Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2014

กลยุทธ์;การกํากับผลลัพธ์;การจัดการศึกษา

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Education

การประยุกต์ใช้การวิจัยกรณีศึกษากับการสอนและการคิดสะท้อนเพื่อการพัฒนาทักษะของนิสิตนักศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาอุดมศึกษา, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์ Jul 2014

การประยุกต์ใช้การวิจัยกรณีศึกษากับการสอนและการคิดสะท้อนเพื่อการพัฒนาทักษะของนิสิตนักศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาอุดมศึกษา, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และ แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนานิสิตนักศึกษา ๒) ประยุกต์ใช้การวิจัยกรณีศึกษา ประกอบกับการบันทึกอนุทินและการคิดสะท้อน ในกิจกรรมปฏิบัติการจริง เพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาอุดมศึกษา กรณีศึกษาคือ ๑) นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิตชั้นปีที่ ๑ จำนวน ๔ คน ๒) นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิตที่เคยศึกษารายวิชานี้ ชั้นปีที่ ๒ ? ๕ ชั้นปีละ ๑ คน รวมทั้งสิ้น ๔ คน ๓) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตจากสาขาวิชาอุดมศึกษา ที่เคยศึกษารายวิชานี้ จำนวน ๔ คน ได้แก่ สำเร็จการศึกษาภายใน ๓ ปี จำนวน ๒ คน สำเร็จการศึกษามากกว่า ๓ ปี จำนวน ๒ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชา การพัฒนานิสิตนักศึกษา ได้แก่ (๑) การพัฒนานิสิตนักศึกษา เป็นพันธกิจหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นภารกิจร่วมกันของบุคลากรทั้งมหาวิทยาลัย ทั้งระดับอาจารย์ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องสอนนิสิต ในหลักสูตร และบุคลากรที่จะต้องปฏิบัติงานในกิจกรรมนอกหลักสูตร (๒) การจัดการเรียนการสอน ควรเน้นการวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวางแผนกิจกรรม ในการพัฒนานิสิตนักศึกษา ประกอบกับทฤษฎีการพัฒนานิสิตนักศึกษา ๒) การประยุกต์ใช้การวิจัยกรณีศึกษาประกอบกับการบันทึก อนุทินและการคิดสะท้อนในกิจกรรมปฏิบัติการจริง เพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาอุดมศึกษา ได้แก่ (๑) คณาจารย์ ควรมีส่วนร่วมในการพัฒนานิสิตนักศึกษา ทั้งในฐานะอาจารย์ ที่ปรึกษาทางวิชาการและอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนิสิต (๒) การวัดและประเมินผล ควรแสดงวิธีการวัด ประเมินผลที่ชัดเจน การประเมินตามสภาพจริง (๓) นิสิตควรได้รับการพัฒนาด้านสติปัญญา สังคม และอารมณ์ ความมั่นใจ ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสัมพันธ์กับผู้อื่น บุคลิกภาพ ค่านิยมและความเชื่อ