arsenic Removal, Phoomipat Jungcharoen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nanoscale zerovalent iron (nZVI) plays a significant role in environmental remediation including the removal of arsenic from groundwater and drinking water. This study synthesized modified nZVI particles in order to remove arsenic in drinking water. Reductive precipitation under various conditions was used to produce non-modified nZVI (B-nZVI) and lignin-modified nZVI using either 1 g/L lignin solution (L-nZVI) or pulp and paper wastewater (P-nZVI) as the substrate. Ferrous to borohydride molar ratio of 1:1 was found to be the most appropriate ratio for L-nZVI and P-nZVI production since lignin was incorporated into the nZVI structure the most. According to TEM analysis, …


การประเมินค่าตัวแปรทางจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีนบนตัวเร่งปฏิกิริยา V2o5/Tio2, นนทกิจ อนนทสีหะ Jan 2020

การประเมินค่าตัวแปรทางจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีนบนตัวเร่งปฏิกิริยา V2o5/Tio2, นนทกิจ อนนทสีหะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการประมาณค่าพารามิเตอร์ทางจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีนบนตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 โดยตัวเร่งปฏิกิริยาเตรียมด้วยวิธีการเคลือบฝังแบบเปียกและวิเคราะห์คุณลักษณะด้วยเทคนิค SEM-EDX, nitrogen physisorption, XRD และ NH3-TPD สำหรับการทดสอบความสามารถในการเร่งปฏิกิริยา ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 ปริมาณ 0.1 g กระทำในช่วงอุณหภูมิ 150oC – 300 oC ความดันบรรยากาศ อัตราการไหลรวมของแก๊สอยู่ในช่วง 180 – 200 ml/min ส่วนประกอบของแก๊สขาเข้าเครื่องปฏิกรณ์ประกอบด้วย โทลูอีน 800-1000 ppm และอากาศที่มีความเข้มข้นออกซิเจน 3, 12 และ 21 % นอกจากนี้ยังมีการเติม SO2 0, 25 และ 50 ppm และ NO 100 ppm ร่วมด้วยเพื่อดูผลต่อปฏิกิริยา ผลการทดลองพบว่า SO2 สามารถช่วยลดค่าพลังงานกระตุ้น Ea ของปฏิกิริยาได้เล็กน้อยทำให้ค่าการออกซิไดซ์โทลูอีนเพิ่มขึ้นแต่ผลที่ได้มีค่าไม่เด่นชัดเมื่อเทียบกับผลของการเพิ่มความเข้มข้น O2 โดยค่าพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยาที่คำนวณได้มีค่าอยู่ในช่วง 53-59 kJ/mol ณ 3 % O2, 44-46 kJ/mol ณ 12 % O2 and 40-42 kJ/mol ณ 21 % O2 นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อมี NO ในระบบค่าการออกซิไดซ์โทลูอีนจะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและยังพบว่าเกิดปฏิกิริยาอื่นเกิดร่วมด้วยในช่วงอุณหภูมิต่ำ (150-250 oC) โดยปฏิกิริยาข้างเคียงที่เกิดขึ้นนี้ช่วยในการออกซิไดซ์โทลูอีนเหมือนกันและมีค่าพลังงานกระตุ้นต่ำกว่าปฏิกิริยาหลัก นอกจากนี้ยังตรวจไม่พบ CO2 ในระบบแสดงว่าปฏิกิริยาเกิดที่หมู่เมทิลเป็นหลัก นอกจากการทดลองแล้วยังได้ทำการใช้โปรแกรม GNU-Octave เพื่อคำนวณผลของค่า WHSV ต่อค่าการออกซิไดซ์โทลูอีนในระบบโดยใช้แบบจำลอง pseudo-homogeneous แบบหนึ่งมิติซึ่งได้ผลว่าเมื่อเพิ่มค่า WHSV จะส่งผลให้ค่าการออกซิไดซ์โทลูอีนลดลง


การเตรียมคาร์บอนที่มีรูพรุนจากเรซินน้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์-ฟอร์มาลดีไฮด์, วรวรรณ จันทรา Jan 2020

การเตรียมคาร์บอนที่มีรูพรุนจากเรซินน้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์-ฟอร์มาลดีไฮด์, วรวรรณ จันทรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการนำน้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ มาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์เรซินน้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์-ฟอร์มาลดีไฮด์ผ่านทางกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชันโดยไม่มีการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อทดแทนการใช้ฟีนอลซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางปิโตรเลียม และเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเรซิน จึงได้นำเรซินไปต่อยอดเป็นวัตถุดิบสำหรับการสังเคราะห์เป็นคาร์บอนที่มีรูพรุน ผ่านทางกระบวนการคาร์บอไนเซชันภายใต้แก๊สไนโตรเจน และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของพื้นที่ผิวจำเพาะ และปริมาตรของรูพรุนให้กับคาร์บอนที่สังเคราะห์ได้ จึงได้มีการนำไปผ่านกระบวนการกระตุ้น 2 วิธี ได้แก่ การกระตุ้นทางกายภาพด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และการกระตุ้นทางเคมีด้วยสารละลายเหล็ก (III) ไนเตรต [Fe(NO3)3] ในส่วนของการวิเคราะห์ เรซินจะถูกทดสอบสมบัติเชิงความร้อน คาร์บอนจะถูกทดสอบสมบัติด้วยวิธี เอกซ์เรยดิฟแฟรกชัน การดูดซับและการคายซับไนโตรเจน และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด จากการศึกษาพบว่าเรซินมีสมบัติเชิงความร้อนอยู่ในช่วงอุณหภูมิ 382-750 องศาเซลเซียส เมื่อนำเรซินไปผ่านกระบวนการคาร์บอไนเซชันภายใต้แก๊สไนโตรเจน คาร์บอนที่ได้มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะ ปริมาตรรูพรุนแบบไมโครพอร์และมีโซพอร์น้อยมากจนถือว่าไม่มีรูพรุนเกิดขึ้น ในทางกลับกันเมื่อทำการกระตุ้นทางกายภาพด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนที่ได้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น โดยช่วยเสริมสร้างการเกิดของรูพรุนแบบไมโครพอร์ ส่งผลให้ค่าพื้นที่ผิวจำเพาะสูงที่สุดมีค่าเท่ากับ 291 ตารางเมตรต่อกรัม โดยมีปริมาตรรูพรุนแบบไมโครพอร์เท่ากับ 0.1104 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม นอกจากนี้เมื่อนำไปกระตุ้นทางเคมีด้วยสารละลายเหล็ก (III) ไนเตรต สามารถช่วยก่อให้เกิดการสร้างของรูพรุนแบบมีโซพอร์ ที่มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูงมีค่าเท่ากับ 153 ตารางเมตรต่อกรัม และมีปริมาตรรูพรุนแบบมีโซพอร์เท่ากับ 0.0928 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม อีกทั้งคาร์บอนที่ได้ยังแสดงคุณสมบัติทางแม่เหล็ก สามารถแยกออกจากตัวกลางได้ง่ายด้วยแรงแม่เหล็กภายนอก


การสกัดน้ำมันจากกาแฟคั่วบดและกากกาแฟคั่วบดโดยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต, กนกพร ผลมานะ Jan 2020

การสกัดน้ำมันจากกาแฟคั่วบดและกากกาแฟคั่วบดโดยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต, กนกพร ผลมานะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กากกาแฟเป็นของเสียที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตกาแฟสดและกาแฟสำเร็จรูป กากกาแฟมีสารที่สำคัญเป็นองค์ประกอบ เช่น พอลิแซ็กคาร์ไรด์ กรดไขมัน โปรตีน คาเฟอีน สารประกอบฟีนอล และแร่ธาตุต่าง ๆ งานวิจัยนี้ศึกษาการสกัดน้ำมันจากกาแฟคั่วบดและกากกาแฟคั่วบดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตที่ภาวะต่าง ๆ ช่วงความดัน 200 -300 บาร์ และช่วงอุณหภูมิ 40 – 60 องศาเซลเซียส ที่อัตราการไหลของคาร์บอนไดออกไซด์คงที่ 10 กรัมต่อนาที น้ำมันกาแฟที่สกัดจากกาแฟคั่วบดและกากกาแฟคั่วบดโดยใช้เฮกเซนเป็นตัวทำละลายมีปริมาณร้อยละ 20.16±0.92 และ 15.67±1.84 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ส่วนการสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต พบว่าที่ความดัน 300 บาร์ และอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นภาวะที่เหมาะสมในการสกัดกาแฟคั่วบดได้ปริมาณน้ำมันกาแฟร้อยละ 13.45 ภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันจากกากกาแฟคั่วบด คือ ความดัน 300 บาร์ และอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ได้ปริมาณน้ำมันกาแฟร้อยละ 11.93 องค์ประกอบกรดไขมันของน้ำมันกาแฟส่วนใหญ่ประกอบด้วยกรดลิโนเลอิก กรดปาล์มิติก กรดโอเลอิก กรดสเตียริก และกรดอะราคิดิก องค์ประกอบสารระเหยที่พบในน้ำมันกาแฟให้กลิ่นหอมคล้ายกับคาราเมล มอลต์ และเนย ซึ่งส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มของฟูแรน คือ 2,3-dihydro-5-methyl-furan, 2-ethyl-furan, furfural, และ 2-pentyl-furan


Catalytic Conversion Of Chitin To Lactic Acid In Hot-Compressed Water, Kodchakon Kun-Asa Jan 2020

Catalytic Conversion Of Chitin To Lactic Acid In Hot-Compressed Water, Kodchakon Kun-Asa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chitin is the second most available polysaccharide after cellulose. Chitin and N-acetyl-D-glucosamine polysaccharide, can be converted to valuable products by using homogeneous catalysis, most of the chitin generated by food processing is treated as industrial waste. For chitin conversion to useful chemicals has been investigated less than cellulose conversion. Therefore, in this research, chitin conversion was investigated. The result was divided into four part. The first part, the result showed that ball milled pretreatment could increase the conversion of chitin, which indicated that the crystallinity of the chitin had been reduced by the ball milled pretreatment. In the second part, …


Biofuel Production From Spent Coffee Grounds By Supercritical Ethyl Acetate, Wirasinee Supang Jan 2020

Biofuel Production From Spent Coffee Grounds By Supercritical Ethyl Acetate, Wirasinee Supang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, spent coffee grounds (SCGs) was used as the feedstock for biofuel production by supercritical ethyl acetate. The SCGs is waste obtained from coffee industrial that is continuously increasing every year. To make SCGs becomes more valuable, utilization of ethyl acetate as the extracting and reacting solvents for biofuel production via interesterification reaction. The characterization of SCGs sample showed that the moisture content of fresh SCGs was around 56 wt%. After oven drying, the moisture of SCGs was reduced to 12.76 %wt. To prolong the shelf-life of the sample and to minimize impact of hydrolysis on interesterification reaction, …


Biosurfactant Production By Rhizospheric Bacteria Isolated From Biochar Amended Soil Using Different Extraction Solvents, Seun O. Adebajo, Aderonke K. Akintokun, Abidemi E. Ojo, Dami M. Egbagbe, Pius O. Akintokun, Lawrence O. Adebajo Sep 2019

Biosurfactant Production By Rhizospheric Bacteria Isolated From Biochar Amended Soil Using Different Extraction Solvents, Seun O. Adebajo, Aderonke K. Akintokun, Abidemi E. Ojo, Dami M. Egbagbe, Pius O. Akintokun, Lawrence O. Adebajo

Applied Environmental Research

Microbial-derived surface-active compounds (biosurfactants) have attracted attention due to their low toxicity, cost-effectiveness, biodegradable nature and environment compatibility. Due to paucity of knowledge in the production of biosurfactant by microorganisms from other sources such as biochar-amended soil, the present study investigates the potential of rhizospheric bacteria isolated from biochar amended soil of okra plant in the production of biosurfactants using different recovery techniques. Rhizospheric bacteria were screened for biosurfactant productionusing Haemolytic, Oil spreading, Drop collapse, Methylene blue method, Bacterial adhesion to hydrocarbon and Emulsification activity. The biosurfactant was extracted using different extraction solvents (acid precipitation, ethyl acetate, acetone, dichloromethane and …


ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์ Jan 2019

ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยคอกมูลวัว และถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนู และแมงกานีสในกากโลหกรรมปนเปื้อนจากบ่อกักเก็บกากโลหกรรม บริเวณพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระในโรงเรือนทดลอง โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดควบคุม (ไม่มีการเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ) 2) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอก 3) ชุดการทดลองเติมถ่านชีวภาพ และ 4) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอกร่วมกับถ่านชีวภาพ ในอัตรา 1, 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก โดยในแต่ละชุดการทดลองทำการเก็บตัวอย่างทุก ๆ 30 วัน เป็นระยะเวลา 120 วัน และทำการศึกษาปริมาณการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสในส่วนเหนือกากโลหกรรม (ลำต้นและใบ) และส่วนใต้กากโลหกรรม (ราก) ของหญ้าเนเปียร์แคระ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ชุดควบคุมมีการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสได้สูงที่สุด ในขณะที่ชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพที่อัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ สามารถช่วยลดปริมาณการสะสมสารหนู และแมงกานีสในพืชส่วนเหนือกากโลหกรรม และส่วนใต้กากโลหกรรมได้สูงที่สุด คิดเป็น 63.93 และ 78.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสามารถช่วยลดการดูดดึงและสะสมแมงกานีสในส่วนใต้กากโลหกรรม และส่วนเหนือกากโลหกรรมของพืชได้มากที่สุด คิดเป็น 69.93 และ 72.54 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อนำมาวิเคราะห์การกระจายตัว และการสะสมสารหนูและแมงกานีส ด้วยเทคนิคไมโครเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์ (SR-XRF) พบว่า ไม่สามารถระบุการกระจายตัว และการสะสมสารหนูในพืชได้ เนื่องจากระดับความเข้มข้นของสารหนูในพืชนั้นต่ำเกินกว่าที่สามารถตรวจวัดได้ หากแต่หญ้าเนเปียร์แคระในชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ พบว่า มีการกระจายตัว และสะสมแมงกานีส และธาตุอื่น ๆ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก และซัลเฟอร์ น้อยกว่าชุดควบคุม และพบการสะสมธาตุดังกล่าวในบริเวณเนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นหลัก ผลการศึกษารูปฟอร์มทางเคมีของสารหนู และแมงกานีสในตัวอย่างพืชและกากโลหกรรม ด้วยเทคนิคเอกซเรย์แอบซอร์บชั่นสเปคโตรสโกปี (SR-XAS) พบว่า การเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ ไม่ทำให้สารหนูและแมงกานีสที่ปนเปื้อนในกากโลหกรรมเปลี่ยนรูปฟอร์มทางเคมีแต่อย่างใด จึงสามารถสรุปได้ว่า การเติมถ่านชีวภาพ 5 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพในการตรึงสารหนู และแมงกานีสได้ดีที่สุด ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ดินปนเปื้อนบริเวณพื้นที่ของการทำเหมือง …


ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่เกษตรกรรมบนอาคารสูงในพื้นที่เมือง, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Jan 2019

ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่เกษตรกรรมบนอาคารสูงในพื้นที่เมือง, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ถ่านชีวภาพ (biochar) เป็นวัสดุที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก โครงสร้างประกอบด้วยคาร์บอนที่ยึดจับกันเป็นโครงสร้างอะโรมาติก (aromatic structure) ทำให้ถ่านชีวภาพเป็นวัสดุที่มีความเสถียรสูง (Schmidt & Noack, 2000;Lehmann, 2007; Glaser et al., 2002) จึงถูกย่อยสลายได้ยากในธรรมชาติ (Preston & Schmidt, 2006; Gul et al., 2015)ถ่านชีวภาพเป็นผลผลิตจากกระบวนการย่อยสลายมวลชีวภาพด้วยความร้อนที่อุณหภูมิตั้งแต่ 350-700 องศาเซลเซียสในสภาวะที่ไร้อากาศหรือมีอากาศเพียงเล็กน้อย หรือที่เรียกว่า กระบวนการไพโรไลซิส (Wijitkosum & Jiwnok, 2019;Sriburi & Wijitkosum, 2016; Brassard et al., 2016; Liu et al. 2014; Lehmann & Joseph, 2009) ทั้งนี้ คุณภาพของถ่านชีวภาพ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบ (feedstock) และกระบวนการผลิต (process/procedures) (Cao et al., 2017;Sriburi & Wijitkosum, 2016; Graber et al., 2014) โดยวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตถ่านชีวภาพส่วนใหญ่เป็นสารประกอบอินทรีย์ (Wijitkosum & Kallayasiri, 2015; Yooyen et al., 2015; Qambrani et al., 2017) ซึ่งในการศึกษาวิจัยเป็นการเลือกใช้วัสดุเหลือใช้จากเกษตรกรรม เช่น แกลบ เศษไม้ และเหง้ามันสำปะหลัง เป็นต้น


การจำลองกระบวนการไพโรไลซิสทะลายปาล์มร่วมกับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันสำหรับการผลิตสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ถ่านชาร์ และก๊าซไฮโดรเจน, ณัชฐ์ณพงศ์ วุฒิพิศาล Jan 2019

การจำลองกระบวนการไพโรไลซิสทะลายปาล์มร่วมกับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันสำหรับการผลิตสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ถ่านชาร์ และก๊าซไฮโดรเจน, ณัชฐ์ณพงศ์ วุฒิพิศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชีวมวลถือได้ว่าเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นสารเคมีชีวภาพและเชื้อเพลิงที่มีคุณค่าได้ ทะลายปาล์มพบได้ทั่วไปในประเทศไทยโดยเป็นชีวมวลเหลือทิ้งที่ได้จากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม งานวิจัยนี้ได้เสนอกระบวนการไพโรไลซิสร่วมกับแก๊สซิฟิเคชัน และการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันชีวภาพด้วยไฮโดรเจนเพื่อผลิตพลังงานทดแทนชีวภาพที่หลากหลายจากการใช้ทะลายปาล์ม กระบวนการไพโรไลซิสคือกระบวนการแรกที่สลายทะลายปาล์มไปเป็นน้ำมันชีวภาพ ถ่านชาร์ และก๊าซไม่กลั่นตัว จากนั้นถ่านชาร์ซึ่งเป็นแหล่งคาร์บอนถูกนำไปผลิตก๊าซสังเคราะห์ในแก๊สซิฟิเคชันในขณะที่น้ำมันชีวภาพถูกปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันชีวภาพด้วยไฮโดรเจนและถูกแยกผลิตภัณฑ์โดยหอกลั่นแบบบรรยากาศ ก๊าซไม่กลั่นตัวจากไพโรไลซิสและก๊าซสังเคราะห์จากแก๊สซิฟิเคชันถูกส่งไปยังกระบวนการวอเตอร์แก๊สซิฟต์เพื่อผลิตก๊าซไฮโดรเจนซึ่งจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันด้วยไฮโดรเจน การสร้างแบบจำลองของกระบวนการที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับจลนพลศาสตร์ของกระบวนการสลายตัวและกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันเโดยใช้โปรแกรมแอสเพนพลัสเป็นเครื่องมือในศึกษา ผลของปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินงานของกระบวนการจะถูกวิเคราะห์ การทำฮีทอินทริเกรชั่นถูกนำมาพิจารณาเพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานของกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จะอ้างอิงจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิในการประเมินความคุ้มค่าของกระบวนการด้วยเช่นกัน ผลจากแบบจำลองกระบวนการโดยใช้ทะลายปาล์มแห้ง 8,000 กิโลกรัมต่อชั่วโมง สามารถผลิตน้ำมันชีวภาพที่ 68.8 เปอร์เซ็นต์ ก๊าซไฮโดรเจนที่ได้รับจากกระบวนการอินทิเกรตเพียงพอสำหรับปรับปรุงคุณภาพน้ำมันชีวภาพที่ 642 กิโลกรัมต่อชั่วโมง น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่ได้รับหลังจากการปรับปรุงคุณภาพที่ 3,476 กิโลกรัมต่อชั่วโมงและกลั่นแยกผลิตภัณฑ์ในช่วงของ ก๊าซ ก๊าซโซลีน แนฟทา เคโรซีน และดีเซลได้ที่ 290, 657, 729, 298 and 811 กิโลกรัมต่อชั่วโมงตามลำดับ ผลการศึกษาการรวมความร้อนของสายกระบวนการสามารถประหยัดต้นทุนจากการลดใช้กระแสสาธารณูปโภคที่ 1,099,656 บาทต่อวินาทีและต้องการเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนน้อยสุดที่ 32 เครื่อง นอกจากนี้ยังต้องการแหล่งพลังงานร้อนและเย็นที่น้อยที่สุดที่ 621 และ 16,928 เมกะจูลต่อชั่วโมงตามลำดับ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาตร์ของกระบวนอินทิเกรตมีค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นบวกที่ 176,405,503 และผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ากระบวนการอินทิเกรตที่ศึกษานั้นมีความน่าสนใจทางเศรษฐศาสตร์


การเตรียมถ่านกัมมันต์จากไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส, นริศา เฉิดกุล Jan 2019

การเตรียมถ่านกัมมันต์จากไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส, นริศา เฉิดกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเตรียมถ่านกัมมันต์จากวัตุดิบต่างชนิดกัน สามารถจำแนกได้สองประเภทคือไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส ซึ่งไบโอชาร์ที่ทำการศึกษาประกอบด้วย 2 ชนิด ได้แก่ กะลาปาล์ม (องค์ประกอบลิกนินสูง) และไม้ไผ่ (องค์ประกอบเซลลูโลสสูง) ที่ผ่านกระบวนการเผาเป็นถ่านชาร์แล้ว โดยตัวแปรที่ทำการศึกษาสำหรับการกระตุ้นไบโอชาร์ที่ส่งผลต่อสมบัติของถ่านกัมมันต์ที่ได้ คือ อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้นในช่วง 800 – 900 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 1 – 4 ชั่วโมง ภายใต้ไอน้ำร้อนยิ่งยวด ในส่วนของถ่านหินซับบิทูมินัสใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์เป็นสารกระตุ้น โดยตัวแปรที่ทำการศึกษา ได้แก่ อัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินที่ 0.2:1 0.4:1 และ 0.6:1 ที่อุณหภูมิในการกระตุ้นต่างกันในช่วง 650 – 850 องศาเซลเซียส เวลา 1 – 4 ชั่วโมง จากผลการทดลอง พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการกระตุ้นถ่านกะลาปาล์ม ได้พื้นที่ผิวสูงสุด 441.02 ตารางเมตรต่อกรัม ที่อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 1000 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 4 ชั่วโมง ในขณะที่การกระตุ้นจากถ่านไม้ไผ่ ได้พื้นที่ผิวสูงสุด 712 ตารางเมตรต่อกรัม ที่อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 900 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 2 ชั่วโมง ในส่วนการกระตุ้นถ่านหินซับบิทูมินัสที่อัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินซับบิทูมินัส 0.6:1 อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 850 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 3 ชั่วโมง ได้พื้นที่ผิวสูงสุดอยู่ที่ 1,107.39 ตารางเมตรต่อกรัม ซึ่งพบว่าอุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น เวลาที่ใช้กระตุ้นในส่วนของไบโอชาร์ และอัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินซับบิทูมินัส มีผลต่อการพัฒนาโครงสร้างรูพรุนของถ่านกัมมันต์ นอกจากนี้ยังพบว่าวัตถุดิบต่างชนิดกันส่งผลให้ถ่านกัมมันต์ที่ได้มีสมบัติต่างกัน