Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 6 of 6

Full-Text Articles in Entire DC Network

Biosurfactant Production By Rhizospheric Bacteria Isolated From Biochar Amended Soil Using Different Extraction Solvents, Seun O. Adebajo, Aderonke K. Akintokun, Abidemi E. Ojo, Dami M. Egbagbe, Pius O. Akintokun, Lawrence O. Adebajo Sep 2019

Biosurfactant Production By Rhizospheric Bacteria Isolated From Biochar Amended Soil Using Different Extraction Solvents, Seun O. Adebajo, Aderonke K. Akintokun, Abidemi E. Ojo, Dami M. Egbagbe, Pius O. Akintokun, Lawrence O. Adebajo

Applied Environmental Research

Microbial-derived surface-active compounds (biosurfactants) have attracted attention due to their low toxicity, cost-effectiveness, biodegradable nature and environment compatibility. Due to paucity of knowledge in the production of biosurfactant by microorganisms from other sources such as biochar-amended soil, the present study investigates the potential of rhizospheric bacteria isolated from biochar amended soil of okra plant in the production of biosurfactants using different recovery techniques. Rhizospheric bacteria were screened for biosurfactant productionusing Haemolytic, Oil spreading, Drop collapse, Methylene blue method, Bacterial adhesion to hydrocarbon and Emulsification activity. The biosurfactant was extracted using different extraction solvents (acid precipitation, ethyl acetate, acetone, dichloromethane and …


การเตรียมถ่านกัมมันต์จากไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส, นริศา เฉิดกุล Jan 2019

การเตรียมถ่านกัมมันต์จากไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส, นริศา เฉิดกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเตรียมถ่านกัมมันต์จากวัตุดิบต่างชนิดกัน สามารถจำแนกได้สองประเภทคือไบโอชาร์และถ่านหินซับบิทูมินัส ซึ่งไบโอชาร์ที่ทำการศึกษาประกอบด้วย 2 ชนิด ได้แก่ กะลาปาล์ม (องค์ประกอบลิกนินสูง) และไม้ไผ่ (องค์ประกอบเซลลูโลสสูง) ที่ผ่านกระบวนการเผาเป็นถ่านชาร์แล้ว โดยตัวแปรที่ทำการศึกษาสำหรับการกระตุ้นไบโอชาร์ที่ส่งผลต่อสมบัติของถ่านกัมมันต์ที่ได้ คือ อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้นในช่วง 800 – 900 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 1 – 4 ชั่วโมง ภายใต้ไอน้ำร้อนยิ่งยวด ในส่วนของถ่านหินซับบิทูมินัสใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์เป็นสารกระตุ้น โดยตัวแปรที่ทำการศึกษา ได้แก่ อัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินที่ 0.2:1 0.4:1 และ 0.6:1 ที่อุณหภูมิในการกระตุ้นต่างกันในช่วง 650 – 850 องศาเซลเซียส เวลา 1 – 4 ชั่วโมง จากผลการทดลอง พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการกระตุ้นถ่านกะลาปาล์ม ได้พื้นที่ผิวสูงสุด 441.02 ตารางเมตรต่อกรัม ที่อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 1000 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 4 ชั่วโมง ในขณะที่การกระตุ้นจากถ่านไม้ไผ่ ได้พื้นที่ผิวสูงสุด 712 ตารางเมตรต่อกรัม ที่อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 900 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 2 ชั่วโมง ในส่วนการกระตุ้นถ่านหินซับบิทูมินัสที่อัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินซับบิทูมินัส 0.6:1 อุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น 850 องศาเซลเซียสและเวลาที่ใช้กระตุ้น 3 ชั่วโมง ได้พื้นที่ผิวสูงสุดอยู่ที่ 1,107.39 ตารางเมตรต่อกรัม ซึ่งพบว่าอุณหภูมิที่ใช้กระตุ้น เวลาที่ใช้กระตุ้นในส่วนของไบโอชาร์ และอัตราส่วนระหว่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อถ่านหินซับบิทูมินัส มีผลต่อการพัฒนาโครงสร้างรูพรุนของถ่านกัมมันต์ นอกจากนี้ยังพบว่าวัตถุดิบต่างชนิดกันส่งผลให้ถ่านกัมมันต์ที่ได้มีสมบัติต่างกัน


การประยุกต์กากหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาลเพื่อเป็นวัสดุเพาะเมล็ดโดยผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน, ชนิตสิรี สุเมธี Jan 2019

การประยุกต์กากหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาลเพื่อเป็นวัสดุเพาะเมล็ดโดยผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน, ชนิตสิรี สุเมธี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไฮโดรชาร์จากกากหม้อกรองเหลือทิ้งโรงงานน้ำตาล เพื่อให้เป็นวัสดุเพาะเมล็ดคล้ายพีทมอส ด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันภายใต้อุณหภูมิ 160 180 และ 200 องศาเซลเซียส ที่เวลา 1 2 และ 3 ชั่วโมง และอัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำกลั่น 1:5 1:10 และ 1:15 ผลการศึกษาพบว่า สภาวะไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันที่เหมาะสม คือการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส เวลา 3 ชั่วโมง อัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำกลั่น 1:5 ร้อยละผลผลิตที่ได้เป็น 84 เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าลักษณะสมบัติของไฮโดรชาร์และพีทมอสส่วนใหญ่ค่าไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ค่าความสามารถในการอุ้มน้ำสูงสุดเป็น 4.57 และ 3.93 กรัมต่อกรัม ค่าความพรุนทั้งหมดร้อยละ 45.3 และ 38.9 ค่าช่องว่างขนาดใหญ่ร้อยละ 2.8 และ 3.0 และค่าช่องว่างขนาดเล็กร้อยละ 42.4 และ 35.7 ค่าการนำไฟฟ้า 151 และ 140 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ปริมาณไนโตรเจนร้อยละ 1.34 และ1.51 ฟอสฟอรัส 188.18 และ 413.73 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโพแทสเซียม 146.70 และ 372.08 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ จากนั้นนำไฮโดรชาร์และพีทมอสทดสอบปลูกกับพืชสองชนิดพบว่า ต้นอ่อนทานตะวันในวัสดุไฮโดรชาร์และพีทมอส ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกร้อยละ 95.31 และ 90.63 ในขณะที่ผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คในวัสดุไฮโดรชาร์และพีทมอส ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกร้อยละ 89.06 และ 87.50 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าไฮโดรชาร์มีความสามารถในการเพาะเมล็ดได้เหมือนกับพีทมอส นอกจากนี้ ต้นทุนค่าการดำเนินงานในการผลิตไฮโดรชาร์เท่ากับ 54.64 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมีราคาต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพีทมอสที่ขายตามท้องตลาดที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม


ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่เกษตรกรรมบนอาคารสูงในพื้นที่เมือง, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Jan 2019

ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่เกษตรกรรมบนอาคารสูงในพื้นที่เมือง, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ถ่านชีวภาพ (biochar) เป็นวัสดุที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก โครงสร้างประกอบด้วยคาร์บอนที่ยึดจับกันเป็นโครงสร้างอะโรมาติก (aromatic structure) ทำให้ถ่านชีวภาพเป็นวัสดุที่มีความเสถียรสูง (Schmidt & Noack, 2000;Lehmann, 2007; Glaser et al., 2002) จึงถูกย่อยสลายได้ยากในธรรมชาติ (Preston & Schmidt, 2006; Gul et al., 2015)ถ่านชีวภาพเป็นผลผลิตจากกระบวนการย่อยสลายมวลชีวภาพด้วยความร้อนที่อุณหภูมิตั้งแต่ 350-700 องศาเซลเซียสในสภาวะที่ไร้อากาศหรือมีอากาศเพียงเล็กน้อย หรือที่เรียกว่า กระบวนการไพโรไลซิส (Wijitkosum & Jiwnok, 2019;Sriburi & Wijitkosum, 2016; Brassard et al., 2016; Liu et al. 2014; Lehmann & Joseph, 2009) ทั้งนี้ คุณภาพของถ่านชีวภาพ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบ (feedstock) และกระบวนการผลิต (process/procedures) (Cao et al., 2017;Sriburi & Wijitkosum, 2016; Graber et al., 2014) โดยวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตถ่านชีวภาพส่วนใหญ่เป็นสารประกอบอินทรีย์ (Wijitkosum & Kallayasiri, 2015; Yooyen et al., 2015; Qambrani et al., 2017) ซึ่งในการศึกษาวิจัยเป็นการเลือกใช้วัสดุเหลือใช้จากเกษตรกรรม เช่น แกลบ เศษไม้ และเหง้ามันสำปะหลัง เป็นต้น


การจำลองกระบวนการไพโรไลซิสทะลายปาล์มร่วมกับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันสำหรับการผลิตสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ถ่านชาร์ และก๊าซไฮโดรเจน, ณัชฐ์ณพงศ์ วุฒิพิศาล Jan 2019

การจำลองกระบวนการไพโรไลซิสทะลายปาล์มร่วมกับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันสำหรับการผลิตสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ถ่านชาร์ และก๊าซไฮโดรเจน, ณัชฐ์ณพงศ์ วุฒิพิศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชีวมวลถือได้ว่าเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นสารเคมีชีวภาพและเชื้อเพลิงที่มีคุณค่าได้ ทะลายปาล์มพบได้ทั่วไปในประเทศไทยโดยเป็นชีวมวลเหลือทิ้งที่ได้จากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม งานวิจัยนี้ได้เสนอกระบวนการไพโรไลซิสร่วมกับแก๊สซิฟิเคชัน และการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันชีวภาพด้วยไฮโดรเจนเพื่อผลิตพลังงานทดแทนชีวภาพที่หลากหลายจากการใช้ทะลายปาล์ม กระบวนการไพโรไลซิสคือกระบวนการแรกที่สลายทะลายปาล์มไปเป็นน้ำมันชีวภาพ ถ่านชาร์ และก๊าซไม่กลั่นตัว จากนั้นถ่านชาร์ซึ่งเป็นแหล่งคาร์บอนถูกนำไปผลิตก๊าซสังเคราะห์ในแก๊สซิฟิเคชันในขณะที่น้ำมันชีวภาพถูกปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันชีวภาพด้วยไฮโดรเจนและถูกแยกผลิตภัณฑ์โดยหอกลั่นแบบบรรยากาศ ก๊าซไม่กลั่นตัวจากไพโรไลซิสและก๊าซสังเคราะห์จากแก๊สซิฟิเคชันถูกส่งไปยังกระบวนการวอเตอร์แก๊สซิฟต์เพื่อผลิตก๊าซไฮโดรเจนซึ่งจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันด้วยไฮโดรเจน การสร้างแบบจำลองของกระบวนการที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับจลนพลศาสตร์ของกระบวนการสลายตัวและกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันเโดยใช้โปรแกรมแอสเพนพลัสเป็นเครื่องมือในศึกษา ผลของปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินงานของกระบวนการจะถูกวิเคราะห์ การทำฮีทอินทริเกรชั่นถูกนำมาพิจารณาเพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานของกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จะอ้างอิงจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิในการประเมินความคุ้มค่าของกระบวนการด้วยเช่นกัน ผลจากแบบจำลองกระบวนการโดยใช้ทะลายปาล์มแห้ง 8,000 กิโลกรัมต่อชั่วโมง สามารถผลิตน้ำมันชีวภาพที่ 68.8 เปอร์เซ็นต์ ก๊าซไฮโดรเจนที่ได้รับจากกระบวนการอินทิเกรตเพียงพอสำหรับปรับปรุงคุณภาพน้ำมันชีวภาพที่ 642 กิโลกรัมต่อชั่วโมง น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่ได้รับหลังจากการปรับปรุงคุณภาพที่ 3,476 กิโลกรัมต่อชั่วโมงและกลั่นแยกผลิตภัณฑ์ในช่วงของ ก๊าซ ก๊าซโซลีน แนฟทา เคโรซีน และดีเซลได้ที่ 290, 657, 729, 298 and 811 กิโลกรัมต่อชั่วโมงตามลำดับ ผลการศึกษาการรวมความร้อนของสายกระบวนการสามารถประหยัดต้นทุนจากการลดใช้กระแสสาธารณูปโภคที่ 1,099,656 บาทต่อวินาทีและต้องการเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนน้อยสุดที่ 32 เครื่อง นอกจากนี้ยังต้องการแหล่งพลังงานร้อนและเย็นที่น้อยที่สุดที่ 621 และ 16,928 เมกะจูลต่อชั่วโมงตามลำดับ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาตร์ของกระบวนอินทิเกรตมีค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นบวกที่ 176,405,503 และผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ากระบวนการอินทิเกรตที่ศึกษานั้นมีความน่าสนใจทางเศรษฐศาสตร์


ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์ Jan 2019

ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยคอกมูลวัว และถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนู และแมงกานีสในกากโลหกรรมปนเปื้อนจากบ่อกักเก็บกากโลหกรรม บริเวณพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระในโรงเรือนทดลอง โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดควบคุม (ไม่มีการเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ) 2) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอก 3) ชุดการทดลองเติมถ่านชีวภาพ และ 4) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอกร่วมกับถ่านชีวภาพ ในอัตรา 1, 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก โดยในแต่ละชุดการทดลองทำการเก็บตัวอย่างทุก ๆ 30 วัน เป็นระยะเวลา 120 วัน และทำการศึกษาปริมาณการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสในส่วนเหนือกากโลหกรรม (ลำต้นและใบ) และส่วนใต้กากโลหกรรม (ราก) ของหญ้าเนเปียร์แคระ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ชุดควบคุมมีการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสได้สูงที่สุด ในขณะที่ชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพที่อัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ สามารถช่วยลดปริมาณการสะสมสารหนู และแมงกานีสในพืชส่วนเหนือกากโลหกรรม และส่วนใต้กากโลหกรรมได้สูงที่สุด คิดเป็น 63.93 และ 78.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสามารถช่วยลดการดูดดึงและสะสมแมงกานีสในส่วนใต้กากโลหกรรม และส่วนเหนือกากโลหกรรมของพืชได้มากที่สุด คิดเป็น 69.93 และ 72.54 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อนำมาวิเคราะห์การกระจายตัว และการสะสมสารหนูและแมงกานีส ด้วยเทคนิคไมโครเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์ (SR-XRF) พบว่า ไม่สามารถระบุการกระจายตัว และการสะสมสารหนูในพืชได้ เนื่องจากระดับความเข้มข้นของสารหนูในพืชนั้นต่ำเกินกว่าที่สามารถตรวจวัดได้ หากแต่หญ้าเนเปียร์แคระในชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ พบว่า มีการกระจายตัว และสะสมแมงกานีส และธาตุอื่น ๆ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก และซัลเฟอร์ น้อยกว่าชุดควบคุม และพบการสะสมธาตุดังกล่าวในบริเวณเนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นหลัก ผลการศึกษารูปฟอร์มทางเคมีของสารหนู และแมงกานีสในตัวอย่างพืชและกากโลหกรรม ด้วยเทคนิคเอกซเรย์แอบซอร์บชั่นสเปคโตรสโกปี (SR-XAS) พบว่า การเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ ไม่ทำให้สารหนูและแมงกานีสที่ปนเปื้อนในกากโลหกรรมเปลี่ยนรูปฟอร์มทางเคมีแต่อย่างใด จึงสามารถสรุปได้ว่า การเติมถ่านชีวภาพ 5 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพในการตรึงสารหนู และแมงกานีสได้ดีที่สุด ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ดินปนเปื้อนบริเวณพื้นที่ของการทำเหมือง …