Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2017

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

ผลของการใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยที่มีต่อความคิดเชิงมโนทัศน์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, สุพัตรา อุตมัง Jul 2017

ผลของการใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยที่มีต่อความคิดเชิงมโนทัศน์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, สุพัตรา อุตมัง

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์กับรูปแบบการสอนแบบปกติในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยที่มีต่อความคิดเชิงมโนทัศน์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ปีการศึกษา 2558 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ ? คณิตศาสตร์ จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน รวม 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์ จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความคิดเชิงมโนทัศน์ และแบบวัดความคงทนในการเรียนรู้ ฉบับที่ 1 เมื่อการทดลองสิ้นสุด และฉบับที่ 2 หลังการวัดครั้งที่ 1 เป็นเวลา 14 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการพัฒนามโนทัศน์ และแผนการเรียนรู้แบบปกติ ใช้ระยะเวลาการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ รวม 16 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t ( t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มทดลองมีความคิดเชิงมโนทัศน์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองมีความคิดเชิงมโนทัศน์หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มทดลองมีความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาออกแบบ, บุญชู บุญลิขิตศิริ Apr 2017

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาออกแบบ, บุญชู บุญลิขิตศิริ

Journal of Education Studies

ความคิดสร้างสรรค์ (creative Thinking) เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาในสิ่งต่าง ๆ เพราะจะทำให้สามารถมองเห็นแนวทาง วิธีการ รวมทั้งโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จ สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญของผู้เรียนที่ประกอบด้วย 4 C ซึ่งได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking), การสื่อสาร (communication), การร่วมมือ (collaboration) และ ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) เพื่อให้ผู้เรียนที่มีทักษะที่สำคัญเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการทำงานและเป็นนวัตกรที่มีประสิทธิภาพต่อไปเมื่อเข้าสู่การประกอบอาชีพในอนาคต โดยรายงานสภาเศรษฐกิจโลกได้กล่าวถึง 10 ทักษะ ที่ตลาดแรงงานโลกต้องการในปี 2020 นั้น ความคิดสร้างสรรค์เป็น 1 ใน 10 ทักษะที่ถูกเสนอขึ้นมา อีกทั้งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เสนอข้อมูลว่า นายจ้างขององค์กรในศตวรรษที่ 21 มีความต้องการให้คนในองค์กรมีทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ มากที่สุด สอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับประเทศไทย 4.0 ที่จะใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ในการพัฒนาประเทศโดยขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการสร้างมูลค่า ความแตกต่าง หรือการต่อยอดในการพัฒนาสินค้าและบริการ เป็นปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (innovation-based economy) ต่อไป