Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operations and Supply Chain Management Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 31 - 60 of 186

Full-Text Articles in Operations and Supply Chain Management

การปรับปรุงกระบวนการคำสั่งซื้อของลูกค้า : กรณีศึกษา บริษัท Freight Forwarder, ชนัสฐา คณะทอง Jan 2022

การปรับปรุงกระบวนการคำสั่งซื้อของลูกค้า : กรณีศึกษา บริษัท Freight Forwarder, ชนัสฐา คณะทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินการของแผนกส่งออกทางทะเลของบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าแห่งหนึ่งโดยศึกษาด้วยเงื่อนไขการซื้อขายแบบ FOB, EXW และ CIF โดยงานใช้การศึกษากระบวนการทำงานโดยแผนผัง Flow chart และแผนผัง IDEFO เพื่อระบุกิจกรรมหลักทั้งหมดที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด นอกจากนี้ ศึกษาผ่านแบบสอบถาม พนักงานที่เกี่ยวข้องและลูกค้า เพื่อระบุปัญหาของกิจกรรมที่พบ ซึ่งจากการวิจัยพบว่าปัญหาที่สำคัญที่สุด 3 ประการคือ 1) ความคลาดเคลื่อนของต้นทุนขายและใบแจ้งหนี้ของสายเรือ 2) ความล่าช้าในการแก้ไขหรือยืนยันใบตราส่ง และ 3) ข้อผิดพลาดในการยืนยันการจองระวางเรือ โดยได้ใช้แผนภาพก้างปลาในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเหล่านี้ ซึ่งผลจากการศึกษานำไปสู่การนำเสนอแนวทางการปรับปรุงด้วยเครื่องมือ ECRS (การกำจัด, การรวบรวม, การจัดเรียงใหม่ และการทำให้ง่ายขึ้น)


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งาน Online Platform : กรณีศึกษาบริษัท Xyz, ฐิติกร แก้วดวงเด่น Jan 2022

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งาน Online Platform : กรณีศึกษาบริษัท Xyz, ฐิติกร แก้วดวงเด่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงงานพิเศษฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิต่อการยอมรับการใช้งาน เทคโนโลยีสำหรับผู้นำเข้าส่งออกและตัวแทนผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมทางด้านขนส่งสินค้าทางทะเลหรือสาสยเรือนั้นมีการแข่งขันกันสูง มากขึ้นโดยเฉพาะทางด้านบริการ ในแง่ของการบริการทางสายเรือ จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบให้ การทำงาน มีความรวดเร็วในการให้บริการ ถูกต้องแม่นยำ ข้อมูลเข้าถึงได้ง่าย และผู้ใช้บริการรับรู้ ถึงประโยชน์ของการใช้งาน โดยบริษัทกรณีศึกษาเป็นสายการเดินเรือรายใหญ่ โดยใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้นำเข้าส่งออกและตัวแทนผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ จำนวน 350 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งาน Online Platform กรณีศึกษา บริษัสายเรือ XYZ จำนวน 4 ด้าน และความตั้งใจที่จะใช้งาน ผลการศึกษาพบว่า ด้าน ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านอิทธิพลทางสังคม และ ด้านความ ง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ Online Platform อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 3 ปัจจัย คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านอิทธิพลทางสังคม และ ด้านความง่ายต่อการใช้งาน


การพัฒนาเกณฑ์การประเมินผู้รับเหมาช่วงบริการขนส่ง, ณัฐธมนต์ วงศ์ชัยศรี Jan 2022

การพัฒนาเกณฑ์การประเมินผู้รับเหมาช่วงบริการขนส่ง, ณัฐธมนต์ วงศ์ชัยศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาเกณฑ์การประเมินผู้รับเหมาช่วงบริการขนส่งที่ ให้บริการโดยบริษัท 3PL โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวัดผลการปฏิบัติงานของ บริษัทกรณีศึกษาและของผู้รับเหมาช่วงที่ทางบริษัทกรณีศึกษาใช้บริการ โดยวิธีการศึกษาและ วิเคราะห์ที่ใช้มีการเชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยการศึกษา ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ผลข้อมูล การเก็บข้อมูล การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติงาน การปรับปรุงและทดลองใช้เกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดย ผลลัพธ์ของการวิจัยนั้นประกอบด้วยการสรุปเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน รูปแบบใหม่ และเทียบกับผลการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานรูปแบบเดิม โดยใช้วิธีการ แสดงผลในรูปแบบของตารางและกราฟเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานของการใช้เกณฑ์การประเมิน ในปัจจุบันและแบบปรับปรุง


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานขับรถบรรทุก, ธนบัตร ชื่นจิตต์ Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานขับรถบรรทุก, ธนบัตร ชื่นจิตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงาน ขับรถบรรทุกโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ 2 ประการ ได้แก่ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการคง อยู่ของพนักงานขับรถบรรทุก และ ศึกษาแนวทางในการรักษาคนขับรถบรรทุกให้คงอยู่ได้อย่าง ยั่งยืน โดยผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมปัจจัยและคัดเลือกมาทั้งหมด 7 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยในด้านการ ทำงานของพนักงานขับรถบรรทุก ปัจจัยด้านที่พักอาศัยของพนักงานขับรถบรรทุก ปัจจัยด้าน สภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงานขับรถบรรทุก ปัจจัยด้านรายได้ของพนักงานขับ รถบรรทุก ปัจจัยด้านสุขภาพของพนักงานขับรถบรรทุก ปัจจัยส่วนตัวของพนักงานขับรถบรรทุก และปัจจัยด้านการได้งานใหม่ของพนักงานขับรถบรรทุก โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลจาก แบบสอบถามที่ได้ทำการสอบถามแก่พนักงานขับรถบรรทุกในบริษัทตัวอย่างแห่งหนึ่งและนำผลที่ ได้จากแบบสอบถามมาทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาประมวลผลใน โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยใช้วิธีเทคนิคการถดถอยโลจิสติกส์ (Logistic Regression Analysis) แบบ Binary Logistic Regression จากการศึกษาผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวแปรต้นทั้งหมด 7 ตัวแปรที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่พนักงานขับรถบรรทุก พบว่ามี 4 ตัวแปรต้นที่ส่งผลต่อการ คงอยู่ของพนักงานขับรถบรรทุก ได้แก่ ปัจจัยด้านที่พักอาศัยของพนักงานขับรถบรรทุก ต่อมาคือ ปัจจัยด้านสุขภาพของพนักงานขับรถบรรทุก ปัจจัยด้านรายได้ของพนักงานขับรถบรรทุก และ ปัจจัยด้านการได้งานใหม่ของพนักงานขับรถบรรทุก


ความนิยมมื้ออาหารของผู้โดยสารชาวไทย บนเที่ยวบินระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น, ปวัน ป้อมจักรศิลป์ Jan 2022

ความนิยมมื้ออาหารของผู้โดยสารชาวไทย บนเที่ยวบินระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น, ปวัน ป้อมจักรศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ถูกสร้างขึ้น เพื่อเป็นโครงการวิจัย ทำการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความนิยมอาหารของผู้โดยสารชาวไทยที่เดินทางบนเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมในการเดินทางเป็นอย่างมาก รวมถึงปัญหาการไม่ได้รับอาหารตามที่ผู้โดยสารต้องการ ซึ่งส่งผลทั้งการสร้างความไม่พึงพอใจให้แก่ผู้โดยสสารและหากผู้โดยสารไม่รับประทานอาหารที่มีให้บริการ ย่อมสร้างขยะและของเสียจากอาหารขึ้นโดยไม่จำเป็นการศึกษานี้จึงมีเป้าประสงค์ในการสร้างความพึงพอใจและลดของเสียดังกล่าวไปพร้อมกัน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เคยเดินทางในเส้นทางบินนี้มาแล้ว ปัจจัยที่นำมาศึกษาเป็นปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ที่ผู้โดยสารมักต้องให้แก่สายการบินในขั้นตอนการจองตั๋วโดยสาร ทั้งข้อมูลเพศ อายุ รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจมีผลต่อการพิจารณา เช่น ข้อมูลช่วงรายได้ อาชีพของผู้เดินทางและเป้าหมายการเดินทาง ผู้วิจัยเริ่มจากการออกแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล การยอมรับอาหารแต่ละประเภทและทัศนคติต่อการบริการอาหารบนเที่ยวบิน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกส์ทวิ ตามอาหารแต่ละประเภทและการเลือกกลับมาใช้บริการ พบว่า ผู้โดยสารส่วนมากมีความชื่นชอบต่ออาหารประเภทปลาและกุ้งเป็นอย่างมากส่วนเนื้อวัว เนื้อหมูและเนื้อไก่ การยอมรับจะลดลงตามลำดับ ในด้านการเลือกกลับมาใช้บริการความคิดเห็นเรื่องการให้ความสำคัญกับอาหาร เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ผู้โดยสารเลือกกลับมาใช้บริการ แต่ในทางกลับกัน การไม่ได้รับอาหารตามที่ตนต้องการกลับไม่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการ


ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยวของผู้โดยสารสายการบินภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19, พิชญพิชญ์ นิ่มพยา Jan 2022

ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยวของผู้โดยสารสายการบินภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19, พิชญพิชญ์ นิ่มพยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยงด้านสุขภาพในมาตรการด้านต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวของผู้โดยสารสายการบินภายในประเทศไทย ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีตัวแปรอิสระในมาตรการต่าง ๆ ได้แก่ Active Intervention, Passive Intervention และ Technological Intervention ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ โดยมีกลุ่มประชากรตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยใช้บริการสายการบินภายในประเทศไทย ในช่วงระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จำนวนทั้งสิ้น 401 คน และนำมาประมวลผลโดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นเดี่ยว (Simple Linear Regression Analysis) โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงด้านสุขภาพในมาตรการ Active Intervention และ Passive Intervention ไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว และมาตรการด้าน Technological Intervention ส่งผลต่อความตั้งใจในการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวของผู้โดยสารสายการบินภายในประเทศไทย ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า หากสายการบินมีการนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกในการเข้ารับบริการมาใช้ เพื่อเป็นการป้องกัน และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 จะส่งผลต่อความตั้งใจในการเดินทางท่องเที่ยวของผู้โดยสาร และนำไปสู่การสร้างความมั่นใจในการเดินทางมากยิ่งขึ้น


การคัดเลือกผู้ให้บริการนำเข้าและส่งออกสินค้า ในประเทศลาว : กรณีศึกษาธุรกิจค้าปลีก, ภากร ศิริชื่นวิจิตร Jan 2022

การคัดเลือกผู้ให้บริการนำเข้าและส่งออกสินค้า ในประเทศลาว : กรณีศึกษาธุรกิจค้าปลีก, ภากร ศิริชื่นวิจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการคัดเลือกผู้ให้บริการนำเข้าและส่งออกสินค้า ใน ประเทศลาว ส ำหรับธุรกิจค้าปลีก ซึ่งใช้วิธีการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ (Multi Criteria Making: MCDM) ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาของบริษัทกรณีศึกษา โดยพิจารณาจาก หลักเกณฑ์ 3 หลักเกณฑ์ ได้แก่ หลักเกณฑ์ด้านข้อมูลผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์ด้านราคา และ หลักเกณฑ์ด้านการจัดส่ง เพื่อทำการคัดเลือกผู้ให้บริการที่เหมาะสมจากทางเลือกผู้ให้บริการ จำนวน 3 ราย คือ ผู้ให้บริการ B D และ E ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้เทคนิคกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process: AHP) ทำการวิเคราะห์หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการ โดยผลจากการศึกษา พบว่า แต่ละหลักเกณฑ์และทางเลือก มีความเห็นที่แตกต่างกัน เนื่องจาก ผู้ตอบแบบสอบถามมีมุมมองที่ต่างกันตามบทบาท ในขณะที่ผลลัพธ์สุดท้ายของการตัดสินใจเป็นไป ในทิศทางเดียวกันตามลำดับคะแนน คือ หลักเกณฑ์ด้านราคา หลักเกณฑ์ด้านการจัดส่ง และ หลักเกณฑ์ด้านข้อมูลผู้ให้บริการ และทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด คือ ผู้ให้บริการ E แต่เมื่อพิจารณา ลงแต่ละหลักเกณฑ์ พบว่ายังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของบริษัท ทางผู้วิจัยจึงนำผลการวิเคราะห์ นำเสนอผู้มีอำนาจพิจารณา ซึ่งได้ให้นโยบายและเลือกผู้ให้บริการ จำนวน 2 รายตามล ำดับคะแนน ที่ได้จากการวิเคราะห์ คือ ผู้ให้บริการ B และ E โดยได้ทำข้อตกลงกับผู้ให้บริการทั้ง 2 ราย ให้แบ่งการให้บริการเท่าๆกัน และปฎิบัติตามเงื่อนไขของบริษัท


การเปรียบเทียบต้นทุนการนำเข้าแผ่นยาง ระหว่างเทอมการซื้อขาย Fob และ Cif, ยุจชรีย์ จันทร์มีศรี Jan 2022

การเปรียบเทียบต้นทุนการนำเข้าแผ่นยาง ระหว่างเทอมการซื้อขาย Fob และ Cif, ยุจชรีย์ จันทร์มีศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงวิธีการลดต้นทุนการนำเข้าแผ่นยางจากประเทศจีนด้วยวิธีการเปลี่ยน Incoterm จาก FOB เป็น CIF โดยการศึกษาวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนรวมโลจิสติกส์ในการนำเข้าสินค้าระหว่างเทอม FOB และ CIF โดยใช้การศึกษาและเก็บข้อมูลต้นทุนรวมโลจิสติกส์ รวมไปถึงการจำลองสถานการณ์เปรียบเทียบ ค่าขนส่งสินค้า 3 กรณีคือ กรณีที่ค่าขนส่งสินค้าเป็นแบบ Best Case FOB เปรียบเทียบกับ CIF, กรณี Worst Case FOB เปรียบเทียบกับ CIF และ Best Case FOB เปรียบเทียบกับ Worst case FOB ส่วนที่สองผู้วิจัยใช้วิธีการกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process) เพื่อมาวิเคราะห์ปัจจัยในการคัดเลือก Incoterm ในการนำเข้าสินค้าระหว่าง FOB และ CIF โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า การนำเข้าสินค้าด้วยเทอม FOB มีต้นทุนรวมโลจิสติกส์ที่ต่ำกว่า CIF อยู่ที่ 13% ในส่วนของการจำลองสถานการณ์ค่าขนส่งสินค้าสินค้า 3 แบบพบว่า กรณี Best case FOB เปรียบเทียบกับ CIF พบว่า Best Case FOB มีต้นทุนค่าขนส่งสินค้าที่ต่ำกว่า, กรณี Worst Case FOB เปรียบเทียบกับ CIF พบว่า Worst Case FOB มีต้นทุนค่าขนส่งสินค้าที่สูงกว่า และ กรณี Best Case FOB เปรียบเทียบกับ Worst Case FOB พบว่า Best Case FOB มีต้นทุนค่า ขนส่งสินค้าที่ต่ำกว่า ในส่วนของการวิเคราะห์ปัจจัยเพื่อคัดเลือก …


การปรับปรุงกระบวนการออกแบบโครงการก่อสร้าง : กรณีศึกษา บริษัทออกแบบภายใน, วิภาวรรณ ตันตินันท์ Jan 2022

การปรับปรุงกระบวนการออกแบบโครงการก่อสร้าง : กรณีศึกษา บริษัทออกแบบภายใน, วิภาวรรณ ตันตินันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการออกแบบโครงการก่อสร้างที่ดำเนินการโดยบริษัทออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งประสบปัญหาข้อร้องเรียนจากลูกค้าและความล่าช้าในการส่งมอบงาน การศึกษาเริ่มจากการทำแผนผังกระบวนการด้วยเทคนิค BPMN ร่วมกับข้อมูลที่รวบรวมจากการสัมภาษณ์พนักงาน 13 คน และจากการสังเกตการณ์ทำงานซึ่งอาการและสาเหตุของปัญหาได้รับการวิเคราะห์ด้วยวิธี 5W1H และ Why-Why โดยสาเหตุของปัญหาถูกนำมาจัดลำดับความสำคัญ ได้แก่ การตัดสินใจที่ล่าช้าของผู้มีอำนาจ การขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านการก่อสร้าง และการให้ลูกค้าเปลี่ยนแปลงแบบได้แบบไม่จำกัด การใช้หลักการ ECRS และเทคนิค House of Quality ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการที่สำคัญ เพิ่มประโยชน์จากการใช้ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบและการก่อสร้าง การจัดตั้ง KPI สำหรับการวัดประสิทธิภาพ และจำกัดการเปลี่ยนแปลงแบบจากลูกค้า


การประยุกต์ใช้ Scor Model ในการปรับปรุงกระบวนการของศูนย์เติมเต็มคำสั่งซื้อ, ศิรารัฏฐ์ อมรรุ่งเรือง Jan 2022

การประยุกต์ใช้ Scor Model ในการปรับปรุงกระบวนการของศูนย์เติมเต็มคำสั่งซื้อ, ศิรารัฏฐ์ อมรรุ่งเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากแนวโน้มของตลาดซื้อขายออนไลน์ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความต้องการที่จะลดความเสี่ยง เพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ โยการลดการถือครองสินทรัพย์ผลักดันให้มีการพึ่งพาผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่สาม (3PL) มากขึ้น เป็นเหตุให้งานวิจัยนี้ต้องการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัท 3PL กรณีศึกษา โดยนำหลักการของ Supply Chain Operation Reference (SCOR) Model เข้ามาประยุกต์ใช้ โดยอาศัยการนิยามกระบวนการตาม SCOR Process และใช้มาตรวัดระดับที่ 1 ของ SCOR ในการประเมินประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อนำไปเทียบกับมาตรฐานอุตสาหกรรมและคู่แข่งผ่าน Strategy Canvas เพื่อทำการกำหนดเป้าหมายประสิทธิภาพที่บริษัทต้องการ และใช้มาตรวัดในระดับ 2 และ 3 ของ SCOR เพื่อหาสาเหตุของความพร่องประสิทธิภาพที่พบ แล้วจึงนำแนวปฏิบัติใน SCOR Practice ที่สอดคล้องมาคัดเลือกด้วยหลักการ Prioritization Matrix ที่ผ่านการพิจารณาของคณะทำงาน เพื่อนำแนวปฏิบัติกลุ่ม Quick Wins ซึ่งได้แก่ ABC Inventory Classification และ Theory of Constraints มาใช้ประกอบการปรับปรุงกระบวนการ ผลการประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานทั้งในด้านความน่าเชื่อถือที่ดีขึ้นประมาณร้อยละ 19 มีรอบเวลาการผลิตสั้นลงประมาณร้อยละ 20 และความยืดหยุ่นของระบบเพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัว ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้ จึงเสนอให้บริษัทนำแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของ SCOR ในกลุ่มอื่นมาประยุกต์ใช้เพิ่มเติม รวมถึงหมั่นปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป


รูปแบบการส่งคืนภาชนะใช้ซ้ำได้สำหรับการสั่งอาหารออนไลน์, สิริพงศ์ เพ็ญสิริพงศ์ Jan 2022

รูปแบบการส่งคืนภาชนะใช้ซ้ำได้สำหรับการสั่งอาหารออนไลน์, สิริพงศ์ เพ็ญสิริพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความนิยมของแอพพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นมาพร้อมกับปริมาณขยะพลาสติก ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาแนวทางการ ลดขยะพลาสติกโดยใช้แนวคิดโลจิสติกส์ย้อนกลับ และเศรษฐกิจหมุนเวียนในการหารูปแบบการใช้ งานภาชนะใช้ซ้ำได้ที่ผู้บริโภคยอมรับ โดยการเก็บแบบสอบถามจากผู้ใช้บริการแอพพลิเคชันสั่ง อาหารออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงอันดับใน การหาปัจจัยของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อระดับการยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำได้ ประกอบไปด้วย ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภค และปัจจัยด้านทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำได้ และยอมรับ การคืนภาชนะด้วยการมารับคืนถึงที่ผ่านไรเดอร์ อย่างไรก็ตามผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มขึ้น และความสะอาดของภาชนะโดยกว่า 3 ใน 4 ยอมรับค่าใช้จ่ายได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 5 เท่านั้น ผลการวิเคราะห์การถดถอยพบว่าทัศนคติต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผล ต่อระดับการยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำได้ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์เดียวที่ส่งผลต่อระดับ การยอมรับ คือ อายุ ปัจจัยที่มีอิทธิพลอื่น ๆ ได้แก่ รูปแบบการเดินทางในชีวิตประจำวัน และ ความถี่ในการใช้บริการสั่งอาหาร โดยพบว่าผู้มีอายุน้อยมีโอกาสที่จะยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำ ได้สูงกว่าผู้มีอายุมาก ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่ารายได้และระดับการศึกษาไม่ส่งผลต่อระดับการ ยอมรับการใช้งานภาชนะใช้ซ้ำได้ และผู้ใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในการเดินทางยอมรับการใช้งาน มากกว่าผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ


อิทธิพลของฤดูกาลต่ออุปสงค์ของเครื่องปรับอากาศ : กรณีศึกษา บริษัท Abc, อติญา วงศ์แก้ว Jan 2022

อิทธิพลของฤดูกาลต่ออุปสงค์ของเครื่องปรับอากาศ : กรณีศึกษา บริษัท Abc, อติญา วงศ์แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาผลของฤดูกาลในการขายต่อปริมาณจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ และศึกษา และประเมินวิธีพยากรณ์ที่เหมาะสมในการพยากรณ์ความต้องการสินค้าเครื่องปรับอากาศภายใต้ผลของฤดูกาล โดยข้อมูลที่นำมาศึกษา คือ ปริมาณยอดขายสินค้าที่ร้านค้าขายให้กับผู้บริโภค (Sell-out) เนื่องจากผู้วิจัยต้องการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นจริงของเครื่องปรับอากาศใน 5 รายการสินค้า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2014 จนถึงเดือนธันวาคม 2018 โดยแบ่งเป็น 2 ชุดข้อมูล คือ ชุดข้อมูลที่ 1 ปริมาณยอดขายสินค้าย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคม 2014 จนถึงเดือนธันวาคม 2017 ชุดข้อมูลที่ 2 ปริมาณยอดขายสินค้าย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนธันวาคม 2018 เพื่อใช้ในการเลือกเทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละรายการ โดยเปรียบเทียบการพยากรณ์ในรูปแบบแนวโน้มฤดูกาลแบบบวก และรูปแบบแนวโน้มฤดูกาลแบบคูณ


การคัดเลือกตัวแทนผู้ให้บริการ Api ในต่างประเทศโดยใช้กระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น (Ahp) กรณีศึกษาธนาคาร Abc, อารยา อรุณสกุลวงศ์ Jan 2022

การคัดเลือกตัวแทนผู้ให้บริการ Api ในต่างประเทศโดยใช้กระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น (Ahp) กรณีศึกษาธนาคาร Abc, อารยา อรุณสกุลวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ตัวแทนผู้ให้บริการ API ในต่างประเทศของธนาคารกรณีศึกษา ด้วยเทคนิคกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น เนื่องจากปัจจุบันธนาคารกรณีศึกษาอยู่ระหว่างการพิจารณาเลือกตัวแทนผู้ให้บริการ A ผู้ให้บริการ B และผู้ให้บริการ C งานวิจัยนี้จึงนำทั้ง 3 ตัวแทนผู้ให้บริการมาเป็นทางเลือกในการพิจารณา ขั้นตอนงานวิจัยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากตัวแทนผู้ให้บริการต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในแบบสอบถามด้วยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ส่วนที่สองเป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในธนาคารกรณีศึกษาผ่านการตอบแบบสอบถาม จากนั้นจึงใช้วิธีวิเคราะห์ตามลำดับชั้น โดยทำการวินิจฉบับเปรียบเทียบความสำคัญของเกณฑ์ทีละคู่ เพื่อศึกษาหาเกณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ตัวแทนผู้ให้บริการ API และหาระดับความสำคัญของทางเลือกที่มีผลในการตัดสินใจเลือกใช้ตัวแทนผู้ให้บริการ API ในต่างประเทศ ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า เกณฑ์ที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ความสามารถในการเชื่อมต่อกับปลายทาง ค่าใช้จ่าย ความยืดหยุ่นการให้บริการความสามารถของระบบงาน และประวัติบริษัท ตามลำดับ สำหรับทางเลือกที่ธนาคารกรณีศึกษาให้ความสำคัญในการพิจารณาเลือกใช้ตัวแทนผู้ให้บริการ API ในต่างประเทศคือ ผู้ให้บริการ A เนื่องจากเกณฑ์และประโยชน์จากผู้ให้บริการ A สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ธุรกิจของธนาคารกรณีศึกษาได้อย่างเหมาะสม


การรับรู้ และทัศนคติของผู้ที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงต่อภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล : กรณีศึกษา การลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย, ณโรจ ศรีวชิรวัฒน์ Jan 2022

การรับรู้ และทัศนคติของผู้ที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงต่อภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล : กรณีศึกษา การลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย, ณโรจ ศรีวชิรวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษา “การรับรู้ และทัศนคติของผู้ที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงต่อภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล : กรณีศึกษา การลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคลกับการรับรู้และทัศนคติ ที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และภารกิจในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และความคิดเห็นในการปฏิบัติภารกิจ ด้านการรักษากฎหมายในทะเล ในเรื่องการลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายในทะเล และการทำประมงผิดกฎหมาย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามคือนายทหารสัญญาบัตรที่สำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนนายเรือ ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานในเรือหลวงตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป จำนวน 135 คน โดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างข้าราชการที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวงมีความคิดเห็นต่อการรับรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเลโดยรวมอยู่ในระดับสูง และลักษณะส่วนบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล สำหรับระดับทัศนคติเกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของข้าราชการที่ปฏิบัติงานบนเรือหลวง รวมอยู่ในระดับสูง ในส่วนของชั้นยศและระยะเวลาปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การประเมินประสิทธิภาพระบบขนส่งด้วยกระบวนการกิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ :กรณีศึกษาบริษัท Abc, นนทกร ธรรมไชยางกูร Jan 2021

การประเมินประสิทธิภาพระบบขนส่งด้วยกระบวนการกิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ :กรณีศึกษาบริษัท Abc, นนทกร ธรรมไชยางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นพัฒนาตัวชี้วัดในการประเมินประสิทธิภาพระบบขนส่งด้วยกระบวนการกิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ด้านการขนส่งและหลักความถูกต้อง ผ่านการทบทวนวรรณกรรมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะสรุปปัจจัยหลักด้านโลจิสติกส์สำหรับกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง จากนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนาตัวชี้วัดขึ้นจากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องขึ้นก่อนนำไปสัมภาษณ์เชิงลึกและนำส่งแบบประเมินปัจจัยเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตัวชี้วัดให้กลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมขนส่งของบริษัทจำนวน 10 คน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้น และประเมินลำดับความสำคัญตามค่าน้ำหนักของปัจจัย หลังจากนั้นจึงทำการทดสอบการประเมินประสิทธิภาพระบบขนส่งด้วยข้อมูลย้อนหลัง 1 ปีของบริษัท (พ.ศ. 2562) ผลการศึกษาพบว่า ตัวชี้วัดในการประเมินประสิทธิภาพระบบขนส่งที่เหมาะสม ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือ การสื่อสาร ขนถ่ายและบรรจุ และการขนส่ง มีกิจกรรมละ 5 มิติ ประกอบด้วย มิติของผลิตภัณฑ์ คุณภาพ สถานที่ เวลา และต้นทุน รวมทั้งหมด 15 ตัวชี้วัด โดยกิจกรรมหลักด้านโลจิสติกที่มีความสำคัญสูงที่สุดคือ กิจกรรมขนถ่ายและบรรจุ รองลงมาคือ การสื่อสาร และการขนส่งตามลำดับ ภาพรวมของการประเมินตัวชี้วัดการขนส่งบริษัทขนส่ง ABC เฉลี่ยอยู่ที่ 4.72 คะแนน แม้ว่าการประเมินผลโดยรวมของบริษัทจะอยู่ในระดับดีมาก แต่กลับพบว่าในตัวชี้วัดระยะเวลาเฉลี่ยการส่งคําสั่งซื้อภายในองค์กรนั้นได้ คะแนนเพียง 2.0 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นบริษัทจึงควรให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบการสื่อสารภายในองค์กรมากยิ่งขึ้นเพื่อลดผลกระทบและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


การออกแบบกระบวนการจัดซื้อเครื่องใช้สำนักงานของธุรกิจขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง : กรณีศึกษาบริษัท Abc Drilling, มินตรา มณีฉาย Jan 2021

การออกแบบกระบวนการจัดซื้อเครื่องใช้สำนักงานของธุรกิจขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง : กรณีศึกษาบริษัท Abc Drilling, มินตรา มณีฉาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาด้านการจัดซื้อเครื่องใช้สำนักงานของบริษัทขุดเจาะน้ำมันที่ดำเนินการในประเทศไทย เพื่อเสนอข้อเสนอแนะในการจัดซื้อเครื่องใช้สำนักงานของบริษัทขุดเจาะน้ำมันทั้ง 3 แท่นขุดเจาะของบริษัท ABC Drilling เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดซื้อ (Purchasing Model) ที่มีประสิทธิภาพของบริษัท ABC Drilling และจัดทำ Organization Model ด้านการจัดซื้อจัดหา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดซื้อของปี พ.ศ.2563 เพื่อวิเคราะห์ผลงานการจัดซื้อและใช้แบบสอบถามเพื่อจัดทำข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า การทำสัญญาจัดซื้อจัดหา (Fixed Price Agreement) ร่วมกับการทำประมูลแบบอัตโนมัติ (Automatic Bidding) ทำให้แท่นขุดเจาะที่ 1 สามารถประหยัดต้นทุน 5.39 % ส่วนแท่นขุดเจาะที่ 2 สามารถประหยัดต้นทุน 5.90 % และแท่นขุดเจาะที่ 3 สามารถประหยัดต้นทุน 8.03 % ดังนั้นเมื่อบริษัท ABC Drilling ทำสัญญาซื้อขาย (Fixed Price Agreement) ร่วมกับการทำประมูลแบบอัตโนมัติ (Automatic Bidding) จะทำให้บริษัทประหยัดต้นทุนโดยเฉลี่ย 6.44 % และผู้ให้สัมภาษณ์ทุกรายเห็นด้วยว่าควรมีการจัดซื้อแบบไฮบริด (Hybrid Procurement) โดย 85.71 % คิดเห็นว่าสินค้าหมวดหมู่ A ซึ่งเป็นสินค้าที่มีการสั่งซื้อเป็นประจำ โดยมีการสั่งซื้อสินค้าตั้งแต่ 6 รายการขึ้นไป และมียอดสั่งซื้อตั้งแต่ 20,000 บาทต่อปี ควรมีระบบการจัดซื้อแบบรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization Purchasing) 57.14 % คิดเห็นว่าสินค้าหมวดหมู่ B ซึ่งเป็นสินค้าที่หาซื้อได้ทั่วไป ราคาถูกควรมีระบบการจัดซื้อแบบรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization Purchasing) และ 71.43 % คิดเห็นว่าสินค้าหมวดหมู่ C ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความเฉพาะเจาะจงและต้องตรวจสอบควรมีระบบการจัดซื้อแบบกระจายอำนาจ (Decentralization Purchasing)


การเปรียบเทียบการขนส่งอาหารทะเลแช่แข็ง ระหว่างการจ้างบริษัทภายนอกและการทำการขนส่งเองสำหรับการขายแบบออนไลน์, ชัญญรัชต์ วรัชต์ญารมย์ Jan 2021

การเปรียบเทียบการขนส่งอาหารทะเลแช่แข็ง ระหว่างการจ้างบริษัทภายนอกและการทำการขนส่งเองสำหรับการขายแบบออนไลน์, ชัญญรัชต์ วรัชต์ญารมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์ต้นทุนในการขนส่งอาหารทะเลแช่แข็ง เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการขนส่งอาหารทะเลแช่แข็ง ระหว่างการจ้างบริษัทขนส่งและการทำการขนส่งด้วยตนเอง โดยจะมีการนำปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการการขนส่งอาหารทะเลแช่แข็งมาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจด้วย ได้แก่ ปัจจัยคุณภาพ ปัจจัยด้านเวลา และปัจจัยด้านต้นทุน ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้บริหารของบริษัทกรณีศึกษา จำนวน 5 ท่าน ในการประเมินลำดับความสำคัญของปัจจัยหลักและปัจจัยรอง เพื่อนำข้อมูลมาผ่านการวิเคราะห์ด้วยหลักการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process : AHP) ผลการวิเคราะห์ต้นทุนในการขนส่งพบว่า การขนส่งด้วยตนเอง มีต้นทุนในการขนส่งที่มากที่สุด ส่วนการขนส่งด้วยตนเองผสมผสานกับการว่าจ้างบริษัทภายนอกจะมีต้นทุนในการขนส่งที่น้อยที่สุด ในส่วนของผลการวิเคราะห์จากหลักการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น พบว่า กลุ่มปัจจัยหลัก ปัจจัยคุณภาพมีลำดับความสำคัญมาเป็นลำดับที่ 1 มีค่าเฉลี่ยความสำคัญเท่ากับร้อยละ 68.19 ตามมาด้วยปัจจัยด้านเวลา และปัจจัยด้านต้นทุน มีค่าเฉลี่ยความสำคัญเท่ากับร้อยละ 17.30 และ 14.51 ตามลำดับ เมื่อนำผลการวิเคราะห์มาพิจารณาร่วมกันพบว่า ทางเลือกที่ดีที่สุดในการขนส่งอาหารทะเลแช่แข็ง คือ ทางเลือกที่ว่าจ้างบริษัทขนส่งตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยใช้บริษัทขนส่ง B Express มีผลคะแนนรวมอยู่ที่ 409.49 ตามมาด้วยทางเลือกที่ทางบริษัททำการขนส่งเองตลอดเส้นทาง จากนั้นเป็นทางเลือกที่เป็นการผสมผสานการขนส่งระหว่างทางบริษัทขนส่งเองและใช้บริการบริษัทขนส่ง และสุดท้ายเป็นทางเลือกที่ใช้บริการบริษัทขนส่งตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางการขนส่ง ในกรณีที่ใช้บริษัทขนส่งเป็นบริษัท A Express โดยมีคะแนนรวมเท่ากับ 405.74 336.72 และ 281.36 ตามลำดับ


การเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งการขนส่งแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในเส้นทาง ไทย-จีน ในช่วง Covid-19, พงศกร เอื้อชีวกุล Jan 2021

การเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งการขนส่งแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในเส้นทาง ไทย-จีน ในช่วง Covid-19, พงศกร เอื้อชีวกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นบทนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นโครงการวิจัย ประกอบด้วยการเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งการขนส่งแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในเส้นทางไทย-จีนในช่วง Covid-19 รูปแบบการขนส่งทางเรือ ทางอากาศ และการขนส่งทางรถข้ามแดนที่เป็นการขนส่งทางหลัก ไปที่ประเทศจีน ในช่วง Covid -19 โดยประเภทสินค้าที่จะทำการศึกษาจะเป็น สินค้าแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีวัตถุประสงค์เพื่เปรียบเทียบการลดต้นทุนของการขนส่ง รวมถึงศึกษาประโยชน์ของรูปแบบการขนส่งในรูปแบบต่างๆ ซึ่งในช่วง Covid-19ที่ผ่านมาได้มีหลายปัจจัยที่ทำให้การขนส่งรูปแบบต่างๆเปลี่ยนแปลงไป เริ่มจากรวบรวมข้อมูลด้านการขนส่งในช่วงCovid-19 จากบริษัทกรณีศึกษาพร้อมกับศึกษาข้อมูลจากบริษัทผู้ขนส่งที่สามารถให้บริการได้หลากหลายรูปแบบเพื่อทราบถึงปัญหาในช่วงที่มีโรคระบาดเกิดขึ้นและศึกษาที่ต้นทุนค่าขนส่งแต่ละรูปแบบในช่วงCovid-19 และ ใช้กระบวนการวิเคราะห์ความสำคัญของปัจจัยต่างๆโดยเก็บรวบรวมการให้น้ำหนักจากผู้ผลิตแผงอิเล็กทรอนิกส์โดยกำหนดปัจจัยสำคัญในการขนส่งมา4อย่างได้แก่ ต้นทุนการขนส่งที่ประหยัด ความถี่ในการขนส่งที่สูง ระยะเวลาในการขนส่งที่สั้น และปริมาณการขนส่งต่อรอบจำนวนมาก โดยให้คะแนนการขนส่งทางเรือมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบคะแนนแล้ว แต่เนื่องจากสถานณการณ์ Covid-19 ทำให้การขนส่งทางรถข้ามแดนทางบกมีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากสามารถประหยัดต้นทุนรองลงมาจากทางเรือและมีระยะเวลาการขนส่งที่รวดเร็วมากกว่าพร้อมทั้งสามารถกำหนดรอบการวิ่งได้ถี่และมั่นคงมากกว่าทางเรือ ส่วนการขนส่งทางอากาศถึงจะมีต้นทุนที่สูงที่สุดแต่เป็นการขนส่งที่มีระยะเวลาที่รวดเร็วที่สุดจึงจำเป็นอย่างมากในการใช้เติมสายการผลิตที่เร่งด่วนที่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วง Covid-19 โดยได้ใช้เครื่องมือการหาปริมาณหรือจำนวนการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสม (Economic Order Quantity) ด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม รวมกับการให้คะแนนของทางอื่นปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อการจัดส่ง


การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนค่าขนส่งแบบเต็มคันระหว่างใช้ผู้ให้บริการขนส่งกับลงทุนรถขนส่งเอง : กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตรถบรรทุก, อธิการ ชาติศรีสัมพันธ์ Jan 2021

การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนค่าขนส่งแบบเต็มคันระหว่างใช้ผู้ให้บริการขนส่งกับลงทุนรถขนส่งเอง : กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตรถบรรทุก, อธิการ ชาติศรีสัมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านต้นทุนในการลงทุนซื้อรถบรรทุกขนส่งสินค้าและบริหารงานขนส่งเอง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้บริการจากผู้ให้บริการขนส่งอย่างที่ทำอยู่ในปัจจุบัน โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางการเงิน มาใช้ในการประเมินการใช้ประโยชน์และความคุ้มค่าที่จะลงทุน การวิจัยได้วิเคราะห์ถึงความต้องการในการใช้รถบรรทุกขนส่ง 6 ล้อของปีพ.ศ. 2563 พบว่ามีการใช้งานในเขตพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จังหวัด ชลบุรี สระบุรี ระยอง และพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีปริมาณการใช้งานมากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการแบ่งเป็น 4 โครงการ คือ โครงการที่ 1 ขอบเขตเฉพาะจังหวัดชลบุรี, โครงการที่ 2 ขอบเขตในจังหวัดชลบุรี และ สระบุรี, โครงการที่ 3 ขอบเขตในจังหวัดชลบุรี สระบุรี และ ระยอง และโครงการที่ 4 ขอบเขตในจังหวัดชลบุรี สระบุรี ระยอง และ พระนครศรีอยุธยาเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจเริ่มต้นโครงการซึ่งแต่ละโครงการมีจำนวนเที่ยวและลงทุนจำนวนรถไม่เท่ากัน ผลการศึกษาพบว่าปริมาณการใช้งานที่มากน้อยมีผลต่อความคุ้มค่าที่จะลงทุนรวมถึงผลตอบแทน และระยะเวลาคืนทุน ซึ่งทั้ง 4 โครงการอยู่ในเกณฑ์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน แต่จะมีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของระยะเวลาคืนทุน ซึ่งโครงการที่ 1 ถึง 4 มีระยะเวลาคืนทุน 3 ปี 3 เดือน , 3 ปี 10 เดือน , 3 ปี 8 เดือน และ 3 ปี 2 เดือน ตามลำดับ นอกจากนั้น ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อความคุ้มค่าของโครงการในสถานะการณ์ปัจจุบันคือ ราคาน้ำมันดีเซลซึ่งมีความผันผวนและปรับราคาสูงขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาในกรณีที่ราคาน้ำมันปรับราคาขึ้นถึง 35 บาทต่อลิตร ซึ่งทุกโครงการยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเป็นไปได้ และ มีความคุ้มค่าที่จะลงทุนซื้อรถบรรทุกขนส่งเอง


การแก้ไขปัญหาโรฮิงญาในมิติความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล, บุษยพรรณ ถิตานนท์ Jan 2021

การแก้ไขปัญหาโรฮิงญาในมิติความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล, บุษยพรรณ ถิตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาที่แท้จริงของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญา (2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาทางทะเลต่อความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และ (3) เพื่อศึกษาหาแนวทาง และวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการ แก้ไขปัญหาของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลปัญหาการลักลอบเข้าเมือง รวมทั้งทำการศึกษา ค้นคว้าแนวคิดและทฤษฎี รวมถึงเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการออกแบบคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า การหลบหนีเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโดยใช้เส้นทางทางทะเลมากขึ้น แต่ลดการแวะพักในประเทศไทยน้อยลง โดยมีต้นทางจากรัฐยะไข่ ประเทศพม่า ไปยังประเทศปลายทาง ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย หรือประเทศอินโดนีเซีย ใช้ประเทศไทยเป็นทั้งทางผ่านและปลายทางเช่นเดียวกัน ซึ่งสาเหตุของการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญานั้นเปลี่ยนแปลงจากเหตุผลด้านเศรษฐกิจมาเป็นด้านของสิทธิ สถานะพลเมือง และการกดขี่ รวมถึงการใช้ความรุนแรง ซึ่งมีต้นเหตุมาจากประเทศต้นทาง โดยงานวิจัยในครั้งนี้สามารถสรุปถึงผลกระทบการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงญาต่อความมั่นคงของชาติทางทะเลได้ว่า มีผลกระทบในเชิงลบระดับปานกลาง โดยมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์จากทะเล แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติ ขบวนการค้ามนุษย์ การใช้เรือไม่ชักธง และการหลบหนีเข้าเมืองทางทะเลซึ่งเป็นผลสืบเนื่องต่อความมั่นคงทางบก


ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล, ธมนวรรณ จงเจริญชัยวงศ์ Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล, ธมนวรรณ จงเจริญชัยวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และศึกษาลักษณะพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่เคยซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่าช่องทางการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ที่นิยม คือ Shopee และ Lazada ความถี่ในการสั่งซื้อส่วนใหญ่ซื้อเดือนละ 1 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการสั่งซื้อครั้งละ 501-1,000 บาท สินค้าที่นิยมซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ คือ ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสระผม และ ของใช้ในบ้าน เช่น น้ำยาทำความสะอาด กระดาษชำระ สาเหตุที่เลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ คือ ความสะดวกสบาย ราคา และโปรโมชั่นสินค้า นิยมชำระเงินผ่านบัตรเครดิต/บัตรเดบิต และชอบนโยบายการจัดส่งสินค้าแบบฟรีค่าจัดส่ง ไม่มียอดการสั่งซื้อขั้นต่ำ (ราคาสินค้ารวมค่าจัดส่ง) และยังคงจะซื้อสินค้ายี่ห้อเดิม แต่จะซื้อจากช่องทางออนไลน์อื่นที่มีราคาสินค้าและค่าจัดส่งที่ถูกกว่า ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 5 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยด้านกายภาพและการนำเสนอ (Physical Evidence/Environment and Presentation) ปัจจัยการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ปัจจัยด้านการขนส่ง (Transportation) ปัจจัยด้านบุคคล (People) และปัจจัยผลิตภัณฑ์ (Product)


การลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้าในการขนส่งของธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเคมีภัณฑ์, อัคพงษ์ จักสอง Jan 2021

การลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้าในการขนส่งของธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเคมีภัณฑ์, อัคพงษ์ จักสอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้าในการขนส่ง ของธุรกิจนำเข้า – ส่งออกเคมีภัณฑ์ เป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1. ลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าขององค์กร 2. ปรับปรุงจุดสั่งซื้อใหม่ (Re-order Point : ROP) ให้มีประสิทธิภาพ 3. ลดต้นทุนในการจัดเก็บ และการสั่งซื้อสินค้า จากผลการศึกษาเรื่อง การลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้าในการขนส่ง ของธุรกิจนำเข้า – ส่งออกเคมีภัณฑ์ การใช้จุดสั่งซื้อใหม่แบบเดิมที่บริษัทใช้อยู่ทำให้สินค้าเกิดความขาดแคลน เนื่องจากเกิดการล่าช้าในการผลิตและขนส่ง อีกทั้งเวลานำ (Lead time) ในการขนส่งจากประเทศเนเทอร์แลนด์ 120 วันซึ่งถือว่ามีระยะเวลานาน และยังมีความไม่แน่นอน ดังนั้นผู้วิจัยได้นำเครื่องมือ มาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร โดยการพยากรณ์ความต้องการ การกำหนดจุดสั่งซื้อใหม่ (Re-order Point : ROP) การกำหนดสินค้าเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock) และการคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อประหยัด (Economic Order Quantity) เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้านการขนส่ง หรือ กรณีที่ฝ่ายขายมีการขายสินค้าเกินกว่า Demand ทำให้สินค้าเพียงพอต่อการขาย และผลจากการคำนวนพบว่า จากกรณีศึกษาสินค้าตัวอย่าง 5 รายการ มีผลให้ต้นทุนการสั่งซื้อและต้นทุนการเก็บรักษารวมลดลง 4,716,501.63 บาท หรือคิดเป็น 95%


การพยากรณ์ความต้องการเพื่อวางแผนการผลิตสินค้า : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์เซรามิก, สุภาภรณ์ สินวนาทรัพย์ Jan 2021

การพยากรณ์ความต้องการเพื่อวางแผนการผลิตสินค้า : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์เซรามิก, สุภาภรณ์ สินวนาทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริษัทในกรณีศึกษาใช้วิธีการวางแผนการผลิตโดยอาศัยประสบการณ์ของผู้จัดการและพนักงานฝ่ายดูแลสินค้าคงคลังซึ่งส่งผลให้สินค้าในบางช่วงเวลาขาดแคลน ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนแผนการผลิตแบบฉับพลัน ส่งผลกระทบต่อสายการผลิต ทำให้ต้องหยุดเครื่องจักรเพื่อตั้งค่าใหม่ เสียโอกาสในการผลิตสินค้า และอัตราส่วนสินค้าที่ได้มาตรฐานจะลดลงจากค่าเฉลี่ย หรือบางครั้งก็เกิดปัญหาสินค้าคงคลังมีมากเกินความต้องการ เกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลังเพิ่มเติม และยังทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงขึ้นจากปกติ งานวิจัยชิ้นนี้จึงต้องการที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้การพยากรณ์ยอดขายสินค้าเข้ามาช่วยในการปรับปรุงแผนการผลิต เพื่อให้มีความแม่นยำและสอดคล้องกับคำสั่งซื้อจริงที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด งานวิจัยชิ้นนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลยอดขายย้อนหลังเป็นเวลา 36 เดือน โดยที่ใช้ข้อมูล 24 เดือนแรกในการหาตัวแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสม และใช้ข้อมูลอีก 12 เดือนที่เหลือในการวัดผล ซึ่งพบว่ารูปแบบของข้อมูลยอดขายของ 7 กลุ่มสินค้าหลัก มีลักษณะคงที่ ไม่มีแนวโน้มและไม่มีฤดูกาลเหมือนกันหมด จึงเลือกใช้วิธีวิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีการปรับเรียบเอกซ์โพเนนเชียลอย่างง่าย และวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ในการกำหนดตัวแบบที่เหมาะสมตามแต่ละกลุ่มสินค้า ก่อนที่จะทำการพยากรณ์ยอดขายและวางแผนการผลิตใหม่โดยมีเป้าหมายที่จะลดจำนวนครั้งที่ต้องสั่งผลิตสินค้าต่ำกว่ากำหนด และลดจำนวนสินค้าคงคลังและค่าใช้จ่ายในส่วนสินค้าคงคลังลง ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าแผนการผลิตใหม่ที่ใช้การพยากรณ์ยอดขายเข้ามาช่วยในการวางแผน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเก็บรักษาสินค้าคงคลังโดยรวมลงเหลือ 4,188,094 บาท จากเดิม 4,646,831 บาท คิดเป็น 458,737 บาท หรือลดลง 9.87 %


การลดระยะเวลาการขนส่งและความเต็มใจที่จะจ่ายในการใช้บริการขนส่งภายในวันเดียวในเขตกรุงเทพมหานคร, วริทธิ์ ลิ้มสัมพันธ์ Jan 2021

การลดระยะเวลาการขนส่งและความเต็มใจที่จะจ่ายในการใช้บริการขนส่งภายในวันเดียวในเขตกรุงเทพมหานคร, วริทธิ์ ลิ้มสัมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการลดระยะเวลาการขนส่งพัสดุให้สามารถส่งแบบภายในวัน (Same Day Delivery) ในเขตกรุงเทพมหานครของบริษัทผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์เอกชนแห่งหนึ่งและศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายในการใช้บริการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการปรับปรุงขั้นตอนการขนส่งและความสูญเปล่าที่เกิดขี้นในด้านของระยะเวลา โดยการสัมภาษณ์พนักงานที่เกี่ยวข้อง และการหาความสูญเปล่า 7 ประการ (7 Wastes) ที่เกิดขึ้น และนำเครื่องมือการลดความสูญเปล่าด้วยหลักการ ECRS ได้แก่ การกำจัด (Eliminate) การรวมกัน (Combine) การจัดใหม่ (Re-arrange) และการทำให้ง่าย (Simplify) มาปรับปรุงกระบวนการขนส่งและกระจายพัสดุของบริษัทจากขนส่งแบบวันถัดไป (Next Day Delivery) เป็นขนส่งแบบภายในวัน (Same Day Delivery) ภายในเขตกรุงเทพมหานคร จากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่า กระบวนการหลังจากการปรับปรุงในเรื่องขั้นตอนกระบวนการกระจายพัสดุ ลดลงร้อยละ 28.57 ในเรื่องของระยะเวลาเฉลี่ยในการขนส่งพัสดุ ลดลงร้อยละ 58.03 และในเรื่องต้นทุนการกระจายพัสดุ พบว่าต้นทุนการกระจายพัสดุหลังการปรับปรุงจะเพิ่มขึ้นจากกระบวนการปัจจุบันร้อยละ 85.97 พร้อมทั้งทำการศึกษาแนวโน้มความสนใจที่จะใช้บริการและราคาที่ผู้ใช้บริการเต็มใจที่จะจ่าย (Willingness to Pay) ผ่านการทำแบบสอบถาม ซึ่งผลการศึกษาพบว่าประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มีผู้ให้ราคาที่เต็มใจจ่ายมากที่สุดอยู่ที่ราคา 200 บาท และเต็มใจจ่ายที่ราคาน้อยที่สุดอยู่ที่ 39 บาท โดยมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายในการใช้บริการขนส่งพัสดุภายในวันในเขตกรุงเทพมหานครมีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 47.8 บาท โดยจากการศึกษางานวิจัยดังกล่าวเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจทำบริการขนส่งพัสดุภายในวันเดียว รวมถึงให้กระบวนการขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การลดระยะเวลาที่สูญเปล่าในกระบวนการทำงานต่อไป


การลดความคลาดเคลื่อนของวัตถุดิบคงคลัง กรณีศึกษาบริษัทแปรรูปอาหารแช่แข็ง, วาทินี ปทุมผาย Jan 2021

การลดความคลาดเคลื่อนของวัตถุดิบคงคลัง กรณีศึกษาบริษัทแปรรูปอาหารแช่แข็ง, วาทินี ปทุมผาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาความคลาดเคลื่อนของวัตถุดิบคงคลังบริษัทแปรรูปอาหารแช่แข็ง ที่ส่งผลกระทบต่อแผนการผลิตทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ ต้องขอเลื่อนแผนการส่งออก ทำให้ระดับความพึงพอใจของลูกค้าลดลง การศึกษาปัญหาใช้วิธีวิเคราะห์กิจกรรมในกระบวนการไหลของวัตถุดิบแต่ละแผนกที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกและการสำรวจข้อมูลภาคสนามในการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ตั้งแต่การวางแผนวัตถุดิบ จนวัตถุดิบถูกผลิตเป็นสินค้า ผลจากการศึกษาพบว่าปัญหาความคลาดเคลื่อนของวัตถุดิบเกิดจากปัจจัยหลัก 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านคน เช่น การบันทึกข้อมูลการรับวัตถุดิบผิดพลาด 2) ปัจจัยด้านขั้นตอนการทำงาน จากการทำงานร่วมกันหลายระบบส่งผลให้การถ่ายโอนข้อมูลไม่สอดคล้องกัน จากการศึกษาในครั้งนี้จึงได้เสนอแนะแนวทางการลดความคลาดเคลื่อนโดย 1) การนำระบบบาร์โค้ดมาใช้เพื่อลดข้อผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลการรับวัตถุดิบและการจัดเก็บวัตถุดิบ 2) การใช้ ABC Classification ในการกำหนดวงรอบการนับวัตถุดิบและการปรับยอด 3) การกำหนดความถี่การถ่ายโอนข้อมูลอัตโนมัติของระบบให้เหมาะสม 4) การก่อสร้างพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อรองรับปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น


การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น บริษัทกรณีศึกษา : บริษัทรองเท้าและเสื้อผ้ากีฬา, ทศพล ทาเทพ Jan 2021

การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น บริษัทกรณีศึกษา : บริษัทรองเท้าและเสื้อผ้ากีฬา, ทศพล ทาเทพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าบริษัทกรณีศึกษารองเท้าและเสื้อผ้ากีฬา ซึ่งเป็นการพิจารณาปัจจัยเชิงคุณภาพและปัจจัยเชิงประมาณเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมในการตั้งคลังสินค้า โดยที่ทางเลือกในการตั้งคลังสินค้า 2 ทำเล คือ คลังสินค้าบางปะอิน และ คลังสินค้าบางนา การกำหนดงานวิจัยได้ใช้ผลคะแนนของค่าน้ำหนักความสำคัญที่ได้รับจากแบบสอบถามของผู้มีประสบการณ์ทางด้านโลจิสติกส์และมีสิทธิ์ในการตัดสินใจเพื่อหาค่าลำดับความสำคัญให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมกับบริษัทกรณีศึกษา นอกจากนี้เพื่อความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของทางเลือกที่ได้รับ ผู้วิจัยจึงมีการวิเคราะห์ความไวของหลักเกณฑ์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของทางเลือกที่มีความเสถียรและไม่เปลี่ยนแปลงไปตามค่าน้ำหนักความสำคัญของหลักเกณฑ์ที่ผู้วิจัยนำใช้ในการพิจารณา จากผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งคลังสินค้าที่ได้จากการเก็บแบบสอบถาม ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือปัจจัยเชิงปริมาณได้แก่ ปัจจัยด้านต้นทุนการขนส่งและด้านต้นทุนการจัดการคลังสินค้า อีกส่วนคือปัจจัยเชิงคุณภาพได้แก่ การเข้าถึงลูกค้า ระบบสาธารณูปโภค ความพร้อมของระบบคมนาคม สังคมและชุมชน การก่อมลพิษจากการขนส่ง สภาพภูมิประเทศ และ ผลกระทบจากการจราจร อีกทั้งมีการแบ่งหลักเกณฑ์ตามนโยบายบริษัท คือ นโยบายด้านความยั่งยืนโดยแบ่งเป็น ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้หลักเกณฑ์ที่ใช้มีความสอดคล้องกับการดำเนินงานของบริษัท และได้เพิ่มหลักเกณฑ์ทางด้านต้นทุนที่แต่เดิมทางบริษัทใช้ในการพิจารณา โดยผลที่ได้จากการพิจารณากระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ และ วิเคราะห์ความไวของหลักเกณฑ์ พบว่าทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการจัดตั้งคลังสินค้าของบริษัทกรณี คือ คลังสินค้าบางนา


การวิเคราะห์ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าของชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องจักรของ ท่าเรือแหลมฉบังในเขตพื้นที่ Eec กรณีศึกษาบริษัท Abc, ธนิสา รัตนโชติถาวร Jan 2021

การวิเคราะห์ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าของชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องจักรของ ท่าเรือแหลมฉบังในเขตพื้นที่ Eec กรณีศึกษาบริษัท Abc, ธนิสา รัตนโชติถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าของชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องจักรของท่าเรือแหลมฉบัง ในเขตพื้นที่ EEC กรณีศึกษาบริษัท ABC มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่เหมาะสมให้กับบริษัทกรณีศึกษา เพื่อประโยชน์ทางด้านธุรกิจในการขยายกิจการของบริษัท และเพื่อเพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ผู้วิจัยได้ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นเครื่องมือหลักในงานวิจัยชิ้นนี้ โดยได้มีการแบ่งการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง การวิเคราะห์ที่ตั้งศักยภาพของศูนย์กระจายสินค้า ด้วยการซ้อนทับชั้นข้อมูล ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเกณฑ์ที่กำหนด ได้มาจากการทบทวนวรรณกรรม และจากหน่วยงานราชการต่างๆ ส่วนที่สอง การวิเคราะห์เลือกพื้นที่ที่เหมาะสมที่มีระยะทางรวมไปยังโรงงานลูกค้า ดีที่สุด 3 อันดับแรก โดยวิเคราะห์ร่วมกับปริมาณความต้องการสินค้าของแต่ละโรงงาน ด้วยวิธีการวิเคราะห์เมทริกซ์ค่าใช้จ่ายระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดปลายทาง (Origin-Destination Cost Matrix Analysis) และในส่วนที่สาม การคัดกรองพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่สุด โดยแบ่งออกเป็น 1) การคัดกรองพื้นที่ตามปัจจัยขนาดพื้นที่ 2) การคัดกรองพื้นที่ตามปัจจัยโบราณสถานและกิจการบริการสาธารณะ และ 3) การคัดกรองพื้นที่ตามปัจจัยราคาที่ดิน จากการวิเคราะห์ สามารถสรุปผลการศึกษาได้ว่า พื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทกรณีศึกษา ควรอยู่ในบริเวณตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีพื้นที่รวม 155,085.16 ตารางเมตร มีความเหมาะสมทั้งขนาดพื้นที่ ราคาที่ดิน ระยะทางและปริมาณความต้องการสินค้า


การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด, ปริญญารัตน์ บุตรเงิน Jan 2021

การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด, ปริญญารัตน์ บุตรเงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับการตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด โดยเป็นการวิเคราะห์ผ่านระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ซึ่งปัจจัยได้จากการทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากการวิเคราะห์ 5 ปัจจัยในการเลือกพื้นที่ทางเลือกที่เหมาะสม พบว่า ปัจจัยขนาดพื้นที่เหมาะสมรวมถึงปัจจัยขอบเขตความปลอดภัยคือ พื้นที่ทางเลือกที่ 1, 3 และ 6 ปัจจัยเส้นทางคมนาคมหลักในนิคมอุตสาหกรรมคือ พื้นที่ทางเลือก 1, 2, 3, 5 และ 6 ปัจจัยเส้นทางการวางท่อส่งเชื้อเพลิงจากสถานีส่งเชื้อเพลิงภายในนิคมอุตสาหกรรม คือ พื้นที่ทางเลือก 1, 2, 3 และ 6 พบว่า พื้นที่ทางเลือก 1, 3 และ 6 ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด ในส่วนของการคัดกรองปัจจัยเพื่อหาทำเลที่เหมาะสมในพื้นที่ทางเลือก 1, 3 และ 6 พบว่า พื้นที่ทางเลือกที่ 1 ทางทิศใต้เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด


การปรับปรุงนโยบายการจัดการสินค้าคงคลัง : กรณีศึกษาบริษัทเทรดดิ้งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, พิมพ์ธาดา สุวรรณสมพงศ์ Jan 2021

การปรับปรุงนโยบายการจัดการสินค้าคงคลัง : กรณีศึกษาบริษัทเทรดดิ้งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, พิมพ์ธาดา สุวรรณสมพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาของการบริหารจัดการสินค้าคงคลังและกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงนโยบายสินค้าคงคลัง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยใช้การวิเคราะห์ ABC-XYZ Analysis เป็นเครื่องมือแบ่งกลุ่มสินค้า และใช้วิธีการควบคุมสินค้าคงคลังแบบกำหนดรอบ (Periodic Inventory System) จากนั้นทำการเปรียบเทียบตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังด้านต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผู้วิจัยได้คัดเลือกสินค้าเพื่อการศึกษาจำนวน 2 รายการ ซึ่งประสบปัญหาแตกต่างกัน ทำให้การคำนวณหาปริมาณสินค้าคงคลังสำรอง (Safety Stock) นั้นแตกต่างกัน ได้แก่ 1) สินค้าจากกลุ่ม AY ที่ยอดขายสูงมาก แต่มีความต้องการสินค้าและระยะเวลาจัดส่งที่แปรผัน 2) สินค้าจากกลุ่ม BX ที่ยอดขายสูง มีความต้องการสินค้าคงที่ แต่มีระยะเวลาจัดส่งแปรผัน อีกทั้งมีการกำหนดใช้ระดับการให้บริการ (Customer Service Level) ในหลายระดับสำหรับทดสอบและเปรียบเทียบผลลัพธ์จากตัวชี้วัดประสิทธิภาพ ผลจากการวิจัย พบว่าสามารถกำหนดแนวทางในการปรับปรุงนโยบายการจัดการสินค้าคงคลังได้ 3 แนวทาง ดังนี้ 1) มุ่งเน้นการตอบสนองการความต้องการอย่างสูงสุด 2) เพิ่มการตอบสนองความต้องการให้ดีเทียบเท่าในอดีต 3) เน้นควบคุมต้นทุนสินค้าคงคลัง และเพิ่มการตอบสนองความต้องการให้ดีขึ้นจากปัจจุบัน โดยเมื่อเทียบกับนโยบายปัจจุบันพบว่าทั้งสามแนวทางส่งผลให้ต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น 3.4% 2.3% และ 1.5% ตามลำดับ แต่จะทำให้ต้นทุนการเสียโอกาสในการขายและอัตราจำนวนสินค้าสำเร็จรูปขาดมือลดลงอย่างมาก ในขณะที่ระยะเวลาที่ใช้ในการขายสินค้าคงคลังคงเหลือจะเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 1 วันเท่านั้น


การบูรณาการระบบแสดงตนอัตโนมัติกับการตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเลของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.), จุฑามาศ พบสุข Jan 2021

การบูรณาการระบบแสดงตนอัตโนมัติกับการตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเลของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.), จุฑามาศ พบสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) กับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ด้วยข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ที่มาจากการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์ แสดงความคิดเห็น ผ่านแบบสอบถามของเทคนิค Delphi กำหนดประเด็นสำคัญของปัญหา เพื่อสร้างเครื่องมือและเก็บข้อมูล นำมาใช้สรุปผล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อแสดงว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเป็นหนึ่งเดียวกันในการบูรณาการระบบ AIS และการผลักดันเชิงนโยบายของ MDA ผลการวิจัยพบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเข้าใจการตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเล โดยเชื่อว่าการให้อำนาจผู้นำประเทศ ในด้านนโยบายเกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ส่งผลต่อความมั่นคงทางทะเลและยุทธศาสตร์ของประเทศที่ยั่งยืน โดยพบประเด็นปัญหาในเรื่องที่ MDA มีผลในเรื่องของแผนยุทธศาสตร์ ที่ใช้ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติในทุกด้าน จึงจำเป็นที่ต้องกำหนดหน่วยงานที่เข้าได้ถึงชั้นข้อมูลเพื่อการรักษาชั้นความลับ โดยให้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นผู้ดำเนินการ อาศัยข้อมูลจากระบบ AIS เพื่อการรักษาความปลอดภัยในทะเลและตรวจสอบเรือที่ละเมิดอธิปไตยและกระทำผิดกฎหมาย ในน่านน้ำไทย โดยต้องดำเนินการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและผลประโยชน์สูงสุดที่ยั่งยืน ที่เกี่ยวเนื่องกับทะเลในทุกมิติ