Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Chulalongkorn University

2018

Keyword
Publication
Publication Type

Articles 31 - 60 of 96

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ ของผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยยาต้านมะเร็งชนิดรับประทาน ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ, บุณฑ์ราตรีส์ วานิชรัตนกุล, สุรีพร ธนศิลป์, จรรยา ฉิมหลวง Jan 2018

ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ ของผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยยาต้านมะเร็งชนิดรับประทาน ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ, บุณฑ์ราตรีส์ วานิชรัตนกุล, สุรีพร ธนศิลป์, จรรยา ฉิมหลวง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ของผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยยาต้านมะเร็งชนิดรับประทาน\n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งระยะเริ่มต้นจนถึงระยะลุกลามและรักษาด้วยยาต้านมะเร็งชนิดรับประทาน ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่ง จำนวน 121 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การเจ็บป่วย แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว การรับรู้ความรุนแรงของอาการและของโรคมะเร็ง การรับรู้ประโยชน์ของการรักษา ความเชื่อเกี่ยวกับความจำเป็นต่อการกินยาและความกังวลต่อการกินยา และพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ ซึ่งมีความตรงตามเนื้อหา มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .94, .92, .89, .89, .89, .77 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน\n\nผลการวิจัย : ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ของผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยยาต้านมะเร็งชนิดรับประทานอยู่ในระดับที่ดี (X ̄ = 4.50, SD = 0.36) แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และความเชื่อเกี่ยวกับความจำเป็นต่อการกินยามีความสัมพันธ์ทางบวก และความเชื่อเกี่ยวกับความกังวลต่อการกินยามีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ (r = .40, p < .05, r = .24, p < .05 และ r = -.24, p < .05 ตามลำดับ)


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการกลืนลำบาก ในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, ชนิดา ไวยสุตรา, ศิริพันธุ์ สาสัตย์ Jan 2018

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการกลืนลำบาก ในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, ชนิดา ไวยสุตรา, ศิริพันธุ์ สาสัตย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน จำนวน 88 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบสภาพสมองฉบับภาษาไทย และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความตระหนักรู้ในอาการกลืนลำบาก ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง ความพร้อมก่อนการกลืน และการกลืน ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .84, .94, .92, .73 .91 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยซ์ไบซีเรียล\n\nผลการวิจัย: 1) ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองมีอาการกลืนลำบากร้อยละ 59.1 2) อายุและความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .257; .820 ตามลำดับ) 3) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและความตระหนักรู้ในอาการกลืนลำบากมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.795; -.657 ตามลำดับ) และ 4) การรู้คิดมีความสัมพันธ์กับอาการกลืนลำบากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rpb = .581)\n\nสรุป: พยาบาลสามารถใช้ผลการวิจัยนี้เพื่อเป็นแนวทางการจัดการทางการพยาบาลเพื่อฟื้นฟูการกลืนในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


บทบรรณาธิการ, วีณา จีระแพทย์ Jan 2018

บทบรรณาธิการ, วีณา จีระแพทย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว ต่อภาวะน้ำเกินในผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรัง ที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ธนัยรัตน์ รุ้งพราย, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ Jan 2018

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว ต่อภาวะน้ำเกินในผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรัง ที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ธนัยรัตน์ รุ้งพราย, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : ศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อภาวะน้ำเกินในผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม\n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในคลินิกศูนย์แพทย์พัฒนาและผู้ดูแลจำนวน 40 คู่ โดยจับคู่ผู้สูงอายุด้านเพศ อายุ และรายได้และสุ่มเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อภาวะน้ำเกิน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือทดลองคือ โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวตามแนวคิดของ Ryan and Sawin เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกภาวะน้ำเกิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที\n\nผลการวิจัย : \n1) ค่าเฉลี่ยของภาวะน้ำเกินในผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว ค่าต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\n2) ค่าเฉลี่ยของผลต่างของภาวะน้ำเกินในผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว มีต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป : โปรแกรมฯ มีประสิทธิผลในการลดภาวะน้ำเกินในผู้สูงอายุโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม


ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อพฤติกรรมด้านโภชนาการและระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น, พันธิพา จารนัย, มยุรี นิรัตธราดร, ณัฐพัชร์ บัวบุญ Jan 2018

ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อพฤติกรรมด้านโภชนาการและระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น, พันธิพา จารนัย, มยุรี นิรัตธราดร, ณัฐพัชร์ บัวบุญ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อพฤติกรรมด้านโภชนาการและระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปีในจังหวัดชลบุรี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ ประกอบด้วยการรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ความสามารถของตน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมด้านโภชนาการ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ เครื่องมือวิจัยทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .80 เก็บข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที\n\nผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมด้านโภชนาการและระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมด้านโภชนาการและระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงของกลุ่มทดลองหลังการทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)\n\nสรุป: พยาบาลผู้ดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น สามารถนำโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการไปเป็นแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมด้านโภชนาการและระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง อันจะส่งผลต่อการป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กขณะตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้


ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเอง และการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อความมั่นใจในการหลีกเลี่ยง การมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ, ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, เปรมวดี คฤหเดช, อุดมพร ยิ่งไพบูลย์สุข, บุญศรี กิตติโชติพาณิชย์, ผ่องศรี สวยสม Jan 2018

ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเอง และการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อความมั่นใจในการหลีกเลี่ยง การมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ, ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, เปรมวดี คฤหเดช, อุดมพร ยิ่งไพบูลย์สุข, บุญศรี กิตติโชติพาณิชย์, ผ่องศรี สวยสม

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความมั่นใจในการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองและการสร้างเสริมทักษะชีวิต\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศที่ค้นหามาด้วยแบบสังคมมิติ จำนวน 306 คน เครื่องมือวิจัยคือ โปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองและการสร้างเสริมทักษะชีวิตร่วมกับการให้คำปรึกษาปัญหาทางเพศด้วยเครือข่ายออนไลน์ทางโทรศัพท์ และแบบประเมินความมั่นใจการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรง โดยแบบประเมินมีความเที่ยง Cronbach's alpha coefficient = 0.91 และ 0.93 ตามลำดับ สถิติวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test\n\nผลการวิจัย\n1. ความมั่นใจในการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01\n2. ไม่พบการตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ 10 เดือน\n\nสรุป: โปรแกรมมีประโยชน์ต่อนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศในการป้องกันการเกิดการตั้งครรภ์ได้


ปัจจัยทำนายพลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำของวัยรุ่นที่เสพยาบ้า, สุรธาดา สิงหาวาโน, เพ็ญพักตร์ อุทิศ Jan 2018

ปัจจัยทำนายพลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำของวัยรุ่นที่เสพยาบ้า, สุรธาดา สิงหาวาโน, เพ็ญพักตร์ อุทิศ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยที่ร่วมกันทนายพลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำของวัยรุ่นที่เสพยาบ้า\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ วัยรุ่นอายุ 12-24 ปี ที่เสพยาบ้าและเข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ จำนวน 185 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) การเห็นคุณค่าในตนเอง 3) การเผชิญความเครียด 4) ดัชนีชี้วัดปัญหาความรุนแรงของการใช้ยาบ้า 5) ความเข้มแข็งของครอบครัว และ 6) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน และแบบประเมิน 7) โรคซึมเศร้า (9Q) และ 8) พลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำของวัยรุ่นไทย เครื่องมือชุดที่ 2-8 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค .74, .91, .66, .83, .94, .84 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: พบว่า วัยรุ่นที่เสพยาบ้าส่วนใหญ่มีพลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำอยู่ในระดับมาก (Median=169, SD =22.3) การเผชิญความเครียดโดยใช้ความสามารถของตนเอง ความเข้มแข็งของครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน และภาวะซึมเศร้า สามารถร่วมกันทำนายพลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำของวัยรุ่นที่เสพยาบ้าได้ ร้อยละ 48.40 (R2= .484) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยมีสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ พลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำของวัยรุ่นที่เสพยาบ้า (Zý) = .621 (การเผชิญความเครียดโดยใช้ความสามารถของตนเอง) +.212 (ความเข้มแข็งของครอบครัว) +.217 (การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน) - .131 (ภาวะซึมเศร้า)\n\nสรุป: การส่งเสริมวัยรุ่นที่เสพยาบ้าเกิดพลังต้านการเสพยาบ้าซ้ำ โดยพัฒนาให้เกิดปัจจัยปกป้อง คือ การเผชิญความเครียดโดยใช้ความสามารถของตนเอง ความเข้มแข็งของครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน และลดปัจจัยเสี่ยง คือ ภาวะซึมเศร้า


การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก, นารี ญาณิสสร, จิราวรรณ กล่อมเมฆ, สาวิกา ใจบริสุทธิกุล, สมศรี รัตนปริยานุช, พฤกษาชาติ พิบูลธนาวณิช Jan 2018

การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก, นารี ญาณิสสร, จิราวรรณ กล่อมเมฆ, สาวิกา ใจบริสุทธิกุล, สมศรี รัตนปริยานุช, พฤกษาชาติ พิบูลธนาวณิช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาล 307 คน และอาจารย์ 17 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามการประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พัฒนาตามกรอบแนวคิด CIPP model การประเมินคุณภาพการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสภาการพยาบาล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .97, .98, .98, .98, และ .99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน\n\nผลการวิจัย: หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) ตาม CIPP model โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x ̄ = 4.28, SD = .44) และองค์ประกอบที่มีความเหมาะสมในระดับ มากที่สุด คือ บริบท (x ̄ = 4.38, SD = .50) กระบวนการ (x ̄ = 4.27, SD = .51) และผลผลิต (x ̄ = 4.33, SD = .51) ส่วนปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมในระดับมาก (x ̄ = 4.13, SD = .46)\n\nสรุป: ผลการวิจัยนี้ใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) เพื่อผลิตพยาบาลในระดับวิชาชีพให้มีคุณภาพสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ความต้องการของสังคมและประเทศชาติ


Predicting Factors Of Preschooler's Parental Feeding Behaviors, Urban Thailand, Chollada Jongsomjitt Jan 2018

Predicting Factors Of Preschooler's Parental Feeding Behaviors, Urban Thailand, Chollada Jongsomjitt

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This descriptive correlational study aimed to identify the predicting factors and to examine direct and indirect relationships of preschoolers' parental feeding behaviors (PFB), urban Thailand. The conceptual framework was developed guided by Orem's self-care theory. A Multi-stage sampling was used to recruit 443 parents of preschoolers from 11 schools in Bangkok and city municipalities in all regions of Thailand. Six questionnaires demonstrated acceptable content and construct validity, and reliability were used to ask all participants to complete all questionnaires. Data were collected from November 2018 to May 2019. Most of the participants were mothers (71%). Half of them were aged …


Struggling To Live A New Normal Life Among Chinese Women After Losing The Only Child, Haiyan Wang Jan 2018

Struggling To Live A New Normal Life Among Chinese Women After Losing The Only Child, Haiyan Wang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Losing the only child was a destructive disaster that had destroyed Chinese women's life and health in all dimensions. However, there is no suitable theory or knowledge to guide nursing practice to these women. This study, thus, employed Glaserian grounded theory to discover substantive theory on the living process of Chinese women after losing the only child. Purposive sampling, snowball sampling, and theoretical sampling were used to recruited participants. Thirteen Chinese women who have lost the only child aged 50 to 68 years old recruited. Data were collected through in-depth interview, observation, and field notes. Data were analyzed by the …


ประสบการณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลทารกโรคปอดเรื้อรังที่บ้าน, เรณู ชมพิกุล Jan 2018

ประสบการณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลทารกโรคปอดเรื้อรังที่บ้าน, เรณู ชมพิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อบรรยายประสบการณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลทารกโรคปอดเรื้อรัง (Chronic Lung Disease: CLD) ที่บ้าน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ดูแลในครอบครัวที่ทำหน้าที่หลักในการดูแลทารก CLD หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลไม่เกิน 2 ปี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมกับการบันทึกเทป ข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 14 ราย นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของ Colaizzi ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลทารกโรคปอดเรื้อรังที่บ้าน ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ยากลำบากในการดูแล มียาหลายตัว ต้องให้ตรงเวลา ต้องสังเกตการหายใจอย่างใกล้ชิด หาทางช่วยเหลือเมื่อท้องผูก คิดหาวิธีป้อนนม ลดการแหวะและอาเจียน พยายามทำทุกทางให้ลูก/หลาน น้ำหนักขึ้น ทำอะไรไม่ถูกเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง และมีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแล 2) เหน็ดเหนื่อยเมื่อต้องดูแลลูก/หลานที่ไม่สบาย 3) หลากหลายความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทั้งความรู้สึกที่เป็นทุกข์และความรู้สึกที่เป็นสุข และ 4) กำลังใจและความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ที่มาจากการสร้างกำลังใจให้ตนเอง และการได้รับกำลังใจและความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง การวิจัยให้ข้อมูลเชิงลึกถึงการดูแลทารกแรกเกิด CLD ที่บ้าน ซึ่งมีความซับซ้อนและมีผลกระทบต่ออารมณ์และการเผชิญความเครียดของผู้ดูแล แต่ผู้ดูแลยังคงทำหน้าอย่างต่อเนื่องได้ด้วยกำลังใจที่ตนเองสร้างขึ้นรวมไปถึงกำลังใจและความช่วยเหลือจากคนรอบข้างที่ร่วมในปรากฏการณ์ของการดูแล การนำข้อมูลมาใช้วางแผนจำหน่ายจะช่วยเตรียมความพร้อมในการทำหน้าของผู้ดูแลให้สามารถรับมือกับปัญหาสุขภาพของทารกที่บ้านและลดการกลับเข้าโรงพยาบาลซ้ำ


ผลของการให้ข้อมูลผ่านไลน์ต่อความวิตกกังวลหลังผ่าตัดทำทวารเทียมในผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, ไพรัตน์ ศุกระศร Jan 2018

ผลของการให้ข้อมูลผ่านไลน์ต่อความวิตกกังวลหลังผ่าตัดทำทวารเทียมในผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, ไพรัตน์ ศุกระศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดทำทวารเทียม ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 44 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับข้อมูลผ่านไลน์ โดยผู้วิจัยให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเป็นรายบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือในการคัดกรอง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง และเครื่องมือกำกับการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติทดสอบค่าทีและสถิติทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความวิตกกังวลหลังผ่าตัดทำทวารเทียมในผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หลังให้ข้อมูลผ่านไลน์ ต่ำกว่าก่อนให้ข้อมูล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความวิตกกังวลหลังผ่าตัดทำทวารเทียมในผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ระหว่างกลุ่มทดลองที่ให้ข้อมูลผ่านไลน์และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ พบว่า ความวิตกกังวลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอาการถอนยาในผู้ป่วยเด็กวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต่ออาการต่างๆของการถอนยา, ทิพวรรณ เชษฐา Jan 2018

ผลของการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอาการถอนยาในผู้ป่วยเด็กวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต่ออาการต่างๆของการถอนยา, ทิพวรรณ เชษฐา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ อาการต่างๆของการถอนยาระหว่างผู้ป่วยเด็กวิกฤตที่มีภาวะหายใจล้มเหลวที่ใช้เครื่องช่วยหายใจได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอาการถอนยาโดยใช้ทฤษฎีของนิวแมน กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งสิ้น 34 คน และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 17 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอาการถอนยา ที่ประกอบด้วย การบริหารยานอนหลับและยาแก้ปวด การสนับสนุนแบบแผนการนอนหลับ และการสัมผัสเพื่อความสุขสบาย ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลอาการต่างๆของการถอนยาด้วย Sophia Observation withdrawal Symptoms scale ซึ่งเป็นแบบประเมินต้นฉบับ มีความเที่ยงจากการสังเกตของผู้ช่วยผู้วิจัย ได้เท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติไคสแควร์(Chi-square-Test) สถิติ และ Fisher's Exact test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเด็กวิกฤตที่มีภาวะหายใจล้มเหลวที่ใช้เครื่องช่วยหายใจกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอาการถอนยา มีสัดส่วนมีอาการต่างๆของการถอนยาน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย: เสียงสะท้อนจากพยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง, ทิพวรรณ เทียนศรี Jan 2018

การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย: เสียงสะท้อนจากพยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง, ทิพวรรณ เทียนศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรยายการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของพยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความตามแนวคิดของ Heidegger ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำ Routine to Research (R2R) จำนวน 12 คน และผู้เกี่ยวข้องกับการทำ R2R ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มงานมาตรฐาน และพัฒนาคุณภาพการพยาบาล จำนวน 1 คน หัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 3 คน และที่ปรึกษาการทำวิจัยและที่ปรึกษาด้านสถิติ จำนวน 3 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การบันทึกเทป การสังเกต และการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen (1990) ผลการศึกษาการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย : เสียงสะท้อนจากพยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง พบ 6 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. จากนโยบาย R2R นำมาสู่การปฏิบัติจริง ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) หัวหน้าหอผู้ป่วย ให้รับผิดชอบงาน R2R และ 1.2) พยาบาลสนใจรับอาสาทำ R2R ให้หน่วยงาน 2. เริ่มต้นค้นหาปัญหาในหน่วยงาน ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) ความบกพร่องในการดูแล นำมาแก้ไขให้บริการดีขึ้น 2.2) กิจกรรมบางอย่างทำไม่ทัน จึงคิดนวัตกรรมเข้ามาช่วย และ 2.3) เอกสารบันทึก ไม่ครบถ้วน จึงต้องการรื้อทำระบบใหม่ 3. หาสมาชิกทีมร่วมทำวิจัย ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 3.1) ใช้วิธีมอบหมายให้ร่วมทีม และ 3.2) ได้สมาชิกทีมด้วยความสมัครใจ 4. ดำเนินการพัฒนาการวิจัย ประกอบด้วย 9 ประเด็นย่อย ได้แก่ 4.1) เขียนโครงการงานวิจัย 4.2) ส่งโครงการให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ …


ผลของการให้ความรู้ต่อการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, นิรินธน์ ช่อมะลิ Jan 2018

ผลของการให้ความรู้ต่อการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, นิรินธน์ ช่อมะลิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง สองกลุ่มวัดผลภายหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (2) เปรียบเทียบการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่วัยผู้ใหญ่อายุ 18 - 59 ปี เข้ารับการส่องกล้องที่โรงพยาบาลสุรินทร์จำนวน 44 คน จัดเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 22 คน และจับคู่ด้วยเพศ อายุ และระดับการศึกษา สำหรับกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ในการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมการให้ความรู้ในการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 ระยะ จำนวน 4 ครั้ง ได้แก่ 1) ประเมินความต้องการการเรียนรู้ 2) วางแผนการเรียนรู้ 3) ให้ความรู้ และประเมินผลการสอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องใหญ่ มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่า Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สามารถปฏิบัติตนภายหลังได้รับโปรแกรม มีจำนวน 2 ข้อ ที่ปฏิบัติได้น้อยที่สุดจำนวน 17 คนคิดเป็น ร้อยละ 77.3 และมีจำนวน 13 ข้อที่ปฏิบัติได้ 22 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 2) การปฏิบัติตนก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในบุคคลกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ มีการปฏิบัติตนดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกายต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, ปรีดานันต์ ประสิทธิ์เวช Jan 2018

ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกายต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, ปรีดานันต์ ประสิทธิ์เวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกาย 2) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกายกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 40 คน โดยจับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่องเพศ และระยะเวลาของการเจ็บป่วย จากนั้นทำการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกาย ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกาย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิดการออกกำลังกายของ Schuch et al (2015) และการสนับสนุนทางสังคมของ House (1981) 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ (WHOQOL–BREF–THAI) ฉบับภาษาไทย เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน มีค่าความเที่ยงวิเคราะห์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) เท่ากับ .89 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกาย สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกาย สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด, สกาว ถิ่นนุช Jan 2018

ผลของโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด, สกาว ถิ่นนุช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดครั้งแรกอายุ 1-5 ปี และเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลตติยภูมิ 2 แห่ง จำนวน 44 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุม กลุ่มละ 22 ราย โดยการจับคู่ให้มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ในครอบครัวอยู่ในระดับเดียวกัน และมีจำนวนเท่ากันในทั้ง 2 โรงพยาบาล กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด, สื่อวิดิทัศน์, คู่มือการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดที่บ้าน แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและแบบวัดความรู้เรื่องการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยให้นวัตกรรมการพยาบาลในการวางแผนการจำหน่าย สำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนการจำหน่ายกลับบ้านให้แก่ผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดได้ เพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นที่บ้าน


ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, หยาดพิรุณ กุณโฮง Jan 2018

ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, หยาดพิรุณ กุณโฮง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18-59 ปี ที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ณ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุ ชนิดของโรคและระดับความวิตกกังวล แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 22 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ (State Anxiety Inventory: From X-I) ของ Spielberger (1983) และแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด เครื่องมือทั้งสองชุดผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และ 0.86 ตามลำดับ และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดหลังได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ประสบการณ์ชีวิตของบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดา มารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง, อังคณา ศรีสุข Jan 2018

ประสบการณ์ชีวิตของบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดา มารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง, อังคณา ศรีสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของชีวิตบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดามารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความของ Martin Heidegger (1962) ผู้ให้ข้อมูล คือ บุตรชายที่มีประสบการณ์ในการดูแลบิดามารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง และ/หรือมีภาวะสมองเสื่อมโดยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และบันทึกเทป ข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 ราย นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Van Manen (1990) ผลการวิจัย พบว่า ประสบการณ์ชีวิตของบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดามารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก คือ 1) ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการปรับสมดุลการทำงานให้เข้ากับการดูแล เมื่อรับบทบาทการเป็นผู้ดูแลส่งผลให้มีข้อจำกัดในการเข้าสังคมและมีเวลาส่วนตัวลดลง 2) ปรับตัว ปรับใจยอมรับบทบาทการเป็นผู้ดูแล โดยการมองโลกในแง่บวก ขจัดอารมณ์ความรู้สึกด้านลบ ต้องเข้าใจและยอมรับอาการแสดงของโรคในผู้สูงอายุมากขึ้น 3) การดูแลที่ทำได้ทั้งชายหญิง เมื่อบุตรชายผู้ดูแลสามารถปรับตัวได้ การดูแลง่าย ไม่ยาก และผู้ชายมีความแข็งแรงในการอุ้มพยุงแม้ไม่ถนัดงานละเอียดแต่สามารถดูแลได้ เพราะถ้าใส่ใจดูแลได้ทั้งชายหญิง 4) เรียนรู้วิธีการดูแล เนื่องจากช่วงแรกไม่มั่นใจในการดูแล จึงต้องวางแผนและปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลให้เหมาะสม และการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เพื่อให้ภาระการดูแลลดลง และ 5) ความสุข ความทุกข์จากการเป็นผู้ดูแล ความสุข คือ การมีความสุข ภาคภูมิใจที่ได้ดูแล การได้ตอบแทนบุญคุณบิดามารดา และได้รับคำชื่นชมจากคนรอบข้าง ความทุกข์ คือ เหนื่อยและเครียดจากการดูแล และกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จากผลการวิจัยนี้ นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานให้บุคลากรทางสุขภาพเข้าใจถึงประสบการณ์ของบุตรชายที่ให้การดูแลปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ และสามารถนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนการดูแลให้แก่บุตรชายที่ในอนาคตอาจมีแนวโน้มในการรับบทบาทเป็นผู้ดูแลบิดามารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้น


ประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์, ศโรชา บุญยัง Jan 2018

ประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์, ศโรชา บุญยัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพ ตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์ ทั้งชายและหญิง อายุระหว่าง 20-59 ปี ที่เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพแบบผู้ป่วยใน มากกว่า 1 ครั้ง ไม่มีโรคทางจิตเวชอื่นร่วมด้วย และไม่มีภาวะถอนพิษแอลกอฮอล์ รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบมีแนวทางการสัมภาษณ์ร่วมกับการบันทึกเสียง นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของ Colaizzi จนข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 ราย ผลการวิจัยพบว่า ความหมายของการตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์ คือ ความคิด ความรู้สึกที่มีต่อตนเองว่าเป็นคนไม่ดีเพราะติดแอลกอฮอล์ การตีตราตนเองเริ่มจากการที่ตนเองต้องเผชิญกับปฏิกิริยาต่างๆ จากครอบครัวและสังคม แล้วนำปฏิกิริยาที่ตนเองได้รับรู้ให้เข้ามามีผลต่อความคิด ความรู้สึกภายในของตนเอง และสุดท้ายยอมรับว่าตนเองไม่ดีจริงตามที่คนอื่นว่า สำหรับประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การรับรู้มุมมองจากครอบครัวและสังคม 2) การยอมรับตนเองตามที่สังคมมอง และ 3) ผลกระทบจากการยอมรับ (การตีตราตนเอง) ผลการวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับพยาบาลและทีมสุขภาพในการพัฒนากระบวนการบำบัดรักษา และวางแผนการดูแลได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ติดแอลกอฮอล์ที่มีการตีตราตนเอง อันจะนำไปสู่การป้องกันการกลับดื่มซ้ำต่อไป


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลทั่วไป, เกื้อกูล โอฬารวัฒน์ Jan 2018

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลทั่วไป, เกื้อกูล โอฬารวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้การเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคม สมรรถนะแห่งตน ความแปรปรวนการนอนหลับ และประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกที่แผนกหัวใจและหลอดเลือด ณ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ เขตภาคกลาง ได้แก่ โรงพยาบาลอานันทมหิดล และโรงพยาบาลสระบุรี จำนวน 120 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีทั้งหมด 7 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ 3) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 4) แบบสอบถามการรับรู้การเจ็บป่วย 5) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม 6) แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตน และ7) แบบสอบถามความแปรปรวนการนอนหลับ ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.96, 1.0. 1.0, 1.0, 1.0 และ 1.0 ตามลำดับ และจากการตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบประเมินได้เท่ากับ 0.89, 0.71, 0.91, 0.81 และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเท่ากับ 80.02 (SD = 25.43) 2. สถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (χ2 = 246.147, p < .05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพศ รายได้ โรคประจำตัว/ โรคร่วม และระดับความรุนแรงของโรคไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การรับรู้การเจ็บป่วย ความแปรปรวนการนอนหลับ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .69, p < .05 และ r = .63, p < .05 ตามลำดับ) 4. การสนับสนุนทางสังคม สมรรถนะแห่งตน มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.18, p < .05 และ r = -.29, p < .05) 5. ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร, เชิดฉวี สุทธิรักษ์ Jan 2018

การศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร, เชิดฉวี สุทธิรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน ประกอบด้วย 4 กลุ่ม ประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร พยาบาลหัวหน้าศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการในศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร และอาจารย์พยาบาลผู้สอนหลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เกี่ยวกับบทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ขั้นที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของข้อคำถามแต่ละข้อ ขั้นที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณด้วยค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคำตอบอีกครั้ง จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ประกอบด้วย 4 บทบาท ดังนี้ 1) บทบาทด้านผู้ปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 14บทบาทย่อย 2) บทบาทด้านผู้ควบคุมดูแลเครื่องมือ และอุปกรณ์พิเศษ จำนวน 4 บทบาทย่อย 3) บทบาทด้านผู้ให้ความรู้ และให้คำปรึกษา จำนวน 7 บทบาทย่อย และ4)บทบาทด้านผู้พัฒนา และควบคุมคุณภาพบริการ จำนวน 5 บทบาทย่อย


ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, โชติกา สาระปัญญา Jan 2018

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, โชติกา สาระปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะ แห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งได้รับการตรวจรักษาที่ห้องตรวจศัลยกรรมกระดูก แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน จับคู่กลุ่มตัวอย่างตามอายุ เพศ และระยะเวลาการเจ็บป่วย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า ซึ่งประยุกต์ทฤษฎีส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือทดลอง คือโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกาย และแบบบันทึกการปฏิบัติฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินคุณภาพชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ประสบการณ์การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยอาหรับ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, ไอริณ กรองไชย Jan 2018

ประสบการณ์การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยอาหรับ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, ไอริณ กรองไชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยอาหรับ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฎการณ์วิทยาการตีความตาม ผู้ให้ข้อมูลคือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยอาหรับตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จำนวน 12 รายที่ยินดีเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 7 ประเด็นหลักดังนี้ 1.เหตุผลการเลือกทำงานที่หอผู้ป่วยอาหรับ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) รุ่นพี่แนะนำทำให้เกิดสนใจ 1.2) เป็นความท้าทายที่จะได้พัฒนาภาษา และ 1.3) สนใจดูแลผู้ป่วยอาหรับ เพราะเป็นมุสลิมเหมือนกัน 2. เริ่มทำงานใหม่ๆ ยังต้องปรับตัวปรับใจ ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) ตื่นเต้นตกใจยังไม่เคยดูแลผู้ป่วยอาหรับมาก่อน และ 2.2) กังวลกับการใช้ภาษาในการสื่อสารกับผู้ป่วย 3. พัฒนาตนเองให้มีความพร้อมในการสื่อสารภาษาอาหรับ ประกอบด้วย 2 ประเด็น ได้แก่ 3.1) เข้าอบรมภาษาอาหรับเบื้องต้นที่โรงพยาบาลจัดให้ และ 3.2) เรียนรู้ ฝึกฝนการใช้ภาษาด้วยตนเอง 4. ศึกษาวัฒนธรรมทำให้เข้าถึงผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 4.1) ชาวอาหรับอารมณ์ร้อน พูดเสียงดัง 4.2) ผู้ชายมีอำนาจตัดสินใจยินยอมการรักษา 4.3) มีน้ำใจแบ่งปันอาหารให้พยาบาล 4.4) คาดหวังผลการรักษา แต่ไม่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตาม และ 4.5) นำความเชื่อด้านสุขภาพของตนมาใช้ร่วมกับการรักษาของโรงพยาบาล 5. ลักษณะเฉพาะในการดูแลผู้ป่วยอาหรับ ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 5.1) ตรวจสอบหลักฐานสิทธิในการรักษาเพื่อเบิกจ่ายกับสถานทูต 5.2) งดกิจกรรมหลายอย่าง หากผู้ป่วยถือศีลอด 5.3) อธิบายแผนการรักษาต้องเน้นย้ำ พูดซ้ำๆ หลายครั้ง 5.4) เตรียมความพร้อมผู้ป่วยหญิงก่อนแพทย์เข้าเยี่ยม และ 5.5) การพยาบาลต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับชีวิตประจำวันของผู้ป่วย 6. ความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ หากไม่ป้องกันหรือจัดการแก้ไข ประกอบด้วย 3 …


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย, กาญจนา กลิ่นคล้ายกัน Jan 2018

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย, กาญจนา กลิ่นคล้ายกัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อายุ ความปวด การรับรู้ความเจ็บป่วย ความวิตกกังวล และแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อยอายุ 18–59 ปีที่เกิดกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบ กระเทือน ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มาติดตามการรักษา ณ หน่วยตรวจโรคประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 143 ราย ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประวัติการบาดเจ็บสมอง แบบประเมินกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน แบบวัดความปวดชนิดที่เป็นตัวเลข แบบวัดการรับรู้ความเจ็บป่วย แบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ และแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงของแบบประเมินกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน แบบวัดการรับรู้ความเจ็บป่วย แบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ และแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม เท่ากับ .85, .92, .92 และ .91 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที สถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ สเปียร์แมน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1. กลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองพบมากที่สุด คือ 9-12 อาการ ร้อยละ 36.4 2. เพศมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rpb=.45) เพศชายและเพศหญิงมีกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. อายุ ความปวด การรับรู้ความเจ็บป่วย ความวิตกกังวล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.39, r=.39,r=.76, r=.73 ตามลำดับ) 4. ระดับการศึกษา แรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs=-.21, r=-.29 ตามลำดับ)


ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ ต่อการเลิกบุหรี่ในข้าราชการทหารอากาศ, จตุพร เฉลิมเรืองรอง Jan 2018

ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ ต่อการเลิกบุหรี่ในข้าราชการทหารอากาศ, จตุพร เฉลิมเรืองรอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการเลิกบุหรี่ในข้าราชการทหารอากาศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อเลิกบุหรี่และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ณ กองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ จำนวนทั้งสิ้น 60 คน โดยให้ 30 คนแรกเป็นกลุ่มควบคุม และ 30 คนหลังเป็นกลุ่มทดลอง เก็บข้อมูลในกลุ่มควบคุมจนครบแล้วจึงเก็บข้อมูลกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการแนะนำการเลิกบุหรี่แบบกระชับ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลการสูบบุหรี่ จากแบบสัมภาษณ์การเลิกบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติ Z ประเมินการเลิกบุหรี่จากการเลิกสูบบุหรี่ได้ติดต่อกันในช่วง 7 วัน โดยใช้แบบสัมภาษณ์การเลิกบุหรี่ ร่วมกับประเมินระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก ผลการทดลองพบว่า ข้าราชการทหารอากาศในกลุ่มทดลองเลิกบุหรี่ได้ 6 คน ส่วนกลุ่มควบคุมเลิกสูบได้เพียง 1 คน การประเมินผลลัพธ์การเลิกบุหรี่ของข้าราชการทหารอากาศในสัปดาห์ที่ 9 พบว่าการเลิกบุหรี่ในกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อเลิกบุหรี่สูงกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 20.0 และ ร้อยละ 3.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p<.05)


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรังของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, จิตรลดา สมประเสริฐ Jan 2018

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรังของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, จิตรลดา สมประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรังและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรังของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ อายุ ความวิตกกังวล อาการเหนื่อยล้า ตำแหน่งของโรคหลอดเลือดสมอง ความปวด ความเชื่อและทัศนคติที่ผิดเกี่ยวกับการนอน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีระยะเวลาการเจ็บป่วยและนอนไม่หลับตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ที่เข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมประสาทและศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลตำรวจและสถาบันประสาทวิทยา จำนวน 132 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและการเจ็บป่วย แบบประเมินความวิตกกังวล แบบประเมินความปวด แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินความเชื่อและทัศนคติที่ผิดเกี่ยวกับการนอนหลับ แบบสอบถามอาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนและตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .88, 1.00, 0.82, 0.97, 0.86 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอีต้าและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรังของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.95 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.00 2. ความวิตกกังวล อาการเหนื่อยล้า ความปวด ความเชื่อและทัศนคติที่ผิดเกี่ยวกับการนอนหลับมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรังของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.467, .636, .503, .026) ตามลำดับ 3. อายุและตำแหน่งของโรคหลอดเลือดสมองไม่มีความสัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรังของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง


ผลของโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน, จินต์ทิพา ศิริกุลวิวัฒน์ Jan 2018

ผลของโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน, จินต์ทิพา ศิริกุลวิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน โดยใช้แนวคิดการสอนแนะของ Haas (1992) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุ 18 – 59 ปี มีระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้า 100-125 มก./ดล. มารับบริการที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรมทั่วไป โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย รวม 60 ราย จับคู่เรื่องเพศ อายุและการใช้ยาเมทฟอมิน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินและการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน 2) การวางแผนการปฏิบัติร่วมกัน 3) การปฏิบัติกิจกรรมตามแผน 4) การประเมินผลการปฏิบัติร่วมกัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด และแบบประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน ซึ่งมีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.9 และมีค่าความสัมประสิทธ์แอลฟาเท่ากับ 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และทดสอบด้วยสถิติที ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดในผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวานภายหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Mean = 5.79±SD = 0.20) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง (Mean = 5.92± SD = 0.23) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 2. ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดในผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวานที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Mean = 5.79±SD = 0.20) ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (Mean = 6.02±SD = 0.30) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05


ผลของโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดาต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น, จิรพรรณ สาบุญมา Jan 2018

ผลของโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดาต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น, จิรพรรณ สาบุญมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นก่อนและหลังได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดา 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นระหว่างกลุ่มที่ได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดากับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือเด็กสมาธิสั้น และบิดาหรือมารดาเด็กสมาธิสั้น ที่มารับบริการที่งานพยาบาลผู้ป่วยนอก สถาบันราชานุกุล ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์โดยได้รับการจับคู่ และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน กลุ่มทดลอง ได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดา เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กสมาธิสั้นและบิดาหรือมารดา 2) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น 3) โปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดา เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิตินอนพาราเมตริก ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้น หลังได้รับโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดา น้อยกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กสมาธิสั้นของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้โดยประสบการณ์แบบกลุ่มของบิดามารดา น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ, ชวนพิศ จุลศรี Jan 2018

ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ, ชวนพิศ จุลศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ และศึกษาปัจจัยทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ จากปัจจัยด้าน อายุ ความเชื่อเกี่ยวกับความจำเป็นของยา ความกังวลเกี่ยวกับยา การรับรู้ความรุนแรงของโรค ความรู้ ภาวะซึมเศร้า และสัมพันธภาพกับแพทย์หรือพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ อย่างน้อย 3 เดือน อายุ 18-59 ปี มีระดับความรู้สึกตัวปกติ สามารถจัดยารับประทานได้ด้วยตนเอง และไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคทางจิตเวช ที่มารับบริการที่คลินิกโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันประสาทวิทยา รวม 130 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 9 ส่วน ได้แก่ 1) แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย (TMSE) 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบบันทึกข้อมูลทางด้านสุขภาพ 4) แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับยา 5) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง 6) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง 7) แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์หรือพยาบาล 8) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และ9) แบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.80, 1.00, 1.00, 1.00, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ ส่วนที่ 4, 6, 7, 8 และ 9 มีค่าความสอดคล้องภายในจากการคำนวนค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .78, .87, .78, .83 และ .74 ตามลำดับ ส่วนที่ 5 มีค่า KR-20 เท่ากับ .74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบร้อยละ 35.38 มีความร่วมมือในการรับประทานยา 2) ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการรับประทานยา ประกอบด้วย 4 ตัวแปร ได้แก่ …