Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 6 of 6

Full-Text Articles in Entire DC Network

Heavy Metals Adsorption In Simulated Groundwater Using Iron Oxide Particles And Iron Oxide Coated Sand, Ramy Lun Jan 2018

Heavy Metals Adsorption In Simulated Groundwater Using Iron Oxide Particles And Iron Oxide Coated Sand, Ramy Lun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to understand adsorption mechanisms of single of heavy metals such as Mn, As and Fe and a combined heavy metal in simulated groundwater using iron oxide particles (IOP) and iron oxide coated sands (IOCS). The experiment was conducted in batch test. In order to understand mechanism of heavy metals adsorption, pseudo first-order and pseudo second-order of kinetic, and Langmuir and Freundlich isotherm models were applied by varying adsorbent dosages from 4 to 24 mg/L ,and 10 to 60 min of times. Optimal dosages for single heavy metals and a combined heavy metal removal were 12, 12, 20 …


Pre-Feasibility Study Of Silica Sand Processing Plant In Sihanoukville Province, Cambodia, Sochea Ros Jan 2018

Pre-Feasibility Study Of Silica Sand Processing Plant In Sihanoukville Province, Cambodia, Sochea Ros

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, bottom ash and flue gas desulfurization (FGD) gypsum are by-products of the coal combustion process from coal-fired power plant. Bottom ash has been applied in many applications such as landfill, cement industry etc., and FGD gypsum is applied in cement and wallboard industry. Also, they can be used in agricultural activities for soil amendment but the amount of bottom ash and FGD used in this function is still low. Furthermore, biochar has long been used to improve soil fertility. The positive impacts of biochar amendment on soils are that it can increase soil capacity to adsorb plant nutrients, decrease …


Utilization Of Biochar Coupled With Coal Combustion Products For Degraded Soil Amendment, Thidphavanh Sengsingkham Jan 2018

Utilization Of Biochar Coupled With Coal Combustion Products For Degraded Soil Amendment, Thidphavanh Sengsingkham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Low Salinity Waterflooding (LSWF) has been intensively studied worldwide as it is a low-cost technique. By injecting water with very low salinity compared to formation water in the reservoir, the method changes equilibrium between rock surface, oil and surrounding water, causing wettability alteration through Multi-component Ion Exchange (MIE) mechanism. In this study, ammonium ion is added into low salinity water to facilitate the MIE mechanism in shaly-sandstones reservoir. Experiments are performed with shaly-sandstone rock as it contains both calcium and magnesium ions as part of clays and ammonium ion can express its potential by triggering MIE mechanism. Stirring test, spontaneous …


การจับยึดคาร์บอนไดออกไซด์บนถ่านกัมมันต์ดัดแปรด้วยเอมีนจากไม้ไผ่, ภานุพงศ์ ประเสริฐสุข Jan 2018

การจับยึดคาร์บอนไดออกไซด์บนถ่านกัมมันต์ดัดแปรด้วยเอมีนจากไม้ไผ่, ภานุพงศ์ ประเสริฐสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์บนตัวดูดซับถ่านกัมมันต์ที่ได้จากไม้ไผ่ และตัวดูดซับถ่านกัมมันต์ที่ถูกกระตุ้นและดัดแปรด้วยเตตระเอทิลีนเพนทามีนหรือพอลิเอทิลีนอิมไมด์ ตัวแปรที่ศึกษามีดังนี้ อุณหภูมิที่ใช้ในการกระตุ้นด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ อัตราส่วนน้ำหนักตัวดูดซับต่อน้ำหนักกรดฟอสฟอริก ชนิดของเอมีน ปริมาณเอมีนที่ใช้ และความชื้นในก๊าซขาเข้า ช่วงอุณหภูมิในการดูดซับตั้งแต่ 30 ถึง 110 องศาเซสเซียส ตัวดูดซับจะถูกวิเคราะห์ลักษณะพื้นที่ผิวจำเพาะด้วยเทคนิคดูดซับ/คายซับไนโตรเจนพบว่าการกระตุ้นด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่อุณหภูมิ 600 ถึง 800 องศาเซสเซียสจะทำให้ตัวดูดซับมีพื้นที่ผิวจำเพาะและปริมาตรรูพรุนมีค่าสูงขึ้นโดยจะมีค่าเท่ากับ 432.92 ตารางเมตรต่อกรัม 0.23 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม ตามลำดับ เมื่อใช้อัตราส่วนน้ำหนักตัวดูดซับต่อน้ำหนักกรดฟอสฟอริกสูงขึ้นจะทำให้มีปริมาตรูพรุนขนาดเมโสและมาโครมากขึ้น จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิควิเคราะห์องค์ประกอบขั้นสูงพบว่าเมื่อเพิ่มน้ำหนักกรดฟอสฟอริก ทำให้มีปริมาณธาตุออกซิเจนสูง เมื่อวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโคปี พบว่าเมื่อกระตุ้นด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่อุณหภูมิสูงทำให้ตัวดูดซับเกิดการสลายตัว ส่วนการกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกจะพบหมู่ฟอสเฟสหลงเหลือที่พื้นผิวตัวดูดซับ จากการวิเคราะห์ความเป็นผลึกด้วยการเลี้ยวเบนของรังสีเอ๊กซ์ การกระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกที่สัดส่วนสูงทำให้ระนาบ (001) (110) และ (002) เกิดจุดบกพร่อง จากผลการทดลอง พบว่าตัวดูดซับที่ถูกกระตุ้นด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่อุณหภูมิ 700 องศาเซสเซียสจะให้ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 0.97 มิลลิโมลต่อกรัม เมื่อนำมากระตุ้นด้วยกรดฟอสฟอริกแล้วดัดแปรด้วยเตตระเอทิลีนเพนทามีนพบว่า ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นเป็น 1.14 มิลลิโมลต่อกรัม เมื่อไม่มีความชื้นในกระแสก๊าซขาเข้าและมีค่าเป็น 1.31 มิลลิโมลต่อกรัม เมื่อมีความชื้นในกระแสก๊าซขาเข้า ในส่วนของการศึกษาการฟื้นฟูสภาพตัวดูดซับพบว่า ความสามารถในการดูดซับลดลงประมาณร้อยละ 1.82 ในรอบที่ 10 ของวัฏจักรการดูดซับ ในส่วนของการศึกษาจลหพลศาสตร์พบว่าแบบจำลองปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมสามารถอธิบายกลไลการเกิดการดูดซับได้เหมาะสมที่สุด จากสมการของอาร์เรเนียสพบว่าเมื่อดัดแปรด้วยเอมีนทำให้มีค่าพลังงานกระตุ้นลดลงเนื่องจากหมู่เอมีนมีความว่องไวต่อคาร์บอนไดออกไซด์


การดูดซับสารพาราควอตโดยไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กซึ่งได้จากเปลือกข้าวโพด, สกลสุภา ดำดิบ Jan 2018

การดูดซับสารพาราควอตโดยไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กซึ่งได้จากเปลือกข้าวโพด, สกลสุภา ดำดิบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ศึกษาการนำเปลือกข้าวโพดมาใช้เป็นวัสดุคาร์บอนตั้งต้นในการสังเคราะห์เป็นตัวดูดซับไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กเพื่อใช้ในการกำจัดสารละลายพาราควอต ออกจากน้ำปนเปื้อน ไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กถูกสังเคราะห์โดยนำสารละลายเฟอร์ริก (III) ไนเตรตความเข้มข้น 0.10 M มาตรึงรูปบนเปลือกข้าวโพด และนำมาผ่านกระบวนการคาร์บอนไนเซชัน โดยวัสดุดูดซับที่สังเคราะห์ได้จะถูกทดสอบคุณลักษณะด้วยวิธีต่างๆ เช่น การดูดซับและการคายซับไนโตรเจน กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด การวิเคราะห์ทางความร้อน เอกซ์เรยดิฟแฟรกชัน และไวเบรทติ้งแซมเปิลแมกนีโตมิเตอร์ เปลือกข้าวโพดที่ถูกตรึงรูปด้วยสารละลายเฟอร์ริก (III) ไนเตรตแสดงคุณสมบัติทางแม่เหล็กที่ดีเยี่ยมทำให้สามารถแยกออกจากสารละลายตัวกลางได้ง่าย การมีอยู่ของสารละลายเฟอร์ริก (III) ไนเตรตสนับสนุนการเกิดรูพรุนไมโครพอร์ (Vmeso = 0.30 cm3/g) มีพื้นที่ผิวจำเพาะที่มีค่าสูง (275 m2/g) ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการดูดซับมีค่าสูงสุดเท่ากับ 34.22 mg/g และมีร้อยละการกำจัดมากกว่า 90% (ในช่วงความเข้มข้นเท่ากับ 5-20 ppm) ที่ปริมาณคาร์บอนเท่ากับ 2.0 g/L ภายใต้ pH ที่เป็นกลาง เมื่อทำการศึกษาแบบจำลองการดูดซับพบว่าไบโอชาร์ที่มีสมบัติแม่เหล็กสอดคล้องกับแบบจำลองไอโซเทอมของ Langmuir และ Temkin และแบบจำลองทางจลน์พลศาสตร์แบบ PSO นอกจากนี้การศึกษาแบบจำลองทางเทอร์โมไดนามิกส์พบว่ากระบวนเป็นแบบดูดความร้อน สามารถเกิดขึ้นได้เอง และกลไกการดูดซับเป็นแบบเคมี


การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมเส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ, ปาณิศา แสงแก้ว Jan 2018

การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมเส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ, ปาณิศา แสงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่า (Cellular Lightweight Concrete; CLC) โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 2 ชนิด ได้แก่ เส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ กลุ่มตัวอย่างทดสอบแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ คอนกรีต CLC แบบปกติ, คอนกรีต CLC ผสมเส้นใยปาล์ม, คอนกรีต CLC ผสมถ่านชีวภาพ, คอนกรีต CLC ผสมเส้นในปาล์มและถ่านชีวภาพ จากผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนเส้นใยปาล์มที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่น กำลังอัด กำลังดึง การถ่ายเทความร้อนของคอนกรีต CLC สูงขึ้น แต่อัตราส่วนการดูดซึมน้ำลดลง สัดส่วนของถ่านชีวภาพที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่นเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย กำลังอัด กำลังดึง สูงขึ้น อัตราการดูดซึมน้ำและการถ่ายเทความร้อนลดลง งานวิจัยนี้ยังศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้งานด้านคุณสมบัติและเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมในการนำไปใช้งานมี 2 กลุ่ม ได้แก่ คอนกรีต CLC (โฟมร้อยละ 50) ผสมถ่านชีวภาพร้อยละ 15 และคอนกรีต CLC (โฟมร้อยละ 60) ผสมเส้นใยปาล์มและถ่านชีวภาพร้อยละ 1.5 และ 10 กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีความสามารถถ่ายเทความร้อนได้ต่ำ ซึ่งช่วยประหยัดการใช้พลังงานเครื่องปรับอากาศภายในอาคารได้ ในด้านเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้และมีประโยชน์ในการลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียต่อปี ดังนั้นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นส่วนผสมในคอนกรีต CLC นั้น จึงช่วยพัฒนาคุณสมบัติบางประการหากใส่ในปริมาณที่เหมาะสม เป็นแนวทางในการกำจัดของเสียและสามารถพัฒนาต่อยอดการผลิตคอนกรีต CLC ได้ในอนาคต