Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 81

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การเติมไขมันตนเองเพื่อแก้ไขแผลเป็นจากไฟไหม้และการดึงรั้ง, พูนพิศมัย สุวะโจ, ภีรเดช ทัศนะบรรจง Nov 2018

การเติมไขมันตนเองเพื่อแก้ไขแผลเป็นจากไฟไหม้และการดึงรั้ง, พูนพิศมัย สุวะโจ, ภีรเดช ทัศนะบรรจง

Chulalongkorn Medical Journal

การเติมไขมัน (lipofilling) หรือการปลูกถ่ายไขมัน (fat grafting) เป็นเทคนิคที่แพร่หลายมากขึ้นในทางศัลยกรรมตกแต่ง การเติมไขมันได้ผลการรักษาที่เป็นธรรมชาติ ไขมันที่ได้รับการปลูกถ่ายสามารถคงอยู่ในระยะยาวเสมือนว่าเป็นเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ข้อเสียที่สำคัญของการเติมไขมัน คือ การไม่สามารถคาดคะเนปริมาตรของไขมันที่จะสลายไปได้ ซึ่งอยู่ในช่วงร้อยละ 25 – 80จึงมีความพยายามในการใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การปั่นเหวี่ยง และเทคนิคอื่น ๆ ที่พยายามเพิ่มปริมาณของ adipose tissue-derived mesenchymal stem cells (ASC) ที่ช่วยให้ผลลัพธ์ของการรักษาดีขึ้นโดยเพิ่มหลอดเลือดที่มาเลี้ยงเนื้อเยื่อไขมันหลังการปลูกถ่าย ซึ่งทำให้เนื้อเยื่อไขมันสามารถคงอยู่ได้ในบริเวณที่ได้รับการปลูกถ่ายและลดไขมันที่จะสลายไป แผลเป็นที่เกิดจากไฟไหม้ทำให้ลักษณะของรอยโรคไม่สวยงามและยังทำให้เกิดการดึงรั้ง ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้อยลงการรักษาดั้งเดิมทางศัลยกรรมในการแก้ไขการดึงรั้ง คือ Z plasty หรือการทำ graft ผิวหนัง และ flapซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดแผลเป็นและมีความเสี่ยงต่อการเกิดการดึงรั้งขึ้นอีกครั้ง การรักษาโดยการเติมไขมันจึงเป็นการรักษาทางเลือกหนึ่งในแก้ไขการดึงรั้ง ความเข้าใจตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงหลังการรักษาตั้งแต่ระดับเซลล์และจุลกายวิภาค จนถึงการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ ในผลลัพธ์ทางคลินิกมีความสำคัญต่อขั้นตอนการรักษาทั้งการเก็บไขมัน การเตรียมไขมัน การปลูกถ่าย และจะทำให้การรักษาด้วยการเติมไขมันสำหรับแผลเป็นจากไฟไหม้และการดึงรั้งประสบความสำเร็จ.


การได้รับยาพาราเซตามอลเป็นเวลานานสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์บริเวณซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ของหนูแรท, ทิพย์ฐานันดร์ โชติพินิจ, วีระ สุพรศิลป์ชัย, ลัดดาวรรณ ละเลิศ, วิลาวัลย์ จิอู๋, ปรีชา เรืองเวชวรชัย, ศุภางค์ มณีศรี เลอกรองด์ Nov 2018

การได้รับยาพาราเซตามอลเป็นเวลานานสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์บริเวณซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ของหนูแรท, ทิพย์ฐานันดร์ โชติพินิจ, วีระ สุพรศิลป์ชัย, ลัดดาวรรณ ละเลิศ, วิลาวัลย์ จิอู๋, ปรีชา เรืองเวชวรชัย, ศุภางค์ มณีศรี เลอกรองด์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ยาพาราเซตามอลเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดและลดไข้ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีหลายงานวิจัยที่บ่งชี้ว่าการได้รับยาพาราเซตามอลสามารถส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆของร่างกายรวมถึงระบบประสาทได้ อย่างไรก็ดีผลกระทบของการใช้ยาของพาราเซตามอลก็ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการได้รับยาพาราเซตามอลในช่วงระยะเวลาสั้น(0 และ 5 วัน) และในช่วงระยะเวลานาน (15 และ 30 วัน) ต่อการตายของเซลล์ในสมองบริเวณซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ของหนูแรทวิธีการทำวิจัย การศึกษานี้ได้ทำการแบ่งหนูทดลองสายพันธุ์วิสต้าออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับยาพาราเซตามอล โดยในกลุ่มที่ได้รับยาพาราเซตามอลนั้นได้รับยาขนาด 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมด้วยวิธีฉีดเข้าช่องท้องเพียงครั้งเดียวสำหรับกลุ่มที่ได้รับยาเป็นเวลา 0 วันและทำการฉีดยาหนึ่งครั้งต่อวันต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5, 15 และ 30 วันในกลุ่มที่ได้รับยาพาราเซตามอลต่อเนื่องเป็นเวลา 5, 15 และ 30 วันตามลำดับ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการฉีด 0.9% normal saline เข้าทางช่องท้องในช่วงระยะเวลาเดียวกับกลุ่มที่ได้รับยาพาราเซตามอลเมื่อครบช่วงเวลาที่กำหนดสัตว์ทดลองทุกกลุ่มถูกทำให้ตายอย่างสงบโดยการฉีดโซเดียมเพนโทบาร์บิทัลที่ความเข้มข้นสูงเข้าทางช่องท้องและเก็บชิ้นเนื้อสดของสมองบริเวณซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ เพื่อทำการศึกษาการแสดงออกของเอนไซม์ caspase-3 อีกทั้งทำการเก็บชิ้นเนื้อโดยการคงสภาพไว้ในน้ำยา 4% paraformaldehyde เพื่อนำไปศึกษาด้วยเทคนิค Terminal deoxynucleotidyl transferase (TdT) dUTPNick-End Labeling (TUNEL) assay และอิมมูโนพยาธิวิทยาผลการศึกษา : ผลจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่าการได้รับยาพาราเซตามอลในช่วงระยะเวลาสั้น (0 และ 5 วัน) ไม่มีผลกระทบต่อเซลล์ประสาท ในขณะที่การได้รับยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลานาน (15 และ 30 วัน)กลับส่งผลให้มีการแสดงออกของเอนไซม์ caspase-3 และมีจำนวนTUNEL-immunoreactive cell เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมสรุป : จากการศึกษาวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่าการได้รับยาพาราเซตามอลในความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในช่วงระยะเวลาสั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในสมองบริเวณซีรีบรัลคอร์เท็กซ์แต่การได้รับยาพาราเซตามอลในความเข้มข้นนี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกลับเหนี่ยวนำให้มีการเพิ่มการแสดงออกของ caspase-3และมีการตายของเซลล์เพิ่มขึ้นคำสำคัญ : การได้รับยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลานาน, การตายของเซลล์ประสาท, ซีรีบรัลคอร์เท็กซ์, caspase-3.


การทดสอบโปรแกรมสำหรับวัดเวลาการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล, ไชยยงค์ จรเกตุ, ปราโมทย์ วาดเขียน, ศักรินทร์ สินไชย, อรอุมา บุณยารมย์, สมภิยา สมถวิล Nov 2018

การทดสอบโปรแกรมสำหรับวัดเวลาการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล, ไชยยงค์ จรเกตุ, ปราโมทย์ วาดเขียน, ศักรินทร์ สินไชย, อรอุมา บุณยารมย์, สมภิยา สมถวิล

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย :เวลาในการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ เป็นตัวบ่งชี้สำคัญของการมีสมรรถภาพทางกายที่ดี คณะผู้วิจัยจึงสนใจประดิษฐ์โปรแกรมอย่างง่ายสำหรับวัดเวลาในการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันโดยสามารถวัดได้ทั้งระยะใกล้และไกลโดยใช้ระบบรับสัญญาณแบบไร้สาย โปรแกรมนี้ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิจัยทางคลินิกที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและการประเมินการเคลื่อนไหวของร่างกายวัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมสำหรับวัดเวลาในการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวันวิธีการทำวิจัย : ทำการทดสอบความเที่ยงตรง (validity) และความน่าเชื่อถือ (reliability)ของโปรแกรมสำหรับวัดเวลาในการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวันในอาสาสมัครที่มีอายุอยู่ระหว่าง 18 - 60 ปี จำนวน 40 รายผลการศึกษา : พบว่าโปรแกรมวัดเวลาในการเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้นนี้เมื่อเปรียบเทียบกับโปรแกรมจับเวลามาตรฐานมีความเที่ยงตรงอยู่ในระดับสูงมาก(ICC (3, 1) = 1.00, P <0.001) เมื่อทดสอบความน่าเชื่อถือของโปรแกรมสำหรับวัดเวลาในการเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้น พบว่ามีความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำอยู่ในระดับปานกลางถึงสูงมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรมที่ทดสอบ กิจกรรมที่ใช้เวลาในการทำน้อย ได้แก่การยื่นมือไปแตะเป้าหมายข้างหน้า มีความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำอยู่ในระดับปานกลาง (ICC (3, k) = 0.636, P <0.001) แต่กิจกรรมที่ใช้เวลาทำนานมีความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำสูง ได้แก่ การลุกขึ้นยืน(ICC (3, k) = 0.759, P <0.001) และการเดิน (ICC (3, k) = 0.986,P <0.001)สรุป : โปรแกรมและอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้สามารถนำไปใช้วัดเวลาในการเคลื่อนไหวใน 3 กิจกรรม คือ การยื่นมือแตะเป้าหมายข้างหน้าการลุกขึ้นยืน และการเดิน ได้อย่างเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ


ความยืดหยุ่นและแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ณ ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่างไทยแลนด์-ออสเตรเลีย-เนเธอร์แลนด์ เพื่อการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย, นปภัช เมืองมา, เดชา ลลิตอนันต์พงศ์ Nov 2018

ความยืดหยุ่นและแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ณ ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่างไทยแลนด์-ออสเตรเลีย-เนเธอร์แลนด์ เพื่อการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย, นปภัช เมืองมา, เดชา ลลิตอนันต์พงศ์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีสะสมทั้งหมด 1,201,839 ราย จากการคาดประมาณ ปี พ.ศ. 2558 และยังมีชีวิตอยู่ประมาน 600,000 รายแม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างพยายามที่จะลดการเลือกปฏิบัติและการตีตรา แต่ก็มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพียง 355,123 ราย ที่เข้าถึงการรักษาภายใต้ระบบสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากผลกระทบของการตีตรา และการเลือกปฏิบัติมีหลายการศึกษา พบว่าการสนับสนุนทางสังคมและความยืดหยุ่น สามารถลดผลกระทบจากการถูกตีตรา และการเลือกปฏิบัติได้ ทั้งยังส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีวัตถุประสงค์ : เพื่อการศึกษาความยืดหยุ่นและแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ณ ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่างไทยแลนด์-ออสเตรเลีย-เนเธอร์แลนด์ เพื่อการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยวิธีการทำวิจัย : การศึกษานี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาสาสมัครทุกรายได้ เขียนเอกสารให้ความยินยอม ก่อนเข้าร่วมการศึกษานี้ แล้วจึงทำการตอบแบบสอบถามทั้ง 3 ส่วน ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล,แบบวัดความยืดหยุ่นฉบับภาษาไทย ซึ่งแปลจาก Wagnlid and Youngและแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2559 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2559 การแปลผลความยืดหยุ่นใช้ระดับคะแนนสูง (147 - 175) ปานกลาง(121 - 146) ต่ำ(<121) และแรงสนับสนุนทางสังคมแปลผลด้วย ระดับคะแนน สูง (≥74), ปานกลาง(47 - 73), ต่ำ (20 - 46) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่น และแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ วิเคราะห์ผลโดยไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์ทางสถิติดำเนินการโดยใช้ SPSS รุ่น 22.0 และใช้ค่า P <0.05 เพื่อระบุความมีนัยสำคัญทางสถิติผลการศึกษา : จากกลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 130 ราย อายุเฉลี่ย median(IQR) 43 (36 - 49) ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 69 และเป็นเพศหญิงร้อยละ 31 ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสดร้อยละ 47 และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 43 และประมานร้อยละ 26 มีรายได้อยู่ในช่วง 5,000 - 10,000 บาท กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส โดยมีระยะเวลาการรักษา ปริมาณเม็ดเลือดขาวหลังการรักษาเฉลี่ย 11.3 (IQR 5 - 16.6) ปี เกือบ 2 ใน 3 ( ร้อยละ 72)มีปริมานเม็ดเลือดขาว ณ ปัจจุบัน มากกว่า 500 cell/mm3 ค่าเฉลี่ยของเม็ดเลือดขาว CD4 median (IQR) 608.5 (484 - 782) และมีปริมาณไวรัสเอชไอวี ณ ปัจจุบันน้อยกว่า 50 copies/ml ถึงร้อยละ 99ทั้งนี้ร้อยละ 55 มีระดับความยืดหยุ่นระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 142.2,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 24.2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความยืดหยุ่นได้แก่แรงสนับสนุนทางสังคม (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน = 0.25, P <0.01) และร้อยละ 61 มีแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลางค่อนไปทางสูง (ค่าเฉลี่ย = 70.2, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 13.3 ) ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับแรงสนับสนุนทางสังคมได้แก่อายุ (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน = - 0.348, P <0.01)ระดับการศึกษา (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน = 0.31, P <0.01)รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน = 0.32, P <0.01)และระยะเวลาในการเข้ารับการรักษา (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน= 0.26, P <0.01)สรุป : จากการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อเอชไอวีวัยผู้ใหญ่ ที่มีระดับไวรัสต่ำและระดับเม็ดเลือดขาวสูงพบว่าส่วนใหญ่ มีความยืดหยุ่นในระดับสูง และมีแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลางค่อนไปทางสูง ระดับแรงสนับสนุนทางสังคมที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นที่สูงขึ้น ในขณะที่แรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น การศึกษาระดับสูงและระยะเวลาในการเข้ารับการรักษาที่ยาวนาน


ประสิทธิผลของการเผายาสมุนไพรเปรียบเทียบกับการทำกายภาพบำบัดในการรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิ, ธีรยุทธ เกษมาลี, สินีนาฏ ชาวตระการ Nov 2018

ประสิทธิผลของการเผายาสมุนไพรเปรียบเทียบกับการทำกายภาพบำบัดในการรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิ, ธีรยุทธ เกษมาลี, สินีนาฏ ชาวตระการ

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : โรคข้อเข่าเสื่อม ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญเนื่องจากเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพในผู้สูงอายุ มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ปัจจุบันมีการนำการแพทย์แบบผสมผสานมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะศาสตร์แพทย์แผนไทย การเผายาสมุนไพรเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิ แต่ยังไม่เคยมีการวิจัยถึงประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีนี้มาก่อน รวมถึงยังไม่มีการอธิบายหรือเปรียบเทียบกับวิธีอื่นอย่างชัดเจนวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิด้วยการเผายาสมุนไพรเปรียบเทียบกับการทำกายภาพบำบัดวิธีการทำวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ศึกษาในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิอายุระหว่าง 50 - 79 ปี ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่จันจังหวัดเชียงราย จำนวน 54 ราย แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่มได้แก่ กลุ่มที่รักษาด้วยการเผายาสมุนไพร ได้รับการรักษา 5 ครั้งห่างกันครั้งละ 3 วัน และกลุ่มที่รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดได้รับการรักษา 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังสิ้นสุดการรักษา ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มได้รับการประเมินข้อเข่าด้วยแบบประเมิน Knee and Osteoarthritis Outcome Score (KOOS)เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังสิ้นสุดการรักษาของแต่ละกลุ่มและเปรียบเทียบคะแนนประเมินข้อเข่าที่เพิ่มขึ้นระหว่างกลุ่มผลการศึกษา : ผลการประเมินโดยแบบประเมินข้อเข่า KOOS พบว่าหลังสิ้นสุดการรักษา ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีคะแนนประเมินข้อเข่าเพิ่มขึ้นในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.001) อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบคะแนนประเมินข้อเข่าที่เพิ่มขึ้นหลังสิ้นสุดการรักษาของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าด้านอาการ อาการปวด กิจวัตรประจำวันการเคลื่อนไหวในการออกกำลังกาย และการทำกิจกรรมอื่น ๆไม่แตกต่างกัน แต่ด้านคุณภาพชีวิตของกลุ่มที่รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดมีคะแนนเพิ่มขึ้นมากกว่าอีกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.001)สรุป : การเผายาสมุนไพร เป็นการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิที่มีประสิทธิผล ช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น รวมถึงช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ไม่ต่างจากการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด ดังนั้นจึงสามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิได้


ปรมาจารย์แห่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก Nov 2018

ปรมาจารย์แห่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก

Chulalongkorn Medical Journal

ปรมาจารย์แห่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย1. ศาสตราจารย์ หลวงลิปิธรรมศรีพยัตต์ นายแพทย์ลิ ศรีพยัตต์ "ผู้วางรากฐานทางสรีรวิทยาคนแรกของประเทศไทย" 2. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชุบ โชติกเสถียร "ผู้มีความมั่นคงทางวิชาการไม่ยอมก้มศีรษะให้กับผู้มีอำนาจทางการเมือง" 3. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เล็ก ณ นคร "แพทยศาสตร์บัณฑิตหลักสูตรใหม่ท่านแรกของอาจารย์ออร์โธปิดิกส์ ในประเทศไทย" 4.ศาสตราจารย์ พันโท นายแพทย์หลวงประจักษ์เวชสิทธิ์ "จักษุแพทย์คนแรกของประเทศไทย" 5. ศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ "ผู้ริเริ่มให้มีบริการและวิจัยการวางแผนครอบครัวในประเทศไทย และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเหรียญอังรีดูนังค์จากสภากาชาดโลก" 6. ศาสตราจารย์ นายแพทย์อานนท์ ประทัตสุนทรสาร "เพชรน้ำหนึ่งทางด้านปาราสิตวิทยา" 7. ศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัญพัฒน์ อิสรางกูร ณ อยุธยา "เพชรน้ำหนึ่งในวงการสูติ – นริเวช" 8. ศาสตราจารย์แพทย์หญิง ประจบ จารุจินดา "ปูชนียาจารย์คู่แพทย์จุฬา ฯ"


ความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้า, ณิชารีย์ แก้วไชยษา, โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์, ณภัควรรต บัวทอง Nov 2018

ความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้า, ณิชารีย์ แก้วไชยษา, โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์, ณภัควรรต บัวทอง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ในปัจจุบันองค์กรหลายแห่งได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรมากขึ้น โดยเฉพาะบุคลากรที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับอิสระและชีวิตส่วนตัวพร้อมกับต้องการความ ท้าทายในอาชีพการงาน มากกว่าการอดทนทำงานในองค์กรที่ไม่ได้ทำให้บุคลากรได้พัฒนาศักยภาพวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงาน ระดับความผูกพันต่อองค์กรรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานในบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าวิธีการทำวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานในบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าจำนวน 239 ราย โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความสุขในการทำงาน แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กร และแบบสอบถามทุนพลังใจทางบวกใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent samplet-test, One-way ANOVA, Pearson’s Correlation Coefficiency และสถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Liner Regression) ด้วยวิธี stepwiseผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความสุขในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 51.0) มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับสูง(ร้อยละ 61.9) ความสุขในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กร (P <0.001) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.239ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงาน ได้แก่ เพศ อายุระดับการศึกษา สถานภาพสมรส การที่มีสมาชิก ในครอบครัวที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ตำแหน่งงาน อายุการทำงาน การทำงานล่วงเวลาการลาป่วย เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด และทุนพลังใจทางบวกปัจจัยทำนายความสุขในการทำงาน ได้แก่ ทุนพลังใจทางบวก(P <0.001) อายุการทำงาน (P <0.001) และการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (P = 0.001)สรุป : ผลวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลให้องค์กรนำไปพัฒนาและแนวทางในการสร้างความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรให้กับพนักงาน โดยการกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของแผนกทรัพยากรบุคคล ในเสริมสร้างความสุขในการทำงาน


บทบรรณาธิการ, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก Nov 2018

บทบรรณาธิการ, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก

Chulalongkorn Medical Journal

จุฬาลงกรณ์เวชสาร ฉบับที่ 6 เดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม พ.ศ. 2561 ฉบับสุดท้ายของปีนี้ วารสารได้มีการพัฒนาก้าวหน้าดีขึ้นมาก ด้วยเหตุที่ว่า Chulalongkorn Medical Journal ได้รับการตอบรับเข้าไปอยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติหลายฐานข้อมูล (journal indexing) เช่น J-Gate, Academic Resource Index, Research Bib, Citefactor, Directory of Research JournalsIndexing (DRJI) Publons และ Google Scholar เป็นต้นดังนั้นในปีหน้า Chulalongkorn Medical Journal จะปรับรูปแบบโดยรับและตีพิมพ์บทความเป็นภาษาอังกฤษเพื่อสอดรับกับนโยบายการนำวิชาการสู่สากลของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมบนยีนNtcp กับการดำเนินโรคจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, นงณภัสร์ ตูยปาละ, สัญชัย พยุงภร, พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ Nov 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมบนยีนNtcp กับการดำเนินโรคจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, นงณภัสร์ ตูยปาละ, สัญชัย พยุงภร, พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : Sodium taurocholate co-transporting polypeptide หรือ NTCPเป็นตัวรับที่จำเพาะต่อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งอยู่บนผิวของเซลล์ตับทำให้ไวรัสตับอักเสบบีสามารถผ่านเข้าไปสู่เซลล์ตับได้ มีงานวิจัยที่ทำการศึกษาในประชากรจีนชาวฮั่นพบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรม (single nucleotide polymorphisms, SNPs)ของยีนNTCP มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังอย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนนี้กับการดำเนินโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในกลุ่มประชากรชาวไทยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมบนยีนNTCP กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและการเกิดมะเร็งตับวิธีการทำวิจัย : กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วยกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี ที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน จำนวน 242 ราย, กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เอง จำนวน 230 ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง จำนวน 635 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับร่วมด้วย จำนวน 319 ราย การตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนดังกล่าวทำโดยวิธี Allelicdiscrimination ด้วย TaqMan probe real-time polymerase chainreaction สถิติที่ใช้ ได้แก่ unpaired t-test, analysis of variance(ANOVA) และ Chi-square testผลการศึกษา : ความถี่ของจีโนไทป์ GG, GA และ AA ของยีน NTCP ตำแหน่งrs2296651 ในกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดีเป็นร้อยละ 74.2, ร้อยละ 22.1และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ, กลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เองเป็นร้อยละ 84.1, ร้อยละ 15.1 และร้อยละ 0.8 ตามลำดับและกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังเป็นร้อยละ 85.0,ร้อยละ 13.4 และร้อยละ 1.6 ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าความถี่ของจีโนไทป์ non-GG (GA และ AA) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เอง [odds ratio (OR)0.54; 95 % CI (0.35 - 0.86), P = 0.001] …


กลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานคร, มารุต ตำหนักโพธิ, สรันยา เฮงพระพรหม Nov 2018

กลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานคร, มารุต ตำหนักโพธิ, สรันยา เฮงพระพรหม

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : กลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือน (Hand-armvibration syndrome: HAVs) เกิดจากการสัมผัสแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านมือและแขนเป็นระยะเวลานาน ก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง หลอดเลือด และประสาทของแขนและมือกลุ่มอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะสัมผัสแรงสะเทือนที่มือและแขนจากรถจักรยานยนต์ที่มากเกินมาตรฐานตลอดเวลา ดังนั้นการศึกษาอาการนี้ในกลุ่มอาชีพนี้จึงมีความสำคัญวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของกลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากการสั่นสะเทือนในกลุ่มผู้ขับขี่จักรยานยนต์สาธารณะวิธีการทำวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บข้อมูลในผู้มีอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานครจำนวน 401 รายที่ถูกเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามเท่ากับร้อยละ 100 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธี Backward stepwiselogistic regressionผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 93.8 อายุเฉลี่ย40.1 ± 11.0 ปี น้ำหนักตัวเฉลี่ย 67.9 ± 11.4 กิโลกรัม ค่ามัธยฐานของจำนวนผู้โดยสารต่อวัน 48.0 ราย [IQR = 30.0, 50.0] ค่ามัธยฐานของระยะเวลาที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง 6 ปี[IQR = 3.0, 12.0] ร้อยละ 68.8 สวมถุงมือระหว่างการขับขี่ ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 49.1 ของกลุ่มตัวอย่างพบกลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือน อาการที่เด่นชัดมากที่สุด คือ อาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือ มือ แขน ข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อศอก(ร้อยละ 26.4) รองลงมาคือ นิ้วมือชา เสียวซ่า ๆ แปลบ ๆ ต่อเนื่องเกิน20 นาที (ร้อยละ 24.2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการ HAVs ได้แก่สภาพถนนขรุขระมาก (ORadj = 3.42, 95% CI = 1.28 - 9.12)การสวมถุงมือ (ORadj = 1.85, 95% CI = 1.16 - 2.95) รถจักรยานยนต์เกียร์อัตโนมัติ (ORadj …


ผลของบุหรี่ต่อการทำงานเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและหลอดเลือดแดงแข็งในอาสาสมัครไทย, กาญจนา จิตติพร, นนทัช อนุศักดิกุล, ภูมิพัฒน์ หิมะพรม, ธนพัฒน์ โสดจำปา, สิทธิชัย วชิราศรีศิริกุล, มันทนา วาดไธสง Nov 2018

ผลของบุหรี่ต่อการทำงานเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและหลอดเลือดแดงแข็งในอาสาสมัครไทย, กาญจนา จิตติพร, นนทัช อนุศักดิกุล, ภูมิพัฒน์ หิมะพรม, ธนพัฒน์ โสดจำปา, สิทธิชัย วชิราศรีศิริกุล, มันทนา วาดไธสง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยทำให้การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดผิดปกติและเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง แต่ยังไม่มีการศึกษาผลของบุหรี่ต่อการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและการประเมินหลอดเลือดแดงแข็งในอาสาสมัครไทยมาก่อนวัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและการประเมินหลอดเลือดแดงแข็งของผู้ที่สูบบุหรี่วิธีการทำวิจัย : อาสาสมัครที่มีสุขภาพดี อายุ 20 - 60 ปี ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่จำนวน 72 ราย ประเมินการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ด้วยflow mediated dilatation (FMD) และประเมินหลอดเลือดแดงแข็งด้วย cardio-ankle vascular index (CAVI)ผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มที่สูบบุหรี่มีการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) แต่ดัชนีความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดง (CAVI) และดัชนีความแข็งของหลอดเลือด (ankle brachial index; ABI) ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่และกลุ่มที่สูบบุหรี่สรุป : การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดลดลงในผู้ที่สูบบุหรี่ที่มีการสูบบุหรี่ระดับต่ำ ดังนั้นการประเมินการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดอาจใช้เป็นการคัดกรอง ในผู้ที่สูบบุหรี่ก่อนที่จะดำเนินไปสู่โรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวรวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด.


Relationship Of Serum Leptin And 25-Hydroxyvitamin D In Knee Osteoarthritis Patients, Pacharee Manoy, Wilai Anomasiri, Pongsak Yuktanandana, Aree Tanavalee, Thomas Mabey, Sittisak Honsawek Nov 2018

Relationship Of Serum Leptin And 25-Hydroxyvitamin D In Knee Osteoarthritis Patients, Pacharee Manoy, Wilai Anomasiri, Pongsak Yuktanandana, Aree Tanavalee, Thomas Mabey, Sittisak Honsawek

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Osteoarthritis (OA) is a degenerative articular disease that involves progressive alterations in all joint structures resulting from aging and overuse activity. Leptin and vitamin D play a crucial role in energy metabolism; however, few reports on leptin and 25-hydroxyvitamin D (25(OH)D) in knees of osteoarthritis (OA) has been known.Objectives : To examine serum levels of leptin and vitamin D in knee OA patients and analyze the possible relationship between serum leptin, 25-hydroxyvitamin D, and clinical parameters in OA patients.Methods : In a cross-sectional study, 235 adult patients (212 women and 23 men, aged 65.6  6.5 years) with …


ภาวะซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในประเทศไทย, ปณิตา บุญพาณิชย์, รัศมน กัลยาศิริ, ณภัควรรต บัวทอง Nov 2018

ภาวะซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในประเทศไทย, ปณิตา บุญพาณิชย์, รัศมน กัลยาศิริ, ณภัควรรต บัวทอง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เป็นอาชีพหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานและการดำเนินชีวิต ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้า อีกทั้งในประเทศไทยยังมีข้อมูลเรื่องภาวะซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินน้อยมากวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า ความเหนื่อยล้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทยวิธีการทำวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทย จำนวน 405 ราย ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ (Insomnia Severity Index)แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต Depression Anxiety Stress Scale(DASS-21) ฉบับภาษาไทย แบบประเมินความเหนื่อยล้า Revised-Piper Fatigue Scale (R-PFS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์ ไคสแควร์ ค่าความเสี่ยงและช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณด้วยแบบจำลองลอจิสติกผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพจิตด้านซึมเศร้าอยู่ในระดับเล็กน้อย(ร้อยละ 16.3) มีความเหนื่อยล้าอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.8)เมื่อวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความเหนื่อยล้าในระดับปานกลาง (ORadj = 12.18:95%CI = 3.70 – 40.12), ความเหนื่อยล้าในระดับรุนแรง(ORadj = 20.50: 95%CI = 4.67 – 89.9), และปัญหาการนอนหลับ(ORadj = 1.14: 95%CI = 1.07 – 1.21)สรุป : ผู้บริหารควรตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน อาจจัดให้มีการเพิ่มการตรวจสุขภาพจิตประจำปี และควรจัดให้มีกิจกรรมการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต เพื่อให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินได้รู้จักวิธีการจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง.


Adolescent Obesity: Current Concept Of Management, Suteerojntrakool O. Nov 2018

Adolescent Obesity: Current Concept Of Management, Suteerojntrakool O.

Chulalongkorn Medical Journal

Obesity is characterized by excessive accumulation of fat in the body which leads to other health problems associated with risk of complications in childhood and increased morbidity and mortality throughout the adult life. Despite the fact that prevention is ultimately the best method to solve the problem, management of obese adolescent still remains a challenge. Physicians must keep the balance between weight reduction and maintaining normal physical growth rate. Presently, multiple approaches and strategies are used for the treatment of obesity including lifestyle modifications, dietary management, anti-obesity drugs and bariatric surgery. Thus, physicians should have the basic understanding of these …


ระลึกถึงศาสตราจารย์กิตติคุณ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก Sep 2018

ระลึกถึงศาสตราจารย์กิตติคุณ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก

Chulalongkorn Medical Journal

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค หรือ “อาจารย์หมอใหญ่” ของผู้ที่คุ้นเคยและ บรรดาศิษย์ นับเป็นอาจารย์รุ่นแรกของพวกเรานับตั้งแต่ที่มีการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งในสมัยแรกอยู่ในสังกัดของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยท่านเป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่มในการวางรากฐานและพัฒนาวิชารังสีวิทยาในประเทศไทย จนกระทั่งมีความเจริญก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน


ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการกับปัจจัยส่วนบุคคลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและวิถีชีวิต, เปรมวดี คฤหเดช, พรพรรณ วรสีหะ, ส่าหรี แดงทองดี, สุรางค์ เชื้อวณิชชากร, พูนสุข ช่วยทอง Sep 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการกับปัจจัยส่วนบุคคลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและวิถีชีวิต, เปรมวดี คฤหเดช, พรพรรณ วรสีหะ, ส่าหรี แดงทองดี, สุรางค์ เชื้อวณิชชากร, พูนสุข ช่วยทอง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการ ควรยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงพึงพอใจตนเองรับรู้ และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์และสังคม สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข ทั้งนี้เพราะเป็นช่วงวัยสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาเรื่องดังกล่าวเพื่อนำผลการวิจัยใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการมีความสุขวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการและเพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และวิถีชีวิต กับความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการวิธีการทำวิจัย : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 93 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simplerandom sampling) จากผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (mailed questionnaire) ด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบประเมินความสุขของ Oxford และแบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิธ (Coopersmith,1981) มีค่าความ เชื่อมั่นดังนี้ความสุข 0.74 ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 0.74 และวิถีชีวิต 0.60การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ(percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standarddeviations) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlationcoefficient)ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างไม่ระบุเจาะจงว่ามีความสุขหรือไม่มีความสุขร้อยละ 63.4,รองลงมาค่อนข้างไม่มีความสุขและค่อนข้างมีความสุขร้อยละ 35.5และร้อยละ 1.1 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.581) วิถีชีวิตด้านการประกอบอาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.291) วิถีชีวิตด้านการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.277) และอายุมีความสัมพันธ์ทางลบ(r = – 0.218) ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความสุข(P >0.05) ได้แก่ วิถีชีวิตโดยรวม วิถีชีวิตด้านการรับประทานอาหารด้านการดูแลสุขภาพด้านร่าง กายและด้านจิตใจ ด้านการช่วยเหลือสังคมในชีวิตประจำวัน เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสายงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความพอเพียงของรายได้ และสวัสดิการสุขภาพสรุป : หน่วยงานรัฐบาลควรมีระบบดูแลส่งเสริมกลุ่มตัวอย่างให้มีความสุขเพิ่มขึ้น โดยส่งเสริมให้มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีการออกกำลังกาย มีการประกอบอาชีพ.


แนวทางการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซีในปัจจุบัน, ไพโรจน์ ธีรนัยพงศ์ Sep 2018

แนวทางการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซีในปัจจุบัน, ไพโรจน์ ธีรนัยพงศ์

Chulalongkorn Medical Journal

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซี พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องการวินิจฉัย และให้การรักษาอย่างทันท่วงที สามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อน เช่นภาวะหายใจล้มเหลวฉับพลัน และลดอัตราตายได้ เนื่องจากอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซี ไม่เฉพาะเจาะจง การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยการตรวจพบเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซี หรือการตรวจพบดีเอ็นเอของเชื้อดังกล่าวในสิ่งส่งตรวจจากระบบทางเดินหายใจ ทางห้อง ปฏิบัติการ การตรวจทางกล้องจุลทรรศน์โดยวิธีย้อมสีต่าง ๆ สามารถให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยได้มาก แต่อาจไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้ในกรณีที่มีปริมาณเชื้อไม่มากพอ การตรวจโดยวิธีทางน้ำเหลืองวิทยา เช่น การตรวจแอนติบอดีต่อ (1-3)-beta-D-glucan (BDG), lactatedehydrogenase (LDH), S-adenosylmethionine และ major surface glycoprotein (MSG) ของเชื้อดังกล่าว เป็นต้น การตรวจทางภาพรังสีปอด คลื่นเสียงความถี่สูง มีประโยชน์ในแง่ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยและรักษา มีรายงานความไวและความจำเพาะของวิธีการตรวจเหล่านี้แตกต่างกันในหลายการศึกษา และยังไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่จำเพาะเจาะจงเพียงพอสำหรับการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซี จึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลการตรวจจากหลายวิธีการร่วมกันมีรายงานเกี่ยวกับความสำเร็จในการเพาะเชื้อชนิดนี้ในห้องทดลอง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเข้าใจชีววิทยาและการดำเนินโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซีต่อไปในอนาคต.


ผลความแตกต่างของแรงกดจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้าต่อการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมองในผู้ใหญ่สุขภาพดี, ฉัตรฤกษ์ วงษ์เจริญ, วิลาวัลย์ อินทรีย์, สุภาวดี ทาจ๋อย, ศิวฤทธิ์ รัศมีจันทร์, กิติยา โกวิทยานนท์, สมภิยา สมถวิล, อรอุมา บุณยารมย์, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล Sep 2018

ผลความแตกต่างของแรงกดจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้าต่อการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมองในผู้ใหญ่สุขภาพดี, ฉัตรฤกษ์ วงษ์เจริญ, วิลาวัลย์ อินทรีย์, สุภาวดี ทาจ๋อย, ศิวฤทธิ์ รัศมีจันทร์, กิติยา โกวิทยานนท์, สมภิยา สมถวิล, อรอุมา บุณยารมย์, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : เท้าเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่รองรับน้ำหนัก และรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใต้ฝ่าเท้าแล้วส่งข้อมูลไปสมอง เพื่อประมวลผลให้เกิดการตอบสนองที่เหมาะสม การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุให้การรับรู้ความรู้สึกของฝ่าเท้าลดลงทำให้เสี่ยงต่อการล้มได้ง่าย ดังนั้นเท้าจึงเป็นอวัยวะที่ควรได้รับการดูแล เช่น การนวดด้วยวิธีการกดจุดสะท้อน เนื่องจากเท้ามีพื้นที่การตอบสนองที่เชื่อมโยงกับส่วนต่าง ๆ เมื่อกระตุ้นที่ตำแหน่งของฝ่าเท้าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของอวัยวะ การประเมินการตอบสนองมีหลายวิธี แต่วิธีการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองมีข้อดีหลายประการ และยังไม่พบการศึกษาการกดจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้าด้วยการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลความแตกต่างของแรงกดจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้าต่อการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีวิธีการทำวิจัย : เพศหญิงอายุระหว่าง 20 - 30 ปี จำนวน 40 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีการสุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (นวดกดจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้า, n = 20) และกลุ่มควบคุม (แตะจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้า, n = 20) โดยทำการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองในบริเวณ frontal lobe,parietal lobe, temporal lobe, central lobe และ occipital lobeทั้งก่อนกดจุด ขณะกดกลางฝ่าเท้า กดนิ้วโป้งเท้า และหลังกดจุดผลการศึกษา : พบว่าความถี่ของคลื่นไฟฟ้าสมองในบริเวณ frontal lobe, parietallobe, temporal lobe, central lobe และ occipital lobe ในช่วงก่อนกดจุด ขณะกดกลางฝ่าเท้า และกดนิ้วโป้งเท้ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.003) เมื่อเปรียบเทียบกับภายหลังกดจุดทันที ทั้งในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทั้งเท้าข้างซ้ายและเท้าข้างขวา กล่าวคือในขณะกดจุดพบคลื่นอัลฟ่าความถี่สูง (11.0 -12.9 Hz) สำหรับภายหลังกดจุดพบคลื่นเบต้า (13.0 - 30.0 Hz)นอกจากนี้ยังไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P >0.05)เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการกดจุดสะท้อนและแตะเบาสรุป : การกดจุดสะท้อนไม่ว่าจะเป็นการกดจุดสะท้อนหรือแตะเบาจะกระตุ้นให้สมองเกิดคลื่นอัลฟาความถี่สูง แต่หลังจากกดทันทีพบคลื่นเบต้าบ่งชี้ว่าสมองทำงานเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบอีกว่าไม่ว่าจะเป็นการกดจุดสะท้อนหรือแตะเบาที่เท้าข้างใดก็ให้การกระตุ้นสมองคล้ายคลึงกัน.


ความชุกและความเสี่ยงในการล้มในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อม ที่คลินิกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ชนิษฐา ตียะพาณิชย์, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, จิรภา แจ่มไพบูลย์ Sep 2018

ความชุกและความเสี่ยงในการล้มในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อม ที่คลินิกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ชนิษฐา ตียะพาณิชย์, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, จิรภา แจ่มไพบูลย์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะสมองเสื่อมและภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยในปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้นและมีอุบัติการณ์ล้มมากเป็น 2 เท่าของรายทั่วไป ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพและเป็นภาระในการดูแล นอกจากนี้ยังไม่พบการศึกษาความกลัวการล้มในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทยวัตถุประสงค์ : ศึกษาความกลัวการล้ม ความเสี่ยงในการล้มและความชุกของการล้มในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วิธีการทำวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 95 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อมที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลด้านการเจ็บป่วย แบบประเมิน MoCA แบบประเมิน TMSEแบบประเมิน NPI - Q การประเมินการทรงตัวด้วยวิธี Time up and gotest และ Berg balance test คำนวณสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเพื่อหาปัจจัยที่พยากรณ์ความกลัวการล้มและความเสี่ยงในการล้มผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่มีประวัติการล้มคิดเป็นร้อยละ 44.2 เป็นผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 48.9 ซึ่งพบมากกว่าผู้ป่วยภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย ร้อยละ 39.6 ความกลัวการล้ม คิดเป็นร้อยละ 44.2 เมื่อประเมินการทรงตัวด้วยวิธี Time upand go test และ Berg balance test พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเสี่ยงในการล้มสูงคิดเป็นร้อยละ 7.4 และ 3.2 ตามลำดับ ปัจจัยทำนายความกลัวการล้ม ได้แก่ อาการกระสับกระส่ายและเพศหญิงและปัจจัยทำนายความเสี่ยงในการล้ม ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปีเพศหญิงและมีภาวะสมองเสื่อมสรุป : การศึกษาครั้งนี้พบว่าผู้ป่วยทั้งหมดมีประวัติการล้มคิดเป็นร้อยละ 44.2ซึ่งจากผลการศึกษาครั้งนี้พบความชุกของการล้มในผู้ที่มีความบกพร่องของสมองสูงกว่าความชุกของการล้มของผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชน นอกจากนี้พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่กลัวการล้มและมีความเสี่ยงของการล้มส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ตามการตรวจคัดกรองความกลัวการล้มและความเสี่ยงในการล้มก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อลดอุบัติการณ์ล้มและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อมต่อไป.


ผลของการฝึกการทรงตัวตามหน้าที่ซึ่งมีต่อการควบคุมการทรงท่าขณะเคลื่อนไหวในผู้สวมใส่รองเท้าส้นสูง, กัลยกร โตเอี่ยม, จุฑามาศ ผลศรีธิ, ณิชกุล บุญช่วย, เพ็ญพร นาเจริญ, ภาทร ตันตะราวงศา, สมภิยา สมถวิล, อรอุมา บุณยารมย์, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล Sep 2018

ผลของการฝึกการทรงตัวตามหน้าที่ซึ่งมีต่อการควบคุมการทรงท่าขณะเคลื่อนไหวในผู้สวมใส่รองเท้าส้นสูง, กัลยกร โตเอี่ยม, จุฑามาศ ผลศรีธิ, ณิชกุล บุญช่วย, เพ็ญพร นาเจริญ, ภาทร ตันตะราวงศา, สมภิยา สมถวิล, อรอุมา บุณยารมย์, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การใส่รองเท้าส้นสูงยังคงเป็นที่ชื่นชอบของผู้สวมใส่ และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับในบางวิชาชีพเพื่อความสง่างาม แต่การใส่รองเท้าส้นสูงเป็นระยะเวลานาน ทำให้ผู้สวมใส่มักเกิดความรู้สึกไม่สบาย มีปัญหาต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และเสียการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว(dynamic postural balance) ดังนั้นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สวมใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำต้องมีการออกกำลังกาย หรือการฝึกการออกกำลังกายข้อเท้า และฝึกการทรงตัว (balance training) ซึ่งรูปแบบการฝึกควรเน้นรูปแบบที่เป็นกิจกรรมโดยเฉพาะการฝึกการทรงตัวตามหน้าที่(functional balance training) เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันวัตถุประสงค์ : ศึกษาผลของการฝึกการทรงตัวตามหน้าที่ (functional balancetraining) ที่มีต่อการควบคุมการทรงท่า (dynamic postural control)ขณะเคลื่อนไหวในผู้สวมใส่รองเท้าส้นสูงวิธีการทำวิจัย : อาสาสมัครจำนวน 19 ราย (คัดออก 3 ราย จาก 22 ราย) อายุระหว่าง18 - 25 ปีแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม (control group; CG) (n = 9) และกลุ่มฝึกการทรงตัวตามหน้าที่ (functional balance training group;FBTG) (n =10) กลุ่มฝึก functional balance ทำการฝึก functionalbalance เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ทำการทดสอบ modified StarExcursion Balance Test; mSEBT เพื่อศึกษาผลของ dynamicpostural control และใช้เครื่องทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบไร้สายวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเท้าเมื่อครบ 4 สัปดาห์ผลการศึกษา : พบว่าผลของการฝึก functional balance เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์มีผลต่อ dynamic postural control เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุม (control group; CG) และกลุ่มฝึกการทรงตัวตามหน้าที่(functional balance training group; FBTG) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อankle dorsiflexors, ankle plantar flexors, foot invertors และ footevertors เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ในกลุ่มที่ได้รับการฝึก functional balance เปรียบเทียบระหว่างก่อนเข้าโปรแกรมและหลังเข้าโปรแกรมครบ 4 สัปดาห์สรุป : การฝึก functional balance เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่งผลทำให้dynamic postural control ดีขึ้นในผู้สวมใส่รองเท้าส้นสูง นอกจากนั้นการฝึก functional balance ยังทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเท้าดีขึ้น ผลดังกล่าวอาจช่วยป้องกันการลื่นล้มและการเกิดข้อเท้าพลิกในผู้ที่สวมใส่รองเท้าส้นสูงได้.


โรคหลั่งเร็ว (Premature Ejaculation), กวิรัช ตันติวงษ์, ศุภางค์ ศรีทอง Sep 2018

โรคหลั่งเร็ว (Premature Ejaculation), กวิรัช ตันติวงษ์, ศุภางค์ ศรีทอง

Chulalongkorn Medical Journal

โรคหลั่งเร็ว (premature ejaculation, PE) หรือที่เรียกกันว่า “ล่มปากอ่าว”, “นกกระจอกไม่ทันกินนํ้า” เป็นโรคที่พบได้มากที่สุด ในปัญหาสุขภาพทางเพศของชายทั่วโลก พบได้ถึงร้อยละ 20 - 30 ในชายทุกกลุ่มอายุ นอกจากจะทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงแล้ว ยังส่งผลกับผู้ป่วยด้านความมั่นใจ ความเครียด เสียบุคลิกภาพ รวมไปถึงเกิดปัญหาชีวิตคู่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมีอาการหลั่งเร็วมักอายที่จะเข้าไปรับคำปรึกษาจากแพทย์ บางส่วนไม่ทราบว่าโรคนี้สามารถรักษาได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ premature ejaculation จะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงกว่าร้อยปีที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันคำจำกัดความที่เป็นสากลของโรคกลไกการเกิดโรค และสาเหตุนั้นยังไม่ชัดเจนแต่เกี่ยวข้องกับเวลา ความสามารถในการควบคุมการหลั่งและความกังวลในการใช้ชีวิตคู่.


ผลกระทบของการได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์แอสโทรไซต์, ณัฐณิชา ตัณฑรังษี, ธนัญญา ทองตัน, ศุภางค์ มณีศรี เลอกรองด์ Sep 2018

ผลกระทบของการได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์แอสโทรไซต์, ณัฐณิชา ตัณฑรังษี, ธนัญญา ทองตัน, ศุภางค์ มณีศรี เลอกรองด์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ผลการศึกษาวิจัยในช่วง 10 ปีหลังนี้บ่งชี้ว่า การได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังด้วยขนาดของการรักษาสามารถส่งผลเสียต่อเซลล์และระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ รวมไปถึงระบบประสาทส่วนกลางด้วยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังต่อการตายของเซลล์เพาะเลี้ยงแอสโทรไซต์และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับจุลภาคของเซลล์วิธีการทำวิจัย : เซลล์เพาะเลี้ยงแอสโทรไซต์ (C8-D1A) ถูกเพาะเลี้ยงร่วมกับยาพาราเซตามอล ที่ความเข้มข้น 100 µM เป็นเวลา 24 ชั่วโมง 16 และ 28 วันจากนั้นทำการตรวจนับจำนวนเซลล์ตายและตรวจสอบโครงสร้างระดับจุลภาคของเซลล์เพาะเลี้ยงที่ได้รับยาพาราเซตามอลเปรียบเทียบกับเซลล์เพาะเลี้ยงควบคุมผลการศึกษา : การได้รับยาพาราเซตามอลที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไม่ส่งผลให้เซลล์เพาะเลี้ยง แอสโทรไซต์เกิดการเปลี่ยนแปลง ขณะที่การเพาะเลี้ยงร่วมกับยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลา 16 และ 28 วัน ส่งผลให้เซลล์มีการตายเพิ่มสูงขึ้นและมีลักษณะโครงสร้างระดับจุลภาคที่ผิดปกติไปโดยพบว่ามีความผิดปกติของนิวเคลียส เยื่อหุ้มนิวเคลียส endoplasmicreticulum (ER) และไมโทคอนเดรียอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์เพาะเลี้ยงควบคุมสรุป : การได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังสามารถเหนี่ยวนำให้เซลล์แอสโทรไซต์มีการตายเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อโครงสร้างระดับจุลภาคของเซลล์แอสโทรไซต์ให้เปลี่ยนแปลงไป.


สภาพการปฏิบัติตามแนวทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์, เฉลิมรัฐ มีอยู่เต็ม, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล Sep 2018

สภาพการปฏิบัติตามแนวทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์, เฉลิมรัฐ มีอยู่เต็ม, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ห้องปฏิบัติการเป็นพื้นที่หนึ่งของโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีสิ่งคุกคามอันตรายหลายชนิดที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มีความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงได้มากกว่าพื้นที่อื่น เนื่องจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย และอุปกรณ์ที่ใช้มีความซับซ้อน ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตัวเองและส่วนรวมได้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติตามแนวทางด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และศึกษาระดับความรู้เรื่องความปลอดภัยรวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายของบุคลากรในห้องปฏิบัติการวิธีการทำวิจัย : รวบรวมข้อมูลจากบุคลากรในห้องปฏิบัติการจำนวน 146 รายเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง และเดินสำรวจห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ 12 ห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ข้อมูล โดยใช้สถิติ Fisher’s exact testผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 50.7 มีระดับความรู้เรื่องความปลอดภัยรวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยด้านอายุตำแหน่งวิชาชีพ ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ด้านความปลอดภัย รวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) จากการสำรวจห้องปฏิบัติการพบสิ่งคุกคามส่วนใหญ่ เป็นสิ่งคุกคามทางชีวภาพและสิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ การประเมินความเสี่ยงขั้นตอนการทำงานแต่ละแผนกพบความเสี่ยงน้อยถึงปานกลางห้องปฏิบัติการที่มีสภาพความปลอดภัยน้อยที่สุดคือ ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา และห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ขาดความสมบูรณ์ของเอกสารความปลอดภัยสรุป : จากการศึกษาพบว่าควรพัฒนาระดับด้านความรู้โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย รวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย และพัฒนาสภาพด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์.


บทบรรณาธิการ, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก Sep 2018

บทบรรณาธิการ, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก

Chulalongkorn Medical Journal

จุฬาลงกรณ์เวชสาร ฉบับที่ 5 ของปีนี้ เดือนกันยายน – ตุลาคม พ.ศ. 2561 ขอต้อนรับนิสิตแพทย์ใหม่ ชั้นปี 1 รุ่นที่ 74 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ซึ่งได้จัดงานรับน้อง “อินเดียน” ในเดือนกรกฎาคม และได้เปิดภาคเรียนตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สำหรับในวารสารฉบับนี้มีบทความที่น่าสนใจเริ่มจาก จุฬาลงกรณ์เวชประวัติ (History Medicine) “ระลึกถึงศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”บทความพิเศษ (Special article) 1 เรื่อง “การยอมรับความตาย”บทความนิพนธ์ต้นฉบับ (Original articles) รวมทั้งหมด 7 เรื่อง ประกอบด้วย1. สภาพการปฏิบัติตามแนวทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์2. ผลของโปรแกรมการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกาย ร่วมกับการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่ออาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช ที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง3. ความชุกและความเสี่ยงในการล้มในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์4. ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการกับปัจจัยส่วนบุคคลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและวิถีชีวิต5. ผลความแตกต่างของแรงกดจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้าต่อการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมองในผู้ใหญ่สุขภาพดี6. ผลของการฝึกการทรงตัวตามหน้าที่ซึ่งมีต่อการควบคุมการทรงท่าขณะเคลื่อนไหวในผู้สวมใส่รองเท้าส้นสูง7. ผลกระทบของการได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์แอสโทรไซต์และบทฟื้นฟูวิชาการ (Review articles) 3 เรื่อง ได้แก่1. สุขศึกษากับการพัฒนาสุขภาพในศตวรรษที่ 212. แนวทางการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซีในปัจจุบัน3. โรคหลั่งเร็ว (Premature ejaculation)


สุขศึกษากับการพัฒนาสุขภาพในศตวรรษที่ 21, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, ปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์ Sep 2018

สุขศึกษากับการพัฒนาสุขภาพในศตวรรษที่ 21, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, ปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์

Chulalongkorn Medical Journal

สุขศึกษานับว่ามีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาสุขภาพของชุมชน เนื่องจากสุขศึกษาเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้บุคคลและชุมชนมีความรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อสุขภาพและสามารถปฏิบัติตนเพื่อการมีสุขภาพที่ดี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์และการสาธารณสุข ในศตวรรษที่ 21 ประชาชนยังต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจากโรคที่สามารถป้องกันได้ (preventable diseases) ในยุคนี้จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลการเรียนรู้ทางสุขภาพของชุมชนและระบบการสนับสนุน โดยที่ผลการเรียนรู้ทางสุขภาพของชุมชนจะเน้นในเรื่องความฉลาดด้านสุขภาพ (health literacy) ความฉลาดด้านสิ่งแวดล้อม (environmentalliteracy) การพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพการงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะด้านข้อมูล ข่าวสาร สื่อ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ส่วนด้านระบบการสนับสนุนนั้นจะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ มาตรฐานและการประเมินทางสุขศึกษา วิธีการให้สุขศึกษาในชุมชนการพัฒนาวิชาชีพทางสุขภาพ และการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ทางสุขภาพ


การยอมรับความตาย, ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร Sep 2018

การยอมรับความตาย, ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร

Chulalongkorn Medical Journal

โดยทั่วไปความตายถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของทุกชีวิต และเป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปหรือบุคลากรทางการแพทย์ให้ความสนใจในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งในด้านการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นหรือการพยายามสร้างคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีจนวินาทีสุดท้าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคระยะสุดท้ายหรือมีความเสี่ยงต่อชีวิตพร้อมไปกับการศึกษาเรื่องของความวิตกกังวล หรือผลลบที่เกี่ยวข้องกับความตายเป็นหลัก ถึงแม้ว่าได้มีการศึกษาในเรื่องของกระบวนการและความหมายของการยอมรับความตายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยและญาติตามทฤษฎีของอิลิสซาเบธ คูเบลอ รอส และนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังมาแล้ว ในมุมมองของผู้เขียนซึ่งปฏิบัติหน้าที่ให้การดูแลแบบประคับประคองและฝึกวิปัสสนากรรมฐานมานานพอสมควร พบว่ายังมีคำสอนทางพุทธศาสนาที่สำคัญ ได้แก่หลักของธาตุทั้ง 4 หลักไตรลักษณ์ และกรรม 3 ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ดีและสามารถเติมเต็มความเข้าใจได้.


ผลของโปรแกรมการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกาย ร่วมกับการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่ออาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช ที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง, ปรเมศวร์ จิตถนอม, นรลักขณ์ เอื้อกิจ Sep 2018

ผลของโปรแกรมการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกาย ร่วมกับการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่ออาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช ที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง, ปรเมศวร์ จิตถนอม, นรลักขณ์ เอื้อกิจ

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : อาการหนาวสั่น เป็นอาการที่มักพบได้หลังการผ่าตัดทางนรีเวช และได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งระยะก่อนผ่าตัดขณะผ่าตัด และระยะหลังการผ่าตัด นับว่าเป็นภาวะวิกฤตของผู้ป่วยทุกราย โดยเฉพาะมักพบบ่อยที่ห้องพักฟื้น มีการนำผ้าห่มเป่าลมอุ่นไฟฟ้า และการให้สารน้ำอุ่นมาใช้ป้องกันการเกิดอาการหนาวสั่นในผู้ป่วยระยะหลังผ่าตัดกลุ่มต่าง ๆ ทั้งใน 3 ระยะของการผ่าตัด แต่ยังไม่มีการประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยที่มาผ่าตัดทางนรีเวชวัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยอาการหนาวสั่นของผู้ป่วยที่มาผ่าตัดทางนรีเวช ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกายกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติวิธีการทำวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกายต่ออาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช ที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช โดยการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง อายุ18 - 59 ปี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ19 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกาย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกายเก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกข้อมูลการผ่าตัดและการระงับความรู้สึกและแบบบันทึกอุณหภูมิแกนกลาง และอาการหนาวสั่น ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ราย มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.80,1.00, 1.00, และ 1.00 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบค่า tผลการศึกษา : คะแนนเฉลี่ยอาการหนาวสั่น กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกายแตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (P < 0.05) คะแนนเฉลี่ยอาการหนาวสั่นกลุ่มควบคุมเท่ากับ 0.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.59คะแนนเฉลี่ยอาการหนาวสั่นกลุ่มทดลองเท่ากับ 0.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 ค่า t เท่ากับ 2.16 ค่า df เท่ากับ 35.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.037)สรุป : กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการให้สารน้ำอุ่น การให้ความอบอุ่นร่างกาย มีคะแนนเฉลี่ยอาการหนาวสั่นแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียว.


Metabolic Disturbances In The First Seizure With Fever: Study Of Children In Thai Hospital, Pornpimol Tangsuriyanon, Siriluk Assawabumrungkul, Thitiporn Fangsaad Jul 2018

Metabolic Disturbances In The First Seizure With Fever: Study Of Children In Thai Hospital, Pornpimol Tangsuriyanon, Siriluk Assawabumrungkul, Thitiporn Fangsaad

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Seizure with fever is a common neurological manifestation in children, the most common cause of which is febrile seizure. In almost all cases, clinical practice includes laboratory investigation. In spite of multiplestudies, no evidence suggests routine blood studies improve pediatric diagnosis.Objective : Determine association between metabolic disturbances and the first seizure with fever in children.Methods : Retrospective descriptive study consisting of review of children admitted with first seizure with fever, 3 months to 6 years, from January 1, 2012 to December 31, 2016. Demographics and clinical data, etiology of fever,characteristics of seizure, metabolic laboratory investigations and cerebrospinal fluid …


Anatomical Study Of Zygomaticotemporal Nerve: Clinical Implications For Surgical Treatment Of Migraine Headache In Thai Population, Chutima Jirapinyo, Seree Iamphongsai Jul 2018

Anatomical Study Of Zygomaticotemporal Nerve: Clinical Implications For Surgical Treatment Of Migraine Headache In Thai Population, Chutima Jirapinyo, Seree Iamphongsai

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Migraine headache is one of the most common neurovascular disordersthat is often inadequately treated by currently available medical therapies.Clinical evidences have shown that the decompression of peripheral nervetrigger points is successful in migraine relief. The nerve responding tothe temporal trigger site is the zygomaticotemporal branch of the trigeminalnerve.Objectives : This cadaveric study of the anatomy of the zygomaticotemporal nerve wasundertaken to delineate where this nerve exits the deep temporal fascia inrelation to the plane through the superior border of tragus and thezygomaticofrontal suture.Methods : The temporal region of twenty-two fresh cadaveric hemiheads weredissected through bicoronal incision. Points of …


Demonstration Of Myocardial Infarction In Decomposed Myocardium With Vascular Endothelial Growth Factor Immunohistochemistry: A Tropical Climate Study, Parath Thirati, Panuwat Chutivongse Jul 2018

Demonstration Of Myocardial Infarction In Decomposed Myocardium With Vascular Endothelial Growth Factor Immunohistochemistry: A Tropical Climate Study, Parath Thirati, Panuwat Chutivongse

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Tissue damage caused by decomposition contributes to difficultiesfaced by forensic pathologists in medico-legal autopsy. Various studieshave utilized immunohistochemistry in decomposed forensic caseworks,including myocardial infarction (MI). To date, only few markers have beenstudied in decomposed MI specimens. Moreover, there are no researchesthat performed in tropical climate areas. This study is the first study toperform vascular endothelial growth factor (VEGF) immunohistochemistryin decomposed MI samples. This is also the first paper on performedimmunohistochemistry in tropical climate areas.Objective : To study whether VEGF immunohistochemistry can be used in decomposedMI specimens in tropical climate areas. Secondary objective is the longestdecomposition period that it …