Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Biochemistry Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Molecular, Genetic, and Biochemical Nutrition

Articles 1 - 20 of 20

Full-Text Articles in Biochemistry

Anti-Neuroinflammatory Effects Of Auricularia Polytricha Extracts On Bisphenol A (Bpa)-Induced Microglial Cell Activation And Reduction Of Hippocampal Cell Damage, Chanin Sillapachaiyaporn Jan 2022

Anti-Neuroinflammatory Effects Of Auricularia Polytricha Extracts On Bisphenol A (Bpa)-Induced Microglial Cell Activation And Reduction Of Hippocampal Cell Damage, Chanin Sillapachaiyaporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bisphenol A (BPA) is widely used in the production of polycarbonate plastics, it has been reported that BPA can activate neuroinflammation. Neuroinflammation is a brain pathology that involves the high levels of pro-inflammatory mediators, including tumor necrosis factor-alpha (TNF-α). An excessive TNF-α expression could result in neuronal cell death and subsequently lead to neurodegeneration. Auricularia polytricha (AP) is an edible mushroom with several medicinal properties. Herein, the anti-neuroinflammatory effects of AP extracts against BPA-induced BV2 microglial inflammation were investigated. Hexane (APH) and ethanol (APE) extracts of AP inhibited BPA-induced neuroinflammation in BV2 cells by reducing the expression of pro-inflammatory cytokines. …


การแบ่งกลุ่มย่อยตามลักษณะทางคลินิกรูปแบบใหม่โดยอาศัยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับการวิเคราะห์โอมิกส์แบบบูรณาการหลายระดับ เพื่อระบุกลุ่มตัวแทนสารบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับภาวะออทิซึมสเปกตรัม, กัลยภัสสร์ หัสเสม Jan 2020

การแบ่งกลุ่มย่อยตามลักษณะทางคลินิกรูปแบบใหม่โดยอาศัยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับการวิเคราะห์โอมิกส์แบบบูรณาการหลายระดับ เพื่อระบุกลุ่มตัวแทนสารบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับภาวะออทิซึมสเปกตรัม, กัลยภัสสร์ หัสเสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคออทิซึมสเปกตรัมเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการในช่วงเริ่มแรกของระบบประสาทและสมองซึ่งมีอาการทางคลินิกที่หลากหลายมาก ปัจจุบันยังไม่มีสารบ่งชี้เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มย่อย แต่การวินิจฉัยที่รวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมสามารถได้รับการเรียนรู้และพัฒนาพฤติกรรมที่จำเป็นในการดำรงชีวิตได้ การวินิจฉัยโรคออทิซึมสเปกตรัมตามมาตรฐานสากลใช้แบบสอบถามที่มีความซับซ้อนและใช้เวลามาก ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน อย่างไรก็ตามการนำเอาปัญญาประดิษฐ์มาใช้วิเคราะห์อาการทางคลินิกของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมยังไม่แพร่หลายนัก ในการศึกษานี้ผู้วิจัยต้องการนำเอาปัญญาประดิษฐ์มาใช้แบ่งผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมจำนวน 85 ราย ออกเป็นกลุ่มย่อยตามอาการทางคลินิกจากข้อมูลแบบทดสอบในการวินิจฉัยผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัม ADI-R จำนวน 123 ข้อ จากนั้นได้ทำการสร้างโมเดลในการจัดกลุ่มและเปรียบเทียบประสิทธิภาพรวมถึงจำนวนข้อคำถามที่ใช้ในแต่ละโมเดล นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาหาสารบ่งชี้ทางชีวภาพที่เป็นตัวแทนของโรคออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อยจากลักษณะอาการทางคลินิกโดยอาศัยการบูรณาการโอมิกส์หลายระดับ จึงได้ดำเนินการวิเคราะห์รูปแบบทรานสคริปโตม และวิเคราะห์รูปแบบโปรตีโอมของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมโดยใช้เซลล์เพาะเลี้ยงชนิดลิมโฟบลาสต์เป็นต้นแบบ โดยใช้เทคนิคการแยกโปรตีนด้วยกระแสไฟฟ้า 2 มิติ (2D-GE) จากนั้นจะทำการระบุโปรตีนด้วยเทคนิค LC-MS/MS เพื่อหาโปรตีนที่ถูกรบกวนการทำงานอย่างมีนัยสำคัญ และบูรณาการข้อมูลเพื่อศึกษาความสอดคล้องและสัมพันธ์กันระหว่างการแสดงออกของโปรตีนและยีน และทำการยืนยันระดับการแสดงออกที่ผิดปกติไปของยีนด้วยเทคนิค Real-time qPCR และโปรตีนด้วยเทคนิค Western blot ในการศึกษาครั้งนี้จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะอาการทางคลินิกของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมจากแบบทดสอบ ADI-R 123 ข้อ พบว่าวิธี K-means clustering ที่แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่มย่อยนั้นให้ประสิทธิภาพในการแบ่งดีที่สุด และเมื่อทำการสร้างโมเดลในการจัดกลุ่มผู้ป่วยตามผลการแบ่งกลุ่มดังกล่าว พบว่าอัลกอริทึม Random forest ที่มีจำนวนต้นไม้ 10 ต้น โดยกระบวนการคัดเลือกข้อมูลแบบ Forward selection ให้ผลการทำนายถูกต้องมากที่สุด (100%) โดยใช้ข้อคำถาม ADI-R เพียง 5 ข้อ ในการแบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มย่อย และจากการวิเคราะห์รูปแบบโปรตีโอมจากเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดลิมโฟบลาสต์ของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมและออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อยด้วยเทคนิค 2D-GE ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกจุดโปรตีนที่มีการแสดงออกผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญและมีค่าสัดส่วนความเข้มแตกต่างกันอย่างน้อยสองเท่ามา 19 จุด เพื่อทำการระบุชนิดของโปรตีนด้วยเทคนิค LC-MS/MS โดยพบว่าจากโปรตีนทั้งหมด HNRNPA2B1 มีระดับการแสดงออกเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อยที่ไม่มีความผิดปกติด้านภาษารุนแรง โดยที่โปรตีน HNRNPA2B1 MDH2 DLD และ MSN มีระดับการแสดงออกลดลงในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อยที่มีความผิดปกติด้านภาษารุนแรง ดังนั้นจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการแบ่งผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมออกเป็นกลุ่มย่อยตามลักษณะอาการทางคลินิกนั้น สามารถลดความหลากหลายตามลักษณะอาการที่แสดงออกของโรคออทิซึมสเปกตรัมในการวิเคราะห์รูปแบบทรานสคริปโตมและโปรตีโอม รวมถึงการค้นหาโปรตีนที่จำเพาะต่อผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งโปรตีนเหล่านี้อาจใช้เป็นโปรตีนบ่งชี้ในการศึกษาเชิงลึกในประชากรผู้ป่วย เพื่อพัฒนาเป็นสารบ่งชีทางชีวภาพ (Biomarker) หรือศึกษากลไกพยาธิสภาพในระดับชีวโมเลกุลของโรคออทิซึมสเปกตรัมได้ต่อไปในอนาคต


Protective Effects Of Tiger Milk Mushroom (Lignosus Rhinocerus) Extracts On Oxidative Stress-Induced Neurotoxicity And Aging In Ht22 Cells And C. Elegans, Parinee Kittimongkolsuk Jan 2020

Protective Effects Of Tiger Milk Mushroom (Lignosus Rhinocerus) Extracts On Oxidative Stress-Induced Neurotoxicity And Aging In Ht22 Cells And C. Elegans, Parinee Kittimongkolsuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Lignosus rhinocerus (LR) or Tiger Milk Mushroom, a fork medicinal mushroom, has been reported for several pharmacological effects including asthma treatment, anti-inflammatory, anti-proliferative, immuno-modulating effects, promote neurite outgrowth in PC-12 cells, anti-HIV-1 activity, and antioxidants properties. However, the antioxidant properties have only focus on in vitro and no or few studies have reported their protective effects in mouse hippocampal (HT22) cells and Caenorhabditis elegans (C. elegans). This study aims to investigate the neuroprotective effect of three extracts of LR against oxidative stress in both HT22 cells and. C. elegans as well as longevity in C. elegans. In HT22 cells, we …


Development Of Paper-Based 3d Cell Culture Devices And Real-Time Biosensing Applications, Naricha Pupinyo Jan 2019

Development Of Paper-Based 3d Cell Culture Devices And Real-Time Biosensing Applications, Naricha Pupinyo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to its micro fibrous pores, paper has gained traction in the use as a scaffold for 3D cell culture. To study melanoma mechanism, screening the amount of melanin production and invasion study are major keys for drug development. In this work, we developed paper-based devices for culturing melanoma cells. Through the development process, we obtained the optimal parameters, which were applied for 3 different projects; 1) Anti-melanogenic effect screening, 2) Impedance-based E-screen assay, and 3) A membrane insert for real-time invasion assay. As a result of melanin production from melanocytes, the cells can be easily observed after a few …


Anti-Tumor Activities Of Auricularia Polytricha Extracts In Hepatocellular Carcinoma Cell Line (Hepg2) And Breast Cancer Cell Lines (Mcf-7 And Mda-Mb-231), Sunita Nilkhet Jan 2019

Anti-Tumor Activities Of Auricularia Polytricha Extracts In Hepatocellular Carcinoma Cell Line (Hepg2) And Breast Cancer Cell Lines (Mcf-7 And Mda-Mb-231), Sunita Nilkhet

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cancer is the disease that happens to occur in a high number of new cases each year. Even the choice of treatment is developing, but the adverse effects on cancer therapeutic drugs still challenging. To investigate the antitumor activities of Auricularia polytricha (AP) mushroom extract and active compounds, human cancer cell lines such as Hepatocellcular (HepG2) and Breast cancer cell lines (MCF-7 and MDA-MB-231) were interested. The crude hexane extract of AP (APH) and crude ethanol extract of AP (APE) were prepared by maceration and Soxhlet extraction, respectively. Both APE and APH were investigated for their compound compositions by GC-MS. …


ผลการปกป้องของสารสกัดใบรางจืดจากการเหนี่ยวนำความเป็นพิษด้วยกลูตาเมตในเซลล์ประสาท Ht-22 ผ่านวิถีออโตฟาจี, วุฒิพงษ์ วงศ์ทิพย์ Jan 2019

ผลการปกป้องของสารสกัดใบรางจืดจากการเหนี่ยวนำความเป็นพิษด้วยกลูตาเมตในเซลล์ประสาท Ht-22 ผ่านวิถีออโตฟาจี, วุฒิพงษ์ วงศ์ทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคความเสื่อมของระบบประสาทนั้นเกิดได้จากภาวะเครียดออกซิเดชันภายในเซลล์ประสาท โดยพบว่าสารสื่อประสาทชนิดกลูตาเมตเมื่อมีระดับสูงผิดปกติสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระและภาวะเครียดออกซิเดชันนำไปสู่การสูญเสียและการตายของเซลล์ประสาทได้ โดยเฉพาะการตายของเซลล์จากการเกิดกระบวนการออโตฟาจีมากเกินไป ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการตายของเซลล์ผ่านวิถีอื่นๆ รางจืด (Thunbergia laurifolia) เป็นพืชสมุนไพรไทยมีสรรพคุณในการถอนพิษ ต้านการอักเสบ และ ต้านอนุมูลอิสระได้ดี จุดประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ศึกษาคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากใบรางจืด และการปกป้องการตายของเซลล์ประสาทผ่านวิถีออโตฟาจี จากการเหนี่ยวนำภาวะเครียดออกซิเดชันด้วยกลูตาเมตโดยทดสอบในเซลล์ประสาทส่วนฮิปโปแคมปัสของหนูชนิด HT-22 ใบรางจืดถูกนำมาสกัดด้วยเอทานอล จากผลการทดสอบพบว่าสารสกัดหยาบจากใบรางจืดมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ และมีปริมาณสารประกอบ ฟลาโวนอยด์และฟีนอลิกสูง โดยจากการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง LC-MS และเปรียบเทียบผลที่ได้กับฐานข้อมูล METLIN-(CA, USA) พบสารออกฤทธิ์สำคัญที่ยังไม่มีรายงานในสารสกัดเอทานอลของใบรางจืด ได้แก่ Apigenin 7-O-glucoside และ 7-Hydroxycoumarin ยิ่งไปกว่านั้นสารสกัดหยาบจากใบรางจืดยังสามารถลดการตายของเซลล์ประสาทจากการเหนี่ยวนำความเป็นพิษด้วยกลูตาเมต โดยสามารถยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระภายในเซลล์ และเพิ่มการแสดงออกของยีนต้านอนุมูลอิสระที่ทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ได้แก่ superoxide dismutase 1 และ 2 (SOD1 and SOD2) catalase (CAT) และ glutathione peroxidase (GPx) ซึ่งสัมพันธ์กับการลดการเกิดกระบวนการออโตฟาจีภายในเซลล์และเพิ่มปริมาณ ไมโตคอนเดรียโปรตีน โดยพบว่าสารสกัดหยาบจากใบรางจืดสามารถลดอัตราส่วนการแสดงออกของโปรตีน LC3B-II/LC3B-I และเพิ่มการแสดงออกของไมโตคอนเดรียโปรตีน TOM20 เมื่อทำการตรวจหาตำแหน่งที่จำเพาะต่อการแสดงออกของโปรตีนในกระบวนการออโตฟาจี (LC3B) และไมโตคอนเดรียด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดคอนโฟคอล พบว่า สารสกัดหยาบจากใบรางจืดสามารถลดการเกิด LC3-puncta ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของการเกิดกระบวนการออโตฟาจี นอกจากนี้สารสกัดหยาบจากใบรางจืดยังลดการ colocalization ของ LC3B และไมโตคอนเดรีย จากผลการศึกษานี้เราพบสารออกฤทธิ์สำคัญใหม่ที่ยังไม่มีรายงานมาก่อนของใบรางจืด โดยสารออกฤทธิ์นี้มีความสามารถในการปกป้องเซลล์ประสาทชนิด HT-22 จากภาวะเครียดออกซิเดชันและเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สารสกัดจากใบรางจืดมีความสามารถลดการตายของเซลล์ประสาทผ่านวิถีออโตฟาจีได้ ซึ่งอาจสามารถนำไปพัฒนาเป็นสมุนไพรทางเลือกหรือยาเพื่อใช้ในการป้องกันหรือรักษาการเกิดโรคความเสื่อมของระบบประสาทได้ในอนาคต


Effects And Mechanisms Of Caesalpinia Mimosoides Leaf Extract On Oxidative Stress Resistance And Anti-Aging Activity In Caenorhabditis Elegans And Neurite Outgrowth Activity In Neuro2a Cells, Panthakarn Rangsinth Jan 2019

Effects And Mechanisms Of Caesalpinia Mimosoides Leaf Extract On Oxidative Stress Resistance And Anti-Aging Activity In Caenorhabditis Elegans And Neurite Outgrowth Activity In Neuro2a Cells, Panthakarn Rangsinth

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

World’s population of older people is rising, dietary supplements promoting healthy lifespan are needed. Moreover, Alzheimer’s disease (AD), an age-related degenerative disease, becomes a public health problem in aging society. Recent reports using cell culture models of AD suggest that amyloid precursor protein (APP), a protein causally related to AD, plays an important role as an inhibitor of neurite outgrowth. Medicinal herbs with neurite outgrowth stimulatory effect may help to prevent and cure AD. Moreover, studies suggest that dietary supplements from plant sources act in preventive nutrition, since they provide antioxidant action against oxidative stress, promote healthspan and prolong lifespan. …


Effects And Mechanisms Of Anacardium Occidentale And Glochidion Zeylanicum Leaf Extracts On Neuroprotective, Neuritogenesis, Oxidative Stress Resistance And Anti-Aging Properties., Chatrawee Duangjan Jan 2019

Effects And Mechanisms Of Anacardium Occidentale And Glochidion Zeylanicum Leaf Extracts On Neuroprotective, Neuritogenesis, Oxidative Stress Resistance And Anti-Aging Properties., Chatrawee Duangjan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Aging is the primary risk factor for most neurodegenerative diseases and can negatively affect the quality of life. Neurodegenerative diseases are linked to neuronal cell death and neurite outgrowth impairment that are often caused by oxidative stress. As people want to live longer and healthier, healthy nutrition has been increasingly received much attention in recent years. Several studies reported a positive correlation between antioxidants in foods and longevity. Natural products from food supplements and medicinal plants with antioxidant properties could be promising candidates for fighting against various aging-related diseases and promoting longevity. Leaf extracts from A. occidentale (AO) and G. …


การพัฒนาแบบจำลองเซลล์ลำไส้ของมนุษย์บนกระดาษที่มีการดัดแปรพื้นผิวและต้นแบบไบโอเซนเซอร์ไร้สายสำหรับตรวจวัดการเจริญของจุลชีพก่อโรค, ปัณณวิชญ์ ถิรบวรกิจพิธาน Jan 2018

การพัฒนาแบบจำลองเซลล์ลำไส้ของมนุษย์บนกระดาษที่มีการดัดแปรพื้นผิวและต้นแบบไบโอเซนเซอร์ไร้สายสำหรับตรวจวัดการเจริญของจุลชีพก่อโรค, ปัณณวิชญ์ ถิรบวรกิจพิธาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการนำเสนองานวิจัย การพัฒนาวิธีการใหม่เพื่อควบคุมและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ โดยประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญสองส่วน ได้แก่ (i) การพัฒนาแบบจำลองเซลล์ลำไส้ของมนุษย์ที่เพาะเลี้ยงบนกระดาษที่มีการดัดแปรพื้นผิว เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษากลไกการบุกรุกของเชื้อจุลชีพก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร และ (ii) การพัฒนาต้นแบบไบโอเซนเซอร์แบบไร้สายเพื่อการตรวจติดตามการเจริญของเชื้อจุลชีพก่อโรค โดยในส่วนแรก เซลล์ลำไส้ของมนุษย์ HT-29 จำนวน 200,000 เซลล์ ถูกเพาะเลี้ยงในบริเวณชอบน้ำของกระดาษกรอง Whatman No.1 โดยกระดาษถูกดัดแปรพื้นผิวด้วยสารแมทริกซ์นอกเซลล์ (Extracellular matrix: ECM) ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ Matrigel, Collagen-1 และ Laminin พื้นที่เพาะเลี้ยงเซลล์มีขนาด 12.56 ตารางมิลลิเมตร ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม เซลล์ HT-29 ที่ถูกเพาะเลี้ยงบนกระดาษ มีชีวิตรอดได้ถึง 28 วัน และแสดงลักษณะของเซลล์ที่เจริญเต็มที่ โดยมีการแสดงออกของวิลไล (villi) ที่ผิวเซลล์ด้านบน (apical) และมีการแสดงออกของโปรตีน ZO-1 ซึ่งแสดงถึงเซลล์มีการสร้างไทต์จังก์ชันเกิดขึ้น จากการใช้สารเชื่อมพันธะสำหรับเชื่อมพันธะ ECM แต่ละชนิด พบว่าเมื่อใช้สารเจนิพินในการเชื่อมพันธะ เซลล์มีชีวิตรอดทั้งหมด (100 -112.8%) ในขณะที่มีเพียง 1.1 - 67.3 % ของเซลล์รอดชีวิต หากใช้สารกลูตารัลดีไฮด์ในการเชื่อมพันธะ แต่การใช้สารเชื่อมพันธะทั้งสองชนิด ทำให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวมีรูปร่างแบบสามมิติได้ เมื่อสังเกตด้วย SEM เซลล์มีลักษณะแบน การดัดแปรพื้นผิวกระดาษด้วยสาร ECM ชนิด Matrigel ส่งผลให้เซลล์มีชีวิตรอดมากที่สุดและสาร ECM ชนิด Laminin ทำให้เซลล์เกิดการแปรสภาพ (cell differentiation) ได้ดีที่สุด งานวิจัยส่วนที่ 2 เป็นการพัฒนาไบโอเซนเซอร์ไร้สายสำหรับติดตามการเจริญของเชื้อจุลชีพก่อโรค ได้แก่ เชื้อ Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa, Streptococcus gordonii และ Candida albicans พบว่าเชื้อดังกล่าวสามารถสร้างไบโอฟิล์มบนผิวของขั้วไฟฟ้าคาร์บอนอสัณฐาน (glassy carbon electrode) และสามารถให้ค่าศักย์ไฟฟ้าที่เป็นลบได้ …


การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์ฐานกระดาษสำหรับหาปริมาณสารเพรดนิโซโลนและเดกซาเมทาโซนที่ปลอมปนในผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยวิธีเคมีไฟฟ้า, วิศรุต พริ้มพราย Jan 2018

การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์ฐานกระดาษสำหรับหาปริมาณสารเพรดนิโซโลนและเดกซาเมทาโซนที่ปลอมปนในผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยวิธีเคมีไฟฟ้า, วิศรุต พริ้มพราย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปลอมปนของสารสเตียรอยด์ชนิดเดกซาเมทาโซนและเพรดนิโซโลนในผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ใช้ ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา งานวิจัยนี้ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุปกรณ์สำหรับแยกและตรวจวัดปริมาณการปลอมปนของสารสเตียรอยด์ดังกล่าว โดยใช้อุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์ฐานกระดาษและใช้หลักการทางเคมีไฟฟ้า (electrochemical paper-based analytical device หรือ ePAD) ซึ่งประกอบด้วยกระดาษ Whatman SG81 ตลับพลาสติกจากการพิมพ์สามมิติ และขั้วไฟฟ้าชนิด screen printed electrode โดยกระดาษ Whatman SG81 ใช้สำหรับแยกสารสเตียรอยด์ชนิดเดกซาเมทาโซนและเพรดนิโซโลน โดยใช้วัฏภาคเคลื่อนที่เป็นสารละลาย 60% ethyl acetate ใน cyclohexane ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสามารถแยกสารสเตียรอยด์ดังกล่าวออกจากสิ่งเจือปนต่าง ๆ ได้ภายใน 7 นาที สารสเตียรอยด์ที่แยกออกจากกันบนกระดาษ นำมาวัดปริมาณด้วยเทคนิคเคมีไฟฟ้าชนิด differential pulse voltammetry โดยใช้ตลับพลาสติกจากการพิมพ์สามมิติที่ถูกออกแบบทำให้สารละลายอิเล็กโทรไลต์ถูกขังอยู่บนกระดาษ ทำให้สามารถตรวจวัดสัญญาณทางเคมีไฟฟ้าได้คงที่ ซึ่งอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจวัดปริมาณปลอมปนของสารสเตียรอยด์ทั้งชนิดเดกซาเมทาโซนและ เพรดนิโซโลนได้ในช่วงความเข้มข้นระหว่าง 10 ถึง 500 µg/mL โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.988 และ 0.994 ตามลำดับ มีขีดจำกัดในการตรวจวิเคราะห์เชิงคุณภาพเท่ากับ 3.59 µg/mL และ 6.00 µg/mL ตามลำดับ และขีดจำกัดในการตรวจวิเคราะห์เชิงปริมาณมีค่าเท่ากับ 11.98 µg/mL และ 20.02 µg/mL ตามลำดับ การตรวจวัดปริมาณปลอมปนของสารสเตียรอยด์ทั้งสองชนิดในสิ่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์สมุนไพรจริงด้วยวิธีที่พัฒนาขึ้นมีค่าสอดคล้องกับผลที่ตรวจด้วยวิธี HPLC และเป็นวิธีที่ใช้งานง่าย มีต้นทุนต่ำ รวดเร็ว และมีศักยภาพนำไปใช้ตรวจหาสิ่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่สงสัยว่ามีการปลอมปนของสารสเตียรอยด์ ในระดับภาคสนาม


The Effect Of Nac And Carnosine On Alzheimer’S Disease-Related In Vitro Model Through Rage-Age Signaling Pathway, Suphasarang Sirirattanakul Jan 2018

The Effect Of Nac And Carnosine On Alzheimer’S Disease-Related In Vitro Model Through Rage-Age Signaling Pathway, Suphasarang Sirirattanakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Alzheimer’s disease (AD) is the most common dementia which found increasing with age. It involves neurodegeneration which leads to various abnormalities especially memory loss, inability to learn new things, lack of creativity, lack of decision making ability, lack of critical thinking, calculation inability, inability to live normal daily life, inability to recognize person, time and place, emotional disturbance, and difficulty to use language. Since AD has severe impact in various aspects on both the patients and their families, so we are interested to study the neurodegenerative mechanism when neuronal cells are under oxidative stress which will induce neuroinflammation through the …


Synergistic Effect Of Smac-Mimetic And Poly (I:C) On Apoptosis Of Cholangiocarcinoma Cells, Thanpisit Lomphithak Jan 2018

Synergistic Effect Of Smac-Mimetic And Poly (I:C) On Apoptosis Of Cholangiocarcinoma Cells, Thanpisit Lomphithak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cholangiocarcinoma (CCA), a malignancy transformed from cholangiocytes in the bile ducts is more common in Asia and has the highest incidence rate in Thailand. CCA is an aggressive malignancy which has high mortality, high recurrence rate and poor prognosis due to late diagnosis and lack of effective treatment, therefore identification of novel therapeutic targets could lead to the development of more efficient therapy. CCA is associated with chronic inflammation that could upregulate Toll-like receptor 3 (TLR3) in CCA cells. TLR3 agonist, poly(I:C) has been reported to directly induce apoptosis in selected cancers and also activates anti-tumor immunity. However, in some …


ผลและกลไกของสารสกัดจากเมล็ดของหมามุ่ยไทย และหมามุ่ยอินเดียต่อการกระตุ้นการเจริญของนิวไรท์, สุทิน วันสวัสดิ์ Jan 2017

ผลและกลไกของสารสกัดจากเมล็ดของหมามุ่ยไทย และหมามุ่ยอินเดียต่อการกระตุ้นการเจริญของนิวไรท์, สุทิน วันสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการสร้างนิวไรท์ เป็นกระบวนการที่สำคัญในการเจริญพัฒนา การซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย รวมถึงการสื่อสารระหว่างเซลล์ของเซลล์ประสาท ซึ่งหากกระบวนการการสร้างนิวไรท์เกิดความผิดปกติสามารถก่อให้เกิดโรคความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และโรคฮันติงตัน เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยนี้ศึกษาฤทธิ์การต้านสารอนุมูลอิสระ และการกระตุ้นการสร้างนิวไรท์จากสารสกัดเมล็ดของหมามุ่ยไทย และหมามุ่ยอินเดียในเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยงชนิด Neuro2a การศึกษาคุณสมบัติในการต้านสารอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH และ ABTS assays นอกจากนั้นทำการศึกษาอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ประสาทโดยวิธี MTT พร้อมกับศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการงอกของนิวไรท์ ประกอบด้วย Ten-4 และ GAP-43 โดยวิธี Real-time PCR ซึ่งจากการทดสอบพบว่าสารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ยไทย และเมล็ดหมามุ่ยอินเดียด้วยตัวทำละลายเอทานอลมีความสามารถในการต้านสารอนุมูลอิสระ และพบว่าสารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ยไทย และเมล็ดหมามุ่ยอินเดียไม่เป็นพิษต่อเซลล์ประสาท จากนั้นทำการศึกษาฤทธิ์ และกลไกของสารสกัดจากสมุนไพรต่อการกระตุ้นการงอกของนิวไรท์ โดยพบว่าสารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ยไทยด้วยตัวทำละลายเอทานอล สามารถกระตุ้นการสร้างนิวไรท์โดยผ่านการเพิ่มการแสดงออกของยีน Ten-4 และ GAP-43 ในขณะที่สารสกัดจากเมล็ดของหมามุ่ยอินเดียด้วยตัวทำละลายเฮกเซนกระตุ้นการสร้างนิวไรท์โดยผ่านการเพิ่มการแสดงออกของยีน Ten-4 อีกทั้งศึกษาผลการยับยั้งการแสดงออกของยีน Ten-4 ต่อการกระตุ้นการสร้างนิวไรท์ของสารสกัดสมุนไพร ซึ่งพบว่ามีการสร้างนิวไรท์ และความยาวของนิวไรท์ลดลง จากการศึกษาสามารถบ่งชี้ได้ว่าสารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ยไทย และหมามุ่ยอินเดียสามารถปกป้องเซลล์ประสาทจากสารอนุมูลอิสระได้ และสามารถกระตุ้นการงอกของนิวไรท์โดยผ่านการเพิ่มการแสดงออกของยีน GAP-43 และ Ten-4 ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนายาการกระตุ้นการเจริญพัฒนาของเซลล์ประสาทสำหรับป้องกัน หรือรักษาโรคความผิดปกติของระบบประสาท


การศึกษาผลของการที่แม่ได้รับบิสฟีนอลเอต่อทรานสคริปโตมและอินเทอร์แอกโตมของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมในเซลล์ระบบประสาทของลูกหนู, สุรางค์รัตน์ ทองกร Jan 2017

การศึกษาผลของการที่แม่ได้รับบิสฟีนอลเอต่อทรานสคริปโตมและอินเทอร์แอกโตมของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมในเซลล์ระบบประสาทของลูกหนู, สุรางค์รัตน์ ทองกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคออทิซึมสเปกตรัม (Autism Spectrum Disorder, ASD) คือ โรคทางพัฒนาการระบบประสาทที่พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุการเกิดโรคออทิซึมสเปกตรัมยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่การได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคออทิซึมสเปกตรัมในลูกหนู อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาแน่ชัดว่าการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องส่งผลต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อวิเคราะห์แบบแยกเพศ ในการศึกษาครั้งนี้ ทางคณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษาผลของการได้รับบิสฟีนอลเอในขณะตั้งท้องต่อการแสดงออกของยีนในสมองและความเกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมรวมไปถึงหน้าที่ของเซลล์ระบบประสาท ในการทำนายว่าการได้รับบิสฟีนอลเอสามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนและมีความสัมพันธ์กับโรคออทิซึมสเปกตรัมหรือไม่ ทางผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์แบบ meta-analysis โดยใช้ข้อมูลการแสดงออกของยีนที่ผิดปกติจากการได้รับบิสฟีนอลเอที่ได้ตีพิมพ์ไปแล้วและใช้การวิเคราะห์แบบ hypergeometric distribution หาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มยีนดังกล่าวกับรายชื่อยีนจากฐานข้อมูลโรคออทิซึมสเปกตรัมต่าง ๆ สำหรับการศึกษาถึงผลของการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องต่อการแสดงออกของยีนที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมนั้น คณะผู้วิจัยได้นำสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่แยกได้จากลูกหนูที่แม่ได้รับบิสฟีนอลขณะตั้งท้องมาวิเคราะห์ทางทรานสคริปโตมิกส์ด้วยเทคนิค RNA-seq และใช้โปรแกรม Ingenuity Pathway Analysis วิเคราะห์อินเตอร์แอกโตมและบทบาทหน้าที่ทางชีวภาพของกลุ่มยีนที่มีการแสดงออกผิดปกติ ยีนที่มีความสัมพันธ์กับโรคออทิซึมสเปกตรัมถูกคัดเลือกเพื่อยืนยันด้วยเทคนิค quantitative RT-PCR นอกจากนี้เซลล์ระบบประสาทที่แยกได้จากลูกหนูถูกนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อศึกษาความยาวของสายใยประสาท การศึกษาพบว่า จากการวิเคราะห์ทาง meta-analysis ยีนที่มีการแสดงออกผิดปกติจากการได้รับบิสฟีนอลเอมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับหน้าที่และโรคออทิซึมสเปกตรัม การวิเคราะห์ RNA-seq ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่แยกได้จากลูกหนูที่แม่ได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องพบว่ายีนที่มีการแสดงออกผิดปกติมีความสัมพันธ์กับโรคออทิซึมสเปกตรัม เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่ากลุ่มยีนที่เคยมีการรายงานว่ามีความผิดปกติในโรคออทิซึมสเปกตรัม ได้แก่ Auts2 Foxp2 และ Smarcc2 แสดงออกผิดปกติอย่างจำเพาะต่อเพศ การวิเคราะห์เชิงอินเตอร์แอกโตมพบว่ายีนที่มีการแสดงออกผิดปกติจากการได้รับบิสฟีนอลเอมีความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับบทบาทหน้าที่ทางระบบประสาทที่เคยมีรายงานในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัม การวิเคราะห์ความยาวของสายใยประสาทพบว่าการได้รับบิสฟีนอลเอส่งเสริมความยาวของสายใยประสาทและการแตกแขนงของสายใยประสาทแต่ลดขนาดของตัวเซลล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องส่งผลต่อการแสดงออกที่ผิดปกติของยีนในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสและกลุ่มยีนดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมและแสดงออกจำเพาะในแต่ละเพศประกอบกับการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องส่งเสริมความยาวของสายใยประสาท การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคออทิซึมสเปกตรัมและอาจจะเป็นหลักฐานที่อธิบายถึงความชุกของโรคนี้ในเพศชายที่มากกว่าเพศหญิงซึ่งควรศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต


Mechanisms Of Thai Medicinal Plant Extracts On The Attenuation Of Glutamate-Mediated Neurotoxicity, Anchalee Prasansuklab Jan 2017

Mechanisms Of Thai Medicinal Plant Extracts On The Attenuation Of Glutamate-Mediated Neurotoxicity, Anchalee Prasansuklab

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As the world population ages, neurodegenerative diseases, particularly Alzheimer's disease, are becoming a major public health concern with increasing incidence and prevalence worldwide while no cure currently exists. To challenge this situation, herbal medicine may provide a potential alternative treatment as use of natural-derived substances has been proven to be effective in the prevention and/or treatment of several diseases. During the past decades, increasing evidence has implicated excessive glutamate levels in the pathway of neuronal cell death. Thailand is a place known for cultivating a variety of tropical plants and herbs, so far many of them have never been examined …


Role Of Progesterone Receptor A And B Isoforms In Lung Neuroendocrine Tumors, Teeranut Asavasupreechar Jan 2017

Role Of Progesterone Receptor A And B Isoforms In Lung Neuroendocrine Tumors, Teeranut Asavasupreechar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Lung neuroendocrine tumors (NETs) incidences are increasing in recent years. Women with lung NETs have significantly better survival rates as compared to men suggesting the involvement of sex steroids and their receptors in the progression of lung NETs. Recent data suggested that progesterone receptor (PR) may play a role in the survival of lung NET patients. PR exists as two major isoforms, PRA and PRB. How expression of PR isoforms affects proliferation of lung NETs and patient's survival is not known. To determine the role of PR isoforms in lung NETs, we constructed H727 lung NET cell models expressing PRB …


การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของดีเอ็นเอเคลื่อนที่ Alu, ธนิต แซ่หลิ่ว Jan 2017

การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของดีเอ็นเอเคลื่อนที่ Alu, ธนิต แซ่หลิ่ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคออทิซึมสเปกตรัมเป็นกลุ่มโรคของความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาทที่มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย การศึกษาก่อนหน้าพบว่าในเลือดของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมจะรูปแบบการแสดงออกของยีนแตกต่างจากคนปกติ และยังพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาเมธิเลชันบนดีเอ็นเอในเลือดและสมองของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมซึ่งปฏิกิริยาดีเอ็นเอเมธิเลชันเป็นกลไกที่ควบคุมการแสดงออกของยีน และยังเป็นกลไกที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ดีเอ็นเอเคลื่อนที่ Alu หรือ Alu elements เป็นดีเอ็นเอส่วนที่มีจำนวนซ้ำ ๆ ในจีโนม และสามารถเหนี่ยวนำการแสดงออกของยีนได้ผ่านกลไกเมธิเลชันของดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่ควบคุมอัตราการเพิ่มจำนวนตนเองในจีโนม โดย Alu elements มีสัดส่วนการเกิดปฏิกิริยาเมธิเลชันสูงถึงร้อยละ 23 ของปฏิกิริยาเมธิเลชันที่เกิดขึ้นทั้งหมดบนจีโนมของมนุษย์ อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีผู้ทำการศึกษาว่ากลุ่มยีนที่แสดงออกผิดปกติในผู้ป่วยโรคออทิซึมสเปกตรัมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับ Alu elements หรือไม่ ในงานวิจัยนี้ผู้ทำวิจัยได้ทำการค้นพบว่ากลุ่มยีนที่มี Alu elements แทรกตัวอยู่มีระดับแสดงออกของยีนที่ผิดปกติในเลือด หรือเซลล์ไลน์ที่พัฒนามาจากเลือดของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมผ่านการวิเคราะห์แบบ meta-analysis และโดยผู้ทำวิจัยพบว่ามียีนจำนวน 423 ยีนที่มีการแสดงออกผิดปกติซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์หาบทบาทหน้าที่ทางชีวภาพของกลุ่มยีนเหล่านี้ด้วยเครื่องมือชีวสารสนเทศ พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาการของระบบประสาท และมีความเกี่ยวกับโรคที่มีความผิดปกติคล้ายกับโรคออทิซึมสเปกตรัม และนอกจากนี้ผลการศึกษาในเซลล์โมเดลจากผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับและรูปแบบการเกิดปฏิกิริยาเมธิเลชันของ Alu elements ในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อยที่ผ่านการจัดจำแนกกลุ่มผู้ป่วยด้วยข้อมูลแบบสอบถามทางพฤติกรรมสำหรับการวินิจฉัยผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัม สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์รูปแบบการแสดงออกของยีนในผู้ป่วยกลุ่มที่มีระดับเมธิเลชันผิดปกติจะมีรูปแบบการแสดงออกของยีนที่มี Alu elements แทรกตัวอยู่ผิดปกติด้วย ซึ่งข้อมูลการค้นพบใหม่นี้ได้แสดงให้เห็นความถึงสัมพันธ์ระหว่างระดับปฏิกิริยาเมธิเลชันของ Alu elements กับความผิดปกติของระดับการแสดงออกของยีนในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมเมื่อมีการจัดจำแนกผู้ป่วยตามลักษณะอาการพฤติกรรมทางคลินิก ซึ่งอาจใช้อธิบายความผิดปกติทางชีวโมเลกุลที่จำเพาะในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มได้ และอาจพัฒนาเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในเลือดของโรคออทิซึมสเปกตรัมในอนาคตได้


Effects Of Plant Extracts On Melanin Biosynthesis And Melanogenetic Gene Expression In B16f10 Melanoma Cells, Moragot Chatatikun Jan 2017

Effects Of Plant Extracts On Melanin Biosynthesis And Melanogenetic Gene Expression In B16f10 Melanoma Cells, Moragot Chatatikun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ultraviolet radiation from sunlight is a significant environmental factor in skin damage and can induce hyperpigmentation disorder and aesthetic problem. Development of novel whitening phytochemical compounds from natural products has been become trends recently. The purpose of this study was to find some plant extracts that reduce melanin synthesis and melanogenetic gene expression in alpha-MSH-induced B16F10 mouse melanoma cells. To screen total phenolics and flavonoids, antioxidant activity, and anti-mushroom tyrosinase activity, we used 13 plants which were extracted with petroleum ether, dichloromethane and ethanol solvents, subsequently. We found that total phenolic content of 13 plants extracts was found in the …


การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของรีโทรทรานสโพซอนไลน์วัน, ชญานิน ตั้งสุวรรณศรี Jan 2017

การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของรีโทรทรานสโพซอนไลน์วัน, ชญานิน ตั้งสุวรรณศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ออทิซึมสเปกตรัมเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวกับการพัฒนาของระบบประสาทและสมองที่มีความชุก 1 ใน 68 คนของเด็กในสหรัฐอเมริกา โดยจะมีระดับความรุนแรงและอาการแสดงทางคลินิกแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ออทิซึมสเปกตรัมจัดเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่เป็นที่เชื่อกันว่าสาเหตุของการเกิดโรคนั้นอาศัยปัจจัยร่วมหลายปัจจัย ได้แก่ ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การวินิจฉัยออทิซึมสเปกตรัมในปัจจุบัน ใช้วิธีอิงจากการสังเกตพฤติกรรมผู้ป่วย วินิจฉัยโรคและความรุนแรงตามลักษณะอาการทางคลินิกเท่านั้น ยังไม่มีสารบ่งชี้ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่สามารถใช้ในการวินิจฉัย หรือติดตามความรุนแรงของโรคอย่างจำเพาะ โดยผลการศึกษาก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคออทิซึมสเปกตรัมมีความผิดปกติในระดับอณูชีวโมเลกุลมากมายทั้งในสมองและเลือด ซึ่งมีหลายประการที่สอดคล้องกับพยาธิสภาพระดับชีวโมเลกุลที่เกิดขึ้นในสมอง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มียีนหรือโปรตีนชนิดใดที่สามารถใช้ในการอธิบายโรคออทิซึมสเปกตรัมได้ทั้งหมดในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าอาจมีกลไกอื่น ๆ ที่สามารถทำให้เกิดพยาธิสภาพได้ ยิ่งไปกว่านั้น แม้โรคออทิซึมสเปกตรัมจะเป็นโรคที่มีอัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสูง แต่มีฝาแฝดร่วมไข่จำนวนไม่น้อยที่คนหนึ่งเป็นโรคแต่อีกคนไม่เป็น หรือมีระดับความรุนแรงของโรคไม่เท่ากัน เนื่องจากฝาแฝดร่วมไข่มีลำดับเบสของดีเอ็นเอที่เหมือนกันทุกประการเมื่อแรกเกิด แสดงให้เห็นว่า กลไกเหนือพันธุกรรมหรือเอพิเจเนติกส์อาจเป็นสาเหตุหรือมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคออทิซึมสเปกตรัม รีโทรทรานสโพซอนไลน์วัน (retrotransposon LINE-1) เป็นส่วนของจีโนมที่สามารถเคลื่อนที่ได้ และมีอยู่ถึงประมาณร้อยละ 20 และในจีโนมมนุษย์ อย่างไรก็ตามบทบาทของ LINE-1 ในผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมยังคงไม่ทราบแน่ชัด แต่มีรายงานว่าพบการควบคุมที่ผิดปกติของ LINE-1 ในสมองของหนูที่ขาด MECP2 และมีพฤติกรรมคล้ายออทิซึมสเปกตรัม ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงทำการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของ LINE-1 เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ในเซลล์ของผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัม และผลต่อการแสดงออกของยีน รวมไปถึงบทบาทหน้าที่ทางชีวภาพของยีนนั้น ๆ โดยทำการศึกษาในเซลล์ไลน์เม็ดเลือดขาว (lymphoblastoid cell lines; LCLs) ของผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมและคนปกติ นอกจากนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์ทางชีวสารสนเทศศาสตร์ร่วมด้วย โดยได้ทำการวิเคราะห์ร่วมระหว่างรายชื่อยีนที่มี LINE-1 แทรกตัวอยู่และมีการแสดงออกที่ผิดปกติในผู้ที่เป็นโรคออทิซึมสเปกตรัม และได้คัดเลือกรายชื่อยีนมาทำการศึกษาบาทหน้าที่ทางชีวภาพ และความสัมพันธ์ของเครือข่ายการควบคุมยีนของยีนเหล่านั้นด้วยโปรแกรม Ingenuity Pathway Analysis (IPA) ซึ่งพบว่ายีนเหล่านั้นอาจจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางระบบประสาทและสมอง ในส่วนของการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ในดีเอ็นเอซึ่งสกัดมาจาก LCLs ของผู้ที่เป็นโรคออทิซึมสเปกตรัมและคนปกติ และดำเนินการโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ Combined Bisulfite Restriction Analysis (COBRA) ซึ่งพบว่าใน LCLs ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมมีระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับคนปกติ และเมื่อทำการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ในแต่ละกลุ่มของ LCLs ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัม ซึ่งถูกจัดแบ่งกลุ่มตามหลักเกณฑ์ของ ADI-R เนื่องจากออทิซึมสเปกตรัมเป็นโรคที่มีลักษณะอาการและความรุนแรงที่หลากหลายมาก คณะผู้วิจัยพบว่าแต่ละกลุ่มมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ที่จำเพาะ และในบางกลุ่มไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับเมธิเลชันของ LINE-1 นอกจากนี้ยังพบว่าการเมธิเลชันของ …


Mechanisms Of Phytochemicals From Murraya Koenigii And Stevia Rebuadiana In Cell Model Of Diabetes, Hepatocellular Carcinoma And Cholangiocarcinoma Under Hyperglycemic Conditions, Nattakarn Nooron Jan 2017

Mechanisms Of Phytochemicals From Murraya Koenigii And Stevia Rebuadiana In Cell Model Of Diabetes, Hepatocellular Carcinoma And Cholangiocarcinoma Under Hyperglycemic Conditions, Nattakarn Nooron

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Diabetes mellitus (DM) is a group of metabolic disorders in which high blood glucose levels over a prolonged period, caused by deficiency of insulin production from the pancreas, or by the insulin resistance. Several epidemiological studies suggest that diabetic population is not only at increased risk of cardiovascular complications, but also at substantially higher risk of many types of malignancies. Hyperglycemia induced free radical reactive oxygen species (ROS) production, which is a major cause of cell injury and organ damage, especially affects pancreatic beta cells. Whereas insulin resistance in skeletal muscle tissue and adipocyte are the major sites of postprandial …