Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2017

ประถมศึกษา

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ, ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล, สมยศ ชิดมงคล Apr 2017

การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ, ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล, สมยศ ชิดมงคล

Journal of Education Studies

การคิดเชิงระบบเป็นทักษะทางปัญญาที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดเชิงระบบ เป็นผู้ที่สามารถมองลึกลงไปเกินกว่าเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและเป็นการมองให้เห็นถึงโครงสร้างของเหตุการณ์นั้น การคิดเชิงระบบเป็นการมองแบบองค์รวมและเห็นความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ ตลอดจนความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลที่ส่งผลกระทบต่อกันและกัน ซึ่งจะช่วยให้บุคคลมีความเข้าใจปัญหาและโครงสร้างของปัญหาอย่างลึกซึ้ง และนำไปสู่การตัดสินใจแก้ปัญหาที่แปลกแตกต่างไปจากเดิม โดยเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาใหม่หรือไม่ทำให้ปัญหารุนแรงกว่าเดิม การคิดเชิงระบบไม่สามารถพัฒนาขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่การคิดเชิงระบบต้องได้รับการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบในการศึกษาไทย ยังไม่ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับมโนทัศน์ของการคิดเชิงระบบ และแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงระบบรวมทั้งนำเสนอประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบในสถาบันการศึกษา


“...ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู...”: บทบาทหน้าที่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา, จินตนา สรายุทธพิทักษ์, สริญญา รอดพิพัฒน์ Apr 2017

“...ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู...”: บทบาทหน้าที่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา, จินตนา สรายุทธพิทักษ์, สริญญา รอดพิพัฒน์

Journal of Education Studies

การปฏิรูปการศึกษาให้กับเยาวชนถือว่าเป็นภารกิจสำคัญของประเทศที่ต้องเร่งพัฒนาให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ โดยการปฏิรูปหลักสูตร การเรียนการสอน การพัฒนาครู การกระจายอำนาจ การสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ในภาพรวมของการศึกษาไทยภายใต้ยุทธศาสตร์การปฏิรูปในช่วงเวลาที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นนัยสำคัญด้านประสิทธิผลของการจัดการศึกษาว่ายังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายการปฏิรูปการศึกษาบัญญัติไว้ เกิดเป็นวิกฤตทางการศึกษาที่ส่งผลต่อความสามารถและคุณภาพในการแข่งขันระดับสากล ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ??ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู?? มาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน บทความนี้ จึงได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของครู ในการสร้างบรรยากาศที่ทำให้เด็กมีความสุข และอยากมาโรงเรียน ด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การจัดโปรแกรมการเรียน การจัดบรรยากาศเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่อันดีในโรงเรียน รวมทั้งมีหลักจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตในห้องเรียน