Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2014

การคิดเชิงคำนวณ;โปรแกรม APP INVENTOR;กระบวนการแก้ปัญหา

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Education

การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการเห็นคุณค่าในตนเองเพื่อเสริมสร้างจิตบริการสำหรับพนักงานสายการบิน, รมย์ฤดี เวสน์, อาชัญญา รัตนอุบล Apr 2014

การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการเห็นคุณค่าในตนเองเพื่อเสริมสร้างจิตบริการสำหรับพนักงานสายการบิน, รมย์ฤดี เวสน์, อาชัญญา รัตนอุบล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) วิเคราะห์ความต้องการเรียนรู้ด้านจิตบริการของพนักงาน สายการบิน ๒) พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและทฤษฎีการ เห็นคุณค่าในตนเอง เพื่อเสริมสร้างจิตบริการสำหรับพนักงานสายการบิน ๓) ศึกษาเปรียบเทียบผลการ มีจิตบริการ ระหว่างกลุ่มพนักงานสายการบินซึ่งนำรูปแบบการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นไปใช้ กับกลุ่มที่ได้รับ การอบรมตามที่สายการบินจัดอบรมให้แก่พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการ ๔) วิเคราะห์ปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรคในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมที่ได้พัฒนาขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยเป็นพนักงานสายการบินผู้มีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารจาก ๔ กลุ่มงานได้แก่ พนักงาน สำรองที่นั่ง พนักงานบัตรโดยสาร พนักงานต้อนรับภาคพื้นและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เครื่องมือ ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเรื่องความรู้งานสายการบินและการบริการ เจตคติและพฤติกรรม ในการให้บริการ และคุณลักษณะของผู้มีจิตบริการ แบบสอบถามเพื่อศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเองของ พนักงานสายการบิน แบบสัมภาษณ์ สำหรับหัวหน้างานของกลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองและวิทยากร/ผู้สอน และผู้ช่วยวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ๑) พนักงานสายการบินมีความต้องการเรียนรู้ด้านจิตบริการอันประกอบด้วย ด้านความรู้ธุรกิจการบิน ด้านการพัฒนาศักยภาพการบริการ และด้านการพัฒนาตนเอง ๒) รูปแบบการ ฝึกอบรมมี ๓ องค์ประกอบคือ หลักการ การวางแผนและกระบวนการ ๓) กลุ่มทดลองมีจิตบริการ เพิ่มมากขึ้นก่อนการทดลองและมีระดับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ๔) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จคือ (๑) การแบ่งปันประสบการณ์ด้านบริการจากต่างหน่วยงาน (๒) การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (๓) การเห็นคุณค่าในตนเอง (๔) การฝึกสมาธิ (๕) วิทยากร (๖) การ ออกกำลังแบบผสมผสานกายใจ และ (๗) การเขียนสะท้อนคิด