Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Discipline
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type

Articles 1 - 30 of 755

Full-Text Articles in Nursing

Predicting Factors Of Health-Related Quality Of Life Among End-Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis At A Tertiary Level Hospital In Nepal., Jyoti Gahatraj, Poolsuk Janepanish Visudtibhan, Tiraporn Junda, Nipaporn Butsing Dec 2023

Predicting Factors Of Health-Related Quality Of Life Among End-Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis At A Tertiary Level Hospital In Nepal., Jyoti Gahatraj, Poolsuk Janepanish Visudtibhan, Tiraporn Junda, Nipaporn Butsing

Journal of Health Research

Background: End-stage renal disease (ESRD) puts tremendous burdens upon affected patients and their support persons in Nepal. The health-related quality of life (HRQoL) among Nepalese persons with hemodialysis-dependent ESRD is not well understood. This study aimed to examine HRQoL and its predicting factors among persons undergoing hemodialysis in Nepal.

Methods: A purposive sampling was applied to recruit 106 persons with ESRD receiving hemodialysis at a tertiary hospital in Nepal between October and December 2021. The structured questionnaires included personal information, the World Health Organization Quality of Life instruments (WHOQOL-BREF), the fatigue assessment scale (FAS), the Hamilton depression rating scale (HDRS), …


Results Of Nursing Training Reforms: Estimating The Scope Of Nursing Practice, Marat Serikbayev, Saltanat Mamyrbekova, Ainur B. Kumar, Lyazzat Kosherbayeva, Akmaral Abikulova, Laura Seiduanova, Elmira Serikbayeva Sep 2023

Results Of Nursing Training Reforms: Estimating The Scope Of Nursing Practice, Marat Serikbayev, Saltanat Mamyrbekova, Ainur B. Kumar, Lyazzat Kosherbayeva, Akmaral Abikulova, Laura Seiduanova, Elmira Serikbayeva

Journal of Health Research

Background: With the adoption of the Astana Declaration on primary health care, modern approaches are being introduced in the Republic of Kazakhstan. The created national foundations of the nursing management system in Kazakhstan are a visible manifestation of a new organizational culture. In connection with the large-scale reform of nursing and the creation of a new position of nurses that meets modern social challenges and international requirements, the role of nurses in healthcare has increased significantly. In this study, we measured the actual scope of nursing practice among nurses in the medical organizations in the Republic of Kazakhstan.

Methods: …


Chronic Diseases And Inpatient Care Among The Middle-Aged And Elderly People In Indonesia, Ema Madyaningrum Jun 2023

Chronic Diseases And Inpatient Care Among The Middle-Aged And Elderly People In Indonesia, Ema Madyaningrum

Journal of Health Research

Background: The prevalence of chronic diseases contributes to an increase in healthcare utilization that results in increased vulnerability in middle and old age. This study aims to determine the factors that influence in-patient care among the middle-aged and elderly.

Methods: We conducted a repeated cross-sectional study using the Indonesia Family Life Survey 4 (IFLS 4) in 2007 (10,754 participants) and IFLS 5 in 2014 (12,058 participants). Chronic diseases include hypertension, diabetes mellitus, tuberculosis, asthma, coronary heart diseases, liver diseases, cancer, arthritis, gout, high cholesterol, prostate illness, kidney diseases, and digestive diseases. We used the frequency distribution, and logistic regression to …


An Overlooked Problem: A Qualitative Meta-Synthesis From Experience Of Men With Diabetic Erectile Dysfunction, Junjira Seesawang, Pulawit Thongtaeng Aug 2022

An Overlooked Problem: A Qualitative Meta-Synthesis From Experience Of Men With Diabetic Erectile Dysfunction, Junjira Seesawang, Pulawit Thongtaeng

Journal of Health Research

Background: ED is negatively associated with men’s sexual function capacity, emotional, intimate relationship and particularly psychological well-being. The purpose of this study was to synthesize qualitative findings which explain the experiences of men with diabetes who have erectile dysfunction.

Method: A meta-synthesis was performed. A search for qualitative studies published in English from 2010 to 2020 was conducted using PubMed, CINAHL, PsycInfo, and Science Direct databases. The main key words included: experience, men/male patient, erectile dysfunction, diabetes, diabetic erectile dysfunction, and qualitative research. Inductive and interpretative technique was used to analyze and synthesize findings from qualitative studies and reviewed by …


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, ณิชนันทน์ พันธ์เสถียร Jan 2022

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, ณิชนันทน์ พันธ์เสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาระหว่างกลุ่มซึ่ง ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วัยผู้ใหญ่ อายุน้อยกว่า 60ปี ที่และมีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เข้ารับบริการที่ห้องตรวจจักษุ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 36 คน กลุ่มทดลอง 36 คน จับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันได้แก่ ระดับการมองเห็น และระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองโดยผสมผสานแนวคิดของ Lorig and Holman (2003) ร่วมกับการให้ความรู้และการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวาน (Diabetes Self-Management Education) ประกอบด้วยขั้นตอน 1. การประเมิน (Assessment) 2. การตั้งเป้าหมาย (Goal setting) 3.การวางแผนการปฏิบัติ (Planning) 4. การนำแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติ (Implementation) 5.การประเมินผลการปฏิบัติ (Evaluation) ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 12 สัปดาห์ เครื่องมือดำเนินการทดลองประกอบด้วยแผนการสอน คู่มือการจัดการตนเองแบบบันทึกเป้าหมายการจัดการตนเอง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ซึ่งมีค่าสัมประสิทธ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ.82 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ paired sample t- test, independent sample t –test และ ANCOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Factors Influencing Quality Nursing Care At Hospitals In Indonesia, I Gede Juanamasta Jan 2022

Factors Influencing Quality Nursing Care At Hospitals In Indonesia, I Gede Juanamasta

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study investigated whether patient-to-nurse ratio, working hours, nurse competence, environment, nurse satisfaction, and turnover intention influence inpatient quality nursing care in Indonesian hospitals. Aiken’s model and empirical evidence were adapted to construct the framework. A cross-sectional design and multistage sampling were employed. Five hundred-fifty registered inpatient department nurses from June to October 2022. They were involved in completing the seven-part questionnaires, include a demographic questionnaire, nurse staffing measurement form, Good Nursing Care Scale, Nurse Competence Scale, Practice Environment Scale, McCloskey/Mueller Satisfaction Scale, and Anticipated Turnover Scale. All questionnaires had acceptable psychometric properties, which included content validity, construct validity, and …


A Path Analysis Model Of Mobility Among Persons With Hip Fracture After Surgery, Chanipa Yoryuenyong Jan 2022

A Path Analysis Model Of Mobility Among Persons With Hip Fracture After Surgery, Chanipa Yoryuenyong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This correlational study aimed to 1) investigate mobility and 2) examine direct and indirect paths of relationships among comorbidity, cognitive function, social support, pain, fatigue, and sleep quality on mobility among persons with hip fracture after surgery. The hypothesized model was constructed based on the theory of unpleasant symptoms and the literature reviewed. A three-stage random sampling approach was utilized to recruit 260 persons with hip fracture after surgery aged 50 years old and older who visited four hospitals in three health regions of Thailand. Research measurements consisted of the demographic data form, Charlson Comorbidity Index, General Practitioner Assessment of …


ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจ, สุพรรณารัตน์ รินสาธร Jan 2022

ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจ, สุพรรณารัตน์ รินสาธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบอนุกรมเวลาที่มีกลุ่มควบคุมและมีการให้สิ่งทดลองซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการฉีดสีสวนหัวใจในระยะก่อนทดลอง, หลังรับบัตรนัดสวนหัวใจ, ก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้าน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18-59 ปี ที่เข้ารับการสวนหัวใจครั้งแรก ณ โรงพยาบาลตำรวจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มตามสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง 1 และกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มละ 22 คน โดยจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ และระดับการศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลอง 1 และ 2 ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรี (กลุ่มทดลอง 1 มีผลการสวนหัวใจผิดปกติและได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ ส่วนกลุ่มทดลอง 2 มีผลการสวนหัวใจปกติ) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ (State Anxiety Inventory) ของ Spielberger (1983) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติ Repeated measure ANOVA ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 1 ช่วงก่อนทดลอง, หลังรับบัตรนัดสวนหัวใจ, ก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 2 ช่วงก่อนทดลอง, หลังรับบัตรนัดสวนหัวใจ, ก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 1 ช่วงก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้าน แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 2 ช่วงก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ …


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท, อภิวาท ศรีกาสี Jan 2022

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท, อภิวาท ศรีกาสี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับคู่ชีวิต ความเครียด การสนับสนุนทางสังคม ภาระการดูแลผู้ป่วย การรับรู้การถูกตีตราของคู่ชีวิต ด้านผู้ป่วยเป็นอาการทางบวก และอาการทางลบ กับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่าง คือ คู่ชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลจิตเวชและโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท แบบประเมินความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท แบบวัดการรับรู้ความเครียด แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินสัมพันธภาพของคู่ชีวิตกับผู้ป่วยจิตเภท แบบประเมินความรู้สึกเป็นภาระการดูแลผู้ป่วย แบบประเมินการรับรู้ตราบาป แบบประเมินอาการทางบวกผู้ป่วยจิตเภท และแบบประเมินอาการทางลบผู้ป่วยจิตเภท แบบสอบถามทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และคำนวณค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ .85, .94, .92, .75, .94, .98, .89 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ระดับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยจิตเภท ด้านอาการอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับต่ำ (Mean=11.02, SD=10.83) ด้านการมองข้ามความเป็นบุคคลของผู้ป่วยและผู้อื่นอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=6.36, SD=8.06) และด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของผู้ดูแลอยู่ในระดับสูง (Mean=13.45, SD=9.64) 2. สัมพันธภาพผู้ป่วยกับคู่ชีวิต และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภทในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -0.450) และ -.154 ตามลำดับ) 3. อาการทางลบมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภท ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .305) 4. อาการทางบวกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภท ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .509) 5. ภาระการดูแลผู้ป่วยและการรับรู้การรถูกตีตราของคู่ชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภทในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .779 และ .711 ตามลำดับ) 6. ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภทในระดับสูงมาก …


ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, รัชนี พระราช Jan 2022

ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, รัชนี พระราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นรื้อรังเพศชายและหญิง จำนวน 132 ราย ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมทั่วไปและคลินิกโรคปอด โรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามอาการหายใจลำบาก แบบสอบถามความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร แบบประเมินภาวะทุพโภชนาการ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แบบสอบถามหาค่าความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 1.00, 0.81, 0.93, 0.96 และ 1.00 ตามลำดับ และได้ความเที่ยงเท่ากับ .74, .72, .95 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 65.23 (SD = 6.55) 2. ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร (b = .407, p < .05) รองลงมา คือ การสนับสนุนทางสังคม (b = .366, p < .05) และภาวะทุพโภชนาการ (b = -.140, p < .05) ตามลำดับ และสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ร้อยละ 46.2 (Adjusted R2 = .462, F = 38.533, p < .05)


การศึกษาการจัดบริการทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ, กัณฐิกา สายปัญญา Jan 2022

การศึกษาการจัดบริการทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ, กัณฐิกา สายปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดบริการทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ในการรวบรวมฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า ประกอบด้วย 7 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการวางแผนการจัดบริการ หัวหน้าพยาบาลเป็นผู้กำหนดแผนการจัดบริการทางการพยาบาลและถ่ายทอดนโยบายมาสู่พยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและผู้จัดการพยาบาล ในการคัดเลือกสถานที่ จัดเตรียมเอกสาร เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ 2) ด้านการจัดการโครงสร้าง หัวหน้าพยาบาลเป็นผู้จัดโครงสร้างขององค์การ โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และจัดอัตรากำลังโดยผู้จัดการพยาบาล รวมถึงมีการจัดโครงสร้างของหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโดยพยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 3) ด้านการบริหารจัดการบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ประกอบด้วย การให้ความรู้และฝึกอบรม การมอบหมายหน้าที่ การปฐมนิเทศ และการจัดสวัสดิการและจูงใจการทำงานให้แก่บุคลากรทางการพยาบาล 4) ด้านการควบคุมกำกับการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย การควบคุมกำกับการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยหัวหน้าทีมการพยาบาล การควบคุมกำกับและป้องกันการติดเชื้อในการปฏิบัติงานโดยผู้จัดการพยาบาล และการควบคุมกำกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการพยาบาลโดยหัวหน้าทีมการพยาบาล 5) ด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงาน ประกอบด้วย การติดต่อภายใน และภายนอกหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 6) ด้านการรายงาน ผู้จัดการพยาบาลเป็นผู้รายงานสถานการณ์ปัญหาและยอดผู้ป่วยในแต่ละวันให้หัวหน้าพยาบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ 7) ด้านงบประมาณ หัวหน้าพยาบาลมีการบริหารจัดการให้มีค่าเสี่ยงภัย และจัดสรรเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอและพร้อมใช้


ประสบการณ์ของพยาบาลในการดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยวิกฤต, ชุติมาพร โกมล Jan 2022

ประสบการณ์ของพยาบาลในการดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยวิกฤต, ชุติมาพร โกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยวิกฤต โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ร่วมกับการบันทึกเทป การสังเกต การจดบันทึกภาคสนาม จำนวน 15 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์เนื้อหาตาม van Manen (1990) ผลการศึกษา ประสบการณ์ของพยาบาลในการดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยวิกฤต พบมี 5 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การดูแลผู้ที่ติดเชื้อด้วยความรู้สึกหลากหลายเพราะโควิดเป็นโรคอุบัติใหม่ ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 1.1) เหมือนอยู่ในสมรภูมิรบ 1.2) เป็นความเครียด มีความกดดัน เพราะเป็นการดูแลที่ไม่คุ้นเคย 1.3) กลัวติดเชื้อจากผู้ป่วย 1.4) รู้สึกหดหู่ใจเพราะผู้ป่วยตายทุกวัน 1.5) ตื่นเต้น วุ่นวายในการช่วยชีวิตผู้ป่วย 1.6) เหนื่อยกายหลังให้การดูแลแต่มีใจสู้ต่อ และ 1.7) ภูมิใจในตนเองที่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ 2) การดูแลด้วยประสบการณ์เดิมผสานกับความรู้ใหม่ ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 2.1) การดูแลผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจในท่านอนคว่ำ 2.2) เฝ้าระวังอาการและภาวะการหายใจ หากเปลี่ยนไปรายงานแพทย์ทันที 2.3) ป้องกันข้อต่อเครื่องช่วยหายใจไม่ให้เลื่อนหลุด 2.4) สังเกตน้ำยาล้างไตและสารน้ำที่ให้ผ่านเครื่อง Monitor และ 2.5) ใช้ Defibrillator แทนการ CPR เมื่อผู้ป่วยใส่ ECMO 3) การดูแลเอาใจใส่ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 3.1) การดูแลด้วยความเข้าใจ/ใช้สติ ให้กำลังใจและถามไถ่ความรู้สึก 3.2) เป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้ป่วยและสมาชิกครอบครัว และ 3.3) วาระสุดท้ายต้องดูแลให้ได้ตามมาตรฐานและตอบสนองความต้องการของครอบครัว 4) ปัญหาและอุปสรรคของการดูแลผู้ป่วย ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 4.1) ข้อจำกัดด้านการสื่อสารในทีมสุขภาพ และ 4.2) ข้อจำกัดด้านการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและครอบครัว 5) บทเรียนรู้ที่ได้รับจากการดูแลผู้ป่วย ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 5.1) เกิดการเรียนรู้นำสู่การปรับปรุงตน 5.2) ผลของงานเกิดจากความทุ่มเทของทีม 5.3) ความรับผิดชอบในวิชาชีพและคุณค่าของการเป็นพยาบาลวิกฤติ และ …


ประสบการณ์การเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในยุคใหม่ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง, ดุสิต กล่ำถึก Jan 2022

ประสบการณ์การเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในยุคใหม่ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง, ดุสิต กล่ำถึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินยุคใหม่โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และมีความยินดีเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการบันทึกภาคสนาม และนำข้อมูลที่ได้มาถอดเทปแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีของ Crist and Tanner ผลการศึกษา ประสบการณ์การเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินยุคใหม่โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง แบ่งเป็น 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. ภูมิหลังและการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานใน ER ประกอบด้วยประเด็นย่อยดังนี้ 1.1) หลากหลายเหตุผลที่เข้ามาทำงานใน ER 1.2) เริ่มทำงาน เกิดความไม่มั่นใจต้องใช้เวลาในการปรับตัว และ 1.3) การเตรียมความรู้ในการดูแลผู้ป่วย 2. การปฏิบัติงานของพยาบาลในหน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ประกอบด้วยประเด็นย่อยดังนี้ 2.1) คัดกรองผู้ป่วยด้วยทักษะที่หลากหลาย 2.2) ดูแลผู้ป่วยในห้องสังเกตการ 2.3) ช่วยฟื้นคืนชีวิตโดยปฏิบัติตามเทคนิคที่ถูกต้อง 2.4) บริการรับและส่งต่อผู้ป่วย 2.5) ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน 2.6) บริการงานสาธารณภัย พร้อมโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นและ 2.7) บริการความรู้แก่สังคมเพื่อประโยชน์แห่งตนและผู้อื่น 3. ปัญหาหน้างาน บริหารจัดการโดยหัวหน้าเวร ประกอบด้วยประเด็นย่อยดังนี้ 3.1) บริหารอัตรากำลังให้เหมาะสม หากมีผู้ป่วยจำนวนมาก 3.2) สื่อสารให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจหากต้องรอตรวจนาน 3.3) ป้องกันความผิดพลาดการดูแล จึงต้องมีการตรวจสอบและทวนซ้ำและ 3.4) ระงับเหตุการณ์วุ่นวาย ต้องอาศัยหลายฝ่ายร่วมกัน 4. ผลของการปฏิบัติงานใน ER ประกอบด้วยประเด็นย่อยดังนี้ 4.1) เครียดจากการบริหารจัดการในงานยุคใหม่ 4.2) ขาดสมดุลระหว่างชีวิตกับงานที่ต้องปฏิบัติ และ 4.3) ความสุขเกิดขึ้นได้จากผู้ร่วมงานที่ดีและเต็มที่กับการดูแลผู้ป่วยจนปลอดภัย การวิจัยนี้ทำให้เข้าใจการเป็นพยาบาลหน่วยอุบัติและฉุกเฉินที่ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยและการบริหารจัดการ ซึ่งผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคนและพัฒนางานของหน่วยอุบัติและฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพักของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, เบญจมาศ แสงสว่าง Jan 2022

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพักของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, เบญจมาศ แสงสว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาในการฟอกเลือด โรคร่วม ดัชนีมวลกาย ระดับแคลเซียม ระดับฮีโมโกลบิน อาการนอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ และกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพักของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลสระบุรี จำนวน 101 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะสุขภาพ แบบบันทึกข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง แบบสอบถามความรุนแรงของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพัก แบบสอบถามอาการนอนไม่หลับ แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า และแบบสอบถามภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงเท่ากับ 0.84, 0.89, 0.89 และ 0.73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สเปียร์แมน และอีต้า ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ความรุนแรงของกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพักของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอยู่ในระดับรุนแรงปานกลาง (x=13.91, SD=9.74) 2. โรคเบาหวาน ดัชนีมวลกาย อาการนอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพักผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.249, 0.213, 0.521, 0.416 และ 0.222 ตามลำดับ) โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ระยะเวลาในการฟอกเลือด ระดับแคลเซียม ระดับฮีโมโกลบินไม่มีความสัมพันธ์กับทางบวกกับกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขขณะพักผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลของการใช้หมอนข้าวไรซ์เบอรี่ประคบเย็นต่อความปวดของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารหลังผ่าตัดเปิดช่องท้อง, โชติกา ทองหล่อ Jan 2022

ผลของการใช้หมอนข้าวไรซ์เบอรี่ประคบเย็นต่อความปวดของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารหลังผ่าตัดเปิดช่องท้อง, โชติกา ทองหล่อ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความปวดของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารหลังผ่าตัดเปิดช่องท้อง ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการใช้หมอนข้าวไรซ์เบอรี่ประคบเย็นและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ในวันที่ 1, 2 และ 3 หลังผ่าตัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคระบบทางเดินอาหารเกี่ยวกับส่วนของกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ไส้ติ่ง ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และได้รับการผ่าตัดเปิดช่องท้อง ที่รับไว้เป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลระยอง จำนวน 40 ราย แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม 20 รายกลุ่มทดลอง 20 ราย จัดกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มโดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับฉลาก และดำเนินการให้กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีลักษณะใกล้เคียงกันโดยการจับคู่ (Matched pairs) กลุ่มทดลองได้รับการประคบเย็นด้วยหมอนข้าวไรซ์เบอรี่ ซึ่งจะประคบวันที่ 1, 2 และ 3 หลังการผ่าตัด โดยประคบครั้งละ 15 นาที วันละ 2 ครั้ง ก่อนผู้ป่วยทำกิจกรรมลุกเดินโดยเร็ว ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ นวัตกรรมหมอนข้าวไรซ์เบอรี่ที่ผ่านการตรวจสอบ คุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความปวดแบบตัวเลข ซึ่งทดสอบค่าความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ได้ค่า r = .801, แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล, แบบบันทึกการใช้นวัตกรรมหมอนข้าวไรซ์เบอรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ independent t-test และ Repeated Measured ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดหลังการผ่าตัดเปิดช่องท้องของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารที่ใช้หมอนข้าวไรซ์เบอรี่ประคบเย็น ในวันที่ 1, 2 และ 3 หลังผ่าตัด ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้เฉพาะการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05)


ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่ออาการท้องอืดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง, กัญธิดา พันทรังษี Jan 2022

ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่ออาการท้องอืดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง, กัญธิดา พันทรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่ออาการท้องอืดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง ตามแนวคิดการจัดการกับอาการของ Dodd (2001) และแนวคิดการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง เข้ารับการรักษาตัวที่หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน โดยการจับคู่ อายุ จำนวนยาแก้ปวดที่ได้รับระหว่างการผ่าตัด และระยะเวลาในการผ่าตัด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ1) การประเมินประสบการณ์การมีอาการท้องอืดหลังการผ่าตัด 2) กลวิธีการจัดการกับอาการท้องอืดหลังผ่าตัด และ 3) การประเมินผลการจัดการอาการท้องอืดหลังการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินอาการท้องอืด ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบความแปรปรวนแบบเกี่ยวข้อง (Repeated – measures ANOVA) ผลการวิจัยสรุปดังนี้ อาการท้องอืดหลังการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติในช่วงเวลาหลังผ่าตัดวันที่ 1 4 ชั่วโมง, 8 ชั่วโมง และหลังผ่าตัดวันที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่บ้านของผู้ดูแลในครอบครัว, กัมพล อินทรทะกูล Jan 2022

ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่บ้านของผู้ดูแลในครอบครัว, กัมพล อินทรทะกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่บ้านของผู้ดูแลในครอบครัว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความของ Martin Heidegger คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ดูแลในครอบครัวที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลหลักให้การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก บันทึกเทป วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของ van Manen ข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 13 ราย ผลการวิจัยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การให้ความหมายของความเจ็บป่วยด้วยมะเร็งระยะลุกลาม แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน และ 2) ยังหวังว่าการรักษาอาจจะช่วยให้หายได้ และส่วนที่ 2 ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่บ้านของผู้ดูแลในครอบครัว แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การดูแลเพื่อเพิ่มความสุขสบาย ไม่ทุกข์ทรมาน ครอบคลุมในเรื่อง 1.1) การดูแลความสะอาดและความสุขสบายตามสภาพร่างกายกายของผู้ป่วย 1.2) การดูแลให้ได้รับอาหารตามความต้องการของผู้ป่วย 1.3) การดูแลความสะอาดสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและความปลอดภัย 1.4) การดูแลด้านจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วย 1.5) การดูแลตามความเชื่อทางศาสนา และ 1.6) การดูแลผู้ป่วยเพื่อลดความกลัวตาย 2) การได้รับความช่วยเหลือสนับสนุน ครอบคลุมในเรื่อง 2.1) การได้รับความช่วยเหลือสนันสนุนจากครอบครัว 2.2) การได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากระบบสุขภาพ และ 2.3) การได้รับความช่วยเหลือสนันสนุนจากระบบสุขภาพชุมชน และ 3) การเรียนรู้และการปรับตัวจากการดูแล ครอบคลุมในเรื่อง 3.1) เพราะความไม่รู้จึงทำให้เครียดในช่วงแรกของการดูแล 3.2) เหนื่อยจากความรับผิดชอบหลากหลาย ร่างกายพักผ่อนไม่พอ และ 3.3) ภูมิใจ ดีใจที่ได้ดูแล และเป็นโอกาสที่ได้ตอบแทนพระคุณ จากผลการวิจัยนี้ นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับทีมสุขภาพในการส่งเสริมศักยภาพของผู้ดูแลในครอบครัวให้สามารถดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่บ้านได้


ปัจจัยทำนายระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม, จันทร พูลพิพัฒน์ Jan 2022

ปัจจัยทำนายระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม, จันทร พูลพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบพรรณนาเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม และศึกษาปัจจัยทำนายระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมจากปัจจัยด้านอายุ ฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ความกลัวการวินิจฉัยและการรักษา และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมรายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมทุกระยะของโรคที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม คลินิกเต้านม แผนกรังสีรักษา และแผนกเคมีบำบัด โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จำนวน 41 คน และโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี จำนวน 69 คน รวม 110 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 5 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกระยะเวลาการมาโรงพยาบาล 3) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม 4) แบบสอบถามความกลัวการวินิจฉัยและการรักษา 5) แบบสอบถามการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00, 1.00, .83, .92, .78 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .88, .81 ตามลำดับ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมมีค่า KR-20 เท่ากับ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1) ระยะเวลาการมาโรงพยาบาลของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมตั้งแต่พบอาการผิดปกติครั้งแรกจนกระทั่งมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกมีระยะเวลาเฉลี่ย 119.45 วัน 2) ปัจจัยที่ทำนายระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม ประกอบด้วย 2 ตัวแปร ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม (Beta=-.447) และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม (Beta=-.236) สามารถร่วมกันทำนายระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ ร้อยละ 24.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับปัจจัยด้านอายุ ฐานะทางเศรษฐกิจ ความกลัวการวินิจฉัยและการรักษา ไม่สามารถทำนายระยะเวลาการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจครั้งแรกของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมได้


ปัจจัยทำนายอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ธารทิพย์ แสนดวง Jan 2022

ปัจจัยทำนายอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ธารทิพย์ แสนดวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการพยากรณ์ของปัจจัยได้แก่ ความเหนื่อยล้า ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ ภาวะซึมเศร้า การปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอนหลับ และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ กับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 123 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินการปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาเกี่ยวกับการนอนหลับ แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ และแบบประเมินภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .97, .90, .84, .86, .90, และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสเปียร์แมน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พบว่าอยู่ในระดับเริ่มมีอาการนอนไม่หลับ (Mean=12.13, SD=7.87) 2. ความเหนื่อยล้า ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ ภาวะซึมเศร้า การปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอนหลับ และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.494, .695, .633, .336 และ .399 ตามลำดับ) 3. ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ ภาวะซึมเศร้า และการปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอนหลับ สามารถร่วมกันทำนายอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้ร้อยละ 58.8 (R2= .588) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และสร้างสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z อาการนอนไม่หลับ = .468 Z ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ + .347 Z ภาวะซึมเศร้า + .128 Z การปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการนอนหลับ


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019, พัณณิตา แสงขำ Jan 2022

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019, พัณณิตา แสงขำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความกลัว ภาวะโรคร่วม ดัชนีมวลกาย อาการนอนไม่หลับ และการสนับสนุนทางสังคมกับอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 กลุ่มตัวอย่างคือ คนไทยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร จำนวน 101 คน ที่ได้จากการเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและและการเจ็บป่วย 2) แบบประเมินภาวะโรคร่วม 3) แบบประเมินอาการเหนื่อยล้า 4) แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต 5) แบบสอบถามความกลัว 6) แบบสอบถามอาการนอนไม่หลับและ 7) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค แบบสอบถามที่ 3,4,5,6,7 มีค่าเท่ากับ 0.92, 0.90, 0.94, 0.92และ0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ พิสัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 มีคะแนนอาการเหนื่อยล้าโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 3.07 (SD=1.67) โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.7 รายงานอาการเหนื่อยล้า 2. ภาวะซึมเศร้า ความกลัว ความวิตกกังวล อาการนอนไม่หลับและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.495, 0.545, 0.468, 0.467และ -0.301 ตามลำดับ) 3. ภาวะโรคร่วมและดัชนีมวลกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ประสบการณ์การกลับไปโรงเรียนในระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัดของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็ง, รุ่งเทวินทร์ สัมพันธ์ Jan 2022

ประสบการณ์การกลับไปโรงเรียนในระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัดของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็ง, รุ่งเทวินทร์ สัมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพตามวิธีการวิจัยปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การกลับไปโรงเรียนในระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัดของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็ง คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของ Colaizzi ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักมีทั้งสิ้น 9 ราย เป็นเพศชาย 5 ราย เพศหญิง 4 ราย มีอายุระหว่าง 12-16 ปี เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ 8 ราย และผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 1 ราย ผู้ให้ข้อมูลหลักได้เล่าถึงประสบการณ์การกลับไปโรงเรียนในระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด 5 ประเด็น คือ 1) กลับไปโรงเรียนอีกครั้งเพื่อตนเอง 2) กลับไปโรงเรียนอีกครั้ง แต่ไม่เหมือนเดิม 3) คนรอบข้างช่วยเหลือ 4) กำลังใจทำให้อยากอยู่ต่อ และ 5) ความสุขของการกลับไปโรงเรียนอีกครั้ง ผลการศึกษานี้ ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับประสบการณ์การกลับไปโรงเรียนในระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัดของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็ง และสามารถนำข้อมูลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการสนับสนุนให้ผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งที่มีความพร้อม มีความต้องการกลับไปโรงเรียนให้สามารถกลับไปโรงเรียนได้อีกครั้ง รวมทั้งการวิจัยในอนาคตในหัวข้อที่เกี่ยวข้องต่อไป


ผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวด ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดตับแบบเปิดช่องท้อง, ธนิกานต์ กฤษณะ Jan 2022

ผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวด ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดตับแบบเปิดช่องท้อง, ธนิกานต์ กฤษณะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดตับแบบเปิดช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยในที่ได้รับการผ่าตัดตับแบบเปิดช่องท้อง เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 ราย ได้รับการจับคู่ด้วย เพศ อายุ ประสบการณ์การผ่าตัดในอดีต และชนิดของยาแก้ปวดที่ได้รับ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิดการจัดการอาการของ Dodd และคณะ (2001) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความปวดแบบมาตรวัดความปวดด้วยสายตา (Visual analog scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติ Independent sample t-test ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดตับแบบเปิดช่องท้องภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดต่ำกว่ากว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


ประสบการณ์ชีวิตของพยาบาลวิชาชีพที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, จุฑาทิพย์ คะชะวะโร Jan 2022

ประสบการณ์ชีวิตของพยาบาลวิชาชีพที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, จุฑาทิพย์ คะชะวะโร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรยายประสบการณ์ชีวิตของพยาบาลวิชาชีพที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลวิชาชีพที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากการปฏิบัติงาน โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จำนวน 15 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การบันทึกเทป และการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ Colaizzi ผลการศึกษาประสบการณ์ชีวิตของพยาบาลวิชาชีพที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วยประเด็นหลัก และประเด็นย่อยดังต่อไปนี้ 1. สภาพการทำงานที่มีภาวะเสี่ยง ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) มีโอกาสสัมผัสจากเชื้อโรค ไม่ได้มีการป้องกันทุกขั้นตอน และ 1.2) ละเลยการใช้อุปกรณ์การป้องกัน 2. เริ่มมีอาการ แจ้งหน่วยงานเข้าระบบการรักษา ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) มีอาการนำก่อนมาโรงพยาบาล 2.2) เข้ารับการตรวจตามระบบเพื่อยืนยันการติดเชื้อโควิด 2.3) เลือกสถานที่เข้ารับการรักษา และ 2.4) ได้รับการรักษาตามอาการ 3. ความรู้สึกหลากหลายในช่วงเวลากักตัวและรับการรักษา ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ 3.1) กลัวและกังวลใจจะทำให้คนอื่นติดเชื้อโควิด 3.2) เครียด กลัว กังวล สุขภาพของตนในระยะยาว 3.3) เบื่อกับการอยู่ในพื้นที่จำกัดทำกิจวัตรซ้ำๆ เดิม และ 3.4) รู้สึกดีที่ได้รับกำลังใจจากคนรอบข้าง 4. อาการที่หลงเหลืออยู่หลังการรักษา ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 4.1) อาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มอิ่ม และ 4.2) ไอ มีน้ำมูกและเจ็บคอ 5. การทำงานของพยาบาลมีความเสี่ยงตลอดเวลา ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 5.1) ป้องกันการติดเชื้อ เพื่อไม่ให้มีการติดซ้ำ และ 5.2) ใส่ใจสุขภาพ ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ผลการวิจัยนี้ ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 …


ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19, ชนินาถ ชำนาญดี Jan 2022

ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19, ชนินาถ ชำนาญดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl Phenomenology ผู้เข้าร่วมวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 จำนวน 16 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและบันทึกเทป ข้อมูลที่ได้นำมาถอดเทปแบบคำต่อคำและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวิธีการของโคไลซีย์ (Colaizzi) ผลการศึกษาวิจัยพบว่าประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19 สรุปได้ 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. ประสบการณ์การรับรู้อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย 1.1) อาการแรกเริ่ม ไม่ได้คิดว่าจะเป็นไม่รู้ติดมาจากไหน 1.2) มันเหนื่อยมาก หายใจไม่ออก แทบทนไม่ไหว และ 1.3) ร่างกายไม่เหมือนเดิม มีผลตามมาภายหลังการเจ็บป่วย 2 .ประสบการณ์ในการเข้ารับการรักษา ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย 2.1) รู้สึกโชคดี เข้าถึงการรักษา จึงรอดตาย 2.2) ถูกจำกัดให้อยู่แต่ในห้อง ทำกิจกรรมทุกอย่างบนเตียง 2.3) ได้รับการดูแลผ่านกล้องวงจรปิดและพูดคุยผ่านลำโพง และ 2.4) ได้รับการดูแลที่ขาดสัมพันธภาพกับผู้ดูแล 3. หลากอารมณ์ หลายความรู้สึกภายในใจ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย 3.1) กังวล กลัวว่าจะไม่รอด 3.2) รู้สึกว้าเหว่ โดดเดี่ยว และ 3.3) ปล่อยวาง ยอมรับและเข้าใจสภาพตามอายุที่เพิ่มขึ้น 4. ประสบการณ์ในการกลับเข้าสู่สังคม ภายหลังที่หายจากการเจ็บป่วย ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย4.1) ถูกรังเกียจ เดินหนี ไม่พูดคุย 4.2) ได้รับความห่วงใยและกำลังใจจากคนใกล้ตัว 4.3) ปรับตนเองในการดำเนินชีวิต เพื่อป้องกันการติดเชื้อ 4.4) ใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น และ 4.5) คิดทบทวนเกี่ยวกับชีวิตในอนาคต ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้เข้าใจประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19 มากขึ้น โดยผลการวิจัยสามารถนำไปปรับใช้เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการปัญหาความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19และสามารถนำไปพัฒนาการพยาบาลแบบองค์รวม


การศึกษากลุ่มอาการภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร, นิรัชพร เกิดสุข Jan 2022

การศึกษากลุ่มอาการภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร, นิรัชพร เกิดสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยาย เพื่อศึกษากลุ่มอาการภายหลังติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ คนไทยหลังติดเชื้อโควิด-19 อายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 300 คน เขตกรุงเทพมหานคร คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด 1) เข้ารับการรักษาในระบบสุขภาพ ผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใน หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ 2) แยกกักตัวในชุมชน หรือแยกกักตัวที่บ้าน 3) เป็นผู้ป่วยภายหลังติดเชื้อโควิด-19 เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน เกณฑ์การคัดออก คือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารได้ เก็บข้อมูลด้วยตนเอง ระหว่างเดือนกันยายน 2565 - พฤศจิกายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยหลังติดเชื้อโควิด-19 มีการรับรู้ความถี่มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เหนื่อยล้า ไอ ความจำลดลง มีเสมหะ และผมร่วง ตามลำดับ การรับรู้ความรุนแรง ได้แก่ เหนื่อยล้า ไอ ความจำลดลง นอนไม่หลับ และมีเสมหะ ตามลำดับ การรับรู้ความทุกข์ทรมาน ได้แก่ เหนื่อย ไอ นอนไม่หลับ ความจำลดลง และมีเสมหะ ตามลำดับ 2. องค์ประกอบของกลุ่มอาการภายหลังติดเชื้อโควิด-19 มีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ มีค่าความแปรปรวนรวมกันคิดเป็นร้อยละ 67.43 ได้แก่ กลุ่มอาการทางระบบผิวหนัง, กลุ่มอาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ และภาวะสมอง, กลุ่มอาการระบบหัวใจและระบบทางเดินหายใจ, กลุ่มอาการทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ, กลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป, กลุ่มอาการระบบทางเดินอาหาร และกลุ่มอาการเหนื่อยล้า


ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียมต่อระดับความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, พิมพ์ลดา เปี่ยมสุขวิลัย Jan 2022

ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียมต่อระดับความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, พิมพ์ลดา เปี่ยมสุขวิลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ไม่มีการสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียมต่อความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ เพศชายและหญิง อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ณ คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ ระดับการศึกษา และชนิดของยาลดความดันโลหิตที่ใช้ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มการทดลองกลุ่มละ 24 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียม เครื่องมือที่ใช้งานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เครื่องวัดความดันโลหิต และแบบสอบถามประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารลดโซเดียม ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความดันโลหิตของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ภายหลังได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียม กลุ่มทดลองมีความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้หลังได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านการบริโภคอาหารลดโซเดียมในกลุ่มทดลองมีความดันโลหิตต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรัง, ภัทราภรณ์ หมานมุ้ย Jan 2022

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรัง, ภัทราภรณ์ หมานมุ้ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและหาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ รายได้ สถานะการสูบบุหรี่ ภาวะโรคร่วม (โรคหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ภาวะกรดไหลย้อน) อาการทางจมูกและอาการที่เกี่ยวข้องกับประสาทรับกลิ่น คุณภาพการนอนหลับ และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมโรคกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรังทั้งเพศชาย และเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 18-65 ปี มีอาการไซนัสอักเสบเรื้อรังมากกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยนอกหรือคลินิกที่มีแพทย์เฉพาะทางโรคด้านนาสิกวิทยาและภูมิแพ้ โรงพยาบาลตติยภูมิขึ้นไป 3 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 143 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษา 2) แบบสอบถามอาการทางจมูกและอาการที่เกี่ยวข้องกับประสาทรับกลิ่น 3) แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับ 4) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการควบคุมโรค และ 5) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ แบบสอบถามทุกฉบับได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงด้วยวิธีคำนวนค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.83, 0.73, 0.77 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสัมประสิทธิ์ Eta ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังอยู่ในระดับต่ำทั้ง 8 มิติ ได้แก่ การรับรู้สุขภาพทั่วไป ความเจ็บปวด บทบาทที่ถูกจำกัดเนื่องจากปัญหาด้านอารมณ์ บทบาทที่ถูกจำกัดเนื่องจากสุขภาพทางกาย พลังงาน สุขภาพจิตทั่วไป การทำหน้าที่ทางสังคม และการทำหน้าที่ทางกาย (ร้อยละ 50.3, 35.7, 35.7, 32.2, 28.0, 19.6, 10.5, และ 9.1 ตามลำดับ) คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี อาการทางจมูกและอาการที่เกี่ยวข้องกับประสาทการรับกลิ่น มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ -.479 และ -.439 ตามลำดับ ในขณะที่การรับรู้ความสามารถในการควบคุมโรค มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .306 รายได้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนเท่ากับ .148 ในขณะที่โรคหืดและสถานะการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 …


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, รัชฎาพร บุญสนอง Jan 2022

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, รัชฎาพร บุญสนอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยายเพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จำนวน 195 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกระบบหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลศิริราช เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 7 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคหัวใจขาดเลือด 3) แบบสอบถามการรับรู้การเจ็บป่วย 4) แบบสอบถามแรงจูงใจ 5) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 6) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และ 7) แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.94, 1.0, 1.0, 0.97, 1.0 และ 0.95 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .76, .80, .73, .91, .96 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค ความรู้ แรงจูงใจ การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนอยู่ในระดับสูง (Mean = 100.98 SD = 12.39, Mean = 16.48 SD = 2.16, Mean = 76.03 SD = 8.63, Mean = 67.43 SD = 9.09 และ Mean = 25.73 SD = 3.79 ตามลำดับ) และมีคะแนนการรับรู้การเจ็บป่วยระดับปานกลาง (Mean = 49.81 SD …


ผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนการจัดการตนเองต่ออาการหายใจลำบากในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ราเชนร์ สุโท Jan 2022

ผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนการจัดการตนเองต่ออาการหายใจลำบากในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ราเชนร์ สุโท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนจัดการตนเอง ต่ออาการหายใจลำบากในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 30 คน จับคู่ทั้งสองกลุ่มให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศ อายุ และระดับความรุนแรงของอาการหายใจลำบาก กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนการจัดการตนเอง ประกอบด้วย 1) การประเมิน (assess) 2) การให้คำแนะนำ (advise) 3) การทำความตกลง (agree) 4) การช่วยเหลือ (assist) 5) การติดตามและประเมินผล (arrange) ต่อเนื่องนาน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินอาการหายใจลำบาก และแบบประเมินพฤติกรรมการจัดการอาการหายใจลำบากซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และ .88 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการหายใจลำบากของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มทดลองหลังการได้รับโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนจัดการตนเองน้อยกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการหายใจลำบากของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนจัดการตนเองน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่แบบสั้นต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในผู้ที่เป็นวัณโรคปอด, วริฐา พรกิจวรกุล Jan 2022

ผลของโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่แบบสั้นต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในผู้ที่เป็นวัณโรคปอด, วริฐา พรกิจวรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่ต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในผู้ที่เป็นวัณโรคปอด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่สูบบุหรี่อย่างน้อย 1 มวนในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา เข้ารับการรักษาที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 คน กำหนดให้ 30 คนแรกเป็นกลุ่มควบคุม และ 30 คนหลังเป็นกลุ่มทดลอง จับคู่กลุ่มตัวอย่างให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุและระดับการติดนิโคติน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลอง ได้รับการพยาบาลตามปกติและโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่แบบสั้น เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ และแบบสอบถามสถานะการสูบบุหรี่ ประเมินการเลิกบุหรี่จากการเลิกสูบบุหรี่ได้ติดต่อกันในช่วง 7 วันก่อนระยะเวลาประเมินผลที่ 2 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ สถิติทีและสถิติซี ผลการทดลองพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่สูบบุหรี่ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่แบบสั้น สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่สูบบุหรี่ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการช่วยเลิกบุหรี่แบบสั้น สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.05) 3. เมื่อประเมินที่ระยะเวลา 2 เดือนหลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่สูบบุหรี่ในกลุ่มทดลอง เลิกบุหรี่ได้ 12 คน ส่วนกลุ่มควบคุม เลิกบุหรี่ได้ 3 คน อัตราการเลิกบุหรี่ในช่วง 7 วันก่อนประเมินผล ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)