Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Human Resources Management Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

6,218 Full-Text Articles 6,992 Authors 5,493,205 Downloads 251 Institutions

All Articles in Human Resources Management

Faceted Search

6,218 full-text articles. Page 47 of 228.

Addressing Work-Related Traumatic Stress Nebraska - Theory Of Change, Quality Improvement Center for Workforce Development 2022 University of Nebraska - Lincoln

Addressing Work-Related Traumatic Stress Nebraska - Theory Of Change, Quality Improvement Center For Workforce Development

Other QIC-WD Products

Several workforce challenges were discussed as opportunities for intervention during the needs assessment process conducted partnership with the Nebraska Department of Children and Family Services’ (DCFS) to address child welfare workforce turnover. Through a series of steps and causal links, a theory of change provides a roadmap to address the root causes of an identified workforce problem and describes how and why changes are expected to lead to the desired outcomes. Ultimately, two theories of change were developed to step through the “if, then” logic:

  1. building resiliency skills within child welfare workers and supervisors; and
  2. implementing a debriefing protocol focused …


Microfoundations Of Dynamic Managerial Capabilities: A Personality Perspective, Alan Jiun Haw TEA 2022 Singapore Management University

Microfoundations Of Dynamic Managerial Capabilities: A Personality Perspective, Alan Jiun Haw Tea

Dissertations and Theses Collection (Open Access)

Research in dynamic capabilities (Teece 2007) looks at how organizations derive and potentially sustain competitive advantage by dynamically making sense of opportunities, marshalling and manipulating assets and resources in response to these opportunities (Eisenhardt & Martin, 2000; Teece, 2007). The study of dynamic managerial capabilities is concerned with the microfoundations – attendant attributes as it were – that underpin managers’ ability to effectively participate in the dynamic capabilities of sensing, seizing and reconfiguring (Helfat & Martin, 2015b; Helfat & Peteraf, 2015). Apart from the predominant cognitive account of microfoundations, there remains an under-theorized and underresearched gap in the field of …


การวิเคราะห์มิติทางสังคมของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์, ณัฐดนยา ทิพยจารุโภคา 2022 บัณฑิตวิทยาลัย

การวิเคราะห์มิติทางสังคมของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์, ณัฐดนยา ทิพยจารุโภคา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในมิติทางสังคม สำรวจประเด็นสำคัญ และผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วและอาจจะเกิดขึ้นทางด้านสังคม สุขภาพ ที่อาจจะมาจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ โดยผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยหรือกระบวนวิธีการวิจัยประกอบไปด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์บุคคลจำนวน 20 คน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเขียนรายงานผลงานวิจัยในลักษณะเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 โรงพยาบาลเอกชนต้องหาโอกาสใหม่ๆ ทดแทนการรายได้จากกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนไทย จึงได้หันไปหากลุ่มลูกค้าจากต่างประเทศซึ่งเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูง ต่อมารัฐบาลประสบปัญหาขาดดุลเดินสะพัดติดต่อกันหลายปี จึงได้มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย โดยไทยมีการท่องเที่ยวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว มีกลุ่มสถานพยาบาลเอกชนที่ได้รับมาตรฐานด้านการบริการด้านสุขภาพหลายแห่ง ด้วยจุดแข็งเหล่านี้ จึงพัฒนาแผนและนโยบายเพื่อการเป็นศูนย์กลางสุขภาพ (Medical hub) ในระดับเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกมองไปในด้านของผลดีด้านเศรษฐกิจรายได้กำไรที่เพิ่มขึ้นของประเทศ จึงมีประเด็นว่าผลกระทบการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์นั้นมักจะไม่ได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเมื่อมีการผลักดันนโยบายนี้ ดังนั้น การศึกษามิติทางสังคมของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ได้สำรวจประเด็นสำคัญไว้ดังนี้ 1. แนวคิดและนิยามของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) และนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourists) 2. ผลกระทบต่ออัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์และอัตราค่ารักษาพยาบาล 3. ผลกระทบจากโลกาภิวัตน์และกระบวนการทำให้เป็นสินค้า 4. มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล 5. ผลกระทบด้านการแพร่กระจายปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา และโรคติดต่อที่ระบาดครั้งใหญ่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ ในอีกมุมหนึ่ง การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีส่วนที่ทำให้การรักษาพยาบาลในยุคปัจจุบันเปรียบเสมือนเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและกลุ่มคนที่มีฐานะด้านการเงิน เรื่องนี้จึงมีความซับซ้อนและต้องทำความเข้าใจจากหลายแง่มุม และจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะมีการศึกษาพิจารณาจากแง่มุมที่ไม่ได้มีการพูดถึงมากนัก ทั้งในเรื่องของคำนิยามและความหมายของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ตามกระแสเสรีนิยมใหม่ซึ่งทำให้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์โยงใยได้กับข้อถกเถียงเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมธุรกิจและอุตสาหกรรมนี้ การทำความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นจะนำไปสู่การสร้างแนวทางการเสริมความเป็นธรรมด้านสุขภาพและการกระจายผลประโยชน์ให้สังคมโดยรวมได้ต่อไป


พลวัตแนวคิดและปฏิบัติการและการปรับตัวของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน หลังปี 2549, นิภาวรรณ แก้วแสนทิพย์ 2022 บัณฑิตวิทยาลัย

พลวัตแนวคิดและปฏิบัติการและการปรับตัวของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน หลังปี 2549, นิภาวรรณ แก้วแสนทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าพัฒนาการแนวคิดและปฏิบัติการของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) และการปรับตัวของ กป.อพช. ภายหลังการรัฐประหาร 2549 และหลังการรัฐประหาร 2557 ผ่านการวิเคราะห์ปฏิบัติการของ กป.อพช. และเครือข่าย ภายใต้แนวคิดเรื่องประชาสังคมและกระบวนการสร้างกรอบโครง โดยหลังการรัฐประหารปี 2549 – 2557 วิเคราะห์ผ่าน 3 ปฏิบัติการได้แก่ 1) การจัดทำข้อเสนอแนะรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และการประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2) การผลักดันแนวคิดเกษตรกรรมยั่งยืน และ 3) การผลักดันโฉนดชุมชน สำหรับหลังการรัฐประหาร 2557 ศึกษาผ่าน 3 ปฏิบัติการได้แก่ 1) ขบวนการจัดทำข้อเสนอแนะรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และการประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2) การคัดค้านนโยบายทวงคืนผืนป่า และ 3) การคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ผลการศึกษาพบว่า พลวัตแนวคิดและปฏิบัติการขององค์กรพัฒนาเอกชน สามารถแบ่งออกเป็น 5 ช่วงเวลาสำคัญ ช่วงแรก ช่วงหลังป่าแตก ปี 2523 ถึงช่วงปี 2534 เน้นการทำงานพัฒนาชนบท ภายใต้แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน ช่วงที่สอง ช่วงหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ถึงช่วงปี 2543 องค์กรพัฒนาเอกชนเติบโตภายใต้เงื่อนไขการทำงานสนับสนุนชาวบ้านในการเคลื่อนไหวท้าทายอำนาจรัฐจากการแย่งชิงทรัพยากร ด้วยแนวคิดเรื่องสิทธิชุมชน ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ผลักดันทางเลือกการพัฒนาเข้าไปในรัฐ ช่วงที่สาม ยุครัฐบาลทักษิณ ปี 2544 ถึงช่วงปี 2549 องค์กรพัฒนาเอกชนผลักดันนโยบายเข้าไปในรัฐแต่สุดท้ายรัฐเข้ามาแทนที่ ในอีกด้านหนึ่งก็พยายามท้าทายอำนาจรัฐและนำไปสู่ขบวนการขับไล่รัฐบาล ช่วงที่สี่ ยุคหลังรัฐประหารปี 2549 ถึงการรัฐประหารปี 2557 เกิดการแตกแยกภายใน แต่องค์กรพัฒนาเอกชนพยายามเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันเชิงโครงสร้างและปรับตัวเป็นองค์กรวิชาชีพ ช่วงที่ห้า ช่วงรัฐประหารปี 2557 ถึงช่วงการเลือกตั้งปี 2562 แม้จะยังมีการการแบ่งแยกภายใน แต่ กป.อพช. ยังเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันเชิงโครงสร้างและตอบโต้นโยบายรัฐ ในขณะที่บางส่วนเข้าไปผนวกกับรัฐ สำหรับการปรับตัวของ กป.อพช. พบว่าภายหลังการรัฐประหาร 2549 พื้นที่ขององค์กรพัฒนาเอกชนหดแคบและมีความขัดแย้งภายใน แต่ กป.อพช.และเครือข่าย มีความพยายามในการปรับตัวใน 4 ลักษณะ …


บทบาทของพระสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ในบริบทพุทธศาสนาเพื่อสังคม, พิรญาณ์ แสงปัญญา 2022 บัณฑิตวิทยาลัย

บทบาทของพระสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ในบริบทพุทธศาสนาเพื่อสังคม, พิรญาณ์ แสงปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ในบริบทของพุทธศาสนาเพื่อสังคม 2) ศึกษาการดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของพระสังฆาธิการและภาคีเครือข่ายภายใต้กรอบที่มหาเถรสมาคมกำหนดไว้ 4 รูปแบบ คือ สงเคราะห์ เกื้อกูล พัฒนา บูรณาการ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการทำงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธในอนาคตของคณะสงฆ์ไทย โดยกำหนดขอบเขตการวิจัย 3 ส่วน คือ 1) ขอบเขตเชิงเนื้อหา กิจกรรมสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธ 4 รูปแบบ ตามที่กล่าวในข้อ 2 จากพระสงฆ์ไทยในอดีตและปัจจุบัน 2) ขอบเขตเชิงพื้นที่ เพื่อศึกษาความเหมือน ความต่างและปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรม วัดที่กำหนดเป็นพื้นที่ศึกษา ได้แก่ (1) วัดห้วยหมู จังหวัดราชบุรี (2) วัดม่วงตารศ จังหวัดนครปฐม (3) วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม และ (4) วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี 3) ขอบเขตเชิงประชากร กลุ่มเป้าหมายหลักจาก 4 วัดที่ได้กำหนดไว้ในขอบเขตเชิงพื้นที่ รูปแบบการวิจัยใช้วิธีการวิจัยภาคสนาม ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปองค์ความรู้และแนวคิดการทำงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธ บทบาทสังคหธุระและพุทธศาสนาเพื่อสังคม เครื่องมือการวิจัยภาคสนามประกอบด้วยแบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยอิงกรอบแนวคิดทฤษฎีที่กำหนดไว้ในการศึกษาเพื่อสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย สรุปผลการศึกษา พบว่า 1) การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ใน 4 พื้นที่เป้าหมายการศึกษา มีแนวทางที่สอดคล้องตามกรอบการดำเนินงานที่ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคมได้กำหนดไว้ซึ่งมีความโดดเด่นต่างกันไป 2) การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ของพระครูจันทสีลากร พระครูโกวิทสุตสาร และพระราชธรรมนิเทศ เป็นแนวทางที่สอดคล้องไปตามแนวคิดสังคหธุระ 3)การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ของกลุ่มอาสาคิลานธรรม เป็นแนวทางที่สอดคล้องไปตามแนวคิดพุทธศาสนาเพื่อสังคม 4) การดำเนินกิจกรรมของวัดห้วยหมู วัดม่วงตารศ และวัดสวนแก้ว ยังขาดการพัฒนาสังฆพัฒนาทายาท การพัฒนาองค์ความรู้ และการพัฒนาภาคีเครือข่าย ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ จึงตั้งอยู่บนความเสี่ยงด้านความยั่งยืน 5)การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอาสาคิลานธรรมดำเนินไปอย่างมีระบบ มีหลักการที่ชัดเจน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องผ่านการอบรมและการสั่งสมประสบการณ์ จึงเป็นแนวทางที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืน 6) การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ของสงฆ์จะยั่งยืนได้ต้องมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการการสาธารณสงเคราะห์ การพัฒนาศาสนทายาทและการพัฒนาภาคีเครือข่าย 7) การดำเนินกิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ที่ได้ประสิทธิผล ผู้ทำกิจกรรมควรมีคุณลักษณะของจิตอาสา


โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2t) กับการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ ชุมชนบ้านทะเลน้อย ตำบลทางเกวียน และชุมชนบ้านวังหว้า ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง, รติมา พงษ์อริยะ 2022 บัณฑิตวิทยาลัย

โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2t) กับการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ ชุมชนบ้านทะเลน้อย ตำบลทางเกวียน และชุมชนบ้านวังหว้า ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง, รติมา พงษ์อริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทและกระบวนการทำงานของโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์ ในชุมชนบ้านทะเลน้อย และชุมชนบ้านวังหว้า จังหวัดระยอง 2) ศึกษาพัฒนาการด้านผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านทะเลน้อยและชุมชนบ้านวังหว้าหลังจากมีการดำเนินการตามโครงการ U2T 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการประสบความสำเร็จในการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างชุมชนบ้านทะเลน้อยและชุมชนบ้านวังหว้า หลังจากมีการดำเนินการตามโครงการ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการให้ข้อมูล ได้แก่ ชาวบ้าน คณะทำงานโครงการ U2T และเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ศึกษา รวมถึงนักวิจัยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งกำหนดวิธีเลือกโดยการเจาะจง จำนวน 27 คน และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การทำงานของโครงการมีส่วนช่วยในการพัฒนาชุมชนด้านผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน คิดกิจกรรมการอบรมที่ชาวบ้านต้องการเพื่อตอบสนองและแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับด้านผลิตภัณฑ์ 2) พัฒนาการด้านผลิตภัณฑ์ของชุมชนดีขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากการเข้าร่วมกิจกรรมอบรม และผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากการช่วยเหลือของโครงการ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการประสบความสำเร็จในการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ของชุมชนหลังดำเนินการตามโครงการ คือ ความรู้ความสามารถ การเอาใจใส่ต่อโครงการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ ความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ความร่วมมือจากชาวบ้าน การมีทุนทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ และการสร้างการมีส่วนได้ให้ชุมชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ช่วยให้โครงการดำเนินการได้อย่างราบรื่น


การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่ากรณีศึกษา: การท่องเที่ยวสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี, วรัญญา ยิ้มแย้ม 2022 บัณฑิตวิทยาลัย

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาคนกับช้างป่ากรณีศึกษา: การท่องเที่ยวสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี, วรัญญา ยิ้มแย้ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาคนกับช้างป่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เกษตรและที่อยู่อาศัยของคน จึงมีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และทำให้แหล่งอาหารของช้างป่าลดลง ช้างป่าจึงออกมากินผลผลิตภายในไร่ของชาวบ้าน ชุมชนจึงมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาในลักษณะต่างๆ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาคนกับช้างป่าและผลกระทบจากช้างป่าต่อการดำรงชีพของชุมชนบ้านรวมไทย และศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านรวมไทย ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาคนกับช้างป่าในบริเวณอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า และเจ้าหน้าที่หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาคนกับช้างป่าในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านรวมไทย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่ป่ามาทำการเกษตรปลูกไร่สับปะรด เป็นสาเหตุที่ดึงดูดช้างป่าให้เข้ามาในพื้นที่และทำให้พฤติกรรมของช้างป่าเปลี่ยนแปลงไป จากการอพยพหาแหล่งอาหารในป่าลึก มาเป็นการปักหลักอยู่กับที่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นด้านทรัพยากรธรรมชาติ คือ ผลผลิตทางการเกษตร ถูกทำลาย ส่งผลกระทบต่อด้านการเงิน เพราะผลผลิตที่ถูกทำลายคือรายได้ของชาวบ้านที่จะได้รับ ส่งผลกระทบต่อด้านสุขภาพร่างกายและใจ เนื่องด้วยชาวบ้านต้องปกป้องผลผลิตทางเกษตร จึงต้องไปนอนเฝ้าไร่ตลอดทั้งคืน เกิดการอ่อนล้า อ่อนเพลีย หวาดระแวง และวิตกกังวล ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงเกิดวิธีการแก้ไขการแก้ไขปัญหาโดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่หน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดขั้นตอนการทำงาน ดังนี้ 1) การค้นหาปัญหา โดยให้ข้อมูลผลกระทบที่ได้รับ ทรัพยากรที่มี และปัญหาการปฏิบัติงาน 2) การวางแผน โดยการจัดตั้งและบริหารชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่า ร่วมคิดกิจกรรมท่องเที่ยวชมสัตว์ป่า กำหนดกฎระเบียบสำหรับมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและผู้ขับรถนำชมสัตว์ป่า 3) การดำเนินการ โดยร่วมบริหารจัดการชมรมฯ การบริการนักท่องเที่ยว และช่วยเหลืองานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า 4) การรับและแบ่งปันผลประโยชน์ โดยได้ค่าตอบแทนเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงาน และได้รับการช่วยเหลือเยียวยาในกรณีเกิดเหตุร้ายแรง และ 5) การประเมินผล โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงาน และรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงงาน โดยระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในขั้นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง นำมาซึ่งผลกระทบด้านสังคม ที่ทำให้ชุมชนเกิดกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ภายในชุมชน ข้อมูลความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาคนกับช้างป่าเพื่อลดปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น เพราะประเทศไทยมีหลายพื้นที่ที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน


ถอดบทเรียนการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตร : กรณีศึกษา พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี, วิศรุตา วิเชียร 2022 บัณฑิตวิทยาลัย

ถอดบทเรียนการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตร : กรณีศึกษา พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี, วิศรุตา วิเชียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตร และเสนอแนวทางในการรณรงค์ส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตร ดำเนินการศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นเครื่องมือในการศึกษาและรวบรวมข้อมูล พิจารณาคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive random) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มหน่วยงานภาครัฐที่ขับเคลื่อนการใช้หญ้าแฝก คือ เจ้าหน้าที่จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 3 ท่าน และเจ้าหน้าที่จากสถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี 1 ท่าน 2) กลุ่มภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง คือ เครือข่ายคนรักษ์แฝก 3 ท่าน และ 3) กลุ่มอาชีพเกษตร ในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายในการขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี 8 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และการตีความ (interpretation) ตามกรอบการวิจัยเชิงย้อนรอย (Expost facto research) โดยวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of change) ในลักษณะการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การที่กลุ่มเกษตรกรมีการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดานเพื่อทำการเกษตรที่ประสบผลสำเร็จ จุดเริ่มต้นมาจากการมีบทบาทผู้นำ (Actors) ในการขับเคลื่อนที่ชัดเจน กล่าวคือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี และภาคีเครือข่ายคนรักษ์แฝก สร้างความร่วมมือกันในลักษณะเครือข่ายเพื่อกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน (Activity) ที่เน้นหนักในด้านการสนับสนุน (Input) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้กับกลุ่มเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง คือ 1) กลยุทธ์การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้หญ้าแฝกแก้ปัญหาดินดาน 2) กลยุทธ์การแจกจ่ายพันธุ์กล้าหญ้าแฝก 3) กลยุทธ์การติดตามประเมินผล และ 4) กลยุทธ์การบริหารจัดการ ซึ่งบทบาทผู้นำ (Actors) และกลยุทธ์การดำเนินงาน (Activity) เปรียบเสมือนตัวแปรสำคัญที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกร ส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรและนำหญ้าแฝกไปใช้แก้ปัญหาดินดานในพื้นที่ เกิดผลการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากการใช้หญ้าแฝกใน 3 มิติ คือ 1) ในแง่ของ Output คือ ดินดานลดน้อยลง พืชให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 2) ในแง่ของ Outcome คือ กลุ่มเกษตรกรยอมรับหญ้าแฝก ปรับเปลี่ยนวิธีการทำเกษตรที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรดินตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) …


How The Past Of Outsourcing And Offshoring Is The Future Of Post-Pandemic Remote Work: A Typology, A Model, And A Review, Chris Erickson, Peter Norlander 2022 UCLA Anderson

How The Past Of Outsourcing And Offshoring Is The Future Of Post-Pandemic Remote Work: A Typology, A Model, And A Review, Chris Erickson, Peter Norlander

School of Business: Faculty Publications and Other Works

Information and communication technology (ICT) challenges traditional assumptions about the capacity to manage workers beyond organizational and physical boundaries. A typology connects a variety of non-traditional work organizations made possible by ICT, including offshoring, outsourcing, remote work, virtual companies, and platforms. A model illustrates how new technology serves as a proximate cause for a revision of social contracts between capital, labor and government reached through bargaining, and how external shocks such as the COVID-19 pandemic, the institutional environment, and limitations in practice influence how technology changes the organization of work. An historical case illustrates the general features of the model, …


The Role Of Organizational Leaders In Employee Self-Care: A Change Management Approach, Olivia Dawn Honaker 2022 University of Kentucky

The Role Of Organizational Leaders In Employee Self-Care: A Change Management Approach, Olivia Dawn Honaker

DSW Capstone Projects

Although literature demonstrates that helping professionals have had high levels of stress and burnout for decades, the COVID-19 pandemic has only exacerbated the issue. The already burdened healthcare workers, now facing increased workloads, long hours, and high-level exposure to trauma, have created an urgency to address this significant risk to helping professionals. The current capstone will bring awareness to organizational leaders regarding the importance of employee self-care and the benefits of implementing employee self-care programs. First, a systematic literature review will examine self-care in helping professions and explore how organizational leaders operationalize employee self-care programs. In addition, the capstone aims …


Smart Heuristics For Individuals, Teams, And Organizations, Gerd GIGERENZER, Jochen REB, Shenghua LUAN 2022 Max Planck Institute for Human Development

Smart Heuristics For Individuals, Teams, And Organizations, Gerd Gigerenzer, Jochen Reb, Shenghua Luan

Research Collection Lee Kong Chian School Of Business

Heuristics are fast, frugal, and accurate strategies that enable rather than limit decision making under uncertainty. Uncertainty, as opposed to calculable risk, is characteristic of most organizational contexts. We review existing research and offer a descriptive and prescriptive theoretical framework to integrate the current patchwork of heuristics scattered across various areas of organizational studies. Research on the adaptive toolbox is descriptive, identifying the repertoire of heuristics on which individuals, teams, and organizations rely. Research on ecological rationality is prescriptive, specifying the conditions under which a given heuristic performs well, that is, when it is smart. Our review finds a relatively …


Professional Development Newsletter, January 2022, ODU Career Pathways Program, Old Dominion University 2022 Old Dominion University

Professional Development Newsletter, January 2022, Odu Career Pathways Program, Old Dominion University

Career Pathways

January 2022 issue of ODU Career Pathways Professional Development Newsletter.


Dentistry And The Law: Network Leasing Arrangements And Their Effect On Fees, Dan Schulte JD 2022 Kerr Russell

Dentistry And The Law: Network Leasing Arrangements And Their Effect On Fees, Dan Schulte Jd

The Journal of the Michigan Dental Association

Dentists entering network leasing arrangements often face uncertainty about fees due to the lack of transparent fee schedules. While leasing companies aim to connect dentists with insurers and plans, the absence of clear payment information poses challenges. Dentists may receive varying amounts for the same services, impacting financial predictability. The article emphasizes the importance of understanding contract terms, obtaining fee schedules, and monitoring patient volume to assess the arrangement's overall benefit.


The Effects On Employees From The Switch To Mandatory Contributions In The University Of Arkansas Retirement Plan, Sarah Hope Brasche, Timothy J. Yeager 2022 University of Arkansas, Fayetteville

The Effects On Employees From The Switch To Mandatory Contributions In The University Of Arkansas Retirement Plan, Sarah Hope Brasche, Timothy J. Yeager

Inquiry: The University of Arkansas Undergraduate Research Journal

After the 2016 fiscal year, the University of Arkansas Retirement Plan instituted mandatory contributions for full-time employees, presumably to boost retirement savings among those least prepared for retirement. Mandatory contributions began at 1% in fiscal-year 2017 and increased annually to 5% in fiscal-year 2022. This change may have harmed employees with tight budget constraints who wish to contribute less than the minimum contribution rate. At the same time, it may have helped those who were saving less than their optimal amount due to behavioral biases. We surveyed employees at the University of Arkansas campus to assess the effects from the …


Eating Disorders In Adolescents: Facts And Recommendations For The Oral Health Care Team, Catherine A. Miller MD, James R. Boynton DDS, MS, Terrill Bravender MD, MPH 2022 The University of Michigan Division of Adolescent Medicine

Eating Disorders In Adolescents: Facts And Recommendations For The Oral Health Care Team, Catherine A. Miller Md, James R. Boynton Dds, Ms, Terrill Bravender Md, Mph

The Journal of the Michigan Dental Association

Eating disorders typically begin during the adolescent years. These disorders are a spectrum of thoughts and behaviors related to food, weight and exercise that lead to significant psychological and physical morbidity. Medical complications of eating disorders are common and can be life-threatening. Dental providers can play an important role in care by recognizing oral signs and symptoms associated with eating disorders, giving advice on mitigating these issues, and helping patients and families connect with appropriate care. In this article, we provide key information about eating disorders, the complications including oral health issues, and advice for dental providers regarding care and …


Law Enforcement Recruitment, Why It Matters, And Key Management Decisions, Part One, Patrick Oliver 2022 Cedarville University

Law Enforcement Recruitment, Why It Matters, And Key Management Decisions, Part One, Patrick Oliver

History and Government Faculty Publications

No abstract provided.


Thanks For Noticing!, Christopher J. Smiley DDS 2022 Journal of the Michigan Dental Association

Thanks For Noticing!, Christopher J. Smiley Dds

The Journal of the Michigan Dental Association

The 2021 Member Value Survey highlighted the Journal of the Michigan Dental Association (MDA) as the organization's top-rated service, reinforcing its importance as the primary internal marketing tool. The Editorial emphasizes the collaborative efforts involved in maintaining the Journal's quality, including the Editorial Advisory Board, peer-review process, and the dedicated MDA team. Despite success, the Editorial calls for continued improvement, announcing plans to restructure the Editorial Advisory Board and invites members to contribute and shape the Journal's future, ensuring its ongoing value for readers.


El Discurso De Desarrollo Rural Inmerso En La Ley Zidres: Una Visión Crítica Desde La Nueva Ruralidad, Leidi Tatiana Rodríguez Estupiñán 2022 Universidad de La Salle, Bogotá

El Discurso De Desarrollo Rural Inmerso En La Ley Zidres: Una Visión Crítica Desde La Nueva Ruralidad, Leidi Tatiana Rodríguez Estupiñán

Economía

La ley para las Zonas de Interés para el Desarrollo Rural, Económico y Social (Zidres) se crea como una estrategia para el desarrollo económico y rural en las zonas aisladas y poco habitadas del país a través de asociaciones incentivadas por el Estado entre empresarios y pobladores rurales, en ese orden de ideas, se evidencia que la ley no es clara en el tipo de desarrollo que propone y su enfoque va encaminado al empresario como motor del crecimiento y desarrollo rural, relegando a un segundo plano a los pobladores rurales y sus saberes.

A partir de lo anterior, esta …


Emotional Intelligence: Using Relationship Management In Leadership, Lauren Odette 2022 Central Washington University

Emotional Intelligence: Using Relationship Management In Leadership, Lauren Odette

Undergraduate Honors Theses

The professional world is evolving, and business leaders are required to operate in sometimes difficult situations for which they might feel unprepared. While in recent years, research on emotional intelligence has shown to be an important leadership component, it is not always translated successfully to business leadership nor contextualized to young leaders. This project aims to present a workshop to help people in leadership communicate effectively with their employees using skills stemming from increased emotional intelligence. The workshop draws on a range of literature and experiences in leadership training and emotional intelligence. Key concepts that serve as the focal points …


Psychosocial Factors Of Covid-19 Impact Oral Health, Neeru Ramaswami BDS, MS, MPH 2022 Michigan Academy of Pediatric Dentistry

Psychosocial Factors Of Covid-19 Impact Oral Health, Neeru Ramaswami Bds, Ms, Mph

The Journal of the Michigan Dental Association

The impact of psychosocial factors on oral health during the COVID-19 pandemic necessitates an interdisciplinary approach to patient care. This article, part of National Children’s Dental Health Month, focuses on adolescent oral health and eating disorders, authored by experts from the University of Michigan. With a dramatic increase in eating disorders among Michigan adolescents during the pandemic, especially affecting transgender and diverse youth, identifying such issues is crucial. General dentists, in an ideal position for interaction, can play a vital role in addressing these challenges, emphasizing the need for continued education and collaboration.


Digital Commons powered by bepress