Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 10 of 10

Full-Text Articles in Entire DC Network

Utilization Of Rain Tree (Samanea Saman) Residue As Modified Adsorbent To Treat Oil And Grease In Canteen Wastewater, Elga Riesta Puteri Jan 2021

Utilization Of Rain Tree (Samanea Saman) Residue As Modified Adsorbent To Treat Oil And Grease In Canteen Wastewater, Elga Riesta Puteri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The utilization of waste materials as adsorbent precursors is gaining intention to treat fats, oils, and greases (FOG), especially in wastewater treatment. Tree residue, an abundant waste, provides a potential feedstock to be converted into valuable materials. This research aimed to develop modified adsorbent prepared from rain tree (Samanea saman) residue for FOG treatment. The synthesis process of modified adsorbent was conducted by chemical pretreatment using different chemical agents (i.e., NaOH, ZnCl2, and H3PO4­). The pre-treated twigs and leaves (1:4 ratio) were continued by pyrolysis process at different temperatures (i.e., 350, 550, and 750oC) using a heating rate of 10oC …


Surface Activation Of Rice Husk-Derived Hydrochar As An Adsorbent For Atrazine And Ammonium, Kim Anh Phan Jan 2021

Surface Activation Of Rice Husk-Derived Hydrochar As An Adsorbent For Atrazine And Ammonium, Kim Anh Phan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to the agricultural intensity, studies of sustainable solutions for atrazine and nitrogen contamination have attracted more attention. This study is aimed to develop rice husk hydrochar as an adsorbent for atrazine and ammonium adsorption. Effects of microwave-assisted hydrothermal carbonization (MHTC) conditions including temperature (150 – 200°C), residence time (20 – 60 min), and liquid to solid ratio (5:1 – 15:1 mL/g) on the atrazine and ammonium adsorption capacity were investigated. Surface activation of rice husk hydrochar samples was synthesized using potassium hydroxide (KOH) and hydrogen peroxide (H2O2) with various concentrations. The results showed that higher MHTC temperature with higher …


Health Risk Assessment Of Toxic Metals In Commonly Consumed Salad Leafy Vegetables In Bangkok, Zin Htoo Hlyan Jan 2021

Health Risk Assessment Of Toxic Metals In Commonly Consumed Salad Leafy Vegetables In Bangkok, Zin Htoo Hlyan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study were 1) to investigate concentrations of toxic metals including As, Cd, and Pb in the commonly consumed salad leafy vegetables which were sold in Bangkok, and 2) to assess potential human health risks of As, Cd, and Pb exposure via salad leafy vegetables consumption. A total of 120 samples were randomly collected from local fresh markets in Bangkok. The total concentrations of toxic metals were determined by an inductively coupled plasma mass spectroscopy (ICP-MS). Total concentrations of As, Cd and Pb in coral lettuce (CL), red coral (RC) and green oak (GO) for soil cultivation …


การประยุกต์ใช้กากหม้อกรองเหลือทิ้งจากโรงงานน้ำตาลด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันเพื่อบำบัดน้ำเสียของโรงงาน, รัชมล วิธูวัฒนา Jan 2021

การประยุกต์ใช้กากหม้อกรองเหลือทิ้งจากโรงงานน้ำตาลด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันเพื่อบำบัดน้ำเสียของโรงงาน, รัชมล วิธูวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กากหม้อกรองเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานน้ำตาลซึ่งมีจำนวนมาก และมีปริมาณคาร์บอนที่สูง งานวิจัยนี้ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำกากหม้อกรอง มาผลิตเป็นวัสดุดูดซับด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน โดยศึกษาปัจจัยที่มีผล ได้แก่ อุณหภูมิ (200, 250, 300 °C) ระยะเวลาทำปฏิกิริยา (1, 2, 3 ชั่วโมง) และอัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำ (1:5, 1:10, 1:15) โดยผลผลิตที่ได้เรียกว่า ไฮโดรชาร์ และนำไฮโดรชาร์ที่ได้มาทดสอบการดูดซับสีในน้ำเสียจริงจากโรงงานน้ำตาลที่สภาวะค่าความเป็นกรด-ด่างจริง (pH = 4.18) และ ±2 จากค่าความเป็นกรด-ด่างจริง (pH = 6.18, 2.18) ผลการศึกษาพบว่า ไฮโดรชาร์ที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส เวลาทำปฏิกิริยา 1 ชั่วโมง และอัตราส่วนชีวมวลต่อน้ำกลั่น 1:10 สามารถใช้เป็นตัวดูดซับที่ดี โดยไฮโดรชาร์ดังกล่าวมีค่าผลผลิตที่ได้ร้อยละ 57.73 โดยน้ำหนัก ค่าไอโอดีนนัมเบอร์เท่ากับ 273.37 มิลลิกรัมต่อกรัม และค่าไอโอดีนนัมเบอร์สุทธิเท่ากับ 153.09 มิลลิกรัมต่อกรัม ในส่วนของการศึกษาการดูดซับ พบว่า เวลาเข้าสู่สมดุลการดูดซับสีของไฮโดรชาร์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (น้อยกว่า 1 นาที) และประสิทธิภาพในการกำจัดสีในน้ำเสียจริงจากโรงงานน้ำตาลในสภาวะปกติได้ร้อยละ 70.84 นอกจากนี้ได้ทำการทดลองในคอลัมน์จำลอง พบว่าปริมาตรน้ำเสียที่ไฮโดรชาร์สามารถดูดซับสีได้ค่าสีต่ำกว่ามาตรฐานน้ำทิ้งเท่ากับ 40 มิลลิลิตร ที่อัตราการไหล 0.5 มิลลิลิตรต่อนาที โดยมีค่าสีเท่ากับ 274 ADMI


บทความ: "ถ่านชีวภาพ (Biochar)" วัสดุปรับปรุงดินเพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย, บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Apr 2020

บทความ: "ถ่านชีวภาพ (Biochar)" วัสดุปรับปรุงดินเพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย, บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

Environmental Journal

No abstract provided.


การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพในการปลูกข้าวในพื้นที่เกษตรกรรมดินเค็ม, สิรภัทร ประเสริฐสุข Jan 2020

การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพในการปลูกข้าวในพื้นที่เกษตรกรรมดินเค็ม, สิรภัทร ประเสริฐสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่วิกฤตดินเค็มของประเทศไทย โดยสาเหตุสำคัญของดินเค็มในพื้นที่เกิดจากสภาพทางธรณีวิทยา และมีแนวโน้มการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มเพิ่มมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม โดยทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชลดลงอย่างมาก และบางพื้นที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ งานวิจัยนี้จึงมุ่งปรับปรุงดินเค็มด้วยถ่านชีวภาพแกลบเพื่อให้สามารถเพาะปลูกข้าวได้ โดยทำการทดลองปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มโซดิกที่มี pH เท่ากับ 10.6 ปริมาณโซเดียมทั้งหมดเท่ากับ 0.83 % ค่าการนำไฟฟ้าเท่ากับ 68.6 dS/m และ SAR เท่ากับ 11,707 และจำกัดปัญหาการระเหยของเกลือจากน้ำใต้ดินขึ้นมาสู่ผิวดินโดยทำการปลูกข้าว ในวงบ่อซีเมนต์ปิดก้นบ่อ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ถ่านชีวภาพแกลบสามารถปรับปรุงดินเค็มโซดิกได้ โดยสามารถลดความเค็มของดินได้ภายในรอบการปลูกข้าว (120 วัน) ซึ่งพบว่า การนำไฟฟ้า ปริมาณโซเดียม และค่า SAR ของดินมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นการใส่ถ่านชีวภาพยังช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งไนโตรเจน แคลเซียม และแมกนีเซียมได้ โดยเฉพาะการใส่ถ่านชีวภาพแกลบในอัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อวงบ่อซีเมนต์ร่วมกับปุ๋ยคอกในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อวงบ่อซีเมนต์ (ตำรับการทดลองที่ 3) มีค่าการนำไฟฟ้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (13.33 dS/m) เช่นเดียวกับปริมาณโซเดียมทั้งหมด (0.18 %) และค่า SAR (4,602) ของดินในตำรับการทดลองที่ 3 ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังให้ผลการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวดีที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อทำการปลูกข้าวรอบที่ 2 และรอบที่ 3 พบว่า ถ่านชีวภาพแกลบสามารถปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษายังพบว่า ตำรับการทดลองที่ใส่ถ่านชีวภาพ ให้ผลผลิตของข้าวในรอบการปลูกข้าวที่ 3 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (202.77-492.77 กรัม) จากรอบการปลูกที่ 1 อีกด้วย ในขณะที่ ตำรับการทดลองที่ไม่ใส่ถ่านชีวภาพ ให้ผลการเจริญเติบโตข้าวที่ดีในรอบการปลูกที่ 1 (15.55 กรัม) แต่ให้ผลการเจริญเติบโตต่ำที่สุดในรอบการปลูกที่ 3 (7.30 กรัม) ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงสรุปได้ว่า การใส่ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยคอกสามารถลดความเค็มในดินได้ดีกว่าการใส่ปุ๋ยคอกเพียงอย่างเดียว โดยการใส่ถ่านชีวภาพแกลบในอัตรา 1.5 และ 2 กิโลกรัมต่อวงบ่อซีเมนต์ เป็นอัตราการใส่ถ่านชีวภาพที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มโซดิกในวงบ่อซีเมนต์ เนื่องจากสามารถปรับปรุงดินเค็มโซดิกให้มีสมบัติที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวดีที่สุด


Synthesis Of Nanoscale Zerovalent Iron (Nzvi) Derived From Lignin Containing Wastewater For Arsenic Removal, Phoomipat Jungcharoen Jan 2020

Synthesis Of Nanoscale Zerovalent Iron (Nzvi) Derived From Lignin Containing Wastewater For Arsenic Removal, Phoomipat Jungcharoen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nanoscale zerovalent iron (nZVI) plays a significant role in environmental remediation including the removal of arsenic from groundwater and drinking water. This study synthesized modified nZVI particles in order to remove arsenic in drinking water. Reductive precipitation under various conditions was used to produce non-modified nZVI (B-nZVI) and lignin-modified nZVI using either 1 g/L lignin solution (L-nZVI) or pulp and paper wastewater (P-nZVI) as the substrate. Ferrous to borohydride molar ratio of 1:1 was found to be the most appropriate ratio for L-nZVI and P-nZVI production since lignin was incorporated into the nZVI structure the most. According to TEM analysis, …


การประยุกต์กากหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาลเพื่อเป็นวัสดุเพาะเมล็ดโดยผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน, ชนิตสิรี สุเมธี Jan 2019

การประยุกต์กากหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาลเพื่อเป็นวัสดุเพาะเมล็ดโดยผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน, ชนิตสิรี สุเมธี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไฮโดรชาร์จากกากหม้อกรองเหลือทิ้งโรงงานน้ำตาล เพื่อให้เป็นวัสดุเพาะเมล็ดคล้ายพีทมอส ด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันภายใต้อุณหภูมิ 160 180 และ 200 องศาเซลเซียส ที่เวลา 1 2 และ 3 ชั่วโมง และอัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำกลั่น 1:5 1:10 และ 1:15 ผลการศึกษาพบว่า สภาวะไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันที่เหมาะสม คือการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส เวลา 3 ชั่วโมง อัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำกลั่น 1:5 ร้อยละผลผลิตที่ได้เป็น 84 เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าลักษณะสมบัติของไฮโดรชาร์และพีทมอสส่วนใหญ่ค่าไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ค่าความสามารถในการอุ้มน้ำสูงสุดเป็น 4.57 และ 3.93 กรัมต่อกรัม ค่าความพรุนทั้งหมดร้อยละ 45.3 และ 38.9 ค่าช่องว่างขนาดใหญ่ร้อยละ 2.8 และ 3.0 และค่าช่องว่างขนาดเล็กร้อยละ 42.4 และ 35.7 ค่าการนำไฟฟ้า 151 และ 140 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ปริมาณไนโตรเจนร้อยละ 1.34 และ1.51 ฟอสฟอรัส 188.18 และ 413.73 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโพแทสเซียม 146.70 และ 372.08 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ จากนั้นนำไฮโดรชาร์และพีทมอสทดสอบปลูกกับพืชสองชนิดพบว่า ต้นอ่อนทานตะวันในวัสดุไฮโดรชาร์และพีทมอส ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกร้อยละ 95.31 และ 90.63 ในขณะที่ผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คในวัสดุไฮโดรชาร์และพีทมอส ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกร้อยละ 89.06 และ 87.50 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าไฮโดรชาร์มีความสามารถในการเพาะเมล็ดได้เหมือนกับพีทมอส นอกจากนี้ ต้นทุนค่าการดำเนินงานในการผลิตไฮโดรชาร์เท่ากับ 54.64 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมีราคาต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพีทมอสที่ขายตามท้องตลาดที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม


ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์ Jan 2019

ผลของปุ๋ยคอกมูลวัวและถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนูและแมงกานีสในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระ, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยคอกมูลวัว และถ่านชีวภาพจากไม้กระถินต่อการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารหนู และแมงกานีสในกากโลหกรรมปนเปื้อนจากบ่อกักเก็บกากโลหกรรม บริเวณพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ทองคำด้วยหญ้าเนเปียร์แคระในโรงเรือนทดลอง โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดควบคุม (ไม่มีการเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ) 2) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอก 3) ชุดการทดลองเติมถ่านชีวภาพ และ 4) ชุดการทดลองเติมปุ๋ยคอกร่วมกับถ่านชีวภาพ ในอัตรา 1, 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก โดยในแต่ละชุดการทดลองทำการเก็บตัวอย่างทุก ๆ 30 วัน เป็นระยะเวลา 120 วัน และทำการศึกษาปริมาณการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสในส่วนเหนือกากโลหกรรม (ลำต้นและใบ) และส่วนใต้กากโลหกรรม (ราก) ของหญ้าเนเปียร์แคระ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ชุดควบคุมมีการดูดดึงและสะสมสารหนู และแมงกานีสได้สูงที่สุด ในขณะที่ชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพที่อัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ สามารถช่วยลดปริมาณการสะสมสารหนู และแมงกานีสในพืชส่วนเหนือกากโลหกรรม และส่วนใต้กากโลหกรรมได้สูงที่สุด คิดเป็น 63.93 และ 78.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสามารถช่วยลดการดูดดึงและสะสมแมงกานีสในส่วนใต้กากโลหกรรม และส่วนเหนือกากโลหกรรมของพืชได้มากที่สุด คิดเป็น 69.93 และ 72.54 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อนำมาวิเคราะห์การกระจายตัว และการสะสมสารหนูและแมงกานีส ด้วยเทคนิคไมโครเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์ (SR-XRF) พบว่า ไม่สามารถระบุการกระจายตัว และการสะสมสารหนูในพืชได้ เนื่องจากระดับความเข้มข้นของสารหนูในพืชนั้นต่ำเกินกว่าที่สามารถตรวจวัดได้ หากแต่หญ้าเนเปียร์แคระในชุดการทดลองที่มีการเติมถ่านชีวภาพในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ พบว่า มีการกระจายตัว และสะสมแมงกานีส และธาตุอื่น ๆ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก และซัลเฟอร์ น้อยกว่าชุดควบคุม และพบการสะสมธาตุดังกล่าวในบริเวณเนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นหลัก ผลการศึกษารูปฟอร์มทางเคมีของสารหนู และแมงกานีสในตัวอย่างพืชและกากโลหกรรม ด้วยเทคนิคเอกซเรย์แอบซอร์บชั่นสเปคโตรสโกปี (SR-XAS) พบว่า การเติมปุ๋ยคอกและถ่านชีวภาพ ไม่ทำให้สารหนูและแมงกานีสที่ปนเปื้อนในกากโลหกรรมเปลี่ยนรูปฟอร์มทางเคมีแต่อย่างใด จึงสามารถสรุปได้ว่า การเติมถ่านชีวภาพ 5 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพในการตรึงสารหนู และแมงกานีสได้ดีที่สุด ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ดินปนเปื้อนบริเวณพื้นที่ของการทำเหมือง …


การวิจัยถ่านชีวภาพที่ศูนย์วิจัยถ่านชีวภาพป่าเด็ง (Padeng-Biochar Research Center, Pd-Brc), ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2010

การวิจัยถ่านชีวภาพที่ศูนย์วิจัยถ่านชีวภาพป่าเด็ง (Padeng-Biochar Research Center, Pd-Brc), ทวีวงศ์ ศรีบุรี

Environmental Journal

No abstract provided.