Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Chulalongkorn University

2018

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม;ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนและการป้องกัน;การรับรู้ความสามารถของตนเอง;พฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนในนักศึกษาพยาบาล, ปิยะภัทร พึ่งพงษ์, จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย, นพวรรณ เปียซื่อ May 2018

ผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนในนักศึกษาพยาบาล, ปิยะภัทร พึ่งพงษ์, จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย, นพวรรณ เปียซื่อ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมเรื่อง การป้องกันโรคกระดูกพรุน ต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน \n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง \n\nวิธีการดำเนินการวิจัย : คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 49 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 25 รายโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม และกลุ่มเปรียบเทียบ 24 รายโดยใช้แผ่นพับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 6 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้เรื่องโรคกระดูกพรุนและการป้องกัน แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมและต่อแผ่นพับ และแบบบันทึกรายการอาหารย้อนหลัง 3 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ปัจจัย แบบวัดซ้ำ 1 ปัจจัย การทดสอบทีคู่และทีอิสระ \n\nผลการวิจัย : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม มีคุณภาพอยู่ในระดับดีถึงดีมากทุกด้าน ความ พึงพอใจของกลุ่มทดลองต่อคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมาก ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ (หลังทดลองทันทีและหลัง 8 สัปดาห์)การรับรู้ความสามารถของตนเองมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนก่อนและหลังทดลองไม่แตกต่างกัน (p >.05) ในทั้งสองกลุ่ม ค่าเฉลี่ยความรู้ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ส่วนค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันทั้งก่อนและหลังการทดลอง (p > .05) \n\nสรุป : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม เรื่อง การป้องกันโรคกระดูกพรุน เป็นสื่อที่มีประโยชน์ในการเพิ่มความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการให้ความรู้ครั้งต่อไปควรตระหนักถึงความสำคัญของพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนในกลุ่มวัยรุ่นตอนปลายและครอบครัว