Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 112

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Environmental And Health Impact Of Cement Factory Production In Ibese, Ogun State, Nigeria, Olayinka O. Olasumbo, Adedeji O. Hakeem, Oresanya O. Juwon, Alabi-Thompson O. Francisca May 2016

Environmental And Health Impact Of Cement Factory Production In Ibese, Ogun State, Nigeria, Olayinka O. Olasumbo, Adedeji O. Hakeem, Oresanya O. Juwon, Alabi-Thompson O. Francisca

Applied Environmental Research

This study investigated the effect of cement dust emitted from Dangote cement factory, Ibese, Ogun State, Nigeria on the environment and human health. Soil and plant samples were collected from six sampling points at different distances i.e. inside the factory kiln (IFK), the factory gate (TFG ? 50 m); Abule Oke (AOK ? 100 m), Maria (MAR ? 200 m), and Ibese (IBE ? 300m), based on the prevailing wind direction. Control samples were taken opposite the wind direction at ILA (Ilaro) about 1,000 m. Cu, Zn, Mn, Pb, Ni and Cd were analyzed in the samples using atomic absorption …


บทบรรณาธิการ, สุกัญญา ค้ำชู May 2016

บทบรรณาธิการ, สุกัญญา ค้ำชู

Jamjuree Journal

No abstract provided.


Proper Dissemination Of Information To Improve People Awareness On Flood Disaster: A Case Study Of 2011 Flood In Thailand, Neelima A. Molla, Jatuwat Sangsanont, Parinda Thayanukul, Hiroaki Furumai May 2016

Proper Dissemination Of Information To Improve People Awareness On Flood Disaster: A Case Study Of 2011 Flood In Thailand, Neelima A. Molla, Jatuwat Sangsanont, Parinda Thayanukul, Hiroaki Furumai

Applied Environmental Research

The study aims are to investigate the people perception on flood response, flood awareness and information dissemination during 2011 flood, to discuss the proper information needed for flood preparedness, and to understand drinking water preferences during emergency periods. A question-naire survey was conducted to collect information on flood awareness and preparedness from the people residing in a suburb of Bangkok that was one of the most severely affected areas. Re-sults showed that more than 90% of public realized the necessity of flood awareness. Flood risk per- ception level was positively correlated with age. There were gender differrences in priorit y …


Determination Of Spatial And Temporal Variations Of Volumetric Soil Water Content Using Ground Penetrating Radar: A Case Study In Thailand, Thanop Thitimakorn, Suppanut Kummode, Sasikan Kupongsak May 2016

Determination Of Spatial And Temporal Variations Of Volumetric Soil Water Content Using Ground Penetrating Radar: A Case Study In Thailand, Thanop Thitimakorn, Suppanut Kummode, Sasikan Kupongsak

Applied Environmental Research

In this research, ground penetrating radar (GPR) was used to determine the volumetric soil water content (VSWC) of a loamy soil. The GPR was set up in the ground wave fixed offset me-thod using both 400 and 900 MHz frequency antennae. By estimating the relative dielectric per-mittivity of the soils, these values were converted to the VSWC by Topp's equation. The gra-vimetrically calculated VSWC values from the soil samples at different depths were used as thereferences. In addition, the ability of the GPR method to detect variation in the VSWC over time was evaluated in three periods spanning the dry …


The Analysis Of Garbage Management Tools Based On The Levels Of Transactional Collaboration Between Shipping Company And Seaport, Chalermpong Senarak, Kamonchanok Suthiwartnarueput, Pongsa Pornchaiwiseskul May 2016

The Analysis Of Garbage Management Tools Based On The Levels Of Transactional Collaboration Between Shipping Company And Seaport, Chalermpong Senarak, Kamonchanok Suthiwartnarueput, Pongsa Pornchaiwiseskul

Applied Environmental Research

Marine garbage reception facilities can effectively prevent marine pollution when adequately implemented together with other management tools. This paper analyzes the garbage manage-mentpolicy based on transactions between shipping companies and the seaport. Multivariate analysis of variance (MANOVA) was used to scrutinize the influence of transactional colla-boration (independent variable) on the different reasons for using GRF of the shipping firms (dependent variable). The study indicates that the motivations of ship operators (identified as laws and regulations, navigation limitations, partnerships, competitiveness and environmentalconsciousness), varies depending on frequency of transaction during the year. Management po-licies varied by ship operator. In addition, an over-optimistic …


การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในอาหรับ: ศึกษาเปรียบเทียบอียิปต์และอิหร่าน, ดาวราย ลิ่มส่ายหั้ว Jan 2016

การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในอาหรับ: ศึกษาเปรียบเทียบอียิปต์และอิหร่าน, ดาวราย ลิ่มส่ายหั้ว

Journal of Social Sciences

บทความนี้มุ่งเสนอปรากฏการณ์การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในอาหรับที่เกิดการปฏิวัติและการตื่นตัวของประชาชนชาวอาหรับหลายประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเพื่อเรียกร้องการปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่งเกิดขึ้นตลอดช่วงค.ศ. 2010-2012 ปรากฏการณ์ดังกล่าวนำมาซึ่งความสนใจศึกษาเปรียบเทียบว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยของประเทศอาหรับแต่ละประเทศมีลักษณะร่วมและลักษณะต่างที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ผู้เขียนได้นำประเทศอียิปต์และอิหร่านมาเป็นกรณีศึกษาเนื่องจากผลลัพธ์ของการปฏิวัติที่แตกต่างกันของอียิปต์ที่สามารถโค่นล้มรัฐบาลประธานาธิบดีมูบารัคได้เป็นผลสำเร็จเมื่อ ค.ศ. 2011 ในขณะที่รัฐบาลประธานาธิบดีมะห์มูดอะห์หมัดดินีญัดของอิหร่านยังคงสามารถปกครองประเทศอยู่เช่นเดิมจนถึงค.ศ. 2013 มีมูลเหตุมาจากปัจจัยใดเป็นสำคัญผลการศึกษาพบว่าลักษณะร่วมของอียิปต์และอิหร่านที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย คือ ปัญหาเผด็จการอำนาจนิยมของรัฐบาล ปัญหาการคอรัปชัน ปัญหาความขัดแย้งของชนชั้นนำทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ เช่น ราคาสินค้าที่สูงขึ้น อัตราการว่างงานสูง อัตราเงินเฟ้อสูง และประเด็นทางสังคมที่โครงสร้างประชากรส่วนใหญ่ของประเทศในขณะนั้นเป็นประชากรวัยแรงงานอายุระหว่าง 20-35 ปี ส่วนลักษณะต่างคือ บทบาทของกองทัพที่มีต่อรัฐบาลซึ่งผลลัพธ์ของการปฏิวัติของอียิปต์และอิหร่านแตกต่างกัน เนื่องจากกองทัพอียิปต์ให้การสนับสนุนฝ่ายประชาชน ขณะที่กองทัพอิหร่านยังคงสนับสนุนรัฐบาลอย่างแข็งขัน


ร่มเกล้าชาวจุฬาฯ : "พระบาทสมเด็จพระมุงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" (ตอนที่1), ชัชพล ไชยพร Jan 2016

ร่มเกล้าชาวจุฬาฯ : "พระบาทสมเด็จพระมุงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" (ตอนที่1), ชัชพล ไชยพร

Jamjuree Journal

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ, สุกัญญา ค้ำชู Jan 2016

บทบรรณาธิการ, สุกัญญา ค้ำชู

Jamjuree Journal

No abstract provided.


กิจกรรมจามจุรี Jan 2016

กิจกรรมจามจุรี

Jamjuree Journal

No abstract provided.


จุฬาฯ จาฤก : ราชยานยนต์หลวงโบราณแห่งสยาม Jan 2016

จุฬาฯ จาฤก : ราชยานยนต์หลวงโบราณแห่งสยาม

Jamjuree Journal

No abstract provided.


เกร็ดจุฬาฯ : อุทกทาน, พีรศรี โพวาทอง Jan 2016

เกร็ดจุฬาฯ : อุทกทาน, พีรศรี โพวาทอง

Jamjuree Journal

No abstract provided.


บันทึกจดหมายเหตุ : สาธารณสุขแห่งสยาม Jan 2016

บันทึกจดหมายเหตุ : สาธารณสุขแห่งสยาม

Jamjuree Journal

No abstract provided.


เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ : ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Jan 2016

เรื่องเล่าชาวจุฬาฯ : ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Jamjuree Journal

No abstract provided.


จุฬาฯวันนี้ : พี่น้องชาวจุฬาฯ ที่เคารพรัก, ภิรมย์ กมลรัตนกุล Jan 2016

จุฬาฯวันนี้ : พี่น้องชาวจุฬาฯ ที่เคารพรัก, ภิรมย์ กมลรัตนกุล

Jamjuree Journal

No abstract provided.


การประชาสัมพันธ์เรื่องภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในประเทศไทย, วรวรรณ องค์ครุฑรักษา Jan 2016

การประชาสัมพันธ์เรื่องภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในประเทศไทย, วรวรรณ องค์ครุฑรักษา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

จากการที่โลกยุคปัจจุบันกำลังประสบกับปัญหาและวกิฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม มากมายจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ทำให้หลายประเทศประสบกับเหตุการณ์ภัยทางธรรมชาติต่างๆ มากมาย ประเทศไทยเองก็เช่นกันที่ได้รับ ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่คาดคิด เช่น มหาภัยพิบัติสึนามิในพื้นที่ภาคใต้หรือเหตุการณ์อุทกภัย เมื่อปี พ.ศ. 2554 ที่เกิด ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งภัยทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งส่งผลกระทบต่อประชาชนและมีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นในบางกรณีสามารถป้องกันหรือเตรียมการล่วงหน้าเพื่อรองรับหรือรับมือกับเหตุภัยพิบัติได้หากมีการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบได้อย่างกว้างขวาง


แนวทางการจัดการตะกอนดินคลองลำไทรและฟางข้าว ในชุมชนคอยรุตตั๊กวา หนองจอก, นุตา ศุภคต Jan 2016

แนวทางการจัดการตะกอนดินคลองลำไทรและฟางข้าว ในชุมชนคอยรุตตั๊กวา หนองจอก, นุตา ศุภคต

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ชุมชนคลองลำไทร หรือ คอยรุตตั๊กวา ตั้งอยู่ในหมู่ที่่ 5 แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร อยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ติดต่อ กับจังหวัดฉะเชิงเทรา ชุมชนคอยรุตตั๊กวาเป็นชุมชนมุสลิมเก่าแก่อายุกว่า 130 ปี คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้แก่ การปลูกข้าว และการทำปศุสัตว์ ดำเนินวิถีชีวิตอย่างสุขสงบตามหลักศาสนาอิสลาม และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชนประกอบด้วย 140 ครัวเรือน (สมาคมครูภูมิปัญญาไทย, 2555) มีคลองลำไทรซึ่งเป็นคลองสาขาเชื่อมต่อจากคลองแสนแสบ เป็นแหล่งน้ำหลักที่ใช้เพื่อการเกษตรและปศุสัตว์จากการสอบถามคุณครูสมชาย สมานตระกูล ผู้นำชุมชนคอยรุกตั๊กวา พบว่า ชุมชนมีปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการจัดการตะกอนดินคลองที่มีการสะสมมากแต่นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ รวมทั้งปัญหาการทำลายฟางข้าวที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ด้วยวิธีเผาซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อมและทัศนียภาพ อีกทั้ง หลังจากชุมชนประสบปัญหาอุทกภัย เมื่อ พ.ศ. 2554 ทางชุมชนมีการขุดลอกตะกอนคลอง เพื่อให้คลองมีการระบายน้ำได้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการขุดลอกคลองแต่ละครั้ง จะมีปริมาณตะกอนดินมาก และไม่มีการจัดการตะกอนหลังขุดลอกคลอง โดยส่วนใหญ่ชุมชนจะนำตะกอนที่ขุดลอกแล้วนั้นถมตามแนวริมคลอง ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ (สมชาย สมานตระกูล, สัมภาษณ์, 2555) จากการสำรวจปัญหาในชุมชนคลองลำไทร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร สรุปได้ว่า มีการสะสมของตะกอนดินคลองที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และฟางข้าวซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร มีการทำลายโดยวิธีเผา ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมในการศึกษานี้ได้นำตะกอนดินคลองลำไทรและฟางข้าวจากชุมชนมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการผลิตอิฐ ก้อนเชื้อเพลิงอัดแท่ง และปุ๋ยอินทรีย์ โดยนำหลักการประเมินวฏัจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) มาใช้ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เพื่อหาแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการสะสมของตะกอนดินจากคลอง และฟางข้าวซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ในชุมชน และสามารถเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้


การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักสลัดพันธุ์ 'Butterhead' ด้วยกากไคโทซาน", กนกวรรณ เสรีภาพ, ศุภจิตรา ชัชวาลย์, ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี, ไพบูลย์ หมุ่ยมาศ Jan 2016

การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักสลัดพันธุ์ 'Butterhead' ด้วยกากไคโทซาน", กนกวรรณ เสรีภาพ, ศุภจิตรา ชัชวาลย์, ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี, ไพบูลย์ หมุ่ยมาศ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ผักสลัด (LETTUCE: Lactuca sativa L.) เป็นผักที่นิยมนำมาบริโภคสดและใช้ตกแต่งอาหารให้มีสีสันสวยงามน่ารับประทาน โดยผักสลัดเป็นกลุ่มพืชผักที่มีราคาสูงกว่าผักชนิดอื่นๆ อีกท้งั ในปัจจุบันมีกระแสความใส่ใจในสุขภาพของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคผักสลัดเป็นที่นิยมมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผักสลัดจึงจัดเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีแนวโน้มความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


กิจกรรม Unisearch Jan 2016

กิจกรรม Unisearch

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


ปัญหาทางจิตเวชหลังคลอด (Postpartum Psychiatric Disorders), ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์ Jan 2016

ปัญหาทางจิตเวชหลังคลอด (Postpartum Psychiatric Disorders), ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในผู้ป่วยเพศหญิง ถือว่าช่วงเวลาหลังคลอด เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางจิตเวชมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ ในชีวิต (Miller 2002; Burt and Hendrick, 2005) โดยกลุ่มโรคหรือปัญหาทางจิตเวชที่สำคัญและจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคให้ได้ เพื่อนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสม ได้แก่ ภาวะอารมณ์เศร้า หลังคลอด (Postpartum blues), โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) และวิกลจริตหลังคลอด (Postpartum psychosis)


การใช้รำกระทบไม้ในผู้ป่วยพาร์กินสัน, สุรสา โค้งประเสริฐ, กนกวรรณ วังยพงศ์สถาพร Jan 2016

การใช้รำกระทบไม้ในผู้ป่วยพาร์กินสัน, สุรสา โค้งประเสริฐ, กนกวรรณ วังยพงศ์สถาพร

UNISEARCH (Unisearch Journal)

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) คือ โรคความเสื่อมทางระบบประสาท (Neurodegenerativedisease) ที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 2 รองลงมาจากโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) โรคพาร์กินสันเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาทในสมองส่วนปมประสาทฐานหรือเบซัลแกงเกลีย (Basalganglia) ในส่วนของซับสแตนเซียไนกรา (Substantianigra) โดยเซลล์ใน Substantia nigra มีหน้าที่ในการผลิตโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่สำคัญในการเชื่อมโยงและการส่งผ่านของกระแสประสาทจากสมองในส่วนต่างๆ เมื่อเซลล์ในส่วนของ Substantia nigra เสื่อมลง จะทำให้ระดับโดปามีนในสมองนั้นลดลง ส่งผลให้การส่งกระแสประสาทจาก Basal ganglia ในแต่ละส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวขาดความสมดุลและสอดคล้องต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติตามมา เช่น อาการสั่น (Tremor) อาการเกร็งแข็ง(Rigidity) การเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) และการทรงตัวไม่มั่นคง (Postural instability) (Nolden,Tartavoulle, and Porche, 2014).


วัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพน้ำและอาหาร, สุวบุญ จิรชาญชัย Jan 2016

วัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพน้ำและอาหาร, สุวบุญ จิรชาญชัย

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในอดีตเราปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์ทุกคนดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัยสี่ อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย แต่ในปัจจุบันในการดำรงชีวิตยังครอบคลุม การสื่อสาร การคมนาคมและขนส่ง และรูปแบบชีวิตในสังคมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป มนุษย์จึงต้องอาศัยปัจจัยที่มากกว่านั้น เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิต การผลิตวัสดุเพื่อตอบโจทย์ความต้องการปัจจัยเหล่านี้ รวมไปถึงความต้องการที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอยู่เสมอ จึงได้ถูกพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง


การคิดผ่านการปฏิบัติ : สื่อสร้างสรรค์ในฐานะระเบียบวิธีในการวิจัย, จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ Jan 2016

การคิดผ่านการปฏิบัติ : สื่อสร้างสรรค์ในฐานะระเบียบวิธีในการวิจัย, จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ความเป็นประเทศหรือรัฐชาติสมัยใหม่นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคิดและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเส้นแบ่งเขตแดนที่ชัดเจน ร่วมกับการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนที่อาศัยอยู่ภายในเขตแดนนั้น ๆ (Holton, 1998) เช่นเดียวกับประชาคมยุโรป ประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นมาด้วยเป้าหมายที่จะขจัดเขตแดนทางการเมืองของประเทศสมาชิก และเพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับว่าหนทางสู่เป้าหมายดังกล่าวนั้นยังอีกยาวไกล เพราะในขณะที่การสื่อสารของโลกปัจจุบันได้สร้างสำนึกของโลกที่ไร้พรมแดนและยังได้ก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ยืดหยุ่น และเลื่อนไหลพ้นจากความเป็นชาติ กล่าวคือ ผู้คนในซีกโลกหนึ่งอาจจะเกิดความรู้สึกผูกพันกับข่าวสารและวัฒนธรรมของผู้คนในอีกซีกโลกหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ในขณะเดียวกันนี้เองก็กลับมีความพยายามของรัฐชาติที่จะสถาปนาพรมแดนทางการเมืองและสร้างอัตลักษณ์ของชาติที่แข็งตัวยิ่งกว่าเก่า ดังจะเห็นได้จากกลุ่มคลั่งชาติและกลุ่มเหยียดเชื้อชาติที่กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นในแต่ละประเทศ สภาวะเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดความสับสนระหว่างสำนึกของความเป็นพลเมืองโลกกับสำนึกของความเป็นพลเมืองของรัฐชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่ก้าวข้ามพรมแดนของรัฐชาติผ่านการเคลื่อนย้ายถิ่นทางกายภาพและการก้าวข้ามวัฒนธรรม"เรื่องเล่าดิจิทัลกับความเป็นพลเมืองอาเซียน" เป็นโครงการวิจัยบนพื้นฐานของปฏิบัติการ (Practice-basedResearch) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของเรื่องเล่าดิจิทัลที่มีผลต่อแนวทางในการสร้างสรรค์เรื่องเล่าในบริบทสังคมวัฒนธรรมไร้พรมแดนและการสร้างความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมระหว่างประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน ในการศึกษาได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนจำนวน 30 คน จากชุมชนต่าง ๆ ในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาร่วมมือกันคิดเกี่ยวกับประเด็นด้านการเมืองและวัฒนธรรม ผ่านกระบวนการฝึกอบรมและสร้างสรรค์สื่อ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของประชาคมอาเซียนที่กำลังเกิดขึ้นใหม่นี้


บทบรรณาธิการ Jan 2016

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน), ปิยพงษ์ สุเมตติกุล Jan 2016

กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน), ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

UNISEARCH (Unisearch Journal)

อาเซียน คือ การรวมตัวกันเป็นองค์กรระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคของประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในชื่อสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South EastAsian Nations) โดยใช้ชื่อย่อว่า ASEAN จุดประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านสันติภาพ ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการกระจายองค์ความรู้และด้านสังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ความร่วมมือในด้านการศึกษาระหว่างประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนได้มีการประชุมหารือเพื่อพิจารณาแนวทางความร่วมมือด้านการศึกษา โดยการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เป็นประจำทุกปีแต่ความร่วมมือดังกล่าวยังไม่ปรากฏผลให้เห็นชัดเจนมากเท่าใดนัก อาจเนื่องมาจากความแตกต่างในด้านบริบทของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศที่ทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควรดังจะเห็นได้ชัดเจนจากรายงานผลการประเมินและการจัดลำดับคุณภาพการศึกษาที่ดำเนินการโดยโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (The Programme for International Student Assessment: PISA)จากประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีตัวแทนเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ OECD จำนวน 5 ประเทศได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม โดยมาเลเซียและเวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกและเข้าร่วมการจัดอันดับ PISA ในปี ค.ศ. 2012 เป็นครั้งแรก จากผลการประเมิน PISA 2012 ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน พบว่ามีเพียงหนึ่งหรือสองประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ที่มีผลการประเมินและการจัดลำดับคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับต้นของโลกขณะที่ประเทศอื่น ๆ รวมทั้ง ประเทศไทยต่างประสบปัญหาคุณภาพการศึกษาทั้งสิ้น และถึงแม้จะมีความพยายามในการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากให้กับการพัฒนาการศึกษาแต่ผลที่ได้กลับไม่สอดคล้องกับการลงทุนที่มากมายมหาศาล จากการศึกษาข้อมูลในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกลุ่มประเทศที่ประสบปัญหา พบว่า รูปแบบและวิธีการพัฒนาคุณภาพการศึกษามักมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาด้านกายภาพและการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นหลัก นอกจากนั้นกลุ่มประเทศดังกล่าวยังให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรบุคคลทางการศึกษาในระดับน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาภาวะผู้นำของครูด้านต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มประเทศที่มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับสูงว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพการศึกษาของประเทศ จากความสำคัญดังกล่าวจึง เป็นที่มาของ "การศึกษากลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผูน้ำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)" ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และนำมาซึ่งความมั่นคงด้านเศรษฐกิจการเมือง และสังคมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติในปัจจุบันและสภาพการปฏิบัติที่่พึงประสงค์ในอนาคตของภาวะผู้นำทางวิชาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน แล้วจึงวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญประเด็นภาวะผู้นำทางวิชาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึก ษาที่ควรได้รับการเสริมสร้างโดยเร่งด่วน และเสนอกลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน


แนวทางการพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูชุมชนจากภัยพิบัติน้ำท่วม, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล, กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล, มนทกานต์ ฉิมมามี Jan 2016

แนวทางการพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูชุมชนจากภัยพิบัติน้ำท่วม, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล, กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล, มนทกานต์ ฉิมมามี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2547-2557) ได้เกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากและส่งผลอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ นับเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของมนุษย์ที่หาทางป้องกันได้ยาก อีกทั้งยังต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการฟื้นฟูมาก ดังนั้น การบริหารจัดการภัยพิบัติจึงเป็นประเด็นท้าทายที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคตของนานาประเทศทั่วโลกข้อมูลจากรายงานภัยพิบัติโลก หรือ WorldDisaster Report 2014 ของ International Federationof Red Cross and Red Crescent Societies(IFRC) (2014) สรุปผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วโลกและจำแนกตามภูมิภาค พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลกระหว่างปี พ.ศ. 2547-2557 เป็นจำนวนถึง 1,059,072 คน โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นผู้เสียชีวิตเฉพาะในภูมิภาคเอเชียถึง 690,118 คน มูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติรวม 1,669,626 ล้านเหรียญ มูลค่าความเสียหายในภูมิภาคเอเชียจำนวน 759,647 ล้านเหรียญผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วโลกจำนวน1,997 ล้านคน เป็นผู้ได้รับผลกระทบในภูมิภาคเอเชียจำนวน 1,616 ล้านคน ประเภทของภัยพิบัติเฉพาะที่เป็นภัยพิบัติธรรมชาติ (natural disaster) เกิดขึ้นรวมจำนวน 3,867 ครั้งในจำนวนนี้เป็นอุทกภัยจำนวน1,752 ครั้ง ซึ่งนับเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนครั้งที่เกิดภัยพิบัติทั่วโลกจากการประชุม World Conference on DisasterRisk Reduction 2015 ณ เมืองเซนได (Sendai)ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประกาศใช้กรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573(Sendai Framework for Disaster Risk Reduction2015-2030) ซึ่งเป็นแผนระยะยาว 15 ปี มีหลักการสำคัญ คือ เพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยและลดการสูญเสียชีวิต วิถีชีวิต และสุขภาพ ตลอดจนลดความสูญเสียต่อสินทรัพย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมาย คือ ป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงใหม่ พร้อมทั้งลดความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมตามมาตรการทางเศรษฐกิจโครงสร้าง กฎหมาย สุขภาพ วัฒนธรรม การศึกษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี การเมือง และมาตรการเชิงสถาบัน (institutional) ที่มีการบูรณาการและลดความเหลื่อมล้ำในการป้องกันการทำให้ความล่อแหลมและความเปราะบางลดลง ตลอดจนเพิ่มความสามารถ


การพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, พนม คลี่ฉายา Jan 2016

การพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, พนม คลี่ฉายา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนภัยพิบัติสึนามิที่เกิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2547 ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชน รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันของภาคใต้เป็นจำนวนมาก และมหาอุทกภัยที่เกดิ ขึ้นในปี พ.ศ. 2554ที่สร้างความเสียหายแก่พื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม เขตเมือง บ้านพักอาศัย รวมทั้งกรุงเทพมหานครส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเรือน ที่พักอาศัยของประชาชนจำนวนมากมาย และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก จากผลการสำรวจครัวเรือนที่ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วมในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2554 พบว่า มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมถึง 61 จังหวัด ในจำนวนนี้เป็นครัวเรือนที่ถูกน้ำท่วมถึง3.9 ล้านครัวเรือน (ร้อยละ 19.00 ของครัวเรือนทั้งประเทศ) (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2555)จากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น พบว่า มีประเด็นปัญหาด้านการจัดการข่าวสารและการสื่อสารข้อมูล/ข้อเท็จจริงให้แก่ประชาชน ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติ การอพยพ การบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทั้ง ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยด้วย ดังปรากฏตามรายงานข่าวที่เสนอว่า "ผลการให้ข่าวคลุมเครือนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งหยุดการผลิต รวมถึงผู้ผลิตข้ามชาติอย่าง โตโยต้า ฮอนด้า และนิกคอน คนงานอย่างน้อย 600,000 คนต้องหยุดงาน" (Supawan, 2554) สร้างความเสียหายต่อ โรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจ จากเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การสื่อสารในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ในประเด็นนี้ Hirschburg, Dillman, and Ball-Rokeach (1986) อธิบายว่า ท่ามกลางเหตุการณ์ภัยพิบัตทางธรรมชาติย่อมก่อให้เกิดความคลุมเครือไม่ชัดเจนที่ประชาชนมีต่อเหตุการณ์ ประชาชนเกิดความรูสึ้กสับสนคลุมเครือต่อเหตุการณ์พิบัติภัยที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของตนเองและครอบครัว ในสภาพการณ์เช่นนี้ประชาชนจะมีการแสวงหาข่าวสารที่ผิดแผกไปจากสภาวะปกติ หรือผิดไปจากที่เคยเปิดรับข่าวสารตามปกติในแต่ละวัน อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติประชาชนจำเป็นต้องพึ่งพาข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ มากกว่าปกติ เพื่อให้สามารถตัดสินใจในการกระทำที่จะช่วยให้ตนเอง ครอบครัว เพื่อน และคนใกล้ชิดมีชีวิตรอดปลอดภัย และป้องกันการสูญเสียทรัพย์สินอันมีค่าของตนเองและครอบครัวไว้ได้การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับประเภทสื่อที่ประชาชนใช้เนื้อหาข่าวสารที่ประชาชนต้องการบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อต่าง ๆ และผลที่เกิดขึ้นจากการเปิดรับข่าวสารของบุคคลโดยเจาะจงศึกษากรณีเฉพาะเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย เพื่ออธิบายการพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญสำหรับ การวางแผนการจัดการระบบการสื่อสารในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การทำความเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงดังกล่าวนี้ จะช่วยให้สามารถวางแผนจัดการด้านการสื่อสารในภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อให้ประชาชนสามารถรอดปลอดภัยจากภัยพิบัติ ช่วยลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้


สุขภาพความงามของวัยรุ่นไทย : ความอ้วน ความขาว และศัลยกรรมความงาม, เขมิกา ยามะรัต Jan 2016

สุขภาพความงามของวัยรุ่นไทย : ความอ้วน ความขาว และศัลยกรรมความงาม, เขมิกา ยามะรัต

UNISEARCH (Unisearch Journal)

วัยรุ่น เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนผ่านเป็นอย่างมากทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม เป็นวัยที่ต้องการการยอมรับจากคนรอบข้าง ความงามจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่วัยรุ่นแสวงหา ซึ่งมีผลต่อสุขภาพทั้งทางกาย จิตใจ และครอบครัว รวมทั้งเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม ประเด็นเรื่องความงามส่งผลต่อ การรับรู้ภาพลักษณ์ของตนเองของวัยรุ่น (appearance)ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem) เช่น น้ำหนักตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่นหญิงซึ่งน้ำหนักตัวเป็นปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในรูปร่างของตนเอง และมีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม (Global self-esteem) โดยความเชื่อมั่นในตนเองที่ต่ำนั้น ยังมีผลต่อการปรับตัวทางสังคมซึ่งอาจเป็นปัญหาสังคมตามมาอีกด้วย (Crocker and Luhtanen, 2003) เช่น วัยรุ่นที่มีความสนใจในรูปร่างและรูปลักษณ์ของตนเองสูงมักใช้เวลาไปกับการดูแลรูปลักษณ์ การแต่งกาย การซื้อหาเสื้อผ้า หรือการเสริมสวย ซึ่งการให้ความสนใจกับประเด็นเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสังคมและประเทศ โดยเฉพาะในสังคมที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความสวยความงามซึ่งปรากฏในสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และอินเทอร์เน็ต ผ่านรูปแบบของการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งในละครและ/หรือภาพยนตร์ที่มีส่วนกระตุ้นให้สมาชิกในสังคม รวมทั้งวัยรุ่นมีความคาดหวังให้ตนมีรูปลักษณ์อย่างที่สังคมคาดหวัง(Dohnt and Tiggemann, 2006) นอกจากนั้นยังมีประเด็นเกี่ยวกับอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม และการทำศัลยกรรมที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นและประสบการณ์ของวัยรุ่นเกี่ยวกับสุขภาพความงาม ซึ่งจะทำให้ทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อประโยชน์ในการวางแผน ป้องกัน และลดปัญหาที่อาจเกิดจากสุขภาพความงามของวัยรุ่นไทย


Introduction, Saikaew Thipakorn, Kanokphan Usha Jan 2016

Introduction, Saikaew Thipakorn, Kanokphan Usha

Asian Review

No abstract provided.


Japan And The Development Of Thai Women's Needlework Skills In The Reign Of King Rama V, Dollaya Tiantong Jan 2016

Japan And The Development Of Thai Women's Needlework Skills In The Reign Of King Rama V, Dollaya Tiantong

Asian Review

In the reign of King Chulalongkorn (King Rama V), Japan was seen as a country which contributed to the development of traditional needlework and weaving for Th ai women in several ways. In addition to being the source of knowledge for Th ai women who studied further in the country, Japan also sent experts to Th ailand to teach Th ai women. Th ese contributions helped Th ai women develop expertise in traditional needlework and weaving that enhanced Thai women's status in that period.


บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ Jan 2016

บทบรรณาธิการ, บรรณาธิการ

Journal of Social Sciences

No abstract provided.