Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operations and Supply Chain Management Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 181 - 186 of 186

Full-Text Articles in Operations and Supply Chain Management

Multi-Dependent Criteria Supplier Selection With Uncertain Performance Evaluation, Ornicha Anuchitchanchai Jan 2017

Multi-Dependent Criteria Supplier Selection With Uncertain Performance Evaluation, Ornicha Anuchitchanchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

One of the key to improve logistics efficiency of a firm is to select appropriate supplier. In order to select supplier, there are many criteria involved. Also supplier with greatest average performance does not confirm to be the most suitable one because of uncertainties. Therefore the objectives of this research are to develop decision matrix for selecting supplier based on mean-variance-skewness and identify influential criteria of supplier selection problem for Thai electronics industry. In this research, the set of criteria comprises of 6 main criteria with total of 13 sub-criteria. The data was collected via in-depth interview and questionnaire. The …


A Three-Echelon Multi-Commodity Location-Routing Problem, Patanapong Sanghatawatana Jan 2017

A Three-Echelon Multi-Commodity Location-Routing Problem, Patanapong Sanghatawatana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research studies the problem of distribution network design. The purposes of this study are 1) to develop the mathematical model for redesign of current distribution network by focusing on reducing total distribution cost and 2) to develop new solution approach for large-scale complicated problem. This research formulates mixed integer linear programming for the three-echelon two-commodity Location Routing Problem (LRP). The objective function is to minimize facility operating and closure cost and distance cost. Due to large-scale of LRP, which is NP-hardness, this research proposes new sequential solution approach as following steps; 1) decomposing the LRP into two subproblems based …


กระบวนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษา การปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย, วนิช สนพิพัฒน์ Jan 2017

กระบวนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษา การปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย, วนิช สนพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับมาตราฐาน ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมตลอดจนเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมต่อการรื้อถอนและการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม โดยศึกษาจากกรณีศึกษาการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย โดยงานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมจำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนาแสดงผลในรูปแบบอัตราร้อยละเพื่อทดสอบขั้้นตอนและวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบระหว่างความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกับมาตราฐาน ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมเห็นด้วยกับรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมและ (2) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษาการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย เป็นแนวทางการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมที่เหมาะสมและสอดคล้องตามกฎหมายภายในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนสิ่งติดตั้ง ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถนำมาจัดทำแนวทางปฏิบัติในการรื้อถอนเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมที่เหมาะสมในอนาคตอันจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องสืบไป


การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจัดทำระบบจัดการฐานข้อมูลท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทย, จุฬาลักษณ์ อ่อนศิระ Jan 2017

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจัดทำระบบจัดการฐานข้อมูลท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทย, จุฬาลักษณ์ อ่อนศิระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลการใช้ท่าเรือเดินทะเลในประเทศไทยด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลการใช้ท่าเรือเดินทะเลในประเทศไทยให้มีความถูกต้องทันสมัยและสามารถค้นคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้โปรแกรม Quantum GIS (QGIS version 2.18.12) ทำการศึกษาในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จนถึง พ.ศ. 2559 โดยจำแนกตามชายฝั่งทะเลเป็น 2 ชายฝั่ง 6 กลุ่มจังหวัด ได้แก่ อ่าวไทยตะวันออก อ่าวไทยตอนบน อ่าวไทยตอนกลาง อ่าวไทยตอนล่าง อันดามันตอนบน และอันดามันตอนล่าง และแบ่งประเภทท่าเรือออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ท่าเรือประมง ท่าเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว ท่าเรือสินค้าทั่วไป ท่าเรือสินค้าเหลว ท่าเรือสินค้าเทกอง และท่าเรืออื่นๆ การจัดทำฐานข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลและการนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนที่ด้วยโปรมแกรม QGIS รายละเอียดในการศึกษาได้แบ่งข้อมูลดังนี้ พื้นที่ในการศึกษาวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลปริภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งจัดเก็บด้วยซอฟต์แวร์ MS Excel และข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) เพื่อช่วยตัดสินใจสำหรับข้อมูลตามลักษณะหรือลักษณะประจำ (Attribute data) นั้นถูกจัดเก็บในลักษณะของฐานข้อมูลภายนอก (External database) เมื่อจัดเก็บไว้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แล้วสามารถค้นคืน (Retrieve) ข้อมูลได้ในรูปแบบ (Format) ของข้อมูลภาพ (Image) แผนที่ (Map) และตาราง (Table) เพื่อทำการวิเคราะห์ท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทย จากผลการศึกษา มีท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทยจำนวน 612 แห่ง นอกจากนี้ยังมีข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกขีดความสามารถของท่าเรือและความยาวหน้าท่าโดยแบ่งช่วงความยาวหน้าท่าให้ชัดเจนเพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาปริมาณการเพิ่มขึ้นของท่าเรือเดินทะเลส่วนระบบฐานข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลแผนที่และข้อมูลตามลักษณะที่สามารถเชื่อมโยงกันได้และนำเสนอข้อมูลตามลักษณะและข้อมูลกราฟิกที่แสดงที่ตั้ง รูปภาพ ผ่านทางโปรมแกรม QGIS ที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ผลของงานวิจัยที่ได้ ปริมาณท่าเรือแต่ละประเภทของประเทศไทยซึ่งนำเสนอข้อมูลผ่านการประยุกต์ใช้โปรมแกรมที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนใช้ประกอบการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจหรือกำหนดกิจกรรมให้เหมาะสมกับศักยภาพการพัฒนาของท่าเรือเดินทะเลในประเทศไทย ดังนั้นระบบจัดการฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม (QGIS) มีความสำคัญกับผู้ประกอบกิจการท่าเรือทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีความจำเป็นในการเปิดเผยข้อมูลให้หน่วยงานที่รวบรวมอย่างครบถ้วนเพื่อให้การพัฒนาศักยภาพท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสามารถนำมาวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตในอนาคตต่อไป


พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย, ณัชชารีย์ ชัยศิริจิรสิน Jan 2017

พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย, ณัชชารีย์ ชัยศิริจิรสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย โดยการศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติและความตระหนักทางการอนุรักษ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา 800 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาแสดงผลในรูปแบบอัตราร้อยละ ใช้สถิติการอนุมานในการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยอนุรักษ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า (1) นักศึกษาต่างเพศ ต่างชั้นปี และต่างสาขาวิชามีพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลไม่แตกต่างกัน และ (2) พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยอนุรักษ์ เช่น ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล การรับข่าวสารจากสื่อมวลชนและสื่อเฉพาะกิจ การเห็นแบบอย่าง รวมทั้งทัศนคติและความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษา


การเตรียมการของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมระบบป้องกันเพรียงที่เป็นอันตรายในเรือ ค.ศ.2001, ฉัตรชัย เวชสาร Jan 2017

การเตรียมการของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมระบบป้องกันเพรียงที่เป็นอันตรายในเรือ ค.ศ.2001, ฉัตรชัย เวชสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมระบบป้องกันเพรียงที่เป็นอันตรายในเรือ ค.ศ. 2001 ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศซึ่งอนุสัญญาที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ การรักษาความปลอดภัยในการขนส่งระหว่างประเทศและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่เกิดจากเรือรวมทั้งเพื่อเป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก จากการศึกษาพบว่า หากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ย่อมก่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสียทั้งในฐานะรัฐเจ้าของธง รัฐเจ้าของเมืองท่า และเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของเรือหรือบริษัทผู้บริหารเรือทั้งด้านการประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตัวเรือ ค่าใช้จ่ายในด้านความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาจะทำให้ประเทศไทยต้องมีพันธกรณีในการอนุวัติการกฎหมาย ซึ่งต้องมีการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายภายในให้มีความสอดคล้องกับอนุสัญญาฯ หากแม้ประเทศไทยยังมิได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ แต่ประเทศไทยก็สามารถที่จะมีการหยิบและเลือก (Pick and Choose) โดยการนำเอาหลักการหรือข้อบัญญัติของอนุสัญญามาบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายภายในของประเทศไทยในอนาคตได้ หากเห็นว่าหลักการหรือข้อบัญญัติอื่นใดเป็นประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานเรือไทยในด้านที่เกี่ยวกับการรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเล