Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 43 of 43

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์ Jan 2019

ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยคอกมูลวัว และถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนู และแมงกานีสในกากโลหกรรมปนเปื้อนจากบ่อกักเก็บกากโลหกรรม บริเวณพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระในโรงเรือนทดลอง โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดควบคุม (ไม่มีการเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ) 2) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอก 3) ชุดการทดลองเติมถ่านชีวภาพ และ 4) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอกร่วมกับถ่านชีวภาพ ในอัตรา 1, 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก โดยในแต่ละชุดการทดลองทำการเก็บตัวอย่างทุก ๆ 30 วัน เป็นระยะเวลา 120 วัน และทำการศึกษาปริมาณการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสในส่วนเหนือกากโลหกรรม (ลำต้นและใบ) และส่วนใต้กากโลหกรรม (ราก) ของหญ้าเนเปียร์แคระ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ชุดควบคุมมีการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสได้สูงที่สุด ในขณะที่ชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพที่อัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ สามารถช่วยลดปริมาณการสะสมสารหนู และแมงกานีสในพืชส่วนเหนือกากโลหกรรม และส่วนใต้กากโลหกรรมได้สูงที่สุด คิดเป็น 63.93 และ 78.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสามารถช่วยลดการดูดดึงและสะสมแมงกานีสในส่วนใต้กากโลหกรรม และส่วนเหนือกากโลหกรรมของพืชได้มากที่สุด คิดเป็น 69.93 และ 72.54 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อนำมาวิเคราะห์การกระจายตัว และการสะสมสารหนูและแมงกานีส ด้วยเทคนิคไมโครเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์ (SR-XRF) พบว่า ไม่สามารถระบุการกระจายตัว และการสะสมสารหนูในพืชได้ เนื่องจากระดับความเข้มข้นของสารหนูในพืชนั้นต่ำเกินกว่าที่สามารถตรวจวัดได้ หากแต่หญ้าเนเปียร์แคระในชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ พบว่า มีการกระจายตัว และสะสมแมงกานีส และธาตุอื่น ๆ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก และซัลเฟอร์ น้อยกว่าชุดควบคุม และพบการสะสมธาตุดังกล่าวในบริเวณเนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นหลัก ผลการศึกษารูปฟอร์มทางเคมีของสารหนู และแมงกานีสในตัวอย่างพืชและกากโลหกรรม ด้วยเทคนิคเอกซเรย์แอบซอร์บชั่นสเปคโตรสโกปี (SR-XAS) พบว่า การเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ ไม่ทำให้สารหนูและแมงกานีสที่ปนเปื้อนในกากโลหกรรมเปลี่ยนรูปฟอร์มทางเคมีแต่อย่างใด จึงสามารถสรุปได้ว่า การเติมถ่านชีวภาพ 5 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพในการตรึงสารหนู และแมงกานีสได้ดีที่สุด ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ดินปนเปื้อนบริเวณพื้นที่ของการทำเหมือง …


Heavy Metals Adsorption In Simulated Groundwater Using Iron Oxide Particles And Iron Oxide Coated Sand, Ramy Lun Jan 2018

Heavy Metals Adsorption In Simulated Groundwater Using Iron Oxide Particles And Iron Oxide Coated Sand, Ramy Lun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to understand adsorption mechanisms of single of heavy metals such as Mn, As and Fe and a combined heavy metal in simulated groundwater using iron oxide particles (IOP) and iron oxide coated sands (IOCS). The experiment was conducted in batch test. In order to understand mechanism of heavy metals adsorption, pseudo first-order and pseudo second-order of kinetic, and Langmuir and Freundlich isotherm models were applied by varying adsorbent dosages from 4 to 24 mg/L ,and 10 to 60 min of times. Optimal dosages for single heavy metals and a combined heavy metal removal were 12, 12, 20 …


Pre-Feasibility Study Of Silica Sand Processing Plant In Sihanoukville Province, Cambodia, Sochea Ros Jan 2018

Pre-Feasibility Study Of Silica Sand Processing Plant In Sihanoukville Province, Cambodia, Sochea Ros

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, bottom ash and flue gas desulfurization (FGD) gypsum are by-products of the coal combustion process from coal-fired power plant. Bottom ash has been applied in many applications such as landfill, cement industry etc., and FGD gypsum is applied in cement and wallboard industry. Also, they can be used in agricultural activities for soil amendment but the amount of bottom ash and FGD used in this function is still low. Furthermore, biochar has long been used to improve soil fertility. The positive impacts of biochar amendment on soils are that it can increase soil capacity to adsorb plant nutrients, decrease …


Utilization Of Biochar Coupled With Coal Combustion Products For Degraded Soil Amendment, Thidphavanh Sengsingkham Jan 2018

Utilization Of Biochar Coupled With Coal Combustion Products For Degraded Soil Amendment, Thidphavanh Sengsingkham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Low Salinity Waterflooding (LSWF) has been intensively studied worldwide as it is a low-cost technique. By injecting water with very low salinity compared to formation water in the reservoir, the method changes equilibrium between rock surface, oil and surrounding water, causing wettability alteration through Multi-component Ion Exchange (MIE) mechanism. In this study, ammonium ion is added into low salinity water to facilitate the MIE mechanism in shaly-sandstones reservoir. Experiments are performed with shaly-sandstone rock as it contains both calcium and magnesium ions as part of clays and ammonium ion can express its potential by triggering MIE mechanism. Stirring test, spontaneous …


การจับยึดคาร์บอนไดออกไซด์บนถ่านกัมมันต์ดัดแปรด้วยเอมีนจากไม้ไผ่, ภานุพงศ์ ประเสริฐสุข Jan 2018

การจับยึดคาร์บอนไดออกไซด์บนถ่านกัมมันต์ดัดแปรด้วยเอมีนจากไม้ไผ่, ภานุพงศ์ ประเสริฐสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์บนตัวดูดซับถ่านกัมมันต์ที่ได้จากไม้ไผ่ และตัวดูดซับถ่านกัมมันต์ที่ถูกกระตุ้นและดัดแปรด้วยเตตระเอทิลีนเพนทามีนหรือพอลิเอทิลีนอิมไมด์ ตัวแปรที่ศึกษามีดังนี้ อุณหภูมิที่ใช้ในการกระตุ้นด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ อัตราส่วนน้ำหนักตัวดูดซับต่อน้ำหนักกรดฟอสฟอริก ชนิดของเอมีน ปริมาณเอมีนที่ใช้ และความชื้นในก๊าซขาเข้า ช่วงอุณหภูมิในการดูดซับตั้งแต่ 30 ถึง 110 องศาเซสเซียส ตัวดูดซับจะถูกวิเคราะห์ลักษณะพื้นที่ผิวจำเพาะด้วยเทคนิคดูดซับ/คายซับไนโตรเจนพบว่าการกระตุ้นด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่อุณหภูมิ 600 ถึง 800 องศาเซสเซียสจะทำให้ตัวดูดซับมีพื้นที่ผิวจำเพาะและปริมาตรรูพรุนมีค่าสูงขึ้นโดยจะมีค่าเท่ากับ 432.92 ตารางเมตรต่อกรัม 0.23 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม ตามลำดับ เมื่อใช้อัตราส่วนน้ำหนักตัวดูดซับต่อน้ำหนักกรดฟอสฟอริกสูงขึ้นจะทำให้มีปริมาตรูพรุนขนาดเมโสและมาโครมากขึ้น จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิควิเคราะห์องค์ประกอบขั้นสูงพบว่าเมื่อเพิ่มน้ำหนักกรดฟอสฟอริก ทำให้มีปริมาณธาตุออกซิเจนสูง เมื่อวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโคปี พบว่าเมื่อกระตุ้นด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่อุณหภูมิสูงทำให้ตัวดูดซับเกิดการสลายตัว ส่วนการกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกจะพบหมู่ฟอสเฟสหลงเหลือที่พื้นผิวตัวดูดซับ จากการวิเคราะห์ความเป็นผลึกด้วยการเลี้ยวเบนของรังสีเอ๊กซ์ การกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกที่สัดส่วนสูงทำให้ระนาบ (001) (110) และ (002) เกิดจุดบกพร่อง จากผลการทดลอง พบว่าตัวดูดซับที่ถูกกระตุ้นด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่อุณหภูมิ 700 องศาเซสเซียสจะให้ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 0.97 มิลลิโมลต่อกรัม เมื่อนำมากระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกแล้วดัดแปรด้วยเตตระเอทิลีนเพนทามีนพบว่า ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นเป็น 1.14 มิลลิโมลต่อกรัม เมื่อไม่มีความชื้นในกระแสก๊าซขาเข้าและมีค่าเป็น 1.31 มิลลิโมลต่อกรัม เมื่อมีความชื้นในกระแสก๊าซขาเข้า ในส่วนของการศึกษาการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับพบว่า ความสามารถในการดูดซับลดลงประมาณร้อยละ 1.82 ในรอบที่ 10 ของวัฏจักรการดูดซับ ในส่วนของการศึกษาจลหพลศาสตร์พบว่าแบบจำลองปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมสามารถอธิบายกลไลการเกิดการดูดซับได้เหมาะสมที่สุด จากสมการของอาร์เรเนียสพบว่าเมื่อดัดแปรด้วยเอมีนทำให้มีค่าพลังงานกระตุ้นลดลงเนื่องจากหมู่เอมีนมีความว่องไวต่อคาร์บอนไดออกไซด์


การดูดซับสารพาราควอตโดยไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กซึ่งได้จากเปลือกข้าวโพด, สกลสุภา ดำดิบ Jan 2018

การดูดซับสารพาราควอตโดยไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กซึ่งได้จากเปลือกข้าวโพด, สกลสุภา ดำดิบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ศึกษาการนำเปลือกข้าวโพดมาใช้เป็นวัสดุคาร์บอนตั้งต้นในการสังเคราะห์เป็นตัวดูดซับไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กเพื่อใช้ในการกำจัดสารละลายพาราควอต ออกจากน้ำปนเปื้อน ไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กถูกสังเคราะห์โดยนำสารละลายเฟอร์ริก (III) ไนเตรตความเข้มข้น 0.10 M มาตรึงรูปบนเปลือกข้าวโพด และนำมาผ่านกระบวนการคาร์บอนไนเซชัน โดยวัสดุดูดซับที่สังเคราะห์ได้จะถูกทดสอบคุณลักษณะด้วยวิธีต่างๆ เช่น การดูดซับและการคายซับไนโตรเจน กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด การวิเคราะห์ทางความร้อน เอกซ์เรยดิฟแฟรกชัน และไวเบรทติ้งแซมเปิลแมกนีโตมิเตอร์ เปลือกข้าวโพดที่ถูกตรึงรูปด้วยสารละลายเฟอร์ริก (III) ไนเตรตแสดงคุณสมบัติทางแม่เหล็กที่ดีเยี่ยมทำให้สามารถแยกออกจากสารละลายตัวกลางได้ง่าย การมีอยู่ของสารละลายเฟอร์ริก (III) ไนเตรตสนับสนุนการเกิดรูพรุนไมโครพอร์ (Vmeso = 0.30 cm3/g) มีพื้นที่ผิวจำเพาะที่มีค่าสูง (275 m2/g) ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการดูดซับมีค่าสูงสุดเท่ากับ 34.22 mg/g และมีร้อยละการกำจัดมากกว่า 90% (ในช่วงความเข้มข้นเท่ากับ 5-20 ppm) ที่ปริมาณคาร์บอนเท่ากับ 2.0 g/L ภายใต้ pH ที่เป็นกลาง เมื่อทำการศึกษาแบบจำลองการดูดซับพบว่าไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กสอดคล้องกับแบบจำลองไอโซเทอมของ Langmuir และ Temkin และแบบจำลองทางจลน์พลศาสตร์แบบ PSO นอกจากนี้การศึกษาแบบจำลองทางเทอร์โมไดนามิกส์พบว่ากระบวนเป็นแบบดูดความร้อน สามารถเกิดขึ้นได้เอง และกลไกการดูดซับเป็นแบบเคมี


การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมเส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ, ปาณิศา แสงแก้ว Jan 2018

การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมเส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ, ปาณิศา แสงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่า (Cellular Lightweight Concrete; CLC) โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 2 ชนิด ได้แก่ เส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ กลุ่มตัวอย่างทดสอบแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ คอนกรีต CLC แบบปกติ, คอนกรีต CLC ผสมเส้นใยปาล์ม, คอนกรีต CLC ผสมถ่านชีวภาพ, คอนกรีต CLC ผสมเส้นในปาล์มและถ่านชีวภาพ จากผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนเส้นใยปาล์มที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่น กำลังอัด กำลังดึง การถ่ายเทความร้อนของคอนกรีต CLC สูงขึ้น แต่อัตราส่วนการดูดซึมน้ำลดลง สัดส่วนของถ่านชีวภาพที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่นเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย กำลังอัด กำลังดึง สูงขึ้น อัตราการดูดซึมน้ำและการถ่ายเทความร้อนลดลง งานวิจัยนี้ยังศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้งานด้านคุณสมบัติและเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมในการนำไปใช้งานมี 2 กลุ่ม ได้แก่ คอนกรีต CLC (โฟมร้อยละ 50) ผสมถ่านชีวภาพร้อยละ 15 และคอนกรีต CLC (โฟมร้อยละ 60) ผสมเส้นใยปาล์มและถ่านชีวภาพร้อยละ 1.5 และ 10 กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีความสามารถถ่ายเทความร้อนได้ต่ำ ซึ่งช่วยประหยัดการใช้พลังงานเครื่องปรับอากาศภายในอาคารได้ ในด้านเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้และมีประโยชน์ในการลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียต่อปี ดังนั้นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นส่วนผสมในคอนกรีต CLC นั้น จึงช่วยพัฒนาคุณสมบัติบางประการหากใส่ในปริมาณที่เหมาะสม เป็นแนวทางในการกำจัดของเสียและสามารถพัฒนาต่อยอดการผลิตคอนกรีต CLC ได้ในอนาคต


การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อความมั่นคงทางอาหารในการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Jan 2017

การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อความมั่นคงทางอาหารในการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การผลิตในภาคเกษตรกรรม เป็นภาคส่วนที่มีความอ่อนไหว(vulnerability) ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมากอีกทั้งยังได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวคือ อุณหภูมิที่สูงขึ้นหรือลดลง สภาวะความแห้งแล้ง การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนและความถี่ของฝนส่งผลโดยตรงต่อกิจกรรมการเพาะปลูก ช่วงการเจริญเติบโตของพืช ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนอาหาร ความมั่นคงทางอาหารและความสามารถในการผลิตอาหารของประเทศต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีวิถีการเพาะปลกูที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติถ่านชีวภาพ (Biochar) เป็นวัสดุที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวัสดุปรับปรุงดิน (soil amendment) ที่มีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลให้ดินมีคุณภาพที่ดีขึ้น (Sriburi and Wijitkosum, 2016;Wijitkosum and Kallayasiri, 2015; Yooyen et al., 2015;Masulili et al., 2010; Lehmann, 2009; Lehmann and Rondon,2006; Yamato et al., 2006) มีคุณสมบัติที่เอื้อต่อการเพาะปลูกพืช (Wijitkosum and Kallayasiri, 2015;Thies and Rillig, 2009; Chan et al., 2007) และเป็นวัสดุที่ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของพืชได้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มผลผลิตพืชทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณของผลผลิต(Sriburi and Wijitkosum, 2016; Wijitkosum and Kallayasiri, 2015; Zhang et al., 2012; Lehmann et al., 2011) ถ่านชีวภาพสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบซึ่งเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด แกลบ เหง้ามันสำปะหลังทลายปาล์ม ฟางข้าว เป็นต้น (ทวีวงศ์ ศรีบุรี และเสาวนีย์ วิจิตรโกสุม, 2558; Zhan et al., 2015; Liu et al. 2014)และเศษไม้เหลือใช้หรือเหลือทิ้งจากการตัดแต่งกิ่งและต้นไม้ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้ง ไม้เนื้อแข็งและไม้เนื้ออ่อน (Sriburi and Wijitkosum, 2016; Sun et al., 2014) …


Potential Of Using Surfactants To Enhance Ammonium And Nitrate Adsorption On Rice Husk And Its Biochar, Lada Mathurasa, Seelawut Damrongsiri Jan 2017

Potential Of Using Surfactants To Enhance Ammonium And Nitrate Adsorption On Rice Husk And Its Biochar, Lada Mathurasa, Seelawut Damrongsiri

Applied Environmental Research

Inorganic nitrogen fertilizers are widely and heavily used in agriculture. Leaching of these fertilizers is a cause of eutrophication in water bodies. This study examines the use of rice husk and its biochar, their efficiency in adsorption of ammonium and nitrate and the potential of using surfactants, sodium dodecyl benzenesulfonate (SDBS) and cetyl trimethyl ammonium bromide (CTAB), to increase adsorption. Physical and chemical properties of adsorbents were examined through BET, SEM-EDX, and CEC value, respectively. The equilibrium batch adsorption was conducted. The result showed that rice husk was lower in surface area, total pore volume, pore diameter, silica and oxygen …


Preparation Of Stable Hydrothermal Carbon-Based Catalyst From Defatted Rice Bran And Glucose For Biomass Conversion To 5-Hydroxymethylfurfural, Piyaporn Wataniyakul Jan 2017

Preparation Of Stable Hydrothermal Carbon-Based Catalyst From Defatted Rice Bran And Glucose For Biomass Conversion To 5-Hydroxymethylfurfural, Piyaporn Wataniyakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigated the preparation of hydrothermal carbon-based catalysts (HTC-SO3H) derived from defatted rice bran (DRB) and glucose for biomass conversion to 5-hydroxymethylfurfural (HMF). Firstly, the effects of hydrothermal carbonization conditions: temperature (180-250 °C) and time (1-8 h) on the yield and the chemical characteristics of the hydrothermal carbons (HTCs) were investigated. The HTCs were then sulfonated with sulfuric acid to obtain HTC-SO3H catalysts. The stability of the catalysts was evaluated based on the amount of biomass conversion products leached into the water at a specified biomass conversion condition. Since no HMF and furfural, and only small amounts of levulinic …


การถ่ายทอดความรู้การปรับปรุงคุณภาพดินและการเพิ่มผลผลิตด้วยถ่านชีวภาพ เพื่อความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2015

การถ่ายทอดความรู้การปรับปรุงคุณภาพดินและการเพิ่มผลผลิตด้วยถ่านชีวภาพ เพื่อความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

การที่ประชาชนในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม ยัง ประสบปัญหาความยากจน ทั้งๆ ที่มีหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานได้พยายามเข้าไปให้ความรู้และความช่วยเหลือ แต่ประชาชนกลับ ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ สาเหตุสำคัญ เพราะประชาชนยังขาดความรู้ และงบประมาณในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่หน่วยงานของรัฐพยายามนำเสนอ ดังนั้น จึงมีความ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดเทคโนโลยีที่เหมาะสม นำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านเทคโนโลยที่ เหมาะสมกับท้องถิ่น สามารถ เข้าใจได้ง่าย นำไปประยุกต์ใช้และปฏิบัติได้จริง และเป็นที่ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ อีกสาเหตุสำคัญของปัญหาความยากจนของประชาชนในภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ชนบทของ ประเทศไทยยังเป็นผลมาจากปัญหาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำที่เป็นทรัพยากร ทุนในการผลิต ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิต ทำให้เกษตรกรพยายามปรับปรุงคุณภาพดิน โดยใช้สารเคมี ในการเร่งผลผลิต และสารเคมีปราบศัตรูพืชในปริมาณสูง ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง ในขณะที่ผลผลิต ที่ได้ยังไม่มีคุณภาพนัก นอกจากนั้น การใช้สารเคมีต่างๆ ในการทำเกษตรกรรม ยังส่งผลต่อคุณภาพของ สิ่งแวดล้อม การตกค้างของสารเคมีในดินในระยะยาว สุขภาพและคุณภาพชีวิตของเกษตรกร รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีของ เกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก การดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงมุ่งเน้นให้ ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการทำเกษตรกรรมที่พึ่งพาสารเคมีต่ำ บำรุงและดูแลรักษา สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นทุนในการผลิต และเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ ให้สามารถใช้ได้ในระยะยาวและอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำเนินโครงการการปรับปรุงคุณภาพดินและการเพิ่มผลผลิตด้วยถ่านชีวภาพเพื่อความมั่นคงทาง อาหารและเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในประเภทโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ ภายใต้ โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม มีความมุ่งหวังที่จะนำ ความรู้จากการศึกษาวิจัย ในการใช้ถ่านชีวภาพ (Biochar) เพื่อปรับปรุงคุณ ภาพดิน และเพิ่มผลผลิต ทางการ เกษตร ด้วยนวัตกรรมการผลิตถ่านชีวภาพจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ด้วยเตาเผาถ่านชีวภาพ Controlled Temperature Biochar Retort for Slow Pyrolysis Process ที่มี กระบวนการทำงานที่ง่ายและมีต้นทุนการผลิตเตาที่ไม่สูง ผ่านการทดลองผลิตถ่านชีวภาพจากวัตถุดิบ หลากหลายชนิดจนได้ถ่านชีวภาพที่มีคุณภาพ เพี่อสร้างระบบการเรียนรู้และการปฏิบัติจริงในพื้นที่ ตลอดจนการสร้างต้นแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน และความมั่นคงด้านอาหารในพื้นที่ต่อไป


Agronomic Benefits Of Durian Shell Biochar, N Prakongkep, R J. Gilkes, W Wiriyakitnateekul Jul 2014

Agronomic Benefits Of Durian Shell Biochar, N Prakongkep, R J. Gilkes, W Wiriyakitnateekul

Journal of Metals, Materials and Minerals

This study investigated the chemical properties of durian shell biochar which is used as a soil amendment. It can act as a carbon sink and as a means to improve crop yield. Plant nutrient elements in this biochar are in crystalline minerals located within the complex pore structure therefore biochar production from wastes could be a very good way to reduce demand for fertilizers. XRD and SEM-EDS results demonstrate that the numerous minerals in biochar are highly soluble, such as archerite (KH2PO4), chlorocalcite (KCaCl3), kalicinite (KHCO3), and sylvite (KCl) with small amounts …


การวิจัยถ่านชีวภาพที่ศูนย์วิจัยถ่านชีวภาพป่าเด็ง (Padeng-Biochar Research Center, Pd-Brc), ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2010

การวิจัยถ่านชีวภาพที่ศูนย์วิจัยถ่านชีวภาพป่าเด็ง (Padeng-Biochar Research Center, Pd-Brc), ทวีวงศ์ ศรีบุรี

Environmental Journal

No abstract provided.