Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Chulalongkorn University

2018

Keyword
Publication
Publication Type

Articles 1 - 30 of 96

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การบูรณาการมิติเพศภาวะในการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค: ประสบการณ์จากบุคลากรด้านสุขภาพ, คุณากร การชะวี, พิมพวัลย์ บุญมงคล, สร้อยบุญ ทรายทอง, รณภูมิ สามัคคีคารมย์, สมเกียรติ ศรประสิทธิ์, โธมัส กวาดามูซ Sep 2018

การบูรณาการมิติเพศภาวะในการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค: ประสบการณ์จากบุคลากรด้านสุขภาพ, คุณากร การชะวี, พิมพวัลย์ บุญมงคล, สร้อยบุญ ทรายทอง, รณภูมิ สามัคคีคารมย์, สมเกียรติ ศรประสิทธิ์, โธมัส กวาดามูซ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์ของบุคลากรทางด้านสุขภาพ ที่ประยุกต์ใช้การบูรณาการมิติเพศภาวะในการปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยวัณโรค\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เพื่อศึกษาการบูรณาการมิติเพศภาวะในการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคจากประสบการณ์ของบุคลากรด้านสุขภาพ\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากรด้านสุขภาพที่ดูแล รักษาผู้ป่วยวัณโรค คัดเลือกแบบเจาะจงจากโรงพยาบาลรัฐใน 5 จังหวัด จำนวน 78 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลและตีความผ่านการให้รหัสเปิด (Open coding) เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย\n\nผลการวิจัย: ประสบการณ์ของบุคลากรด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคโดยใช้การบูรณาการมิติเพศภาวะ แบ่งออกได้ 4 ประเด็น ดังนี้ 1) ประสบการณ์การวิเคราะห์เพศภาวะในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค 2) ประสบการณ์การบูรณาการมิติเพศภาวะในความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรด้านสุขภาพกับผู้ป่วย เพื่อลดการใช้อำนาจกับผู้ป่วย และเสริมพลังอำนาจให้ผู้ป่วย 3) ประสบการณ์การบูรณาการมิติเพศภาวะในการทำงานระดับชุมชน เพื่อลดการตีตราผู้ป่วยในชุมชน และ 4) ประสบการณ์การบูรณาการมิติเพศภาวะในการจัดระบบบริการสุขภาพ\n\nสรุป: การบูรณาการมิติเพศภาวะในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคนั้นมีความสำคัญต่อการทำงานของบุคลากรด้านสุขภาพอย่างยิ่งทั้งช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อผู้ป่วยวัณโรคที่มีความต้องการ และข้อจำกัดที่แตกต่างกันจนสามารถนำไปสู่การให้บริการ การวางแผนการรักษาที่เหมาะสมจนเกิดให้เกิดผลสำเร็จในการรักษาได้ ซึ่งบุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และวางแผนด้านการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค และผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ ต่อไปได้


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจาก การพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดจันทบุรี, นุชจรี หิรัญบุตร, นฤมล ธีระรังสิกุล Sep 2018

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจาก การพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดจันทบุรี, นุชจรี หิรัญบุตร, นฤมล ธีระรังสิกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก\n\nรูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบพรรณาเชิงหาความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: เก็บรวบรวบข้อมูลจากครอบครัวผู้ดูแลหลักของเด็กที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดจันทบุรี จำนวน 74 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มจำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแบบ Cluster sampling ได้จำนวน 5 ศูนย์ หลังจากนั้นเลือกผู้ดูแลหลักของเด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2558 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกพฤติกรรมความวิตกกังวลจากการพรากจาก มีค่าความเชื่อมั่น (Kuder Richardson 20: KR20) เท่ากับ .93 แบบสอบถามพื้นฐานอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียน แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้ดูแล และแบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กของมารดา มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .80, .93 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย: สัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้ดูแลหลัก มีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลจากการพรากจากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.23, p < .05) และมีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลจากการพรากจากระยะประท้วงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.28, p = .01) พื้นฐานอารมณ์ของเด็กและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจมีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลจากการพรากจากในระยะปฏิเสธอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.28, p = .01) และ r = -.23 p < .05 ตามลำดับ) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการพรากจากในภาพรวม (p < .05) \n\nสรุป: พยาบาลและผู้เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กควรส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้ดูแลหลักและพื้นฐานอารมณ์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน และส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กแบบให้ความรักมาก การควบคุมอยู่ในระดับปานกลาง มีการใช้เหตุผล ไม่ปล่อยตามใจ เพื่อลดความวิตกกังวลจากการพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก


การศึกษาความคิดเห็นของรูปแบบการจัดการเรียน การสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในศตวรรษที่ 21, ทินกร บัวชู Sep 2018

การศึกษาความคิดเห็นของรูปแบบการจัดการเรียน การสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในศตวรรษที่ 21, ทินกร บัวชู

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์พยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในศตวรรษที่ 21\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method)\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลหลัก มี 2 กลุ่ม คือ 1) อาจารย์พยาบาล จำนวน 10 ราย และ 2) นักศึกษาพยาบาล จำนวน 160 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มในกลุ่มอาจารย์พยาบาล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ในกลุ่มนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน\n\nผลการวิจัย: อาจารย์พยาบาลมีมุมมองของการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การพัฒนาหลักสูตร และ 2) การจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ 1) การสอนในโลกไร้พรมแดนที่มีการเชื่อมต่อความรู้ผ่านเครือข่าย 2) การสอนแบบที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยไม่ต้องสอน 3) การสอนแบบเน้นการลงมือปฏิบัติ และ 4) การสอนที่มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยนักศึกษาพยาบาลมีความคิดเห็นด้วยมากที่สุด คือ รูปแบบการสอนแบบเน้นการลงมือปฏิบัติ อยู่ในระดับดี (= 4.19, SD = 0.56) รองลงมา คือ รูปแบบการสอนที่มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ อยู่ในระดับดี (= 4.18, SD = 0.58) ต่อมาคือ รูปแบบการสอนในโลกไร้พรมแดนที่มีการเชื่อมต่อความรู้ผ่านเครือข่าย พบว่า อยู่ในระดับดี (= 4.11, SD = 0.49) และรูปแบบการสอนแบบที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยไม่ต้องสอน พบว่า อยู่ในระดับดี (= 4.06, SD = 0.48)\n\nสรุป: ข้อมูลที่ได้ทำให้เห็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์พยาบาล สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับอาจารย์พยาบาลในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บัณฑิตพยาบาลบรรลุความสำเร็จของการจัดการศึกษา และสอดรับกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 และทำให้นักศึกษาพยาบาลมีคุณภาพที่ดีขึ้นต่อไป


บทบาทของพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในยุค ประเทศไทย 4.0, บุญญาภา จันทร์หอม, สุวิณี วิวัฒน์วานิช Sep 2018

บทบาทของพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในยุค ประเทศไทย 4.0, บุญญาภา จันทร์หอม, สุวิณี วิวัฒน์วานิช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาบทบาทของพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในยุคประเทศไทย 4.0\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้เทคนิคเดลฟาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารทางการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน 5 คน ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงสาขาเวชปฏิบัติชุมชน 5 คน อาจารย์พยาบาลสาขาพยาบาลชุมชน 3 คน อาจารย์พยาบาลสาขาบริหารการพยาบาล 2 คน แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 2 คน และผู้กำหนดนโยบาย 2 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ คือ เป็นผู้เชี่ยวชาญการบริหารงานและการปฏิบัติการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน และใช้วิธีการบอกต่อ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทบาทของพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในยุคประเทศไทย4.0 ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สาระสำคัญแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญขององค์ประกอบย่อยในแต่ละบทบาท และขั้นตอนที่ 3 นำความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง แล้วนำข้อมูลมาคำนวณหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย\n\nผลการวิจัย: บทบาทของพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในยุคประเทศไทย 4.0 มีองค์ประกอบทั้งหมด 7 ด้าน และมีข้อรายการย่อย 55 ข้อ ได้แก่ 1) ด้านผู้ปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 9 ข้อ 2) ด้านผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง จำนวน 7 ข้อ 3) ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 8 ข้อ 4) ด้านหุ้นส่วนสุขภาพ จำนวน 9 ข้อ 5) ด้านผู้จัดการการดูแล จำนวน 8 ข้อ 6) ด้านการจัดการการดูแลระยะกลาง จำนวน 7 ข้อ และ 7) ด้านการพัฒนาคุณภาพ จำนวน 7 ข้อ โดยองค์ประกอบทั้ง 7 ด้าน พบว่า มีข้อรายการย่อยจำนวน 42 …


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์, หมื่นไทย เหล่าบรรเทา, กัญญดา ประจุศิลป Sep 2018

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์, หมื่นไทย เหล่าบรรเทา, กัญญดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาแบบประเมิน โดยทบทวนวรรณกรรมและสนทนากลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน เพื่อกำหนดรายการสมรรถนะ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีสกัดตัวประกอบหลัก หมุนแกนแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์กับกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 330 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงและสุ่มแบบมีระบบ นำผลที่ได้ไปสร้างแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์ 2) การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน โดยนำแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ ผู้บังคับบัญชา หัวหน้าหอผู้ป่วย และผู้ใต้บังคับบัญชา จำนวน 350 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงและสุ่มแบบมีระบบ ประกอบด้วย การตรวจสอบหาความสอดคล้องของการประเมิน ความเที่ยงของแบบประเมิน และความเที่ยงของการใช้แบบประเมิน\n\nผลการวิจัย: 1) แบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์ ประกอบด้วย 8 ด้าน มีจำนวนข้อรายการสมรรถนะย่อย 62 ข้อ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 80.41 ดังนี้ ด้านการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลและการบริหารความปลอดภัย 11 ข้อ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 9 ข้อ ด้านภาวะผู้นำ 9 ข้อ ด้านคุณธรรม จริยธรรม 7 ข้อ ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 9 ข้อ ด้านการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม 6 ข้อ ด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ 6 ข้อ และด้านวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม 5 ข้อ\n\n2) การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์ พบว่า การประเมินของผู้ประเมิน 3 กลุ่ม (ผู้บังคับบัญชา หัวหน้าหอผู้ป่วย และผู้ใต้บังคับบัญชา) มีความสอดคล้องกัน โดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ …


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพ ในผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วย เครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, ชัชวาล วงค์สารี Sep 2018

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพ ในผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วย เครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, ชัชวาล วงค์สารี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงการทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เข้ารับการรักษาโดยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 152 คน คัดเลือกด้วยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลพฤติกรรมการจัดการตนเอง มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .95 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาคอน บราค เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: 1) จัดการตนเองด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียมอยู่ในระดับดี (Mean = 3.63, SD= 0.17) 2) ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม อายุ รายได้ และสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .172, .254, .253, ตามลำดับ, p < .05) โดยทั้ง 5 ปัจจัยสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม ได้ร้อยละ 15.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05\n\nสรุป: ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีการจัดการที่ดีทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอารมณ์และจิตวิญญาณ การพิทักษ์สิทธิของตนเอง การสื่อสารกับผู้ให้การดูแล การทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติตัวตามแผนการรักษา โดยส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาที่ดี มีระยะเวลาการฟอกเลือดที่มากกว่า 3 ปี และมีอายุมากกว่า 50 ปี มาเป็นตัวแบบที่ดีสำหรับสนับสนุนให้ผู้ป่วยอื่นได้เรียนรู้วิธีการจัดการตนเองด้านสุขภาพที่ได้ผลดี


อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท: ประเด็นสำคัญในการปฏิบัติการพยาบาล, สุดาพร สถิตยุทธการ Sep 2018

อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท: ประเด็นสำคัญในการปฏิบัติการพยาบาล, สุดาพร สถิตยุทธการ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

อาการซึมเศร้าเป็นปัญหาสำคัญของผู้ป่วยโรคจิตเภท เป็นสาเหตุหลักสู่พฤติกรรมการฆ่าตัวตายที่สูงอย่างต่อเนื่อง อาการซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคจิตเภทส่งผลกระทบรุนแรงต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ดังนั้นพยาบาลจิตเวชต้องเรียนรู้ลักษณะอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท ระยะการเกิดอาการ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท การประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย การป้องกันการฆ่าตัวตายและการพยาบาลเพื่อการป้องกันการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการซึมเศร้าจึงมีความจำเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มุ่งเน้นความต้องการของผู้ป่วย ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะฆ่าตัวตายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยจิตเภท และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยจิตเภทต่อไป


บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการปรับตัวเข้าสู่ บทบาทการเป็นบิดาวัยรุ่น, ชญาน์นันท์ อึ้งวงศพัฒน์ Sep 2018

บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการปรับตัวเข้าสู่ บทบาทการเป็นบิดาวัยรุ่น, ชญาน์นันท์ อึ้งวงศพัฒน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

ชายวัยรุ่นที่เป็นบิดาก่อนวัยอันควรเนื่องจากมีบุตรโดยไม่ได้ตั้งใจ ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตสอง อย่างพร้อมกัน คือ ภาวะวิกฤตที่เกิดจากพัฒนาการตามวัยของวัยรุ่น และภาวะวิกฤตในบทบาทการเป็นบิดา ผลกระทบของการเป็นบิดาวัยรุ่นมีทั้งทางด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ในสถานการณ์นี้บิดาวัยรุ่นต้องการการสนับสนุนจากบุคคลใกล้ชิด พยาบาลในหน่วยฝากครรภ์มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือชายวัยรุ่นให้ยอมรับการตั้งครรภ์ ยอมรับบุตรในครรภ์ และสามารถปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นบิดาวัยรุ่นได้ในที่สุด เพื่อช่วยเหลือมารดาและบุตรในครรภ์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะตั้งครรภ์


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบประเมิน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน : เกณฑ์คะแนน แบบรูบริค, วัชรี ด่านกุล, ลาวัณย์ รัตนเสถียร Sep 2018

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบประเมิน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน : เกณฑ์คะแนน แบบรูบริค, วัชรี ด่านกุล, ลาวัณย์ รัตนเสถียร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบประเมินการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน\n\nแบบแผนงานวิจัย: การศึกษาเชิงปริมาณแบบย้อนหลัง\n\nวิธีดำเนินงานวิจัย: ข้อมูลที่ใช้เป็นตัวอย่าง มาจากแบบประเมินการเรียนรู้ของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่ผ่านการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2559 จำนวน 122 คน โดยได้รับการอนุมัติเป็นโครงการวิจัยเข้าข่ายยกเว้นจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมโครงการวิจัยที่ทำในมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2561 หมายเลขรับรอง SWUEC/X-338/2560 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ ด้วยโปรแกรม STATA\n\nผลการวิจัย: พบว่า แบบประเมินการเรียนรู้ของนิสิตในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning: PBL)(พยบ.212) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ พฤติกรรมของผู้เรียน เจตคติของผู้เรียน และกระบวนการกลุ่ม ซึ่งทั้ง 4 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในแบบประเมินการเรียนรู้ของนิสิตในการเรียนการสอนแบบ PBL ได้ร้อยละ 60.75 สำหรับแบบประเมินการจัดเก็บแฟ้มสะสมงาน PBLและแบบประเมินหลักฐานรายงานการเรียนรู้ PBLประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ เนื้อหารายงาน การวางแผนงาน และสรุปประเด็นและแนวคิด ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายความแปรปรวนแบบประเมินการจัดเก็บแฟ้มสะสมงาน PBLและแบบประเมินหลักฐานรายงานการเรียนรู้ PBL ได้ร้อยละ 64.30\n\nสรุป: ผลการศึกษานี้สามารถนำสู่การสร้างเกณฑ์คะแนนรูบริคที่เหมาะสมกับรายวิชาและผู้เรียน และสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานที่นำสู่การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องได้


ผลของโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่อ การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, มานิตา ศิริพัฒน์, จินตนา ยูนิพันธุ์ Sep 2018

ผลของโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่อ การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, มานิตา ศิริพัฒน์, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่อการแสดงออกทางอารมณ์\n\nของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design)\n\nวิธีการดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท และผู้ป่วยจิตเภท ที่เข้ารับบริการในคลินิกจิตเวชแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จำนวน 40 คน จับคู่ด้วยระยะเวลาการเผชิญหน้ากับผู้ป่วยในแต่ละสัปดาห์และความเพียงพอของรายได้ สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่ม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน 3 ชุด ดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท 3) แบบวัดการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา โดยแบบประเมินชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .89 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที\n\nผลการวิจัย: \n1) การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n2) การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n\nสรุป: โปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มมีผลทำให้การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทลดลง


ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, จันทนา หล่อตจะกูล, สมศรี รัตนปริยานุช, ปิยฉัตร สนามแจง Sep 2018

ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, จันทนา หล่อตจะกูล, สมศรี รัตนปริยานุช, ปิยฉัตร สนามแจง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย\n\nแบบแผนการวิจัย: รูปแบบการวิจัย: วิจัยความสัมพันธ์เชิงพรรณนา\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลมิชชั่น และโรงพยาบาลธนบุรี จำนวน 80 คน คัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการตอบ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสหสัมพันธ์เพียร์สัน \n\nผลการวิจัย: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมไม่มีภาวะซึมเศร้า\n\nมีการสนับสนุนทางสังคมระดับปานกลาง มีคุณภาพชีวิตระดับสูง ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ.05 ตามลำดับ (r= -.655** p < .01) (r= .282* p < .05) \n\nสรุป: คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและการสนับสนุนทางสังคม ดังนั้นพยาบาลหรือผู้ดูแลสามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีมากขึ้นได้


ผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่อภาระของ ผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรส ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม, รุ่งนภา อุดมลาภ, จิราพร เกศพิชญวัฒนา Sep 2018

ผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่อภาระของ ผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรส ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม, รุ่งนภา อุดมลาภ, จิราพร เกศพิชญวัฒนา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรส ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมก่อน ระหว่าง และหลังได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งมีผู้ดูแลที่เป็น คู่สมรส ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกของคลินิกความจำ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 16 คน ทำการศึกษากลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา โดยผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ตามแนวคิดของ Ingersoll-Dayton และคณะ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามภาระของผู้ดูแล มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ\n\nผลการวิจัย: ภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระหว่างได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ และหลังได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมลดลงต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไป\n\nสรุป: โปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่สามารถลดภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้


ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตต่อภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุรา, รุ่งอรุณ โทวันนัง, เพ็ญพักตร์ อุทิศ, สุนิศา สุขตระกูล May 2018

ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตต่อภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุรา, รุ่งอรุณ โทวันนัง, เพ็ญพักตร์ อุทิศ, สุนิศา สุขตระกูล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุราก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ต 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุราระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เสพติดสุราชายที่มีภาวะซึมเศร้าจำนวน 40 ราย ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้รับการจับคู่ด้วยระดับคะแนนภาวะซึมเศร้า และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ต ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ต 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (Beck Depression Inventory) 3) แบบประเมินความคิดอัตโนมัติด้านลบ (Automatic Though Questionnaire) และ 4) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือ ชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงอัลฟาของคอนบราคเท่ากับ .81 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละและใช้สถิติที\n\nผลการวิจัย: 1. ภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุราชายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุราชายที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ธาดา วินทะไชย, นรลักขณ์ เอื้อกิจ May 2018

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ธาดา วินทะไชย, นรลักขณ์ เอื้อกิจ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง\n\nรูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทั้งชายและหญิง มีอายุระหว่าง 18-59 ปี ที่มารับบริการที่คลินิกโรคปอด โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 22 คน และกลุ่มทดลอง 22 คน ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยการจับคู่ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศ อายุ ระดับความรุนแรงของโรค และชนิดของยาสูดพ่น กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ระยะเวลาในการศึกษา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการตนเองของ Creer (2000) และแบบประเมินการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ค่าความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ .95 และการวิเคราะห์ค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที\n\nผลการวิจัย: \n1. ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มทดลอง หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง ดีกว่า ก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\n2. ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง ดีกว่า กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อให้มีการจัดการตนเองที่ดี ส่งผลให้สมรรถภาพปอดดีขึ้น


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุ กลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน, ภรปภา จันทร์ศรีทอง, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ May 2018

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุ กลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน, ภรปภา จันทร์ศรีทอง, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการตนเอง และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร\n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบพรรณนาเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 111 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบประเมินเรื่องความเปราะบาง และแบบสอบถามการสนับสนุนจากครอบครัว และหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้เท่ากับ 0.97, 0.91, 0.80 และ 0.99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบถดถอยแบบใช้ทุกตัวแปรเป็นตัวทำนาย\n\nผลการวิจัย : \n1. ผู้สูงอายุกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน มีพฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 63.19, SD =11.68)\n2. การสนับสนุนจากครอบครัว, การรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับพฤติกรรมการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.739 และ r = 0.738), เพศมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำ กับพฤติกรรมการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (r=0.169) ความเปราะบาง มีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับพฤติกรรมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.599) และภาวะโรคร่วมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเอง\n3. การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนจากครอบครัว เพศ และความเปราะบาง สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของกลุ่มตัวอย่างได้ ร้อยละ 69.6 (R2=.696) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป : พยาบาลควรส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุ โดยเน้นการเพิ่มสมรรถนะแห่งตน ร่วมกับการให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเพศ และภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุแต่ละคนเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์คือคงไว้ซึ่งพฤติกรรมการจัดการตนเองที่เหมาะสมและการคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป


การฝากครรภ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกแรกเกิด: วิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบกลุ่ม, วัชรี ด่านกุล, ลาวัณย์ รัตนเสถียร, ทักษพร สารีวงษ์, กิติญา เสนสิทธิ์, ฐิตาภา จันทร์อินทร์, พุทธวรรณ อินตะนัย, เพียงดาว ณ เชียงใหม่, ศันสนีย์ ปลื้มใจ, สุปรียา มาตขาว May 2018

การฝากครรภ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกแรกเกิด: วิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบกลุ่ม, วัชรี ด่านกุล, ลาวัณย์ รัตนเสถียร, ทักษพร สารีวงษ์, กิติญา เสนสิทธิ์, ฐิตาภา จันทร์อินทร์, พุทธวรรณ อินตะนัย, เพียงดาว ณ เชียงใหม่, ศันสนีย์ ปลื้มใจ, สุปรียา มาตขาว

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์การฝากครรภ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักของทารกแรกเกิด\n\nแบบแผนงานวิจัย: การศึกษาเชิงปริมาณแบบย้อนกลับ\n\nวิธีดำเนินงานวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์เดี่ยวที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง ในเขตสุขภาพที่ 4 ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 - 31 พฤษภาคม 2560 จำนวน 344 รายจากแบบบันทึกผู้คลอด ข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ ปัจจัยการฝากครรภ์ ปัจจัยผลการคัดกรองทางโลหิตวิทยาสำหรับหญิงตั้งครรภ์และน้ำหนักทารกแรกเกิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติกแบบกลุ่ม\n\nผลการวิจัย: อายุครรภ์เฉลี่ยที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก คือ 17 สัปดาห์ 5 วัน และจำนวนครั้งที่มาฝากครรภ์เฉลี่ย 8.96 ครั้ง ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ได้แก่ การฝากครรภ์ครั้งแรก (OR= 1.002, 95% CI = 0.017-2.863) จำนวนครั้งของการฝากครรภ์ (OR = 0.717, 95% CI = 0.588-0.874) ผล Anti-HIV: positive (OR = 30.600, 95% CI = 1.359-698.523) และดัชนีมวลกาย (OR = 5.188, 95% CI = 1.719-15.640) ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับทารกแรกเกิดน้ำหนักมาก ได้แก่ อายุ (OR = 22.872, 95% CI = 2.008-260.577)\n\nสรุป: ทีมสุขภาพควรให้ความสำคัญกับการฝากครรภ์ครั้งแรกและจำนวนครั้งของการฝากครรภ์ด้วยการดูแลที่มีคุณภาพ เพื่อให้การฝากครรภ์คุณภาพบรรลุเป้าหมาย


พยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช กับบทบาทการเตรียมความพร้อมของครอบครัว ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน, ธงรบ เทียนสันติ์ May 2018

พยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช กับบทบาทการเตรียมความพร้อมของครอบครัว ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน, ธงรบ เทียนสันติ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

โรคจิตเภท เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางจิต ที่มีอาการของโรคเรื้อรังและซับซ้อน และมีอัตราการเพิ่มปริมาณของผู้ป่วยมากขึ้นในทุกปี ทั้งในระดับนานาชาติ และในประเทศไทย เป็นผลมากจากการเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งมีการดูแลรักษาที่จำกัด จนก่อให้เกิดความพิการทางด้านจิตใจ และด้านสังคมของผู้ป่วย ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมาก เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชทั้งแผนกผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก ปัจจุบันแม้ว่าแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งต่อเนื่องมาจาก แผนฉบับที่ 11 มีนโยบายให้ลดระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล และให้ผู้ป่วยกลับสู่ชุมชน ภายใต้การดูแลของผู้ดูแล จากครอบครัว และชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน แต่จากการศึกษา พบว่า ครอบครัวและชุมชน ไม่มีความพร้อมในการรับผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่บ้าน ดังนั้น พยาบาลสุขภาพจิต และจิตเวช จึงต้องแสดงบทบาทพยาบาลจิตเวช ในการเตรียมความพร้อมให้ครอบครัว สามารถให้การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนอย่างเหมาะสมต่อไป


ผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนในนักศึกษาพยาบาล, ปิยะภัทร พึ่งพงษ์, จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย, นพวรรณ เปียซื่อ May 2018

ผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนในนักศึกษาพยาบาล, ปิยะภัทร พึ่งพงษ์, จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย, นพวรรณ เปียซื่อ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมเรื่อง การป้องกันโรคกระดูกพรุน ต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน \n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง \n\nวิธีการดำเนินการวิจัย : คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 49 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 25 รายโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม และกลุ่มเปรียบเทียบ 24 รายโดยใช้แผ่นพับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 6 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้เรื่องโรคกระดูกพรุนและการป้องกัน แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมและต่อแผ่นพับ และแบบบันทึกรายการอาหารย้อนหลัง 3 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ปัจจัย แบบวัดซ้ำ 1 ปัจจัย การทดสอบทีคู่และทีอิสระ \n\nผลการวิจัย : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม มีคุณภาพอยู่ในระดับดีถึงดีมากทุกด้าน ความ พึงพอใจของกลุ่มทดลองต่อคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมาก ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ (หลังทดลองทันทีและหลัง 8 สัปดาห์)การรับรู้ความสามารถของตนเองมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนก่อนและหลังทดลองไม่แตกต่างกัน (p >.05) ในทั้งสองกลุ่ม ค่าเฉลี่ยความรู้ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ส่วนค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันทั้งก่อนและหลังการทดลอง (p > .05) \n\nสรุป : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสม เรื่อง การป้องกันโรคกระดูกพรุน เป็นสื่อที่มีประโยชน์ในการเพิ่มความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการให้ความรู้ครั้งต่อไปควรตระหนักถึงความสำคัญของพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนในกลุ่มวัยรุ่นตอนปลายและครอบครัว


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดน่าน, พิมพิไล ช่างทอง, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, กุญชร เจือตี๋ May 2018

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดน่าน, พิมพิไล ช่างทอง, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, กุญชร เจือตี๋

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อ1)พัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดน่าน และ 2)ประเมินคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะฯ\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบผสมผสาน\n\nวิธีการดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลหลักมี 2 กลุ่ม (1) ผู้ให้ข้อมูลหลักสำหรับการพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 18 คน ประกอบด้วย หัวหน้าหอผู้ป่วย 3 คน พยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป 3 คน แพทย์ 2 คน ผู้ป่วย 5 คน และผู้ดูแลผู้ป่วย 5 คน และ (2) สำหรับการประเมินคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับตรวจสอบความตรงของแบบประเมินสมรรถนะ 4 คน และผู้ให้ข้อมูลสำหรับตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมิน ได้แก่ ผู้บริหารการพยาบาล 2 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 5 คน เป็นผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินตามลำดับ เครื่องมือการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์สภาพการณ์และความคาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของแมคคลีแลนด์ เฟย์และมิลท์เนอร์ และสภาการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา\n\nผลการวิจัย: พบว่า 1) แบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการประกอบด้วยสมรรถนะหลัก 5 ข้อ ได้แก่ (1) มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล (2) สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและมีมนุษยสัมพันธ์ (3) มีความรู้และทักษะในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (4) มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยทางสูติกรรม และ (5) มีความรู้และทักษะในงานหอผู้ป่วย และสมรรถนะย่อยรวม 26 ข้อ 2) แบบประเมินสมรรถนะมีค่าความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินเท่ากับ 0.97 และ ค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินเท่ากับ 0.80\n\nสรุป:จากผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นแสดงให้เห็นว่ามีคุณภาพและมีความเหมาะสมเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กต่อไป


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วมต่อภาวะซึมเศร้า ในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า, อุษณีย์ บุญบรรจบ, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์ May 2018

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วมต่อภาวะซึมเศร้า ในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า, อุษณีย์ บุญบรรจบ, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วม และเพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วมกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n\nแบบแผนงานวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีการดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าและผู้ดูแลหลักที่มารับบริการในแผนกจิตเวช ห้องตรวจผู้ป่วยนอกกองอายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ จำนวน 40 ครอบครัว จับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันด้วยอายุและคะแนนภาวะซึมเศร้า สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ครอบครัว เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วม 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค เครื่องมือทุกชุดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ของเครื่องมือแบบประเมินภาวะซึมเศร้าเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที\n\nผลการวิจัย :\n1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า หลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วมลดลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t=7.9)\n\n2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วมลดลงกว่าผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t=-2.73)\n\nสรุป : โปรแกรมการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจแบบครอบครัวมีส่วนร่วม ทำให้ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้ามีความเข้มแข็งทางใจสูงขึ้นและช่วยให้ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าลดลง


ผลของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมการทำกิจกรรม ทางกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน, ธัญลักษณ์วดี ก้อนทองถม, อาภาวรรณ หนูคง, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม May 2018

ผลของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมการทำกิจกรรม ทางกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน, ธัญลักษณ์วดี ก้อนทองถม, อาภาวรรณ หนูคง, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักต่อพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีการดำเนินการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้ใช้กรอบแนวคิดวงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Kolb และแรงสนับสนุนทางสังคมของ House กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีภาวะโภชนาการเกินจำนวน 60 คน จาก 2 โรงเรียนๆ ละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการควบคุมน้ำหนัก 4 ครั้ง ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ประกอบด้วยการเรียนรู้จากการประเมินภาวะโภชนาการด้วยตนเองและการให้ความรู้ การบันทึกพฤติกรรมการบริโภคและการทำกิจกรรมทางกาย การอภิปรายกลุ่มและสะท้อนความคิด การสรุปแนวทางการควบคุมน้ำหนัก และการปฏิบัติจริงโดยใช้แรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน ผู้ปกครอง และครู กลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตตามปกติ\n\nผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p> .05) เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลอง เด็กวัยเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายสูงกว่าก่อนการทดลอง (d = 3.70, SD =1.36) และมีการเปลี่ยนแปลงภาวะโภชนาการในระดับอ้วนลดลงจากร้อยละ 46.70 เป็นร้อยละ 30 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป:พยาบาลควรจัดโปรแกรมควบคุมน้ำหนักสำหรับเด็กวัยเรียนโดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของครอบครัวและโรงเรียนในการวางแผน การดำเนินกิจกรรม และการติดตามประเมินผล


ประเด็นที่ควรตระหนักในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีแผลทะลุระหว่างทางเดินอาหารและผิวหนัง, บุศรา ชัยทัศน์, นันทกา สวัสดิพานิช May 2018

ประเด็นที่ควรตระหนักในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีแผลทะลุระหว่างทางเดินอาหารและผิวหนัง, บุศรา ชัยทัศน์, นันทกา สวัสดิพานิช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การเกิดแผลทะลุระหว่างทางเดินอาหารและผิวหนัง (enterocutaneous fistula) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอย่างหนึ่งภายหลังการผ่าตัดช่องท้อง ทำให้ผู้ป่วยเด็กและครอบครัวได้รับผลกระทบอย่างมากทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ส่งผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และการเรียนรู้ตามวัยของเด็กหยุดชะงัก นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยเด็ก เพื่อให้กระบวนการหายของแผลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการดูแลด้านจิตใจของผู้ป่วยเด็กและครอบครัวเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยบทความนี้จะนำเสนอกรณีศึกษาผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะแผลทะลุระหว่างทางเดินอาหารกับผิวหนัง (enterocutaneous fistula) ประเภท สาเหตุ การวินิจฉัยและการรักษา รวมถึงประเด็นที่ควรตระหนักในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะแผลทะลุระหว่างทางเดินอาหารกับผิวหนัง (enterocutaneous fistula)


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร, ดวงพร กุลภควา Jan 2018

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร, ดวงพร กุลภควา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมินซึ่งมี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์รายการสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดจากการทบทวนวรรณกรรมและสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญพยาบาลห้องผ่าตัด จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างข้อรายการสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โดยการกำหนดข้อรายการสมรรถนะและวิเคราะห์หาคุณภาพของข้อรายการสมรรถนะด้วยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.94 และทดสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 นำผลที่ได้ไปสร้างเป็นแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ข้อรายการสมรรถนะย่อย 36 ข้อ ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน ผู้วิจัยนำแบบประเมินที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน ประกอบด้วยพยาบาลห้องผ่าตัด 44 คนและพยาบาลผู้จัดการแผนกและพยาบาลหัวหน้าหน่วยแผนกห้องผ่าตัด 6 คน โดยใช้รูปแบบการประเมิน 360 องศา วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคและความสอดคล้องของการประเมินระหว่างพยาบาลห้องผ่าตัดประเมินตนเอง ประเมินโดยเพื่อนร่วมงานและประเมินโดยพยาบาลผู้จัดการแผนกและพยาบาลหัวหน้าหน่วยแผนกห้องผ่าตัดด้วยสถิติ Intraclass Correlation Coefficient ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (r) เท่ากับ 0.98 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยรายด้านสมรรถนะหลัก 6 รายด้าน ข้อรายการสมรรถนะย่อย 36 ข้อ ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลผ่าตัด มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 12 ข้อ 2) การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 8 ข้อ 3) การใช้และการจัดการเครื่องมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 4 ข้อ 4) การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงและการแก้ปัญหาฉุกเฉิน มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 4 ข้อ 5) การสื่อสาร ติดต่อประสานงาน มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 4 …


การศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ, พัชรินทร์ โชคสวัสดิ์ Jan 2018

การศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ, พัชรินทร์ โชคสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานวิจัยหรือผลงานที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ 6 คน ผู้บริหารทางการพยาบาล โรงพยาบาลตติยภูมิ 6 คน อาจารย์พยาบาล 4 คน และหัวหน้าหน่วยงานเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลตติยภูมิ 4 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในรอบที่ 1 มาวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่สาระในลักษณะเดียวกัน สร้างเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาระดับความสำคัญของรายการในแต่ละด้าน ในการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ขั้นตอนที่ 3 นำความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน ความคิดเห็นอีกครั้ง แล้วนำข้อมูลมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และสรุปองค์ประกอบในการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ประกอบด้วย 6 ด้าน และมีรายการจำนวน 47 ข้อ ดังนี้ 1) การกำหนดค่านิยมในการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ข้อ 2) การขอรับการสนับสนุนด้านการสร้างเสริมสุขภาพจากสหวิชาชีพ จำนวน 4 ข้อ 3) การสื่อสารค่านิยมในการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 10 ข้อ 4) การกำหนดพฤติกรรรมการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 12 ข้อ 5) การเสริมแรงพฤติกรรมการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ข้อ 6) การสร้างความต่อเนื่องของการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ข้อ


การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพยาบาลวิชาชีพ, ชวภณ สารข้าวคำ, อารีย์วรรณ อ่วมตานี Jan 2018

การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพยาบาลวิชาชีพ, ชวภณ สารข้าวคำ, อารีย์วรรณ อ่วมตานี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศชาติและสังคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพยาบาลวิชาชีพที่มีบทบาทสำคัญต่อนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพและวิชาชีพการพยาบาล ที่จะถูกนำมาพัฒนาเป็นนโยบายหรือกฏหมายต่อไป พยาบาลวิชาชีพสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้หลายระดับโดยเริ่มต้นจากการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับองค์กรวิชาชีพ หรือการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ จะสามารถก่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านคุณภาพการดูแล และคุณภาพระบบบริการสุขภาพของประชาชน ประเทศชาติ และสังคมโลก รวมไปถึงการเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อวิชาชีพการพยาบาล


ประสบการณ์การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยอาหรับ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, ไอริณ กรองไชย Jan 2018

ประสบการณ์การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยอาหรับ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, ไอริณ กรองไชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยอาหรับ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฎการณ์วิทยาการตีความตาม ผู้ให้ข้อมูลคือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยอาหรับตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จำนวน 12 รายที่ยินดีเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 7 ประเด็นหลักดังนี้ 1.เหตุผลการเลือกทำงานที่หอผู้ป่วยอาหรับ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) รุ่นพี่แนะนำทำให้เกิดสนใจ 1.2) เป็นความท้าทายที่จะได้พัฒนาภาษา และ 1.3) สนใจดูแลผู้ป่วยอาหรับ เพราะเป็นมุสลิมเหมือนกัน 2. เริ่มทำงานใหม่ๆ ยังต้องปรับตัวปรับใจ ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) ตื่นเต้นตกใจยังไม่เคยดูแลผู้ป่วยอาหรับมาก่อน และ 2.2) กังวลกับการใช้ภาษาในการสื่อสารกับผู้ป่วย 3. พัฒนาตนเองให้มีความพร้อมในการสื่อสารภาษาอาหรับ ประกอบด้วย 2 ประเด็น ได้แก่ 3.1) เข้าอบรมภาษาอาหรับเบื้องต้นที่โรงพยาบาลจัดให้ และ 3.2) เรียนรู้ ฝึกฝนการใช้ภาษาด้วยตนเอง 4. ศึกษาวัฒนธรรมทำให้เข้าถึงผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 4.1) ชาวอาหรับอารมณ์ร้อน พูดเสียงดัง 4.2) ผู้ชายมีอำนาจตัดสินใจยินยอมการรักษา 4.3) มีน้ำใจแบ่งปันอาหารให้พยาบาล 4.4) คาดหวังผลการรักษา แต่ไม่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตาม และ 4.5) นำความเชื่อด้านสุขภาพของตนมาใช้ร่วมกับการรักษาของโรงพยาบาล 5. ลักษณะเฉพาะในการดูแลผู้ป่วยอาหรับ ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 5.1) ตรวจสอบหลักฐานสิทธิในการรักษาเพื่อเบิกจ่ายกับสถานทูต 5.2) งดกิจกรรมหลายอย่าง หากผู้ป่วยถือศีลอด 5.3) อธิบายแผนการรักษาต้องเน้นย้ำ พูดซ้ำๆ หลายครั้ง 5.4) เตรียมความพร้อมผู้ป่วยหญิงก่อนแพทย์เข้าเยี่ยม และ 5.5) การพยาบาลต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับชีวิตประจำวันของผู้ป่วย 6. ความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ หากไม่ป้องกันหรือจัดการแก้ไข ประกอบด้วย 3 …


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ฐิติพร ถนอมบุญ Jan 2018

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ฐิติพร ถนอมบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะ และกำหนดเกณฑ์ตัดสินผลการประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมิน มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์และวิเคราะห์ความสอดคล้องขององค์ประกอบและรายการสมรรถนะ โดยการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและการปฏิบัติการพยาบาลในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างแบบประเมิน โดยนำรายการพฤติกรรมมาสร้างเกณฑ์การประเมินระดับสมรรถนะด้วยเกณฑ์แบบรูบริค (Rubric) 5 ระดับ วิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน วิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมินด้านความคงที่โดยประเมินพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 5 คน ประเมินโดยพยาบาลหัวหน้าหอ 1 คน และ พยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารและปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 5 คน และหาค่าความสอดคล้องภายใน โดยนำแบบประเมินไปใช้กับประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 63 คน ระยะที่ 2 การกำหนดเกณฑ์ตัดสินผลการประเมินสมรรถนะ โดยนำผลการประเมินที่ได้มากำหนดคะแนนจุดตัด โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและการปฏิบัติการพยาบาลด้านงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 10 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ประกอบด้วย 7 สมรรถนะ ข้อรายการสมรรถนะ 57 ข้อ ดังนี้ ด้านการคัดแยกอาการ (จำนวน 9 ข้อ) ด้านการฟื้นคืนชีพขั้นสูง (จำนวน 4 ข้อ) ด้านการปฏิบัติการพยาบาล (จำนวน 20 ข้อ) ด้านนิติเวชในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน (จำนวน 5 ข้อ) ด้านการติดต่อสื่อสาร (จำนวน 5 ข้อ) ด้านการพัฒนาคุณภาพและการจัดการความรู้เชิงประจักษ์ (จำนวน 8 ข้อ) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล (จำนวน 6 ข้อ) 2. การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน พบว่า แบบประเมินมีความตรงตามเนื้อหา …


การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน, ฐาปนีย์ ชัยกุหลาบ Jan 2018

การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน, ฐาปนีย์ ชัยกุหลาบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยายแบบ Delphi technique เพื่อศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์ การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน ที่เป็นฉันทามติ ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 21 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มอาจารย์และนักวิชาการ 2) กลุ่มผู้บริหาร ทางการพยาบาล 3) กลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและ 4) กลุ่มแพทย์ เฉพาะทางสาขาโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเทคนิคเดลฟาย ประกอบด้วย แบบสอบถาม 3 ชุด โดยแบบสอบถามชุดที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์เพื่อการศึกษาหาตัวชี้วัดผลลัพธ์ แบบสอบถามชุดที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามในชุดที่ 1 นำมาสร้างแบบสอบถามมาตราประมาณค่า ให้กับผู้เชี่ยวชาญได้ให้ลำดับความสำคัญของแต่ละตัวชี้วัด และแบบสอบถามชุดที่ 3 เป็นแบบสอบถามที่แสดงข้อมูลป้อนกลับ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ของแต่ละข้อรายการของตัวชี้วัดผลลัพธ์ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้ยืนยันคำตอบหรือเปลี่ยนแปลงคำตอบ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องกันว่า ตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน ประกอบด้วย 7 ด้าน 41 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านความปลอดภัยของระบบประสาทและสมอง 6 ตัวชี้วัด 2) ด้านการเข้าถึงและประสิทธิภาพ ของการได้รับยาละลายลิ่มเลือด 5 ตัวชี้วัด 3) ด้านการประสานงานดูแลส่งต่อ 7 ตัวชี้วัด 4) ด้านความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติในการเข้ารับบริการ 6 ตัวชี้วัด 5) ด้านการตอบสนอง ด้านจิตใจของผู้ป่วยและญาติ 3 ตัวชี้วัด 6) ด้านการวางแผนจำหน่าย 8 ตัวชี้วัด และ 7) ด้านการดูแลต่อเนื่อง 6 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดผลลัพธ์มีค่าระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด(Med = 4.18 - 4.93, IR =0.59 - 1.29)


ประสบการณ์การดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มซ้ำของผู้สูงอายุ, กนกพร สมตระกูล Jan 2018

ประสบการณ์การดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มซ้ำของผู้สูงอายุ, กนกพร สมตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มซ้ำของผู้สูงอายุ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความของ Martin Heidegger (1962) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้สูงอายุที่มีการหกล้มและไม่เกิดการหกล้มซ้ำภายใน 1 ปี นับจากวันที่หกล้มถึงวันที่พบกับผู้วิจัย คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและบันทึกเทป ข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 ราย นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Benner (1985) ผลการวิจัย พบว่า ประสบการณ์การดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มซ้ำของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก คือ 1) เหตุที่หกล้มเป็นเพราะประมาทหรือถึงคราวเคราะห์ คือประมาทที่ไม่ทันระวังตัวเองจึงหกล้ม แต่หากระวังตัวดีแล้วก็ถือว่าเป็นคราวเคราะห์ 2) หลากหลายความรู้สึก ทำให้เข็ดไม่อยากล้มซ้ำ คือ รู้สึกตกใจ สับสนมึนงง ชา เจ็บปวด กังวลและกลัวว่าจะทำอะไรเองไม่ได้อีก 3) ล้มแล้วเร่งจัดการ ประเมินอาการและดูแลรักษา เริ่มจากประเมินการบาดเจ็บและดูแลรักษาตัวเองก่อนตัดสินใจรักษา 4) ป้องกันไม่ให้หกล้มซ้ำ ต้องมีสติกำกับทุกย่างก้าว ต้องระวังพร้อมปรับตัว คือ ต้องใช้สติมากำกับการกระทำ โดยเฉพาะการเดินให้เอาใจไปอยู่ที่เท้า ต้องระมัดระวังตัวเองในทุกอิริยาบถและต้องปรับตัวด้วยการลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการหกล้ม และ 5) ครอบครัวมีส่วนร่วมช่วยป้องกันล้ม ด้วยการแสดงออกถึงความห่วงใยใส่ใจ ติดตามดูแลและปรับสภาพแวดล้อมที่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม จากผลการวิจัยนี้ นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานให้บุคลากรทางสุขภาพส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุและครอบครัวมีความตระหนักรู้และเข้าใจถึงวิธีดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มซ้ำ เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมการดูแลตนเองที่ยั่งยืนและไม่เกิดการหกล้มซ้ำ


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย, กาญจนา กลิ่นคล้ายกัน Jan 2018

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย, กาญจนา กลิ่นคล้ายกัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อายุ ความปวด การรับรู้ความเจ็บป่วย ความวิตกกังวล และแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อยอายุ 18–59 ปีที่เกิดกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบ กระเทือน ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มาติดตามการรักษา ณ หน่วยตรวจโรคประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 143 ราย ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประวัติการบาดเจ็บสมอง แบบประเมินกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน แบบวัดความปวดชนิดที่เป็นตัวเลข แบบวัดการรับรู้ความเจ็บป่วย แบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ และแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงของแบบประเมินกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน แบบวัดการรับรู้ความเจ็บป่วย แบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ และแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม เท่ากับ .85, .92, .92 และ .91 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที สถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ สเปียร์แมน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1. กลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองพบมากที่สุด คือ 9-12 อาการ ร้อยละ 36.4 2. เพศมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rpb=.45) เพศชายและเพศหญิงมีกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. อายุ ความปวด การรับรู้ความเจ็บป่วย ความวิตกกังวล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.39, r=.39,r=.76, r=.73 ตามลำดับ) 4. ระดับการศึกษา แรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs=-.21, r=-.29 ตามลำดับ)