Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Science and Mathematics Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 31 - 51 of 51

Full-Text Articles in Science and Mathematics Education

ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับคำถามปลายเปิด ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3, นฤพันธุ์ เพ่งพิศ Jan 2018

ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับคำถามปลายเปิด ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3, นฤพันธุ์ เพ่งพิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับคำถามปลายเปิด 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับคำถามปลายเปิดเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับคำถามปลายเปิด 4) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับคำถามปลายเปิดเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามกระบวนการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับคำถามปลายเปิด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับคำถามปลายเปิดมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับคำถามปลายเปิดมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับคำถามปลายเปิดมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสำรวจเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับคำถามปลายเปิดมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนามโนทัศน์เรื่องโมลและสูตรเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐาน, ทินกร พันเดช Jan 2018

การพัฒนามโนทัศน์เรื่องโมลและสูตรเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐาน, ทินกร พันเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยมีรูปแบบ การวิจัยแบบ Two-Group Pretest-Posttest Design มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบมโน ทัศน์เรื่องโมลและสูตรเคมีระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้ ด้วยเกมเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องโมลและสูตรเคมีของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียน ด้วยการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานกับกลุ่มที่เรียนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 จํานวน 67 คน โดยนักเรียนจํานวน 35 คน เรียนด้วยการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐาน และนักเรียนจํานวน 32 คน เรียนด้วยการเรียนรู้แบบทั่วไป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดมโนทัศน์ที่มี ลักษณะเป็นปรนัย 5 ตัวเลือก จํานวน 19 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐานมีคะแนนมโน ทัศน์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้ การเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐานมีคะแนนมโนทัศน์เคมีเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนรู้แบบทั่วไปอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาโดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปรัชญาพร ธรรมวาโร Jan 2018

ผลการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาโดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปรัชญาพร ธรรมวาโร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลองเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จำนวน 51 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสงขลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้มีค่าความเที่ยงโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ ข้อมูลก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถิติค่าทีไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังจัดการเรียนรู้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 28.58 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 59.54 ของนักเรียนทั้งหมดสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นฐานมีระดับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลาง


การพัฒนาการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้แนวคิดกรีนสะเต็มศึกษา, ธนา เครือวงค์ Jan 2018

การพัฒนาการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้แนวคิดกรีนสะเต็มศึกษา, ธนา เครือวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับการรู้สิ่งแวดล้อมโดยเฉลี่ยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายภายหลังที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดกรีนสะเต็มศึกษา (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการรู้สิ่งแวดล้อมโดยเฉลี่ยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดกรีนสะเต็มศึกษา กลุ่มที่ศึกษาคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการทดลองเชิงวิจัยเบื้องต้น มีรูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดกรีนสะเต็มศึกษา แบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อม โดยมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ที่ 0.86 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.33-0.90 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าความเที่ยงโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.85 และค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินอยู่ระหว่าง 0.85-0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดกรีนสะเต็มศึกษามีการรู้สิ่งแวดล้อมในระดับสูง (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดกรีนสะเต็มศึกษามีระดับการรู้สิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะการสร้าง แบบจําลองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วรกมล ปล้องมาก Jan 2018

ผลการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะการสร้าง แบบจําลองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วรกมล ปล้องมาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบสมรรถนะการสร้างแบบจําลองของนักเรียนระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐาน และ (2) ศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็น ฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จํานวน 43 คน ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น มี รูปแบบการวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง มีการเก็บข้อมูลสมรรถนะการสร้างแบบจําลองก่อนเรียนและ หลังเรียน และเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบวัดสมรรถนะการสร้างแบบจําลอง และ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี เรื่อง เคมีอินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ และสถิติ Wilcoxon Signed Ranks test ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐานมีสมรรถนะการ สร้างแบบจําลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐานมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเคมีหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 69.21 จัดอยู่ในระดับพอใช้


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการปฏิบัติการสอนของนิสิตครูวิทยาศาสตร์, วิชญาดา นวนิจบำรุง Jan 2018

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการปฏิบัติการสอนของนิสิตครูวิทยาศาสตร์, วิชญาดา นวนิจบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ เป้าหมายของการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ บทบาทของผู้สอนวิทยาศาสตร์ บทบาทของผู้เรียนวิทยาศาสตร์ แนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ และแนวทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 2) สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียน และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่มีต่อความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนิสิตครูวิทยาศาสตร์สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 74 คน ซึ่งกำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียน และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีต่อความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 3) ศึกษาความสอดคล้องระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับการปฏิบัติการสอน โดยใช้การศึกษารายกรณี ผู้วิจัยเลือกกลุ่มที่ศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสังเกตการจัดการเรียนรู้ร่วมกับวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


การส่งเสริมความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับในวิชาเคมี, อาทิตยา สีหราช Jan 2018

การส่งเสริมความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับในวิชาเคมี, อาทิตยา สีหราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับ ที่มีต่อความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยทดลองเบื้องต้น ตัวอย่างวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับ 2) แบบวัดความสุขในการเรียนรู้ 3) แบบสัมภาษณ์ความสุขในการเรียนรู้ 4) แบบสังเกตความสุขในการเรียนรู้ และ 5) แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง สมดุลเคมี การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยายประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละพัฒนาการ สถิติสรุปอ้างอิงประกอบด้วย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิต โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์และการสังเกต ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับ มีคะแนนของความสุขในการเรียนรู้ก่อนการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีพัฒนาการของความสุขในการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลง และ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี มากกว่าร้อยละ 60 ในขณะเดียวกัน ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์และการสังเกตบ่งชี้ว่านักเรียนเกิดความสุขในการเรียนรู้


ผลการใช้โจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้อง และโจทย์ปัญหาแบบอัตนัยที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชา, ฮกเฬง เสียง Jan 2018

ผลการใช้โจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้อง และโจทย์ปัญหาแบบอัตนัยที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชา, ฮกเฬง เสียง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ระดับความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชากลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้องและกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัย และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชาระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้องกับกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนเกรด 10 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560-2561 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดกำปงธม ประเทศกัมพูชา จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้อง มีนักเรียนจำนวน 44 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ คือ กลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัย มีนักเรียนจำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ เรื่อง กลศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร สถิติทดสอบผลต่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ระดับความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชากลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้องและกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัยอยู่ในระดับไม่ผ่าน และมีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ระดับดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชาระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้องกับกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัยไม่แตกต่างกัน


ผลการใช้แนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ศรายุทธ ดวงจันทร์ Jan 2018

ผลการใช้แนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ศรายุทธ ดวงจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภายหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์ และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงคำนวณระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์ กลุ่มเป้าหมายการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคการศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 34 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น มีรูปแบบการวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง มีการเก็บข้อมูลความสามารถในการคิดเชิงคำนวณก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีเทียบกับเกณฑ์ และสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์มีความสามารถในการคิดเชิงคำนวณหลังเรียนอยู่ในระดับดี 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์มีความสามารถในการคิดเชิงคำนวณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้ตัวแทนทางความคิดและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการสอนแนะให้รู้คิดที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วีรพล เทพบรรหาร Jan 2017

ผลการใช้ตัวแทนทางความคิดและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการสอนแนะให้รู้คิดที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วีรพล เทพบรรหาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ตัวแทนทางความคิดและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการสอนแนะให้รู้คิดก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ใช้ตัวแทนทางความคิดและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการสอนแนะให้รู้คิดกับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 3) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ตัวแทนทางความคิดและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการสอนแนะให้รู้คิดกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งในสังกัดมหาวิทยาลัยรัฐ/มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 34 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ แบบสังเกตพฤติกรรม และใบกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ตัวแทนทางความคิดและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการสอนแนะให้รู้คิดมีพัฒนาการดีขึ้น


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5, กิตติพันธ์ วิบุลศิลป์ Jan 2017

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5, กิตติพันธ์ วิบุลศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาคณิตศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาคณิตศาสตร์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาคณิตศาสตร์ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาคณิตศาสตร์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสงวนหญิง สุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก มีความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก มีความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนไม่สูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนไม่สูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการใช้ทฤษฎีการซ่อมแซมในการสอนซ่อมเสริมที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องลิมิตและความต่อเนื่องของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม, จำเริญ ผัด Jan 2017

ผลของการใช้ทฤษฎีการซ่อมแซมในการสอนซ่อมเสริมที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องลิมิตและความต่อเนื่องของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม, จำเริญ ผัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน และข้อผิดพลาดของนักเรียนเรื่องลิมิตและความต่อเนื่อง 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องลิมิตและความต่อเนื่องของนักเรียนก่อนและหลังทดลองด้วยการสอน โดยใช้ทฤษฎีการซ่อมแซมในการสอนซ่อมเสริม 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องลิมิตและความต่อเนื่องของนักเรียนหลังทดลองเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 4) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน และข้อผิดพลาดของนักเรียน เรื่องลิมิตและความต่อเนื่องหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สถาบันเทคโนโลยีกำปงเฌอเตียล จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการสอน โดยใช้ทฤษฎีการซ่อมแซมในการสอนซ่อมเสริม แบบทดสอบวินิจฉัย และวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องลิมิตและความต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่ามัชฌิมเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนมากที่สุดคือ นักเรียนมีมโนทัศน์ที่จำกัด และข้อผิดพลาดมากที่สุดคือ ข้อผิดข้อผิดพลาดด้านการบิดเบือนทฤษฎีบทหรือนิยามโดยให้เหตุผลที่ผิดจากความเป็นจริง 2) ความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องลิมิตและความต่อเนื่องของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องลิมิตและความต่อเนื่องของนักเรียนหลังเรียน มีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) หลังเรียน พบว่านักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดในทิศทางที่ดีขึ้น โดยพบว่ามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดลดลงคิดเป็นร้อยละ 79.5


ผลของการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2, ณัชพล เผ่าทิพย์จันทร์ Jan 2017

ผลของการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2, ณัชพล เผ่าทิพย์จันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์กับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์แบบปกติ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์กับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์แบบปกติ และ 5) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ใบกิจกรรม และแบบบันทึกหลังสอน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์มีพัฒนาการของความสามารถในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ดีขึ้น


การพัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, สกล ตั้งเก้าสกุล Jan 2017

การพัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, สกล ตั้งเก้าสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และ (2) ศึกษาคุณภาพของชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์โดย (2.1.) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลอง (2.2.) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการทดลองกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม (2.3.) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และ (2.4.) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ ชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ (1) แบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ ฉบับก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลอง (2) แบบสัมภาษณ์การเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ (3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ และ (4) แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น เน้นการนำสถานการณ์หรือประเด็นปัญหาในชีวิตจริงมาเป็นสถานการณ์ปัญหาให้นักเรียนได้คิดและสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาและนำไปสู่การแก้ปัญหา 2) ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกัน โดยที่ระหว่างการทดลองและหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และหลังการทดลองสูงกว่าระหว่างการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการทดลองสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) พัฒนาการของความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ


ผลการจัดการเรียนรู้ผ่านบริบทโดยใช้กลวิธีรีแอ็คท์ที่มีต่อความสามารถในการคิดขั้นสูงและความวิตกกังวลในเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ชวิศ สว่างไพศาลกุล Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้ผ่านบริบทโดยใช้กลวิธีรีแอ็คท์ที่มีต่อความสามารถในการคิดขั้นสูงและความวิตกกังวลในเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ชวิศ สว่างไพศาลกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น มีรูปแบบการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มวัดสองครั้ง (one-group pretest and posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดขั้นสูงก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านบริบทโดยใช้กลวิธีรีแอ็คท์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดขั้นสูงหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านบริบทโดยใช้กลวิธีรีแอ็คท์กับเกณฑ์ และ 3) เปรียบเทียบความวิตกกังวลในเคมีระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านบริบทโดยใช้กลวิธีรีแอ็คท์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 39 คน ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีรีแอ็คท์ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ แบบวัดความสามารถในการคิดขั้นสูงฉบับก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบวัดความวิตกกังวลในเคมีวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาคะแนนเกณฑ์โดยใช้สัมประสิทธิ์ฟี ทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติทดสอบ Wilcoxon signed ranks test t-test และขนาดของอิทธิพล ผลการศึกษา พบว่า
1. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดขั้นสูงหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านบริบทโดยใช้กลวิธีรีแอ็คท์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดขั้นสูงหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านบริบทโดยใช้กลวิธีรีแอ็คท์ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลในเคมีหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านบริบทโดยใช้กลวิธีรีแอ็คท์ต่ำกว่ากว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการเรียนการสอนด้วยการให้เหตุผลแบบรวมพลังที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, ณภัทร พระโพธิ์วังซ้าย Jan 2017

ผลของการเรียนการสอนด้วยการให้เหตุผลแบบรวมพลังที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, ณภัทร พระโพธิ์วังซ้าย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังได้เรียนรู้ด้วยการเรียนการสอนด้วยการให้เหตุผลแบบรวมพลัง และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนที่ได้เรียนรู้ด้วยการเรียนการสอนด้วยการให้เหตุผลแบบรวมพลังกับนักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนแบบทั่วไป โดยดำเนินการตามรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 37 จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 81 คน ประกอบด้วยนักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 41 คนที่ได้เรียนรู้ด้วยการเรียนการสอนด้วยการให้เหตุผลแบบรวมพลัง และ นักเรียนกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คนที่ได้เรียนรู้ด้วยการเรียนการสอนแบบทั่วไป การวิจัยดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดความสามารถในการโต้แย้งซึ่งพิจารณาใน 3 องค์ประกอบได้แก่ การสร้างข้อโต้แย้ง การสร้างข้อโต้แย้งค้าน และการสร้างข้อคัดค้าน และ แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ซึ่งพิจารณาใน 5 มุมมองได้แก่ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้ ธรรมชาติของการสังเกต บทบาทของจินตนาการ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และ อิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลทั้ง 2 ชนิดมีค่าสัมประสิทธ์แอลฟาเท่ากับ 0.78 และ 0.72 ตามลำดับ ทำการทดสอบนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการโต้แย้งและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการโต้แย้งและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าการเรียนการสอนด้วยการให้เหตุผลแบบรวมพลังมีประสิทธิภาพในการพัฒนาความสามารถในการโต้แย้งและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้


ผลการใช้รูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลาที่มีต่อมโนทัศน์ทางเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, พรณิชา พรหมเสนา Jan 2017

ผลการใช้รูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลาที่มีต่อมโนทัศน์ทางเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, พรณิชา พรหมเสนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น แบบการวิจัยกลุ่มเดียววัด 2 ครั้ง เทียบเกณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ทางเคมีหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลง มโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 2) ศึกษาร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีการพัฒนามโนทัศน์ทางเคมีหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลา และ 3) ศึกษามโนทัศน์ทางเลือกในเรื่อง เคมีอินทรีย์ ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและ โคคาคูลา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ในจังหวัดแพร่ จำนวน 42 คน ใช้เวลาในการทำวิจัย 2 เดือน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 8 แผน รวม 24 คาบ และแบบวัดมโนทัศน์ทางเคมี 12 ข้อ ครอบคลุมการวัด 12 มโนทัศน์ กำหนดเกณฑ์โดยใช้สัมประสิทธิ์ฟี (Ø) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังเรียนเคมีด้วยรูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลา คะแนนเฉลี่ย มโนทัศน์ทางเคมีของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังเรียนเคมีด้วยรูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลา พบว่า นักเรียนที่มีพัฒนาการสูงขึ้นเท่ากับ ร้อยละ 52.58 ส่วนนักเรียนที่พัฒนาการลดลงเท่ากับ ร้อยละ 38.49 และนักเรียนที่ไม่มีพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์เท่ากับ ร้อยละ 8.93 3) หลังเรียนเคมีด้วยรูปแบบการสอนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ของคูรัลและโคคาคูลา พบว่า มโนทัศน์เดียวที่นักเรียนมีมโนทัศน์ทางเลือกก่อนเรียน แต่ไม่พบมโนทัศน์ทางเลือกหลังเรียน คือ ความหมายของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน แต่อย่างไรก็ตามมโนทัศน์อื่นๆ ยังพบมโนทัศน์ทางเลือกหลังเรียนอยู่ซึ่งมีลักษณะเป็นหลักการหรือขั้นตอนของการอ่านชื่อสารประกอบอินทรีย์และกระบวนการเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาเคมี


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นแบบอย่างและกลวิธีตามแนวคิดของเมย์เนสและจูเลียน-ชูลต์ซที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5, ณิชาพร เจริญวานิชกูร Jan 2017

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นแบบอย่างและกลวิธีตามแนวคิดของเมย์เนสและจูเลียน-ชูลต์ซที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5, ณิชาพร เจริญวานิชกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นแบบอย่างและกลวิธีตามแนวคิดของเมย์เนสและจูเลียน-ชูลต์ซกับนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นแบบอย่างและกลวิธีตามแนวคิดของเมย์เนสและจูเลียน-ชูลต์ซก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นแบบอย่างและกลวิธีตามแนวคิดของเมย์เนสและจูเลียน-ชูลต์ซกับนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 4) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการสรุปและใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นแบบอย่างและกลวิธีตามแนวคิดของเมย์เนสและจูเลียน-ชูลต์ซ 5) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นแบบอย่างและกลวิธีตามแนวคิดของเมย์เนสและจูเลียน-ชูลต์ซ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 90 คน โดยกำหนด 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองคือนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นแบบอย่างและกลวิธีตามแนวคิดของเมย์เนสและจูเลียน-ชูลต์ซ 44 คน และกลุ่มควบคุมคือนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และใบงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความรู้ทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการของความสามารถในการสรุปและใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบในระยะระหว่างเรียน 5) นักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบเป็นระยะจากก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน


ผลการใช้วงจรการเรียนรู้แบบการทำนายและอภิปรายเป็นฐานที่มีต่อมโนทัศน์ชีววิทยา และการให้เหตุผลด้านความสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ยุวากร กลมอ่อน Jan 2017

ผลการใช้วงจรการเรียนรู้แบบการทำนายและอภิปรายเป็นฐานที่มีต่อมโนทัศน์ชีววิทยา และการให้เหตุผลด้านความสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ยุวากร กลมอ่อน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบมโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบการทำนายและอภิปรายเป็นฐานเทียบกับเกณฑ์ 2) เปรียบเทียบมโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบการทำนายและอภิปรายเป็นฐานกับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบทั่วไป 3) เปรียบเทียบการให้เหตุผลด้านความสัมพันธ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบการทำนายและอภิปรายเป็นฐาน และ 4) เปรียบเทียบการให้เหตุผลด้านความสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบการทำนายและอภิปรายเป็นฐานกับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2 ห้องเรียน แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดมโนทัศน์ชีววิทยา และแบบวัดการให้เหตุผลด้านความสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยสรุปดังนี้
1) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบการทำนายและอภิปรายเป็นฐานมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ชีววิทยาคิดเป็นร้อยละ 51.93 จัดอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 70
2) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบการทำนายและอภิปรายเป็นฐานมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ชีววิทยาสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบการทำนายและอภิปรายเป็นฐานมีคะแนนเฉลี่ยการให้เหตุผลด้านความสัมพันธ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบการทำนายและอภิปรายเป็นฐานมีคะแนนเฉลี่ยการให้เหตุผลด้านความสัมพันธ์หลังเรียนไม่แตกต่างกับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการใช้แนวคิดสะตีมศึกษาในวิชาชีววิทยาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, สมรัก อินทวิมลศรี Jan 2017

ผลของการใช้แนวคิดสะตีมศึกษาในวิชาชีววิทยาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, สมรัก อินทวิมลศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาตามแนวคิดสะตีมศึกษา (2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาตามแนวคิดสะตีมศึกษา และ (3) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาตามแนวคิดสะตีมศึกษา กลุ่มเป้าหมายการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น มีรูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีการเก็บข้อมูลความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน และเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ (2) แบบประเมินการออกแบบผลงาน และแบบประเมินผลงาน สำหรับประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เชิงปฏิบัติการ และ (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่เรียนชีววิทยาตามแนวคิดสะตีมศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไป 2) นักเรียนที่เรียนชีววิทยาตามแนวคิดสะตีมศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนไม่แตกต่างกัน 3) นักเรียนที่เรียนชีววิทยาตามแนวคิดสะตีมศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังเรียนอยู่ในระดับปานกลาง


ผลของการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาด้วยรูปแบบผสานรวมที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงระบบและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, อิทธิศักดิ์ ศิริจันทร์ Jan 2017

ผลของการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาด้วยรูปแบบผสานรวมที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงระบบและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, อิทธิศักดิ์ ศิริจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดเชิงระบบของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนชีววิทยารูปแบบผสานรวม (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงระบบระหว่างนักเรียนที่เรียนชีววิทยาด้วยรูปแบบผสานรวมกับนักเรียนที่เรียนชีววิทยาแบบทั่วไป และ (3) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ระหว่างนักเรียนที่เรียนชีววิทยาด้วยรูปแบบผสานรวมกับนักเรียนที่เรียนชีววิทยาแบบทั่วไป ประชากร คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จำนวน 60 คน ประกอบด้วยนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาด้วยรูปแบบผสานรวม จำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาแบบทั่วไป จำนวน 28 คน การวิจัยดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ (1) แบบประเมินการคิดเชิงระบบ และ (2) แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดเชิงระบบอยู่ในระดับพื้นฐาน 2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยแผนผังมโนทัศน์การคิดเชิงระบบสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีความคงทนในการเรียนรู้ ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมไม่มีความคงทนในการเรียนรู้ หลังทำการทดสอบ 2 ครั้งเมื่อผ่านไป 5 สัปดาห์