Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 61 - 87 of 87

Full-Text Articles in Education

ผลการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เรื่องเพศศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 2, อุดมชัย มัณยานนท์, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Jan 2020

ผลการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เรื่องเพศศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 2, อุดมชัย มัณยานนท์, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เรื่องเพศศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชายมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชายที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขั้นพื้นฐานแห่งหนึ่ง เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ และ กลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดพฤติกรรมทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศ ด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศ ด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าของกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย การใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสอนเรื่องเพศศึกษา ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ทำให้เกิดความรู้ในเรื่องที่ศึกษารวมทั้งได้ฝึกการใช้เหตุผล และการสังเคราะห์ สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้


ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินของความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัดวิทยาศาสตร์, บุษยารัตน์ จันทร์ประเสริฐ, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, สังวรณ์ งัดกระโทก Jan 2020

ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินของความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัดวิทยาศาสตร์, บุษยารัตน์ จันทร์ประเสริฐ, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, สังวรณ์ งัดกระโทก

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินของความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัดวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) ประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัดวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ข้อสอบรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1,089 ข้อ ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) และผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความสอดคล้องฯ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัด วิเคราะห์ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน (inter-rater reliability) ด้วยสถิติแคปปาของฟลีส (Fleiss’ kappa statistic) และสหสัมพันธ์ภายในชั้น (intra-class correlation: ICC) และวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคะแนนความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัด
ผลการวิจัย พบว่า 1) ในส่วนของการประเมินระดับความซับซ้อนทางปัญญา มีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินที่วิเคราะห์ด้วยสถิติแคปปาของฟลีส (Fleiss’ kappa statistic: Kf) อยู่ในระดับดี (Kf = 0.510) 2) ในส่วนของการประเมินระดับความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัด มีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินที่วิเคราะห์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ภายในชั้น (intra-class correlation: ICC) อยู่ในระดับดีมาก (ICC = 0.954, Sig. = .000) และ 3) ข้อสอบร้อยละ 92.93 มีความสอดคล้องในแนวเดียวกันกับตัวชี้วัดที่ระบุ โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสอดคล้องฯ อยู่ระหว่าง 3.20–4.00


การพัฒนารายวิชาเครื่องแต่งกายละครไทย สำหรับนักศึกษานาฏศิลป์ระดับปริญญาบัณฑิต, ฉัตรชัย เคียรประเสริฐ, อินทิรา พรมพันธุ์ Jan 2020

การพัฒนารายวิชาเครื่องแต่งกายละครไทย สำหรับนักศึกษานาฏศิลป์ระดับปริญญาบัณฑิต, ฉัตรชัย เคียรประเสริฐ, อินทิรา พรมพันธุ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารายวิชาเครื่องแต่งกายละครไทยสำหรับนักศึกษานาฏศิลป์ระดับปริญญาบัณฑิต ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จาการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญหรือศิลปินในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายละครไทยและผู้เชี่ยวชาญในการสอนการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายละครไทย และนักศึกษานาฏศิลป์ระดับปริญญาบัณฑิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบสอบถามความคาดหวัง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษานาฏศิลป์ระดับปริญญาบัณฑิตมีความคาดหวังเกี่ยวกับรายวิชาว่าควรแทรกความรู้ในด้านอื่นเพื่อพัฒนาฝีมือสู่การสร้างสรรค์ในเชิงอนุรักษ์ (M = 5.00) รองลงมาคือชอบการลงมือปฏิบัติงานจริงและนำความรู้หลังการเรียนไปต่อยอดสร้างอาชีพได้ (M = 4.98 ) 2) ผู้เชี่ยวชาญหรือศิลปินในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายละครไทยและผู้เชี่ยวชาญในการสอน ให้คำแนะนำการพัฒนารายวิชาในองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายการสอน 2) เนื้อหาสาระ 3) กิจกรรมการเรียนการสอน 4) วิธีการสอน 5) การประเมินผล และ 6) แหล่งอ้างอิง ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า เพื่อให้ผู้เรียนสามารถุนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพได้


การใช้ผังความคิดกราฟิกแบบร่วมมือออนไลน์ในการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เชิงธุรกิจและจริยธรรมของนักศึกษาปริญญาตรี, พรรณิสรา จั่นแย้ม, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ Jan 2020

การใช้ผังความคิดกราฟิกแบบร่วมมือออนไลน์ในการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เชิงธุรกิจและจริยธรรมของนักศึกษาปริญญาตรี, พรรณิสรา จั่นแย้ม, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชุดกิจกรรมที่ใช้ผังความคิดกราฟิกแบบร่วมมือออนไลน์ในการเรียน โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เชิงธุรกิจและจริยธรรมของนักศึกษาปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มีตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ จำนวน 61 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 27 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เชิงธุรกิจและจริยธรรม 2) ผังความคิดกราฟิกแบบร่วมมือออนไลน์ 3) ระบบจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมที่ใช้ผังความคิดกราฟิกแบบร่วมมือออนไลน์ในการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เชิงธุรกิจและจริยธรรมหลังเรียนแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เชิงธุรกิจและจริยธรรมเฉลี่ยหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมจิตสาธารณะ, กนกวรรณ วังมณี Jan 2020

การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมจิตสาธารณะ, กนกวรรณ วังมณี

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับจิตสาธารณะ 2) พัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมจิตสาธารณะ และ 3) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1–4 คณะครุศาสตร์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดจิตสาธารณะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักศึกษาครูมีคะแนนจิตสาธารณะโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.51, SD = 1.26) แต่มีด้านการถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.23, SD = 1.36)
2. โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ครูผู้มีจิตสาธารณะ 2) หน้าที่ของครู 3) จิตสาธารณะสานสัมพันธ์และ 4) โครงการจิตสาธารณะสร้างสรรค์สังคม รวมเวลาในการฝึกอบรม 18 ชั่วโมง และผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (M = 4.07, SD = 1.9)
3. ผลการใช้โปรแกรมการฝึกอบรม นักศึกษาครูมีคะแนนจิตสาธารณะหลังอบรม (M = 4.60, SD = 0.51) สูงกว่าก่อนอบรม (M = 4.04, SD = 0.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมทางกายตามทฤษฎีการกำกับตนเองที่มีต่อการลดพฤติกรรมติดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ปวีร์ ม่วงชื่น, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Jan 2020

ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมทางกายตามทฤษฎีการกำกับตนเองที่มีต่อการลดพฤติกรรมติดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ปวีร์ ม่วงชื่น, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมติดเกมก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและของกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมติดเกมหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมติดเกมก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง ประเมินโดยผู้ปกครอง ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2–3 จำนวน 50 คน โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน ผู้วิจัยใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายตามทฤษฎีการกำกับตัวเองที่มีต่อการลดพฤติกรรมติดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินการติดเกม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมติดเกมหลังการทดลองของกลุ่มทดลองต่ำกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมติดเกมหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมติดเกมหลังการทดลองของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมติดเกมซึ่งประเมินโดยผู้ปกครอง หลังการทดลองของกลุ่มทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


ผลของการใช้ชุดกิจกรรมการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายสำหรับนิสิตในรายวิชากิจกรรมพลศึกษาสำหรับครู, เกรียงไกร อินทรชัย, บัณฑิต เทียบทอง Jan 2020

ผลของการใช้ชุดกิจกรรมการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายสำหรับนิสิตในรายวิชากิจกรรมพลศึกษาสำหรับครู, เกรียงไกร อินทรชัย, บัณฑิต เทียบทอง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมส่งเสริมสมรรถภาพทางกายแบบสถานี และ2) ศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมดังกล่าวต่อนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 25 คน ตัวอย่างถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ และกลุ่มทดลองได้รับชุดกิจกรรมส่งเสริมสมรรถภาพทางกายแบบสถานีที่สร้างขึ้นเป็นเวลา 8 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ 5 รายการ ก่อนและหลังการทดลอง โดยผู้วิจัยพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมสมรรถภาพทางกายแบบสถานี และใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมสมรรถภาพทางกายแบบสถานี ประกอบด้วย กิจกรรมเสริมสร้างความอ่อนตัว กิจกรรมเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กิจกรรมเสริมสร้างความอดทนของกล้ามเนื้อ และกิจกรรมเสริมสร้างความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบสมรรถภาพทางกายรายการลุก-นั่ง 60 วินาทีดันพื้น 30 วินาที นั่งงอตัวไปข้างหน้าและวิ่งระยะไกลของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย และ 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบสมรรถภาพทางกายหลังการทดลองทุกรายการ ยกเว้นค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาโมเดลทำนายแผนการเรียนในการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม: การประยุกต์ใช้เทคนิคเอ็นเซ็มเบิ้ลโหวตร่วมกันระหว่างเครือข่ายใยประสาท ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน และต้นไม้ตัดสินใจ, ธนพัฒน์ ทองมา Jan 2020

การพัฒนาโมเดลทำนายแผนการเรียนในการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม: การประยุกต์ใช้เทคนิคเอ็นเซ็มเบิ้ลโหวตร่วมกันระหว่างเครือข่ายใยประสาท ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน และต้นไม้ตัดสินใจ, ธนพัฒน์ ทองมา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของโมเดลทำนายแผนการเรียนของนักเรียนในการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยเครือข่ายใยประสาท ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน ต้นไม้ตัดสินใจ และเอ็นเซ็มเบิ้ลโหวต และ 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลทำนายแผนการเรียนของนักเรียนในการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยแต่ละเทคนิค ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายมัธยม ตัวอย่าง คือ นักเรียนรุ่นที่ 50 ถึง รุ่นที่ 53 จำนวน 787 คน ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยสรุปว่า โมเดลทำนายแผนการเรียนที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยแต่ละเทคนิคมีประสิทธิภาพการทำนายไม่แตกต่างกันมากนัก สำหรับโมเดลที่มีประสิทธิภาพการทำนายดีที่สุด คือ โมเดล S-E ซึ่งเป็นโมเดลที่สามารถใช้ทำนายกลุ่มการเรียนที่เหมาะสมกับนักเรียนใน 2 กลุ่มการเรียนหลัก ได้แก่กลุ่มการเรียนวิทย์ และกลุ่มการเรียนศิลป์ โดยมีประสิทธิภาพของการทำนายด้วยเทคนิคเอ็นเซ็มเบิ้ลโหวตได้ถูกต้องสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80.05 นอกจากนี้ยังพบว่า ผลการเรียนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการเลือกแผนการเรียนเป็นอย่างมาก


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาครู, พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ, วิชัย เสวกงาม, อัมพร ม้าคนอง Jan 2020

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาครู, พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ, วิชัย เสวกงาม, อัมพร ม้าคนอง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาครู และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 พัฒนากระบวนการเรียนการสอน และขั้นตอนที่ 2 ทดลองใช้กระบวนการที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่าง คือ นักศึกษาครู จำนวน 55 คน จาก 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และ กลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการจับสลาก ระยะเวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาครู ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจโดยใช้ปัญหาในบริบทจริง ขั้นที่ 2 สืบค้นและใช้ความรู้ในสถานการณ์ที่กำหนด ขั้นที่ 3 นำความรู้ไปฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 2) หลังใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มทดลองมีความสามารถในการทำวิจัยสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


เรื่องเล่าบำบัดกับการพัฒนาสุขภาวะ, สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล, กรรณิการ์ สัจกุล, อัควิทย์ เรืองรอง Jan 2020

เรื่องเล่าบำบัดกับการพัฒนาสุขภาวะ, สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล, กรรณิการ์ สัจกุล, อัควิทย์ เรืองรอง

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของเรื่องเล่าบำบัด การเรียนรู้ของผู้ป่วย และนำเสนอแนวทางการพัฒนาสุขภาวะผู้ป่วย เป็นงานวิจัยเชิงวิเคราะห์บทเรียนจากประสบการณ์ตรงของชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรังผ่านเรื่องเล่า จำนวน 11 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเชิงบำบัดใช้ สถิติเชิงบรรยายสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณและการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ < br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) เรื่องเล่ามีบทบาทในการพัฒนาสุขภาวะ ประกอบด้วย บทบาทในการเยียวยาการเสริมพลัง การสะท้อนและแก้ไขปัญหา การสื่อสาร การศึกษา การยืนหยัดในอุดมการณ์และอัตลักษณ์แห่งตน 2) การเรียนรู้ของผู้ป่วย คือ การเรียนรู้คุณค่าของชีวิต ได้แก่ เรียนรู้ที่จะเข้าใจยอมรับ เผชิญกับความเปลี่ยนแปลง การรู้สำนึกในการดูแลเอาใจใส่ของบุคคล รวมถึงการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ และ 3) ความรู้จากการศึกษานำไปพัฒนานักศึกษาแพทย์ พยาบาล และผู้บำบัด ผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตรของการศึกษาในระบบ และใช้การเล่าเรื่องหรือเรื่องเล่าต้นแบบจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาบุคคลและองค์กร


การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน, ธีติ พฤกษ์อุดม, โสมฉาย บุญญานันต์ Jan 2020

การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน, ธีติ พฤกษ์อุดม, โสมฉาย บุญญานันต์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของอัตลักษณ์ศิลปหัตถกรรมภาคใต้ (2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าเรื่องอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มเยาวชนจังหวัดสงขลา อายุ 15-25 ปีเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับอัตลักษณ์และเพื่อพัฒนากิจกรรม คือ(1)แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญการจัดกิจกรรม best practice (2) แบบสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน (3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมที่มีแนวปฏิบัติที่ดีเครื่องมือวัดคุณภาพของกิจกรรม คือ (1) แบบประเมินเรื่องการเห็นคุณค่า (2) แบบสัมภาษณ์ผู้ร่วมกิจกรรม (3) แบบประเมินความพึงพอใจผู้ร่วมกิจกรรม และ (4) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติด้วยสถิติ t-test dependent และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1.รูปแบบของอัตลักษณ์ที่สำคัญคือ มีการใช้วัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นภาคใต้สีสันสดใส ลวดลายได้แรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติในท้องถิ่น 2. กิจกรรมศิลปะที่พัฒนาขึ้นมี 6 กิจกรรมคือ (1) เข็มกลัดจากหนังตะลุง (2) ผ้ายกกระดาษ (3) ตกแต่งหม้อสทิงหม้อ (4) สมุดสวยด้วยลายว่าวเบอร์อามัส (5) ตกแต่งแหวนด้วยวิธีการทำเครื่องถมเมืองนคร (6) ด้ามจับปากกาสานย่านลิเภา ใช้เวลา 2 ชั่วโมงต่อกิจกรรม 3.ผลจากการนำกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้พบว่า เยาวชนที่ร่วมกิจกรรมเห็นคุณค่าหลังการทำกิจกรรม (M = 1.93) สูงกว่าก่อนทำกิจกรรม (M = 41.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


แนวทางการปลูกฝังค่านิยมไทยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติผ่านการขัดเกลาตามแนวพุทธศาสนา, พระมหาเดวิทย์ หมายมั่น, จรูญศรี มาดิลกโกวิท Jan 2020

แนวทางการปลูกฝังค่านิยมไทยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติผ่านการขัดเกลาตามแนวพุทธศาสนา, พระมหาเดวิทย์ หมายมั่น, จรูญศรี มาดิลกโกวิท

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ค่านิยมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากการขัดเกลาตามแนวพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับค่านิยมไทยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและ 2) เสนอแนวทางการปลูกฝังค่านิยมไทยของ คสช. ผ่านการขัดเกลาตามแนวพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยม ตอนปลาย จำนวน 399 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบวัดค่านิยมไทย 12 ประการ และแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ค่านิยม ภาพรวมมีผลการเรียนรู้ค่านิยมค่อนข้างสูง และพบว่าสอดคล้องกับค่านิยมไทยของ คสช. จำนวน 10 ข้อ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีจำนวน 3 ด้าน คือ (1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตนเอง (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว คือ การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน คือ 1. ครูเป็นแบบอย่างที่ดี 2. นโยบายของโรงเรียน 3. บรรยากาศโรงเรียน 3) แนวทางการปลูกฝังค่านิยมไทยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติผ่านการขัดเกลาตามแนวพุทธศาสนา ดังนี้ (1) ควรจัดอบรมโดยใช้กิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วงวัย (2) โรงเรียนควรมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้เข้าร่วมอบรมอย่างต่อเนื่องประจำทุกปี (3) ควรมีพระวิทยากรช่วยสอนและแนะนำในโรงเรียน (4) โรงเรียนควรสร้างบรรยากาศโรงเรียนและจัดสถานที่อบรมให้เหมาะสม


การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ด้วยการเรียนรู้แบบการจัดการความรู้, วิลาวัณย์ จารุอริยานนท์ Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ด้วยการเรียนรู้แบบการจัดการความรู้, วิลาวัณย์ จารุอริยานนท์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสร้างและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ ด้วยการเรียนรู้แบบการจัดการความรู้การวิจัยแบ่งเป็นระยะที่1ศึกษาความสามารถในการวิเคราะห์ของนักศึกษาครูกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 320 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงทดลองใช้แบบแผนการทดลองแบบ posttest-only nonequivalent control groups designกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เครื่องมือวิจัยคือแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของกลุ่มตัวอย่างต่ำกว่าเกณฑ์ทั้ง 3 ด้าน (65%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยส่วนที่ 1 การจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบการจัดการความรู้มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดปัญหา/สิ่งที่ต้องเรียนรู้ 2) การวางแผนการเรียนรู้ 3) การสร้างความรู้ร่วมกัน 4) การนำเสนอและการนำความรู้ไปใช้และส่วนที่ 2 การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์มี 2 ขั้นตอน คือ การเตรียมความพร้อม และการเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังทดลองกลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการออกแบบแบบเรียนเสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเชิงประสบการณ์ร่วมกับแนวคิดอัตลักษณ์เชิงพื้นที่และแม่แบบว่าด้วยการแสวงหา เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเขียนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนบนพื้นที่สูงภาคเหนือ, สิระ สมนาม Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการออกแบบแบบเรียนเสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเชิงประสบการณ์ร่วมกับแนวคิดอัตลักษณ์เชิงพื้นที่และแม่แบบว่าด้วยการแสวงหา เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเขียนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนบนพื้นที่สูงภาคเหนือ, สิระ สมนาม

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการออกแบบแบบเรียนเสริมทักษะภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเชิงประสบการณ์ร่วมกับแนวคิดอัตลักษณ์เชิงพื้นที่และแม่แบบว่าด้วยการแสวงหา 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนประถมศึกษา 49 คน ครู 9 คน จากโรงเรียนชาติพันธุ์จังหวัดเชียงใหม่ และนักศึกษา 25 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แบบประเมินคุณภาพแบบเรียน แบบทดสอบทักษะการอ่านเขียนภาษาไทยและแบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการออกแบบแบบเรียนประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดกิจกรรม 5 ขั้น ได้แก่ สืบประสบการณ์อัตลักษณ์ถิ่น เติมศาสตร์ศิลป์แม่แบบว่าด้วยการแสวงหา ผลิตภาษาตรึกตรอง กลั่นกรองมโนทัศน์และลงมือปฏิบัติสร้างสรรค์และ 4) การวัดและประเมินผล 2. ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า 1) นักเรียนครูและนักศึกษาร่วมมือจัดกิจกรรมเป็นอย่างดีโดยได้แบบเรียนเสริมทักษะภาษาไทยสำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ 1 เล่ม 2) แบบเรียนมีประสิทธิภาพ 79.81/80.10 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) นักเรียนมีทักษะการอ่านเขียนภาษาไทยสูงกว่าก่อนใช้แบบเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียน ครูและนักศึกษาพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมและต่อแบบเรียนที่ระดับมากที่สุด


ทางเลือกนโยบายส่งเสริมการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมของระบบการดูแลผู้เรียน, นันธีระพร เองไพบูลย์, ชื่นชนก โควินท์ Jan 2020

ทางเลือกนโยบายส่งเสริมการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมของระบบการดูแลผู้เรียน, นันธีระพร เองไพบูลย์, ชื่นชนก โควินท์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาของระบบการดูแลผู้เรียนในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาตัวแบบที่ดีของการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมของระบบการดูแลผู้เรียน และ 3) เพื่อนำเสนอทางเลือกนโยบายส่งเสริมการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมของระบบการดูแลผู้เรียน เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี(mixed method research) ศึกษาสภาพและปัญหาด้วยการส่งแบบสอบถาม ศึกษาตัวแบบที่ดีของการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมของระบบการดูแลผู้เรียน และนำข้อมูลที่ได้มาสู่การนำเสนอทางเลือกนโยบายผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและปัญหาของระบบการดูแลผู้เรียนที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับด้านโครงสร้างขององค์กร บุคลากรการเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจระบบการดูแลผู้เรียนและงบประมาณ 2) ตัวแบบที่ดีของการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมของระบบการดูแลผู้เรียนทำได้ 2 แบบ คือการขับเคลื่อนโดยคณะครูทั้งโรงเรียน และ การขับเคลื่อนโดยครูแกนนำ 3) ทางเลือกนโยบายส่งเสริมการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมของระบบการดูแลผู้เรียน 7 ประการ ได้แก่ (1) ปรับโครงสร้างของบุคลากร (2) สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง (3) ส่งเสริมความต่อเนื่องในการดำเนินงาน (4) เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการกำกับติดตาม (5) ทบทวนการคัดสรรตำแหน่งผู้บริหาร (6) ส่งเสริมการใช้งบสนับสนุนจากท้องถิ่น และ (7) ส่งเสริมการพัฒนาระบบประกันสุขภาพ


การพัฒนากระบวนการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบผสานแนวคิดเพื่อการเสริมสร้างจิตสำนึกการใช้พลังงานไฟฟ้าของผู้พักอาศัยในชุมชนบางกรวย จ.นนทบุรี, อารักข์ หาญสันเทียะ, วีรฉัตร์ สุปัญโญ, อาชัญญา รัตนอุบล Jan 2020

การพัฒนากระบวนการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบผสานแนวคิดเพื่อการเสริมสร้างจิตสำนึกการใช้พลังงานไฟฟ้าของผู้พักอาศัยในชุมชนบางกรวย จ.นนทบุรี, อารักข์ หาญสันเทียะ, วีรฉัตร์ สุปัญโญ, อาชัญญา รัตนอุบล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบผสานแนวคิดเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกในการใช้พลังงานไฟฟ้าของผู้พักอาศัยในชุมชนบางกรวยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นการวางแผน 3) ขั้นปฏิบัติการ 4) ขั้นสังเกตผล 5) ขั้นสะท้อนคิด กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ ประชาชนผู้พักอาศัยในอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรีจำนวน 15 คน ที่เข้าร่วมโดยความสมัครใจเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสังเกตและประเด็นสำหรับการพูดคุยในแต่ละขั้นตอนของการวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการนำผลที่ได้มาเขียนบรรยายรายงานผลการดำเนินงาน และสร้างข้อสรุปกระบวนการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบผสานแนวคิด
ผลการวิจัย พบว่ากระบวนการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบผสานแนวคิดเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกในการใช้พลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นตอนที่1การเตรียมความพร้อมเผชิญปัญหา เป็นการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมและความจำเป็นของการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัดขั้นตอนที่ 2 การสร้างเงื่อนไขให้ตรวจสอบตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ค้นหาสาเหตุของการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างฟุ่มเฟือย และสร้างแผนปฏิบัติการลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ขั้นตอนที่ 3 การให้อิสระในการเรียนรู้เป็นช่วงเวลาที่บุคคลนำแผนปฏิบัติการไปทดลองปฏิบัติด้วยตนเองขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นการสะท้อนคุณค่าที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติและประเมินพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าของตนเองที่เปลี่ยนแปลงไป


สื่อการสอนดนตรีขั้นพื้นฐาน: พหุวัฒนธรรมดนตรีอาเซียน, พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล Jan 2020

สื่อการสอนดนตรีขั้นพื้นฐาน: พหุวัฒนธรรมดนตรีอาเซียน, พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล

Journal of Education Studies

การสอนดนตรีขั้นพื้นฐานแบบพหุวัฒนธรรมทำให้ผู้เรียนพัฒนาสาระทางดนตรีทักษะดนตรีและทักษะทางสังคมวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านแถบอาเซียนโดยใช้สื่อการสอนและสาระทางดนตรีขั้นพื้นฐานที่เหมาะสม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาค้นคว้าการสอนดนตรีแบบพหุวัฒนธรรมดนตรีอาเซียน 2) วิเคราะห์สื่อการสอนดนตรีอาเซียนในการสอนดนตรีขั้นพื้นฐานโดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารการจัดอบรมทางวิชาการดนตรีศึกษาในอาเซียน ปี 2555-2560 ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และสมาคมครูดนตรี(ประเทศไทย) วิทยากรเป็นผู้เชี่ยวชาญทางดนตรีจากสถาบันการศึกษาของประเทศในอาเซียน ผลการวิจัยพบว่า 1) การสอนดนตรีแบบพหุวัฒนธรรมดนตรีอาเซียนด้วยการจัดกิจกรรมทั้ง 6 ด้าน คือ การฟัง การร้องเพลง การเล่นเครื่องดนตรีการเคลื่อนไหวร่างกาย การอ่าน-เขียนโน้ต และการสร้างสรรค์ดนตรีทำให้เข้าใจสาระดนตรีและสังคมวัฒนธรรมของประเทศแถบอาเซียน 2) เพลง เครื่องดนตรีและเทคโนโลยีดนตรีเป็นสื่อการสอนดนตรีขั้นพื้นฐาน ทำให้เกิดความเข้าใจดนตรีและสังคมวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน


กลยุทธ์การบริหารการผลิตบัณฑิตตามแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน, สุชญา สังข์จรูญ, ชญาพิมพ์ อุตสาโห, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jan 2020

กลยุทธ์การบริหารการผลิตบัณฑิตตามแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน, สุชญา สังข์จรูญ, ชญาพิมพ์ อุตสาโห, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารการผลิตบัณฑิตตามแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน และศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์รวมถึงการพัฒนากลยุทธ์ใช้การวิจัยเชิงผสมผสาน โดยวิธีการศึกษาเอกสาร วิเคราะห์และสังเคราะห์กรอบแนวคิด จากนั้นเก็บข้อมูล ยกร่างกลยุทธ์และจัดประชุมสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการคำนวนค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของการบริหารการผลิตบัณฑิต ประกอบด้วยการบริหารหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมนักศึกษา ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบ backward design และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน สำหรับสภาพปัจจุบันด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดการเรียนการสอน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมนักศึกษา กลยุทธ์หลักในการบริหารการผลิตบัณฑิต คือ หลักสูตรที่มุ่งให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อสังคม การบูรณาการการสอนให้สามารถเชื่อมโยงและตัดสินใจ เป็นพลเมืองคุณภาพ และการเสริมกิจกรรมนักศึกษาด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน กลยุทธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บัณฑิต มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีความรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง และมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของสังคมให้มีความเจริญอย่างต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืน


การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองและการใช้ผลลัพธ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะจำเป็นสำหรับครูหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, ปิยนันท์ ฉายานพรัตน์, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองและการใช้ผลลัพธ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะจำเป็นสำหรับครูหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, ปิยนันท์ ฉายานพรัตน์, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สมรรถนะจำเป็นสำหรับครูหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สำนักงาน กศน. (ครูปวช.กศน.) และ 2) พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะจำเป็นสำหรับครูปวช. กศน. ตัวอย่าง คือ ครูปวช. กศน. ในจังหวัดกรุงเทพมหานครนนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และฉะเชิงเทรา จำนวน 22 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะจำเป็นสำหรับครูปวช. กศน. ประกอบด้วย ความสามารถ 5 ด้าน ได้แก่ การออกแบบการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ หลักการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแสวงหาข้อมูลเพื่อเตรียมเนื้อหา การจัดทำแผนจัดการเรียนรู้และการพัฒนาและใช้สื่อการเรียนรู้ และ 2) รูปแบบการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นให้ความสำคัญกับการระบุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสมรรถนะจำเป็นสำหรับครูปวช. กศน. รูปแบบการฝึกอบรมฯ ประกอบด้วยผลลัพธ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ หลักสูตรการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมฯ พบว่า สามารถเสริมสร้างสมรรถนะจำเป็นสำหรับครูปวช. กศน. ได้ซึ่งพิจารณาจากการทดสอบ การลงมือปฏิบัติ และการนำไปใช้จริง โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านทักษะเชิงปฏิบัติการจัดทำชิ้นงาน แผนจัดการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับปานกลางและดี ตามลำดับ การนำไปใช้จริงซึ่งประเมินผลโดยครูปวช. กศน. ผู้บังคับบัญชา และผู้เรียน อยู่ในระดับดี


การใช้ประโยชน์จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน, ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ Jan 2020

การใช้ประโยชน์จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน, ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ

Journal of Education Studies

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ สทศ. ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลให้ดำเนินการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายจากสถานศึกษาหรือผู้เรียนในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน โดยประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในปัจจุบันมีการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ 1) ใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 2) ใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อของสถานศึกษา 3) ใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย 4) ใช้เป็นเป้าหมายหรือข้อมูลบ่งชี้คุณภาพและการพัฒนาการศึกษา 5) พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 6) ใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิจัยทางการศึกษา


Synthesis Study Of Model And Components Of Electronic Performance And Personal Learning Support System To Enhance Competency Of Teacher Professional, Chayakan Keereerat, Jaitip Na-Songkhla, Siridej Sujiva Jan 2020

Synthesis Study Of Model And Components Of Electronic Performance And Personal Learning Support System To Enhance Competency Of Teacher Professional, Chayakan Keereerat, Jaitip Na-Songkhla, Siridej Sujiva

Journal of Education Studies

The objective of this descriptive research was to construct a conceptual framework and a model of support systems that enhance teachers’ competencies in performance and personal learning process.There were 2 phases of study.Phase 1 involved a literature review, survey of stakeholders’attitudes and synthesis of the data to construct a conceptual framework and a model of the support systems.There search instruments consist of 1) the content analysis tables, 2) interview form for specialists and student teacher competency improvement, 3) specialists’ questionnaire for components and processes of the system, 4) evaluation form for the confirmation of the system’s process, and 5) questionnaire …


A Digital Backchannel Enhanced Instructional System Targeting Agentic Engagement In Lecture-Based Learning Environments, Matthew R. Merritt, Athipat Cleesuntorn, Laura Brahmakasikara Jan 2020

A Digital Backchannel Enhanced Instructional System Targeting Agentic Engagement In Lecture-Based Learning Environments, Matthew R. Merritt, Athipat Cleesuntorn, Laura Brahmakasikara

Journal of Education Studies

This research study was designed to examine the influence of a digital backchannelon student agency in a lecture-based learning environment and to develop an instructionalsystem designed to assist instructors in increasing student engagement. The objectives of the study were to determine (1) the ways in which undergraduate students use a digital backchannel, (2) if using a digital backchannel affects agentic engagement, (3) whichfeatures of the digital backchannel affect agentic engagement, and (4) if a lecture system that utilizes a digital backchannel promotes agentic engagement. The study employed a mixed methodology design using a questionnaire to collect quantitative student profile dataand …


A Needs Assessment For Enhancing Creative Problem Solving Of Undergraduate Students, Jitlada Kumnuansin, Jintavee Khlaisang, Prakob Koraneekit Jan 2020

A Needs Assessment For Enhancing Creative Problem Solving Of Undergraduate Students, Jitlada Kumnuansin, Jintavee Khlaisang, Prakob Koraneekit

Journal of Education Studies

The objective of the study was to study the state of problems and opinions in order to develop creative problem-solving skills of undergraduate students. The sample of this study consisted of 55 instructors and 478 undergraduate students. The research instruments consisted of questionnaires. Quantitative data was analyzed by means of descriptive statistics to acquire frequency, percentage, mean and standard deviation, and the use of a Modified Priority Needs Index (PNImodified) technique to prioritize the needs.The results of this research were as follows: 1) the priority needs results of instructorsshowed that the highest index was the ability of students to solve …


แนวคิดและกระบวนการสำคัญในการวิจัยทางการบริหารการศึกษา, ปุณณิฐฐา มาเชค Jan 2020

แนวคิดและกระบวนการสำคัญในการวิจัยทางการบริหารการศึกษา, ปุณณิฐฐา มาเชค

Journal of Education Studies

การวิจัยทางการบริหารการศึกษาเป็นกระบวนการศึกษาค้นหาความรู้แนวคิด หรือวิธีการที่จะทำให้การบริหารการศึกษาประสบความสำเร็จ ที่ช่วยให้ได้สารสนเทศเชิงคุณค่าที่นำไปสู่การตัดสินใจปรับปรุงพัฒนาการบริหารการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา แนวคิดของการวิจัยทางการบริหารการศึกษามีหลายมิติเช่น การศึกษาพฤติกรรมการบริหาร การประยุกต์ทฤษฎีพฤติกรรมองค์การ ประสิทธิผลของสถานศึกษา ความเป็นผู้นำ ภาวะผู้นำและการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงสถานศึกษา รวมทั้งการศึกษาตามภารกิจของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา แต่ปัจจุบันได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาภาวะผู้นำเพื่อการเรียนรู้ภาวะผู้นำร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลง การส่งเสริมและสนับสนุนครูให้มีภาวะผู้นำทางการสอน ประสิทธิผลของสถานศึกษาและการพัฒนาสถานศึกษาให้มีความมั่นคงและยั่งยืน โดยผู้บริหารการศึกษาสามารถศึกษาประเด็นการวิจัยทางการบริหารการศึกษาในกรอบต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจ และกำหนดประเด็นการวิจัยให้สอดคล้องกับบริบทในสถานศึกษาแต่ละแห่ง ให้สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการบริหารการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยได้อย่างตรงจุดเกิดประสิทธิผลของสถานศึกษาและการพัฒนาสถานศึกษาได้อย่างเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงโดยมีกระบวนการสำคัญในการวิจัย คือ (1) การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการบริหารการศึกษา (2) การกำหนดคำถามวิจัย (3) การศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (4) การเลือกวิธีการวิจัย (5) การออกแบบการวิจัย (6) การจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย (7) การพัฒนาเครื่องมือวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูล (8) การวิเคราะห์ข้อมูล (9) การนำเสนอผลการวิจัยและ (10) การใช้ประโยชน์จากผลการวิจัย


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์และการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, กิติโรจน์ ปัณฑรนนทกะ, วิชัย เสวกงาม, อัมพร ม้าคนอง Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์และการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, กิติโรจน์ ปัณฑรนนทกะ, วิชัย เสวกงาม, อัมพร ม้าคนอง

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพี่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์และการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสายปัญญารังสิต จังหวัดปทุมธานี จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นห้องทดลอง 1 ห้อง และห้องควบคุม 1 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นการเชื่อมโยงสถานการณ์ในชีวิตจริงกับโลกคณิตศาสตร์ ขั้นการออกแบบแนวคิดเชิงคณิตศาสตร์ขั้นการพัฒนาแนวคิดทางคณิตศาสตร์ให้เป็นทางการและขั้นการสะท้อนคิดสู่ชีวิตจริง และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในทิศทางที่ดีขึ้น


การนำเสนอรูปแบบพื้นที่เรียนรู้เพื่อพัฒนาความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม, ปณิธาร วงศาสุลักษณ์, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร Jan 2020

การนำเสนอรูปแบบพื้นที่เรียนรู้เพื่อพัฒนาความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม, ปณิธาร วงศาสุลักษณ์, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร

Journal of Education Studies

สินค้าโอทอปเกิดจากการผสมผสานภูมิปัญญาจากวิถีชุมชนเข้ากับทรัพยากรที่มีในแต่ละท้องถิ่นเกิดการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจที่กล่าวได้ว่า เป็นรูปแบบหนึ่งในการใส่ความหมายเชิงสัญญะสู่สินค้างานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการให้ความหมายเชิงสัญญะในสินค้าโอทอปผ่านแนวคิดฮาบิทัส2) วิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง และ 3) นำเสนอรูปแบบพื้นที่เรียนรู้เพื่อพัฒนาการให้ความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีแนวคิดในการให้ความหมายเชิงสัญญะในสินค้าโอทอปตรงกัน โดยการให้ความสำคัญสูงสุดด้านการสืบสานเอกลักษณ์วัฒนธรรม และการช่วยเหลือชุมชนผ่านการสนับสนุนสินค้า 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดสัญญะในผลิตภัณฑ์โอทอปเกิดจากทุนทางเศรษฐกิจทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และทุนสัญลักษณ์ เงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แรงบันดาลใจ และความรักในอาชีพ 3) รูปแบบพื้นที่เรียนรู้เพื่อพัฒนาการให้ความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมีจุดเริ่มต้นมาจาก “ฮาบิทัส”(Habitus) และปัจจัยจากทุน 4 ด้าน ที่สามารถแบ่งผู้ผลิตได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มโอทอปพัฒนาขั้นตน้ กล่มุ โอทอปกำ ลังพัฒนา และกล่มุ โอทอปพัฒนาส่สู ากล โดยทั้ง 3 กล่มุ มีการแสดงออกถึงรหัสของสัญญะ (symbolic code) ผ่านการสืบทอดฮาบิทัสสู่รุ่นต่อไป


การสร้างนิทานเพลงพื้นบ้านมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะเพลงพื้นบ้านภาคกลางสำหรับเด็กอนุบาล, รัถยา เชื้อกลาง, สุทธิพรรณ ธีรพงศ์, ฌลาพิชญ์ บุญจิตสิทธิ์ศักดิ์ Jan 2020

การสร้างนิทานเพลงพื้นบ้านมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะเพลงพื้นบ้านภาคกลางสำหรับเด็กอนุบาล, รัถยา เชื้อกลาง, สุทธิพรรณ ธีรพงศ์, ฌลาพิชญ์ บุญจิตสิทธิ์ศักดิ์

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) สำรวจทัศนคติ ความตระหนัก และการเห็นคุณค่าของศิลปะเพลงพื้นบ้านภาคกลาง 2) สร้างและศึกษาผลการใช้สื่อนิทานเพลงพื้นบ้านมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะเพลงพื้นบ้านภาคกลางสำหรับเด็กอนุบาล กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ เด็กชาย-หญิงที่มีอายุ 5-6 ปี โรงเรียนอนุบาลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 259 คน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ทัศนคติความตระหนัก และการเห็นคุณค่าของศิลปะเพลงพื้นบ้านภาคกลาง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และเด็กอนุบาล ระยะที่ 2 การพัฒนาสื่อนิทานเพลงพื้นบ้านมัลติมีเดีย ระยะที่ 3 ทดลองใช้สื่อจำนวน 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที ระยะที่ 4 การนำเสนอสื่อนิทานเพลงพื้นบ้านมัลติมีเดียฉบับสมบูรณ์
ผลการวิจัย พบว่า สื่อที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ นิทานเพลง จำนวน 7 เรื่อง คู่มือการใช้สื่อและแผนการจัดกิจกรรม จำนวน 21 แผน จัดทำในรูปแบบ DVD หลังการใช้สื่อที่พัฒนาขึ้น พบว่า เด็กอนุบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์ศิลปะเพลงพื้นบ้านภาคกลางสูงขึ้นที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05