Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Chulalongkorn University

2018

การกลืน;อาการกลืนลำบาก;ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการกลืนลำบาก ในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, ชนิดา ไวยสุตรา, ศิริพันธุ์ สาสัตย์ Jan 2018

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการกลืนลำบาก ในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, ชนิดา ไวยสุตรา, ศิริพันธุ์ สาสัตย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน จำนวน 88 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบสภาพสมองฉบับภาษาไทย และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความตระหนักรู้ในอาการกลืนลำบาก ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง ความพร้อมก่อนการกลืน และการกลืน ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .84, .94, .92, .73 .91 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยซ์ไบซีเรียล\n\nผลการวิจัย: 1) ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองมีอาการกลืนลำบากร้อยละ 59.1 2) อายุและความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .257; .820 ตามลำดับ) 3) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและความตระหนักรู้ในอาการกลืนลำบากมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.795; -.657 ตามลำดับ) และ 4) การรู้คิดมีความสัมพันธ์กับอาการกลืนลำบากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rpb = .581)\n\nสรุป: พยาบาลสามารถใช้ผลการวิจัยนี้เพื่อเป็นแนวทางการจัดการทางการพยาบาลเพื่อฟื้นฟูการกลืนในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ