Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2017

Keyword

Articles 31 - 60 of 93

Full-Text Articles in Education

มุมห้องเรียน : สอนอ่านสะกดคำด้วยสื่อทำมือ, ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร Jul 2017

มุมห้องเรียน : สอนอ่านสะกดคำด้วยสื่อทำมือ, ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เปิดประเด็น : พัฒนาการรู้เรื่องการอ่านอย่างไรให้สำเร็จ, นาทพงศ์ หนูสวัสดิ์ Jul 2017

เปิดประเด็น : พัฒนาการรู้เรื่องการอ่านอย่างไรให้สำเร็จ, นาทพงศ์ หนูสวัสดิ์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต, ชนิตา รักษ์พลเมือง, สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, รังสรรค์ มณีเล็ก, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล Jul 2017

การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต, ชนิตา รักษ์พลเมือง, สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, รังสรรค์ มณีเล็ก, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยแบบผสมวิธีเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2546-2556 ศึกษาความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู การศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต พ.ศ.2557-2566และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต ผู้วิจัยใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็น (PNI modified) ด้านการผลิต การใช้ การพัฒนาครู และคุณลักษณะของครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์แนวโน้มและความต้องการในอนาคต (Trend Analysis) การจัดทำวงล้ออนาคต (Futures Wheel Technique) และการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ว่า ในด้านการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวนนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีในสถาบันผลิตครูเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าตั้งแต่ปีการศึกษา 2553-2556 การใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีปัญหาด้านการบริหารงานบุคคล ความก้าวหน้าและมั่นคงในการทำงาน และจรรยาบรรณวิชาชีพครู ส่วนการพัฒนาครูมีปัญหาเชิงระบบที่สำคัญ คือ การพัฒนาครูไม่ยึดสมรรถนะ เน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ ขาดนวัตกรรมการพัฒนาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสู่มืออาชีพ ไม่มีระบบการพัฒนาครูใหม่โดยเฉพาะครูผู้ช่วย ขาดระบบเชื่อมโยงระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็นในอนาคต พบว่า สิ่งที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนมากที่สุดในด้านการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การมีระบบติดตามและประเมินผลการผลิตครูที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ (PNI modified = 1.01) การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในเชิงคุณภาพ (PNI modified = 0.91) และการที่ระบบการผลิตครูสามารถดึงดูดคนดีคนเก่ง มีใจรักวิชาชีพครู มาเป็นครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI modified = 0.71) ในด้านความต้องการจำเป็นในการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนมาก คือ การมีระบบครูพี่เลี้ยงที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ปฏิบัติในช่วงแรก (PNI modified = 0.78) การมอบหมายภาระงานให้กับครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสม (PNI modified = 0.73) สำหรับผลการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคตที่สำคัญ คือ การพัฒนาครูให้มีความเชื่อมโยงกับคุณภาพการผลิตบัณฑิตและการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของครู การพัฒนาครูให้มีจรรยาบรรณวิชาชีพครูและจิตวิญญาณความเป็นครูซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นครู


การพัฒนาฐานความรู้สุขศึกษาและพลศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ภารดี ศรีลัด, นาตยา ปิลันธนานนท์ Jul 2017

การพัฒนาฐานความรู้สุขศึกษาและพลศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ภารดี ศรีลัด, นาตยา ปิลันธนานนท์

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาฐานความรู้สุขศึกษาและพลศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับครู อาจารย์ ผู้สอนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา 2) เพื่อประเมินรูปแบบการใช้ฐานความรู้ ฯ มีขั้นตอนการวิจัย 3 ดังนี้ 1) ขั้นเตรียมการพัฒนาฐานความรู้ ฯ 2) ขั้นออกแบบและพัฒนาฐานความรู้ ฯ 3) ขั้นการประเมินรูปแบบการใช้ฐานความรู้ ฯ กลุ่มตัวอย่างคือ ครู อาจารย์ ผู้สอนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ฐานความรู้ ฯ จำนวน 226 คน และตอบแบบสอบถาม จำนวน 49 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เข้าเยี่ยมชมและประเมินฐานความรู้ ฯ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดย ผู้วิจัยส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูลและรายละเอียดการเข้าเยี่ยมชมและประเมินเว็บไซต์ฐานความรู้ ฯ ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคมถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2558 เป็นช่วงเวลาทั้งสิ้น 3 เดือนการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) ฐานความรู้ ฯ ที่พัฒนาขึ้นไว้บนเว็บไซต์ http://www.satitchula.org/p/ ประกอบด้วยจำนวน 8 เมนูหลัก คือ เมนูหลักสูตร เมนูแผนการสอน เมนูวิธีการสอน เมนูการวัดและประเมินผล เมนูแบบฝึกและแบบทดสอบ เมนูเกมและเพลง เมนูวารสารและบทความ เมนูสมาคมวิชาชีพ 2) ผลการประเมินรูปแบบการนำไปใช้ สรุปได้ดังนี้ เมนูหลักสูตรใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลและใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร เมนูแผนการสอนใช้เป็นตัวอย่างการจัดกิจกรรมแนวทางการสอนหรือประกอบการสอน เมนูวิธีการสอนใช้เป็นตัวอย่างการจัดกิจกรรมหรือแนวทางการสอน เมนูการวัดและประเมินผล ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการวัดและประเมินผล เมนูแบบฝึกและแบบทดสอบ เมนูเกมและเพลง ใช้ประกอบการเรียนการสอนนิสิต นักศึกษา เมนูวารสารและบทความ ใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า สืบค้น หรืออ้างอิง เมนูสมาคมวิชาชีพใช้เป็นช่องทางติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว ประกาศต่างๆหรือประชาสัมพันธ์ ครู อาจารย์ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อฐานความรู้ ฯ ในระดับมากที่สุด ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านการใช้ในการจัดการเรียนการสอน และด้านเทคโนโลยีและรูปแบบการนำเสนอ …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก, ภารดี อนันต์นาวี Jul 2017

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก, ภารดี อนันต์นาวี

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน และ3. เพื่อตรวจสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน จากการสุ่มแบบเจาะจง การสอบถามครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก จำนวน 742 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie & Morgan (1970, pp. 607 -610) โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และสนทนากลุ่มผู้ปฎิบัติ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์โปรแกรม LISREL การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน มี 4 ด้าน ได้แก่ 1)ประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา 2) คุณลักษณะด้านความรู้ของนักเรียน 3) คุณลักษณะด้านกระบวนการของนักเรียน 4) คุณลักษณะด้านเจตคติของนักเรียน และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน มี 2 ด้าน ได้แก่ 1. สมรรถนะของสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) ทิศทางของสถานศึกษา 2) หลักสูตร 3) โครงสร้าง 4) บุคลากร 5) งบประมาณ 6) สถานที่ 7) วัสดุอุปกรณ์ 8) เครือข่าย และ 2. กระบวนการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การดำเนินการ 3) การตรวจสอบ 4) การปรับปรุง 2. ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ปัจจัยสมรรถนะของสถานศึกษา และปัจจัยกระบวนการดำเนินงาน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยสมรรถนะของสถานศึกษา …


ผลของการใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยที่มีต่อความคิดเชิงมโนทัศน์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, สุพัตรา อุตมัง Jul 2017

ผลของการใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยที่มีต่อความคิดเชิงมโนทัศน์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, สุพัตรา อุตมัง

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์กับรูปแบบการสอนแบบปกติในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยที่มีต่อความคิดเชิงมโนทัศน์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ปีการศึกษา 2558 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ ? คณิตศาสตร์ จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน รวม 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์ จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความคิดเชิงมโนทัศน์ และแบบวัดความคงทนในการเรียนรู้ ฉบับที่ 1 เมื่อการทดลองสิ้นสุด และฉบับที่ 2 หลังการวัดครั้งที่ 1 เป็นเวลา 14 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์ และแผนการเรียนรู้แบบปกติ ใช้ระยะเวลาการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ รวม 16 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t ( t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มทดลองมีความคิดเชิงมโนทัศน์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองมีความคิดเชิงมโนทัศน์หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มทดลองมีความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การวิเคราะห์สถานการณ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่และการนำเสนอนวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร, พัชราภรณ์ พุทธิกุล Jul 2017

การวิเคราะห์สถานการณ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่และการนำเสนอนวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร, พัชราภรณ์ พุทธิกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย โดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่ และ 2) นำเสนอนวัตกรรมการอบรมเลี้ยงดูเพื่อสร้างความผูกพันกับเด็กต่ำกว่า 2 ปี ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ผลกระทบ และแนวทางการส่งเสริมสวัสดิภาพ คุ้มครองและพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย ระยะที่ 2 พัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพัน กลุ่มตัวอย่าง คือ เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ 264 คน จาก 4 ภูมิภาค และตัวแทนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 27 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่มียายเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมากที่สุด สาเหตุหลักของการเลี้ยงดูเด็กโดยบุคคลอื่นคือการย้ายถิ่นไปทำงานในเขตเมืองของพ่อแม่ และการหย่าร้าง พ่อแม่สามารถเลี้ยงบุตรหลังคลอดได้เพียงสามเดือนแรกเท่านั้น ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องการให้มีข้อมูลทะเบียนครอบครัวและศูนย์เลี้ยงดูเด็กในชุมชนเป็นที่ต้องการมากที่สุด และควรจัดให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยศูนย์พัฒนาครอบครัว 2) คู่มือนวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพันประกอบด้วยชุดเอกสารให้ความรู้ผู้เลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี และกิจกรรมการเล่นและเกมปฏิสัมพันธ์


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างมหานครน่าอยู่อย่างยั่งยืน, ดรุณี ไรเปี่ยม, นันทวัฒน์ เจริญกุล Jul 2017

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างมหานครน่าอยู่อย่างยั่งยืน, ดรุณี ไรเปี่ยม, นันทวัฒน์ เจริญกุล

Journal of Education Studies

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างมหานครน่าอยู่ อย่างยั่งยืน ทำการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งวิธีเชิงปริมาณและคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการศึกษา เอกสาร สัมภาษณ์และแบบสอบถามผู้บริหารโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 827 คน จาก 168 โรงเรียน ผลการวิจัยได้ชุดกลยุทธ์ชื่อว่า ?กลยุทธ์ประสานพลังเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของโรงเรียนสู่มหานครที่ยั่งยืน? ประกอบด้วย (1) เสริมสร้างความเข้มแข็งของการบริหารเพื่อพัฒนานักเรียนและบุคลากรให้เป็นพลเมืองคุณภาพของ มหานคร (2) เสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดการในโรงเรียนด้วยหลักประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุดสู่การพัฒนา มหานครน่าอยู่อย่างยั่งยืน และ (3) เสริมพลังชุมชนเชิงรุก บุกเบิกแหล่งเรียนรู้เชิดชูวัฒนธรรมมหานครน่าอยู่อย่างยั่งยืน เงื่อนไขการนำกลยุทธ์ไปใช้ (1) โรงเรียนควรมีการเตรียมความพร้อมในด้านครูและบุคลากร (2) ผู้บริหาร เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (3) การบริหารโรงเรียน เน้นการจัดสรรทรัพยากรและการพัฒนาครู (4) สภาพแวดล้อม ในโรงเรียน (5) ความพร้อมของนักเรียน และ (6) การเตรียมหลักสูตร


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Jul 2017

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


คิดนอกกรอบ : ศิลปะเพื่อการพัฒนาภายในตน, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ Jul 2017

คิดนอกกรอบ : ศิลปะเพื่อการพัฒนาภายในตน, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานและการอิงสถานที่เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของเด็กอนุบาล, พัชราภรณ์ พุทธิกุล, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร Jul 2017

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานและการอิงสถานที่เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของเด็กอนุบาล, พัชราภรณ์ พุทธิกุล, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานและการอิงสถานที่ และ 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานและการอิงสถานที่เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของเด็กอนุบาล ระยะที่ 2 การนำร่องรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 27 คน โรงเรียนวัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา ใช้เวลาทดลอง 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดพฤติกรรม แบบประเมินพฤติกรรม และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) รูปแบบการเรียนการสอน มี 5 ส่วน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 6 ขั้น คือ ขั้นสำรวจประเด็นปัญหาในท้องถิ่น ขั้นเชื่อมโยงประสบการณ์ ประสานพลังความคิด ขั้นสืบค้นหลักฐาน ขั้นพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม ขั้นสร้างความคิดรวบยอด และขั้นเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ และ 2) ผลของการใช้รูปแบบพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


แนะนำหนังสือ, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ Jul 2017

แนะนำหนังสือ, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ผลของการใช้เทคนิคการตั้งคำถาม 5w 1h ในสื่อภาพยนตร์เพื่อการเรียนรู้ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, ประณาท เทียนศรี Jul 2017

ผลของการใช้เทคนิคการตั้งคำถาม 5w 1h ในสื่อภาพยนตร์เพื่อการเรียนรู้ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, ประณาท เทียนศรี

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความคิดรวบยอดและศึกษาการตอบคำถามจากเทคนิคการตั้งคำถาม 5W 1H จากจากการใช้สื่อภาพยนตร์เพื่อการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ 5W 1H วิชาสาระหนัง แบบสะท้อนการเรียนรู้จากภาพยนตร์ แบบประเมินการคิดวิเคราะห์และการคิดรวบยอดโดยใช้รูปแบบการวิจัยกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เทคนิคการคิดวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีถอดความ ตีความ และแปลความหมายของแบบสะท้อนความรู้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และคิดรวบยอดของนักเรียนภายหลังได้รับการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และคิดรวบยอดโดยใช้เทคนิคการตั้งคำถาม 5W 1H พบว่านักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และคิดรวบยอดสูงกว่าก่อนเรียน โดยร้อยละ 100.00 มีระดับผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80.00 ของคะแนนเต็ม 2.นักเรียนสามารถตอบคำถามผ่านเทคนิคการตั้งคำถามแบบ 5W 1H อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งคำถามเกี่ยวกับ Where, How และ What นักเรียนสามารถตอบได้มากที่สุดตามลำดับ และคำถามเกี่ยวกับ When นักเรียนตอบได้น้อยที่สุด


การนำเครือข่ายทางสังคมออนไลน์มาใช้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ศิลปะสำหรับผู้เรียนในยุคการศึกษา 4.0, โสมฉาย บุญญานันต์ Jul 2017

การนำเครือข่ายทางสังคมออนไลน์มาใช้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ศิลปะสำหรับผู้เรียนในยุคการศึกษา 4.0, โสมฉาย บุญญานันต์

Journal of Education Studies

ในยุคที่การแสวงหาความรู้ทำได้รวดเร็ว เนื่องจากความรู้มีลักษณะเปิดและเข้าถึงได้สะดวกผ่านอุปกรณ์สมัยใหม่ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ทำให้คุณลักษณะของผู้เรียนเปลี่ยนไป เป็นผู้เรียนที่มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษาจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนจากรูปแบบเก่า ในห้องเรียนที่มีครูเป็นผู้บรรยาย สาธิต มอบหมายงาน ให้นักเรียนปฏิบัติ เป็นการศึกษายุคใหม่ ที่เน้นการแสวงหา มีความท้าทายความคิด เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ได้เอง สามารถสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ต่อยอดความรู้เดิม พัฒนานวัตกรรมที่เหมาะกับตนเอง และสังคม การจัดการเรียนรู้ศิลปะสำหรับผู้เรียนในยุคการศึกษา 4.0 นำเอาหลักการที่สัมพันธ์กับความต้องการของคนในยุคสมัยใหม่ ที่คุ้นชินกับการทำงานโลกออนไลน์ที่มีอุปกรณ์สมัยใหม่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอน โดยใช้สังคมออนไลน์ และสื่อออนไลน์มาสร้างกิจกรรม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสนุก และเกิดทักษะในการสืบค้นความรู้ด้วยตนเอง และเกิดเป็นสังคมการเรียนรู้ศิลปะผ่านโลกออนไลน์ที่เหมาะสำหรับผู้สอน และผู้เรียนในยุคดิจิทัล


บนเส้นทางที่สร้างด้วยหัวใจ...สู่ก้าวที่มั่นคงในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย, ดวงใจ บุญยะภาส Apr 2017

บนเส้นทางที่สร้างด้วยหัวใจ...สู่ก้าวที่มั่นคงในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย, ดวงใจ บุญยะภาส

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยของศึกษานิเทศก์ภาษาไทยที่ได้รับรางวัลส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยประสบผลสำเร็จ เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study Research) ผ่านการสัมภาษณ์และการศึกษาเอกสาร ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ภาษาไทยที่ได้รับรางวัลส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยประสบผลสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2555-2559 จำนวน 7 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ศึกษานิเทศก์ทั้ง 7 คน ใช้กระบวนการวิจัยในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยของครู โดยเริ่มจากการสำรวจข้อมูลปัญหาและความต้องการพัฒนาของครู จากนั้นจึงวางแผนแก้ไขปัญหา ดำเนินงานพัฒนาตามแผนที่กำหนดโดยใช้การนิเทศและนวัตกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ ประกอบกับการมีส่วนร่วมในการทำงาน และการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยของครู คือ การสร้างแรงจูงใจภายใน ได้แก่ ความมุ่งมั่น ตั้งใจ และความภาคภูมิใจในวิชาชีพ สำหรับแรงจูงใจภายนอก ได้แก่ นโยบาย สภาพปัญหา และรางวัล


การตั้งโจทย์ปัญหาในชั้นเรียนคณิตศาสตร์, ไพโรจน์ น่วมนุ่ม Apr 2017

การตั้งโจทย์ปัญหาในชั้นเรียนคณิตศาสตร์, ไพโรจน์ น่วมนุ่ม

Journal of Education Studies

ทักษะการแก้ปัญหาเป็นเป้าหมายสำคัญของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การตั้งปัญหาเป็นแนวคิดที่ได้นักการศึกษาคณิตศาสตร์แนะนำให้ครูคณิตศาสตร์นำไปใช้ เพื่อพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาให้กับผู้เรียน การตั้งปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นการกำหนดปัญหาคณิตศาสตร์ขึ้นมาใหม่จากบริบทซึ่งอาจเป็นข้อมูล สถานการณ์ หรือจากการปรับเปลี่ยนข้อมูลหรือเงื่อนไขจากปัญหาเดิม การตั้งปัญหาและการแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกัน กิจกรรมการตั้งปัญหาสามารถดำเนินการควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาซึ่งสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อน ระหว่างและหลังการแก้ปัญหา ในบทความนี้ จะนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมการตั้งปัญหา รวมถึงประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาในการออกแบบและจัดกิจกรรมการตั้งปัญหา คือ ครูควรกำหนดบริบทของการตั้งปัญหาให้มีความหลากหลายทั้งที่เป็นบริบทคณิตศาสตร์และบริบทในชีวิตประจำวัน ให้ความสำคัญกับการตั้งประเด็นปัญหาหรือคำถามมากกว่าการหาวิธีการหาคำตอบของปัญหาที่ตั้งขึ้น การสนับสนุนและการช่วยเหลือของครูของขณะทำกิจกรรม และการกำหนดเวลาของการทำกิจกรรมให้เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการนำไปปรับใช้กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาต่อไป


การเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านปัญหาในชีวิตจริงที่เน้นการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์, ศันสนีย์ เณรเทียน Apr 2017

การเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านปัญหาในชีวิตจริงที่เน้นการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์, ศันสนีย์ เณรเทียน

Journal of Education Studies

ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในขณะที่ทักษะการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์จะช่วยให้ผู้เรียนเห็นความเชื่อมโยงของความรู้คณิตศาสตร์กับชีวิตจริงและเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีความหมาย การพัฒนาทักษะทั้งสองให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ แนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนา คือ การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นกระบวนการในการแก้ปัญหาที่สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหาในชีวิตจริงโดยใช้ความรู้และวิธีการทางคณิตศาสตร์ เริ่มจากการให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาที่เป็นปัญหาในชีวิตจริงที่ผู้เรียนต้องใช้การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหา โดยผู้เรียนต้องมีการแปลงสถานการณ์ปัญหาในชีวิตจริง ให้เป็นสถานการณ์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ดำเนินการแก้ปัญหาและหาคำตอบเชิงคณิตศาสตร์ และนำคำตอบที่ได้ไปแปลงเป็นคำตอบปัญหาในชีวิตจริง ทั้งนี้ การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เป็นแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้กับผู้เรียนในทุกระดับชั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา นักการศึกษาคณิตศาสตร์ได้ออกแบบขั้นตอนหรือวงจรของการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ไว้อย่างหลากหลาย โดยในบทความนี้จะนำเสนอวงจรของการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์บางวงจร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ โดยตัวอย่างปัญหาในชีวิตจริงที่นำเสนอ เป็นปัญหาที่ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาในการแก้ปัญหา เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนที่จะนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้เหมาะสมกับบริบทไทย


การวิจัยและพัฒนากระบวนการการฝึกอบรมครูประจำการด้านการประเมินเด็กปฐมวัยโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะทางปัญญา, ชนิพรรณ จาติเสถียร Apr 2017

การวิจัยและพัฒนากระบวนการการฝึกอบรมครูประจำการด้านการประเมินเด็กปฐมวัยโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะทางปัญญา, ชนิพรรณ จาติเสถียร

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนากระบวนการฝึกอบรมครูประจำการด้านการประเมินเด็กปฐมวัยโดยใช้จิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะทางปัญญา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมการ 2) การพัฒนาและวิจัยระยะที่ 1 สร้างกระบวนการฝึกอบรมครูประจำการด้านการประเมินเด็กปฐมวัยโดยใช้จิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะทางปัญญา 3) การพัฒนาและวิจัยระยะที่ 2 นำร่องกระบวนการฝึกอบรมฯ 4) การพัฒนาและวิจัยระยะที่ 3 ทดลองใช้กระบวนการฝึกอบรมฯ และ 5) การนำเสนอกระบวนการฝึกอบรมฯ ฉบับสมบูรณ์ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูประจำการที่สอนในระดับปฐมวัยที่มีวุฒิปริญญาตรี หรือสูงกว่าด้านการศึกษาปฐมวัย หรือเป็นครูที่ปฏิบัติงานและมีประสบการณ์สอนในโรงเรียนอนุบาลมากกว่า 1 ปี เครื่องมือหลักที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบประเมินความสามารถของครูประจำการในการประเมินเด็กปฐมวัย แนวคำถามเพื่อเก็บข้อมูลครูในประเด็นการปฏิบัติงานด้านการประเมินเด็กปฐมวัยและการตระหนักรู้ และแนวคำถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของกระบวนการฝึกอบรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ด้วยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการฝึกอบรมครูประจำการด้านการประเมินเด็กปฐมวัยโดยใช้จิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะทางปัญญาเป็นกระบวนการพัฒนาครู เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงมิติด้านในหรือด้านจิตใจไปสู่มิติด้านนอก โดยสร้างให้เกิดการตระหนักรู้ ประกอบกับการสนับสนุนการปฏิบัติงานของครูผ่านการชี้แนะ ซึ่งกระบวนการฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความสำคัญ (2) ความเชื่อพื้นฐาน (3) วัตถุประสงค์ (4) หลักการ (5) กลยุทธ์ที่ใช้ในการจัด (6) เนื้อหาการเรียนรู้ (7) ขั้นตอน (8) กิจกรรม (9) ระยะเวลา และ (10) การประเมินผล ใช้เวลาทั้งสิ้น 30 สัปดาห์ การประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการฝึกอบรมฯ เป็นการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อกระบวนการฝึกอบรมฯ ซึ่งพบว่า ครูจำนวนทั้ง 8 คน ทุกคนมีความพึงพอใจในกระบวนการฝึกอบรมฯ ในภาพรวม และครูจำนวน 7 จาก 8 มีระดับความสามารถในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยสูงขึ้น


การพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษาอย่างรอบด้านผ่านห้องเรียนดนตรี, กีรติ คุวสานนท์ Apr 2017

การพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษาอย่างรอบด้านผ่านห้องเรียนดนตรี, กีรติ คุวสานนท์

Journal of Education Studies

ดนตรีนับว่าเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยใช้เสียงในการถ่ายทอดและเป็นสื่อเสริมแต่งให้เกิดกิจกรรม ประเพณี พิธีกรรม รวมถึงวัฒนธรรมต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้สร้างสรรค์ ทั้งในรูปแบบของบทเพลง เครื่องดนตรี วิธีบรรเลง รวมถึงบทเพลงที่ทำให้เกิดสื่อกลางทางสังคม วิชาดนตรีเป็นวิชาแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญกับผู้เรียน ซึ่งมุ่งเน้นพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม รวมถึงทักษะต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ ทั้ง 5 ด้าน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความ สามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ทั้งนี้จากความสำคัญดังกล่าวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักการศึกษาจะต้องบูรณาการวิชาดนตรีกับกลุ่มสาระวิชาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะและ ภาษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คุณภาพชีวิตและจิตใจของผู้เรียนให้สมบูรณ์นำไปสู่การพัฒนาคน ชุมชน สังคม และชาติต่อไป


การพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, พรพิมล รอดเคราะห์ Apr 2017

การพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, พรพิมล รอดเคราะห์

Journal of Education Studies

การจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาระดับพื้นฐานที่มุ่งพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทยโดยมีเป้าหมายคือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนสามารถรับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในได้เป็นอย่างดี ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม โดยยึดหลักทางสายกลาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยมีเงื่อนไขพื้นฐาน2 ส่วน คือ ความรู้และคุณธรรม ซึ่งเป็นสาระที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เพื่อเป็นเครื่องมือหรือทักษะที่สามารถนำไปใช้พัฒนาสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์อื่น ๆ ได้อีกต่อไป ดังนั้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นหลักคิดหลักปฏิบัติที่สามารถช่วยให้เด็ก และเยาวชนผู้เป็นพลเมืองของประเทศสามารถพัฒนาคุณสมบัติอันพึงประสงค์ที่เป็นเป้าหมายของการศึกษาตามที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 จากความสำคัญดังกล่าวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในองค์ประกอบของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เห็นความสำคัญและคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เห็นแนวทางในการนำไปใช้ในบริบทของตนเอง รวมถึงในการน้อมนำหลักปรัชญามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยสอดแทรกและผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนานักเรียน อันส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการฝึกฝนการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เรียนรู้การรู้จักพึ่งตนเอง รู้จักคิด รู้จักวางแผน และการปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนและสังคม


การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ, ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล, สมยศ ชิดมงคล Apr 2017

การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ, ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล, สมยศ ชิดมงคล

Journal of Education Studies

การคิดเชิงระบบเป็นทักษะทางปัญญาที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดเชิงระบบ เป็นผู้ที่สามารถมองลึกลงไปเกินกว่าเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและเป็นการมองให้เห็นถึงโครงสร้างของเหตุการณ์นั้น การคิดเชิงระบบเป็นการมองแบบองค์รวมและเห็นความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ ตลอดจนความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลที่ส่งผลกระทบต่อกันและกัน ซึ่งจะช่วยให้บุคคลมีความเข้าใจปัญหาและโครงสร้างของปัญหาอย่างลึกซึ้ง และนำไปสู่การตัดสินใจแก้ปัญหาที่แปลกแตกต่างไปจากเดิม โดยเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาใหม่หรือไม่ทำให้ปัญหารุนแรงกว่าเดิม การคิดเชิงระบบไม่สามารถพัฒนาขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่การคิดเชิงระบบต้องได้รับการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบในการศึกษาไทย ยังไม่ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับมโนทัศน์ของการคิดเชิงระบบ และแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงระบบรวมทั้งนำเสนอประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบในสถาบันการศึกษา


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองของเด็กปฐมวัย, สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู Apr 2017

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองของเด็กปฐมวัย, สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู

Journal of Education Studies

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองในเด็กปฐมวัย นับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมือง โดยกำหนดแนวทางในการจัดประสบการณ์ภายใต้มโนทัศน์สองประการ ประกอบด้วยมโนทัศน์ของพลเมือง ความเป็นพลเมือง และพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย กับ มโนทัศน์การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองกับการศึกษาปฐมวัยในสี่แนวทาง ดังนี้ 1) การจัดประสบการณ์ผ่านการเล่นเพื่อเรียนรู้ความเป็นพลเมือง ซึ่งเป็นการพัฒนาปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การรู้จักแบ่งปัน การเรียนรู้การเป็นผู้นำและผู้ตาม การเรียนรู้กฎและกติกาต่าง ๆ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและความเป็นจริง 2) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองดีมีคุณภาพ โดยเป็นการพัฒนาเด็กในด้านคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองที่มีความสามารถทั้งในด้านของสติปัญญาและทักษะ หรือ สมรรถนะการอยู่ร่วมกันในสังคม 3) การจัดประสบการณ์ผ่านบทบาทของครูผู้ปลูกฝังคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยในบทบาทของครูผู้เป็นประชาธิปไตย และบทบาทของผู้ใหญ่ที่มีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย และ 4) การจัดประสบการณ์เพื่อสร้างคุณค่าความเป็นพลเมืองผ่านกระบวนการทางสังคมในสถานศึกษาปฐมวัยด้วยรูปแบบการสังเกตเลียนแบบจากตัวแบบกับการบอกหรือสอนกันโดยตรงเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองที่ดี ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองของเด็กปฐมวัย ครู ผู้ปกครอง และโรงเรียนต้องร่วมกันพิจารณาเนื้อหา แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนามโนทัศน์ ทักษะ และคุณลักษณะของเด็กให้มีความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยที่มีความตระหนักและเห็นคุณค่าในตนเองและส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และการมีบทบาทที่เหมาะสมในสังคม


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Apr 2017

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เข้าใจความเป็นอัจฉริยะผ่านศาสตร์แห่ง "ความไม่ธรรมดา", อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร Apr 2017

เข้าใจความเป็นอัจฉริยะผ่านศาสตร์แห่ง "ความไม่ธรรมดา", อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร

Journal of Education Studies

ศาสตร์แห่งความไม่ธรรมดา (science of extraordinariness) ถูกพัฒนาขึ้นจากการศึกษาหาข้อสรุปจากความคล้ายคลึงกันที่ปรากฏให้เห็นในชีวิตวัยต้น บุคลิกภาพ และเส้นทางชีวิตแห่งความสำเร็จของอัจฉริยะบุคคล ในแง่มุมของพัฒนาการ ความฉลาดเลิศล้ำและความเชี่ยวชาญชำนาญในศาสตร์และศิลป์ใด ๆ ก็ตาม มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพันธุกรรม การฝึกฝนอบรม และค่านิยมทางสังคม อาศัยมุมมองเชิงระบบ (systemic view) ความไม่ธรรมดาขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์เชิงพลวัตระหว่างบุคคล ศาสตร์หรือศิลป์ และเวทีตัดสิน ผลการศึกษาอัจฉริยะบุคคลตัวอย่าง นำมาซึ่งบทเรียนแห่ง 3 คุณลักษณะที่บุคคลทั่วไป สามารถนำมาปรับใช้กับตนเองให้สามารถเดินบนเส้นทางความเชี่ยวชาญของตนสู่ความสำเร็จที่เหนือธรรมดา โดยการให้คุณค่าต่อไอเดียที่ไม่ธรรมดา (wonderful ideas) กับการส่งเสริมความเป็นตัวของตัวเอง (autonomy) ในเด็กปฐมวัย ถือเป็นปัจจัยประกอบที่มีความสำคัญยิ่งตามทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาของ Jean Piaget


“...ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู...”: บทบาทหน้าที่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา, จินตนา สรายุทธพิทักษ์, สริญญา รอดพิพัฒน์ Apr 2017

“...ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู...”: บทบาทหน้าที่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา, จินตนา สรายุทธพิทักษ์, สริญญา รอดพิพัฒน์

Journal of Education Studies

การปฏิรูปการศึกษาให้กับเยาวชนถือว่าเป็นภารกิจสำคัญของประเทศที่ต้องเร่งพัฒนาให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ โดยการปฏิรูปหลักสูตร การเรียนการสอน การพัฒนาครู การกระจายอำนาจ การสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ในภาพรวมของการศึกษาไทยภายใต้ยุทธศาสตร์การปฏิรูปในช่วงเวลาที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นนัยสำคัญด้านประสิทธิผลของการจัดการศึกษาว่ายังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายการปฏิรูปการศึกษาบัญญัติไว้ เกิดเป็นวิกฤตทางการศึกษาที่ส่งผลต่อความสามารถและคุณภาพในการแข่งขันระดับสากล ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ??ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู?? มาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน บทความนี้ จึงได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของครู ในการสร้างบรรยากาศที่ทำให้เด็กมีความสุข และอยากมาโรงเรียน ด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การจัดโปรแกรมการเรียน การจัดบรรยากาศเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่อันดีในโรงเรียน รวมทั้งมีหลักจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตในห้องเรียน


การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน: รอยเชื่อมต่อที่ราบรื่นจากชั้นอนุบาลสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, ปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์ Apr 2017

การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน: รอยเชื่อมต่อที่ราบรื่นจากชั้นอนุบาลสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, ปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์

Journal of Education Studies

การเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของชีวิตเด็กปฐมวัย เด็กจะสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงและก้าวผ่านช่วงรอยต่อระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและชั้นประถมศึกษาไปได้อย่างราบรื่นเพียงใด ขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบริบทต่าง ๆ รอบตัวเด็ก ทั้งในระดับครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ซึ่งมีอิทธิพลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก การสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาระหว่างชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาที่ราบรื่นเกิดจากการทำงานร่วมกันผ่านการพัฒนา 3 มิติของความพร้อม คือ ความพร้อมของเด็ก ความพร้อมของโรงเรียน และความพร้อมของครอบครัว บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับครูอนุบาล ครูประถมศึกษา ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบริบทต่าง ๆ รอบตัว และการสร้างรอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 รวมทั้งนำเสนอแนวทางการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อที่ราบรื่นระหว่างชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา ซึ่งเป็นการสนับสนุนและช่วยเหลือเด็กให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และประสบความสำเร็จในการเรียนรู้


การสังเกตอย่างใคร่ครวญเพื่อส่งเสริมความสามารถในการไตร่ตรองตนเองของครูปฐมวัย, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ Apr 2017

การสังเกตอย่างใคร่ครวญเพื่อส่งเสริมความสามารถในการไตร่ตรองตนเองของครูปฐมวัย, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ

Journal of Education Studies

การสังเกตอย่างใคร่ครวญเป็นเครื่องมือพัฒนาความสามารถในการไตร่ตรองตนเองของครูปฐมวัย โดยสร้างโอกาสให้ได้ฝึกฝนการสังเกตใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การสังเกตตนเอง ผ่านการฝึกสติรู้ตัวและการทำงานศิลปะ และการสังเกตสิ่งภายนอก โดยสังเกตสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ก้อนหิน ต้นไม้ และสังเกตเด็กอนุบาลซึ่งมีชีวิตจิตใจ ทั้งนี้จำเป็นต้องใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้ครูเคลื่อนระดับจากการไตร่ตรองตนเองในระดับผิวไปสู่ระดับที่ลึกขึ้น ร่วมกับการใช้บันทึกสะท้อนการเรียนรู้รายบุคคลซึ่งเป็นเทคนิคที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาความสามารถในการไตร่ตรองตนเอง โดยตั้งคำถามให้ครูได้ทบทวนเหตุผลหรือเบื้องหลังการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ประกอบกับการให้ข้อมูลป้อนกลับเป็นระยะในระหว่างการเรียนรู้ และในวงสุนทรียสนทนาช่วยให้ครูเข้าใจกระบวนในการไตร่ตรองตนเองมากขึ้น คุณภาพการประเมินเด็กจะเกิดขึ้นได้ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของครูในการดำเนินการอย่างเป็นระบบและปราศจากอคติ เพื่อให้ได้ข้อมูลพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กตามความเป็นจริง อันจะนำไปสู่การออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและความสนใจของเด็กในชั้นเรียนอย่างแท้จริงโดยอาศัยการไตร่ตรองตนเองอย่างสม่ำเสมอ การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่มีความเป็นธรรมจะเกิดขึ้นได้ เมื่อครูตระหนักรู้ต่ออคติ ความคาดหวัง และความลำเอียงที่มีอยู่ภายในใจ จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูต้องห้อยแขวนการตัดสินใดใดที่เกิดขึ้นในระหว่างการสังเกตเด็ก ครูต้องเปิดใจ รับฟัง ไม่รีบตัดสิน และไวต่อการตอบสนองต่อเด็ก ซึ่งสร้างให้เกิดความรู้สึกเห็นใจและความจริงใจในปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างครูที่มีสติรู้ตัวและเด็กในชั้นเรียน


มุมห้องเรียน : หนทางสู่การพัฒนาเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย, อัญญมณี บุญซื่อ, อนุรุทธ์ เปรมนิรันดร, สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน Apr 2017

มุมห้องเรียน : หนทางสู่การพัฒนาเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย, อัญญมณี บุญซื่อ, อนุรุทธ์ เปรมนิรันดร, สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน

Journal of Education Studies

No abstract provided.


คิดนอกกรอบ : การผลิตครู: มองให้เห็นทั้งระบบก่อนคิดจะรื้อทิ้งทั้งระบบ, อรรถพล อนันตวรสกุล Apr 2017

คิดนอกกรอบ : การผลิตครู: มองให้เห็นทั้งระบบก่อนคิดจะรื้อทิ้งทั้งระบบ, อรรถพล อนันตวรสกุล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูประถมศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติในบริบทโรงเรียนของประเทศไทย, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง Apr 2017

การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ผ่านกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูประถมศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติในบริบทโรงเรียนของประเทศไทย, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง

Journal of Education Studies

การประถมศึกษาเป็นระดับการศึกษาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดีมีศักยภาพสำหรับอนาคต การจัดการเรียนรู้ระดับนี้จึงเป็นไปอย่างบูรณาการเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถ เจตคติ คุณลักษณะ และพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้เรียนที่จะเรียนรู้ต่อไปในระดับที่สูงขึ้น และเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาตามหลักการและเหตุผลของการจัดการประถมศึกษาในระดับสากลมีความชัดเจนในระยะเวลากว่า 40 ปี นับตั้งแต่มีการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ระยะหลังซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรโดยเน้นจัดการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระ ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ปรัชญาแนวคิดและหลักการทางการประถมศึกษาจึงมีความคลาดเคลื่อนไป ส่งผลต่อสถาบันผลิตครู และหน่วยงานใช้ครูที่ละเลยความสำคัญของการฝึกหัดครูประถมศึกษาเพื่อสอนในโรงเรียนประถมศึกษา อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผู้ที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นความสำคัญของการผลิตและพัฒนาครูประถมศึกษามากยิ่งขึ้น แสดงให้เห็นได้จากการกำหนดกรอบอัตราบรรจุครูสาขาการประถมศึกษา และสถาบันครุศึกษาได้เปิดสอนในหลักสูตรดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น จึงถึงเวลาที่นักการประถมศึกษาจะต้องร่วมกันพัฒนาผู้เรียนทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต รองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และการก้าวสู่ประเทศไทยยุค 4.0 ที่มีเป้าหมายสูงสุดคือการรังสรรค์การเรียนรู้และการดำรงชีวิต บุคคลสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือครูประถมศึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการออกแบบการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยใช้ความรู้ในศาสตร์การสอนประถมศึกษาเป็นพื้นฐานของการคิดและตัดสินใจ ในการจัดการเรียนรู้เพื่อบรรลุตามความมุ่งหวัง และพันธกิจ กระบวนการออกแบบเชิงระบบ ซึ่งประกอบด้วยขั้นวิเคราะห์ ขั้นออกแบบ ขั้นพัฒนา ขั้นนำไปใช้ และขั้นประเมิน เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้เกิดรูปแบบวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ เกิดหน่วยการเรียนรู้ที่ครบวงจรซึ่งมีคุณภาพ สำหรับนำไปใช้พัฒนาและยกระดับคุณภาพผู้เรียน เป็นนวัตกรรมในชั้นเรียนของครูประถมศึกษา และสามารถต่อยอดเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้สู่สังคม