Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Chulalongkorn Medical Journal

2018

ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการกับปัจจัยส่วนบุคคลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและวิถีชีวิต, เปรมวดี คฤหเดช, พรพรรณ วรสีหะ, ส่าหรี แดงทองดี, สุรางค์ เชื้อวณิชชากร, พูนสุข ช่วยทอง Sep 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการกับปัจจัยส่วนบุคคลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและวิถีชีวิต, เปรมวดี คฤหเดช, พรพรรณ วรสีหะ, ส่าหรี แดงทองดี, สุรางค์ เชื้อวณิชชากร, พูนสุข ช่วยทอง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการ ควรยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงพึงพอใจตนเองรับรู้ และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์และสังคม สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข ทั้งนี้เพราะเป็นช่วงวัยสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาเรื่องดังกล่าวเพื่อนำผลการวิจัยใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการมีความสุขวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการและเพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และวิถีชีวิต กับความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการวิธีการทำวิจัย : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 93 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simplerandom sampling) จากผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (mailed questionnaire) ด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบประเมินความสุขของ Oxford และแบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิธ (Coopersmith,1981) มีค่าความ เชื่อมั่นดังนี้ความสุข 0.74 ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 0.74 และวิถีชีวิต 0.60การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ(percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standarddeviations) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlationcoefficient)ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างไม่ระบุเจาะจงว่ามีความสุขหรือไม่มีความสุขร้อยละ 63.4,รองลงมาค่อนข้างไม่มีความสุขและค่อนข้างมีความสุขร้อยละ 35.5และร้อยละ 1.1 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.581) วิถีชีวิตด้านการประกอบอาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.291) วิถีชีวิตด้านการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.277) และอายุมีความสัมพันธ์ทางลบ(r = – 0.218) ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความสุข(P >0.05) ได้แก่ วิถีชีวิตโดยรวม วิถีชีวิตด้านการรับประทานอาหารด้านการดูแลสุขภาพด้านร่าง กายและด้านจิตใจ ด้านการช่วยเหลือสังคมในชีวิตประจำวัน เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสายงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความพอเพียงของรายได้ และสวัสดิการสุขภาพสรุป : หน่วยงานรัฐบาลควรมีระบบดูแลส่งเสริมกลุ่มตัวอย่างให้มีความสุขเพิ่มขึ้น โดยส่งเสริมให้มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีการออกกำลังกาย มีการประกอบอาชีพ.


ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในตำบลบางนางลี่ จังหวัดสมุทรสงคราม, สุรางค์ เชื้อวณิชชากร, พูนสุข ช่วยทอง, เปรมวดี คฤหเดช Jan 2018

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในตำบลบางนางลี่ จังหวัดสมุทรสงคราม, สุรางค์ เชื้อวณิชชากร, พูนสุข ช่วยทอง, เปรมวดี คฤหเดช

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ผู้สูงอายุที่มีความรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเองจะมีพลังเชิงบวกในการพัฒนาตนเอง สามารถดูแลตนเองได้ และลดการเป็นภาระในสังคม ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาเรื่องความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุในเขตชนบท ซึ่งมีรูปแบบการดำเนินชีวิตอีกลักษณะหนึ่ง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมผู้สูงอายุในเขตชนบทวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุวิธีการทำวิจัย : ผู้สูงอายุ อายุเท่ากับหรือมากกว่า 60 ปีขึ้นไปจำนวน 340 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล และแบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของ Coopersmith มีค่าความเชื่อมั่นดังนี้ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 0.90 การใช้หลักธรรมะในการดำเนินชีวิต 0.85 สัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัว 0.84สัมพันธภาพกับบุคคลในสังคม 0.76 และสิ่งแวดล้อมในสังคม 0.78ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 59.1 กลุ่มอายุ 60 – 69 ปี มากที่สุดร้อยละ 56.2 มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองระดับปานกลางมากที่สุดร้อยละ 62.9 รองลงมาต่ำและสูงร้อยละ 21.8 และ 15.3 ตามลำดับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ภาวะสุขภาพ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโรคประจำตัว การรับรู้ภาวะสุขภาพกายเมื่อเทียบกับคนวัยเดียวกัน การใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรม งานอดิเรก กีฬา และการพบปะติดต่อกับบุตร บทบาทในครอบครัว ได้แก่ ช่วยทำงานประกอบอาชีพ เป็นที่ปรึกษาครอบครัว เลี้ยงดูบุตรหลาน ช่วยเหลืองานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ สัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัว (r = 0.56)สัมพันธภาพกับบุคคลในสังคม (r = 0.59) และสิ่งแวดล้อมในสังคม(r = 0.55) มีความสัมพันธ์ทางบวกปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (P >0.05) ได้แก่ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การใช้หลักธรรมะในการดำเนินชีวิตสรุป : หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ ควรดูแลผู้สูงอายุในเรื่องภาวะสุขภาพความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโรคประจำตัว การรับรู้ภาวะสุขภาพเมื่อเทียกับคนวัยเดียวกัน การใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรม การพบปะติดต่อกับบุตร การมีบทบาทในครอบครัว เรื่อง ช่วยทำงานประกอบอาชีพ เป็นที่ปรึกษา เลี้ยงดูบุตรหลาน ช่วยเหลืองานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ มีสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัว มีสัมพันธภาพกับบุคคลในสังคม และสิ่งแวดล้อมในสังคม.