Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Chulalongkorn University

2018

ความเข้มแข็งทางใจ/ครอบครัวมีส่วนร่วม;ภาวะซึมเศร้า;ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วมต่อภาวะซึมเศร้า ในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า, อุษณีย์ บุญบรรจบ, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์ May 2018

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วมต่อภาวะซึมเศร้า ในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า, อุษณีย์ บุญบรรจบ, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วม และเพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วมกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n\nแบบแผนงานวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีการดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าและผู้ดูแลหลักที่มารับบริการในแผนกจิตเวช ห้องตรวจผู้ป่วยนอกกองอายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ จำนวน 40 ครอบครัว จับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันด้วยอายุและคะแนนภาวะซึมเศร้า สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ครอบครัว เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วม 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค เครื่องมือทุกชุดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ของเครื่องมือแบบประเมินภาวะซึมเศร้าเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที\n\nผลการวิจัย :\n1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า หลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วมลดลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t=7.9)\n\n2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วมลดลงกว่าผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t=-2.73)\n\nสรุป : โปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วม ทำให้ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้ามีความเข้มแข็งทางใจสูงขึ้นและช่วยให้ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าลดลง