Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operations and Supply Chain Management Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2020

Articles 1 - 30 of 58

Full-Text Articles in Operations and Supply Chain Management

ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้บริโภคต่อสินค้าขาดสต๊อคเปรียบเทียบระหว่าง Gen Y และ Gen Z : กรณีศึกษาครีมบำรุงผิวและแชมพูสระผมในร้านค้าปลีกทั่วไป, ณัฐธิดา อังควานิช Jan 2020

ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้บริโภคต่อสินค้าขาดสต๊อคเปรียบเทียบระหว่าง Gen Y และ Gen Z : กรณีศึกษาครีมบำรุงผิวและแชมพูสระผมในร้านค้าปลีกทั่วไป, ณัฐธิดา อังควานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลกระทบที่เกิดจากปัญหาสินค้าขาดแคลน โดยศึกษาถึงปฏิกิริยาของ Gen Y และ Gen Z รวมไปถึงศึกษาถึงผลกระทบและความสูญเสียที่เกิดกับผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายและผู้ค้าปลีก โดยใช้กรณีศึกษาแชมพูสระผมและครีมบำรุงผิวกายในช่องทางค้าปลีกทันสมัยในกรุงเทพมหานคร งานวิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลผ่านการทำแบบสอบถามออนไลน์จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คนในกรุงเทพมหานคร โดยการนำ T-test, F-test และ Chi Square มาวิเคราะห์ ซึ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามแบ่งออกเป็น Gen Y 60% Gen Z 40.% และปฏิกิริยาเมื่อสินค้าขาดแคลนแบ่งออกเป็น 4 ทางเลือกคือเปลี่ยนตราสินค้า เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนร้าน กลับมาซื้อวันหลัง และไม่ซื้อสินค้า เมื่อแชมพูขาดแคลน Gen Y และ Gen Z เลือกที่จะเปลี่ยนไปซื้อตราสินค้าอื่นคิดเป็นร้อยละ 29 และร้อยละ 37 ตามลำดับ เมื่อครีมบำรุงผิวกายเมื่อขาดแคลน Gen Y และ Gen Z เลือกที่จะเปลี่ยนไปซื้อร้านอื่นคิดเป็นร้อยละ 30 และร้อยละ 30 ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแชมพูมากที่สุดคือปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าครีมบำรุงผิวกายมากที่สุดคือปัจจัยทางด้านราคา ทั้งนี้หากสินค้าขาดแคลน ผู้ผลิตจะสูญเสียยอดขาย 1.07 บาทต่อครั้งในครีมบำรุงผิวกายและ 1.00 บาทต่อครั้งในแชมพูสระผม และผู้ค้าปลีกจะเกิดการสูญเสียยอดขาย 1.22 บาทต่อครั้งในครีมบำรุงผิวกายและ 0.96 บาทต่อครั้งในแชมพูสระผม


การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนซื้อรถบรรทุกหัวลาก, รวิสรา ขจรวีระธรรม Jan 2020

การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนซื้อรถบรรทุกหัวลาก, รวิสรา ขจรวีระธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงงานพิเศษฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนซื้อรถบรรทุกหัวลาก เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจรับขนส่งสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาแห่งหนึ่ง โดยใช้เครื่องมือทางการเงินซึ่งประกอบไปด้วยระยะเวลาคืนทุนคิดลด (Discounted Payback Period) มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิ (NPV) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (BC Ratio) อัตราส่วนผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR) และการวิเคราะห์ความไว มาเป็นเกณฑ์ในการวัดความคุ้มค่าของโครงการว่าควรลงทุนซื้อรถบรรทุกหัวลากหรือไม่ ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนซื้อรถบรรทุกหัวลากในธุรกิจรับขนส่งสินค้าของบริษัทกรณีศึกษา มีความเป็นไปได้ในการลงทุนซื้อรถเพียง 1 คัน โดยมีระยะเวลาคืนทุนคิดลดของโครงการเท่ากับ 4.81 ปี มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิ มีค่าเท่ากับ 3,294,788.24 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน มีค่าเท่ากับ 6.27 เท่า และอัตราส่วนผลตอบแทนภายในโครงการ มีค่าเท่ากับร้อยละ 29.67 และเมื่อนำมาวิเคราะห์ความไว โดยมีการกำหนดให้ผลตอบแทนลดลงร้อยละ 5 และ 10 ต่อปี และต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และ 10 ต่อปี พบว่า โครงการดังกล่าวยังมีความเป็นไปได้และน่าสนใจลงทุน โดยระยะเวลาคืนทุนยังอยู่ภายใต้ช่วงเวลาที่กำหนด มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดมีค่ามากกว่า 0 และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนมีค่ามากกว่า 1 และอัตราส่วนผลตอบแทนภายในโครงการมีค่ามากกว่าเกณฑ์ที่บริษัทคาดหวังทุกกรณี ยกเว้นกรณีที่ผลตอบแทนของโครงการลดลงร้อยละ 10 ต่อปีที่อัตราส่วนผลตอบแทนภายในโครงการมีค่าน้อยกว่าเกณฑ์ที่คาดหวังที่ทำให้โครงการนี้ไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน


ปัจจัยทางโลจิสติกส์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเช่าที่อยู่อาศัย, วรรณพร ม้าคนอง Jan 2020

ปัจจัยทางโลจิสติกส์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเช่าที่อยู่อาศัย, วรรณพร ม้าคนอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยทางโลจิสติกส์ใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเช่าที่อยู่อาศัย โดยสำรวจจากประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 424 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นเชิงปริมาณ (Quantitative study) โดยมีเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยในการที่ตัดสินใจเช่าที่อยู่อาศัย มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ และ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) ผลวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) พบว่า ปัจจัยทางโลจิสติกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าที่อยู่อาศัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัย 0.05 คือ 1) ระยะทางระหว่างที่พักกับสถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษา 2)การมีรถประจำทางให้บริการในบริเวณใกล้เคียง และปัจจัยทางโลจิสติกส์มีอิทธิพลสุดสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ระยะทางหว่างที่พักกับสถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวและรถประจำทาง ทำให้ปัจจัยทำเลที่ตั้งใกล้สถานีรถไฟฟ้าและอัตราโดยสารรถไฟฟ้าไม่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าที่อยู่อาศัย ทำเลที่ตั้งใกล้ห้างสรรพสินค้า หรือตลาดเป็นแหล่งชุมชนมาผู้สัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดความแออัด และความไม่เป็นส่วนตัวให้แก่ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นทำให้ผู้เช่า หรือผู้ที่ต้องการเช่าที่อยู่อาศัยไม่เลือกอยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าว และเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นกลุ่มวัยรุ่นยังไม่เห็นถึงความสำคัญของโรงพยาบาล จึงไม่คำนึงถึงทำเลที่ตั้งให้โรงพยาบาล


การบริหารจัดการการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพัสดุคงคลัง กรณีศึกษาโรงงานผลิตอุปกรณ์อลูมิเนียม, ปวริศา ต่อศรีเจริญ Jan 2020

การบริหารจัดการการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพัสดุคงคลัง กรณีศึกษาโรงงานผลิตอุปกรณ์อลูมิเนียม, ปวริศา ต่อศรีเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการวางแผนการผลิตโดยใช้แนวคิดระบบผลักและดึงร่วมกัน พร้อมทั้งเสนอนโยบายพัสดุคงคลังทั้งในระดับสินค้าสำเร็จรูปและชิ้นส่วนการผลิต สำหรับธุรกิจ SMEs ประเภทการผลิตแบบประกอบโดยมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทกรณีศึกษามีลักษณะเป็น Make to Stock และ Assemble to Order ที่ใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน ทั้งสายการผลิต ชิ้นส่วนการผลิต และวัตถุดิบ ปัจจุบันพบความล่าช้าในการส่งมอบเกินจากที่บริษัทยอมรับได้ 11% งานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของบริษัทและนำมาวิเคราะห์หาปริมาณความต้องการ กำลังการผลิต และค่าใช้จ่ายพัสดุคงคลัง เพื่อใช้ในการกำหนดเงื่อนไขว่ากระบวนการผลิตควรใช้ระบบผลักหรือดึง จากนั้นจึงทำการกำหนดนโยบายพัสดุคงคลังจากการศึกษาลักษณะรูปแบบความต้องการของลูกค้า ระยะเวลานำ ความแปรปรวนที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารพัสดุคงคลัง จึงได้นำเสนอ นโยบายระดับคงคลังเป้าหมาย (OUL) สำหรับสินค้าสำเร็จรูป เนื่องจากข้อจำกัดด้านกำลังการผลิต และเสนอนโยบายปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ) สำหรับชิ้นส่วนการผลิต จากการเปรียบเทียบต้นทุนการสั่งผลิตและต้นทุนการถือครอง จากรูปแบบกระบวนการผลิตผลักและดึงรวมทั้งนโยบายพัสดุคงคลังที่นำเสนอ ได้ถูกนำไปทดสอบการจำลองการวางแผนการผลิตด้วยโปรแกรม Microsoft Excel พบว่า วิธีที่นำเสนอสามารถใช้ระบบดึงกับชิ้นส่วนแผ่นเหล็กได้ 5 รายการและสินค้าสำเร็จรูปได้ 7 รายการ นอกจากนี้นโยบายพัสดุงคลังใหม่ที่นำเสนอสามารถเพิ่มอัตราการเติมเต็มพัสดุได้ 7 ผลิตภัณฑ์ ส่วนอีก 5 ผลิตภัณฑ์ยังสามารถรักษาอัตราการเติมเต็มได้ที่ 100% ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพัสดุคงคลังทั้งหมดลดลง 29.9% หรือคิดเป็นมูลค่า 92,000 บาทโดยประมาณ


การวางแผนการขนส่งน้ำมันทางเรือภายใต้ความไม่แน่นอนของอุปสงค์และความพร้อมของทรัพยากร, ชลธิศ บำรุงวัด Jan 2020

การวางแผนการขนส่งน้ำมันทางเรือภายใต้ความไม่แน่นอนของอุปสงค์และความพร้อมของทรัพยากร, ชลธิศ บำรุงวัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ของการวางแผนขนส่งน้ำมันทางเรือจำนวน 3 ประเภทจากโรงกลั่นกรุงเทพมหานครไปเติมที่คลังน้ำมันปลายทางสุราษฎร์ธานีภายใต้ความไม่แน่นอนของอุปสงค์และความพร้อมของทรัพยากร อุปสงค์น้ำมันถูกจำลองขึ้นมาเทคนิคมอนติคาร์โล ขณะที่ตัวแปรในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อแบบจำลองประกอบด้วย ระดับน้ำมันในถัง จำนวนและขนาดบรรทุกของเรือ ความพร้อมของเรือขนส่งในสัญญา และความพร้อมของท่าเรือ และแบบจำลองถูกสร้างเพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ตามเงื่อนไขเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณบรรทุกของเรือขนส่งและนโยบายการเติมสินค้า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่กำหนดนโยบายการเติมสินค้าแบบ 70/70/70 ซึ่งเป็นการกำหนดจุดเติมสินค้าเมื่อถังมีพื้นที่ว่าง 70 เปอร์เซ็นต์ ผลลัพธ์จากแบบจำลองแสดงให้เห็นว่าการวางแผนขนส่งด้วยเรือ 2 ลำ ที่ปริมาณบรรทุกรวม 3.2 ล้านลิตร ทำให้เกิดต้นทุนรวมค่าขนส่งต่ำที่สุด สำหรับนโยบายทางเลือกที่ปรับปรุงจุดเติมสินค้าของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเมื่อถังมีพื้นที่ว่าง 60 เปอร์เซ็นต์ ได้ส่งผลต่ออรรถประโยชน์ในการใช้เรือเพิ่มขึ้น การลดลงของน้ำมันขาดมือที่คลังปลายทาง และต้นทุนรวมค่าขนส่งที่ลดลง จากผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและต้นทุนมีผลกระทบมาจากนโยบายการเติมสินค้าและจำนวนเรือขนส่ง


การปรับปรุงกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อแบบโครงการ, อัจฉราพร นาคจู Jan 2020

การปรับปรุงกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อแบบโครงการ, อัจฉราพร นาคจู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้คือ ปรับปรุงกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อแบบโครงการภายในประเทศของบริษัทกรณีศึกษาเป็นบริษัทค้าปลีก จำหน่ายสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย โดยการประยุกต์ใช้แนวทางดำเนินงานวิจัยด้วยหลักซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) ตามกระบวนการ Define – Measure – Analysis- Improve - Control เริ่มจากการศึกษาแผนภูมิองค์กรของหน่วยงานที่ดูแลคำสั่งซื้อแบบโครงการ แผนผังการไหลของกระบวนการ สอบถามพนักงานที่ปฏิบัติงานหน้างานจริง มุ่งเน้นหาสาเหตุของปัญหาการจัดส่งแบบ Late Full ทั้งหมด 6,044 คำสั่งซื้อ (36%) พบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา 6 สาเหตุ และเสนอให้มีการปรับปรุงกระบวนการและการควบคุมแยกเป็นภายในองค์กรและคู่ค้า ภายในองค์กรมีการปรับปรุงการไหลเวียนของข้อมูล การกระจายข้อมูลไปยังผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานได้อย่างทั่วถึง การลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าข้ามสาขาโดยการใช้รถเที่ยวเปล่า สามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้ 51-73% การปรับกระบวนการ S&OP เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน วางแผนอย่างน้อย 12 เดือนยาวพอที่จะครอบคลุมระยะเวลาในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ส่วนคู่ค้าจะต้องให้ความสำคัญกับการเข้ามาใช้ระบบ VRM ของบริษัท เพื่อเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ และยอมรับผลการประเมิน เพื่อกำหนดกรอบการทำงานและออกแบบกระบวนการทำงานที่เหมาะสมต่อไป


การวิเคราะห์การจัดเส้นทางการให้บริการหลังการขายด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : กรณีศึกษา บริษัท Xyz, ธมนวรรณ พูลพุฒ Jan 2020

การวิเคราะห์การจัดเส้นทางการให้บริการหลังการขายด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : กรณีศึกษา บริษัท Xyz, ธมนวรรณ พูลพุฒ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจบอร์ดแบนด์อินเทอร์เน็ต การได้กำไรในด้านการบริการหลังการขาย คือการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหรือการลดระยะการเดินทางการให้บริการของช่างที่ไปบ้านลูกค้ากรณีมีเหตุแจ้งเสีย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดเส้นทางบริการหลังการขาย เพื่อยกระดับการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นประหยัดต้นทุนด้านการบริการหลังการขาย คือลดระยะเส้นทางการดำเนินงานให้น้อยลง โดยพิจารณาจากตำแหน่งลูกค้าที่ต้องให้บริการ เวลาที่ลูกค้านัดหมาย และระยะทางในการเดินทางของช่าง โดยนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มาประยุกต์ในการจำลองเส้นทางการทำงานแบบเดิม โดยให้วิเคราะห์แบบคงลำดับการทำงานแบบเดิม (ฟังก์ชัน Route) และวิเคราะห์เส้นทางการทำงานแบบใหม่ที่เหมาะสม โดยให้จัดลำดับลูกค้าใหม่ได้ (ฟังก์ชัน Vehicle Routing Problem หรือ VRP) ผลการวิจัยพบว่า สามารถลดจำนวนเส้นทางการให้บริการของช่างได้ถึง 15 เส้นทาง คิดเป็นลดลงร้อยละ 6.12 สามารถลดระยะการทำงานได้ถึง 1,730.83 กิโลเมตร คิดเป็นลดลงร้อยละ 20.59 แต่ในส่วนของการตรงต่อเวลานัดหมายลดลงจากเดิม 3.31% ซึ่งเป็นการล่าช้าในเวลาไม่เกิน 10 นาที


การวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างการลงทุนบริหารรถขนส่งเองและใช้บริการรถขนส่งภายนอก เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน กรณีศึกษาบริษัท Abc, ภาวิณี ด่านธนะชัย Jan 2020

การวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างการลงทุนบริหารรถขนส่งเองและใช้บริการรถขนส่งภายนอก เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน กรณีศึกษาบริษัท Abc, ภาวิณี ด่านธนะชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนซื้อรถขนส่งสินค้าของบริษัทกรณีศึกษา เพื่อทดแทนการใช้บริการรถขนส่งภายนอกและวิเคราะห์หาจำนวนรถขนส่งที่เหมาะสม นำมาประกอบการตัดสินใจการลงทุนโดยได้แบ่งกรอบการวิจัยครั้งนี้ออกเป็น 3 ส่วน การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งเพื่อหาจำนวนรถที่เหมาะสม, การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการการจัดการการขนส่งโดยประเมินการใช้ประโยชน์ของรถบรรทุก และการวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อศึกษาความคุ้มค่า ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ความต้องการการใช้รถบรรทุกขนส่ง6ล้อ ของปี พ.ศ. 2562 พบว่าเฉลี่ยใช้จำนวน6คันต่อวัน จากนั้นวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนระหว่างการขนส่งโดยบริหารรถขนส่งเองและว่าจ้างผู้ให้บริการขนส่งภายนอก จัดเส้นทางการเดินรถขนส่ง โดยจำลองออกเป็น3ทางเลือก ระหว่างการใช้บริการผู้ให้บริการขนส่งภายนอกทั้งหมด, การบริหารรถขนส่งด้วยตนเองทั้งหมด และ ใช้ทั้ง2แบบร่วมกัน เพื่อหาจำนวนรถที่เหมาะสมที่สุด ผลการศึกษาพบว่าจำนวนรถที่เหมาะที่สุดคือ2คัน โดยก่อให้เกิดต้นทุนต่ำที่สุด มีการใช้ประโยชน์สูงถึง 97% ต่อมาวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อศึกษาความคุ้มค่า เป็น3กรณี ต้นทุนเพิ่มขึ้นทั้งหมด 5%ต่อปี ต่างกันที่รายได้คงที่และลดลง 1-2% ตามลำดับ ซึ่งผลคือโครงการนี้ยังคุ้มค่าแก่การลงทุนแม้รายได้จะคงที่ เนื่องจากมีระยะเวลาคืนทุนคิดลดน้อยกว่าระยะเวลาโครงการ ผลตอบแทนสุทธิของโครงการมากกว่า 0 เท่ากับ 2,028,671.88 บาท , 1,033,734.31 และ 113,481.68 บาทตามลำดับ อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 1.44 เท่า,1.22 เท่า และ 1.02 เท่า แม้ว่าอัตราผลตอบแทนภายในโครงการจะน้อยกว่าอัตราที่บริษัทกำหนดไว้(15%) ได้เพียง 6.87%, 4.04% และ 0.53%


การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการจัดส่งครุภัณฑ์สายพลาธิการให้กับคลังสาขาระหว่างวิธีขนส่งด้วยยานพาหนะของตัวเองกับการว่าจ้างจากภายนอก, ภานุวัฒน์ แสนอุ่น Jan 2020

การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการจัดส่งครุภัณฑ์สายพลาธิการให้กับคลังสาขาระหว่างวิธีขนส่งด้วยยานพาหนะของตัวเองกับการว่าจ้างจากภายนอก, ภานุวัฒน์ แสนอุ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบการจัดส่งครุภัณฑ์ของกองทัพเรือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการแจกจ่ายครุภัณฑ์สายพลาธิการของกองทัพเรือ รวมไปถึงเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย และต้นทุนที่เกิดขึ้นของการจัดส่งครุภัณฑ์สายพลาธิการให้กับคลังสาขา ด้วยวิธีขนส่งด้วยยานพาหนะของกองทัพเรือเอง กับการว่าจ้างบริษัทเอกชนในการขนส่ง โดยทำการเก็บรวมรวมข้อมูลการดำเนินกิจกรรมขนส่งพัสดุสายพลาธิการให้กับคลังสาขาของกองทัพเรือในช่วงปี 2562 ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกในรายละเอียดของข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับต้นทุนในวงจรชีวิตของยานพาหนะที่กองทัพเรือใช้ จากการศึกษาพบว่า ต้นทุนรวมของการขนส่งด้วยยานพาหนะของตัวเอง มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการขนส่งโดยว่าจ้างจากภายนอก 348,736.50 บาท ในปี 2562 (802,736.50 - 454,000 บาท) อย่างไรก็ตาม การขนส่งด้วยยานพาหนะของตัวเองมีข้อดีในด้านความรวดเร็ว คล่องตัวและมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน จากการศึกษาพบว่าต้นทุนในส่วนของยานพาหนะรถยนต์บรรทุกขนาดเล็กมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง ประกอบกับบทสัมภาษณ์ความต้องการใช้ยานพาหนะของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องเห็นว่ารถยนต์บรรทุกขนาดเล็กยังมีความจำเป็นในการใช้ปฏิบัติราชการอยู่ ดังนั้น รูปแบบการขนส่งที่เหมาะสม คือ การขนส่งโดยว่าจ้างจากภายนอก ควบคู่การการขนส่งด้วยยานพาหนะของตัวเองด้วยยานหนะรถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก สำหรับการขนส่งระยะใกล้ (พื้นที่สัตหีบ)


การวิเคราะห์ปัจจัยและพื้นที่ศึกษา สำหรับสร้างโรงงานผลิตท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ด้วยกระบวนการ Ahp ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ Gis, ธนา ภัทรจรรยานันท์ Jan 2020

การวิเคราะห์ปัจจัยและพื้นที่ศึกษา สำหรับสร้างโรงงานผลิตท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ด้วยกระบวนการ Ahp ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ Gis, ธนา ภัทรจรรยานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อเป็นที่ตั้งโรงงานผลิตท่อส่งก๊าซธรรมชาติ LNG บริเวณพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและขนส่งสินค้า เนื่องจากตัวสินค้ามีลักษณะเฉพาะ พร้อมทั้งช่วยลดระยะเวลาในการคัดเลือกพื้นที่ซึ่งอาจกระทบต่อระยะเวลาในสัญญารับเหมาก่อสร้าง ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และวิศวกรผู้ปฏิบัติงานจริงจำนวน 7 ท่าน ในการประเมินลำดับความสำคัญของปัจจัยหลักซึ่งแบ่งตามทฤษฎี 7R Logistics และปัจจัยรองภายในกลุ่มปัจจัยหลักเดียวกัน ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process; AHP) จากนั้นจึงทำผลที่ได้มานำเสนอร่วมกับ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกพื้นที่ต่อไป ผลจากการวิเคราะห์ลำดับสำคัญของปัจจัยพบว่า กลุ่มปัจจัยหลักที่ได้รับลำดับความสำคัญของปัจจัยค่อนข้างสูง ได้แก่ ความสมบูรณ์ของสินค้า (Right Conviction) 31.74% , ความถูกต้องเหมาะสมทางภูมิศาสตร์และความพร้อมของพื้นที่ (Right Place) 28.04% และ ความถูกต้องด้านปริมาณสินค้า (Right Quantity) 20.87% ส่วนกลุ่มปัจจัยหลักที่ได้รับลำดับความสำคัญค่อนข้างน้อยได้แก่ ความถูกต้องเหมาะสมด้านต้นทุน (Right Cost) 10.66% และ ความถูกต้องในเรื่องระยะเวลา (Right Time) 8.69% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของพื้นที่ศึกษาพบว่าบริเวณพื้นที่นิคมอุสาหกรรมแหลมฉบังมีคุณสมบัติตรงตามกลุ่มปัจจัยที่มีลำดับความสำคัญสูง มากกว่าบริเวณพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ส่วนกลุ่มปัจจัยที่มีความสำคัญค่อนข้างน้อยทั้งสองพื้นที่มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกันทั้งสองพื้นที่


แนวทางการพัฒนากระบวนการศุลกากรสำหรับสินค้าผ่านแดนอาเซียน, นารถฤดี โจลัตสาห์กุล Jan 2020

แนวทางการพัฒนากระบวนการศุลกากรสำหรับสินค้าผ่านแดนอาเซียน, นารถฤดี โจลัตสาห์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปสรรคในการดำเนินกระบวนการศุลกากรผ่านแดนภายใต้ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการนำร่องระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน และแนวทางในการพัฒนากระบวนการศุลกากรผ่านแดนอาเซียน เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการที่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้ขอผ่านแดนในระบบทะเบียนผู้มาติดต่อของกรมศุลกากร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลของการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมโครงการนำร่องระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ได้แก่ 1) ความยุ่งยากในกระบวนการจัดทำหรือส่งคืนใบขนสินค้าชนิดพิเศษสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้าผ่านแดนในการดำเนินพิธีการศุลกากรผ่านแดนขาออก ซึ่งกระบวนการดังกล่าวไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกระบวนการศุลกากรผ่านแดน 2) การแสดงผลของสถานะใบขนสินค้าผ่านแดนอาเซียนสามารถแสดงผลได้อย่างเป็นปัจจุบัน โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมกระบวนการศุลกากรผ่านแดนภายใต้ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน และ 3) ความยุ่งยากในการแก้ไขข้อมูลในใบขนสินค้าผ่านแดนอาเซียนผ่านระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการศุลกากรผ่านแดนภายใต้ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะจากการศึกษา ดังนี้ 1) ปรับลดระเบียบและขั้นตอนในการดำเนินกระบวนการศุลกากรผ่านแดน 2) ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียนมากขึ้น 3) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ และ 4) ประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐมากขึ้น


การตัดสินใจเลือกรูปแบบในการจัดการมูลฝอยของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง, นพรัตน์ นุ่มศิริ Jan 2020

การตัดสินใจเลือกรูปแบบในการจัดการมูลฝอยของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง, นพรัตน์ นุ่มศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการตัดสินใจเลือกรูปแบบในการจัดการมูลฝอยของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย และพิจารณาเลือกรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดการมูลฝอยของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง เริ่มจากการรวบรวมปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัย แล้วนำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้องเพื่อคัดเลือกปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการมูลฝอยของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง โดยนำกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ มาช่วยหาลำดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการมูลฝอยของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง รวมถึงช่วยในการตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดในการจัดการมูลฝอย จาก 3 รูปแบบ คือ กองทัพอากาศดำเนินการเอง การจัดจ้างองค์กรเอกชน และ การจัดจ้างองค์กรของรัฐ โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการมูลฝอยของกองทัพอากาศจำนวน 7 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการมูลฝอยของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมืองสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ปัจจัยด้านการจัดการมูลฝอยเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมของกองทัพอากาศ ปัจจัยด้านความปลอดภัยต่อบุคลากร และ ปัจจัยด้านหน่วยงานที่รับผิดชอบ สำหรับรูปแบบการจัดการมูลฝอยของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมืองที่เหมาะสมที่สุด คือ กองทัพอากาศดำเนินการเอง


Development Of Tod Readiness Index And Its Application To Transit Station In Bangkok, Srisamrit Supaprasert Jan 2020

Development Of Tod Readiness Index And Its Application To Transit Station In Bangkok, Srisamrit Supaprasert

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Studies on the Transit-Oriented Development (TOD) for Bangkok are found sparingly. The TOD concept is a supportive development for the rapidly changing city in order to reduce urban transport problems while encouraging people to shift transport modes to use public transportation instead of private cars. This study discusses the context of TOD in the density, the design, and the diversity of land use around transit stations among successful stations in many countries. There were 18 station areas in Bangkok which, by using the TOD Readiness score, the assessment of the stations implies that the higher scoring transit stations are more …


การจัดซื้อภายใต้ต้นทุนเป้าหมาย กรณีตัวอย่างบริษัทวิศวกรรมตามคำสั่งซื้อ, บุญนภางค์ เจริญพรรุ่งเรือง Jan 2020

การจัดซื้อภายใต้ต้นทุนเป้าหมาย กรณีตัวอย่างบริษัทวิศวกรรมตามคำสั่งซื้อ, บุญนภางค์ เจริญพรรุ่งเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดซื้อภายใต้ต้นทุนเป้าหมายในบริษัทที่มีธุรกิจแบบวิศวกรรมตามคำสั่งซื้อ (ETO-Engineer to order) ที่มีสินค้าหลากหลายสูงและปริมาณในการสั่งซื้อต่ำ จุดประสงค์ในการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการกำหนดการจัดซื้อที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาต้นทุนสูงราคาที่เสนอต่อลูกค้าไม่สามารถแข่งขันได้ จากการศึกษาบริษัทตัวอย่างพบว่า มีการใช้ซัพพลายเออร์เพียงรายเดียวจากประเทศในกลุ่มประเทศยุโรป และไม่มีระบบการจัดหามาก่อน สารนิพนธ์ฉบับนี้อาศัยหลักการของการจัดซื้อภายใต้ต้นทุนเป้าหมาย โดยแบ่งกระบวนการทำงานออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่1 เริ่มจากการจัดตั้งทีมทำงานในระดับผู้บริหารเพื่อกำหนดกลยุทธ์และนโยบายในการดำเนินงาน ขั้นตอนที่2 คัดเลือกชิ้นส่วนนำร่องเพื่อกำหนดต้นทุนเป้าหมายในแต่ละชิ้นส่วนโดยคำนึงถึงราคาตลาดและอัตรากำไรที่ต้องการ ขั้นตอนที่3 จำแนกซัพพลายเออร์โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและ ประเมินและคัดเลือกซัพพลายเออร์จากเงื่อนไขทีกำหนด ขั้นตอนที่4 ทำการทวนสอบตามขั้นตอนที่ออกแบบภายใต้ต้นทุนเป้าหมายและทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนากระบวนการจัดซื้อ ผลการประเมินขั้นต้นพบว่า บริษัทกรณีศึกษาสามารถลดต้นทุนลงได้ถึง 34% เมื่อเทียบกับต้นทุนเดิม ปัญหางานวิจัยที่พบในช่วงแรกของการศึกษาคือความท้าทายด้านการปรับแนวคิด ทัศนคติ และการสร้างความเข้าใจในปัญหาของทีมทำงาน


การปรับปรุงกระบวนการคัดเลือกรายการวัสดุสำหรับทำสัญญายืนราคา : กรณีศึกษาบริษัทผลิตเหล็ก, พฤกษณี สุขกุล Jan 2020

การปรับปรุงกระบวนการคัดเลือกรายการวัสดุสำหรับทำสัญญายืนราคา : กรณีศึกษาบริษัทผลิตเหล็ก, พฤกษณี สุขกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการคัดเลือกรายการวัสดุสำหรับทำสัญญายืนราคาในงานจัดซื้อ กรณีศึกษาบริษัทผลิตเหล็กก่อสร้าง เพื่อให้ %Contract coverage และ %Effectiveness มีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับปัจจุบัน การวิจัยได้วิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการคัดเลือก โดยมีแนวทางจะคัดเลือกรายการวัสดุที่มีโอกาสเกิดการสั่งซื้อมาทำสัญญายืนราคา สามารถแบ่งข้อมูลเป็น 2 ส่วนหลัก ดังนี้ (1) รายการที่บริษัทมีข้อมูลอยู่แล้ว คือ รายการวัสดุกลุ่มสถานะ Fast Move เป็นรายการที่มีความถี่ในการใช้งานสูง มีโอกาสเกิดการสั่งซื้อมากกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งจากการพิสูจน์โดยใช้ประวัติการสั่งซื้อย้อนหลัง พบว่าจำนวนรายการวัสดุที่เกิดการสั่งการสั่งซื้อจริงมีมากกว่า 90% จากรายการทั้งหมด ข้อมูลชุดนี้มีความแม่นยำสามารถใช้เป็น Contract price list ใหม่ได้ (2) รายการที่เกิดจากคัดเลือกใหม่ 2 วิธี คือรายการวัสดุที่มีความแน่นอนในการสั่งซื้อที่ใช้ประวัติความถี่ในการสั่งซื้อคัดเลือก รวมกับ รายการวัสดุที่มีแผนการใช้งานที่ให้ตัวแทนผู้ใช้งานคัดเลือก ซึ่งจากการวัดผลประสิทธิภาพกลุ่มข้อมูลนี้สูงกว่าเมื่อเทียบกับปัจจุบัน สามารถใช้เป็น Contract price list ใหม่ได้ นอกจากนี้มีการวิเคราะห์เพิ่มเติมในส่วนของรายการวัสดุที่เกิดการสั่งซื้อแต่ไม่ถูกคัดเลือกเพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการคัดเลือกต่อไป เมื่อทำการปรับปรุงกระบวนการคัดเลือก นำข้อมูลส่วนที่ (1) และ (2) มารวมกันแล้ววัดประสิทธิภาพ ผลคือ % Contract coverage จะเพิ่มขึ้นประมาณ 6% จากทั้งหมด ขณะที่ % Effectiveness จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10% แสดงว่า การปรับปรุงกระบวนการคัดเลือกรายการวัสดุสำหรับทำสัญญายืนราคา ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นได้ ข้อมูลงานวิจัยนี้สามารถใช้นำเสนอเป็นเพื่อแนวทางในการตัดสินใจของบริษัทกรณีศึกษาในอนาคต


การปรับปรุงกระบวนการจัดการข้อมูลรหัสบริษัท โดยใช้แบบจำลองสถานการณ์ : กรณีศึกษาบริษัท Abc, นุสรา ชาติเวียง Jan 2020

การปรับปรุงกระบวนการจัดการข้อมูลรหัสบริษัท โดยใช้แบบจำลองสถานการณ์ : กรณีศึกษาบริษัท Abc, นุสรา ชาติเวียง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดการข้อมูลรหัสบริษัทของบริษัทกรณีศึกษา ABC ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ เนื่องจากค่าดัชนีชี้วัดผลงงานด้านสัดส่วนคำขอที่ดำเนินการเสร็จทันเวลาต่ำกว่าเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้ตั้งปต่ปี 2019 และลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2020 ผู้ศึกษาจึงได้จัดการประชุมระดมความคิดเห็นจากพนักงานภายในหน่วยงาน เพื่อวิเคราะห์กระบวนการทำงานโดยใช้เทคนิคการตั้งคำถาม 5W-1H เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนต่างๆ และใช้เทคนิค ECRS กำหนดแนวทางในการปรุบปรุงทั้ง 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) กำจัดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน 2) ลดการดำเนินการผ่านหลายระบบในเวลาเดียวกัน 3) ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่สร้างคุณค่า 4) ปรับปรุงร่วมกันตามรูปแบบที่ 1-3 โดยใช้แบบจำลองสถานการณ์ผ่านโปแกรมอารีนา ผลจากการศึกษาพบว่าการปรับปรุงโดยใช้เทคนิค ECRS ตามการปรับปรุงในรูปแบบที่ 4 ทำให้ระยะเวลาเฉลี่ยที่พนักงานใช้ในการดำเนินการคำขอลดลงเหลือเพียง 8.68 นาที และลดระยะเวลาคอยโดยรวมเฉลี่ยต่อคำขอเหลือ 6.03 นาที ซึ่งสอดคล้องกับระดับอรรถประโยชน์ของพนักงานในการทำงานบนระบบเฉลี่ยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 14 และค่าดัชนีชี้วัดผลงานของสัดส่วนคำขอที่ดำเนินการเสร็จทันเวลาเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.53


การประเมินผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีต่อธุรกิจการขนส่งทางเรือ, มารวย ดุจธังกร Jan 2020

การประเมินผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีต่อธุรกิจการขนส่งทางเรือ, มารวย ดุจธังกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่มีต่อธุรกิจทางเรือ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น และการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ของทั้งการเดินเรือ และท่าเรือ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยคือแบบสอบถามการประเมินถึงผลกระทบที่ได้รับ โดยมีการเปรียบเทียบระหว่างผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างคือบริษัทสายเรือ หรือตัวแทนสายเรือในประเทศไทยที่เป็นสมาชิกของสมาคมเจ้าของเรือและตัวแทนเรือกรุงเทพ (BSAA) และ บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยสถิติที่ในการเปรียบเทียบความความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายกลุ่ม คือ สถิติ Independent sample t-test. ผลจากการศึกษาพบว่าทั้งสองกลุ่มตัวอย่างให้คะแนนผลกระทบที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับที่มาก และ มากที่สุด มีระดับปานกลางเป็นส่วนน้อย ผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของการเดินเรือในระยะสั้น ที่ทั้งสองกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นตรงกันว่ามีผลกระทบในระดับมากที่สุดคือด้านอัตราค่าระวางเรือสูงซึ่งอาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาตรถูกจำกัด และ อุปสงค์,อุปทานที่ไม่ตรงกัน ส่วนผลกระทบที่มากที่สุดในด้านการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นที่เกิดขึ้นกับท่าเรือคือด้านปัญหาการขาดแคลนลานวางตู้คอนเทนเนอร์เนื่องจากความแออัด จากการสำรวจพบว่ามีความแตกต่างของผลกระทบที่เกิดขึ้นในบางด้านในการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นของการเดินเรือและท่าเรือ คือ ถึงแม้ระดับของผลกระทบจะเท่ากัน แต่มีความแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่เกิดขึ้นของการเดินเรือและท่าเรือจากการสำรวจไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


การพยากรณ์ของผลิตภัณฑ์ยาในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาปฐมภูมิที่จำหน่ายในโรงพยาบาล และร้านขายยาทั่วไป, ศศิธร เปรมปราชญ์ชยันต์ Jan 2020

การพยากรณ์ของผลิตภัณฑ์ยาในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาปฐมภูมิที่จำหน่ายในโรงพยาบาล และร้านขายยาทั่วไป, ศศิธร เปรมปราชญ์ชยันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพยากรณ์ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของการทำงานที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขัน การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลาทั้ง 7 รูปแบบ ได้แก่ เทคนิคการพยากรณ์แบบเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Forecasting) แบบ 3 เดือน และ 4 เดือน, เทคนิคการพยากรณ์เอ็กซ์โปเนนเชียลแบบปรับเรียบ (Exponential Smoothing Forecast) 4 วิธี Holt’s Two-Parameter Linear Exponential Smoothing, Brown’s Double exponential smoothing, Winter’s Three-Parameter Trend and Seasonality Method (Additive), Winter’s Three-Parameter Trend and Seasonality Method (Multiplicative) และการวิเคราะห์แบบแยกตัวประกอบ (Decomposition Method) เพื่อให้ได้รูปแบบที่มีความเหมาะสมกับแต่ละผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาปฐมภูมิที่จำหน่ายในโรงพยาบาล และร้านขายยาทั่วไป (Primary Care and OTC) ที่มีความคลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์สูงที่สุดจากการศึกษาข้อมูลการสั่งสินค้าสำเร็จรูป (Finish Good) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 จนถึงพ.ศ. 2563 จากนั้นทำการวัดผลจากค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percent Error: MAPE) ผลการศึกษาพบว่า รูปการพยากรณ์แบบการแยกตัวประกอบเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ L5 ให้ค่า MAPE อยู่ที่ 84.19%, รูปการพยากรณ์แบบเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ 4 เดือน เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ M1 ให้ค่า MAPE อยู่ที่ 63.89% และรูปการพยากรณ์ Brown’s Double exponential smoothing เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ M2 ให้ค่า MAPE อยู่ที่ 32.90% ส่งผลให้ปริมาณการใช้ pallet ที่เกิดจากการพยากรณ์คลาดเคลื่อนจาก 18 pallets, 23 …


การลดความสูญเสียในโซ่อุปทานของการส่งออกชิ้นส่วนประกอบรถยนต์, วิศรุตา พูนพิพัฒน์กุล Jan 2020

การลดความสูญเสียในโซ่อุปทานของการส่งออกชิ้นส่วนประกอบรถยนต์, วิศรุตา พูนพิพัฒน์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานของ บริษัทกรณีศึกษา ส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อลดปัญหาการส่งมอบสินค้าที่ไม่ตรงความต้องการของลูกค้า การศึกษานี้ได้ปรุะยุกต์ใช้แนวคิด ลีน ซิกซ์ ซิกมา (Lean Six Sigma) และดำเนินการผ่านกระบวนการที่เรียกว่า DMAIC (Define-Measure-Analysis-Improve-Control) จากข้อมูลข้อร้องเรียนปัญหาคุณภาพสินค้าศึกษาพบว่าอาการสำคัญของปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ปัญหาทันที คือ ปัญหาสินค้าจัดส่งไม่ครบ หรือเกินจำนวน ซึ่งจะอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ตั้งแต่ผู้จัดหาวัตถุดิบไปยังลูกค้า แต่เนื่องจากข้อจำกัด ในการรวบรวมข้อมูลภาคสนามเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขอบเขตของการศึกษาจำกัดเฉพาะขั้นตอนการทำงานในคลังสินค้า กาวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงจะระบุสาเหตุหลักดังต่อไปนี้ 1) ภาระงานไม่เพียงพอ 2) การฝึกอบรมที่ไม่ดี 3) อุปกรณ์ชั่งน้ำหนักที่ไม่ดี และการเสนอแนวทางปรับปรุงพนักงาน ได้แก่ 1) การปรับสมดุลกำลังคนและการใช้งานล่วงเวลา 2) โปรแกรมการฝึกอบรมใหม่ 3) พัฒนาการควบคุมภาพเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่สถานีชั่งน้ำหนักและปรับปรุงอุปกรณ์น้ำหนัก คาดว่าการดำเนินการแก้ไขที่เสนอจะนำไปสู่การลดต้นทุนพนักงานชั่วคราว 11% และปัญหาการจัดส่งลดลง 75%


การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุนคลังสินค้าอัตโนมัติ, พิชามญชุ์ พัฒนจิรานันท์ Jan 2020

การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุนคลังสินค้าอัตโนมัติ, พิชามญชุ์ พัฒนจิรานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบคลังสินค้าแบบเดิมซึ่งใช้แรงงานคนเป็นหลักและออกแบบระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ รวมทั้งทำการเปรียบเทียบระบบคลังสินค้าทั้ง 2 แบบเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของการลงทุนในระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ การศึกษามุ่งเน้นไปที่ความต้องการคลังสินค้าของบริษัทค้าปลีกอุปกรณ์กีฬา โดยมีขั้นตอนการออกแบบคลังสินค้าทั้งหมด 10 ขั้นตอน คือ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ 2. เก็บรวมรวมข้อมูล 3. พิจารณาความเป็นไปได้ของ Unit Loads 4. กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวิธีการ 5. พิจารณาอุปกรณ์ที่เป็นไปได้ทั้งประเภทและลักษณะการใช้งาน 6. เตรียมผังคลังสินค้าที่เป็นไปได้ 7. คำนวณจำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์และจำนวนพนักงาน 8. ทำการประเมินความเป็นไปได้ และ 9. ทำการเปรียบเทียบเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของการลงทุน ผลการดำเนินการวิจัยพบว่าคลังสินค้าซึ่งใช้แรงงานคนเป็นหลักใช้พื้นที่คลังสินค้ามากกว่าคลังสินค้าอัตโนมัติอยู่ที่ 42% ทั้งยังใช้จำนวนรถยกและพนักงานที่ต้องการต่อ 1 กะในอัตราที่มากกว่า 4 เท่าของคลังสินค้าอัตโนมัติ แต่คลังสินค้าซึ่งใช้แรงงานคนเป็นหลักนั้นลงทุนเครื่องจักรอุปกรณ์น้อยกว่า โดยเมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างค่าจ้างพนักงาน ค่าอุปกรณ์เครื่องจักร ค่าเช่าที่ดิน และค่าก่อสร้างอาคารคลังสินค้า จะเห็นได้ว่าการลงทุนในคลังสินค้าอัตโนมัติมีความคุ้มค่ามากกว่าในการลงทุนของคลังสินค้าซึ่งใช้แรงงานคนเป็นหลักถึง 29.59% และจากการวิเคราะห์ความไวของโครงการเพื่อพิจารณาและคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ต้นทุนคลังสินค้ามีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน หรือค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีต้นทุนเปลี่ยนไปนั้นจะเห็นได้ว่าการลงทุนในคลังสินค้าอัตโนมัติมีความคุ้มค่ากว่าไม่ว่าต้นทุนคลังสินค้าจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม


การเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งระหว่างการจัดเรียงพาเลทสินค้าชั้นเดียวบนรถบรรทุกกับการจัดเรียงพาเลทสินค้าซ้อนกัน 2 ชั้น, ชุติกาญจน์ กองทอง Jan 2020

การเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งระหว่างการจัดเรียงพาเลทสินค้าชั้นเดียวบนรถบรรทุกกับการจัดเรียงพาเลทสินค้าซ้อนกัน 2 ชั้น, ชุติกาญจน์ กองทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดเรียงและขนส่งสินค้าระหว่างการจัดเรียงพาเลทสินค้าชั้นเดียวบนรถบรรทุกโดยการบรรจุกล่องสินค้าลงบนพาเลทไม้ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกับการจัดเรียงพาเลทสินค้าซ้อนกัน 2 ชั้นวิธีใหม่โดยการนำกล่องสินค้าบรรจุลงในตะกร้าเหล็กแล้ววางตะกร้าเหล็กซ้อนกัน 2 ชั้นบนรถบรรทุก งานวิจัยนี้ประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลในอดีตที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานจัดเรียง จัดส่งและทำรับสินค้า แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้นั้นมาคำนวณประมาณการความต้องการการขนส่งและต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งเปรียบเทียบระหว่างวิธีการจัดเรียงสินค้าทั้ง 2 วิธี ผลการวิจัยพบว่า การปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเรียงสินค้าจากการวางพาเลทสินค้าชั้นเดียวมาเป็นการจัดเรียงกล่องสินค้าลงตะกร้าเหล็กและจัดเรียงตะกร้าเหล็กซ้อนกัน 2 ชั้นบนรถบรรทุกนั้น ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนส่งได้ถึง 5,024,923 บาทต่อปีหรือประมาณ 52 เปอร์เซ็น ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางให้บริษัทกรณีศึกษานำไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการดำเงินงาน รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งสินค้า


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator (Aeo) Programme) : กรณีศึกษา ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, สาธิกา โพธิ์ประสิทธิ์ Jan 2020

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator (Aeo) Programme) : กรณีศึกษา ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, สาธิกา โพธิ์ประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการสมัครเข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอของผู้ประกอบการประเภทผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม งานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ที่ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบในการส่งแบบสอบถามให้แก่ผู้ประกอบการประเภทผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งยังไม่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การคำนวณค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเรื่องการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันที่เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร (1 ล้านบาท) หลังจากได้รับอนุมัติสถานภาพ และปัจจัยเรื่องการมีมาตรการในการคัดเลือกพันธมิตรที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานอย่างชัดเจน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอตามลำดับ โดยสามารถพยากรณ์ระดับความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีข้อเสนอแนะต่อโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการทราบถึงรายละเอียดและประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการฯ มากขึ้น และเห็นควรให้ลดขั้นตอนในการดำเนินการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ให้สั้นลง


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้กระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง (Pre-Arrival Processing) ของผู้นำเข้าสินค้า ณ สำนักงานตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, อรกนก วัฒนาเลิศรักษ์ Jan 2020

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้กระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง (Pre-Arrival Processing) ของผู้นำเข้าสินค้า ณ สำนักงานตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, อรกนก วัฒนาเลิศรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัญหา อุปสรรค ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้กระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง (Pre-Arrival Processing) ของผู้นำเข้าสินค้า ณ สำนักงานตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง พัฒนากระบวนการทางศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีรูปแบบการศึกษาที่เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือ การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญ ได้แก่ อันดับ 1 คือ ความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนโดยรวมของกระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง อันดับ 2 คือ การนำเข้าสินค้าด้วยกระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึงสามารถช่วยลดต้นทุนสินค้าคงคลัง อันดับ 3 คือ กระบวนการผู้นำของเข้าต้องจัดทำใบขนสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง และอันดับ 4 คือ การนำเข้าสินค้า ด้วยกระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึงสามารถช่วยลดระยะเวลาในการนำเข้าสินค้า นอกจากนี้ สามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการได้ดังนี้ 1) การให้ความรู้ขั้นตอนโดยรวมของกระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง 2) การปรับปรุงแบบฟอร์มใบขนสินค้าให้เรียบง่าย เพื่อสนับสนุนการจัดทำใบขนสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้า 3) การประชาสัมพันธ์ประโยชน์ด้านการลดระยะเวลาและต้นทุนสินค้าคงคลังจากการนำเข้าสินค้าด้วยกระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง และ 4) พิจารณาความเหมาะสมในการปรับปรุงกระบวนงานและกฎระเบียบในกรณีมีการให้ข้อมูลผิดพลาดในขั้นตอนการจัดทำใบขนสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้า


การประเมินตัวชี้วัดการขนส่งผลไม้สำหรับส่งออกบนเส้นทาง R3a กรณีศึกษาบริษัทขนส่ง Abc, ปรียาพร สายตา Jan 2020

การประเมินตัวชี้วัดการขนส่งผลไม้สำหรับส่งออกบนเส้นทาง R3a กรณีศึกษาบริษัทขนส่ง Abc, ปรียาพร สายตา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นพัฒนาตัวชี้วัดด้านการขนส่งผลไม้ผ่านระบบคอนเทนเนอร์ทำความเย็น บนเส้นทาง R3A ผ่านการทบทวนวรรณกรรมจำนวน 20 งานวิจัย เพื่อมาช่วยในการกำหนดปัจจัยเชิงโลจิสติกส์ที่สำคัญในการนำมาสู่การกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดปัจจัยหลักเชิงโลจิสติกส์จากปัจจัย 3 มิติของสำนักโลจิสติกส์ ได้แก่ มิติต้นทุน 1 ตัวชี้วัด มิติเวลา 2 ตัวชี้วัดและมิติความเชื่อถือได้ 4 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดสร้างมาจากการสนทนากลุ่ม ระดมความคิดจากคณะผู้บริหารระดับสูงของบริษัทขนส่ง ABC และกำหนดค่าน้ำหนักผ่านกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) ที่ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คนประเมินความสำคัญของปัจจัย ซึ่งสามารถสรุปลำดับความสำคัญตามค่าน้ำหนักของปัจจัยหลักจากมากไปน้อยดังนี้ มิติด้านต้นทุน (47%) มิติด้านความเชื่อถือได้ (36%) และมิติด้านเวลา (17%) เมื่อทำการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี พบว่าบริษัทขนส่ง ABC มีคะแนนตัวชี้วัดเต็ม 5 คะแนน ได้แก่ ความสามารถในการส่งมอบสินค้าตรงเวลา อัตราความเสียหายของตู้ทำความเย็นที่เสียระหว่างการขนส่ง และอัตราการเกิดอุบัติเหตุของรถขนส่ง ทางด้านตัวชี้วัดที่บริษัทควรให้ความสำคัญ ได้แก่ อัตราการวิ่งเที่ยวเปล่า 2.75 คะแนน สุดท้ายภาพรวมของการประเมินตัวชี้วัดการขนส่งบริษัทขนส่ง ABC เฉลี่ยทั้ง 3 ปีอยู่ที่ 4.38 คะแนน แม้ว่าการประเมินผลโดยรวมจะอยู่ในระดับดีมาก แต่ยังพบว่ายังมีตัวชี้วัดบางตัวที่บริษัทยังไม่สามารถจัดการได้ดีเท่าที่ควร ดังนั้นบริษัทควรให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นเพื่อลดผลกระทบและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์โควิด-19 การขนส่งทางอากาศ เศรษฐกิจและการว่างงาน, สัจจพร แสนอินอำนาจ Jan 2020

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์โควิด-19 การขนส่งทางอากาศ เศรษฐกิจและการว่างงาน, สัจจพร แสนอินอำนาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ขณะนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจและการเมือง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางทางอากาศระหว่างประเทศและภายในประเทศ เศรษฐกิจ (GDP) และอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ด้วยแบบจำลองการวิเคราะห์ถดถอย (Regression Model) รูปแบบฟังก์ชัน Double-Log ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลผู้โดยสารเดินทางทางอากาศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและอัตราการว่างงานใน 4 ไตรมาสของปี พ.ศ. 2563 การวิเคราะห์แบ่งเป็นสองชุดข้อมูล ชุดข้อมูลที่หนึ่งเป็นจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างประเทศจำนวน 36 สนามบิน 144 ตัวอย่าง ข้อมูลชุดที่สองเป็นจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางทางอากาศที่เดินทางภายในประเทศ จำนวน 34 สนามบิน 136 ตัวอย่าง ผลการศึกษาสรุปได้ว่า จำนวนผู้โดยสารเดินทางทางอากาศทั้งระหว่างประเทศและภายในประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและอัตราการว่างงาน เป็นปัจจัยที่ได้รับผลกระทบจากสถาณการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยที่ผู้โดยสารเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศและภายในประเทศได้รับผลกระทบทิศทางตรงกันข้ามกับจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 แต่อัตราการว่างงานมีทิศทางเดียวกันกับจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีทิศทางเดียวกันกับจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งไม่ตรงกับที่คาดการณ์ไว้ สาเหตุมาจากการใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอยแบบ Double-Log เพื่อวัดกระทบเชิงระยะยาว นั่นหมายถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไม่ได้รับผลกระทบระยะยาวจากจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 อาจจะเกิดจากการปรับตัวของธุรกิจเพื่อการอยู่รอดรวมไปถึงการรับมือของรัฐบาลในแต่ละประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ


แนวปฏิบัติที่ดีในการขุดลอกร่องน้ำชายฝั่งทะเลของประเทศไทย, สุวิจักขณ์ ณ บางช้าง Jan 2020

แนวปฏิบัติที่ดีในการขุดลอกร่องน้ำชายฝั่งทะเลของประเทศไทย, สุวิจักขณ์ ณ บางช้าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการขุดลอกร่องน้ำชายฝั่งทะเลของประเทศไทยเปรียบเทียบกับพิธีสารลอนดอน 1996 ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศที่มีผลใช้บังคับในปี ค.ศ. 2006 และการดำเนินงานในประเทศอื่นอีก 3 ประเทศ คือ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศสิงคโปร์ เพื่อนำเสนอแนวทางการขุดลอกร่องน้ำของประเทศไทยที่มีความเป็นมาตรฐานสากลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับประเทศไทยมีการขุดลอกร่องน้ำชายฝั่งทะเลโดยกรมเจ้าท่าเป็นประจำทุกปี โดยการขุดลอกร่องน้ำนั้นมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ การขุดลอกร่องน้ำและการขนย้ายวัสดุขุดลอก ซึ่งทั้งสองขั้นตอนนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางทะเล ผลการศึกษาแสดงว่าแนวทางในการปฏิบัติตามพิธีสารลอนดอน 1996 และในประเทศกรณีศึกษาทั้ง 3 ประเทศ มีขั้นตอนการประเมินวัสดุก่อนที่จะมีการทิ้งเทเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางทะเลรวมทั้งสิ้นแปดขั้นตอน ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีพิธีสารลอนดอน 1996 แต่ประเทศไทยสามารถนำแนวทางการประเมินวัสดุตามพิธีสารลอนดอน 1996 มาเป็นแนวทางปฏิบัติการขุดลอกร่องน้ำชายฝั่งทะเล เพื่อเป็นการลดและป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ในการดำเนินการอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นแต่จะทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน


Logistics And Supply Chain For Mice Cities, Chanmatha Sriraksa Jan 2020

Logistics And Supply Chain For Mice Cities, Chanmatha Sriraksa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this study was threefold; 1) to examine success factors of logistics and supply chain for MICE cities, 2) to investigate influences of socio-demographic factors on stakeholders perception of logistics and supply chain for MICE cities, and 3) to identify significant competitive advantage determinants of logistics and supply chain for a city to be selected as MICE city. Based on some common characteristics and differences by nature of location, Phitsanulok, Khon Kaen and Krabi were purposively selected. Research tool is a set of questionnaire consisting of four main parts that were demographic information, logistics and supply chain success …


Supply Chain Collaboration For Sustainability In Thailand's Dairy Industry, Virayos Vajirabhoga Jan 2020

Supply Chain Collaboration For Sustainability In Thailand's Dairy Industry, Virayos Vajirabhoga

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study gathered potential 95 variables from a literature review. Through the process of expert review, these were refined into 49 critical variables. Moreover, pilot study, with participation from co-operatives and farmers, aims to develop conceptual frameworks in six areas: performance and commitment, internal and external collaboration, measurement and evaluation, joint operation, sharing and innovation, and negotiation. Furthermore, 26 factors were identified clearly by exploratory factory analysis. The main study was conducted via a paper-based questionnaire with 1,224 respondents nationwide. The proposed 11 hypotheses attempted to identify the structural relationships among the constructs in the model. The result confirmed the …


Factors Influencing Adoption And Usage Probability Of Car Sharing In Bangkok, Baweena Ruamchart Jan 2020

Factors Influencing Adoption And Usage Probability Of Car Sharing In Bangkok, Baweena Ruamchart

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis aimed to examine factors influencing adoption and usage probability of car sharing in Bangkok. There were two phases of study. The first phase was examining the factors influencing the probability of using of car sharing. The latter was designed to assess customers' attitudes toward the intention to use car sharing. Both studies employed a quantitative method of data collection and analysis. Study One assessed the likelihood of using car sharing from customers' characteristics in three main groups: socio-economic status, travel behavior and car-sharing preferences. The data were collected through a questionnaire with the target population group. In total, …


Factors Influencing Adoption And Usage Probability Of Automated Parcel Lockers, Orawee Thongkam Jan 2020

Factors Influencing Adoption And Usage Probability Of Automated Parcel Lockers, Orawee Thongkam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study proposes a model to predict probability to use Automated Parcel Locker (APL) in Bangkok by adopting Multiple Linear Regression. In addition, to help business to market to the right target and increase the intention to use, the study investigates factors influencing Intention to use APL by employing Structural Equation Model (SEM). The framework is developed based on Technology Acceptance Model (TAM) and other external factors. The questionaries were conducted for both methods with 718 observation and 500 responses, randomly selected. The results show that variables best predict probability to use APL is price set with discount, followed by …