Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Communication Technology and New Media Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Theses/Dissertations

2022

Discipline
Institution
Keyword
Publication

Articles 61 - 90 of 138

Full-Text Articles in Communication Technology and New Media

อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร Jan 2022

อิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว และอัตนิยมเชิงวัฒนธรรมต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ, ไปรยา เจษฎานฤสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ประสบการณ์ลูกค้าทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสอดคล้อง 2) ด้านการเชื่อมต่อ 3) ด้านการผสมผสาน 4) ด้านความยืดหยุ่น และ 5) ด้านเฉพาะบุคคล ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ และเพื่อวิเคราะห์ตัวแปร ได้แก่ ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียว อัตนิยมเชิงวัฒนธรรม ความเป็นสากลนิยม และความตั้งใจซื้อ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่มีกำลังซื้อ และอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง เมื่อนำมาวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) พบว่า ประสบการณ์ลูกค้าจากช่องทางที่หลากหลาย ความเป็นสากลนิยม และภาพลักษณ์ตราสินค้าสีเขียวที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุดตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องการทราบว่า ตัวแปรประสบการณ์ลูกค้ามีตัวแปรในทุก ๆ ด้านที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อ หรือมีตัวแปรย่อยด้านใดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบ จึงทำการทดสอบสมมติฐานที่ 2 เมื่อทำการทดสอบเพิ่มเติมโดยทำการแยกตัวแปรย่อยของตัวแปรประสบการณ์ลูกค้าออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเชื่อมต่อ ด้านการผสมผสาน ด้านความสอดคล้อง ด้านความยืดหยุ่น และด้านเฉพาะบุคคล พบว่า ตัวแปรย่อยด้านความสอดคล้อง และด้านความยืดหยุ่นมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของร้านกาแฟแบบบริการเต็มรูปแบบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.40 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และไม่มีตัวแปรอื่น ๆ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญระดับ 0.05


อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ Jan 2022

อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน, กัญญารัตน์ วิโรจนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะบุคคล (ได้แก่ คุณลักษณะพื้นฐาน และคุณลักษณะประกอบ) คุณลักษณะความเชื่อ และพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน (ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง) และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะบุคคลและคุณลักษณะความเชื่อ ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน โดยเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 23 – 29 ปี เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีงานทำในปัจจุบัน จำนวน 403 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะพื้นฐานที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ ความต้องการด้านวัตถุ ความต้องการด้านร่างกาย และความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ส่วนคุณลักษณะประกอบที่มีผลต่อคุณลักษณะความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน ได้แก่ การอยู่กับปัจจุบัน และคุณลักษณะความเชื่อ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านโหราศาสตร์ ด้านความเชื่อลางร้าย ด้านเครื่องรางนำโชค ด้านการพนัน ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสลากกินแบ่ง โดยคุณลักษณะความเชื่อมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านโหราศาสตร์มากที่สุด


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, ธาณุพรรณ ณ สงขลา Jan 2022

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค, ธาณุพรรณ ณ สงขลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่ออธิบายความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม การรับรู้คุณค่า และความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการรับรู้คุณค่าของผู้บริโภค 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า บรรทัดฐานกลุ่ม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการรับรู้คุณค่า ที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคชาวไทยเจเนอเรชันเอกซ์ (Generation X) และผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย (Generation Y) จำนวนทั้งสิ้น 500 คน ซึ่งต้องมีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 27 - 58 ปี ไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า และต้องเคยได้ยินหรือรู้จักเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า โดย ผลวิจัยพบว่า ความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อ การรับรู้คุณค่า การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และบรรทัดฐานกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า การรับรู้คุณค่า บรรทัดฐานกลุ่ม และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ทัศนคติต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า


การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา Jan 2022

การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม, นวียา แดงบุหงา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นบนแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของผลิตภัณฑ์ความงาม รวมถึงเพื่ออธิบายอิทธิพลของการเปิดรับและทัศนคติของผู้บริโภคต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเคยเห็นโฆษณาแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อก จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีการเปิดรับโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 2) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อโฆษณาในรูปแบบวิดีโอสั้นของผลิตภัณฑ์ความงามบนติ๊กต๊อกแตกต่างกัน 3) ผู้บริโภคที่มีเพศและอาชีพแตกต่างกัน มีความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงามแตกต่างกัน 4) ปัจจัยด้านการเปิดรับและทัศนคติมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, อภิชญา ศรีเทวฤทธิ์ Jan 2022

อิทธิพลของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค, อภิชญา ศรีเทวฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตา แกรม และศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามบนอินสตาแกรม ต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง อายุระหว่าง 25-34 ปี ที่มีการกดติดตามข้อมูลจากช่องทางอินสตาแกรมของผู้นำทางความคิดด้านความงามอย่างน้อย 3 ใน 10 คน ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ และได้ติดตามข้อมูลอย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้นำทางความคิดด้านความงามทั้งสามด้านมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้บริโภค โดยคุณลักษณะด้านความน่าเชื่อถือมีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดของผู้บริโภคมากที่สุด สำหรับการทดสอบอิทธิพลของคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค พบว่า คุณลักษณะทั้งสามด้านมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค โดยคุณลักษณะด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อมากที่สุด และมีเพียงคุณลักษณะด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงคุณลักษณะเดียวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคด้านการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่าทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อทั้งพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค


Generation Z Consumers’ Behavior On Jones’ Salad’S Online Marketing Communications, Pitchaya Watcharodomprasert Jan 2022

Generation Z Consumers’ Behavior On Jones’ Salad’S Online Marketing Communications, Pitchaya Watcharodomprasert

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to study consumer behavior on Jones’ Salad’s online marketing communications. Two hundred and thirty-eight people who are current customers purchasing Jones’ Salad once a month, exposed to the brand’s online marketing communications in the past three months, and aged between 18 and 25 years old residing in Thailand, were asked to complete online questionnaire survey. The findings in the cognitive part reveal that Jones’ Salad’s online platforms, especially Facebook and Instagram, are significant communication platforms among its Generation Z’s customers. The majority of the samples rely on Jones’ Salad online media for brand information. …


The Chinese Media Narrative Of Thailand As A Tourist Destination After The Legalization Of Cannabis (For Medical Purposes Or Health Concerns), Shuang Deng Jan 2022

The Chinese Media Narrative Of Thailand As A Tourist Destination After The Legalization Of Cannabis (For Medical Purposes Or Health Concerns), Shuang Deng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand, a world-renowned tourist destination, officially decriminalized cannabis (for medical purposes or health concerns) in June 2022. This policy has aroused widespread international attention and discussion. This study aims to analyze Chinese media narratives on the legalization of cannabis in Thailand and Chinese netizens' attitudes toward this policy. The research uses content analysis to analyze posts of 4 Chinese social media accounts related to Thailand (3 Mainland China, and 1 Thai-Taiwan). Posts about Thailand’s legalization of cannabis on Chinese social media Weibo from Jan 2022 - Oct 2022 are collected. Chinese media mostly adopted a neutral attitude when narrating the …


ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ กับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย, โกศล สรวมศรี Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ กับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย, โกศล สรวมศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้จุดจูงใจทางเพศ อารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ กับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภคของสถานออกกำลังกาย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง อายุระหว่าง 23 – 42 ปี จำนวน 205 คน โดยเป็นผู้ที่มีการออกกำลังกายในฟิตเนสอย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้จุดจูงใจทางเพศ อารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกปานกลางค่อนไปทางมาก นอกจากนั้น การรับรู้จุดจูงใจทางเพศยังมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกของผู้บริโภค กล่าวคือ ยิ่งกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้จุดจูงใจทางเพศมากเพียงใด ก็จะยิ่งมีอารมณ์ ทัศนคติ และความตั้งใจสมัครสมาชิกในเชิงบวกเช่นเดียวกัน นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการฟิตเนสเป็นประจำ มีอารมณ์ในเชิงบวกมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการฟิตเนสเป็นครั้งคราว


ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิกการหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค, มัควัฒน์ บุญอาจ Jan 2022

ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิกการหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค, มัควัฒน์ บุญอาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจการเปิดรับ ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค 2) อธิบายความแตกต่างของทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาแตกต่างกันและ 3) อธิบายอิทธิพลของทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหาในบริการโอทีทีแบบเก็บค่าสมาชิก การหลีกเลี่ยงโฆษณา การยอมรับด้านสิทธิ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค เป็นการวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล จำนวนรวม 200 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติอ้างอิงเพื่อทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีวิเคราะห์ t-test และ One Way ANOVA ทดสอบอิทธิพลของตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกด้วยโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากที่สุด มีความถี่ในการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกเฉลี่ย 4 วันต่อสัปดาห์ และในแต่ละวันรับชม 2-3 ชั่วโมง มีทัศนคติโดยรวมต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกอยู่ในระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับบางครั้ง มีการยอมรับด้านสิทธิของผู้บริโภคโดยรวมต่อโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกอยู่ในระดับมาก และมีความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า ผู้บริโภคที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการรับชมโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกแตกต่างกัน และอายุแตกต่างกันมีทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิกแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้พบว่า ทัศนคติต่อโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก (β = 0.516) มีอิทธิพลเชิงบวก ในขณะที่พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการรับชมโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก (β = -0.128) มีอิทธิพลเชิงลบต่อการตั้งใจซื้อสินค้าโฆษณาแฝงจากการรับชมเนื้อหารายการแบบเก็บค่าสมาชิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูล การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์ของผู้บริโภค, ศโรภาส น้อยศรี Jan 2022

พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูล การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์ของผู้บริโภค, ศโรภาส น้อยศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจตัวแปรพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์ของผู้บริโภค การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์ของผู้บริโภค โดยเจาะจงที่ด้านสื่อออนไลน์ซึ่งเป็นสื่อที่จำเป็นต้องใช้ความกระตือรือร้น และการอยากได้มาซึ่งข้อมูลในเชิงรุก และเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูล และการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์ของผู้บริโภค โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประชากรของงานวิจัย คือ กลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเป็นผู้ที่มีการค้นหาข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 205 คน และนำข้อมูลมาประมวลผลด้วยโปรแกรม SPSS (Statistic Package for the social Sciences) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์อยู่ในระดับบางครั้งบางคราว มีการใช้ประโยชน์ข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์นั้นอยู่ในระดับปานกลาง และมีความพึงพอใจในข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยจำนวน 2 ข้อ ปรากฏดังนี้ พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูล มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูล มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในข้อมูลด้านกัญชาเพื่อการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง


ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค, ศุภิสรา กรมขันธ์ Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค, ศุภิสรา กรมขันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบรรทัดฐานกลุ่ม การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน บุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ ทัศนคติต่อเครื่องประดับโชคลาง และความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค 2. วิเคราะห์ปัจจัย (บรรทัดฐานกลุ่ม การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน และบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ) ที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อเครื่องประดับโชคลาง และความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค 3. อธิบายความสัมพันธ์ของทัศนคติต่อเครื่องประดับโชคลางและความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลาง 4. อธิบายความสัมพันธ์ของบรรทัดฐานกลุ่มและบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ ของผู้บริโภค และ 5. อธิบายความสัมพันธ์ของการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนและบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มคนเจเนอเรชันวาย (Gen Y) ในประเทศไทย ที่มีอายุระหว่าง 23 - 42 ปี จำนวน 250 คน โดยผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับบรรทัดฐานกลุ่ม ในระดับปานกลาง (M = 3.62) มีการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนในระดับสูง (M = 4.21) มีบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบในระดับปานกลาง (M = 3.75) มีทัศนคติต่อเครื่องประดับโชคลางในระดับปานกลาง (M = 3.73) และมีความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางในระดับปานกลาง (M = 3.63) ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุพบว่า บรรทัดฐานกลุ่มและบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ มีอิทธิพลต่อทัศนคติ (β = 0.51 และ 0.26 ตามลำดับ) และต่อความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภค (β = 0.49 และ 0.25 ตามลำดับ) ในขณะที่ การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนมีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อเครื่องประดับโชคลางของผู้บริโภคอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบว่า บรรทัดฐานกลุ่ม (r = 0.34) และการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน (r …


Exploring The Existing And Unknown Side Effects Of Privacy Preserving Data Mining Algorithms, Hima Bindu Sadashiva Reddy Jan 2022

Exploring The Existing And Unknown Side Effects Of Privacy Preserving Data Mining Algorithms, Hima Bindu Sadashiva Reddy

CCE Theses and Dissertations

The data mining sanitization process involves converting the data by masking the sensitive data and then releasing it to public domain. During the sanitization process, side effects such as hiding failure, missing cost and artificial cost of the data were observed. Privacy Preserving Data Mining (PPDM) algorithms were developed for the sanitization process to overcome information loss and yet maintain data integrity. While these PPDM algorithms did provide benefits for privacy preservation, they also made sure to solve the side effects that occurred during the sanitization process. Many PPDM algorithms were developed to reduce these side effects. There are several …


ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพในซีรีส์วาย, ปณต สิริจิตราภรณ์ Jan 2022

ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพในซีรีส์วาย, ปณต สิริจิตราภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงบนฐานเพศสภาพที่ปรากฏในซีรีส์วาย ผลกระทบจากการนำเสนอความรุนแรงดังกล่าวและแนวทางในการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเพศหลากหลายในซีรีส์วายให้มีความเหมาะสมตามมาตรฐานจริยธรรมสื่อ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทซีรีส์วาย รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มนักสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมด้านความเป็นธรรมทางเพศ และกลุ่มผู้ชมที่ทำงานภายใต้เครือข่ายภาคประชาสังคมด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ ที่เป็นบุคคลเพศหลากหลาย ผลการวิจัยพบว่า ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพที่ปรากฏในซีรีส์วาย มีดังนี้ 1) การใช้กำลังประทุษร้าย 2) การแสดงออกถึงความเหยียดหยามทางวาจา 3) การกระทำทางเพศอันปราศจากความยินยอม 4) การปฏิบัติต่อคู่รักเสมือนอีกฝ่ายเป็นสมบัติของตน และ 5) การแบ่งแยกบทบาททางเพศ โดยที่ความรุนแรงเหล่านี้มักถูกนำเสนอออกมาในเชิงโรแมนติไซส์ อันเป็นการลดทอนความรุนแรงลง รวมทั้งยังละเลยที่จะถ่ายทอดให้เห็นถึงผลกระทบที่ตามมาของความรุนแรงนั้น ๆ ซึ่งการนำเสนอเช่นนี้ส่งผลกระทบดังนี้ คือ 1) ปัญหาความรุนแรงบนฐานเพศสภาพถูกลดความสำคัญ 2) สร้างภาพจำหรือภาพลักษณ์เหมารวมให้กับกลุ่มบุคคลเพศหลากหลาย 3) สร้างความกดดันแก่บุคคลเพศหลากหลาย ให้พยายามเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อให้ได้รับการยอมรับ และ 4) เรื่องสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลเพศหลากหลายถูกละเลย ในส่วนของแนวทางการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเพศหลากหลาย พบว่ามีแนวทางดังนี้ 1) การสร้างสรรค์เนื้อหาสื่อที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเพศหลากหลายควรจะมีความหลากหลายมากขึ้น อาทิ ด้านตัวละคร ด้านเนื้อหา 2) สื่อควรนำเสนอประเด็นความรุนแรงบนฐานเพศสภาพออกมาอย่างครอบคลุมรอบด้าน และ 3) การอาศัยความร่วมมือหรือการมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลิตสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบุคคลเพศหลากหลายให้มีความสร้างสรรค์


Online Dating Experiences With Filtering Profile Photos, Jamie Barrett Jan 2022

Online Dating Experiences With Filtering Profile Photos, Jamie Barrett

Walden Dissertations and Doctoral Studies

This study is a qualitative, phenomenological analysis of male Tinder users’ experiences with women over-filtering their visual self-presentation on Tinder using augmented reality (AR) smartphone technology. Tinder users frequently discuss how their dates do not live up to their profile photographs once they meet face-to-face due to the proliferation of filtered photos on dating apps and social media to make themselves appear more attractive. Augmented reality, Tinder, social media, and smartphone filtering are all ingrained in pop culture, yet have not been previously studied. Eight male Tinder users were recruited and interviewed. Coding and thematic analysis were used in this …


Thailand Generation Z Consumers’ Brand Perception Of Bonchon Restaurantin Thailand, Aditep Jirattikorn Jan 2022

Thailand Generation Z Consumers’ Brand Perception Of Bonchon Restaurantin Thailand, Aditep Jirattikorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The present study is dedicated to investigating the Thailand generation z consumer’s brand perception of the brand Bonchon. This study aims to learn how generation z in Thailand perceives all aspects of the brand Bonchon in addition, this study also aims to cover whether Korean pop culture has an effect on how the consumer perceives the brand. Generation z participants in Thailand (n=227) who is a customer of Bonchon were asked to complete the questionnaire. The questionnaire is designed to discover respondents' cognitive, emotional, language, and actions toward the brand Bonchon. The research adopted certain theories on branding and consumer …


Perception Of Women Entrepreneurs On Social Media Use For Marketing Communication In Qatar, Aisha Ali A.T.Al-Khulaifi Jan 2022

Perception Of Women Entrepreneurs On Social Media Use For Marketing Communication In Qatar, Aisha Ali A.T.Al-Khulaifi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to understand the social media use of women entrepreneurs for marketing communication in Qatar. It is based on a qualitative approach, using an in-depth, semistructured interview. Participants were ten women entrepreneurs who have been running their businesses for at least six years, aged between 25 and 45. This research employed a question guideline as the research instrument based on five questions such as reasons for using social media for marketing, usage of social media for marketing, benefits, challenges, and professional benefits. The findings showed that the reasons for social media usage focus on ease of access and …


The Influence Of Perceived Risk And Perceived Value On Consumer Adoption Of Cryptocurrency, Athit Rodpangtiam Jan 2022

The Influence Of Perceived Risk And Perceived Value On Consumer Adoption Of Cryptocurrency, Athit Rodpangtiam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research is to study the perceptions of risk and value of cryptocurrency adopters from the social media platform Reddit by assessing the influence of Perceived Risk (PR) and Perceived Value (PV) on their intention to adopt cryptocurrency. Demographic factors of (Gender, Age, Education Level, Income, Investment Experience) were analyzed as control variables. The study within this paper was conducted with a quantitative approach through the utilization of a survey technique. Data was gathered through purposive sampling, and 200 respondents from the Cryptocurrency News & Discussion subreddit were studied among a sample of 1444 respondents. The data …


East Asian Tourists’ Exposure To Social Media Advertising, Attitude, And Their Purchasing Behavior With Hotels In Bangkok, Chaitach Sirisachdecha Jan 2022

East Asian Tourists’ Exposure To Social Media Advertising, Attitude, And Their Purchasing Behavior With Hotels In Bangkok, Chaitach Sirisachdecha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The ultimate goal of this research was to study the correlations between East Asian tourists' exposure to social media advertisements by hotels in Bangkok, their attitude toward the advertisements, and their purchasing behavior. The primary reason for conducting this study is the COVID-19 pandemic's effect on the hospitality industry within Bangkok and the expectation of an increase in the tourist population visiting Bangkok at the end of 2022 and the beginning of 2023. East Asian tourists were targeted for this study because they have historically been the demographic that had most visited Thailand. Two hundred respondents were requested to complete …


Source Characteristics, Attitude, And Purchase Intention Toward Fashion Product With Inclusive Advertising, Diskul Skuldist Jan 2022

Source Characteristics, Attitude, And Purchase Intention Toward Fashion Product With Inclusive Advertising, Diskul Skuldist

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research was conducted in a quantitative manner. The research objectives were to explore and to test the relationships of source characteristics, attitudes toward inclusive advertising of fashion products and purchase intention toward fashion product with inclusive advertising among generation Z and Y with an inclusive model, Asianna Scott as a research subject. 213 respondents were acquired in total. The findings showed that Miss Scott received a positive score in all characteristics. The respondents indicated that they would have a positive attitude toward inclusive fashion advertising. The respondents also revealed that they would have a positive purchase intention toward fashion …


Credibility Of Travel Influencer On Millennial Traveling Behavior, Papitchayapa Boonsub Jan 2022

Credibility Of Travel Influencer On Millennial Traveling Behavior, Papitchayapa Boonsub

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study was to understand the credibility of travel influencers among millennial travelers and how they motivate millennial travelers' travel behavior. It is based on a qualitative methodology that involves use of in-depth interviews. Twelve millennial travelers both domestic and international between the ages of 25 and 40 were interviewed. They had to organize the trip within a year and follow to travel influencers. This study employed a question guideline as the research instrument based on four dimension which are demographics and media usages, attitude towards travel influences, source of credibility, and travel behavior. The findings revealed …


The Influence Of Perceived Value, User Engagement, And Emotions On Usage Intention Of Thai Tiktok Users, Phakkhaporn Dancharoenpol Jan 2022

The Influence Of Perceived Value, User Engagement, And Emotions On Usage Intention Of Thai Tiktok Users, Phakkhaporn Dancharoenpol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research were to explore perceived value, user engagement, emotions, and usage intention of Thai TikTok users, as well as to investigate the influence of perceived value, user engagement, and emotions on TikTok usage intention. An online survey was employed to collect data from 289 participants who were TikTok users, aged between 18-38 years old. The findings showed that the respondents had high perceived value (M = 4.01), high engagement (M = 3.78), emotions (M = 3.75), and high usage intention (M = 3.97) towards TikTok. Furthermore, the results of the multiple regression analysis depicted that perceived …


Perceived Image Of Samui Island From Local Stakeholders, Ponatip Phetrat Jan 2022

Perceived Image Of Samui Island From Local Stakeholders, Ponatip Phetrat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to explore the perceived image of Samui island from local stakeholders. An in-depth interview was selected as the research instrument for this study. The data is collected from 15 respondents who were local stakeholders of Samui island, they are those who live and work in Samui for more than 10 years, aged between 24-45 years old. The findings indicated that according to brand associations in terms of attributes the respondents perceived Samui island as “beach” “nature” and “cultural tourist destination” also, respondents perceived Samui as having “friendly” “lively” “complicated” and “easy-going” personalities. In terms …


Brand Image Of Nike Products Among Consumer Generation Z In Thailand, Zhefu Murong Jan 2022

Brand Image Of Nike Products Among Consumer Generation Z In Thailand, Zhefu Murong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to study the brand image of Nike products among consumer generation Z in Thailand. Based on the quantitative research approach, two hundred of Nike's current consumers aged between 18 to 25 years old in Thailand, who had purchased/owned Nike’s products before, were asked to complete an online questionnaire to study the brand image. The research findings illustrated that most of Nike's generation Z consumers considered Nike to own a positive brand image. The result of the study in each brand image factor shows that most of the respondents have positive attitude toward Nike whether …


กระบวนการสร้างสรรค์และการเล่าเรื่องผ่านภาพยนตร์โฆษณาไทย ที่ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ Come Back 2021, ไอรดา ชูรัตน์ Jan 2022

กระบวนการสร้างสรรค์และการเล่าเรื่องผ่านภาพยนตร์โฆษณาไทย ที่ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ Come Back 2021, ไอรดา ชูรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาไทย ที่ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเล่าเรื่องภาพยนตร์โฆษณาไทย ที่ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการสื่อสารที่เอื้อให้ภาพยนตร์โฆษณาไทย ได้รับการยกย่องในมาตรฐานระดับนานาชาติ จากการศึกษาภาพยนตร์โฆษณาไทย COME BACK 2021 ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) บุคคลเบื้องหลังความสำเร็จรางวัลคานส์ ไลออนส์ (Cannes Lions) หมวดเอนเตอร์เทนเมนท์ (Entertainment) ได้แก่ นักสร้างสรรค์ (Creative) บริษัทตัวแทนโฆษณา TBWA Thailand ผู้กำกับจากสุเนต์ตา เฮ้าส์ และกรรมการตัดสินผลงานโฆษณาระดับนานาชาติ ประกอบกับการศึกษาข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของผลงานประกอบด้วย 1) ความเชื่อใจในการสร้างสรรค์ 2) จุดร่วมกันความคิดเห็นก่อนเริ่มกระบวนการ 3) การชี้นำแนวความคิดด้วยไอเดียที่แข็งแกร่ง 4) การตรวจสอบความคิดระหว่างการสร้างสรรค์ 5) การคัดเลือกผู้กำกับที่มีความเชี่ยวชาญ 6) การพัฒนาชิ้นงานตามความคิดเห็นของผู้กำกับ (2) รูปแบบการเล่าเรื่องภาพยนตร์โฆษณาประกอบด้วยลักษณะ 5 ต. 1) ตลกด้วยบทถ่ายทำและนักแสดง 2) แตกต่างจากแบรนด์คู่แข่ง 3) ตอบปัญหาผู้บริโภคด้วยสินค้า 4) ติดตามการเล่าเรื่องที่สร้างอารมณ์ร่วม 5) ตอกย้ำด้วยข้อความหลักแบรนด์ (3) ปัจจัยการสื่อสารที่เอื้อให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติประกอบด้วย 1) ถ่ายทอดความเชื่อของแบรนด์ที่ชัดเจน 2) มอบคุณค่าให้ผู้รับชม 3) ขายของอย่างมีศักยภาพ 4) สร้างอารมณ์ร่วมให้ผู้รับชม 5) คุณภาพการถ่ายทำ


พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน, คุณากร จันทร์ไพศรี Jan 2022

พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน, คุณากร จันทร์ไพศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน 2) เพื่อสำรวจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน 3) เพื่อสำรวจความตั้งใจซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงานต่อความตั้งใจซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน โดยเป็นวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างผู้หญิง ที่มีอายุระหว่าง 22-41 ปี และมีการซื้อสติกเกอร์ไลน์ อย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อ 3 เดือน จำนวน 205 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงวัยทำงานมีความชื่นชอบสติกเกอร์ไลน์ในรูปแบบสไตล์น่ารัก และชอบคาแรคเตอร์สติกเกอร์ไลน์ แบบผู้หญิง และมีพฤติกรรมการซื้อสติกเกอร์ไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสติกเกอร์ไลน์ที่นำมาวิเคราะห์ 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ลักษณะเฉพาะของคาแรคเตอร์ 2) คุณค่าทางประโยชน์ใช้สอย 3) คุณค่าทางสังคม 4) คุณค่าทางอารมณ์ 5) ความพึงพอใจของผู้ซื้อ 6) ความภักดีของแบรนด์/ครีเอเตอร์ เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธ์ถดถอย พบว่า ตัวแปร 4 ตัวที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน เรียงลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อยที่สุด ประกอบด้วย ความพึงพอใจของผู้ซื้อ คุณค่าทางอารมณ์ ความภักดีที่มีต่อแบรนด์/ครีเอเตอร์ ลักษณะเฉพาะของคาแรคเตอร์ ขณะที่ตัวแปร อีก 2 ตัว ได้แก่ คุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอย และคุณค่าทางสังคม ไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสติกเกอร์ไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน


การสื่อสารอัตลักษณ์ของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลดนตรี Wonderfruit, วรณัน ปิญญาวงค์ Jan 2022

การสื่อสารอัตลักษณ์ของผู้เข้าร่วมงานเทศกาลดนตรี Wonderfruit, วรณัน ปิญญาวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสาร อัตลักษณ์ และประสบการณ์อัตลักษณ์ของผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรี Wonderfruit จากการรวบรวมและศึกษาข้อมูลด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการสื่อสารอัตลักษณ์รวมถึงตัวตนรวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เข้าร่วมงาน ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารอัตลักษณ์และประสบการณ์ตัวตนของผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีแบ่งออกเป็น เป็น 2 ระยะ มีสองบทบาทในการสื่อสารตัวตนของผู้เข้าร่วมงาน Wonderfruit: กลุ่มที่ 1 เป็นตัวตนของ "ผู้นำ" และ "อิสระ" สำหรับผู้เข้าร่วมที่ค้นหาข้อมูลการเข้าร่วมด้วยตนเอง มีอำนาจคัดเลือกกลั่นกรองข้อมูล สามารถคิด วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการเข้าร่วมเทศกาลดนตรีได้ด้วยตนเอง และกลุ่มที่ 2 ตัวตนของผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีในฐานะ "ผู้พึ่งพา" และ "เพื่อน" กลุ่มผู้เข้าร่วมที่มีเพื่อนและบุคคลใกล้ชิดต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาลดนตรี Wonderfruit กลุ่มนี้มักจะได้รับข้อมูลจากเพื่อนและคนใกล้ชิด ประสบการณ์ตัวตนของผู้เข้าร่วม จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เข้าร่วมงาน Wonderfruit ส่วนใหญ่ พบว่าผู้เข้าร่วมมีประสบการณ์ทั้งหมด 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประสบการณ์ตัวตนของการเป็น “การมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อน” และ “คนรักเพื่อน” ข้อสุดท้ายคือประสบการณ์ตัวตนของการเป็น “ผู้แสวงหาประสบการณ์ใหม่ทางดนตรี” คือเน้นสัมผัสหรือเข้าร่วมดูสถานที่ โปรดักชั่น บรรยากาศด้วยตนเอง ผู้เข้าร่วมกำลังแสวงหาความรู้ใหม่ทางดนตรี ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ผู้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีกลุ่มนี้ต้องการสัมผัสประสบการณ์ดนตรีใหม่ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้และแสวงหาเพิ่มเติม


Collaboration Literacy In Technical Communication: Using Workplace-Based Teamwork Practices And Technologies To Teach Distributed Knowledge Work, Marcy Bock Eastley Jan 2022

Collaboration Literacy In Technical Communication: Using Workplace-Based Teamwork Practices And Technologies To Teach Distributed Knowledge Work, Marcy Bock Eastley

Graduate Research Theses & Dissertations

Workplace changes and the continuing evolution of how we define and practice technical communication require that we consider collaboration in ways we may not have imagined ten, five or even two years ago. The unexpected COVID-19 pandemic pushed our world and collaboration into additional and unanticipated directions. Since one of our responsibilities as educators is to prepare our students for success in the workplace and beyond, we must take a closer look at how we understand and teach collaboration in our classrooms. While collaboration appears in existing technical communication pedagogical models, it has been viewed as an element of social …


Identifying The Relationship Between Page Content And Title, Yabo Ornella Detchou Jan 2022

Identifying The Relationship Between Page Content And Title, Yabo Ornella Detchou

Senior Projects Spring 2022

This project seeks to find the similarity score between content on the page and title using cosine similarity from a word2vec model. Frequent words and randomly chosen words from each article were analyzed and compared against the title using three samples. Frequent words were found to have a higher similarity score with the title than random words. Word frequency helps you identify the most relevant keyword on the page. The bigger goal of the project is to develop a keyword suggestion tool. Identifying which keywords are most relevant in writing content is the first step.


Women In American Pop Music: Christina Aguilera’S Impact On Cultural Narratives, Chin Wai (Rosie) Wong Jan 2022

Women In American Pop Music: Christina Aguilera’S Impact On Cultural Narratives, Chin Wai (Rosie) Wong

Undergraduate Honors Theses

Pop music as a mainstream medium is often more enjoyed than critically studied. Former studies and literatures point out a major issue that many American female pop music artists face. These artists are often confined in a box that reduces their full human-being attributes to a narrowed view, where their identity is portrayed in a diminishing and inaccurate way. Despite this narrowed narrative of what a woman should be, this box has become a norm that many female artists must adhere to in order to achieve mainstream success. This paper responds to this phenomenon by analyzing Christina Aguilera’s music, spanning …


อิทธิพลของแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมในอินสตาแกรมรีลส์ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภค, ปฤณ มุ่งประสิทธิชัย Jan 2022

อิทธิพลของแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมในอินสตาแกรมรีลส์ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภค, ปฤณ มุ่งประสิทธิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจของการใช้ Instagram Reels การมีส่วนร่วม และพฤติกรรมซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภค (ได้แก่ ความตั้งใจซื้อซ้ำ และความภักดีต่อตราสินค้า) และ 2) อิทธิพลของแรงจูงใจของการใช้ Instagram Reels และการมีส่วนร่วม ต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ จาก 1) กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงอายุ 23 – 30 ปี ที่เป็นผู้ติดตาม มีส่วนร่วมใน Instagram Reels และเคยซื้อสินค้าตราสินค้า Lookbooklookbook ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 203 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงอายุ 23 – 30 ปี ที่เป็นผู้ติดตาม มีส่วนร่วมใน Instagram Reels และเคยซื้อสินค้าตราสินค้า Mitr ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 213 คน รวมทั้งหมด 416 คน ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจของการใช้ Instagram Reels การมีส่วนร่วม และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคของตราสินค้า Lookbooklookbook และตราสินค้า Mitr แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยแรงจูงใจของการใช้ Instagram Reels ด้านการส่งเสริมตนเอง การหลีกหนี การจัดการข้อมูล และด้านความทันสมัย มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการมีส่วนร่วม และการมีส่วนร่วมด้านการแสดงออกมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคทั้งด้านความตั้งใจซื้อซ้ำและความภักดีต่อตราสินค้า ในขณะที่แรงจูงใจของการใช้ Instagram Reels ด้านความบันเทิงมีอิทธิพลทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้ แรงจูงใจด้านการส่งเสริมตนเอง และการจัดการข้อมูลยังมีอิทธิพลโดยตรงกับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคอีกด้วย