Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Hospital Status

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Nursing

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย (Factors Relating To Organizational Commitment Of Professional Nurses At University Hospitals), สิริษา ทันเจริญ, อารีย์วรรณ อ่วมตานี Jan 2013

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย (Factors Relating To Organizational Commitment Of Professional Nurses At University Hospitals), สิริษา ทันเจริญ, อารีย์วรรณ อ่วมตานี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ และความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพโรงพยาบาล การเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบพรรณนา \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ ด้านการเป็นแบบอย่าง ของการปฏิบัติการเชิงวิชาชีพ ด้านการพัฒนาคุณภาพ นวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ และด้านผลลัพธ์ คุณภาพเชิงประจักษ์ กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และหาค่าความ เที่ยงโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ 91, 94, 97, 96, 90 และ 95 ตามลำดับ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน \nผลการวิจัย: ผลการวิจัยมีดังนี้ \n1) พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ อยู่ในระดับมาก (X= 4.01, SD = 0.61) \n2) สถานภาพโรงพยาบาล ไม่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ \n3) การเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติการเชิงวิชาชีพ การเสริมสร้างพลังอำนาจ ผลลัพธ์ คุณภาพเชิงประจักษ์ การพัฒนาคุณภาพ นวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ และ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ทางบวก กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย (r = .686, 680, .584, 563 และ 556 ตามลำดับ) \nสรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการวิจัย จะเห็นได้ว่า การเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจเป็นปัจจัยที่ทำให้ พยาบาลมีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การมากขึ้น ดังนั้นผู้บริหารการพยาบาลจึงควรธำรงรักษาการเป็น โรงพยาบาลดึงดูดใจของฝ่ายการพยาบาลต่อไป


การใช้แนวคิดลีนในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล กรณีศึกษา โรงพยาบาลตติยภูมิ (Lean Concept Utilization In Nursing Service Quality Improvement: A Case Study Of A Tertiary Hospital), วัชนาภา ชาติมนตรี, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร Jan 2013

การใช้แนวคิดลีนในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล กรณีศึกษา โรงพยาบาลตติยภูมิ (Lean Concept Utilization In Nursing Service Quality Improvement: A Case Study Of A Tertiary Hospital), วัชนาภา ชาติมนตรี, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อบรรยายการนำแนวคิดลืนไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบศึกษาเฉพาะกรณี (case study approach) \nวิธีดำเนินการวิจัย: โรงพยาบาลที่ศึกษาเป็น 1 ใน 5 โรงพยาบาลนำร่องและได้ทำการเลือกผู้ให้ข้อมูล แบบเฉพาะเจาะจงจํานวน 18 คน เก็บรวบรวมโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกต การศึกษาเอกสาร ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับอนุญาตและการถ่ายภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และทําการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการของ Lincoln and Guba \nผลการวิจัย: การใช้แนวคิดลื่นในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล โรงพยาบาลตติยภูมิ แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ \nระยะที่ 1 การเริ่มต้นดำเนินโครงการ ประกอบด้วย 1.1) ชักชวนจากสถาบันเพิ่มผลผลิต 1.2) มี ประกาศนโยบายประชาสัมพันธ์ทั่วทั้งองค์กร 1.3) เห็นปัญหา เห็นประโยชน์ มีส่วนร่วม และ 1.4) อบรม ให้เห็นจริง \nระยะที่ 2 ระยะดำเนินการเพื่อนำแนวคิดลืนไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ใน ระยะนี้มีการดำเนินงานต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ประกอบด้วย 2.1) จัดตั้งคณะกรรมการลีนเพื่อสอน 2.2) กระตุ้นให้สำเร็จแล้วอยากทำต่อ 2.3) การใช้แนวคิดลื่นในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล 2.4) จัด เยี่ยมและสำรวจภายในเพื่อกระตุ้นการพัฒนา 2.5) จัดเวทีแสดงผลงาน มีการพบปะพูดคุย 2.6) ประเมิน ติดตามผลการพัฒนา และ 2.7) เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง \nระยะที่ 3 ผลการนําแนวคิดลื่นมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ประกอบด้วย 3.1) ทำแล้วคุณภาพเกิดกับผู้ป่วย 3.2) ผู้รับบริการพึงพอใจ ผู้ปฏิบัติมีความสุข 3.3) กระตุ้นความคิดเกิด นวัตกรรมใหม่ 3.4) หาโอกาสในการพัฒนาได้ต่อเนื่อง และ 3.5) ทำได้จริงจากสิ่งใกล้ตัว \nสรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลต่อไป