Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 8 of 8

Full-Text Articles in Nursing

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแล ผู้ป่วยของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน (The Effects Of A Self-Efficacy Promoting Program For Care Of Stroke Patients On Caregivers During The Transition Phase From Hospital To Home), อมรวรรณ กวีภัทรนนท์, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, ปรีย์กมล รัชนกุล Jan 2013

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแล ผู้ป่วยของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน (The Effects Of A Self-Efficacy Promoting Program For Care Of Stroke Patients On Caregivers During The Transition Phase From Hospital To Home), อมรวรรณ กวีภัทรนนท์, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, ปรีย์กมล รัชนกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 23 คน โปรแกรมที่ใช้ในการศึกษาประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการดูแลผู้ป่วยอย่าง ต่อเนื่อง แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ขณะอยู่โรงพยาบาล และหลังจำหน่าย 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วย แบบสอบถาม ความสามารถในการปรับตัว และแบบวัดความผาสุกของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ํา และสถิติทดสอบแบบแมคนีมาร์ \nผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนภายหลังจำหน่ายจาก โรงพยาบาลในสัปดาห์ที่ 2 และ 6 มากกว่าก่อนเริ่มโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และ จำนวนผู้ดูแลที่มีความผาสุกในสัปดาห์ที่ 6 หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล มากกว่าก่อนเริ่มโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ค่าเฉลี่ยการปรับตัวหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลในสัปดาห์ที่ 2, 6 และก่อนเริ่มโปรแกรมไม่แตกต่างกัน (p > .05) \nสรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลสามารถนำโปรแกรมสำหรับผู้ดูแลนี้มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความผาสุกได้


อัตมโนทัศน์ทางเพศ : ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Sexual Self-Concept: Myocardial Infarction Patients), วินิตย์ หลงละเลิง, นรลักขณ์ เอื้อกิจ Jan 2013

อัตมโนทัศน์ทางเพศ : ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Sexual Self-Concept: Myocardial Infarction Patients), วินิตย์ หลงละเลิง, นรลักขณ์ เอื้อกิจ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

อัตมโนทัศน์ทางเพศเป็นปัจจัยด้านจิต-สังคมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศของบุคคล เนื่องจากเป็นความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศที่เกี่ยวกับตนเองและมีอิทธิพลต่อการสร้างความสัมพันธ์ กับผู้อื่นรวมทั้งการรับรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะความสามารถของตนต่อพฤติกรรมทางเพศ การรับรู้อัตมโนทัศน์ ทางเพศ (Sexual self-concept) ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual satisfaction) 2) ความวิตกกังวลในการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual anxiety) 3) การรับรู้สมรรถนะแห่ง ตนในการมีเพศสัมพันธ์ (Perceived sexual self-efficacy) และ 4) ภาวะซึมเศร้าในการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual depression) แนวคิดดังกล่าวได้ประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจวายและโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายพบว่า อัตมโนทัศน์ทางเพศมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมทางเพศ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ พฤติกรรมทางเพศของผู้ป่วยโรคหัวใจวายและโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ขณะที่ความวิตกกังวลในการมีเพศสัมพันธ์และภาวะซึมเศร้าในการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมทางเพศของผู้ป่วย โรคหัวใจวายและโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย


สมรรถนะผู้จัดการหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร (Manager Competencies In Critical Care Units Of Private Hospitals, Bangkok), ฉวีรัตน์ ชื่นชมกุล, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร Jan 2013

สมรรถนะผู้จัดการหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร (Manager Competencies In Critical Care Units Of Private Hospitals, Bangkok), ฉวีรัตน์ ชื่นชมกุล, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะผู้จัดการหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณา \nวิธีดำเนินการวิจัย: ใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารหอผู้ป่วยวิกฤต จำนวน 18 คน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร เพื่อนำสาระที่ได้มาบูรณาการกำหนดเป็นกรอบในการสร้างคำถามสัมภาษณ์ และทำการสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับสมรรถนะที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม นํามาสร้างแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของ ข้อรายการสมรรถนะในแต่ละด้าน ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัย ระหว่างควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามส่งให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง นำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์หาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย \nผลการวิจัย: สมรรถนะผู้จัดการหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร ผู้เชี่ยวชาญ ให้ระดับความสำคัญของสมรรถนะสอดคล้องกันทุกข้อ ประกอบด้วยสมรรถนะ 8 ด้าน รวม 44 ข้อ ได้แก่ 1) การบริหารจัดการความเสี่ยง 6 ข้อ 2) การพยาบาลขั้นสูง 10 ข้อ 3) การบริหารบุคลากรในหอ ผู้ป่วยวิกฤต 6 ข้อ 4) การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์และเครื่องมือทางด้านการแพทย์ 5 ข้อ 5) การตัดสินใจในสถานการณ์วิกฤต 3 ข้อ 6) การบริหารจัดการข้อขัดแย้งและการเจรจาต่อรอง 4 ข้อ 7) การประสานความร่วมมือในการทํางาน 5 ข้อ และ 8) การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ 5 ข้อ สรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะผู้จัดการหอผู้ป่วยวิกฤต ซึ่งสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการสรรหา วางแผน และพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผู้ที่ จะเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้จัดการหอผู้ป่วยวิกฤต และเป็นแนวทางในการฝึกอบรมผู้จัดการหอผู้ป่วยวิกฤต


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย (Factors Relating To Organizational Commitment Of Professional Nurses At University Hospitals), สิริษา ทันเจริญ, อารีย์วรรณ อ่วมตานี Jan 2013

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย (Factors Relating To Organizational Commitment Of Professional Nurses At University Hospitals), สิริษา ทันเจริญ, อารีย์วรรณ อ่วมตานี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ และความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพโรงพยาบาล การเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบพรรณนา \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ ด้านการเป็นแบบอย่าง ของการปฏิบัติการเชิงวิชาชีพ ด้านการพัฒนาคุณภาพ นวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ และด้านผลลัพธ์ คุณภาพเชิงประจักษ์ กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และหาค่าความ เที่ยงโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ 91, 94, 97, 96, 90 และ 95 ตามลำดับ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน \nผลการวิจัย: ผลการวิจัยมีดังนี้ \n1) พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ อยู่ในระดับมาก (X= 4.01, SD = 0.61) \n2) สถานภาพโรงพยาบาล ไม่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ \n3) การเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติการเชิงวิชาชีพ การเสริมสร้างพลังอำนาจ ผลลัพธ์ คุณภาพเชิงประจักษ์ การพัฒนาคุณภาพ นวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ และ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ทางบวก กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย (r = .686, 680, .584, 563 และ 556 ตามลำดับ) \nสรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการวิจัย จะเห็นได้ว่า การเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจเป็นปัจจัยที่ทำให้ พยาบาลมีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การมากขึ้น ดังนั้นผู้บริหารการพยาบาลจึงควรธำรงรักษาการเป็น โรงพยาบาลดึงดูดใจของฝ่ายการพยาบาลต่อไป


บทบาทพยาบาลเบาหวาน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ (Roles Of Diabetes Nurse's As Perceived By Professional Nurses), พรรณวดี เหลืองรัตน์, กัญญดา ประจุศิลป Jan 2013

บทบาทพยาบาลเบาหวาน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ (Roles Of Diabetes Nurse's As Perceived By Professional Nurses), พรรณวดี เหลืองรัตน์, กัญญดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาบทบาทพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกที่มีการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 341 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และทดสอบความเที่ยงโดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ ค่าความเที่ยง .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว \nผลการวิจัย: \n1. บทบาทพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ ที่ระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าบทบาทพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ในด้านการปฏิบัติ การพยาบาล (x = 4.43, SD = 0.56) ด้านการประสานงานและการติดต่อสื่อสารกับทีมสหสาขาวิชาชีพ (x = 3.57, SD = 0.77) อยู่ในระดับมาก แต่บทบาทพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ด้านการจัดการ และประเมินผลลัพธ์ (x = 3.44, SD = 0.80) ด้านการให้ความรู้และคำปรึกษา (x = 3.20, SD = 0.65) และด้านการวิจัยและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (x = 3.19, SD = 0.85) อยู่ในระดับปานกลาง \n2. พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการอบรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและไม่ได้รับการอบรมการดูแลผู้ป่วย เบาหวาน มีการปฏิบัติบทบาทพยาบาลเบาหวานต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน พยาบาลวิชาชีพที่มี วุฒิการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพ และหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน แตกต่างกัน มีการปฏิบัติบทบาทพยาบาลเบาหวานไม่ต่างกัน \nสรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานรับรู้บทบาทของพยาบาลเบาหวาน อยู่ในระดับมาก ผู้บริหารทางการพยาบาล สามารถนำบทบาทพยาบาลเบาหวาน ไปเป็นแนวทางในการ กําหนดบทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน


การใช้แนวคิดลีนในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล กรณีศึกษา โรงพยาบาลตติยภูมิ (Lean Concept Utilization In Nursing Service Quality Improvement: A Case Study Of A Tertiary Hospital), วัชนาภา ชาติมนตรี, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร Jan 2013

การใช้แนวคิดลีนในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล กรณีศึกษา โรงพยาบาลตติยภูมิ (Lean Concept Utilization In Nursing Service Quality Improvement: A Case Study Of A Tertiary Hospital), วัชนาภา ชาติมนตรี, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อบรรยายการนำแนวคิดลืนไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบศึกษาเฉพาะกรณี (case study approach) \nวิธีดำเนินการวิจัย: โรงพยาบาลที่ศึกษาเป็น 1 ใน 5 โรงพยาบาลนำร่องและได้ทำการเลือกผู้ให้ข้อมูล แบบเฉพาะเจาะจงจํานวน 18 คน เก็บรวบรวมโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกต การศึกษาเอกสาร ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับอนุญาตและการถ่ายภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และทําการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการของ Lincoln and Guba \nผลการวิจัย: การใช้แนวคิดลื่นในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล โรงพยาบาลตติยภูมิ แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ \nระยะที่ 1 การเริ่มต้นดำเนินโครงการ ประกอบด้วย 1.1) ชักชวนจากสถาบันเพิ่มผลผลิต 1.2) มี ประกาศนโยบายประชาสัมพันธ์ทั่วทั้งองค์กร 1.3) เห็นปัญหา เห็นประโยชน์ มีส่วนร่วม และ 1.4) อบรม ให้เห็นจริง \nระยะที่ 2 ระยะดำเนินการเพื่อนำแนวคิดลืนไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ใน ระยะนี้มีการดำเนินงานต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ประกอบด้วย 2.1) จัดตั้งคณะกรรมการลีนเพื่อสอน 2.2) กระตุ้นให้สำเร็จแล้วอยากทำต่อ 2.3) การใช้แนวคิดลื่นในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล 2.4) จัด เยี่ยมและสำรวจภายในเพื่อกระตุ้นการพัฒนา 2.5) จัดเวทีแสดงผลงาน มีการพบปะพูดคุย 2.6) ประเมิน ติดตามผลการพัฒนา และ 2.7) เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง \nระยะที่ 3 ผลการนําแนวคิดลื่นมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ประกอบด้วย 3.1) ทำแล้วคุณภาพเกิดกับผู้ป่วย 3.2) ผู้รับบริการพึงพอใจ ผู้ปฏิบัติมีความสุข 3.3) กระตุ้นความคิดเกิด นวัตกรรมใหม่ 3.4) หาโอกาสในการพัฒนาได้ต่อเนื่อง และ 3.5) ทำได้จริงจากสิ่งใกล้ตัว \nสรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลต่อไป


ผลของโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการต่อความเหนื่อยล้าหลังผ่าตัดของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก (The Effect Of Integrative Management Program On Postoperative Fatigue Of Orthopedic Elderly Patients), พัชราภรณ์ ศรีคะชินทร์, จิราพร เกศพิชญวัฒนา Jan 2013

ผลของโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการต่อความเหนื่อยล้าหลังผ่าตัดของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก (The Effect Of Integrative Management Program On Postoperative Fatigue Of Orthopedic Elderly Patients), พัชราภรณ์ ศรีคะชินทร์, จิราพร เกศพิชญวัฒนา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการต่อความเหนื่อยล้าหลังผ่าตัดของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง \nวิธีดำเนินการวิจัย: โดยใช้แนวคิด Piper's Integrated Fatigue Model ของ Piper (1987) และ แนวทางการลดความเหนื่อยล้าของ Robinson et al. (2003) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการ ผ่าตัดใหญ่ทางศัลยกรรมกระดูก ณ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 40 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน จับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในด้านอายุ เพศ ชนิดของการผ่าตัด ยาระงับความรู้สึก ชนิดของโรคเรื้อรัง และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการซึ่งประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับความเหนื่อยล้าในวันก่อนผ่าตัด การจัดกิจกรรมเพื่อลดการใช้พลังงานและสะสม พลังงาน การจัดการกับความเจ็บปวด และจัดกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดหลังผ่าตัด เครื่องมือที่ ใช้ในการทดลองได้แก่ 1) โปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการ ประกอบด้วย แผนการสอนและคู่มือเรื่อง ความเหนื่อยล้าหลังผ่าตัดกระดูก 2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความเหนื่อยล้า ซึ่งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.91 และ ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที่ \nผลการวิจัย: \n1. การรับรู้ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก ภายหลังได้รับโปรแกรม การจัดการแบบบูรณาการน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกำลัง แรงบีบมือภายหลังได้รับโปรแกรมฯ มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n2. การรับรู้ความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูกกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่กำลังแรงบีบมือไม่แตกต่างกัน \nสรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการจัดการแบบบูรณาการสามารถลดความเหนื่อยล้าของผู้ป่วย สูงอายุผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก อย่างไรก็ตามควรมีการนำโปรแกรมดังกล่าวประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย ศัลยกรรมอื่น ๆ ด้วย


อิทธิพลของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ความแตกฉานด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว (The Influence Of Uncertainty In Illness, Health Literacy, And Social Support On Quality Of Life Of Patients With Heart Failure), วนิดา หาจักร, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ Jan 2013

อิทธิพลของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ความแตกฉานด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว (The Influence Of Uncertainty In Illness, Health Literacy, And Social Support On Quality Of Life Of Patients With Heart Failure), วนิดา หาจักร, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว และทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนใน ความเจ็บป่วย ความแตกฉานด้านสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ภาวะหัวใจล้มเหลว \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงความสัมพันธ์พยากรณ์ \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี ที่มา ติดตามรับการรักษา ณ คลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความ รู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยฉบับชุมชน แบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานสำหรับ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แบบวัดการช่วยเหลือทางสังคมแบบพหุมิติ และแบบสอบถามวิถีชีวิตของ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์ความเที่ยงแล้ว มีค่า ความเที่ยงมากกว่า 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน \nและการวิเคราะห์ถดถอยแบบเข้าพร้อมกัน \nผลการวิจัย: \n1. ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 54.1 \n2. ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีความแตกฉานด้านสุขภาพอยู่ในระดับไม่เพียงพอร้อยละ 47.1\n3. ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยเพียงตัวแปรเดียวที่สามารถทํานายคุณภาพชีวิตของ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (B = 651, p < .001) \n4. ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ความแตกฉานด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้ร้อยละ 46.8 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ AWANG (R2 = .468, p < .001) \nสรุปและข้อเสนอแนะ: \nการศึกษาครั้งนี้พบว่าความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยสามารถทำนายคุณภาพ ชีวิตได้สูง จึงควรนำผลการวิจัยที่ได้มาพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วย และมีการทดสอบประสิทธิผลของ โปรแกรม เพื่อลดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีคุณภาพชีวิต ที่ดีต่อไป