Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Chemical Engineering

Articles 1 - 13 of 13

Full-Text Articles in Entire DC Network

การแยกปรอทออกจากคอนเดนเสทด้วยเทคโนโลยีเมมเบรนเส้นใยกลวง, วรัญญา พูลแก้ว Jan 2022

การแยกปรอทออกจากคอนเดนเสทด้วยเทคโนโลยีเมมเบรนเส้นใยกลวง, วรัญญา พูลแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิธีการใหม่ในการแยกปรอทออกจากคอนเดนเสทโดยใช้ระบบเมมเบรนเส้นใยกลวงแบบคอนแทกเตอร์ ตามหลักการและพื้นฐานของการสกัดด้วยตัวทำละลาย โดยสารสกัดเสริมฤทธิ์ของกรดไฮโดรคลอริกและไทโอยูเรียเป็นสารสกัดที่ความเข้มข้น 0.5 โมลต่อลิตร และ 1.5 โมลต่อลิตร ตามลำดับ รูปแบบการไหลในลักษณะสารป้อนไหลผ่านและสารสกัดไหลวน อัตราการไหลที่ 1.67 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อวินาที ที่ อุณหภูมิ 323.15 เคลวิน ผลการศึกษาพบว่าประสบความสำเร็จในการแยกปรอทออกจากคอนเดนเสท ร้อยละการกำจัดปรอทสูงถึง 98.40 ซึ่งความเข้มข้นหลังกำจัดปรอทมีค่าต่ำกว่าค่าที่กำหนด สำหรับป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและโรงกลั่น คำนวณค่าการเปลี่ยนแปลงเอนทาลปีมาตรฐาน ค่าการเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีมาตรฐาน และค่าการเปลี่ยนแปลงพลังงานเสรีของกิ๊บส์มาตรฐานได้ 119.80 กิโลจูลต่อโมล 0.37 กิโลจูลต่อโมล และ -1.15 กิโลจูลต่อโมลตามลำดับ บ่งชี้ว่าปฏิกิริยาการแยกปรอทออกจากคอนเดนเสทเป็น ปฏิกิริยาดูดความร้อน ผันกลับไม่ได้ และสามารถเกิดขึ้นเองที่ 323.15 เคลวิน ปรอทในรูปฟีนิลเมอร์คิวรีคลอไรด์พบมากที่สุดในคอนเดนเสทจากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางเสปกโตรสโคปี การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ อันได้แก่ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ลักษณะการแพร่ และลักษณะปฏิกิริยาเพื่ออธิบายลักษณะการถ่ายเทมวลในระบบเมมเบรนเส้นใยกลวงแบบคอนแทกเตอร์ ผลการคำนวณพบว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ลักษณะปฏิกิริยาสอดคล้องกับผลการทดลอง และค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนมวลในเมมเบรน และด้านเปลือก คือ 7.45 × 10−6 เซนติเมตรต่อวินาที และ 2.09 × 10−5 เซนติเมตรต่อวินาทีตามลำดับ ซึ่งบ่งชี้ว่าการถ่ายโอนมวลในเมมเบรนเป็นขั้นตอนควบคุม


Norfloxacin Adsorption By Activated Carbon From Turmeric Waste, Nuttamon Vanichsetakul Jan 2021

Norfloxacin Adsorption By Activated Carbon From Turmeric Waste, Nuttamon Vanichsetakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In recent years, extensive use of modern medicines and incompetency of conventional wastewater treatment systems have led to contamination of antibiotics in the environment especially in lower income countries. Antibiotics could interact with bacteria in the environment forming resistance to the medicine. Antibiotics also disrupt the balance of ecosystems affecting various lifeforms. Norfloxacin is a common antibiotic in Thailand with reported levels of contamination in Bang Pakong River. Adsorption process is a cheap and effective approach to remove antibiotics from wastewater effluent. Activated carbon is a common adsorbent in adsorption process due to its porous properties. Agricultural waste presents as …


Tetracycline Sorption By Magnetic Biochar Derived From Watermelon Rind: Performance And Influential Factors, Phisit Thairattananon Jan 2021

Tetracycline Sorption By Magnetic Biochar Derived From Watermelon Rind: Performance And Influential Factors, Phisit Thairattananon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tetracycline (TC) antibiotic is one of emerging contaminants in water reservoirs that causes undesirable effects on environment and human health. Magnetic biochar (MBC) is considered a promising sorbent in adsorption process for removal of contaminants with highly efficient and facile operation. In this work, MBC was synthesized by pyrolysis of watermelon rind impregnated with FeCl3 at different pyrolysis temperatures in a range of 600-900 °C prior to applying for TC adsorption. Characteristics of MBC were analyzed by scanning electron microscopy, elemental analyzer, N2 adsorption/desorption, Fourier-transform infrared spectroscopy, Raman spectroscopy, vibrating sample magnetometry, and X-ray diffractometry. The adsorption kinetics, isotherm, effect …


Liquid-Phase Selective Hydrogenation Of Furfural To Furfuryl Alcohol Over Pt- And Ptfe-Incorporated Mesoporous Carbon, Sureeporn Saknaphawuth Jan 2021

Liquid-Phase Selective Hydrogenation Of Furfural To Furfuryl Alcohol Over Pt- And Ptfe-Incorporated Mesoporous Carbon, Sureeporn Saknaphawuth

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to investigate the liquid-phase selective hydrogenation of furfural to furfuryl alcohol in a batch reactor at 50ºC, 20 bar H2 using water and methanol as the solvent. This study has been divided into two sections. The characteristics and catalytic properties of OMC-supported Pt catalysts (Pt/OMC-one-pot) prepared by one-step modified soft-template self-assembly method were compared with the Pt impregnated on OMC, activated carbon (AC), and non-uniform meso/macroporous carbon (MC) in the first section. Larger Pt particle size (~4 nm) was obtained on the Pt/OMC-one-pot comparing to all the impregnated ones, in which the Pt particle sizes were in …


การเพิ่มประสิทธิภาพของผงเปลือกมะละกอด้วยสาร Pdtc เพื่อดูดซับตะกั่วออกจากน้ำเสียสังเคราะห์ และการทำนายค่าสภาวะการดูดซับที่เหมาะสมโดยใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนอง, วิลาวรรณ ใจหาญ Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพของผงเปลือกมะละกอด้วยสาร Pdtc เพื่อดูดซับตะกั่วออกจากน้ำเสียสังเคราะห์ และการทำนายค่าสภาวะการดูดซับที่เหมาะสมโดยใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนอง, วิลาวรรณ ใจหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการกำจัดตะกั่วในน้ำสังเคราะห์ที่ปนเปื้อนโดยใช้ตัวดูดซับชีวภาพจากเปลือกมะละกอ (PP) โดยใช้วิธีการพื้นผิวการตอบสนองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน ผลการทดลองพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับตะกั่วคือ ความเข้มข้นของตะกั่วเริ่มต้นในสารละลาย 96.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 4 ปริมาณตัวดูดซับ 0.73 กรัมต่อ 50 มิลลิลิตร และเวลาสัมผัสเท่ากับ 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ได้ทำการปรับปรุงพื้นผิวตัวดูดซับ PP ด้วย PDTC (PP-PDTC) เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซับ พบว่าผลการดูดซับตะกั่วสำหรับ PP และ PP-PDTC ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับร้อยละ 97.51 และ 99.12 ตามลำดับ ผลการศึกษาไอโซเทอมของ PP และ PP-PDTC สอดคล้องกับแบบจำลองของฟรุนดลิชและดูบินิน-ราดัชเควิช ตามลำดับ การศึกษาจลนพลศาสตร์ของทั้งสองตัวดูดซับสอดคล้องกับแบบจำลองอันดับสองเทียม การศึกษาอุณหพลศาตร์ของ PP และ PP-PDTC พบว่า เป็นกระบวนการดูดความร้อนและสามารถเกิดขึ้นได้เอง การวิเคราะห์ SEM/EDX พบว่าพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญหลังจากถูกปรับปรุงด้วย PDTC และหลังจากการดูดซับด้วยตะกั่ว การวิเคราะห์ FTIR พบว่ามีหมู่ฟังก์ชันที่สามารถทำปฏิกิริยากับตะกั่วบนตัวดูดซับ PP และ PP-PDTC และการวิเคราะห์ BET พบว่าปริมาตรรูพรุนและพื้นที่ผิวของตัวดูดซับ PP-PDTC มีขนาดมากกว่า PP การศึกษาค่าร้อยละของการคายซับโดยใช้กรดไนตริกบนตัวดูดซับ PP และ PP-PDTC มีค่าเท่ากับร้อยละ 75.16 และ 92.79 ตามลำดับ


Biofuel Production From Spent Coffee Grounds By Supercritical Ethyl Acetate, Wirasinee Supang Jan 2020

Biofuel Production From Spent Coffee Grounds By Supercritical Ethyl Acetate, Wirasinee Supang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, spent coffee grounds (SCGs) was used as the feedstock for biofuel production by supercritical ethyl acetate. The SCGs is waste obtained from coffee industrial that is continuously increasing every year. To make SCGs becomes more valuable, utilization of ethyl acetate as the extracting and reacting solvents for biofuel production via interesterification reaction. The characterization of SCGs sample showed that the moisture content of fresh SCGs was around 56 wt%. After oven drying, the moisture of SCGs was reduced to 12.76 %wt. To prolong the shelf-life of the sample and to minimize impact of hydrolysis on interesterification reaction, …


การประเมินค่าตัวแปรทางจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีนบนตัวเร่งปฏิกิริยา V2o5/Tio2, นนทกิจ อนนทสีหะ Jan 2020

การประเมินค่าตัวแปรทางจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีนบนตัวเร่งปฏิกิริยา V2o5/Tio2, นนทกิจ อนนทสีหะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการประมาณค่าพารามิเตอร์ทางจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีนบนตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 โดยตัวเร่งปฏิกิริยาเตรียมด้วยวิธีการเคลือบฝังแบบเปียกและวิเคราะห์คุณลักษณะด้วยเทคนิค SEM-EDX, nitrogen physisorption, XRD และ NH3-TPD สำหรับการทดสอบความสามารถในการเร่งปฏิกิริยา ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 ปริมาณ 0.1 g กระทำในช่วงอุณหภูมิ 150oC – 300 oC ความดันบรรยากาศ อัตราการไหลรวมของแก๊สอยู่ในช่วง 180 – 200 ml/min ส่วนประกอบของแก๊สขาเข้าเครื่องปฏิกรณ์ประกอบด้วย โทลูอีน 800-1000 ppm และอากาศที่มีความเข้มข้นออกซิเจน 3, 12 และ 21 % นอกจากนี้ยังมีการเติม SO2 0, 25 และ 50 ppm และ NO 100 ppm ร่วมด้วยเพื่อดูผลต่อปฏิกิริยา ผลการทดลองพบว่า SO2 สามารถช่วยลดค่าพลังงานกระตุ้น Ea ของปฏิกิริยาได้เล็กน้อยทำให้ค่าการออกซิไดซ์โทลูอีนเพิ่มขึ้นแต่ผลที่ได้มีค่าไม่เด่นชัดเมื่อเทียบกับผลของการเพิ่มความเข้มข้น O2 โดยค่าพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยาที่คำนวณได้มีค่าอยู่ในช่วง 53-59 kJ/mol ณ 3 % O2, 44-46 kJ/mol ณ 12 % O2 and 40-42 kJ/mol ณ 21 % O2 นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อมี NO ในระบบค่าการออกซิไดซ์โทลูอีนจะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและยังพบว่าเกิดปฏิกิริยาอื่นเกิดร่วมด้วยในช่วงอุณหภูมิต่ำ (150-250 oC) โดยปฏิกิริยาข้างเคียงที่เกิดขึ้นนี้ช่วยในการออกซิไดซ์โทลูอีนเหมือนกันและมีค่าพลังงานกระตุ้นต่ำกว่าปฏิกิริยาหลัก นอกจากนี้ยังตรวจไม่พบ CO2 ในระบบแสดงว่าปฏิกิริยาเกิดที่หมู่เมทิลเป็นหลัก นอกจากการทดลองแล้วยังได้ทำการใช้โปรแกรม GNU-Octave เพื่อคำนวณผลของค่า WHSV ต่อค่าการออกซิไดซ์โทลูอีนในระบบโดยใช้แบบจำลอง pseudo-homogeneous แบบหนึ่งมิติซึ่งได้ผลว่าเมื่อเพิ่มค่า WHSV จะส่งผลให้ค่าการออกซิไดซ์โทลูอีนลดลง


การเตรียมคาร์บอนที่มีรูพรุนจากเรซินน้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์-ฟอร์มาลดีไฮด์, วรวรรณ จันทรา Jan 2020

การเตรียมคาร์บอนที่มีรูพรุนจากเรซินน้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์-ฟอร์มาลดีไฮด์, วรวรรณ จันทรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการนำน้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ มาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์เรซินน้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์-ฟอร์มาลดีไฮด์ผ่านทางกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชันโดยไม่มีการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อทดแทนการใช้ฟีนอลซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางปิโตรเลียม และเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเรซิน จึงได้นำเรซินไปต่อยอดเป็นวัตถุดิบสำหรับการสังเคราะห์เป็นคาร์บอนที่มีรูพรุน ผ่านทางกระบวนการคาร์บอไนเซชันภายใต้แก๊สไนโตรเจน และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของพื้นที่ผิวจำเพาะ และปริมาตรของรูพรุนให้กับคาร์บอนที่สังเคราะห์ได้ จึงได้มีการนำไปผ่านกระบวนการกระตุ้น 2 วิธี ได้แก่ การกระตุ้นทางกายภาพด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และการกระตุ้นทางเคมีด้วยสารละลายเหล็ก (III) ไนเตรต [Fe(NO3)3] ในส่วนของการวิเคราะห์ เรซินจะถูกทดสอบสมบัติเชิงความร้อน คาร์บอนจะถูกทดสอบสมบัติด้วยวิธี เอกซ์เรยดิฟแฟรกชัน การดูดซับและการคายซับไนโตรเจน และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด จากการศึกษาพบว่าเรซินมีสมบัติเชิงความร้อนอยู่ในช่วงอุณหภูมิ 382-750 องศาเซลเซียส เมื่อนำเรซินไปผ่านกระบวนการคาร์บอไนเซชันภายใต้แก๊สไนโตรเจน คาร์บอนที่ได้มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะ ปริมาตรรูพรุนแบบไมโครพอร์และมีโซพอร์น้อยมากจนถือว่าไม่มีรูพรุนเกิดขึ้น ในทางกลับกันเมื่อทำการกระตุ้นทางกายภาพด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนที่ได้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น โดยช่วยเสริมสร้างการเกิดของรูพรุนแบบไมโครพอร์ ส่งผลให้ค่าพื้นที่ผิวจำเพาะสูงที่สุดมีค่าเท่ากับ 291 ตารางเมตรต่อกรัม โดยมีปริมาตรรูพรุนแบบไมโครพอร์เท่ากับ 0.1104 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม นอกจากนี้เมื่อนำไปกระตุ้นทางเคมีด้วยสารละลายเหล็ก (III) ไนเตรต สามารถช่วยก่อให้เกิดการสร้างของรูพรุนแบบมีโซพอร์ ที่มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูงมีค่าเท่ากับ 153 ตารางเมตรต่อกรัม และมีปริมาตรรูพรุนแบบมีโซพอร์เท่ากับ 0.0928 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม อีกทั้งคาร์บอนที่ได้ยังแสดงคุณสมบัติทางแม่เหล็ก สามารถแยกออกจากตัวกลางได้ง่ายด้วยแรงแม่เหล็กภายนอก


การจำลองกระบวนการไพโรไลซิสทะลายปาล์มร่วมกับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันสำหรับการผลิตสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ถ่านชาร์ และก๊าซไฮโดรเจน, ณัชฐ์ณพงศ์ วุฒิพิศาล Jan 2019

การจำลองกระบวนการไพโรไลซิสทะลายปาล์มร่วมกับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันสำหรับการผลิตสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ถ่านชาร์ และก๊าซไฮโดรเจน, ณัชฐ์ณพงศ์ วุฒิพิศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชีวมวลถือได้ว่าเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นสารเคมีชีวภาพและเชื้อเพลิงที่มีคุณค่าได้ ทะลายปาล์มพบได้ทั่วไปในประเทศไทยโดยเป็นชีวมวลเหลือทิ้งที่ได้จากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม งานวิจัยนี้ได้เสนอกระบวนการไพโรไลซิสร่วมกับแก๊สซิฟิเคชัน และการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันชีวภาพด้วยไฮโดรเจนเพื่อผลิตพลังงานทดแทนชีวภาพที่หลากหลายจากการใช้ทะลายปาล์ม กระบวนการไพโรไลซิสคือกระบวนการแรกที่สลายทะลายปาล์มไปเป็นน้ำมันชีวภาพ ถ่านชาร์ และก๊าซไม่กลั่นตัว จากนั้นถ่านชาร์ซึ่งเป็นแหล่งคาร์บอนถูกนำไปผลิตก๊าซสังเคราะห์ในแก๊สซิฟิเคชันในขณะที่น้ำมันชีวภาพถูกปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันชีวภาพด้วยไฮโดรเจนและถูกแยกผลิตภัณฑ์โดยหอกลั่นแบบบรรยากาศ ก๊าซไม่กลั่นตัวจากไพโรไลซิสและก๊าซสังเคราะห์จากแก๊สซิฟิเคชันถูกส่งไปยังกระบวนการวอเตอร์แก๊สซิฟต์เพื่อผลิตก๊าซไฮโดรเจนซึ่งจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันด้วยไฮโดรเจน การสร้างแบบจำลองของกระบวนการที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับจลนพลศาสตร์ของกระบวนการสลายตัวและกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันเโดยใช้โปรแกรมแอสเพนพลัสเป็นเครื่องมือในศึกษา ผลของปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินงานของกระบวนการจะถูกวิเคราะห์ การทำฮีทอินทริเกรชั่นถูกนำมาพิจารณาเพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานของกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จะอ้างอิงจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิในการประเมินความคุ้มค่าของกระบวนการด้วยเช่นกัน ผลจากแบบจำลองกระบวนการโดยใช้ทะลายปาล์มแห้ง 8,000 กิโลกรัมต่อชั่วโมง สามารถผลิตน้ำมันชีวภาพที่ 68.8 เปอร์เซ็นต์ ก๊าซไฮโดรเจนที่ได้รับจากกระบวนการอินทิเกรตเพียงพอสำหรับปรับปรุงคุณภาพน้ำมันชีวภาพที่ 642 กิโลกรัมต่อชั่วโมง น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่ได้รับหลังจากการปรับปรุงคุณภาพที่ 3,476 กิโลกรัมต่อชั่วโมงและกลั่นแยกผลิตภัณฑ์ในช่วงของ ก๊าซ ก๊าซโซลีน แนฟทา เคโรซีน และดีเซลได้ที่ 290, 657, 729, 298 and 811 กิโลกรัมต่อชั่วโมงตามลำดับ ผลการศึกษาการรวมความร้อนของสายกระบวนการสามารถประหยัดต้นทุนจากการลดใช้กระแสสาธารณูปโภคที่ 1,099,656 บาทต่อวินาทีและต้องการเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนน้อยสุดที่ 32 เครื่อง นอกจากนี้ยังต้องการแหล่งพลังงานร้อนและเย็นที่น้อยที่สุดที่ 621 และ 16,928 เมกะจูลต่อชั่วโมงตามลำดับ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาตร์ของกระบวนอินทิเกรตมีค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นบวกที่ 176,405,503 และผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ากระบวนการอินทิเกรตที่ศึกษานั้นมีความน่าสนใจทางเศรษฐศาสตร์


Pre-Feasibility Study Of Silica Sand Processing Plant In Sihanoukville Province, Cambodia, Sochea Ros Jan 2018

Pre-Feasibility Study Of Silica Sand Processing Plant In Sihanoukville Province, Cambodia, Sochea Ros

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, bottom ash and flue gas desulfurization (FGD) gypsum are by-products of the coal combustion process from coal-fired power plant. Bottom ash has been applied in many applications such as landfill, cement industry etc., and FGD gypsum is applied in cement and wallboard industry. Also, they can be used in agricultural activities for soil amendment but the amount of bottom ash and FGD used in this function is still low. Furthermore, biochar has long been used to improve soil fertility. The positive impacts of biochar amendment on soils are that it can increase soil capacity to adsorb plant nutrients, decrease …


Utilization Of Biochar Coupled With Coal Combustion Products For Degraded Soil Amendment, Thidphavanh Sengsingkham Jan 2018

Utilization Of Biochar Coupled With Coal Combustion Products For Degraded Soil Amendment, Thidphavanh Sengsingkham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Low Salinity Waterflooding (LSWF) has been intensively studied worldwide as it is a low-cost technique. By injecting water with very low salinity compared to formation water in the reservoir, the method changes equilibrium between rock surface, oil and surrounding water, causing wettability alteration through Multi-component Ion Exchange (MIE) mechanism. In this study, ammonium ion is added into low salinity water to facilitate the MIE mechanism in shaly-sandstones reservoir. Experiments are performed with shaly-sandstone rock as it contains both calcium and magnesium ions as part of clays and ammonium ion can express its potential by triggering MIE mechanism. Stirring test, spontaneous …


การดูดซับสารพาราควอตโดยไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กซึ่งได้จากเปลือกข้าวโพด, สกลสุภา ดำดิบ Jan 2018

การดูดซับสารพาราควอตโดยไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กซึ่งได้จากเปลือกข้าวโพด, สกลสุภา ดำดิบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ศึกษาการนำเปลือกข้าวโพดมาใช้เป็นวัสดุคาร์บอนตั้งต้นในการสังเคราะห์เป็นตัวดูดซับไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กเพื่อใช้ในการกำจัดสารละลายพาราควอต ออกจากน้ำปนเปื้อน ไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กถูกสังเคราะห์โดยนำสารละลายเฟอร์ริก (III) ไนเตรตความเข้มข้น 0.10 M มาตรึงรูปบนเปลือกข้าวโพด และนำมาผ่านกระบวนการคาร์บอนไนเซชัน โดยวัสดุดูดซับที่สังเคราะห์ได้จะถูกทดสอบคุณลักษณะด้วยวิธีต่างๆ เช่น การดูดซับและการคายซับไนโตรเจน กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด การวิเคราะห์ทางความร้อน เอกซ์เรยดิฟแฟรกชัน และไวเบรทติ้งแซมเปิลแมกนีโตมิเตอร์ เปลือกข้าวโพดที่ถูกตรึงรูปด้วยสารละลายเฟอร์ริก (III) ไนเตรตแสดงคุณสมบัติทางแม่เหล็กที่ดีเยี่ยมทำให้สามารถแยกออกจากสารละลายตัวกลางได้ง่าย การมีอยู่ของสารละลายเฟอร์ริก (III) ไนเตรตสนับสนุนการเกิดรูพรุนไมโครพอร์ (Vmeso = 0.30 cm3/g) มีพื้นที่ผิวจำเพาะที่มีค่าสูง (275 m2/g) ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการดูดซับมีค่าสูงสุดเท่ากับ 34.22 mg/g และมีร้อยละการกำจัดมากกว่า 90% (ในช่วงความเข้มข้นเท่ากับ 5-20 ppm) ที่ปริมาณคาร์บอนเท่ากับ 2.0 g/L ภายใต้ pH ที่เป็นกลาง เมื่อทำการศึกษาแบบจำลองการดูดซับพบว่าไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กสอดคล้องกับแบบจำลองไอโซเทอมของ Langmuir และ Temkin และแบบจำลองทางจลน์พลศาสตร์แบบ PSO นอกจากนี้การศึกษาแบบจำลองทางเทอร์โมไดนามิกส์พบว่ากระบวนเป็นแบบดูดความร้อน สามารถเกิดขึ้นได้เอง และกลไกการดูดซับเป็นแบบเคมี


Preparation Of Stable Hydrothermal Carbon-Based Catalyst From Defatted Rice Bran And Glucose For Biomass Conversion To 5-Hydroxymethylfurfural, Piyaporn Wataniyakul Jan 2017

Preparation Of Stable Hydrothermal Carbon-Based Catalyst From Defatted Rice Bran And Glucose For Biomass Conversion To 5-Hydroxymethylfurfural, Piyaporn Wataniyakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigated the preparation of hydrothermal carbon-based catalysts (HTC-SO3H) derived from defatted rice bran (DRB) and glucose for biomass conversion to 5-hydroxymethylfurfural (HMF). Firstly, the effects of hydrothermal carbonization conditions: temperature (180-250 °C) and time (1-8 h) on the yield and the chemical characteristics of the hydrothermal carbons (HTCs) were investigated. The HTCs were then sulfonated with sulfuric acid to obtain HTC-SO3H catalysts. The stability of the catalysts was evaluated based on the amount of biomass conversion products leached into the water at a specified biomass conversion condition. Since no HMF and furfural, and only small amounts of levulinic …