Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2014

Keyword

Articles 31 - 60 of 81

Full-Text Articles in Education

การประเมินผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสำนักงาน กศน. ตามแนวพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล, ศิริเดช สุชีวะ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล, ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย, ลิขสิทธิ์ พุฒเขียว Jul 2014

การประเมินผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสำนักงาน กศน. ตามแนวพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล, ศิริเดช สุชีวะ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล, ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย, ลิขสิทธิ์ พุฒเขียว

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพี่อประเมีนผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ในข่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๕ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงาน กศน.โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์ แบบประเมีนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงาน และแบบประเมีนความสอดคล้องของโครงสร้าง องค์การและอำนาจหน้าที่ และการจัดสนทนากลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินงานการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสำนักงาน กศน. ยังไม่สามารถทำให้คนทุกคนในประเทศสามารถเข้าถึงการศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้ทุกคนทุกกลุ่ม มีปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ มีภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานยังไม่มาก อันเนื่องจากปัจจัยด้านกระบวนการบริหารนโยบายกับด้านการบริหารงบประมาณและความพร้อมของ งบประมาณ และพบว่าผู้เรียนได้เรียนรู้สาระที่สอดคล้องกับความสนใจและความจำเป็นในการยกระดับ คุณภาพชีวิต ได้รับความรู้และทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของ สำนักงาน กศน.


ประเด็นท้าทายในการจัดการประถมศึกษา: จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา, ยศวีร์ สายฟ้า Jul 2014

ประเด็นท้าทายในการจัดการประถมศึกษา: จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา, ยศวีร์ สายฟ้า

Journal of Education Studies

การประถมศึกษาเป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะทาง วิชาการ มีคุณธรรมจริยธรรม และเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ การประถมศึกษามีความสำคัญต่อการ พัฒนาประเทศชาติเพราะเป็นการศึกษาที่สร้างทุนมนุษย์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ในการจัดการประถมศึกษามี ประเด็นท้าทายที่ต้องคำนึงถึง ประกอบด้วย (๑) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (๒) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและสังคม (๓) การเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม และ (๔) การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุก นอกจากประเด็นท้าทายทั้งสี่ประการนี้ ยังมีประเด็นท้าทายด้านอื่นๆ อีกมากมายที่นักการศึกษาทางการประถมศึกษาจำเป็นต้องพิจารณาเมื่อจัดการประถมศึกษา เพราะหัวใจ สำคัญของการจัดการประถมศึกษาให้ดีมีคุณภาพคือการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนา ประเทศ รวมถึงประเด็น ปัญหา และความคาดหวังของสังคมที่มีต่อเด็กและเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญ ในการพัฒนาประเทศต่อไป


บทบรรณาธิการ, สุพร ชัยเดชสุริยะ Jul 2014

บทบรรณาธิการ, สุพร ชัยเดชสุริยะ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษาในวิชาการพยาบาลจิตเวช ๒ ต่อความสามารถในการคิดอย่างวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ ๓ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์, พรทรัพย์ สมิติษเฐียร, ผ่องศรี อิ่มสอน Jul 2014

ผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษาในวิชาการพยาบาลจิตเวช ๒ ต่อความสามารถในการคิดอย่างวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ ๓ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์, พรทรัพย์ สมิติษเฐียร, ผ่องศรี อิ่มสอน

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การประยุกต์ใช้การวิจัยกรณีศึกษากับการสอนและการคิดสะท้อนเพื่อการพัฒนาทักษะของนิสิตนักศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาอุดมศึกษา, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์ Jul 2014

การประยุกต์ใช้การวิจัยกรณีศึกษากับการสอนและการคิดสะท้อนเพื่อการพัฒนาทักษะของนิสิตนักศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาอุดมศึกษา, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และ แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนานิสิตนักศึกษา ๒) ประยุกต์ใช้การวิจัยกรณีศึกษา ประกอบกับการบันทึกอนุทินและการคิดสะท้อน ในกิจกรรมปฏิบัติการจริง เพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาอุดมศึกษา กรณีศึกษาคือ ๑) นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิตชั้นปีที่ ๑ จำนวน ๔ คน ๒) นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิตที่เคยศึกษารายวิชานี้ ชั้นปีที่ ๒ ? ๕ ชั้นปีละ ๑ คน รวมทั้งสิ้น ๔ คน ๓) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตจากสาขาวิชาอุดมศึกษา ที่เคยศึกษารายวิชานี้ จำนวน ๔ คน ได้แก่ สำเร็จการศึกษาภายใน ๓ ปี จำนวน ๒ คน สำเร็จการศึกษามากกว่า ๓ ปี จำนวน ๒ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชา การพัฒนานิสิตนักศึกษา ได้แก่ (๑) การพัฒนานิสิตนักศึกษา เป็นพันธกิจหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นภารกิจร่วมกันของบุคลากรทั้งมหาวิทยาลัย ทั้งระดับอาจารย์ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องสอนนิสิต ในหลักสูตร และบุคลากรที่จะต้องปฏิบัติงานในกิจกรรมนอกหลักสูตร (๒) การจัดการเรียนการสอน ควรเน้นการวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวางแผนกิจกรรม ในการพัฒนานิสิตนักศึกษา ประกอบกับทฤษฎีการพัฒนานิสิตนักศึกษา ๒) การประยุกต์ใช้การวิจัยกรณีศึกษาประกอบกับการบันทึก อนุทินและการคิดสะท้อนในกิจกรรมปฏิบัติการจริง เพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาอุดมศึกษา ได้แก่ (๑) คณาจารย์ ควรมีส่วนร่วมในการพัฒนานิสิตนักศึกษา ทั้งในฐานะอาจารย์ ที่ปรึกษาทางวิชาการและอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนิสิต (๒) การวัดและประเมินผล ควรแสดงวิธีการวัด ประเมินผลที่ชัดเจน การประเมินตามสภาพจริง (๓) นิสิตควรได้รับการพัฒนาด้านสติปัญญา สังคม และอารมณ์ ความมั่นใจ ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสัมพันธ์กับผู้อื่น บุคลิกภาพ ค่านิยมและความเชื่อ


การพัฒนาแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมจากครูพี่เลี้ยงสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, สรัญญา จันทร์ชูสกุล, อวยพร เรืองตระกูล, กมลวรรณ ตังธนกานนท์ Apr 2014

การพัฒนาแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมจากครูพี่เลี้ยงสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, สรัญญา จันทร์ชูสกุล, อวยพร เรืองตระกูล, กมลวรรณ ตังธนกานนท์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินการสนับสนุน ทางสังคมจากครูพี่เลี้ยง สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาครู ชั้นปีที่ ๕ ที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูครั้งแรกในภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๔ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ทั้งสิ้น ๒,๐๗๐ คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินมาตรประมาณค่า ๕ ระดับ มี ๔ มิติ จำนวน ๒๐ ข้อ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา อำนาจจำแนก ความเที่ยง ความตรงเชิงโครงสร้าง และ ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดการสนับสนุนทางสังคมระหว่างเพศ สาขาวิชา และสถาบันด้วย โปรแกรม SPSS และ Mplus 7 ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ ๑) แบบประเมินที่พัฒนาขึ้นเป็นมาตรประมาณค่า ๕ ระดับ จำนวน ๒๐ ข้อ ๒) ผลการตรวจสอบคุณภาพ พบว่า (๑) ความตรงเชิงเนื้อหามีค่า IOC เท่ากับ ๑.๐๐ ทุกข้อ (๒) การตรวจสอบอำนาจจำแนกรายข้อโดยใช้การทดสอบที (t-test) สามารถจำแนกกลุ่มสูงและ กลุ่มตำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ทุกข้อ (๓) แบบประเมินมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๖๖ และมีค่าความเที่ยงขององค์ประกอบย่อยอยู่ระหว่าง ๐.๘๕๕-๐.๙๔๐ (๔) แบบประเมินมีความ ตรงเชิงโครงสร้าง (๕) โมเดลการวัดการสนับสนุนทางสังคมมีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบ องค์ประกอบของนักศึกษาที่มีเพศ สาขาวิชา และสถาบันที่แตกต่างกัน


การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ “ความรัก” หรือโมเดลเลิฟ (Love Model) เพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์สำหรับการสอนสุขศึกษา: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวิชาเพศศึกษาและวิชาสวัสดิศึกษา, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ Apr 2014

การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ “ความรัก” หรือโมเดลเลิฟ (Love Model) เพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์สำหรับการสอนสุขศึกษา: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวิชาเพศศึกษาและวิชาสวัสดิศึกษา, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้วิชาเพศศึกษาและ สวัสดิศึกษาโดยใช้รูปแบบ ?ความรัก? หรือโมเดลเลิฟ (LOVE MODEL: Learning, Openness, Value, Excellence) เพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตลอดจนเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการ จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ ?ความรัก? กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ๒๗๒๓๒๕๖ เพศศึกษา ภาคปลาย ปีการศึกษา ๒๕๕๔ จำนวน ๘๐ คน และ รายวิชา ๒๗๒๓๒๕๐ สวัสดิศึกษา ภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๕ จำนวน ๖๐ คน รวมทั้งสิ้น ๑๔๐ คน ใช้วิธี การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการ เรียนรู้โดยใช้รูปแบบ ?ความรัก? แบบประเมินความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (ความดี ความจริง ความรู้) และ แบบประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ ?ความรัก? ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) One Way MANOVA และ One Way MANCOVA ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ ๑) ผลการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาและสวัสดิศึกษาโดยใช้รูปแบบ ?ความรัก? เพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พบว่า หลังเรียน กลุ่มทดลองมีพัฒนาการดีขึ้นและดีกว่ากลุ่มควบคุม ในด้านความดี ความจริง และความรู้ (ความรู้ในเนื้อหา ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา และสวัสดิศึกษา) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๒) การเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบ ?ความรัก? ในการจัดการเรียนรู้ระหว่างวิชาเพศศึกษาและสวัสดิศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนด้านความดีในการปฏิบัติ ตนเพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ความจริงของชีวิต และความรู้ หลังเรียนของทั้งสองรายวิชา ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .๐๕ และ ๓) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพศศึกษา …


มุมห้องเรียน, วิรุจ กิจนันทวิวัฒน์ Apr 2014

มุมห้องเรียน, วิรุจ กิจนันทวิวัฒน์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพลังกลุ่มสตรีในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, ธิดารัตน์ วันโพนทอง, อมรวิชช์ นาครทรรพ Apr 2014

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพลังกลุ่มสตรีในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, ธิดารัตน์ วันโพนทอง, อมรวิชช์ นาครทรรพ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสตรีในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติ ๒) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเงื่อนไขกระบวนการเรียนรู้ และ ๓) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างพลังกลุ่มสตรีในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มีวิธีการดำเนินการวิจัย ๒ วิธี คือ การวิจัย เชิงคุณภาพ คือ ๑) กลุ่มสตรี บ้านทุ่งยาว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และ ๒) กลุ่ม สตรี สมาคมคนทาม เขื่อนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วม มาปรับใช้กับพื้นที่ที่ ๓ คือ กลุ่มสตรีบ้านม่วงชุม ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์กลุ่มและจัดอภิปรายกลุ่มย่อย และสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและ ไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ๑) กระบวนการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มสตรี บ้านทุ่งยาวและกลุ่มสตรีสมาคมคนทาม มีขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ที่เหมือนกัน ดังนี้ (๑) การร่วมกำหนด เป้าหมาย (๒) การร่วมกำหนดแนวทางเลือกเพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย (๓) มีการวางแผนร่วมกัน (๔) มีการ ปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม (๕) มีการสรุปบทเรียน และ (๖) มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ๒) ปัจจัยที่เหมือนกัน ของ ๒ กรณีศึกษา มีปัจจัยภายใน ได้แก่ (๑) ครอบครัว (๒) ผู้รู้ในชุมชน และ(๓) คนในชุมชน/สมาคม ปัจจัยภายนอก ได้แก่ (๑) องค์กรพัฒนาเอกชนและ (๒) องค์กรเครือข่าย และทั้ง ๒ กรณีศึกษามีเงื่อนไข ที่เหมือนกัน คือ แนวทางการพัฒนาของรัฐ ๓) กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพลังกลุ่มสตรีในการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ เป็นกระบวนการเรียนรู้จากฐานประสบการณ์และฐานของปัญหา มีขั้นตอน กระบวนการเรียนรู้ ดังนี้ (๑) เรียนรู้ปัญหา (๒) …


การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบล: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิจัยปฏิบัติการ, ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, วิรุฬห์ นิลโมจน์ Apr 2014

การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบล: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิจัยปฏิบัติการ, ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, วิรุฬห์ นิลโมจน์

Journal of Education Studies

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาตัวบ่งชี้และองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ จัดการศึกษานอกระบบและการศึ ษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบล ๒) ตรวจสอบความกลมกลืนของตัว บ่งชี้และองค์ประกอบเชิงทฤษฎีการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ๓) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของ ชุมชนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบลและ ๔) จัดทำข้อเสนอเชิง นโยบายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบล ผลการวิจัย พบว่า ๑) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของ กศน.ตำบลประกอบไปด้วยองค์ประกอบ ๕ ด้าน ๑๕ ตัวบ่งชี้ ๒) ผลการตรวจสอบความกลมกลืนของตัว บ่งชี้และองค์ประกอบเชิงทฤษฎีการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (?2/df = 1.97, RMSEA = 0.06, SRMR = 0.04, NFI = 0.93, GFI = 0.93, PGFI = 0.57) ๓) รูปแบบการมีส่วนร่วม ของชุมชนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบลคือการที่ผู้มีส่วนร่วม ในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบลตาม องค์ประกอบ ๕ ด้าน ๔) ข้อเสนอเชิงนโยบายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน. ตำบลมีความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย ( X ) ระหว่าง ๓.๙๒ ถึง ๔.๐๘) และความเป็นไปได้(ค่าเฉลี่ย ( X ) ระหว่าง ๔.๐๐ ถึง ๔.๓๑) ในการนำไปสู่การปฏิบัติ


การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการเห็นคุณค่าในตนเองเพื่อเสริมสร้างจิตบริการสำหรับพนักงานสายการบิน, รมย์ฤดี เวสน์, อาชัญญา รัตนอุบล Apr 2014

การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการเห็นคุณค่าในตนเองเพื่อเสริมสร้างจิตบริการสำหรับพนักงานสายการบิน, รมย์ฤดี เวสน์, อาชัญญา รัตนอุบล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) วิเคราะห์ความต้องการเรียนรู้ด้านจิตบริการของพนักงาน สายการบิน ๒) พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการ เห็นคุณค่าในตนเอง เพื่อเสริมสร้างจิตบริการสำหรับพนักงานสายการบิน ๓) ศึกษาเปรียบเทียบผลการ มีจิตบริการ ระหว่างกลุ่มพนักงานสายการบินซึ่งนำรูปแบบการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นไปใช้ กับกลุ่มที่ได้รับ การอบรมตามที่สายการบินจัดอบรมให้แก่พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการ ๔) วิเคราะห์ปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรคในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมที่ได้พัฒนาขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยเป็นพนักงานสายการบินผู้มีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารจาก ๔ กลุ่มงานได้แก่ พนักงาน สำรองที่นั่ง พนักงานบัตรโดยสาร พนักงานต้อนรับภาคพื้นและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เครื่องมือ ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเรื่องความรู้งานสายการบินและการบริการ เจตคติและพฤติกรรม ในการให้บริการ และคุณลักษณะของผู้มีจิตบริการ แบบสอบถามเพื่อศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเองของ พนักงานสายการบิน แบบสัมภาษณ์ สำหรับหัวหน้างานของกลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองและวิทยากร/ผู้สอน และผู้ช่วยวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ๑) พนักงานสายการบินมีความต้องการเรียนรู้ด้านจิตบริการอันประกอบด้วย ด้านความรู้ธุรกิจการบิน ด้านการพัฒนาศักยภาพการบริการ และด้านการพัฒนาตนเอง ๒) รูปแบบการ ฝึกอบรมมี ๓ องค์ประกอบคือ หลักการ การวางแผนและกระบวนการ ๓) กลุ่มทดลองมีจิตบริการ เพิ่มมากขึ้นก่อนการทดลองและมีระดับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ๔) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จคือ (๑) การแบ่งปันประสบการณ์ด้านบริการจากต่างหน่วยงาน (๒) การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (๓) การเห็นคุณค่าในตนเอง (๔) การฝึกสมาธิ (๕) วิทยากร (๖) การ ออกกำลังแบบผสมผสานกายใจ และ (๗) การเขียนสะท้อนคิด


รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่, วิลาวัณย์ จารุอริยานนท์ Apr 2014

รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่, วิลาวัณย์ จารุอริยานนท์

Journal of Education Studies

การวิจัยผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตามวงจร PDCA ๒) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตครู ๓) สร้างและประเมิน รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๓๑๒ คน อาจารย์นิเทศก์ ๑๖๙ คน และครูพี่เลี้ยง ๒๖๒ คน ได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน รูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา ค่าความแปรปรวนพหุ (MANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ๑) การบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามการรับรู้ของอาจารย์นิเทศก์ มีคะแนน มากกว่าเกณฑ์ ส่วนการรับรู้ของครูพี่เลี้ยง มีคะแนนน้อยกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๒) แนวทางการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ตาม ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตครู พบว่าควรจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน เน้นฝึกวิเคราะห์ ควรบ่มเพาะความเป็นครูตั้งแต่ปี ๑ สถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพต้องมีความพร้อม อาจารย์นิเทศก์มีทักษะ การจัดการเรียนรู้และวิจัย ครูพี่เลี้ยงเป็นแบบอย่างที่ดี ๓) รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ๔ ขั้นตอน ได้แก่ วางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ และปรับปรุง องค์ประกอบคุณภาพครูยุคใหม่มี ๓ ด้าน คือ ความรู้ การจัดการเรียนรู้ และคุณลักษณะความเป็นครู ผลการประเมินรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด


ความสามารถในการให้เหตุผล ความสามารถที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑, วิชัย เสวกงาม Apr 2014

ความสามารถในการให้เหตุผล ความสามารถที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑, วิชัย เสวกงาม

Journal of Education Studies

การให้เหตุผล เป็นความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลและการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ที่เป็นอิสระจากความรู้เดิมที่ได้มา การให้เหตุผลเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ ใน ขณะที่ความสามารถในการให้เหตุผลนี้จะทำหน้าที่เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมต่อให้เด็กเกิดความสามารถในด้าน อื่นๆ ความสามารถในการให้เหตุผลในวัยเด็กสามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ในโรงเรียน มหาวิทยาลัยและ ผลการปฏิบัติงานในการประกอบอาชีพได้ นอกจากนี้ปัญหาในการตัดสินใจมีความสำคัญมากขึ้นในช่วง วัยรุ่น เนื่องจากวัยรุ่นมีการพัฒนาและความเป็นอิสระมากขึ้นอีกทั้งยังต้องเผชิญกับทางเลือกมากขึ้น ซึ่งทางเลือกต่างๆ อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและผู้อื่น บางส่วนของ ทางเลือกเหล่านี้อาจรวมถึงการค้นหาอาชีพ การมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่หรือเสพยาเสพติดอื่นๆ ดังนั้นความสามารถในการให้เหตุผล นอกจากจะเป็นพื้นฐานและ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาระดับสติปัญญาและทักษะการคิดขั้นสูงแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการตัดสินใจ เพื่อการประกอบอาชีพและการลดพฤติกรรมเสี่ยงในอนาคตอีกด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอันจะให้ผู้เรียน สามารถใช้ชีวิตอย่างประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ ๒๑


การประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาในการจัดการขยะครัวเรือน, อารีรัตน์ ภาคพิธเจริญ, จรูญศรี มาดิลกโกวิท, โสมสกาว เพชรานนท์ Apr 2014

การประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาในการจัดการขยะครัวเรือน, อารีรัตน์ ภาคพิธเจริญ, จรูญศรี มาดิลกโกวิท, โสมสกาว เพชรานนท์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นการประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายโดยใช้รูปแบบเหตุการณ์สมมุติ ในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก ๔ แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้คำถามปลายปดิ แบบ ๒ ขนั้ และ วิเคราะห์สมการถดถอยโดยใช้รูปแบบฟังก์ชัน Lognormal ผลการศึกษาพบว่า มูลค่าความเต็มใจที่จะ จ่ายเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาในการจัดการขยะครัวเรือนขององค์การบริหาร ส่วนตำบลขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐานเท่ากับ ๒๙๗.๔๗ และ ๒๕๗.๕๓ บาทต่อครัวเรือนต่อปี ตามลำดับ มูลค่าของประโยชน์จากการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาอยู่ในช่วง ๒,๔๕๐,๓๓๓.๒๑ - ๒,๘๑๔,๓๔๕.๕๐ บาทต่อปี เมื่อพิจารณาปัจจัยพบว่า ค่าเริ่มต้น ระดับการศึกษา และการรับรู้ข้อมูลงบประมาณในการจัดการ ขยะชุมชนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับความเต็มใจที่จะจ่ายที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๙ ในการ ศึกษานี้จึงเสนอให้องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กลงทุนทักษะความรู้เพื่อพัฒนาคนในชุมชนให้เกิด รายได้เพิ่มขึ้นควบคู่กับการลงทุนจัดสิ่งแวดล้อมศึกษา และควรคืนข้อมูลงบประมาณและประโยชน์จาก การลงทุนผ่านเวทีประชาคมหรือสื่อชุมชนอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง


แนวทางการพัฒนาการลูกเสือไทยเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี, สุภาพร จตุรภัทร, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก Apr 2014

แนวทางการพัฒนาการลูกเสือไทยเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี, สุภาพร จตุรภัทร, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการการลูกเสือไทยในอดีตและปัจจุบัน และ ๒) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการ ลูกเสือไทยเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่ผ่านการเรียนกิจกรรม ลูกเสือ ลูกเสือ ผู้กำกับลูกเสือ ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการ ลูกเสือไทย โดยใช้วิธีศึกษาเอกสาร การสำรวจโดยแบบสอบถาม เทคนิคเดลฟายและการสัมภาษณ์ เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติภาคบรรยาย และเชิงคุณภาพโดยจำแนกประเภท เปรียบเทียบข้อมูล และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า ๑) กระบวนการการลูกเสือไทยในอดีตและปัจจุบันมีความสอดคล้องกันใน ด้านการสอนให้ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รู้จักการคิดวิเคราะห์อย่างเป็น ระบบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าและมีการฝึกวินัยให้ลูกเสือเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ ๒) แนวทางการพัฒนาการ ลูกเสือไทยเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ บทบาทหน้าที่ และ มีเกณฑ์มาตรฐานอย่างชัดเจน การจัดกิจกรรมลูกเสือเน้นความซื่อสัตย์และเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง มีการส่งเสริม พัฒนา สร้างคุณค่า และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ครูและบุคลากรทางการลูกเสือ มีการ กำหนดภารกิจ อำนาจหน้าที่ วิธีปฏิบัติและสร้างความร่วมมือของเครือข่ายการลูกเสือไทย รวมทั้ง ต้องสร้างให้สาธารณะชนเห็นคุณค่าและพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Apr 2014

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


คิดนอกกรอบ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Apr 2014

คิดนอกกรอบ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย, สุธิดา พลชำนิ, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์ Apr 2014

การสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย, สุธิดา พลชำนิ, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายและกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหา ด้านความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย วิเคราะห์หลักการ แนวคิด และวิธีการ สร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย สร้างและทดลองโปรแกรม การสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ในครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตนักศึกษาไทย และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ๑) นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน จำนวน ๑,๔๓๙ คน ๒) นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัย ราชภัฏลำปาง ที่สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมฯ จำนวน ๓๐ คน ๓) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ๑) เครื่องมือหลักที่ใช้ในการศึกษาตามรายวัตถุประสงค์ การวิจัย ๒) เครื่องมือที่ใช้ทดลองภายในโปรแกรมฯ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ๑) นิสิตนักศึกษาไทยมีปัญหาด้านความสามารถในการเผชิญอุปสรรค ร้อยละ ๘๖.๕๕ ๒) การวิเคราะห์หลักการ แนวคิด และวิธีการสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญ อุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย ประกอบด้วย ๕ ด้าน ได้แก่ (๑) ด้านการรับรู้ในตนเอง (๒) ด้านความ อดทน (๓) ด้านความพากเพียร (๔) ด้านความสามารถแก้ไขปัญหา และ(๕) ด้านความรับผิดชอบ ๓) โปรแกรมการสร้างเสริมความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย ประกอบด้วย (๑) หลักการ (๒) วัตถุประสงค์ (๓) กระบวนการ และ (๔) ผลการทดลองใช้โปรแกรมเมื่อนำไปใช้กับนิสิต นักศึกษา ภายหลังการทดลองพบว่านักศึกษาที่เข้าร่วมการดำเนินกิจกรรมในโปรแกรมมีการพัฒนา ความสามารถในการเผชิญอุปสรรคขึ้นและมีความสามารถในการเผชิญอุปสรรคสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ จากผลการวิจัยแสดงว่าโปรแกรมการสร้างเสริมความสามารถใน การเผชิญอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาไทย สามารถพัฒนาความสามารถในการเผชิญอุปสรรคของนิสิต นักศึกษาไทยได้บรรลุตามเป้าหมาย


กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักการเมืองบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง, ปอรรัชม์ ยอดเณร, ชนิตา รักษ์พลเมือง Apr 2014

กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักการเมืองบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง, ปอรรัชม์ ยอดเณร, ชนิตา รักษ์พลเมือง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิควิธีการศึกษาแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร การสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มนักการเมืองและกลุ่มประชาชน การสัมภาษณ์เจาะ ลึกนักการเมืองและนักวิชาการ การวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ และการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) วิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมือง ๒) เพื่อพัฒนา กระบวนการจัดการเรียนรู้บนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ๓) เพื่อนำเสนอกระบวนการ จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักการเมืองบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ผลการวิจัยพบว่า ๑) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมืองแบ่งออกเป็น ๔ ด้าน คือ ด้าน จิตใจ ด้านความคิด ด้านพฤติกรรมและด้านความรู้ ๒) การวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ต้อง พัฒนาการเรียนรู้ ๔ ส่วน คือ การกระต้นุ การเรียนรู้ภายใน การเรียนร้เู ชิงกระบวนการกล่มุ การตระหนักถึง สังคมและส่วนรวม และการสร้างสรรค์แนวทางใหม่ ๓) กระบวนการจัดการเรียนร้เู พื่อพัฒนาคุณลักษณะ ของนักการเมืองประกอบด้วยการดำเนินการ ๗ ขั้นตอน คือ (๑) การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่สัมพันธ์ กับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมือง (๒) เนื้อหากิจกรรมต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย (๓) การ ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสบการณ์ใหม่ ใคร่ครวญ และแลกเปลี่ยนเชิงการเมือง (๔) การคัดเลือกกระบวนกร ที่มีประสบการณ์ทางการเมืองและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (๕) การลงมือปฏิบัติต้องต่อเนื่องและยืดหยุ่น (๖) การสร้างบรรยากาศให้เท่าเทียมและเป็นประชาธิปไตย (๗) การสรุปและถอดบทเรียน เน้นการแลกเปลี่ยนและการรับฟังอย่างลึกซึ้ง


การวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษา, ปฐมาภรณ์ ปันอินทร์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา Apr 2014

การวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษา, ปฐมาภรณ์ ปันอินทร์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบ่งเป็น ๓ กรณีศึกษา จำนวน ๑๙ คน ๑๒ คน และ ๑๑ คน ตามลำดับ วิธีดำเนินการวิจัยคือพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามกลุ่ม สูงและกลุ่มตำ จากนั้นนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปใช้กับกรณีศึกษาที่ ๓ และนำเสนอต่อไป ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนไทยตามแนว จิตตปัญญาศึกษาที่เหมาะสม คือ ๑) ผู้เรียนต้องมีความสนใจและเต็มใจเรียนรู้ ๒) เน้นกระบวนการพูด คุยแลกเปลี่ยน สนทนาเป็นกลุ่ม ๓) บรรยากาศในการเรียนรู้ต้องเปิดกว้าง ไม่มีอคติ ๔) เน้นการตั้งโจทก์ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ๕) กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มสูงคือการใช้วิธี สุนทรียสนทนา และ ๖) กลุ่มตำ คือ กิจกรรมสันทนาการ


การพัฒนาระบบบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญ, มนัส บุญชม, ชญาพิมพ์ อุสาโห Apr 2014

การพัฒนาระบบบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญ, มนัส บุญชม, ชญาพิมพ์ อุสาโห

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของระบบบริหาร โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่สามัญตามเกณฑ์เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษา ของ Malcolm Baldrige และเพื่อพัฒนาระบบบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา อิสลามควบคู่วิชาสามัญ โดยใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของ Malcolm Baldrige เป็นฐาน วิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ๑๖๐ โรงเรียน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และ การประชุมสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและเทคนิค PNI Modif ied ผลการวิจัยพบว่า ๑) สภาพปัจจุบันด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ ๓.๗๔ คือ ด้านการนำองค์การ สภาพที่พึงประสงค์ด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ ๔.๓๒ คือ ด้านการนำองค์การ โรงเรียนกลุ่มภาคใต้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยของความ ต้องการจำเป็นสูงสุดเท่ากับ ๐.๒๕ คือ ด้านการวัดผลการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ โรงเรียนกลุ่ม ภาคกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยของความต้องการจำเป็นสูงสุด เท่ากับ ๐.๒๕ คือ ด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน ๒) ระบบบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญที่พัฒนาขึ้น มี ๒ ระบบคือ (๑) ระบบบริหารโรงเรียนในภาคใต้ คือ ระบบบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญมุ่งเน้นการวัดผล การวิเคราะห์ การจัดการความรู้และการปฏิบัติงาน (๒) ระบบบริหารโรงเรียนในภาคกลาง คือ ระบบบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา อิสลามควบคู่วิชาสามัญ มุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงานและการวัดผล การวิเคราะห์ การจัดการความรู้


การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำแผนการฝึกปฏิบัติสำหรับครูฝึกอาชีพของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร, อัคครัตน์ พูลกระจ่าง Apr 2014

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำแผนการฝึกปฏิบัติสำหรับครูฝึกอาชีพของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร, อัคครัตน์ พูลกระจ่าง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำแผนการฝึกปฏิบัติสำหรับครู ฝึกอาชีพของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร และเพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำ แผนการฝึกปฏิบัติสำหรับครูฝึกอาชีพของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร วิธีการดำเนินการวิจัย มี ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ ๑ การศึกษาความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นที่ ๒ การสร้าง หลักสูตรฝึกอบรม ขั้นที่ ๓ การนำหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นไปใช้จริง และขั้นที่ ๔ การประเมินติดตาม ผลหลังการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูฝึกอาชีพของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๐ คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้วิจัยใช้แผนการทดลองแบบกรณีศึกษาทดลอง ๑ ครั้ง (One Shot Case Study) จากนั้นนำผลคะแนนจากการทดลองมาหาประสิทธิภาพของหลักสูตร ฝึกอบรม ผลการวิจัย พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรม ในภาพรวมหลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมในระดับมากมีค่าเฉลี่ย ( X = 4.07) การประเมินความ สอดคล้องของหลักสูตรฝึกอบรม มีความสอดคล้องกันทุกรายการ และประสิทธิภาพของพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ ๘๕.๒๗/๘๒.๖๕ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ๘๐/๘๐ และผล การประเมินการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกอบรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.46)


แนะนำหนังสือ, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร Apr 2014

แนะนำหนังสือ, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การนำเสนอยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน, ศศิรัศม์ วีระไวทยะ, ชนิตา รักษ์พลเมือง Apr 2014

การนำเสนอยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน, ศศิรัศม์ วีระไวทยะ, ชนิตา รักษ์พลเมือง

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและกระบวนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานในประเทศไทยและต่างประเทศ ๒) เพื่อศึกษา สภาพปัญหาและปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสันติ วัฒนธรรมโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานในประเทศไทย ๓) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานสำหรับประเทศไทย ผลการวิจัยการนำเสนอยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานสำหรับประเทศไทยมี ๑๐ ยุทธศาสตร์ คือ ๑) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการ จัดการศึกษาในภาพรวม ๒) ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ ๓) ยุทธศาสตร์การค้นพบ เข้าใจ และเข้าถึง พลังเครือข่าย ๔) ยุทธศาสตร์การจัดการเครือข่าย ๕) ยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ๖) ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาพัฒนานักเรียนเพื่อนักเรียน ๗) ยุทธศาสตร์การเชื่อมประสานเครือข่าย ภาครัฐและหน่วยงานต่างประเทศ ๘) ยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ประสานงานกลางเครือข่ายความร่วมมือ ๙) ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมพลังแกนนำ ๑๐) ยุทธศาสตร์การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์


เปิดประเด็น, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ Apr 2014

เปิดประเด็น, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


The Development Of A Community Participation Model For Organizing Lifelong Education By Educational Institutions: A Participatory Action Research, Chittwadee Thongtua, Wirathep Pathumcharoenwatthana, Noppamonton Sibmuenpiam Jan 2014

The Development Of A Community Participation Model For Organizing Lifelong Education By Educational Institutions: A Participatory Action Research, Chittwadee Thongtua, Wirathep Pathumcharoenwatthana, Noppamonton Sibmuenpiam

Journal of Education Studies

The purposes of this research are: 1. to study the conditions and relevant factors of community participation for lifelong education management in local educational institutions; 2. to compare factors of community participation for lifelong education in educational institutions; and 3. to develop a model of community participation for lifelong education in educational institutions through participatory action research The target population was purposive sampling with criteria in the amount of 1,846 people from good schools in sub-districts, in project provided by the OBEC in 2010 and 25 people from 1 good school to conduct the PAR process. The research instruments consisted …


การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาล, จอย ทองกล่อมศรี, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ศิริเดช สุชีวะ Jan 2014

การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาล, จอย ทองกล่อมศรี, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ศิริเดช สุชีวะ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เแนวทาง ลักษณะขอบข่าย และพัฒนาตัวบ่งชี้ ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาล ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี สัมภาษณ์จัดประชุมกลุ่มย่อย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย กลุ่มตัวอย่างคือ คณาจารย์ และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา ๒๓ แห่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเชิงคุณภาพ และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ชุมชน พันธกิจ สังคม และธรรมาภิบาล เป็นแนวทางความรับผิดชอบต่อ สังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทย โดยลักษณะและขอบข่ายตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย Input - Process -Output, วัตถุประสงค์การก่อตั้งสถาบันและความต้องการของสังคมประกอบด้วย ๗ องค์ประกอบ ๖๓ ตัว บ่งชี้ คือ ๑) การดูแลแก้ปัญหาชุมชนและสังคม ๒)การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ๓) การใช้นวัตกรรม เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ๔) การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาสังคม ๕) การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๖) การบริหารแบบมีส่วนร่วม และ ๗) จริยธรรมทางวิชาการ จากการวิจัยพบว่าแนวทางความรับ ผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทย อยู่บนฐานพันธกิจที่บูรณาการ การมีส่วนร่วมให้เกิดประโยชน์ ต่อชุมชนและสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน


กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรมระดับ ๕ ดาวเพื่อผู้จัดการทั่วไป, พันธุ์พัฒน์ กัลยา, ปิยะพงษ์ สุเมตติกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jan 2014

กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรมระดับ ๕ ดาวเพื่อผู้จัดการทั่วไป, พันธุ์พัฒน์ กัลยา, ปิยะพงษ์ สุเมตติกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน รวมทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของหลักสูตรการจัดการโรงแรมและการบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรมในประเทศไทย เพื่อศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของหลักสูตรการจัดการโรงแรมและการบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรม และเพื่อได้กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรมระดับ ๕ ดาว เพื่อผู้จัดการทั่วไปโดยใช้ระเบียบ วิธีวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีหน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถานศึกษาในประเทศไทย ที่เป็นของรัฐและเอกชนที่เปิดสอนมาแล้วอย่างน้อย๔ ปีจำนวน ๖๘สถาบันการคืกษา ผู้ให้ข้อมูลจำนวน ๑๑๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) แล้วนำข้อมูล มาจัดทำกลยุทธ์ด้วยการวิเคราะห์ SWOT กำหนดและตรวจสอบกลยุทธ์ครั้งที่ ๑ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบกลยุทธ์โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของหลักสูตรการจัดการโรงแรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X?? 3.37) ส่วนสภาพปัจจุบันของการบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรมในประเทศไทยโดยรวมอยู่ในระดับ มาก (X??3.63) สภาพที่พึงประสงค์ของหลักสูตรการจัดการโรงแรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X??4.22) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรมในประเทศไทยโดยรวมอยูในระดับมาก (3H.49) และกลยุทธ์การบริหารหลักสูตรการจัดการโรงแรมระดับ๕ดาวเพื่อผู้จัดการทั่วไปประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก ๔ กลยุทธ์กลยุทธ์รอง ๑๐ กลยุทธ์ และวิธีการเสริม ๑๗ วิธีการ


A Comparison Of Standard Thai Achievement Of Ethnic Karen First Grade Students In Monolingual Thai, Informal Bilingual Thai-Karen, And Mother Tongue-Based Multilingual Education Classrooms, Chapanit Sawaengmongkon Jan 2014

A Comparison Of Standard Thai Achievement Of Ethnic Karen First Grade Students In Monolingual Thai, Informal Bilingual Thai-Karen, And Mother Tongue-Based Multilingual Education Classrooms, Chapanit Sawaengmongkon

Journal of Education Studies

The purposes of this study were firstly to compare the achievement of ethnic Karen first grade students in 3 types of classrooms: monolingual Thai, informal bilingual Thai-Karen, and mother tongue-based multilingual education or MTB-MLE, and secondly, to study the correlation between students? literacy and speaking accuracy. The subjects were 76 ethnic Karen students from 3 different schools in Educational Service Area Office 5, in Chiang Mai Province. The instruments consisted of a reading aloud test, a writing test, and a speaking test. The statistical methods used in this study were mean, standard deviation, one-way ANOVA, Scheffe post hoc comparisons, and …


Development Of A Non-Formal Education Program To Enhance The Drug Abuse Resilience Quotient Of Youth-At-Risk Of Drug Relapse, Methpiya Kerdphol Thangrattana, Worarat Pathumcharoenwattana, Wirun Ninlamot Jan 2014

Development Of A Non-Formal Education Program To Enhance The Drug Abuse Resilience Quotient Of Youth-At-Risk Of Drug Relapse, Methpiya Kerdphol Thangrattana, Worarat Pathumcharoenwattana, Wirun Ninlamot

Journal of Education Studies

The purpose of this research was to develop a non-formal education program to enhance drug abuse resilience quotient of youth at-risk of drug relapse. The researcher studied the effects of the non-formal education program on the enhancement of drug abuse resilience quotient of 60 youth at-risk of drug relapse. The design of this study was the quasi-experimental research approach with two-group pretest and posttest. The experimental group, which consisted of 30 relapse drug at-risk youth who used the developed program, was compared to the controlled group, which consisted of 30 relapse drug at-risk youth who used the drug addicted treatment …