Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal

2020

นักศึกษาครู

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมจิตสาธารณะ, กนกวรรณ วังมณี Jan 2020

การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมจิตสาธารณะ, กนกวรรณ วังมณี

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับจิตสาธารณะ 2) พัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมจิตสาธารณะ และ 3) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1–4 คณะครุศาสตร์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดจิตสาธารณะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักศึกษาครูมีคะแนนจิตสาธารณะโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.51, SD = 1.26) แต่มีด้านการถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.23, SD = 1.36)
2. โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ครูผู้มีจิตสาธารณะ 2) หน้าที่ของครู 3) จิตสาธารณะสานสัมพันธ์และ 4) โครงการจิตสาธารณะสร้างสรรค์สังคม รวมเวลาในการฝึกอบรม 18 ชั่วโมง และผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (M = 4.07, SD = 1.9)
3. ผลการใช้โปรแกรมการฝึกอบรม นักศึกษาครูมีคะแนนจิตสาธารณะหลังอบรม (M = 4.60, SD = 0.51) สูงกว่าก่อนอบรม (M = 4.04, SD = 0.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาครู, พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ, วิชัย เสวกงาม, อัมพร ม้าคนอง Jan 2020

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาครู, พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ, วิชัย เสวกงาม, อัมพร ม้าคนอง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาครู และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 พัฒนากระบวนการเรียนการสอน และขั้นตอนที่ 2 ทดลองใช้กระบวนการที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่าง คือ นักศึกษาครู จำนวน 55 คน จาก 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และ กลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการจับสลาก ระยะเวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาครู ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจโดยใช้ปัญหาในบริบทจริง ขั้นที่ 2 สืบค้นและใช้ความรู้ในสถานการณ์ที่กำหนด ขั้นที่ 3 นำความรู้ไปฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 2) หลังใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มทดลองมีความสามารถในการทำวิจัยสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05