Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

พยาบาลวิชาชีพ

Publication Year

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Nursing

บทบาทพยาบาลเบาหวาน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ (Roles Of Diabetes Nurse's As Perceived By Professional Nurses), พรรณวดี เหลืองรัตน์, กัญญดา ประจุศิลป Jan 2013

บทบาทพยาบาลเบาหวาน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ (Roles Of Diabetes Nurse's As Perceived By Professional Nurses), พรรณวดี เหลืองรัตน์, กัญญดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาบทบาทพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกที่มีการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 341 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และทดสอบความเที่ยงโดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ ค่าความเที่ยง .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว \nผลการวิจัย: \n1. บทบาทพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ ที่ระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าบทบาทพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ในด้านการปฏิบัติ การพยาบาล (x = 4.43, SD = 0.56) ด้านการประสานงานและการติดต่อสื่อสารกับทีมสหสาขาวิชาชีพ (x = 3.57, SD = 0.77) อยู่ในระดับมาก แต่บทบาทพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ด้านการจัดการ และประเมินผลลัพธ์ (x = 3.44, SD = 0.80) ด้านการให้ความรู้และคำปรึกษา (x = 3.20, SD = 0.65) และด้านการวิจัยและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (x = 3.19, SD = 0.85) อยู่ในระดับปานกลาง \n2. พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการอบรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและไม่ได้รับการอบรมการดูแลผู้ป่วย เบาหวาน มีการปฏิบัติบทบาทพยาบาลเบาหวานต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน พยาบาลวิชาชีพที่มี วุฒิการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพ และหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน แตกต่างกัน มีการปฏิบัติบทบาทพยาบาลเบาหวานไม่ต่างกัน \nสรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานรับรู้บทบาทของพยาบาลเบาหวาน อยู่ในระดับมาก ผู้บริหารทางการพยาบาล สามารถนำบทบาทพยาบาลเบาหวาน ไปเป็นแนวทางในการ กําหนดบทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน


แฟ้มสะสมผลงานกับการประเมินผลการปฏิบัติงานและการพัฒนาความสามารถของพยาบาลวิชาชีพ (Portfolio With Performance Evaluation And Competencies Development Of Professional Nurses), สุดารัตน์ ครุฑกะ, ยุพิน อังสุโรจน์ Jan 2005

แฟ้มสะสมผลงานกับการประเมินผลการปฏิบัติงานและการพัฒนาความสามารถของพยาบาลวิชาชีพ (Portfolio With Performance Evaluation And Competencies Development Of Professional Nurses), สุดารัตน์ ครุฑกะ, ยุพิน อังสุโรจน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การปฏิบัติอย่างอิสระของพยาบาลในต่างประเทศ (Independent Practice Of Western Professional Nurses ), จินตนา ยูนิพันธุ์, วราภรณ์ ชัยวัฒน์, สุกัญญา ประจุศิลป Jan 2005

การปฏิบัติอย่างอิสระของพยาบาลในต่างประเทศ (Independent Practice Of Western Professional Nurses ), จินตนา ยูนิพันธุ์, วราภรณ์ ชัยวัฒน์, สุกัญญา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การปฏิบัติอย่างอิสระของพยาบาลเป็นรูปแบบการบริการพยาบาลรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันใน ต่างประเทศว่า เป็นรูปแบบการบริการพยาบาลที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่ารูปแบบการบริการในลักษณะนี้ดูเหมือนว่าจะเหมาะสมและเป็นไปได้ที่จะนํามา ปฏิบัติในสังคมไทย แต่การที่จะส่งเสริมให้พยาบาลปฏิบัติอย่างอิสระโดยไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนและมีปัจจัยเอื้อที่เหมาะสมก็อาจส่งผลกระทบในทางลบทั้งต่อสุขภาพของประชาชนและต่อวิชาชีพกาพยาบาลได้ บทความนี้ เป็นการนำเสนอผลของการทบทวนวรรณกรรมต่างประเทศเกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างอิสระของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวิจัยสังเคราะห์รูปแบบของการปฏิบัติอย่างอิสระของพยาบาวิชาชีพที่เหมาะสมกับ บริบทสังคมไทยต่อไป


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน ของหัวหน้างานกับการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (Relationships Among Personal Factors, Work Safety Management Of Head Nurses, And Adaptation Of Professional Nurses After Being Assaulted, Emergency Department Regional Hospital And Medical Centers), ทองศุกร์ บุญเกิด, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ May 2000

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน ของหัวหน้างานกับการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (Relationships Among Personal Factors, Work Safety Management Of Head Nurses, And Adaptation Of Professional Nurses After Being Assaulted, Emergency Department Regional Hospital And Medical Centers), ทองศุกร์ บุญเกิด, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัว ภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การจัดการความปลอดภัยในการทำงานของหัวหน้างานกับการปรับตัวภายหลังถูกทำร้าย ของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ รวมทั้งศึกษาตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ การปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและ ฉุกเฉินโรงพยาบาลศูนย์ จำนวน 210 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การจัดการความปลอดภัยในการทำงานของหัวหน้างาน และแบบสอบถามการปรับตัวภายหลังถูกทำร้าย ของพยาบาลวิชาชีพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาแล้ว และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 และ.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์และทดสอบทางสถิติ โดยการ ทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน \nผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ \n1. ค่าเฉลี่ยการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ โดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของ พยาบาลวิชาชีพด้านการทำหน้าที่ในสังคม ด้านขวัญกำลังใจ และด้านภาวะสุขภาพ อยู่ในระดับดี \n2. การอบรมการป้องกันตัวและการจัดการความปลอดภัยในการทํางานของหัวหน้างาน มีความสัมพันธ์ กับการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 \n3. ตัวแปรที่พยากรณ์การปรับตัวภายหลังถูกทําร้ายของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การจัดการความปลอดภัยในการ ทำงานของหัวหน้างาน สามารถพยากรณ์การปรับตัวภายหลังถูกทําร้ายของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 29.9 (R2 = .299) \nได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ \nการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ = .546 การจัดการความปลอดภัยในการทำงานของหัวหน้างาน