Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2016

UNISEARCH (Unisearch Journal)

Articles 1 - 30 of 34

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

แนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพเมือง พื้นที่กรุงเทพมหานครเขตชั้นในเพื่อบรรเทาปัญหาปรากฎการณ์เกาะความร้อน, จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ Jan 2016

แนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพเมือง พื้นที่กรุงเทพมหานครเขตชั้นในเพื่อบรรเทาปัญหาปรากฎการณ์เกาะความร้อน, จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Urban Heat Island: UHI) เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลให้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Change) ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในพื้นที่เมือง ซึ่งมีกลุ่มอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่มิใช่ลักษณะสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ กระจุกตัวกันอย่างหนาแนน่ และจากการใช้พลังงานภายในพื้นที่เมืองหรือกิจกรรมต่างๆ ของประชากรเมืองซึ่งทำให้อุณหภูมิภายในพื้นที่เมืองสูงกว่าพื้นที่ชานเมืองหรือภายนอกเมืองเป็นเวลานานและต่อเนื่องส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนที่รุนแรงยิ่งขึ้นกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองหลวงขนาดใหญ่ของโลกได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เกาะความร้อนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณพื้นที่ใจกลางเมืองหรือบริเวณเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่มีแนวโน้มในการพัฒนาพื้นที่สูงขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ แนวทางในการแก้ไขปัญหาปรากฏการณ์เกาะความร้อนในพื้นที่เมืองของกรุงเทพมหานคร ด้วยแนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพเมืองที่มีความเป็นไปได้จริง และสอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาพื้นที่เมือง รวมทั้งโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพเมืองกับลักษณะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในปรากฏการณ์เกาะความร้อนของพื้นที่ จะทำให้ทราบถึงรายละเอียดด้านกายภาพร่วมกันของสภาพแวดล้อมเมืองในพื้นที่เขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สำคัญที่จะมีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้นในพื้นที่ในอนาคต ข้อ ค้นพบจากการวิจัยจะเป็นข้อมูลสำคัญในการนำเสนอลักษณะกายภาพเมืองที่เหมาะสม ที่จะสามารถช่วยลดหรือหลีกเลี่ยงปัญหาปรากฏการณ์เกาะความร้อนของเมืองจากการพัฒนาพื้นที่ในบริเวณเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งลดปัญหาการแผ่ขยายเกาะความร้อนของเมืองออกสู่พื้นที่โดยรอบเมืองได้


การประชาสัมพันธ์เรื่องภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในประเทศไทย, วรวรรณ องค์ครุฑรักษา Jan 2016

การประชาสัมพันธ์เรื่องภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในประเทศไทย, วรวรรณ องค์ครุฑรักษา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

จากการที่โลกยุคปัจจุบันกำลังประสบกับปัญหาและวกิฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม มากมายจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ทำให้หลายประเทศประสบกับเหตุการณ์ภัยทางธรรมชาติต่างๆ มากมาย ประเทศไทยเองก็เช่นกันที่ได้รับ ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่คาดคิด เช่น มหาภัยพิบัติสึนามิในพื้นที่ภาคใต้หรือเหตุการณ์อุทกภัย เมื่อปี พ.ศ. 2554 ที่เกิด ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งภัยทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งส่งผลกระทบต่อประชาชนและมีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นในบางกรณีสามารถป้องกันหรือเตรียมการล่วงหน้าเพื่อรองรับหรือรับมือกับเหตุภัยพิบัติได้หากมีการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบได้อย่างกว้างขวาง


แนวทางการจัดการตะกอนดินคลองลำไทรและฟางข้าว ในชุมชนคอยรุตตั๊กวา หนองจอก, นุตา ศุภคต Jan 2016

แนวทางการจัดการตะกอนดินคลองลำไทรและฟางข้าว ในชุมชนคอยรุตตั๊กวา หนองจอก, นุตา ศุภคต

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ชุมชนคลองลำไทร หรือ คอยรุตตั๊กวา ตั้งอยู่ในหมู่ที่่ 5 แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร อยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ติดต่อ กับจังหวัดฉะเชิงเทรา ชุมชนคอยรุตตั๊กวาเป็นชุมชนมุสลิมเก่าแก่อายุกว่า 130 ปี คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้แก่ การปลูกข้าว และการทำปศุสัตว์ ดำเนินวิถีชีวิตอย่างสุขสงบตามหลักศาสนาอิสลาม และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชนประกอบด้วย 140 ครัวเรือน (สมาคมครูภูมิปัญญาไทย, 2555) มีคลองลำไทรซึ่งเป็นคลองสาขาเชื่อมต่อจากคลองแสนแสบ เป็นแหล่งน้ำหลักที่ใช้เพื่อการเกษตรและปศุสัตว์จากการสอบถามคุณครูสมชาย สมานตระกูล ผู้นำชุมชนคอยรุกตั๊กวา พบว่า ชุมชนมีปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการจัดการตะกอนดินคลองที่มีการสะสมมากแต่นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ รวมทั้งปัญหาการทำลายฟางข้าวที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ด้วยวิธีเผาซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อมและทัศนียภาพ อีกทั้ง หลังจากชุมชนประสบปัญหาอุทกภัย เมื่อ พ.ศ. 2554 ทางชุมชนมีการขุดลอกตะกอนคลอง เพื่อให้คลองมีการระบายน้ำได้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการขุดลอกคลองแต่ละครั้ง จะมีปริมาณตะกอนดินมาก และไม่มีการจัดการตะกอนหลังขุดลอกคลอง โดยส่วนใหญ่ชุมชนจะนำตะกอนที่ขุดลอกแล้วนั้นถมตามแนวริมคลอง ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ (สมชาย สมานตระกูล, สัมภาษณ์, 2555) จากการสำรวจปัญหาในชุมชนคลองลำไทร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร สรุปได้ว่า มีการสะสมของตะกอนดินคลองที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และฟางข้าวซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร มีการทำลายโดยวิธีเผา ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมในการศึกษานี้ได้นำตะกอนดินคลองลำไทรและฟางข้าวจากชุมชนมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการผลิตอิฐ ก้อนเชื้อเพลิงอัดแท่ง และปุ๋ยอินทรีย์ โดยนำหลักการประเมินวฏัจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) มาใช้ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เพื่อหาแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการสะสมของตะกอนดินจากคลอง และฟางข้าวซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ในชุมชน และสามารถเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้


นวัตกรรมแผงรับแสงอาทิตย์แบบรางซีพีซี (Compound Parabolic Concentrator) สำหรับกระบวนการทำความร้อน, วัฒนา รติสมิทธ์ Jan 2016

นวัตกรรมแผงรับแสงอาทิตย์แบบรางซีพีซี (Compound Parabolic Concentrator) สำหรับกระบวนการทำความร้อน, วัฒนา รติสมิทธ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar energy) เป็นพลังงานสะอาดที่มีความยั่งยืน เนื่องจากประเทศไทยมีทรัพยากรพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีศักยภาพสูง การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ นอกจากการใช้โซลาเซลล์ (Solar cell) ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้ว ในปัจจุบันยังมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานความร้อนโดยตรงเพื่อใช้ในกระบวนการทำความร้อน ซึ่งแต่เดิมผลิตภัณฑ์เครื่องทำน้ำร้อนที่ใช้ในบ้านพักอาศัยทั้งในและ ต่างประเทศใช้แผงรับแสงอาทิตย์แบบท่อแก้วสุญญากาศหรือแผงรับแสงอาทิตย์แบบแผ่นราบ สามารถทำอุณหภูมิได้ ประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส ส่งผลให้การใช้ประโยชน์ถูกจำกัดเพื่อการทำน้ำอุ่นใช้ ในที่พักอาศัยเป็นส่วนใหญ่ ในต่างประเทศและในประเทศยังไม่มีผลิตภัณฑ์แผงรับแสงอาทิตย์ขนาดเล็กที่ให้อุณหภูมิสูงเกินกว่า 100 องศาเซลเซียสได้ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์แผงรับแสงอาทิตย์ที่สามารถทำอุณหภูมิได้สูงเกิน 100 องศาเซลเซียส นั้นมีความจำเป็นต้องใช้แผงรับแสงอาทิตย์ชนิดรวมแสง เช่น รางพาราโบลา (Parabolic trough) หรือ จานสะท้อนแสง (Parabolic dish) ซึ่งต้องทำงานร่วมกับระบบติดตามดวงอาทิตย์เพื่อให้สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ตลอดทั้งวัน แต่อย่างไรก็ตาม การนำระบบติดตามดวงอาทิตย์ มาใช้กับแผงรับแสงอาทิตย์ขนาดเล็กอาจก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติหลายประการ เช่น ทำให้แผงรับแสงอาทิตย์มีราคาสูงแผงรับแสงอาทิตย์มีความซับซ้อนและมีชิ้้นส่วนเคลื่อนไหวซึ่งอาจก่อให้เกิดการชำรุดเสียหายได้ง่าย ปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ ประเทศไทยมีปริมาณรังสีกระจาย (Diffuse radiation) ในระดับสูง สัดส่วนของรังสีกระจายของประเทศไทยอยู่ระหว่าง 31 เปอร์เซ็นต์ ถึง 58 เปอร์เซ็นต์ (เสริม จันทร์ฉาย และจรุงแสง ลักษณบุญส่ง, 2542) ส่งผลให้อุปกรณ์รวมแสงชนิดต่างๆ ไม่สามารถนำรังสีกระจายมาใช้ประโยชน์ได้


การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักสลัดพันธุ์ 'Butterhead' ด้วยกากไคโทซาน", กนกวรรณ เสรีภาพ, ศุภจิตรา ชัชวาลย์, ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี, ไพบูลย์ หมุ่ยมาศ Jan 2016

การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักสลัดพันธุ์ 'Butterhead' ด้วยกากไคโทซาน", กนกวรรณ เสรีภาพ, ศุภจิตรา ชัชวาลย์, ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี, ไพบูลย์ หมุ่ยมาศ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ผักสลัด (LETTUCE: Lactuca sativa L.) เป็นผักที่นิยมนำมาบริโภคสดและใช้ตกแต่งอาหารให้มีสีสันสวยงามน่ารับประทาน โดยผักสลัดเป็นกลุ่มพืชผักที่มีราคาสูงกว่าผักชนิดอื่นๆ อีกท้งั ในปัจจุบันมีกระแสความใส่ใจในสุขภาพของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคผักสลัดเป็นที่นิยมมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผักสลัดจึงจัดเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีแนวโน้มความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


การใช้ ไคโทซานในการตรึงเซลล์ไซยาโนแบคทีเรีย Synechocystis Sp. ด้วยวิธีการเกาะติดและการกักเก็บเซลล์ในเจลไคโทซาน, ปราณี โรจน์สิทธิศักดิ์, สุรเชษฐ์ บุรุษอาชาไนย, อภิรดี โพธิพงศา, สรวิศ เผ่าทองศุข Jan 2016

การใช้ ไคโทซานในการตรึงเซลล์ไซยาโนแบคทีเรีย Synechocystis Sp. ด้วยวิธีการเกาะติดและการกักเก็บเซลล์ในเจลไคโทซาน, ปราณี โรจน์สิทธิศักดิ์, สุรเชษฐ์ บุรุษอาชาไนย, อภิรดี โพธิพงศา, สรวิศ เผ่าทองศุข

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ฟอสฟอรัสที่สะสม (Phosphorus accumulated) อยู่ในระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบหมุนเวียน (Recirculating aquaculture system: RAS) นับเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำในระยะยาว โดยทั่วไปฟอสฟอรัสที่มาจากการให้อาหารจะถูกสะสมอยู่ในระบบหมุนเวียนน้ำตลอดช่วงระยะเวลาการเพาะเลี้ยง ในขณะที่ไนโตรเจนสามารถถูกกำจัดออกไปได้ในรูปของแก๊สไนโตรเจนด้วยกระบวนการบำบัดดีไนตริฟิเคชัน (Denitrification) ผลงานวิจัยก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นว่าไซยาโนแบคทีเรียชนิด Synechocystis sp. PCC 6803 สามารถกำจัดฟอสเฟตออกจากน้ำในระบบ RAS ได้โดยกระบวนการฟอสเฟตแอสซิมิเลชั่น (Phosphate assimilation) (Burut-Archanai และคณะ, 2013) อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการกำจัดฟอสเฟตสะสมด้วยการใช้เซลล์ Synechocystis sp. ที่มีขนาดเล็ก จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการปั่นเหวี่ยง (Centrifuge) เพื่อแยกเซลล์ออกจากน้ำ ทำให้ไม่สามารถนำวิธีการนี้ไปใช้กับระบบ RAS ขนาดใหญ่ได้


กิจกรรม Unisearch Jan 2016

กิจกรรม Unisearch

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


ปัญหาทางจิตเวชหลังคลอด (Postpartum Psychiatric Disorders), ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์ Jan 2016

ปัญหาทางจิตเวชหลังคลอด (Postpartum Psychiatric Disorders), ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในผู้ป่วยเพศหญิง ถือว่าช่วงเวลาหลังคลอด เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางจิตเวชมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ ในชีวิต (Miller 2002; Burt and Hendrick, 2005) โดยกลุ่มโรคหรือปัญหาทางจิตเวชที่สำคัญและจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคให้ได้ เพื่อนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสม ได้แก่ ภาวะอารมณ์เศร้า หลังคลอด (Postpartum blues), โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) และวิกลจริตหลังคลอด (Postpartum psychosis)


โปรแกรมและสื่อในการให้ความรู้เชิงประจักษ์ด้วยเทคนิคผู้วาดรอยแป้งมัน เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช, วัฒน์สิทธิ์ ศิริวงศ์, ฐิติรัช งานฉมัง, ศรัณย์ เกียรติมาลีสถิตย์ Jan 2016

โปรแกรมและสื่อในการให้ความรู้เชิงประจักษ์ด้วยเทคนิคผู้วาดรอยแป้งมัน เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช, วัฒน์สิทธิ์ ศิริวงศ์, ฐิติรัช งานฉมัง, ศรัณย์ เกียรติมาลีสถิตย์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรที่มีงานทำในภาคเกษตรกรรมประมาณ 12.09 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 31.74ของประชากรที่มีงานทำทั้งหมด (38.09 ล้านคน) (ข้อมูล ณ ตลุาคม 2558) (สำนักงานสถิติ แห่งชาติ, 2558)อาชีพเกษตรกรจึงเป็นกลุ่มแรงงานที่สำคัญของประเทศ การทำเกษตรกรรมในปัจจุบันยังคงเน้นการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ได้แก่ ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช และช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยในแต่ละปี มีการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชมากกว่าแสนตันและมีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง(Panuwet et al., 2012) ในปี พ.ศ. 2556 มีรายงานปริมาณการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชสูงถึง 164,383 ตันหรือคิดเป็นมูลค่า 22,044 ล้านบาท (กรมวิชาการเกษตร, 2557) ผลของการทำเกษตรกรรมโดยใช้เคมีเป็นหลักทำให้เกิดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสขุภาพต่างๆ ตามมามากมาย เช่น ปัญหาสารเคมีทางการเกษตรตกค้างและปนเปื้อนในดิน น้ำ และอากาศ การเจ็บป่วยหรือได้รับพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้นซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือเป็นปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขที่ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศ(Panuwet et al., 2012) จากข้อมูลของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดล้อม พบว่า มีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลล่าสุดในปี พ.ศ. 2556 มีอัตราผู้ป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 12.37 รายต่อประชากรกลางปี แสนคน ซึ่งพบผู้ป่วยสูงสุดในกลุ่มอาชีพเกษตรกรร้อยละ 37.07 นอกจากนี้ ผลการตรวจคัดกรองระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase Enzymes)ในเลือดของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ ทางชีวภาพ (Biomarker) ต่อสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต (Organophosphate) และคาร์บาเมต (Carbamate) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายพบว่า เกษตรกรร้อยละ 30.57 มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยต่อพิษสารกำจัดศัตรูพืช (สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, 2558) และมีรายงานถึงสาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าวว่า เกิดจากการขาดความรู้และความตระหนักถึงอันตรายของสารกำจัดศัตรูพืช ทำให้มีพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ไม่เหมาะสม เช่น ผสมสารกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืช ไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายขณะที่ผสมหรือพ่นสารกำจัดศัตรูพืช หรือการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างไม่ถูกวิธี (Norkaew, 2009; Panuwet et al., 2012; Taneepanichskul et al., 2012a, 2012b;Taneepanichskul et al., 2010; Tirado et al., 2008; Wilaiwan and …


การใช้รำกระทบไม้ในผู้ป่วยพาร์กินสัน, สุรสา โค้งประเสริฐ, กนกวรรณ วังยพงศ์สถาพร Jan 2016

การใช้รำกระทบไม้ในผู้ป่วยพาร์กินสัน, สุรสา โค้งประเสริฐ, กนกวรรณ วังยพงศ์สถาพร

UNISEARCH (Unisearch Journal)

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) คือ โรคความเสื่อมทางระบบประสาท (Neurodegenerativedisease) ที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 2 รองลงมาจากโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) โรคพาร์กินสันเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาทในสมองส่วนปมประสาทฐานหรือเบซัลแกงเกลีย (Basalganglia) ในส่วนของซับสแตนเซียไนกรา (Substantianigra) โดยเซลล์ใน Substantia nigra มีหน้าที่ในการผลิตโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่สำคัญในการเชื่อมโยงและการส่งผ่านของกระแสประสาทจากสมองในส่วนต่างๆ เมื่อเซลล์ในส่วนของ Substantia nigra เสื่อมลง จะทำให้ระดับโดปามีนในสมองนั้นลดลง ส่งผลให้การส่งกระแสประสาทจาก Basal ganglia ในแต่ละส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวขาดความสมดุลและสอดคล้องต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติตามมา เช่น อาการสั่น (Tremor) อาการเกร็งแข็ง(Rigidity) การเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) และการทรงตัวไม่มั่นคง (Postural instability) (Nolden,Tartavoulle, and Porche, 2014).


วัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพน้ำและอาหาร, สุวบุญ จิรชาญชัย Jan 2016

วัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพน้ำและอาหาร, สุวบุญ จิรชาญชัย

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในอดีตเราปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์ทุกคนดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัยสี่ อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย แต่ในปัจจุบันในการดำรงชีวิตยังครอบคลุม การสื่อสาร การคมนาคมและขนส่ง และรูปแบบชีวิตในสังคมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป มนุษย์จึงต้องอาศัยปัจจัยที่มากกว่านั้น เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิต การผลิตวัสดุเพื่อตอบโจทย์ความต้องการปัจจัยเหล่านี้ รวมไปถึงความต้องการที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอยู่เสมอ จึงได้ถูกพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง


ภาวะพหุสัณฐานของยีน Fshr ที่ตำแหน่งเบส -29 และ 2039 ของโรคกระดูกพรุน, ชลิต อิ่มเงิน, ณัฐพล ธรรมโชติ, แอนนา วงษ์กุหลาบ, ปฐมวดี ญาณทัศนีย์จิต Jan 2016

ภาวะพหุสัณฐานของยีน Fshr ที่ตำแหน่งเบส -29 และ 2039 ของโรคกระดูกพรุน, ชลิต อิ่มเงิน, ณัฐพล ธรรมโชติ, แอนนา วงษ์กุหลาบ, ปฐมวดี ญาณทัศนีย์จิต

UNISEARCH (Unisearch Journal)

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่เกิดจากภาวะความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone MineralDensity) ลดลงควบคู่ไปกับโครงสร้างของกระดูก ที่เสื่อมลงจึงทำให้กระดูกเปราะบาง และมีโอกาสหักหรือยุบตัวได้ง่ายพบบ่อยในผู้สูงอายุหรือหญิงวัยหมดประจำเดือน โดยที่โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มมากขึ้น การที่กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน เกิดจากผลรวมของความแข็งแรงกระดูกลดลง อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต่างๆ ของกระดูก ซึ่งส่งผลทำให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดทับได้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้รับบาดเจ็บจากการหักของกระดูกได้จากจำนวนผู้สูงอายุทั่วโลกรวมทั้ง ประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้มีผู้ป่วยกระดูกพรุนและกระดูกหักเพิ่มขึ้น จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ของการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนตลอดอายุขัยเป็นปัญหาที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบประมาณร้อยละ 30-50 ในผู้หญิง และร้อยละ 15-30 ในผู้ชาย(Randell et al., 1995) ทั้งนี้ การเกิดภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิงนั้นมีสาเหตุมาจากการขาดฮอร์โมนเอสโทรเจน(Estrogen) ในหญิงวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ ผู้สูงอายุผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ภาวะโภชนาการ เช่น การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย เป็นต้น พันธุกรรม เชื้อชาติ การขาดการออกกำลังกาย โรคประจำตัวบางอย่างเช่น เบาหวาน เป็นต้น รวมทั้งการใช้ยาบางชนิด เช่นยาสเตียรอยด์ เป็นต้น (ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล, 2552)ดังนั้น การศึกษาถึงสาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุนจึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถหาแนวทางป้องกันผลกระทบจากปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือนต่อไปการเกิดภาวะกระดูกพรุน เกิดจากความไม่สมดุลของกระบวนการสร้างและสลายกระดูก ซึ่งโปรตีนที่เกี่ยวข้องในการสร้างและสลายกระดูกนั้น สร้างมาจากยีนที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนที่แตกต่างกันในหญิงวัยหมดประจำเดือน ยกตัวอย่างเช่น ยีน VDR(Vitamin D receptor) หรือยีนตัวรับวิตามินดี ซึ่งเป็นยีนที่นิยมหาความสัมพันธ์ของความหลากหลายทางพันธุกรรมต่อการเกิดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน จากการศึกษาของ Thakkinstian และคณะ (2004) พบว่าที่ตำแหน่งภาวะพหุสัณฐาน BsmI มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของกระดูกสันหลัง แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของกระดูกสะโพก Gross และคณะ(1996) พบว่า ที่ตำแหน่งภาวะพหุสัณฐาน FokI มีความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของกระดูกและการเกิดโรคอีกด้วย เป็นต้น


การคิดผ่านการปฏิบัติ : สื่อสร้างสรรค์ในฐานะระเบียบวิธีในการวิจัย, จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ Jan 2016

การคิดผ่านการปฏิบัติ : สื่อสร้างสรรค์ในฐานะระเบียบวิธีในการวิจัย, จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ความเป็นประเทศหรือรัฐชาติสมัยใหม่นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคิดและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเส้นแบ่งเขตแดนที่ชัดเจน ร่วมกับการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนที่อาศัยอยู่ภายในเขตแดนนั้น ๆ (Holton, 1998) เช่นเดียวกับประชาคมยุโรป ประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นมาด้วยเป้าหมายที่จะขจัดเขตแดนทางการเมืองของประเทศสมาชิก และเพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับว่าหนทางสู่เป้าหมายดังกล่าวนั้นยังอีกยาวไกล เพราะในขณะที่การสื่อสารของโลกปัจจุบันได้สร้างสำนึกของโลกที่ไร้พรมแดนและยังได้ก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ยืดหยุ่น และเลื่อนไหลพ้นจากความเป็นชาติ กล่าวคือ ผู้คนในซีกโลกหนึ่งอาจจะเกิดความรู้สึกผูกพันกับข่าวสารและวัฒนธรรมของผู้คนในอีกซีกโลกหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ในขณะเดียวกันนี้เองก็กลับมีความพยายามของรัฐชาติที่จะสถาปนาพรมแดนทางการเมืองและสร้างอัตลักษณ์ของชาติที่แข็งตัวยิ่งกว่าเก่า ดังจะเห็นได้จากกลุ่มคลั่งชาติและกลุ่มเหยียดเชื้อชาติที่กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นในแต่ละประเทศ สภาวะเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดความสับสนระหว่างสำนึกของความเป็นพลเมืองโลกกับสำนึกของความเป็นพลเมืองของรัฐชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่ก้าวข้ามพรมแดนของรัฐชาติผ่านการเคลื่อนย้ายถิ่นทางกายภาพและการก้าวข้ามวัฒนธรรม"เรื่องเล่าดิจิทัลกับความเป็นพลเมืองอาเซียน" เป็นโครงการวิจัยบนพื้นฐานของปฏิบัติการ (Practice-basedResearch) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของเรื่องเล่าดิจิทัลที่มีผลต่อแนวทางในการสร้างสรรค์เรื่องเล่าในบริบทสังคมวัฒนธรรมไร้พรมแดนและการสร้างความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมระหว่างประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน ในการศึกษาได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนจำนวน 30 คน จากชุมชนต่าง ๆ ในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาร่วมมือกันคิดเกี่ยวกับประเด็นด้านการเมืองและวัฒนธรรม ผ่านกระบวนการฝึกอบรมและสร้างสรรค์สื่อ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของประชาคมอาเซียนที่กำลังเกิดขึ้นใหม่นี้


บทบรรณาธิการ Jan 2016

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน), ปิยพงษ์ สุเมตติกุล Jan 2016

กลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน), ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

UNISEARCH (Unisearch Journal)

อาเซียน คือ การรวมตัวกันเป็นองค์กรระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคของประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในชื่อสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South EastAsian Nations) โดยใช้ชื่อย่อว่า ASEAN จุดประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านสันติภาพ ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการกระจายองค์ความรู้และด้านสังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ความร่วมมือในด้านการศึกษาระหว่างประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนได้มีการประชุมหารือเพื่อพิจารณาแนวทางความร่วมมือด้านการศึกษา โดยการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เป็นประจำทุกปีแต่ความร่วมมือดังกล่าวยังไม่ปรากฏผลให้เห็นชัดเจนมากเท่าใดนัก อาจเนื่องมาจากความแตกต่างในด้านบริบทของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศที่ทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควรดังจะเห็นได้ชัดเจนจากรายงานผลการประเมินและการจัดลำดับคุณภาพการศึกษาที่ดำเนินการโดยโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (The Programme for International Student Assessment: PISA)จากประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีตัวแทนเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ OECD จำนวน 5 ประเทศได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม โดยมาเลเซียและเวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกและเข้าร่วมการจัดอันดับ PISA ในปี ค.ศ. 2012 เป็นครั้งแรก จากผลการประเมิน PISA 2012 ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน พบว่ามีเพียงหนึ่งหรือสองประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ที่มีผลการประเมินและการจัดลำดับคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับต้นของโลกขณะที่ประเทศอื่น ๆ รวมทั้ง ประเทศไทยต่างประสบปัญหาคุณภาพการศึกษาทั้งสิ้น และถึงแม้จะมีความพยายามในการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากให้กับการพัฒนาการศึกษาแต่ผลที่ได้กลับไม่สอดคล้องกับการลงทุนที่มากมายมหาศาล จากการศึกษาข้อมูลในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกลุ่มประเทศที่ประสบปัญหา พบว่า รูปแบบและวิธีการพัฒนาคุณภาพการศึกษามักมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาด้านกายภาพและการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นหลัก นอกจากนั้นกลุ่มประเทศดังกล่าวยังให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรบุคคลทางการศึกษาในระดับน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาภาวะผู้นำของครูด้านต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มประเทศที่มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับสูงว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพการศึกษาของประเทศ จากความสำคัญดังกล่าวจึง เป็นที่มาของ "การศึกษากลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผูน้ำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)" ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และนำมาซึ่งความมั่นคงด้านเศรษฐกิจการเมือง และสังคมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติในปัจจุบันและสภาพการปฏิบัติที่่พึงประสงค์ในอนาคตของภาวะผู้นำทางวิชาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน แล้วจึงวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญประเด็นภาวะผู้นำทางวิชาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึก ษาที่ควรได้รับการเสริมสร้างโดยเร่งด่วน และเสนอกลยุทธ์การเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน


แนวทางการพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูชุมชนจากภัยพิบัติน้ำท่วม, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล, กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล, มนทกานต์ ฉิมมามี Jan 2016

แนวทางการพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูชุมชนจากภัยพิบัติน้ำท่วม, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล, กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล, มนทกานต์ ฉิมมามี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2547-2557) ได้เกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากและส่งผลอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ นับเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของมนุษย์ที่หาทางป้องกันได้ยาก อีกทั้งยังต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการฟื้นฟูมาก ดังนั้น การบริหารจัดการภัยพิบัติจึงเป็นประเด็นท้าทายที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคตของนานาประเทศทั่วโลกข้อมูลจากรายงานภัยพิบัติโลก หรือ WorldDisaster Report 2014 ของ International Federationof Red Cross and Red Crescent Societies(IFRC) (2014) สรุปผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วโลกและจำแนกตามภูมิภาค พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลกระหว่างปี พ.ศ. 2547-2557 เป็นจำนวนถึง 1,059,072 คน โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นผู้เสียชีวิตเฉพาะในภูมิภาคเอเชียถึง 690,118 คน มูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติรวม 1,669,626 ล้านเหรียญ มูลค่าความเสียหายในภูมิภาคเอเชียจำนวน 759,647 ล้านเหรียญผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วโลกจำนวน1,997 ล้านคน เป็นผู้ได้รับผลกระทบในภูมิภาคเอเชียจำนวน 1,616 ล้านคน ประเภทของภัยพิบัติเฉพาะที่เป็นภัยพิบัติธรรมชาติ (natural disaster) เกิดขึ้นรวมจำนวน 3,867 ครั้งในจำนวนนี้เป็นอุทกภัยจำนวน1,752 ครั้ง ซึ่งนับเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนครั้งที่เกิดภัยพิบัติทั่วโลกจากการประชุม World Conference on DisasterRisk Reduction 2015 ณ เมืองเซนได (Sendai)ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประกาศใช้กรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573(Sendai Framework for Disaster Risk Reduction2015-2030) ซึ่งเป็นแผนระยะยาว 15 ปี มีหลักการสำคัญ คือ เพื่อลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยและลดการสูญเสียชีวิต วิถีชีวิต และสุขภาพ ตลอดจนลดความสูญเสียต่อสินทรัพย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมาย คือ ป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงใหม่ พร้อมทั้งลดความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมตามมาตรการทางเศรษฐกิจโครงสร้าง กฎหมาย สุขภาพ วัฒนธรรม การศึกษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี การเมือง และมาตรการเชิงสถาบัน (institutional) ที่มีการบูรณาการและลดความเหลื่อมล้ำในการป้องกันการทำให้ความล่อแหลมและความเปราะบางลดลง ตลอดจนเพิ่มความสามารถ


การพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, พนม คลี่ฉายา Jan 2016

การพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, พนม คลี่ฉายา

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนภัยพิบัติสึนามิที่เกิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2547 ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชน รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันของภาคใต้เป็นจำนวนมาก และมหาอุทกภัยที่เกดิ ขึ้นในปี พ.ศ. 2554ที่สร้างความเสียหายแก่พื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม เขตเมือง บ้านพักอาศัย รวมทั้งกรุงเทพมหานครส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเรือน ที่พักอาศัยของประชาชนจำนวนมากมาย และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก จากผลการสำรวจครัวเรือนที่ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วมในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2554 พบว่า มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมถึง 61 จังหวัด ในจำนวนนี้เป็นครัวเรือนที่ถูกน้ำท่วมถึง3.9 ล้านครัวเรือน (ร้อยละ 19.00 ของครัวเรือนทั้งประเทศ) (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2555)จากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น พบว่า มีประเด็นปัญหาด้านการจัดการข่าวสารและการสื่อสารข้อมูล/ข้อเท็จจริงให้แก่ประชาชน ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติ การอพยพ การบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทั้ง ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยด้วย ดังปรากฏตามรายงานข่าวที่เสนอว่า "ผลการให้ข่าวคลุมเครือนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งหยุดการผลิต รวมถึงผู้ผลิตข้ามชาติอย่าง โตโยต้า ฮอนด้า และนิกคอน คนงานอย่างน้อย 600,000 คนต้องหยุดงาน" (Supawan, 2554) สร้างความเสียหายต่อ โรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจ จากเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การสื่อสารในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ในประเด็นนี้ Hirschburg, Dillman, and Ball-Rokeach (1986) อธิบายว่า ท่ามกลางเหตุการณ์ภัยพิบัตทางธรรมชาติย่อมก่อให้เกิดความคลุมเครือไม่ชัดเจนที่ประชาชนมีต่อเหตุการณ์ ประชาชนเกิดความรูสึ้กสับสนคลุมเครือต่อเหตุการณ์พิบัติภัยที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของตนเองและครอบครัว ในสภาพการณ์เช่นนี้ประชาชนจะมีการแสวงหาข่าวสารที่ผิดแผกไปจากสภาวะปกติ หรือผิดไปจากที่เคยเปิดรับข่าวสารตามปกติในแต่ละวัน อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติประชาชนจำเป็นต้องพึ่งพาข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ มากกว่าปกติ เพื่อให้สามารถตัดสินใจในการกระทำที่จะช่วยให้ตนเอง ครอบครัว เพื่อน และคนใกล้ชิดมีชีวิตรอดปลอดภัย และป้องกันการสูญเสียทรัพย์สินอันมีค่าของตนเองและครอบครัวไว้ได้การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับประเภทสื่อที่ประชาชนใช้เนื้อหาข่าวสารที่ประชาชนต้องการบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อต่าง ๆ และผลที่เกิดขึ้นจากการเปิดรับข่าวสารของบุคคลโดยเจาะจงศึกษากรณีเฉพาะเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย เพื่ออธิบายการพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญสำหรับ การวางแผนการจัดการระบบการสื่อสารในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การทำความเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงดังกล่าวนี้ จะช่วยให้สามารถวางแผนจัดการด้านการสื่อสารในภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อให้ประชาชนสามารถรอดปลอดภัยจากภัยพิบัติ ช่วยลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้


สุขภาพความงามของวัยรุ่นไทย : ความอ้วน ความขาว และศัลยกรรมความงาม, เขมิกา ยามะรัต Jan 2016

สุขภาพความงามของวัยรุ่นไทย : ความอ้วน ความขาว และศัลยกรรมความงาม, เขมิกา ยามะรัต

UNISEARCH (Unisearch Journal)

วัยรุ่น เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนผ่านเป็นอย่างมากทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม เป็นวัยที่ต้องการการยอมรับจากคนรอบข้าง ความงามจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่วัยรุ่นแสวงหา ซึ่งมีผลต่อสุขภาพทั้งทางกาย จิตใจ และครอบครัว รวมทั้งเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม ประเด็นเรื่องความงามส่งผลต่อ การรับรู้ภาพลักษณ์ของตนเองของวัยรุ่น (appearance)ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem) เช่น น้ำหนักตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่นหญิงซึ่งน้ำหนักตัวเป็นปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในรูปร่างของตนเอง และมีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม (Global self-esteem) โดยความเชื่อมั่นในตนเองที่ต่ำนั้น ยังมีผลต่อการปรับตัวทางสังคมซึ่งอาจเป็นปัญหาสังคมตามมาอีกด้วย (Crocker and Luhtanen, 2003) เช่น วัยรุ่นที่มีความสนใจในรูปร่างและรูปลักษณ์ของตนเองสูงมักใช้เวลาไปกับการดูแลรูปลักษณ์ การแต่งกาย การซื้อหาเสื้อผ้า หรือการเสริมสวย ซึ่งการให้ความสนใจกับประเด็นเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสังคมและประเทศ โดยเฉพาะในสังคมที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความสวยความงามซึ่งปรากฏในสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และอินเทอร์เน็ต ผ่านรูปแบบของการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งในละครและ/หรือภาพยนตร์ที่มีส่วนกระตุ้นให้สมาชิกในสังคม รวมทั้งวัยรุ่นมีความคาดหวังให้ตนมีรูปลักษณ์อย่างที่สังคมคาดหวัง(Dohnt and Tiggemann, 2006) นอกจากนั้นยังมีประเด็นเกี่ยวกับอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม และการทำศัลยกรรมที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นและประสบการณ์ของวัยรุ่นเกี่ยวกับสุขภาพความงาม ซึ่งจะทำให้ทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อประโยชน์ในการวางแผน ป้องกัน และลดปัญหาที่อาจเกิดจากสุขภาพความงามของวัยรุ่นไทย


บทบรรณาธิการ Jan 2016

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีวงศ์ ศรีบุรี และ อาจารย์ ดร. เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม ถ่านชีวภาพ...การวิจัยสู่ชุมชน, ทวีวงศ์ ศรีบุรี, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Jan 2016

สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีวงศ์ ศรีบุรี และ อาจารย์ ดร. เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม ถ่านชีวภาพ...การวิจัยสู่ชุมชน, ทวีวงศ์ ศรีบุรี, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


"รอบตัวเรา" สิ่งแวดล้อม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2016

"รอบตัวเรา" สิ่งแวดล้อม, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

คำว่า "สิ่งแวดล้อม" เป็นคำที่คนไทยใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันไม่ว่า จะคิด หรือทำอะไรต่างพยายามนึกถึงหรือเชื่อมโยงกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยบางครั้งก็ไม่ทราบอย่างชัดเจนว่า ความหมายที่แท้จริงของคำว่า "สิ่งแวดล้อม" ตามกฎหมายนั้นเป็นอย่างไร ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในสิ่งแวดล้อมอย่างไร มากน้อยเพียงใด และสิ่งใดที่ต้องทำตาม กฎหมายสิ่งแวดล้อม


แนะนำโครงการ การจัดทำผังแม่บทโครงข่ายพื้นที่สีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร Jan 2016

แนะนำโครงการ การจัดทำผังแม่บทโครงข่ายพื้นที่สีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ภายใต้สภาวะการพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานครที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่โล่งว่างและ พื้นที่สีเขียวภายในเมืองลดลง ทำให้เสียความสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเมือง และเกิดปัญหาด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน อาทิ ปัญหามลภาวะอากาศ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในเมืองที่สูงขึ้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกำหนดแนวทางการบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร


ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ Jan 2016

ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ Jan 2016

บทบรรณาธิการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร. สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ กวาวเครือขาว...สมุนไพรเฉพาะถิ่นของไทยในการรักษาโรคกระดูกพรุน, สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ Jan 2016

สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร. สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ กวาวเครือขาว...สมุนไพรเฉพาะถิ่นของไทยในการรักษาโรคกระดูกพรุน, สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


แนะนำโครงการ พาสเจอเรลล่า มัลโตซิด้า ชนิดแบคเทอรินที่ผลิตจากเชื้อที่แยกได้จากฟาร์มเพื่อป้องกันโรคในลูกสุกรอนุบาล, พรชลิต อัศวชีพ Jan 2016

แนะนำโครงการ พาสเจอเรลล่า มัลโตซิด้า ชนิดแบคเทอรินที่ผลิตจากเชื้อที่แยกได้จากฟาร์มเพื่อป้องกันโรคในลูกสุกรอนุบาล, พรชลิต อัศวชีพ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ Jan 2016

ข่าวและกิจกรรม รอบรั้วโครงการ

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


"รอบตัวเรา" สาธารณสุขมูลฐาน สำหรับคนไทย, ทวีวงศ์ ศรีบุรี Jan 2016

"รอบตัวเรา" สาธารณสุขมูลฐาน สำหรับคนไทย, ทวีวงศ์ ศรีบุรี

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


กิจกรรม Unisearch Jan 2016

กิจกรรม Unisearch

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ การเพาะพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศ.., สุชนา ชวนิชย์ Jan 2016

สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ การเพาะพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศ.., สุชนา ชวนิชย์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ปัจจุบันปะการังในท้องทะเลไทยมีสภาพเสื่อมโทรมและเสียหายเป็นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต ซึ่งการเสื่อมโทรมของปะการังเกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ สาเหตุจากธรรมชาติเช่น ลมพายุ มรสุม หรือแม้กระทั่งสึนามิ เป็นต้น และจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การทิ้งสมอบริเวณแนวปะการัง การทำประมงในแนวปะการัง หรือจากธุรกิจ/กิจกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวทางทะเลเป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นอย่างมากจึงมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากในแต่ละปี แต่จากการที่นักท่องเที่ยวไม่มีระเบียบวินัย อาจทำให้เกิดการทำลายปะการังทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ย่อมทำให้ปะการังในประเทศไทยอยู่ในภาวะที่เสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ